4/27/2553

ภาษีป้าย

ภาษีป้าย

ภาษีป้าย หมายถึง ภาษีที่เก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือ ประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ เจ้าของป้าย หรือผู้ครอบครองป้ายในกรณีไม่มีผู้อื่นยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้ง หรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ

อัตราภาษีป้าย

1. ป้ายที่มี อักษรไทยล้วน คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 3 บาท

2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมาย คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 20 บาท

3. (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ

(ข) ป้ายที่มีอักษรทั้งหมด หรือบางส่วนอยู่ใต้และหรืออยู่ต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 40 บาท

ป้ายเมื่อคำนวณพื้นที่จำนวนเงินภาษีไม่ถึงป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

การขออนุญาตติดตั้งป้ายหรือเสียภาษี

1. ให้เจ้าของป้ายหรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายแจ้งขนาดและยื่นภาพถ่ายหรือภาพ สเก็ตของป้ายและแผนผังบริเวณที่ติดตั้งป้ายนั้นมาพร้อมกับคำขออนุญาตติดตั้ง ป้ายหรือแบบ แสดงรายการภาษีป้ายแล้วแต่กรณีเพื่อประโยชน์ในการสำรวจตรวจสอบ

2. ในการติดตั้งป้ายต้องไม่มีลักษณะที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน และบริเวณที่ไม่อนุญาตให้ติดตั้งป้าย ได้แก่ บริเวณคร่อมถนน หรือทางสาธารณะ วงเวียน อนุสาวรีย์ สะพาน สะพานลอย คนเดินข้ามถนนเกาะกลางถนน สวนหย่อม สวนสาธารณะ ถนน ต้นไม้ และเสาไฟฟ้า ซึ่งอยู่ในที่สาธารณะ

หลักฐานที่ต้องนำไป

1. บัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้าน

2. ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วน

3. ใบเสร็จรับเงินปีที่แล้ว

กำหนดเวลายื่นแบบ

- เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายและชำระภาษีป้าย ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

- เจ้าของป้าย ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่

1. มีป้ายต้องเสียภาษีป้าย ภายหลังเดือนมีนาคม

2. มีป้ายใหม่ แทนป้ายเดิมที่เสียภาษีป้ายแล้ว

3. เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมเป็นเหตุให้เสียภาษีป้ายหรือภาษีป้ายเพิ่มขึ้น

- ผู้รับโอนป้าย แจ้งการรับโอนป้ายภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันรับโอนป้าย

การชำระภาษี

- ให้เจ้าของ ป้ายชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

- ป้ายที่เริ่มติดตั้ง หรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้าย ตั้งแต่วันที่ติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี

ถ้าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท ขึ้นไป ผ่อนชำระเป็น 3 งวด ๆ ละเท่า ๆ กันก็ได้

บทกำหนดโทษ

1. ผู้ใดจงใจไม่ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท

2. ผู้ใดโดยรู้ หรือจงใจแจ้งข้อความเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีป้ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

3. ผู้ใดไม่แจ้งรับโอนป้าย หรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท




http://www.thailaws.com/aboutthailaw/general_21.htm

ภาษีบำรุงท้องที่

ภาษีบำรุงท้องที่

ภาษีบำรุง ท้องที่ หมายถึง ภาษีที่เก็บจากเจ้าของที่ดิน ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ ที่ดินที่เป็นของบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ได้แก่พื้นที่ดินหรือ พื้นที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย โดยไม่เป็นที่ดินที่เจ้าของที่ดินได้รับการยกเว้นภาษีหรืออยู่ในเกณฑ์ลด หย่อน

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคม ของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับปีนั้น

การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ ให้เจ้าของที่ดินที่มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ณ สำนักงานเทศบาล (กองคลัง) ภายในเดือนมกราคมของปีแรก ที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดิน แบบแสดงรายการที่ยื่นไว้นั้นใช้ได้ทุกปี ในรอบระยะเวลา 4 ปี

หลักฐานที่ต้องนำ ไป

- สำเนาโฉนด ที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส.3

- บัตรประจำตัว ประชาชน

- ใบเสร็จรับเงินปีที่แล้ว (ถ้ามี)

- หนังสือมอบอำนาจ กรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำการแทน

การคำนวณภาษี คำนวณจากราคาปานกลางของที่ดินที่คณะกรรมการตีราคาปานกลางที่ดินกำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีคูณกับเนื้อที่อัตราภาษี - เนื้อที่ดิน (ไร่) = เนื้อที่ถือครอง - เนื้อที่เกณฑ์ลดหย่อน - ค่าภาษีต่อไร่ = ตามบัญชีอัตราภาษีฯ ท้าย พรบ.ฯ

การชำระภาษีบำรุงท้องที่ ผู้มีหน้าที่ภาษีนำเงินมาชำระค่าภาษีในเดือนเมษายนของทุกปี

เงินเพิ่ม / บทกำหนดโทษ

  1. ผู้ใดจงใจไม่มายื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) หรือไม่ยอมชี้แจงหรือไม่ยอมแจ้งจำนวนที่ดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  2. ผู้ใดโดยรู้แล้วจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  3. ผู้ใดไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงิน เพิ่มร้อยละ 24 ต่อปี ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน

การทำงานบริการสังคมแทนการชำระค่าปรับ

การทำงานบริการสังคมแทนการชำระค่าปรับ

ทางเลือกใหม่ของผู้ต้องโทษที่ไม่มีเงินชำระค่าปรับ

คดีอาญาเมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษปรับแล้วผู้ต้องโทษปรับต้องนำเงินมาชำระค่า ปรับภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษา มิฉะนั้นจะถูกกักขังหรือยืดทรัพย์แทนค่าปรับ แต่ในปัจจุบันได้มีผู้รับโทษปรับต้องถูกกักขังแทนค่าปรับเป็นจำนวนมากขึ้น ซึ่งผู้ต้องโทษปรับต้องสูญเสียอิสรภาพโดยไม่สมควร ทำให้บุคคลในครอบครัวได้รับความเดือดร้อนและรัฐต้องรับภาระในการดูแลเพิ่ม มากขึ้น รัฐจึงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30/1 ปรับเปลี่ยนมาตรการลงโทษผู้กระทำผิดเสียใหม่ คือการให้ผู้ต้องโทษปรับสามารถร้องขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณ ประโยชน์แทนค่าปรับได้อีกทางเลือกหนึ่ง

ความหมายของการทำงานบริการสังคมแทนการชำระค่าปรับ

การทำงานบริการสังคม คือ การทำงานบริการให้แก่สังคม ชุมชน หรือองค์กรสาธารณกุศล โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือค่าจ้างภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ประเภทงานบริการสังคม ได้แก่

- การพัฒนาหรือทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ เช่น วัด โรงเรียน สวนสาธารณะ สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น

- การดูแลสวนป่า หรือสวนสาธารณะ

- การช่วยเหลือ ดูแล อำนวยความสะดวก หรือให้ความบันเทิงแก่คนพิการ เด็กกำพร้า คนชรา ผู้ป่วย ในสถานสงเคราะห์ หรือสถานพยาบาล

- การสร้าง ซ่อมแซมอาคารสถานที่ราชการ เช่น ช่างไม้ ช่างประปา ช่างไฟฟ้า และช่างสี เป็นต้น

- การเป็นผู้ฝึกสอน วิชาชีพต่างๆ

- กิจกรรมอื่นๆ เช่นการทำงานในห้องสมุด การทาสีเครื่องหมายจราจร การบริจาคโลหิต เป็นต้น

หลักเกณฑ์การขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ

- เป็นบุคคลธรรมดา

- ศาลลงโทษปรับไม่เกิน 80,000 บาท

- ผู้ต้องโทษปรับไม่มีเงินชำระค่าปรับ

สถานที่ยื่นคำร้อง

- ยื่นคำร้องได้ที่ศาลชั้นต้นที่ตัดสินคดี

จำนวนชั่วโมงที่ถือเป็นการทำงานหนึ่งวัน

การกักขังแทนค่าปรับถืออัตรา วันละ 200 บาท ศาลพิพากษาปรับ 10,000 บาท จะถูกกักขังแทนค่าปรับ 50 วัน ในกรณีขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับก็จะต้องทำงานทั้งหมด 50 วันเช่นกัน แต่จำนวนชั่วโมงของการทำงานของประเภทงานแต่ละงานจะไม่เท่ากัน จำนวนชั่วโมงที่ถือว่าเป็นการทำงานหนึ่งวันมีดังนี้

1. การทำงานช่วยเหลือดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์หรือสถานพยาบาล งานวิชาการหรือสถานบริการด้านการศึกษา เช่น การสอนหนังสือ การค้นคว้าวิจัย หรือการแปลเอกสาร เป็นต้น จำนวน 2 ชั่วโมง ถือเป็นการทำงาน หนึ่งวัน

2. การทำงานวิชาชีพ งานช่างฝีมือที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น งานเครื่องยนต์ ก่อสร้าง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น จำนวน 3 ชั่วโมง ถือเป็นการทำงานหนึ่งวัน

3. งานบริการสังคมหรือบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ที่ไม่ต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญอื่นๆนอกจากสองข้อที่กล่าวข้างต้น เช่น งานทำความสะอาด พัฒนาสถานที่สาธารณะ งานจราจร เป็นต้น จำนวน 4 ชั่วโมง ถือเป็นการทำงานวันหนึ่ง

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำงานบริการสังคม แทนค่าปรับ

1. ต่อผู้ต้องโทษปรับ

ผู้ต้องโทษปรับได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ โดยไม่ต้องถูกกักขัง แทนค่าปรับ ทำให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวได้ตามปกติ นอกจากนี้หากเป็นการทำงานที่มีระยะเวลาที่ต่อเนื่องกัน ก็จะเป็นการฝึกวินัย ความรับผิดชอบ ทักษะ และประสบการณ์ในการทำงาน จะก่อให้เกิดความภาคภูมิแก่ผู้ต้องโทษปรับที่มีความรู้สึกภูมิใจแก่ผู้ต้อง โทษปรับด้วย เช่น การทำสนามเด็กเล่นของหมู่บ้าน การพัฒนาแหล่น้ำขงชุมชน

2. ต่อชุมชนและสังคม

เป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชน และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม เช่น การเข้ามาเป็นหน่วยภาคีการทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ หรือรับเป็นผู้ดูแลการทำงานบริการสังคมของผู้ต้องโทษปรับ และชุมชนยังได้งานจากผู้ต้องโทษปรับด้วย

3. ต่อรัฐ

รัฐไม่ต้องเสียค่าใช่จ่ายในการสร้างสถานที่กักขัง หรือค่าใช้จ่ายในการควบคุมดูแลผู้ต้องโทษปรับที่ถูกกักขัง

การปฏิบัติตัวเมื่อมาเป็นพยาน

การปฏิบัติตัวเมื่อมาเป็นพยาน

พยาน ศาลหรือพยานหมาย คือ ผู้ที่โจทก์ หรือ จำเลย ขอให้ศาลมีหมายเรียกให้ไปศาล เพื่อเป็นพยานโจทก์ หรือพยานจำเลย และเบิกความในเรื่องที่ได้รู้ได้เห็น และเป็นข้อเท็จจริงในคดี

การส่งหมายเรียกพยาน

- คู่ความฝ่ายที่อ้างท่านเป็นพยานนำไปส่ง

- เจ้าพนักงานศาลนำไปส่ง

เมื่อท่านได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาลควรทำอย่างไร

- ควรตรวจรายละเอียดในหมายเรียกเพื่อให้ทราบว่า ศาลไหนเรียกให้ท่านไปเป็นพยาน และท่านต้องไปเป็นพยานโจทก์หรือพยานจำเลย ในวัน เวลา ใด

- หากมีข้อสงสัย กรุณาโทรสอบถามตามหมายเลขโทรศัพท์ของศาลที่ปรากฏอยู่ในหมายเรียก

- ควรเก็บหมายเรียกไว้ และนำไปศาล ในวันที่ศาลนัดสืบ พยาน

การเตรียมตัวก่อนไปเป็นพยานศาล

- ควรทบทวนเหตุการณ์ ที่ท่านได้รู้ ได้เห็น เกี่ยวกับคดี เพื่อจัดลำดับเรื่องราวต่าง ๆ จะได้เกิดความมั่นใจเมื่อไปเบิกความต่อศาล และหากเป็นคดีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเอกสาร ท่านควรติดต่อไปยังฝ่ายโจทก์ หรือจำเลย ที่อ้างท่านเป็นพยาน เพื่อขอตรวจสอบเอกสาร

การปฏิบัติตัวเมื่อไปศาลในวันนัดสืบพยาน

- นำหมายเรียกไปด้วย เพราะในหมายเรียกจะปรากฏหมายเลขคดี ชื่อโจทก์ ชื่อจำเลย ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการติดต่อราชการศาลได้เป็นอย่างดี

- กรุณาแต่งกายสุภาพ ไม่ควรสวมรองเท้าแตะ

-ไปศาลก่อนเวลานัดสืบพยานจะทำให้ท่านมีเวลาพอที่จะติดต่อกับเจ้า หน้าที่งานประชาสัมพันธ์เพื่อสอบถามว่าคดีตามหมายเรียกของท่านจะมีการสืบ พยานที่ห้องพิจารณาใดหรืออาจตรวจหาห้องพิจารณาจากป้ายประกาศนัดความของศาล เองก็ได้

- เมื่อทราบห้องพิจารณาแล้วกรุณาแจ้งกับเจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้อง พิจารณานั้น ๆ ว่า ท่านมาถึงศาลแล้ว และนั่งรอในที่พักพยานที่ศาลจัดไว้

- หากต้องรอเพื่อเบิกความเป็นเวลานานเกินไป กรุณาสอบถามเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณานั้นๆ

การปฏิบัติตัว เมื่อเข้าห้องพิจารณาในฐานะพยานศาล

- เจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณาจะเรียกเข้าห้องพิจารณาเมื่อ ฝ่ายโจทก์ ฝ่ายจำเลยและพยานมาพร้อมกันแล้ว และเมื่อผู้พิพากษาปรากฏตัวบนบัลลังก์ขอให้ทุกคนในห้องพิจารณายืนขึ้นเพื่อ เป็นการแสดงความเคารพต่อศาล

- ก่อนที่จะเบิกความ เจ้าหน้าที่ฯจะนำท่านเข้าประจำที่ที่เรียกว่า คอกพยานจากนั้น ท่านจะต้องสาบานตนตามลัทธิศาลนาของท่านว่า จะให้การด้วยความสัตย์จริง โดยเจ้าหน้าที่ฯจะเป็นผู้นำสาบานและท่านต้องกล่าวตาม

- เมื่อสาบานตนเรียบร้อยแล้ว ขอให้ท่านนั่งลง และตอบคำถามที่ ผู้พิพากษา ทนายโจทก์ หรือทนายจำเลย ถามท่านด้วยความสัตย์จริงและใช้วาจาสุภาพ ควรใช้สรรพนามแทนตัวท่านเองว่า กระผม หรือผม หรือดิฉัน หรือฉัน หากกล่าวถึงผู้พิพากษา ให้ใช้สรรพนามแทนผู้พิพากษาว่า ศาลหรือ ท่าน

- ขอให้ท่านเบิกความเฉพาะเรื่องที่ท่าน ได้รู้ ได้เห็น ด้วยตัวท่านเอง อย่าเบิกความในเรื่องที่ได้รับการบอกเล่าจากผู้อื่น เว้นแต่ศาลจะสั่ง

- ขอให้เบิกความด้วยวาจา อย่าใช้วิธีการอ่านข้อความตามที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษา หากไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ ให้ตอบไปตรง ๆ ว่าไม่แน่ใจ หรือจำไม่ได้

- อย่าเบิกความโดยการคาดคะเนหรือวิพากษ์วิจารณ์ เพราะท่านอาจมีความผิดในข้อหาเบิกความเท็จได้

- หากฟังคำถามไม่ชัดเจนท่านสามารถขอให้มีการทวนคำถามซ้ำอีกครั้งได้

- เมื่อเบิกความเสร็จ ศาลจะอ่านคำเบิกความของท่าน หากเห็นว่าคำเบิกความไม่ถูกต้องตรงกับที่ท่านเบิกความไว้หรือไม่ครบถ้วน ขอให้แจ้งศาลทราบทันที เพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกต้องก่อนที่ท่านจะลงชื่อในคำเบิกความ

จะทำอย่างไรเมื่อมีการเลื่อนนัดสืบพยาน

- หากศาลไม่สามารถสืบพยานในวันนัดได้ เจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณาจะให้ท่านลงชื่อรับทราบ วัน เวลานัดครั้งต่อไป โดยจะไม่มีการส่งหมายเรียกไปอีก ขอให้ท่านจำวัน เวลานัดดังกล่าว และกรุณาไปตามนัดด้วย

สิทธิในการรับค่ายานพาหนะและค่าป่วยการพยาน

- หากเป็นพยานในคดีแพ่ง ท่านจะได้รับค่าพาหนะและค่าป่วยการตามที่ศาลกำหนด โดยฝ่ายโจทก์หรือจำเลยที่อ้างท่านเป็นพยาน ต้องเป็นผู้จ่าย

- หากเป็นพยานโจทก์ ในคดีอาญาที่ราษฏรเป็นโจทก์ท่านจะได้รับค่าพาหนะเท่าที่จ่ายไปจริงตามสมควร โดยโจทก์ ต้องเป็นผู้จ่าย

จะทำอย่างไรหากไม่สามารถมาเป็นพยานศาลได้

- หากเจ็บป่วย หรือมีเหตุขัดข้องจำเป็น ไม่สามารถไปเป็นพยานศาล ในวันนัดสืบพยานได้ขอให้ท่านทำหนังสือแจ้ง อธิบดี ผู้พิพากษา หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เพื่อชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็น โดยที่ท่านอาจนำหนังสือไปยื่นที่ศาลด้วยตัวเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นนำไปยื่นแทนท่านก็ได้ แต่ต้องยื่นก่อนวันที่ศาลนัดสืบพยาน

- ในระหว่างเดินทางไปศาล หากมีอุบัติเหตุหรือข้อขัดข้องเกิดขึ้น ขอให้ท่านโทรศัพท์ ที่ปรากฏอยู่ในหมายเรียก

จะเกิดอะไรขึ้น หากไม่ไปศาลตามหมายเรียก

- การไม่ยอมไปศาลตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุผลอันควร ศาลอาจออกหมายจับและกักขังท่านไว้ จนกว่าจะเบิกความเสร็จ และท่านอาจถูกฟ้องให้ต้องรับโทษทางอาญาจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การประกันตัวผู้ต้องหา

การประกันตัวผู้ต้องหา

การประกันตัว... คำขอประกันผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา ต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วและจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมิ ได้ การไม่ให้ประกันต้องอาศัยเหตุตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติใช้โดยเฉพาะในกฎหมาย และต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยทราบโดยเร็ว

เมื่อมาประกันตัวให้ตรวจสอบหลักฐานดังต่อไปนี้

หลักฐานในการขอประกันตัวทุกกรณี

  • บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือใบอนุญาตขับรถของ เจ้าของหลักทรัพย์

  • บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือใบอนุญาตขับรถของ ผู้ต้องหาหรือจำเลย

  • ทะเบียนบ้าน ของ เจ้าของหลักทรัพย์

  • ทะเบียนบ้าน ของ ผู้ต้องหาหรือจำเลย

หลักฐานการประกันต้องนำไปแสดงเพิ่มเติมเฉพาะกรณี

1. กรณีของหลักทรัพย์มีคู่สมรส

- หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส (ขอรับแบบฟอร์มได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์)

- สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสำเนาใบอนุญาตขับรถของคู่สมรส

2. กรณีเจ้าของหลักทรัพย์หย่าจากคู่สมรสแล้ว

- สำเนาใบสำคัญ การหย่า

3. กรณีคู่สมรสเจ้าของหลักทรัพย์ถึงแก่กรรมแล้ว

- สำเนามรณะ บัตร หรือ - ทะเบียนบ้าน ประทับคำว่า ตาย หน้าชื่อคู่สมรสพร้อมสำเนาอีก 1 ชุด

4. กรณีชื่อตัวหรือสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับที่ปรากฏ ในหลักทรัพย์

- หนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ออก ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่เจ้าของหลักทรัพย์ชื่อในทะเบียนบ้าน

5. กรณีชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของข้าราชการไม่ตรงกับที่ปรากฏในหลัก ทรัพย์เนื่องจากการเปลี่ยนชื่อชื่อสกุล

- สำเนาการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล

6. กรณีเจ้าชื่อสกุลของหลักทรัพย์ตามบัตรของข่าราชการไม่ตรงกับที่ปรากฏในหลัก ทรัพย์เนื่องจากการเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะทำการสมรสแล้ว

- สำเนาใบสำคัญ การสมรส

7.กรณีเจ้าของหลักทรัพย์ตาม บัตรมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการประกันแทน

- ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนาอีก 1 ชุด

- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือใบอนุญาตขับรถของผู้มอบอำนาจพร้อมสำเนา

- หนังสือมอบ อำนาจ โดยผู้มอบต้องมาทำที่ศาล ด้วนตนเองลงชื่อต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

- หนังสือมอบ อำนาจ โดยผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบไปทำที่อำเภอลงชื่อต่อหน้าและให้นายอำเภอ หรือผู้ทำการแทนหรือพนักงานฝ่ายปกครอง ลงลายมือชื่อ รับรองและประทับตราประจำตำแหน่งเป็นสำคัญ

หากใช้หลักทรัพย์ ประกัน ต้องมีเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้

1. กรณีใช้ น.ส.3ก และโฉนดที่ดิน

- หนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดิน

2. กรณีใช้สมุดเงินฝากธนาคารประเภทประจำ

- หนังสือรับรองยอดเงินฝากคงเหลือ

3. กรณีใช้เงินสด, พันธบัตรรัฐบาล, สลากออมสิน,ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็น ผู้จ่าย, ตั๋วแลกเงินธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว, เช็คธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรองและไม่ใช่เช็คลงวันที่ล่วงหน้า

- ไม่ต้องมี เอกสารประกอบ

4. หากใช้บุคคลเป็นประกันต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

- หนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่ง ระดับอัตราเงินเดือน

ตัวอย่างหนังสือรับรอง

หลักทรัพย์ในการขอประกันตัว โฉนดที่ดิน น.ส.3 ก หรือ น.ส.3 เงินสด, พันธบัตรรัฐบาล สมุดเงินฝากประจำ เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย

ารใช้ตำแหน่ง บุคคลเป็นหลักประกัน

(1) เป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอนเช่น เป็นข้าราชการ ข้าราช การบำนาญ สมาชิกรัฐสภาผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานของรัฐประเภทอื่น ๆ ลูกจ้างของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารพรรคการเมือง หรือทนายความ

(2) เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย เช่น เป็นบุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส หรือบุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้อง หรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันโดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อ ไปนี้

  1. ให้ยื่นคำร้องด้วยตนเอง และเสนอหนังสือรับรองจากต้นสังกัดหรือนายจ้าง หรือหลักฐานอื่นที่เชื่อถือได้ และหากผู้ขอประกันมีคู่สมรสให้แสดงหลักฐานการยินยอมของคู่สมรสด้วย

  2. ให้ทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน การอนุญาต ให้พิจารณาเงินเดือนหรือรายได้ แต่ศาลอาจกำหนดให้ผู้ขอประกันวางเงินหรือหลักทรัพย์อื่นเพิ่มเติม หรืออาจให้มีผู้ขอประกันหลายคนร่วมกันทำสัญญาประกันโดยใช้วงเงินของแต่ละคน รวมกันได้

  3. หากผู้ขอประกันพ้นจากตำแหน่งหน้าที่การงาน ก็ให้คงมีสิทธิประกันต่อไปโดยศาลอาจใช้ดุลพินิจสั่งให้หาหลักประกันเพิ่ม หรือดีกว่าเดิมได้

คำแนะนำ ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา

คำแนะนำ ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา

ผู้ต้องหาและจำเลยคือใคร?

ผู้ต้องหา คือ ผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล จำเลย คือ บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาลแล้ว เมื่อตำรวจ และพนักงานอัยการหมดอำนาจควบคุมผู้ต้องหาแล้วจะต้องนำผู้ต้องหามาขออำนาจควบ คุมต่อจากศาลที่เรียกว่า ผัดฟ้องหรือฝากขัง

การผัดฟ้องและฝากขังในศาลแขว

ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวง นั้น ถ้าไม่อาจฟ้องผู้ต้องหาภายใน 48 ชั่วโมง พนักงานอัยการต้องนำตัวผู้ต้องหามาศาลและยื่นคำร้องขอฝากขังและผัดฟ้องต่อ ศาล ศาลอนุญาตได้ไม่เกิน 5 คราว คราว ละไม่เกิน 6 วัน

การฝากขังในศาลอาญาหรือศาล จังหวัด

ถ้าผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่และพนักงาน สอบสวนไม่อาจสอบสวนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 วัน พนักงานสอบสวนต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการอาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ขังผู้ต้องหาไว้ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า.. ฝากขัง ในกรณีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลสั่งขังได้ครั้งเดียวมีกำหนดไม่เกิน 7 วัน แต่ถ้าอัตราโทษเกินกว่านี้ ศาลสั่งขังได้หลายครั้งติด ๆ กัน ครั้งหนึ่งไม่เกิน 12 วัน รวมทั้งหมดไม่เกิน 48 วัน เว้นแต่ความ ผิดที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ศาลสั่งขังได้รวมทั้งหมดไม่เกิน 84 วัน ในกรณีที่จังหวัดใดไม่มีศาลแขวง และศาลจังหวัดนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาใช้บังคับ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะต้องขอผัดฟ้องและฝากขังผู้ต้องหาในคดี ที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติในศาลแขวง

การผัดฟ้องในศาลเยาวชนและครอบครัว

เมื่อเด็กหรือเยาวชนที่มีอายุไม่ถึง 18 ปี กระทำความผิดอาญา และเป็นกรณีที่จะต้อง ขึ้นศาลเยาวชนและครอบครัว พนักงานสอบสวนจะต้องสอบปากคำหรือเยาวชนให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่ ่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนมาถึงสถานที่ทำการของพนักงานสอบสวน แล้วส่งตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นไป ยังสถานพินิจ และ คุ้มครองเด็กและเยาวชน พนักงานอัยการจะต้องฟ้องศาล ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันจับกุม หากฟ้องไม่ทัน จะต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้อง ศาลจะอนุญาตได้ไม่เกิน ๒ คราว คราวละไม่เกิน 15 วัน เว้นแต่คดีมี อัตราโทษ อย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หรือโทษสถานหนักกว่านั้น ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้อง ได้ อีก 2 ครั้ง ๆ ละไม่เกิน 15 วัน

เมื่อมีการฝากขังหรือผัด ฟ้อง

ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยตัว ชั่วคราว (ขอประกันตัว) ต่อศาล ผู้ต้องหาที่ได้รับการประกันตัวต้องมาศาล ทุกครั้งตามที่ศาลนัด

แนวปฏิบัติของศาลในวันนัดครั้งแรก

แนวปฏิบัติของศาลในวันนัดครั้งแรก

คดีจัดการพิเศษ

1. ศาลจะพิจารณาคดีจัดการพิเศษให้แล้วเสร็จในวันนัด จึงให้คู่ความเตรียมพยานหลักฐาน มาให้พร้อม มิฉะนั้นอาจถือได้ว่า คู่ความไม่มีพยานมาสืบ

2. ในคดีที่คู่ความประสงค์จะเจรจาตกลงกัน ศาลจะจัดให้คู่ความพบกับผู้ประนีประนอมของศาลก่อน เมื่อคดีมีแนวโน้ม ที่จะตกลงกันได้ ศาลจึงจะใช้ดุลพินิจอนุญาตให้เลื่อนคดีไปเพื่อให้โอกาสเจรจา ตกลงกัน มิฉะนั้นศาลจะพิจารณาคดีไปโดยไม่เลื่อนคดี

3. ในคดีที่จำเลยให้การต่อสู้และศาลไม่สามารถพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จในวันนัด ได้ เมื่อศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วศาลจะกำหนดนัดครั้งต่อไปในวันนัดคดีจัดการ พิเศษ ตามที่ศาลได้ประกาศไว้ เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรให้กำหนดนัดในวันนัดในระบบการนั่งพิจารณาคดีต่อเนื่อง ตามข้อ 4

คดีสามัญ

4. ในคดีสามัญที่จำเลยให้การต่อสู้คดี เมื่อถึงวันนัดแรก ศาลจะสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับ จำนวนพยานที่คู่ความประสงค์จะนำสืบ โดย

(ก) ในคดีอาญา ศาลจะกำหนดวันนัดพิจารณาคดีต่อเนื่องทันที (นัดทั้งวันทำการติดต่อกันไป)

(ข) ในคดีแพ่ง ศาลจะสอบถามคู่ความเกี่ยวกับการเจรจาไกล่เกลี่ยก่อน ถ้าคู่ความประสงค์จะเจรจาไกล่เกลี่ยศาลจะกำหนดนัดพิจารณาต่อเนื่องไปก่อน โดยคู่ความจะต้องเจรจาให้แล้ว

เสร็จก่อนถึงวันนัดสืบพยาน

5. เมื่อศาลกำหนดวันนัดพิจารณาคดีต่อเนื่องแล้ว คู่ความควรแจ้งให้ศาลทราบถึงแนวทางการดำเนินคดีในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • การเสนอให้คู่ความอีกฝ่ายรับข้อเท็จจริงอย่างใด อย่างหนึ่ง

  • การขอออกหมายเรียกพยานบุคคล

  • การขอออกคำสั่งเรียกพยานเอกสาร

  • การส่งประเด็นไปสืบพยานที่ศาลอื่น

  • การทำแผนที่พิพาท

  • การส่งตรวจพิสูจน์หลักฐาน

  • การสืบพยานบุคลที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในคดีอาญา

การเดินเผชิญสืบ

ในกรณีดัง กล่าว คู่ความจะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนหรือภายในวันนัดพร้อม โดยระบุหมายเลขโทรศัพท์ หรือสถานที่ ติดต่อพยานให้ศาลทราบด้วย

(2) จัดทำคำแถลงหรือแถลงด้วยวาจาเกี่ยวกับการเสนอให้รับข้อเท็จจริง

(3) จัดทำคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกหรือคำสั่งเรียกตามที่ศาลกำหนด

เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ศาลจะได้สอบถามในเรื่องการรับข้อเท็จ จริงและความจำเป็น

ในการ ขออำนาจศาลเพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน จากนั้น ศาลจะออกหมายเรียก คำสั่งเรียก หรือดำเนินการต่าง ๆ ให้ในวันนัดพร้อมทันที ซึ่งจะทำให้คู่ความไม่ต้องมาศาลเพื่อดำเนินการในเรื่องเหล่านี้อีก

ทนายความ

6. ในคดีอาญา ถ้าจำเลยประสงค์จะให้ศาลแต่งตั้งทนายความให้ ต้องแจ้งให้ศาลทราบทันทีเพื่อที่ ทนายความจะได้เข้ามาดำเนินการในวันนัดครั้งแรกได้

7. ในใบแต่งทนายความขอให้ระบุหมายเลขโทรสารและโทรศัพท์ของทนายความไว้ด้วย

8. ในกรณีที่ทนายความไม่สามารถมาศาลด้วยตนเองในวันนัดพร้อม ให้ทนายความมอบฉันทะให้แก่ บุคคลที่สามารถจะตอบคำถามเกี่ยวกับจำนวนพยานที่จะนำสืบและวันว่างของทนาย ความ