9/29/2554

U.are.U 4500 Fingerprint Reader




At a Glance

เครื่องอ่านลายนิ้วมือ U.are.U 4500 เป็นเครื่องอ่านลายนิ้วมือที่มีคุณภาพสูง และหรูหรา ดูมีระดับ เหมาะสมแม้กับการใช้งานอย่างหนัก ด้วยการออกแบบให้มีขนาดกระทัดรัด จึงทำให้ประหยัดเนื่อที่บนโต๊ะทำงาน และด้วยการบุพื้นหลังด้วยยาง จึงป้องกันการลื่นไถลได้เป็นอย่างดี
U.are.U 4500 ส่องสว่างด้วยแสงสีน้ำเงิน ไม่แยงตาในสภาพแวดล้อมที่แสงน้อย และไม่ทำให้สับสนกับแสงสีแดงของสัญญาณเตือนอื่นๆ เช่นสัญญาณในสถานพยาบาล เป็นต้น

เมื่อต้องการใช้งาน ผู้ใช้เพียงวางนิ้วบนหน้าจอสัมผัส เครื่องอ่านจะทำการสแกนอย่างรวดเร็วโดยอัตโนมัติ เมื่อมีแสงสีแดงกระพริบ แสดงว่าลายนิ้วมือถูกสแกนแล้ว จากนั้นเครื่องจะทำการเข้ารหัสก่อนส่งผ่านข้อมูลทาง USB
เครื่องอ่านของ DigitalPersona ใช้การเทคโนโลยีการสแกนแบบออพติคอล เพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพมากที่สุด และพื้นที่จอรับนิ้วมือขนาดใหญ่ เครื่องอ่านลายนิ้วมือ U.are.U 4500 และเทคโนโลยีการจับภาพลายนิ้วมือของ DigitalPersona สามารถตรวจสอบลายนิ้วมือที่อ่านได้ยากที่สุดได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ไม่ว่าจะวางนิ้วบนจอสัมผัสในองศาใดก็ตาม
        U.are.U 4500 Features:

ไฟ LED สีน้ำเงิน (ยังคงมีโหมดไฟสีแดงให้เลือกใช้อยู่เช่นกัน) ไฟ เรืองแสงสีน้ำเงินนวลที่เหมาะกับทุกสภาพแวดล้อม ให้ความสบายตา ไม่รบกวนในสภาพแสงน้อย เช่น ในภัตตาคาร หรือทำให้สับสนกับสีของสัญญาณเตือน เช่น ในโรงพยาบาล
ส่วนประกอบขนาดเล็ก ทำให้ประหยัดเนื้อที่บนโต๊ะทำงาน
โครงสร้างแข็งแรง และฝืด วัสดุห่อหุ้มเป็นโลหะคุณภาพสูง มีน้ำหนักดีเพื่อป้องกันการลื่นหรือเลื่อนไถล
เคลือบผิวเป็นพิเศษ ทำให้ยึดติดอยู่กับที่ได้เพราะการเคลือบผิวแบบพิเศษ
ไม่เกี่ยงมุมหรือองศาการวางนิ้ว สามารถ แตะนิ้วได้จากทุกทิศทาง โดยยังคงสแกนนิ้วได้เป็นอย่างดี และระบุลายนิ้วมือได้อย่างแม่นยำ เหมาะสำหรับสภาวะที่ต้องการการใช้งานเครื่องร่วมกันจากพนักงานจำนวนมาก
คุณภาพการสแกนชั้นเยี่ยม หน้าจอสัมผัสคุณภาพสูงทำให้สแกนได้ดีทุกครั้ง
ทำงานได้ดีไม่ว่าจะในสภาพแห้ง ชื้น หรือนิ้วมือไม่สะอาด ให้ผลการสแกนที่เที่ยงตรงแม้จะมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก อ่านลายนิ้วมือได้แม้เป็นนิ้วที่อ่านลายนิ้วมือได้ยาก
    
        Technical Specifications:

• Pixel resolution: 512 dpi (average x, y over the scan area)

• Scan capture area: 14.6 mm (nom. width at center) 18.1 mm (nom. length)

• 8-bit grayscale (256 levels of gray)

• Reader size (approximate): 65 mm x 36 mm x 15.56 mm

• Compatible with USB 1.0, 1.1 and 2.0 (Full Speed) specifications

• Indoor, home and office use

9/23/2554

การปรับแต่งค่าทางเครือข่าย (Network Configuration)

การปรับแต่งค่าทางเครือข่าย (Network Configuration)
ผู้ที่ต้องการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์จริงจำเป็นต้องเตรียมข้อมูลเกียวกับ IP Address โดยสิ่งที่ต้องเตรียมมีดังนี้
o Hostname
o IP Address
o Subnet Mask
o Gateway
o DNS
สำหรับวิธีการปรับแต่งให้ผู้อ่านคลิกไปที่เมนู System > Administration > Network หลังจากนั้นให้คลิกที่แท็บ Devices แล้วคลิกปุ่ม Edit เพื่อกำหนดรายละเอียดของ LAN Card กำหนดหมายเลข IP Address, Subnet mask, Gateway, คลิกแท็ป DNS เพื่อกำหนด Name Server ของศูนย์บริการที่ใช้งานอยู่, คลิกที่แท็บ Hosts เพื่อกำหนดชื่อ Host สำหรับเครือข่ายภายใน, เสร็จแล้วให้ทำการคลิกที่แท็บ Devices แล้วคลิกที่ปุ่ม Deactivate และ Activate อีกครั้ง เพื่อปรับค่า LAN Card ใหม่โดยไม่ต้องบู๊ตระบบใหม่ คุณสามารถตรวจสอบรายละเอียดไอพีผ่านทางหน้าต่าง Terminal โดยใช้คำสั่ง ifconfig

กำหนดรายละเอียดของ LAN Card

กำหนดรายละเอียด IP Address

กำหนดรายละเอียด DNS

กำหนดชื่อ Host
ตรวจสอบรายละเอียด IP ด้วยคำสั่ง ifconfig

============
Tips.
กรณีที่ผู้ใช้ต้องการกำหนดค่าทางเครือข่ายต่างๆ ผ่านทางหน้าต่าง Terminal โดยตรงสามารถทำได้เช่นเดียวกันโดยเข้าการเข้าไปแก้ไขไฟล์ต่างๆ เหล่านี้
o /etc/hosts ไฟล์สำหรับกำหนดชื่อโฮสต์ใช้ภายในเครือข่าย
o /etc/host.conf ไฟล์สำหรับเรียกใช้เนมเซิร์ฟเวอร์
o /etc/resolv.conf ไฟล์สำหรับตั้งค่าโดเมนเนม (DNS) ที่ใช้งานอยู่
o /etc/sysconfig/network ไฟล์สำหรับปรับตั้งชื่อเครื่องสำหรับใช้นอกเครือข่าย และหมายเลขของ Gateway
o /etc/sysconfig/network-scripts/ifcfg-eth0 ไฟล์สำหรับปรับรายละเอียดของ LAN card ใบที่ 1
o /etc/sysconfig/network-scripts/ifcfg-eth1 ไฟล์สำหรับปรับรายละเอียดของ LAN card ใบที่ 2 (กรณีมี LAN Card ติดตั้งอยู่สองใบ)
หลังจากกำหนดค่าทางเครือข่ายแล้วสามารถสั่ง Restart LAN Card ด้วยคำสั่ง
# service network restart [enter]
หรือกรณีต้องการตรวจสอบสถานะดูว่าตอนนี้เซอร์วิสอะไรถูกใช้งานอยู่บ้างสามารถใช้คำสั่ง
# service --status-all [enter]
================

9/21/2554

ติดตั้ง DD-WRT firmware บน Linksys WRT54GL

นอกจากลีนุกซ์จะสามารถติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ แล้ว ยังสามารถนำไปติดตั้งลงบนอุปกรณ์อื่นๆ ได้อีกด้วยซึ่งจะมีกระบวนการติดตั้งที่ต่างกันออกไป ในบทความนี้จะกล่าวถึงการติดตั้ง DD-WRT ซึ่งเป็น Linux-based firmware ของอุปกรณ์ประเภท Wireless AP หรือ Router เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และมีคุณสมบัติอื่นๆ มากกว่าที่มีใน firmware ที่ติดตั้งมาพร้อมกับอุปกรณ์
ในบทความนี้จะทดสอบการติดตั้ง DD-WRT บนอุปกรณ์ Linksys Wireless-G Broadband Router รุ่น WRT54GL v1.1 ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นยอดนิยมและราคาไม่แพง และมีขั้นตอนการติดตั้งง่าย

สามารถเช็ครายชื่ออุปกรณ์ที่สามารถติดตั้ง DD-WRT ได้ที่ Supported Devices – DD-WRT Wiki

วิธีการติดตั้ง

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อสาย LAN พอร์ต 1-4 (ไม่ใช่ Internet Port) ของ Linksys WRT54GL
  • ใช้ Browser ในการ upgrade
ข้อควรระวัง ระวังไฟดับระหว่างการติดตั้ง
ขั้นตอนการติดตั้ง DD-WRT บน Linksys WRT54GL ที่มี firmware ดั้งเดิมของ Linksys เอง จะมีดังต่อไปนี้

1. ดาวน์โหลด DD-WRT firmware

บนเว็บไซต์จะมี firmware ที่ให้ดาวน์โหลดนั้นหลายเวอร์ชั่น แต่ละเวอร์ชั่นยังแบ่งแยกตามรุ่นของอุปกรณ์และคุณสมบัติที่ firmware แต่ละตัวมี สามารถดูรายละเอียดได้จาก What is DD-WRT?
เวอร์ชั่นที่เป็นทางการ (Official) ล่าสุดคือ v24-sp1 แต่เนื่องด้วยปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้เวอร์ชั่นนี้  แนะนำให้ดาวน์โหลดเวอร์ชั่น SVN build ล่าสุด โดยจะมีตัวเลขกำกับ เช่น svn11296, svn11461…
สามารถดูรายละเอียดของปัญหาได้ที่ The Peacock Thread:If dd-wrt isn’t working well, read this!
ดาวน์โหลด SVN build ล่าสุดได้ที่ ftp://dd-wrt.com/others/eko/V24_TNG/
ณ ตอนที่เขียนบทความนี้ เวอร์ชั่น SVN build ล่าสุดคือ svn11886
สำหรับ Linksys WRT54GL ไฟล์ firmware ที่ต้องใช้ในการติดตั้งมีสองไฟล์คือ
ftp://dd-wrt.com/others/eko/V24_TNG/svn11886/dd-wrt.v24-11886_NEWD_mini.bin
ftp://dd-wrt.com/others/eko/V24_TNG/svn11886/dd-wrt.v24-11886_NEWD_std.bin

2. Hard Reset 30/30/30 อุปกรณ์

เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อนและหลังการติดตั้งหรือ upgrade แนะนำให้ ทำการ Hard Reset เพื่อเคลียร์ NVRAM ของอุปกรณ์ ก่อนโดยมีขั้นตอนดังนี้
เปิดอุปกรณ์ไว้ซักพัก จนกว่าอุปกรณ์ใช้งานได้ตามปกติ
  • ในระหว่างที่อุปกรณ์เปิดอยู่ กดปุ่ม reset ค้างไว้ 30 วินาที
  • ดึงสายหม้อแปลง power ออก โดยที่ยังกดปุ่ม reset ค้างไว้อีก 30 วินาที
  • ต่อสายหม้อแปลง power กลับ โดยที่ยังกดปุ่ม reset ค้างไว้อีก 30 วินาที แล้วปล่อย
สรุปแล้วต้องกดปุ่ม reset ค้างไว้ทั้งหมด 90 วินาที โดยไม่ปล่อยเลย
สามารถดูรายละเอียดของการ Hard reset ได้ที่ Hard reset or 30/30/30 – DD-WRT Wiki

3. ติดตั้ง mini firmware

หลังจากที่ Hard reset อุปกรณ์จะเปลี่ยนคอนฟิกกลับไปเป็นดีฟอลต์คือมี ip 192.168.1.1 ใช้ Browser เปิดเข้าไปแล้ว login เป็น admin รหัสเป็น admin
01-original_linksys_firmware1

ไปที่หน้า Administration -> Firmware Upgrade กดปุ่ม Browse เพื่อเลือกไฟล์ firmware ที่จะติดตั้งลงไปใหม่
ขั้นแรกต้องเลือกไฟล์ mini firmware ที่ดาวน์โหลดมาก่อน ชื่อไฟล์ dd-wrt.v24-11886_NEWD_mini.bin
02-upgrade_to_dd-wrt_mini_firmware
เมื่อโหลดเสร็จหน้าเว็บจะขึ้นข้อความ “Upgrade is successful.”
03-mini_upgrade_is_successful

จะมีหน้าจอให้ login ใหม่อีกครั้ง ตอนนี้ต้องใส่ User name เป็น root รหัสผ่าน (Password) เป็น admin
หลังจาก login จะขึ้นหน้าเว็บของ DD-WRT control panel โดยดูเวอร์ชั่นของ firmware ที่รันอยู่ได้ที่มุมขวาบนของหน้าเว็บ
04-dd-wrt_mini_system_information

4. ติดตั้ง std firmware

ด้วยคุณสมบัติที่มีมากกว่า mini แนะนำปรับปรุง firmware อีกครั้งให้ใช้เป็น std firmware ไปที่หน้า Administration -> Firmware Upgrade กดปุ่ม Browse เพื่อเลือกไฟล์ firmware ที่จะติดตั้งลงไปใหม่ ตอนนี้ต้องเลือกไฟล์ std firmware ที่ดาวน์โหลดมาก่อน ชื่อไฟล์ dd-wrt.v24-11886_NEWD_std.bin แล้วกดปุ่ม Upgrade
05-upgrade_to_dd-wrt_std_firmware

หน้าจอจะขึ้นแสดงว่ากำลัง upgrade อยู่ ไม่ต้องทำอะไรบนหน้าเว็บทั้งสิ้น รอจนกว่าเสร็จ หน้าเว็บจะ refreshให้เอง อัตโนมัติ
หน้าเว็บแสดงว่า Upgrading firmware…
06-upgrading_std_firmware

หน้าเว็บแสดงว่าติดตั้ง firmware แล้วเสร็จกำลัง reboot อุปกรณ์
07-std_upgrade_successful

หลังจาก reboot เสร็จ จะขึ้นหน้าเว็บให้เปลี่ยน Username, Password ใหม่
08-change_username_password
หน้าเว็บหลังจากติดตั้ง แสดงสถานะของอุปกรณ์กำลังรัน std firmware
09-dd-wrt_std_system_information

ข้อมูลอ้างอิง

wireless network แบบ Repeater mode

ทดลองเพิ่มระยะสัญญาณของ wireless network
ในแบบ Repeater modeกันครับ

ปัญหาก็เริ่มมาจากที่สัญญาณเต็มขีดวัดดีๆ ก็เหลือขีด-สองขีด ตามตำแหน่งที่ไปนั่ง รอบ ๆ บ้านแล้วที่ๆ นั่งสบายก็ดัน สัญญาณอ่อนซะเนี่ย เลยเข้าเน็ตหาวิธีเอา ทั้งเว็บทั้งแชท ก็ไปได้วิธีขยายสัญญาณแบบ reatper โดยใช้ acess point สองตัวขยายสัญญาณ ในพื้นที่ที่อับสัญญาณ เลยได้ยืมไวเลสเราเตอร์อีกตัวนึงจากน้อง มาทดลอง โดยจะทดลองในรูปแบบตามชาร์ตด้านล่างนะครับ

อุปกรณ์ที่ผมใช้ก็มีดังนี้ครับ
1. SMC wireless 54Mbps broadbrand router with ADSL2+modem (ขอเรียกสั้นๆ ว่า AP1 นะครับ)
2. SMC The Barricade g Wireless Router (หรือ acess point ที่มีโหมด repeater ขอเรียกตัวนี้ว่า AP2)

เริ่มกันเลยครับ
เนื่องจาก อุปกรณ์ทั้งสองตัวนี้มาจากบริษัทเดียวกันเลยมีค่า ip address ตรงกัน เราจึงต้องไปเปลี่ยน ip address ของ AP2 ไม่ให้ชนกับ AP1 โดยเสียบสายแลนระหว่างเครื่องแมคของเรากับ AP2 แล้วกำหนดค่า tcp/ip ในเครื่องแมคให้เป็น using DHCP หรือจะ fix ip ก้แล้วแต่ครับแต่ค่า ip และ subnet ต้องอยู่ในวงเดียวกัน
เสร็จแล้วก็เปิด browser ตัวเก่งของเราแล้วพิมพ์ ip ของ AP2 ลงไป ในที่นี้คือ 192.168.2.1 (ส่วนยี่ห้ออื่นๆ ก็แตกต่างกันไปนะครับ ดูตามคู่มือก็แล้วกัน)

ใส่ password ให้ถูกต้อง แล้วก็เข้าไปในส่วน LAN setting เปลี่ยนค่า ip จาก 192.168.2.1 เป็น 192.168.2.50 แล้วก็สั่ง save setting

แต่ก่อนจะถึงขั้นตอนต่อไป มีค่า mac address ที่เราจะต้องใช้คือ Wireless Lan mac address (WLAN) ของ AP1 วิธีดูคือเข้าไปในส่วนของ advance set up/status ของหน้า config ของ AP1 สังเกตุในกรอบสีแดงนะครับ ให้จดค่าเอาไว้

หลังจากจดค่า WLAN mac address ไว้แล้ว กลับมาที่ AP2 เข้ามาที่หน้า log in (ในที่นี้คือ 192.168.2.50 ที่เราไปเปลี่ยนในตอนต้น) เข้าไปที่ advance set up/wireless/WDS (*WDS mode ของ SMC ก็คือ repeater mode ของยี่ห้ออื่นๆ ครับ)
เลือกเช็คบอกซ์ enable repeater ใส่ค่า WLAN mac address ของ AP1 ลงไปในกรอบสีแดง แล้วกด apply เสร็จแล้วตั้งค่า Channel and SSID และ security ให้ตรงกับค่าใน AP1 เป็นอันจบสำหรับ AP2

กลับมาที่ AP1 เข้ามาที่หน้า log in (ในที่นี้คือ 192.168.2.1) เข้าไปที่ advance set up/wireless/WDS เลือกเช็คบอกซ์ enable repeater แล้วกด rescan จะปรากฎ id ของ AP2 ขึ้นในลิสต์ เลือกเช็คบอกซ์แล้วกด save setting ก็เสร็จแล้วครับ

ทีนี้มาทดสอบกันดู ตอนนี้เรายังจะไม่ใช้ repeater นะครับใช้ AP1 ตัวเดียว
ในรูปนี้จะเป็นสัญญาณไวร์เลสในจุดอับสัญญาณในชั้น 1 ของบ้านผมนะครับมีขีดสองขีดเอง สังเกตุ id ของ base station ในวงกลมสีแดงจะเห็นว่าเครื่องคอมเรารับสัญญาณไวร์เลสจาก base station AP1 ซึ่งอยู่ชั้น 3 ของบ้าน

รูปนี้หลังจากผมต่อ AP2 เพิ่มที่ชั้น 1 สังเกตุในวงกลมสีแดงจะเห็นว่าเครื่องคอมเรารับสัญญาณไวร์เลสจาก base station AP2 แทน ซึ่งในจุดเดียวกันกับเมื่อกี้นี้สัญญาณแรงเต็มที่เลย แสดงว่าเราใช้ repeater mode ขยายสัญญาณจาก AP1 ได้สมบูรณ์ครับ
จริงๆ ยังมีอีกหลายวิธีที่จะขยายสัญญาณ wireless นะครับเช่นการเปลี่ยนหรือเพิ่มเสาขยายสัญญาณแต่ผมไม่มีโอกาสได้ลอง ท่านใดลองแล้วแนะนำกันมาด้วยนะครับ

Linksys WRT54GL ให้เป็น Repeater

วันนี้ได้รับเกียรติจากเพื่อนเชิญผมไปแก้ปัญหา Network ให้หน่อย เนื่องจากว่าที่ทำงานเค้าใช้ Wireless Network แล้วสัญญาอ่อนมากๆ เพราะอาคารรูปตัวแอล L และมีห้องภายในอีก ทำให้บางมุมอับสัญญาณ หรือบางทีติดๆดับๆ วิธีการแก้ปัญหาคือต้องทำ Repeater เพื่อเพิ่มสัญญาณ ซึ่งผมเองก็ไม่เคยทำมาก่อนเลย (แต่คิดว่าทำได้ 555) เสียเวลาหาข้อมูลไปตั้ง 2 ชั่วโมง กว่าจะได้เรื่องได้ราว

อุปกรณ์ทีมีดังนี้
1. Wireless Router ยี่ห้อ zyxel รุ่นอะไรไม่รู้
2. Access Point 2 ตัว เป็น Linksys WRT54GL
วิธีการ (คร่าวๆก่อนทำ Repeater)
1. เข้าไปที่ไอพี 192.168.1.254 (ไม่รู้ Default ของยี่ห้อนี้หรือเปล่า)
2. จัดการ Upgrade Firmware เป็น DD-WRT
3. Restart และเข้า IP ใหม่ 192.168.1.1
4. User : root
Password : admin (งง ไปพักใหญ่)
5. จ้ดการรายละเีอียดตามด้านล่างครับ
อะไรคือ Repeater
มันจะคล้ายๆกับปั๊มน้ำในบ้านครับ เราใช้ห้องน้ำที่ชั้น 2 แล้วมันไหลเอื่อยๆ เราก็ใช้เครื่องปั๊มน้ำเพิ่มแรงดันเข้าไปเลย หลักการคล้ายๆกันครับ WRT54GL จะ Copy ข้อมูลแล้วก็กระจายต่อ แต่ทีนี้ จุดที่ตั้งอุปกรณ์ Linksys WRT54GL จะต้องมีสัญญาณจากตัวส่งด้วยนะครับ ถ้าไม่มีมันก็ copy ข้อมูลเพื่อมากระจายต่อไม่ได้
ขั้นตอนมีดังนี้ครับ
1.ต่ออุปกรณ์ Linksys WRT54GL ที่ Upgrade Firmware เป็น DD-WRT เข้ากับเครื่อง Computer

2.เข้า Internet Explorer ด้วย 192.168.1.1 แล้วไปที่หน้า Wireless


3.เลือก Wireless Mode = Repeater จากนั้น Click ปุ่ม Add จะเป็นการเพิ่ม Virtual Interfaces มาอีกอัน ในส่วน wl0 จะเป็นชื่อสัญญาณ Wireless ที่เราต้องการนำมา Repeater และ wl1 คือสัญญาณ Wireless ที่เราจะเอาไปปล่อยต่อ Click [Apply Settings] และ Click [Save]

4.ในกรณีที่ wl0 มีการ Set Key เอาไว้ ให้นำไป set ในหน้า Wireless –> Wireless Security ให้ตรงกันครับ หรือถ้าเราต้องการใส่ Security สัญญาณ Wireless ที่เราจะปล่อยต่อ ก็ให้ Set ที่ wl1 เช่นกัน


5.Disable SPI Firewall ที่หน้า Security

6.แก้ IP ของ ตัว Router ให้เป็น 10.0.0.1 Click [Apply] และก็ Click [Save]

7.ถ้าให้ชัวร์ ดึงปลั๊ก Router ออกทิ้งไว้ซัก 5 วินาที หรือทำการ Release และ Renew IP ที่เครื่องคอมใหม่ครับ
8.เข้า IE ใช้ URL ใหม่คือ 10.0.0.1 ถ้าไม่มีปัญหาอะไร Set ถูกต้อง จะมี WAN IP โผล่ขึ้นมาครับ


9.ลอง Ping เข้า google จะต้องใช้ได้ครับ

เป็นเสร็จเรื่องครับ ภาระกิจนี้ Happy มีเน็ตใช้ทุกห้องอย่างทั่วถึง (คงจะเลิกเป็นข้ออ้างว่าเน็ตเล่นไม่ได้ เวลาเจ้านายถาม) พร้อมด้วยค่าเดินทางนิดหน่อยติดมือกลับห้อง
ขอขอบคุณ www.sysnetcenter.com

วิธี ขยายสัญญาณ Wireless ด้วย Engenius ESR-9753 ใน Mode Repeater

สวัสดีครับ



หัวข้อนี้จะกล่าวถึงวิธีการ Setup อุปกรณ์ Wireless Router ของ Engenius รุ่น ESR-9753 เพื่อใช้ใน Mode Repeater


Mode นี้ดียังไง


ใน กรณีที่คุณมีอุปกรณ์ที่ปล่อยสัญญาณ Wireless อยู่แล้วเช่นพวก Access Point หรือพวก Wireless ADSL Modem แต่ทีนี้ตัวรับสัญญาณ Wireless ที่ใช้อยู่ดันรับได้มั้งไม่ได้มั้ง

หรือ จะเชื่อมเข้ากับ Switch ที่มีมาอีก 4 Port ต่อเข้ากับอุปกรณ์ Network อื่นๆเช่นพวก Dreambox , Game Console , IP Camera , Media Box ที่ไว้เก็บหนังเช่นพวก PlayOnHD, อุปกรณ์ Load Bittorent ต่างๆ แต่ไม่ต้องการลากสาย Lan มายังอุปกรณ์เหล่านี้ให้ยุ่งยาก เราสามารถใช้อุปกรณ์ ESR-9753 ช่วยได้เลยครับ


1. ต่อสายสัญญาณจาก Port 1-4 (Port ไหนก็ได้ครับ) จาก ESR-9753 เข้ากับ Port Lan ของเครื่อง Computer


2. เปิด Internet Explorer พิมพ์ 192.168.0.1 ที่ช่อง Address จากนั้นกด Enter


3. ที่หน้าจอ Login ขึ้นมาใส่ User: admin และ Password: admin


4. จะขึ้นหน้า Config ของ ESR-9753 เข้าที่ Menu System ด้านขวา แล้ว Click ที่ Menu Lan ด้านบน เปลี่ยนดังนี้ครับ

IP Address: 192.168.1.1
Start IP: 192.168.1.100
End IP: 192.168.1.200





จากนั้น Click Apply จากนั้นรออุปกรณ์ Reboot แป๊บนึง



5. เพื่อความรวดเร็วดึงสาย Lan ออกจาก Computer ทิ้งไว้ซัก 10 วินาทีแล้วใส่กับเข้าไปใหม่



6. พิมพ์ 192.168.1.1 ที่ Internet Explorer ใหม่ แล้วใส่ User/Password อีกครั้ง



7. ที่ Menu ด้านซ้ายบน เลือก Mode [Repeater Mode] รอ Reboot อีกรอบ












8. เข้าที่ Menu Wireless --> Basic ให้ Click ที่ [Site Survey]






9. จะมีหน้าจอแสดงสัญญาณ Wireless โผล่ขึ้นมาครับ ให้ Click เลือกสัญญาณที่เราต้องการจะให้อุปกรณ์ ESR-9753 เชื่อมต่อ และ Click [Connect]






10. ในกรณีที่อุปกรณ์ Access Point ตัวหลัก มีการเข้ารหัสของสัญญาณเอาไว้ จะมีหน้าจอให้ใส่รหัสอีกครั้งครับ





ใส่รหัสให้ถูกต้องแล้ว Click [Apply]



11. รอ Reboot อีกที






12. ถ้า ESR-9753 เชื่อมต่อกับ Access Point ตัวหลักสำเร็จ จะโชว์ดังรูปครับ






13. ลอง Ping ทดสอบไปยัง Router


จากรูป IP ที่ Router ที่ร้าน จะเป็น 192.168.1.44






ในกรณี IP ที่ Router ที่ใช้เป็น 192.168.1.1 ให้เปลี่ยน IP จากข้อ 2 เป็น 192.168.1.2 ครับ




เรียบร้อยครับ

วิธีการขยายสัญญาณไร้สาย True Wi-Fi แบบ Repeater, Repeater Bridge บนอุปกรณ์ Linksys WRH54G DD-WRT V.24

คำถาม

1.ถ้าต้องการขยายสัญญาณในโหมด Repeater, Repeater Bridge เพื่อลดจุดอับสัญญาณให้ได้มากที่สุดต้องทำอย่างไรบ้าง?

คำตอบ

Linksys WRH54G Wireless-G 54 Mbps Broadband Router (Upgradable with DD-WRT) ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานในหลากหลายฟังก์ชั้นเหมือนกับ Linksys WRT54GL เพียงแต่ว่า FLASH 2MB/SDRAM 8MB น้อยกว่าเท่านั้น และ เสาอากาศไม่สามารถเปลี่ยนได้


ในบทความนี้จะใช้ Linksys WRH54G ทำงานใน โหมด Repeater , Repeater Bridge โดยต้อง upgrade Firmware DD-WRT v24 SP1
Repeater : จะเซ็ตให้ Linksys WRH54G ไปเกาะกับ สัญญาณ TrueWiFi ที่ปล่อยอยู่ทั่วไปตามพื้นที่สาธารณะ
Repeater : จะเซ้็ตให้ Linksys WRH54G ไปเกาะกับ Linksys WAG54G2


    รูปภาพ


ขั้นตอนการติดตั้งโหมด Repeater บน Linksys WRH54G 1

  1. เข้าหน้าบริหารการใช้งานของ Linksys WRH54G ไปเมนู
    Setup -> Basic Setup

    รูปภาพ


    WAN Connection Type
    Connection Type : Automatic Configuration - DHCP -> ให้ขา WAN รับ IP Address จาก TrueWiFi อัตโนมัติ

    รูปภาพ


    Router IP (เป็นส่วนของวงภายในของ Linksys WRT54GL)
    Local IP Address : 192.168.1.1 -> ตั้งค่า IP ของวงภายใน และ ค่า Gateway ของ Router
    Subnet Mask : 255.255.255.0 -> ตั้งค่า Subnet ของวงภายใน

    รูปภาพ


    DHCP (เป็นส่วนที่ต้องการให้วงภายใน Linksys WRH54G เมื่อเวลามีคนเข้ามาใช้งาน ให้ Router ตัวนี้แจก IP อัตโนมัติหรือไม่)
    DHCP Type : DHCP Server
    DHCP Server : Enable -> ให้ระบบแจก IP Address อัตโนมัติ
    Start IP Address : 192.168.1.100 -> เริ่มการแจก IP Address ที่ 100
    Maximum DHCP User : 50 -> สิ้นสุดการแจกเมื่อครบ 50 IP แล้ว

    รูปภาพ
  2. ตั้งค่าโหมด Repeater ที่ต้องการ ไปที่เมนู
    Wireless -> Basic Settings

    รูปภาพ


    Wireless Physical Interface (เป็นเครือข่ายไร้สายตัวหลัก)
    Wireless Mode : Repeater -> สำคัญมากในเลือกรูปแบบของ Linksys WRH54G ที่ต้องการให้ตัวนี้เป็น
    Wireless Network Mode : Mixed -> มาตรฐานไร้สายที่ต้องการ B+G
    Wireless Network Name (SSID) : truewifi -> สำคัญมากที่จะให้เครือข่ายหลักไปเกาะกับสัญญาณที่การจายอยู่ชื่อว่าอะไร

    Virtual Interfaces (เป็นการสร้างเครือข่ายไร้สายเสมือนอีกชื่อขึ้นมา)
    Wireless Network Name (SSID) : SYS2U Repeater -> เป็นชื่อไร้สายที่จะปล่อยสัญญาณออกจาก Linksys WRH54G อีกที

    รูปภาพ
  3. ตั้งค่าความปลอดภัยของเครือข่ายไร้สาย ไปทีเมนู
    Wireless -> Wireless Security

    รูปภาพ


    Physical Interface (ตั้งค่าความปลอดภัยให้ตรงกับ ตัวสัญญาณที่ไปเกาะ)
    Security Mode : Disable -> รูปแบบความปลอดภัยให้เหมือนกับตัวหลัก ซึ่ง truewifi ไม่มีการใส่รหัส


    Virtual Interface -> ต้องการให้ สัญญาณที่สร้างขึ้นมา SYS2U Repeater มีรหัสหรือไม่

    รูปภาพ
  4. ตรวจสอบการเชื่อมต่อของ Linksys WRH54G กับสัญญาณ truehisp ไปที่เมนู
    Status -> WAN

    รูปภาพ


    จะเห็นสถานะของ WAN IP ที่ truewifi ส่งมาเข้าที่ขา WAN
    WAN IP : ของ true
    Subnet : ของ true
    Gateway : ของ true
    DNS1 : ของ true
    DNS2 : ของ true

    รูปภาพ


    และเมนู Status -> Wireless
    Wireless Node
    จะ แสดงแถป ไวเลส ของ truewifi ที่โชว์ค่าของ สัญญาณ ( signal Quality ) 33% ซึ่ง ณ ขณะเดียวกัน เครื่อง Notebook สามารถจับความแรงของ สัญญาณ Truwifi ~ 2-3 ขีด

    รูปภาพ


    ทดสอบโดยการใช้คำสั่งใน Command ไปยัง Gateway ของฝั่ง truewifi
    ping 10.42.128.1 -> จะพบว่าค่าระดับสัญญาณ ~ 33% จะได้ค่า Time จากการใช้คำสั่ง Command ที่มีค่าอยู่ประมาณ 15-20 ms โดยประมาณ

    รูปภาพ


เสร็จสิ้นขั้นตอนการเชื่อมต่อโดยใช้ Linksys WRH54G ทำโหมด Repeater กับ trueWiFi



ขั้นตอนการติดตั้งโหมด Repeater Bridge บน Linksys WRH54G 2

  1. เข้าหน้าบริหารการใช้งานของ Linksys WRH54G ไปเมนู
    Setup -> Basic Setup

    รูปภาพ


    WAN Connection Type
    Connection Type : Disable -> ไม่ได้ใช้งาน

    รูปภาพ


    Router IP (เป็นส่วนของวงภายในของ Linksys WRH54G)
    Local IP Address : 192.168.200.10 -> ตั้งค่า IP ของวงภายใน ให้เป็นวงเดียวกับตัวหลัก
    Subnet Mask : 255.255.255.0 -> ตั้งค่า Subnet ของวงภายใน ให้เป็นวงเดียวกับตัวหลัก
    Gateway : 192.168.200.1 -> ตั้งค่า Gateway ของวงภายใน ให้ชี้ไปที่ Gateway ตัวหลัก
    Local DNS : 192.168.200.1 -> ตั้งค่า DNS ของวงภายใน ให้ชี้ไปที่ DNS หรือ Gateway ตัวหลัก

    รูปภาพ


    DHCP (เป็นส่วนที่ต้องการให้วงภายใน Linksys WRH54G เมื่อเวลามีคนเข้ามาใช้งาน ให้ Router ตัวนี้แจก IP อัตโนมัติหรือไม่)
    DHCP Type : DHCP Server
    DHCP Server : Disable -> ให้ระบบแจก IP Address มาจากตัวหลัก

    รูปภาพ
  2. ตั้งค่าโหมด Repeater Bridge ที่ต้องการ ไปที่เมนู
    Wireless -> Basic Settings

    รูปภาพ


    Wireless Physical Interface (เป็นเครือข่ายไร้สายตัวหลัก)
    Wireless Mode : Repeater Bridge -> สำคัญมากในเลือกรูปแบบของ Linksys WRH54G ที่ต้องการให้ตัวนี้เป็น
    Wireless Network Mode : Mixed -> มาตรฐานไร้สายที่ต้องการ B+G
    Wireless Network Name (SSID) : SYS2U -> สำคัญมากที่จะให้เครือข่ายหลักไปเกาะกับสัญญาณที่การจายอยู่ชื่อว่าอะไร

    รูปภาพ
  3. ตั้งค่าความปลอดภัยของเครือข่ายไร้สาย ไปทีเมนู
    Wireless -> Wireless Security

    รูปภาพ


    Physical Interface (ตั้งค่าความปลอดภัยให้ตรงกับ ตัวสัญญาณที่ไปเกาะ)
    Security Mode : WEP -> รูปแบบความปลอดภัยให้เหมือนกับตัวหลัก
    Default Transmit Key : 1 -> ใช้งานที่ KEY 1
    Encryption : 64bit 10 hex digit -> รูปแบบการเข้ารหัส
    KEY : 1234567890

    Virtual Interface -> ต้องการให้ สัญญาณที่สร้างขึ้นมา SYS2U Repeater Bridge มีรหัสหรือไม่

    รูปภาพ
  4. ตรวจสอบการเชื่อมต่อของ Linksys WRH54G กับสัญญาณต้นทาง ไปที่เมนู
    Status -> Wireless

    Wireless Node
    จะเห็นค่า MAC Address ของ Linksys WAG54G2 ตัวหลักที่โชว์ขึ้นมา และระดับสัญญาณ ( Signal Quality ) ขึ้นแถบระดับการเกาะของสัญญาณ

    รูปภาพ


    ทดสอบโดยการใช้คำสั่งใน Command ไปยัง Gateway ของฝั่งตัวหลัก
    ping 192.168.200.1 -> จะพบว่าค่าระดับสัญญาณ ~ 52% จะได้ค่า Time จากการใช้คำสั่ง Command ที่มีค่าอยู่ประมาณ 2-5 ms โดยประมาณ ซึ่ง Notebook จับสัญญาณตัว Linksys WAG54G2 4 ขีด เกือบเต็ม 5

    รูปภาพ


เสร็จสิ้นขั้นตอนการเชื่อมต่อโดยใช้ Linksys WRH54G ทำโหมด Repeater Bridge



จบบทความ