7/01/2553

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลจังหวัดสงขลา

 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลจังหวัดสงขลา
     ศาลจังหวัดสงขลา ได้นำระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้ควบคู่กับการดำเนินกระบวนการพิจารณา พิพากษาคดีของศาล เพื่อให้เป็นอีกทางหนึ่งของประชาชนในการยุติข้อพิพาท โดยมีผู้ประนีประนอมซึ่งเป็นบุคคลกลางทำหน้าที่ช่วยเหลือคู่พิพาทในการ เจรจา และหาข้อยุติร่วมกัน ตามนโยบายของสำนักงานศาลยุติธรรม  โดยมีเป้าหมาย สำคัญเพื่อยุติข้อพิพาทให้แก่นายจ้างและลูกจ้างผู้มีอรรถคดี  ด้วยความ สะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม
    การไกล่เกลี่ยคืออะไร
     การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือ การยุติหรือระงับข้อพิพาทด้วยความตกลงยินยอมของคู่ความเอง โดยมีผู้ไกล่เกลี่ยเป็นคนกลางช่วยเหลือ แนะนำ เสนอแนะ หาทางออกในการยุติหรือระงับข้อพิพาทให้แก่คู่ความนั้น การไกล่เกลี่ยข้อ พิพาทในศาล หมายถึง การที่ผู้ไกล่เกลี่ยทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งเป็นคดีที่อยู่ระหว่างการ พิจารณาของศาล ตั้งแต่ศาลรับฟ้องจนถึงก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้กับคู่ความ เป็นการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันแต่ผู้ไกล่ เกลี่ยไม่มีอำนาจในการกำหนดข้อตกลงให้แก่คู่ความแต่อย่างใด โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการประนีประนอมยอมความให้จากความสมัครใจของคู่ ความทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ ดังนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอยกเลิกการไกล่เกลี่ยเสียเมื่อใดก็ย่อมได้
   ผู้ไกล่เกลี่ยคือใคร
     ผู้ไกล่เกลี่ยหรือบางครั้งเรียกว่าผู้ ประนีประนอม ได้แก่ ผู้พิพากษารวมทั้งบุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาล เพื่อช่วยเหลือศาลในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจกฏหมายแรงงานและวัฒนธรรมองค์กรนายจ้าง ลูกจ้าง มีความเป็นกลาง ไม่มีอคติ สามารถให้ความเป็นธรรมกับคู่ความทุกฝ่ายได้ถูกต้องตรงตามความประสงค์ของคู่ ความ ช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่คู่ความทุกฝ่ายและเป็นผู้ช่วยทำให้ข้อพิพาททั้งหลาย ยุติลงอย่างฉันมิตร ผู้ไกล่เกลี่ยมีหน้าที่ในการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงประนีประนอมยอม ความกัน ไม่มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทหรือคดีระหว่างคู่ความแต่อย่างใด

ศูนย์ไกล่เกลี่ย

   สิ่งที่คู่ความควรจะต้องมีในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

     1. ความสมัครใจ ประสงค์ที่จะไกล่าเกลี่ยข้อพิพาทอย่างแท้จริง
     2. ความพร้อม เตรียมตัวและเตรียมข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
     3. ความรับผิดชอบ รับผิดชอบในการเข้าร่วมไกล่เกลี่ยตามวันเวลาที่นัดหมายไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
     4. ความร่วมมือ ตั้งใจที่จะให้ความร่วมมือเพื่อนำไปสู่จุดหมายอันเป็นที่ยอมรับกัน
     5. ความสุภาพ ระหว่างการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ใช้คำพูด กิริยา อัธยาศัยอย่างสุภาพ

   ประโยชน์ที่ท่านได้รับจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

     1. สะดวก ไม่เป็นทางการหรือมีขั้นตอนมากเกินไป
     2. รวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน เพราะอาจใช้เวลามาศาลเพียงครั้งเดียว
     3. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจ้างทนายความ
     4. พึงพอใจ คู่พิพาทตัดสินใจเองในผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
     5. รักษาสัมพันธภาพอันดีของนายจ้างและลูกจ้าง เพราะผลการไกล่เกลี่ยไม่มีฝ่ายใดแพ้หรือชนะและไม่มีฝ่ายใดต้องเสียหน้า
     6. คู่ความไม่ต้องประสบกับการบังคับคดีที่ยุ่งยากในศาล
     6. ช่วยลดปริมาณคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล ทำให้คดีที่ทำการไกล่เกลี่ยและคดีอื่นๆ สามารถย่นระยะเวลาพิจารณาได้เร็วขึ้น
     8. ลดปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลฎีกา
     9. รัฐประหยัดงบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดให้มีการดำเนินการพิจารณาคดี
     10. ก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม

   ขั้นตอนเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย

     เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาล ในเบื้องต้นศาลแรงงานภาค 2 จะกำหนดให้นัดไกล่เกลี่ยเพื่อให้ผู้ประนีประนอมดำเนินการไกล่เกลี่ยประนี ประนอมก่อน และหากคดีใดสามารถตกลงกันได้ก็จะนำสำนวนนั้นเสนอผู้พิพากษาเพื่อทำยอม หรือ ถอนฟ้องไป แต่กรณีไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ จะดำเนินการส่งสำนวนเข้าสู่กระบวนพิจารณาคดีต่อไป

   ผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล

     1. คู่ความตกลงกันได้โดยโจทก์ถอนฟ้อง
     2. คู่ความตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วให้ศาลพิพากษาตามยอม
     3. คู่ความตกลงกันไม่ได้ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป