8/29/2555

แปลงไฟล์ pdf เป็น jpg ง่าย ๆเพียง 3 ขั้นตอน

หตุเพราะบล็อก English worksheet   ต้องนำไฟล์ pdf ขึ้นนำเสนอบนหน้าบล็อกด้วยการฝากไฟล์กับ slideshare  มันก็มีข้อดีและข้อเสียด้วย  ข้อดีคือ  หากฝากไฟล์บนเวบแชร์ไฟล์   ก็เป็นการเปิดช่องทางให้ผู้อ่านบล็อก ค้นพบเอกสารเราได้หลายช่องทาง   ข้อเสียคือ เน็ตที่ใช้ช้า กว่าจะอัพโหลด กว่าจะนำมาแปะที่เวบบล็อกได้  ต้องใจเย็น ๆๆๆ ดังนั้นก็เลยหาวิธีเอาไฟล์ pdf เหล่านี้ขึ้นบนเวบบล็อกด้วยวิธีใหม่  วิธีนั้นก็คือ  แปลงไฟล์ pdf เป็นไฟล์รูปภาพซะเลย แล้วก็วางในเวบบล็อกได้ทันที  ลองตามมาดูวิธีการแปลงไฟล์ pdf เป็นไฟล์รูปภาพกันดูไหมคะ ดิฉันแปลงไฟล์ pdf เป็น jpg ด้วยโปรแกรม Boxoft PDF TO JPG-Freeware
เป็นฟรีแวร์ที่ใช้แปลงไฟล์ pdf เป็นไฟล์รูปภาพ jpg ได้สบาย ๆ  อ่านรายละเอียดโปรแกรมและดาวน์โหลดที่นี่  ฟรีแวร์แปลงไฟล์ pdfเป็นไฟล์ jpg ด้วย Boxoft pdf to jpg (freeware)
ขั้นตอนวิธีการแปลงไฟล์ pdf เป็น jpg
ขั้นตอนที่  1 เปิดโปรแกรม Boxoft PDF TO JPG-Freeware ขึ้นมาค่ะ  เลือก Batch convert Mode ค่ะ

การแปลงไฟล์ pdf เป็น ไฟล์ jpg
คลิ๊กเลือก next
ขั้น ตอนที่ 2 เพิ่มไฟล์ pdf ที่ต้องการแปลงเป็นไฟล์รูปภาพ  ด้วยการคลิ๊ก add  จะปรากฏหน้าต่างให้เลือกไฟล์ pdf ที่ต้องการแปลง เป็น jpg   แล้วเลือกไฟล์ pdf ที่ต้องการ แล้วกด open
 การแปลงไฟล์ pdf เป็น ไฟล์ jpg
ขั้น ตอนที่ 3 แปลงไฟล์ pdf เป็นไฟล์ jpg ด้วยการคลิ๊ก convert  จะปรากฏหน้าต่างปรากฏขึ้นให้เลือก โฟลเดอร์เก็บไฟล์ jpg  ที่สร้างขึ้นจะเก็บไว้ที่ใด 
การแปลงไฟล์ pdf เป็น ไฟล์ jpg
เมื่อเลือกได้แล้วโปรแกรมจะทำการ convert  (แปลงไฟล์ ) เสร็จสรรพ จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมาบอกสถานะว่าแปลงไฟล์เสร็จแล้ว
การแปลงไฟล์ pdf เป็น ไฟล์ jpg
หาก ต้องการเข้าไปดูไฟล์ที่แปลงเสร็จ เลือก คลิ๊กเลือก ok เพื่อเปิดดูโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์  แค่นี้ก็จะได้ไฟล์ jpg จากไฟล์ pdf เรียบร้อยแล้วค่ะ  3 ขั้นตอนจริง ๆ นะ จะบอกให้

ฟรีแวร์แปลงไฟล์ pdfเป็นไฟล์ jpg ด้วย Boxoft pdf to jpg (freeware) 

 

การแปลงไฟล์เอกสารสามารถแปลงเป็นไฟล์ pdf ได้หลายแบบ  ทั้งที่แปลงด้วยเวบ หรือแปลงด้วยโปรแกรม   แต่วันหนึ่งเกิดมีความจำเป็นต้องแปลงไฟล์ pdf กลับมาเป็นรูปภาพนี่สิ   ยังไม่เคยชวนเพื่อน ๆ ลองแปลงไฟล์กันสักครั้ง   วันนี้ก็เลยนำโปรแกรม  เป็นฟรีแวร์  ใช้ฟรี ๆ มาให้ทดลองใช้ กันค่ะ
ฟรีแวร์แปลงไฟล์ pdf เป็นไฟล์รูปภาพ jpg
โปรแกรมฟรีแวร์ที่ใช้แปลงไฟล์ pdf เป็นไฟล์รูปภาพที่นำเสนอวันนี้มีชื่อว่า
Boxoft  PDF To  JPG   สามารถแปลงไฟล์ pdf ไปเป็นไฟล์รูปภาพ jpg  ได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน   แต่ในการใช้งานโปรแกรมนี้จำเป็นต้องใช้ ตัวช่วยเป็น gpl  ghostscript ในการช่วยแปลงไฟล์  แต่ก็ใช้ฟรีเช่นกันค่ะ  ทดลองดาวน์โหลดไปใช้ดูนะคะ
version :  1.0
size  : 1.60 MB
ลิขสิทธ์  : freeware
OS support   : Windows 2000/2003/XP/Vista/7


                                 คลิ๊กเพื่อ  ดาวน์โหลด Boxoft  PDF TO JPG  - Freeware
                                                 ดาวน์โหลด  free GPL Ghostscript 8.71  ที่นี่

 

8/15/2555

วิธีอัดเสียง เข้าคอมพิวเตอร์ มาบันทึกเสียงลงคอมกัน

 วิธีอัดเสียง เข้าคอมพิวเตอร์    มาบันทึกเสียงลงคอมกัน   แล้วนำมา แปลง ต่อ อีก ที

เป็นโปรแกรมที่มีอยู่ในทุกๆเคื่องครับเป็นโปรแกรมที่ฟรีด้วย สำหรับการอัดเสียง
ไปเปิดโปรแกรมที่   start>>>accessories >>> entertainment >>> sound record ครับ
ดังรูป
 
 
 
แล้วจะมีโปรแกรมเด้งขึ้นมาตามรูป
 
 
พอได้แล้ว การบันทึกเสียงไม่มีอะไรยากมากมายครับ เพียงแค่กดที่ปุ่ม ที่เป็นรูป วงกลมสีแดงเท่านั้นแหละครับ ก็สามารถอัดเสียงได้แล้ว
หากบันทึกเสียงเป็นที่เรียบร้อยแ้ล้วให้กดที่ ปุ่ม สี่เหลี่ยมสีดำครับ แล้วไปที่  file>>> save เบื่อบันทึก
 ครับ

เครื่องมืออัดเสียง Sound Recorder Windows 7

เครื่องมืออัดเสียง Sound Recorder สำหรับ Windows 7

เมื่อเราืืำทำการลง Windows 7 แล้วจะมี Tool ตัวหนึ่งที่สามารถทำการอัดเสียงอันไพเราะของเราเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ โดย Tool ตัวนั้นชื่อว่า Sound Recorder ซึ่งจะติดมากับ Windows 7 นะครับ ก่อนที่อัดเสียงเพื่อนๆก็ต้องมีไมค์ก่อนนะครับถึงจะพูดเสียงหรือร้องเพลง เพื่ออัดเสียงเราลงไปในคอมพิวเตอร์
โดยเจ้า Sound Recorder จะอยู่ที่ Start > Accessories > Sound Recorder
เมื่อ เราต้องการอัดเสียง ก็ให้เรากด Start ที่ตัวโปรแกรม และถ้าเราจะหยุดอัดเสียงก็ให้เรากด Stop จากนั้นก็ Save เป็นชื่อไฟล์ฺ โดยนามสกุลของไฟล์จะเป็น .WMA นะครับ
Sound_Recorder_1

ก่อน ที่เราจะอัดเสียงลงไปเราอาจจะต้องมี Setup ไมค์ของเราก่อนนะครับ โดยให้มาที่ Control Panel จากนั้นให้เลือก Speech Recognition > Set up microphone ต่อจากนั้นให้เลือกรูปแบบไมค์ของเรา และก็ Setup ครับ


Sound_Recorder_2
Sound Recorder ดีมากเลยนะครับ เผื่อเราว่างๆกด อัดเสียงที่เรานั่งร้องเพลง และ save เอาไปให้สาวที่เราชอบ ^ ^ โดยเจ้า Sound Recorder จะติดมากับ Windows 7 ทุก Edition ครับ ใครยังไม่เคยลองใช้โปรแกรมนี้ก็ลองอัดเสียงเราเล่นดูนะครับ

Shutdown windows แล้วล้างขยะ ออกจากคอมพิวเตอร์

ปกติคุณใช้วินโดวส์ไม่ว่าจะเปิดทำงานหรือท่องเน็ต เมื่อเลิกใช้แล้วมันจะทิ้งขยะติดค้างอยู่ในเครื่องของคุณ 

เมื่อ Shutdown มันก็ยังค้างอยู่ไม่หายไปไหน แต่ผมวันนี้มีวิธีที่จะช่วยคุณๆ ให้ Shutdown แล้วล้างขยะพวกนี้ไม่ให้มากินพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ โดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมใดๆ เพียงใช้ของที่มีอยู่ในวินโดวส์ให้เป็นประโยชน์
โดยใช้คำสั่งของดอสบวกกับ Group Policy ของวินโดวส์ ไปเริ่มกันเลย

1.ให้คุณเปิด Notepad ขึ้นมาแล้วสร้าง batch file โดยพิมพ์ตามนี้
RD /S /Q "C:\Documents and Settings\Default User\Local Settings\Temp"
RD /S /Q "C:\Documents and Settings\Default User\Local Settings\History"
RD /S /Q "C:\Documents and Settings\tai\Local Settings\Temp"
RD /S /Q "C:\Documents and Settings\tai\Local Settings\History"

***ตรง "User name" ให้แทนด้วยชื่อ Account ของคุณที่ใช้ในวินโดวส์***
++คุณสามารถเพิ่มคำสั่งให้ลบไฟล์ Temp file ที่ไดร์ฟอื่นๆ ได้ ด้วยการระบุ path ของไฟล์เช่นเดี่ยวกับวิธีดังกล่าว
2. เซฟไฟล์ให้เป็น .BAT ในที่นี้ผมตั้งชื่อว่า deltemp.bat และเก็บไว้ที่ C:
3. เมื่อทำตามข้อ 1 และ 2 เสร็จแล้วพักไว้ มาเปิด Group Policy โดยไปที่ Start>Run พิมพ์คำว่า gpedit.msc คลิก OK
4. จะมีหน้าต่าง Group Policy ให้คลิกที่ Computer Configuration > Windows Setting > Scripts (Startup/Shutdown)
และดับเบิลคลิกที่ Shutdown ที่หน้าต่างขวามือ

5. จะมีหน้าต่าง Shutdown Properties ออกมาให้คลิกที่ Add
6. ที่หน้าต่าง Add a Script ให้คุณ Browse.. หา Batch file ที่คุณทำไว้ก่อนหน้านี้ คลิก OK และ OK
อันเป็นเสร็จเรียบร้อย คราวนี้ทุกครั้งที่คุณ shutdown เครื่อง คอมคุณก็จะไม่มีไฟล์ขยะให้มารกฮาร์ดดิสก์คุณอีก
๐๐บทความนี้ผมได้อ่านเจอจากในเวปหนึ่ง ขออภัย ที่ผมลืม ชื่อเวปนั้นไป ทำให้ไม่สามารถระบุอ้างอิงถึงผู้เขียนได้ ความดีใด ๆ ขอยกให้กับท่านผู้เขียนไว้๐๐
++หากท่านใดทราบว่าบทความนี้เคยเผยแพร่ที่เวปไหน กรุณาแจ้งกลับผมด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง++

8/14/2555

การกำหนดผู้ใช้ฐานข้อมูล






  เนื่องจาก MySQL ทำงานภายใต้ Client Server สามารถทำงานได้ทั้งเครือข่าย Internet และ Intranet นั่นหมายความว่าผู้ใช้สามารถใช้ MySQL จากที่ใดก็ได้ในโลกที่มี Internet  อย่างไรก็ตามถ้ามีผู้ใช้ผู้อื่นที่ไม่พึงประสงค์ เข้ามาใช้ข้อมูลของเราหรือผู้บุกรุกระบบ   (Hacker) ก็จะสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลของเราได้ ความจำเป็นของระบบป้องกันความปลอดภัย จึงต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  MySQL ได้มีระบบดังกล่าวมาให้เรียบร้อยแล้ว มันสามารถกำหนดผู้ใช้ฐานข้อมูลตลอดจนสิทธิในการใช้ เช่นสามารถดูข้อมูลได้อย่างเดียว หรือสามารถดูแก้ไขและลบข้อมูลได้ เป็นต้น  การกำหนดสิทธิ(ระดับการใช้ข้อมูล) และผู้ใช้มีรูปแบบคำสั่งดังต่อไปนี้
         รูปแบบคำสั่งการกำหนดผู้ใช้ข้อมูล 
 
       รูปแบบคำสั่งกำหนดผู้ใช้ข้อมูล
       GRANT  all/select,insert,update,delete  ON tablename TO  username;         คำอธิบาย
       GRANT  all/select,insert,update,delete  ON tablename TO  username;
       GRANT คำ สั่งกำหนดสิทธิและผู้ใช้ข้อมูล
        all ให้สิทธิทั้งหมด insert, select, update, delete
       select,insert,update,delete  สิทธิการใช้อาจไม่ต้องกำหนดให้ทั้งหมดก็ได้ สามารถเลือกได้ตามความต้องการ
        ON เป็นการกำหนดให้ table ชื่ออะไร
        TO ให้แก่ใคร
        username ชื่อของ user ที่ต้องการกำหนด
       ตัวอย่าง
        SELECT * FROM phonebook ORDER BY  salary;
 
 วิธีการทำ 1
         ให้กำหนดสิทธิผู้ใช้ฐานข้อมูล table  phonebook ชื่อ jib  โดยสามารถจัดการข้อมูลได้ทุกอย่าง
          ผลลัพธ์ดังภาพข้างล่าง
 
mysql> 
mysql> GRANT all ON phonebook TO jib;
Query OK, 0 rows affected (0.03 sec)

mysql>  
 วิธีการทำ 2
         ให้กำหนดสิทธิผู้ใช้ฐานข้อมูล table  phonebook ชื่อ somchai  โดยสามารถ select และ insert data ได้เท่านั้น
          ผลลัพธ์ดังภาพข้างล่าง
 
mysql>
mysql> GRANT select,insert ON phonebook TO somchai;
Query OK, 0 rows affected (0.00 sec)

mysql>    
           MySQL ยังสามารถขอดู user ที่เราได้กำหนดไปแล้วได้ด้วย
           รูปแบบคำสั่งการขอดูผู้ใช้ข้อมูล 
 
       รูปแบบคำสั่งขอดูผู้ใช้ข้อมูล
       SELECT  user();         คำอธิบาย
       SELECT  user();
       SELECT ขอดูข้อมูล
       user() ข้อมูล user ที่เรากำหนด
      ตัวอย่าง
       SELECT  user();
 
วิธีทำ
          ให้ขอดู user ที่เรากำหนดไว้แล้ว
           ผลลัพธ์ ดังภาพ
 
mysql>

mysql> SELECT user();
+----------------+
| user()         |
+----------------+
| root@localhost |
+----------------+
1 row in set (0.01 sec)

mysql>     

 
การยก เลิกผู้ใช้ฐานข้อมูล
       เมื่อเราสามารถกำหนดผู้ใช้ฐานข้อมูลได้แล้วเราก็ต้องสามารถยกเลิกได้ด้วย การยกเลิกสิทธิเราสามารถยกเลิกทั้งหมด หรือยกเลิกสิทธิเฉพาะอย่างได้ เช่น user ชื่อ jib มีสิทธิสามารถทำได้ทุกอย่าง select, insert, update, delete data ได้ ในขณะเดียวกันเราก็สามารถยกเลิกสิทธิบางอย่างได้เช่น ยกเลิก การ update และ delete data ได้เป็นต้น
         รูปแบบคำสั่งการยกเลิกผู้ใช้ข้อมูล 
 
       รูปแบบคำสั่งจัดการกำหนดผู้ใช้ข้อมูล
       REVOKE  all/select,insert,update,delete  ON tablename From  username;         คำอธิบาย
       REVOKE  all/select,insert,update,delete  ON tablename From  username;
       REVOKE คำ สั่งยกเลิกการกำหนดสิทธิและผู้ใช้ข้อมูล
        all ยกเลิกทั้งหมด
       select,insert,update,delete  ยกเลิกบางส่วน สามารถเลือกได้ตามความต้องการ
        ON ยกเลิกที่ table ชื่ออะไร
        From ยกเลิกผู้ใด
        username ชื่อของ user ที่ต้องการยกเลิก
       ตัวอย่าง
        REVOKE  all ON phonebook From jib;
 
 วิธีการทำ 1
         ให้ยกเลิกสิทธิผู้ใช้ฐานข้อมูล table  phonebook ชื่อ somchai  โดยยกเลิกทั้งหมด (ได้สร้างจากข้างต้นแล้ว)
          ผลลัพธ์ดังภาพข้างล่าง
 
mysql> 
mysql> REVOKE all ON phonebook FROM somchai;
Query OK, 0 rows affected (0.01 sec)

mysql>  
 วิธีการทำ 2
         ให้ยกเลิกสิทธิผู้ใช้ฐานข้อมูล table  phonebook ชื่อ jib โดยยกเลิกเฉพาะ update, delete (ได้สร้างจากข้างต้นแล้ว)
          ผลลัพธ์ดังภาพข้างล่าง
 
mysql>

mysql> REVOKE update,delete ON phonebook FROM jib;
Query OK, 0 rows affected (0.00 sec)

mysql>     
        Tip  user โดยทั่วไปเช่นผู้สั่งซื้อของผ่านทางอินเทอร์เนต จะไม่สามารถแก้ไขและลบข้อมูลได้ จะมี user เฉพาะเท่านั้นที่สามารถแก้ไขและลบข้อมูลได ้เช่น user admin เป็นต้น ดังนั้นการกำหนดสิทธิ user จึงหมายถึงความปลอดภัยของระบบด้วย

การให้ สิทธิ์

การให้สิทธิ์ในหารใช้หรือยกเลิกการใช้ข้อมูลแก่ผู้ใช้คนใดคนหนึ่งนั้น ระบบจัดการฐานข้อมูลมีกลไกที่จะระบุสิทธิ์เหล่านี้โดยผู้ที่มีอำนาจในการให้ สิทธิ์แก่ผู้ใช้อื่น ๆ เช่น ในระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์บางประเภทมีคำสั่งที่ใช้ในการระบุการให้ สิทธิ์การใช้ข้อมูลเพื่อควบคุมความปลอดภัยของข้องมูลเพื่อให้เข้าใจถึงกลไก ที่ใช้ในการให้สิทธิ์แก่ผู้ใช้ ตัวอย่างคำสั่ง SQL ที่ใช้ใน ORACLE 8 มีดังนี้ คือ
 

คำสั่งที่ใช้ คือ
 
GRANT
 
ความหมายของ Option อาจจะเป็นดังนี้
Connect           หมายถึง            การกำหนดให้ผู้ใช้นั้น ๆ สามารถเข้าใช้งานในระบบได้ (log on) โดยสามารถใช้งานในระบบตามสิทธิ์ที่ได้ถูกกำหนดให้
Resource         หมายถึง            การกำหนดให้ผู้ใช้นั้น ๆ สามารถสร้างรีเลชั่นใหม่ (ตาราง) รวมถึงการทีดัชนี (Index)
DBA                 หมายถึง            การกำหนดให้ผู้ใช้นั้น ๆ เป็นผู้จัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นผู้กำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้
 
สมมุติให้กำหนดผู้ใช้ใหม่ ชื่อ CHAI และมีรหัสผ่าน คือ STUDENT 1 คำสั่ง SQL ที่ใช้ คือ
                       
GRANT CONNECT
                   TO CHAI
                   IDENTIFIED BY STUDENT 1;
 
2.      การให้สิทธิ์ในการใช้ฐานข้อมูล
อาจทำได้ ดังนี้ คือ
2.1     การให้สิทธิ์ในการเพิ่มหรือลบข้อมูลรีเลชั่นหนึ่ง ๆ
สมมุติว่า ผู้ใช้ A2 ได้สิทธิ์ในการเพิ่มหรือลบข้อมูลในรีเลชั่น EMPLOYEE และคำสั่ง SQL ทีใช้ในการให้สิทธิ์ดังกล่าว เป็นดังนี้ คือ
 
GRANT INSERT, DELETE ON EMPLOYEE, DEP TO A2;
 
            จากตัวอย่างนี้ จะเห็นว่าผู้ใช้ A1 สามารถใช้สิทธ์ผู้ใช้ A2 หรือคนอื่น ๆ ในการเพิ่มปรือลบข้อมูลได้ แต่ผู้ใช้ A2 ไม่ได้รับอนุญาตที่จะให้สิทธิ์ดังกล่าวให้ผู้ใช้คนอื่น ๆ ต่อไป
 
2.2     การให้สิทธิ์ในการเรียกดูข้อมูล
สมมุติผู้ใช้ A3 ได้สิทธิ์ในการเรียกดูข้อมูลจากรีเลชั้น EMPLOYEE และ DEP และอนุญาตให้ผู้ใช้ A3 ให้สิทธิ์กับผู้ใช้คนอื่นได้ (PROPAGATION OF PRIVILEGES) สมมุติในที่นี้คือ A4 คำสั่ง SQL ที่ใช้ในการให้สิทธิ์ดังกล่าวเป็นดังนี้ คือ
 
GRANT SELECT ON EMPLOYEE, DEP TO A3
              WITH GRANT OPTION;
 
ข้อความ “WITH GRANT OPTION” หมายความว่า A3 สามารถมอบสิทธิ์ในการเรียกดูข้อมูลจารรีเลชั่นทั้ง สองแก่ผู้ใช้อื่น เช่น A4 โดยใช้คำสั่ง ดังนี้
 
GRANT SELECT ON EMPLOYEE, DEP TO A4;
 
2.3     การให้สิทธิ์ในการสร้างดัชนี
สมมุติผู้ใช้ A3 ได้สิทธิ์ในการสร้างดัชนีของรีเล ชั่น EMPLOYEE คำสั่ง SQL ที่ใช้คือ
 
GRANT INDEX ON EMPLOYEE TO A3;
 
            สมมุติให้ผู้ใช้ A2 ได้รับสิทธิ์ในการปรับปรุงค่าของแอททริบิวต์ SALARY ในรีเลชั่น EMPLOYEE คำสั่งใน SQL ที่ใช้เป็นดังนี้
 
GRANT UPDATE ON EMPLOYEE (SALARY) TO A2;
           
2.4 การยกเลิกสิทธิ์ในการเรียกดูข้อมูล
ผู้ที่มีอำนาจ่ในการให้ สิทธิ์การเรียกดูข้อมูลแก่ผู้ใช้คนอื่น ๆ สามารถที่จะยกเลิกสิทธิ์ดังกล่าวได้สมมุติว่าผู้ใช้ A1 ต้องการยกเลิกสิทธิ์ในการเรียกดูข้อมูลจากรีเล ชั่น EMPLOYEE จากผู้ใช้ A3 คำสั่ง SQL ที่ใช้ในการยกเลิกสิทธิ์ เป็นดังนี้คือ
 
            REVOKE SELECT ON EMPLOYEE FROM A3;
 
            เมื่อใช้คำสั่งนี้ ระบบจัดการฐานข้อมูลจะยกเลิกสิทธิในการเรียกดูข้อมูลจากรีเลชั่น EMPLOYEE จากผู้ใช้ A4 ซึ่งได้รับสิทธิ์จาก A3 มาอีกทอดหนึ่งโดยอัตโน

การประยุกต์ใช้งานฐานข้อมูล : ตอน 1

ฐานข้อมูลต้อง ทำงานร่วมกับแอพลิเกชันได้ดี แอพลิเกชันคือโปรแกรมประยุกต์ใช้งานซึ่งมีหน้าที่แสดงส่วนปฏิสัมพันธ์กับผู้ ใช้เพื่อให้ใช้งานได้ง่าย ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้ถึงโครงสร้างหรือแม้แต่ความมีอยู่ของฐานข้อมูล ประเด็นคือต้องทำให้ผู้ไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์เลย เช่นพนักงานธนาคาร พนักงานขาย พนักงานขายประกัน พนักงานระดับบริหาร และเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ ที่ไม่ใช่นักเทคนิคสามารถใช้งานฐานข้อมูลได้ง่ายที่สุด
หัวข้อที่ ผ่านมาท่านได้เรียนลักษณะของแบบจำลองฐานข้อมูลชนิดต่างๆ ไปแล้ว ในบทนี้ท่านจะได้เรียนข้อควรคำนึงต่างๆ ในการประยุกต์ใช้งานฐานข้อมูล ซึ่งมีหัวข้อดังนี้
•    ฐานข้อมูลในงานธุรกรรม (OLTP)
•    ฐานข้อมูลในงานช่วยตัดสินใจ (OLAP)
•    ฐานข้อมูลแบบผสมผสาน
•    มุมมองใหม่ต่อฐานข้อมูล
•    การประมวลผลแบบขนาน
•    แรมราคาถูกลง
•    โซลิดสเตทดิสก์
•    ฮาร์ดดิสก์สมัยใหม่
•    เมื่อข้อมูลเปลี่ยนไป
•    แต่ความคิดยังไม่เปลี่ยน

3.1. ฐานข้อมูลในงานธุรกรรม (OLTP)ฐาน ข้อมูลในงานธุรกรรมเป็นงานที่เข้าถึงข้อมูลหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลในปริมาณ น้อย (คือครั้งละหนึ่งหรือสองแถว) งานส่วนมากคือการเรียกข้อมูลมาดู เพิ่มข้อมูล เปลี่ยนแปลงข้อมูล ลบข้อมูล โดยเป็นการทำครั้งละหนึ่งแถว เช่นข้อมูลของลูกค้าหนึ่งราย หรือสินค้าหนึ่งรายการ ยกตัวอย่างการใช้งานฐานข้อมูลในงานธุรกรรมมีดังนี้
•    ฐานข้อมูลแบบไคลแอนเซอฟเวอร์: การใช้งานในสภาพแวดล้อมแบบไคลแอนเซอฟเวอร์เป็นแบบที่นิยมกันมากก่อนยุค อินเตอร์เน็ตเฟื่องฟู มักเป็นการใช้งานภายในองค์กร จำนวนผู้ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร อาจมีผู้ใช้เพียงคนเดียวถึงหลายพันคน การทำธุรกรรมจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลครั้งและเพียงแถวเดียว หรือเรคคอร์ดเดียว หรือไม่ก็ดึงข้อมูลเป็นชุดเพื่อการทำรายงาน ฐานข้อมูลแบบไคลแอนเซอฟเวอร์ไม่จำเป็นต้องรองรับปริมาณการไหลของข้อมูลสูง มากนัก เพราะจำนวนผู้ใช้จะถูกจำกัดไว้ในปริมาณที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่นหน่วยงานที่มีผู้ใช้หนึ่งพันคนโอกาสที่ผู้ใช้จะดึงข้อมูลจาก ฐานข้อมูลในขณะเดียวกันมีน้อยมาก
•    ฐานข้อมูลแบบ OLTP: เป็นฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกับอินเตอร์เน็ตแอพลิเกชัน ปริมาณผู้ใช้ที่เรียกใช้ฐานข้อมูลพร้อมๆ กันจะสูงกว่าฐานข้อมูลแบบไคลแอนเซอฟเวอร์มาก ฐานข้อมูลแบบ OLTP จึงจำเป็นต้องรองรับปริมาณการไหลของข้อมูลสูงกว่า งานลักษณะนี้จะมีผู้ใช้นับล้านคนใช้งานวันละยี่สิบสี่ชั่วโมงปีละสามร้อยหก สิบห้าวัน ทำให้อาจมีผู้ใช้นับพันดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลพร้อมๆ กันได้ตลอดเวลา
 
ภาพ 3-1 : สถาปัตยกรรมแบบไคลแอนเซอฟเวอร์
 
3.2. ฐานข้อมูลเพื่อช่วยตัดสินใจ (OLAP)
ฐาน ข้อมูลในงานช่วยตัดสินใจมีหน้าที่เหมือนชื่อของมัน คือช่วยให้ผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ในระดับบริหารมีข้อมูลสำหรับใช้ตัดสินใจ ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ยกตัวอย่างการใช้งานฐานข้อมูลในงานช่วยตัดสินใจมีดังนี้
•    ฐานข้อมูลแบบโกดังข้อมูล: โกดังข้อมูล (data warehouse) มีแบบจำลองเหมือนกับฐานข้อมูลในงานธุรกรรม จะแปลกกันที่งานโกดังข้อมูลมักเก็บข้อมูลประวัติย้อนหลังไปหลายปีเพื่อใช้ใน การทำนายแนวโน้ม ขณะที่งานธุรกรรมจะเก็บเฉพาะข้อมูลปัจจุบัน ดังนั้นฐานข้อมูลแบบโกดังข้อมูลจะมีขนาดใหญ่กว่าฐานข้อมูลในงานธุรกรรมหลาย เท่า (บางครั้งใหญ่กว่าเป็นล้านเท่า) ข้อมูลที่อยู่ในโกดังข้อมูลมักเป็นข้อมูลที่รวบรวมมาจากฐานข้อมูลแบบ OLTP (คือย้ายข้อมูลมาจาก OLTP แล้วจึงลบข้อมูลใน OLTP ไปเสีย) โกดังข้อมูลต้องการแบบจำลองข้อมูลที่ถูกออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
•    ฐานข้อมูลแบบคลังข้อมูล: คลังข้อมูล (data mart) คล้ายโกดังข้อมูลแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก มีหน้าที่ใช้พักข้อมูลชั่วคราวเพื่อการประมวลผลก่อนนำไปสร้างโกดังข้อมูล คลังข้อมูลจะมีแบบจำลองเหมือนกันกับโกดังข้อมูล
•    ฐานข้อมูลรายงาน: ฐานข้อมูลรายงานมีลักษณะเช่นเดียวกับโกดังข้อมูลแต่มีขนาดเล็กกว่า ฐานข้อมูลรายงานจะมีเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการทำรายงาน ขณะที่โกดังข้อมูลมีข้อมูลเก่าย้อนหลังไปนาน (archived data) สาเหตุที่ต้องมีฐานข้อมูลรายงานไม่ทำรายงานจากโกดังข้อมูลโดยตรงเพราะโกดัง ข้อมูลมีขนาดใหญ่เทอะทะไม่ยืดหยุ่น จึงใช้ทำรายงานได้ไม่สะดวก
ภาพ : 3-2 : ตัวอย่างระบบงานโกดังข้อมูลหรือดาต้าแวร์เฮาส์ใช้งานผ่านเว็บ

3.3. ฐานข้อมูลแบบผสมผสาน
ฐานข้อมูล แบบผสมผสาน (Hybrid Database ย่อ HD) คือการผสมความต้องการระหว่างฐานข้อมูลในงานธุรกรรมและฐานข้อมูลในงานช่วย ตัดสินใจเอาไว้ด้วยกัน จุดมุ่งหมายของ HD คือต้องการลดค่าใช้จ่าย เพราะ HD จะมีเพียงฐานข้อมูลเดียว ใช้เซอฟเวอร์เพียงตัวเดียว จึงประหยัดค่าฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และรายจ่ายอื่นๆ ในการบำรุงรักษา  HD จึงเหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณการไหลของข้อมูลต่ำและมีจำนวนผู้ใช้ไม่มากนัก

3.4. มุมมองใหม่ต่อฐานข้อมูลความก้าวหน้าทาง ฮาร์ดแวร์ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทำให้คอมพิวเตอร์ที่เราใช้ทำฐานข้อมูลใน ปัจจุบันนี้แตกต่างจากสมัยที่ผู้เขียนสร้างฐานข้อมูลด้วยโปรแกรมดีเบสทู (dBase II) กฎของมัวร์บอกเราว่าตัวประมวลผลจะมีความเร็วเพิ่มเป็นสองเท่าในทุกๆ สิบแปดเดือน แต่ความก้าวหน้าทางฮาร์ดแวร์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกับตัวประมวลผลเท่านั้น อุปกรณ์รอบข้างต่างๆ เช่นหน่วยบักทึกข้อมูลก็มีความจุมากกว่าเดิม และมีราคาถูกลงอย่างรวดเร็ว
เมื่อไม่กี่ปี มานี้เคยมีปัญหาใหญ่เรื่องแถบความกว้างในการไหลของข้อมูล (data bandwidth) ที่ใช้เพื่อรับ-ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำแรมกับฮาร์ดดิสก์มีขนาดเล็กและ มีความเร็วต่ำ เปรียบเหมือนมีบ่อน้ำขนาดยักษ์แต่ท่อส่งน้ำมีขนาดเล็กจิ๋ว แต่ตอนนี้ปัญหาหมดไปแล้วเพราะฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่มีความเร็วสูงมาก
 
ภาพ 3-3 : โปรแกรมดีเบสทูเป็นโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลเคยได้รับความนิยมอย่างสูง แต่มันไม่ใช่ RDBMS และไม่สนับสนุนภาษา SQL

สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล

 
ความปลอดภัยของ ข้อมูล (security) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันผู้ใช้ที่ไม่มีอำนาจในการเรียกใช้ ข้อมูลนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาใช้ อันอาจจะเกิดผลเสียกับระบบฐานข้อมูลได้ ในระบบที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมากจำเป็นต้องมีการควบคุมการเรียกใช้ข้อมูล การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล DBAจะกำหนด การให้สิทธิ (Authorization)แก่ผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูลให้มีสิทธิในการใช้ข้อมูลแตกต่าง กัน เช่น
- สิทธิในการอ่านข้อมูลหรือเรียกดูข้อมูล (read)
- สิทธิในการเพิ่มข้อมูล (insert)
- สิทธิในการเปลี่ยนแปลงข้อมูล (update)
- สิทธิในการลบข้อมูล (delete)
- สิทธิในการสร้างดัชนี (index)
- สิทธิในการสร้างตารางหรือวิว (resource)
- สิทธิในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล (alteration)
- สิทธิในการลบตารางหรือวิว (drop)
การกำหนดสิทธิในการ เข้าถึงข้อมูล และมอบอำนาจการเข้าถึงข้อมูลตลอดจนเรียกคืนอำนาจได้ DBAจะระบุสิทธิผู้ใช้ในระบบด้วยภาษา SQL ได้ดังนี้

1.การให้รหัสแก่ผู้ใช้

เป็น การกำหนดรหัสผ่านให้แก่ผู้ใช้ โดยใช้คำสั่ง CREATE เช่น ถ้าต้องการสร้างสิทธิให้แก่ผู้ใช้ชื่อ Wichaiให้เข้าในระบบฐานข้อมูลได้ในเบื้องต้นที่จะเข้าสู่ฐานข้อมูลได้จะต้อง มีการยืนยันตัวบุคคลว่าเป็น Wichai จริงโดยระบบการจัดการฐานข้อมูลจะต้องทำการตรวจเช็คจารรหัสผ่านที่กำหนดให้ กับ Wichai DBA จะสร้างรหัสผ่านให้แก่ Wichai ด้วยภาษา SQL โดยในตัวอย่างนี้ Wichai จะมีรหัสผ่านว่า BENZ2000
CREATE Wichai IDENTIFIED BY BENZ2000
นอกจากการให้รหัส แก่ผู้ใช้ในการใช้ฐานข้อมูลแล้ว ผู้ใช้จะถูกกำหนดโดย DBA ให้สามารถใช้ฐานข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องได้เท่านั้น การกำหนดสิทธิแก่ผู้ใช้ให้สามารถใช้ฐานข้มูล โดยกำหนดขอบเขตอำนาจการใช้ข้อมูล เราสามารถกำหนดสิทธิใดสิทธิหนึ่ง หรือบางสิทธิ หรือทุกสิทธิให้กับผู้ใช้งานได้
สิทธิการใช้งานจะมี กี่ชนิดขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่ต้องการกำหนดสิทธิ เช่นสิทธิการทำงานกับตารางข้อมูลอาจมีเพียงแค่อ่านและเขียนข้อมูล DBA จะจะทำการกำหนดสิทธิด้วยภาษา SQL คำสั่งที่ใช้ในการกำหนดสิทธิกับผู้ใช้ได้แก่
การกำหนดสิทธิการ เข้าถึงข้อมูล ด้วยคำสั่ง GRANT และ การยกเลิกสิทธิการเข้าถึงข้อมูล ด้วยคำสั่ง REVOKE

2. การกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล

ในการกำหนดสิทธิการ เข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ (USERS) ในระบบการจัดการฐานข้อมูลโดยภาษา SQL จะมีการกำหนดหรืออนุญาติให้มีสิทธิเปิดเข้าใช้ (LOGGING ON) ฐานข้อมูล การกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลเป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดสิทธิให้กับผู้ใช้แต่ละ คนมีสิทธิกระทำการใดกับข้อมูล เช่น การเพิ่มข้อมูล การแก้ไขข้อมูลหรือการลบข้อมูลในตารางใดได้บ้างหรือการกำหนดให้มีสิทธิดู ข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ได้แก่ การเรียกค้นข้อมูลด้วยคำสั่ง (SELECT) การเพิ่มข้อมูลมูลด้วยคำสั่ง (INSERT) การลบข้อมูลมูลด้วยคำสั่ง (DELETE) หรือการปรับปรุง มูลด้วยคำสั่ง (UPDATE) ซึ่งการกำหนดสิทธิเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบของคำสั่ง GRANT เป็นดังนี้
GRANT
GRANT คำสั่งที่ต้องมีทุกครั้งที่ต้องการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล
SELECT,INSERT,UPDATE,DELETE สิทธิในการจัดการข้อมูล
table name ตารางหรือวิวที่ให้สิทธิในการจัดการข้อมูล
user name ผู้ใช้ที่ถูกให้สิทธิในการจัดการข้อมูล
2.1 การกำหนดสิทธิในการเรียกดูข้อมูล ถ้าต้องการให้ Wichai มีสิทธิเรียกดูข้อมูลในตาราง CUSTOMERSTAB คำสั่งการกำหนดสิทธิเข้าถึงข้อมูลในภาษา SQL จะเป็นดังนี้
 GRANT SELECT ON CUSTOMERSTAB TO Wichai;
ผลของคำสั่งนี้ Wichai จะสามารถเข้าถึงข้อมูลในตาราง CUSTOMERSTAB ได้โดยสามารถใช้คำสั่งเรียกค้นข้อมูล(SELECT) ได้เท่านั้นแต่ไม่สามารถใช้คำสั่งอื่น ๆ ได้
2.2 การกำหนดสิทธิในการเพิ่มข้อมูล ถ้าต้องการให้ Thidarat มีสิทธิเพิ่มเติมข้อมูลในตาราง SALESTAB คำสั่งการกำหนดสิทธิเข้าถึงข้อมูลก็จะเป็นดังนี้
 GRANT INSERT ON SALESTAB TO Thidarat;
ผลของคำสั่งนี้ Thidarat สามารถเข้าถึงข้อมูลในตาราง SALESTAB ได้โดยสามารถใช้คำสั่งเพิ่มเติมข้อมูล (INSERT) ได้เท่านั้นแต่ไม่สามารถใช้คำสั่งอื่น ๆ ได้
2.3 การกำหนดสิทธิในการแก้ไขข้อมูล
ถ้าต้องการให้ Thidarat มีสิทธิในการแก้ไขข้อมูล(UPDATE)ในตาราง SALESTAB คำสั่งการกำหนดสิทธิเข้าถึงข้อมูลก็จะเป็นดังนี้
 GRANT UPDATE ON SALESTAB TO Thidarat;
ผลของคำสั่งนี้ Thidarat สามารถเข้าถึงข้อมูลในตาราง SALESTAB ได้โดยสามารถใช้คำสั่งปรับปรุงข้อมูล(UPDATE) ได้เท่านั้นแต่ไม่สามารถใช้คำสั่งอื่น ๆ ได้
2.4 การกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลหลายคำสั่งของผู้ใช้เป็นกลุ่ม ในการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลเป็น กลุ่มได้ ดังนี้
ถ้าต้องการให้ Wichai สามารถเรียกดูข้อมูล และเพิ่มข้อมูลได้ในตาราง ORDERSTAB คำสั่งที่ใช้ดังนี้
 GRANT SELECT, INSERT ON ORDERSTAB TO Wichai;
ผลของคำสั่งจะทำให้ Wichai สามารถใช้คำสั่ง SELECT และคำสั่ง INSERT ในตาราง Order ได้
ถ้าต้องการให้ทั้ง Wichai และ Thidarat สามารถใช้คำสั่ง SELECT และ INSERT ได้ จะต้องใช้การกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลดังนี้
 GRANT SELECT, INSERT ON ORDERSTAB TO Wichai, Thidarat;
2.5การกำหนดสิทธิ การเข้าถึงข้อมูลโดยสามารถเข้าถึงข้อมูลบางส่วน เราสามารถกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลเป็นคอลัมน์ได้
ถ้าต้องการ Thidarat มีสิทธิเปลี่ยนค่าในคอลัมน์ SALECOM ในตาราง SALESTAB ได้เพียงคอลัมน์เดียว จะใช้คำสั่ง
GRANT UPDATE (SALECOM) ON SALESTAB TO Thidarat;
ผลของคำสั่งจะทำให้ Thidarat สามารถปรับปรุงข้อมูล( UPDATE) ในคอลัมน์ SALECOMในตาราง พนักงานขาย(SALESTAB) ได้เพียงคอลัมน์เดียว
ถ้าต้องการให้ Thidarat มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลได้มากกว่า 1 คอลัมน์ โดยสามารถปรับปรุงข้อมูลในคอลัมน์ ADDRESS และ SALECOM ในตาราง SALESTAB ได้
 GRANT UPDATE (ADDRESS,SALECOM) ON SALESTAB TO Thidarat;
ผลของคำสั่งจะทำให้ Thidarat ปรับปรุงข้อมูล(UPDATE)ในคอลัมน์ ADDRESS และ SALECOM ในตารางพนักงานขาย( SALESTAB) ได้เพียงคอลัมน์เดียว
2.6 การให้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลทั้งหมด ในการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดในภาษา SQL สามารถใช้คำสั่งใน 2 ลักษณะ ดังนี้
-การใช้ ALL PRIVILEGES (หรือ ALL เท่านั้น) ในคำสั่ง GRANT
ถ้าต้องการให้ Nattapol สามารถทำคำสั่งใด ๆ ในตาราง CUSTOMERSTAB ได้
 GRANT ALL PRIVILEGES ON CUSTOMERSTAB TO Nattapol;
หรือ
 GRANT ALL ON CUSTOMERSTAB TO Nattapol;
-การใช้ PUBLIC ในคำสั่ง GRANT เป็นการให้สิทธิในการเรียกดูข้อมูลแก่ผู้ใช้ทุกคน โดยจะใช้ PUBLIC ร่วมด้วยกับคำสั่ง SELECT ควบคู่ไปกับคำสั่ง GRANT เช่น
ถ้าต้องการให้ผู้ ใช้คนไหนก็ได้เข้าไปดูตารางคำสั่งซื้อจะใช้คำสั่งดังนี้
 GRANT SELECT ON ORDERSTAB TO PUBLIC ;
การใช้คำสั่ง GRANT ในรูปของการให้สิทธิแก่ผู้ใช้ทั้งหมดในการแก้ไขปรับปรุงตารางข้อมูลได้จะ เป็นอันตรายต่อข้อมูลมาก จึงควรระมัดระวังในการใช้คำสั่ง GRANT กับ PUBLIC ให้มาก
2.7 การอนุญาตให้คนอื่นให้สิทธิการเข้าถึงตารางแทนเจ้าของตาราง ในบางครั้งผู้สร้างตารางอาจต้องการให้ผู้ใช้คนอื่นสามารถให้สิทธิต่าง ๆ ในตารางได้โดยใช้ GRANT SELECT ร่วมกับอนุประโยค WITH GRANT OPTION
ถ้า Thidarat ซึ่งเป็นเจ้าของตาราง CUSTOMERSTAB ต้องการให้ Wichai มีสิทธิอนุญาตให้ผู้ใช้คนอื่น ๆ มาใช้ตารางของตนจะใช้คำสั่งดังนี้
 GRANT SELECT ON CUSTOMERSTAB TO Wichai WITH GRANT OPTION;
ผลของคำสั่งนี้จะทำ ให้ Wichai มีสิทธิในการเลือกให้สิทธิ (SELECT) แก่บุคคลที่สามได้ที่

3.การยกเลิกสิทธิการเข้าถึงข้อมูล

คำสั่งการยกเลิก สิทธิการเข้าถึงข้อมูลเป็นคำสั่งการยกเลิกสิทธิใดๆแก่ผู้ใช้ตามที่ได้ใช้ กำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลไว้ คำสั่งการยกเลิกสิทธิการเข้าถึงข้อมูลมีรูปแบบคือ
REVOKE
REVOKE เป็นคำสั่งที่ต้องมีทุกครั้งที่ต้องการยกเลิกสิทธิการเข้าถึงข้อมูล
SELECT,INSERT,UPDATE,DELETE สิทธิในการจัดการข้อมูล
table name ตารางหรือวิวที่ให้สิทธิในการจัดการข้อมูล
user name ผู้ใช้ที่ถูกให้สิทธิในการจัดการข้อมูล
3.1 การยกเลิกสิทธิในการเรียกดูข้อมูล
3.2 การยกเลิกสิทธิในการแก้ไขและลบข้อมูล
ถ้าต้องการยกเลิก สิทธิในการแก้ไขข้อมูลในตารางพนักงานขาย(SALESTAB) ของ Thidarat คำสั่งการยกเลิกสิทธิเข้าถึงข้อมูลดังนี้
REVOKE UPDATE ON SALESTAB TO Thidarat;
ผลจากคำสั่งนี้ Thidarat จะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลในตารางพนักงานขาย(SALESTAB) ได้
ถ้าต้องการยกเลิก สิทธิในการเพิ่มเติมข้อมูลในตารางคำสั่งซื้อ(ORDERSTAB)ของ Thidarat จะใช้คำสั่งดังนี้
 REVOKE INSERT ON ORDERSTAB FROM Wichai;
ผลจากคำสั่งนี้ Wichai จะไม่สามารถเพิ่มเติมข้อมูลในตารางคำสั่งซื่อ( ORDERSTAB) ได้ถ้าต้องการยกเลิกสิทธิในการเพิ่มเติมข้อมูลและการลบ ข้อมูลในตารางลูกค้า( CUSTOMERSTAB) ของ Wichai และ Nattapol จะใชคำสั่งดังนี้
 REVOKE INSERT,DELETE ON CUSTOMERSTAB FROM Wichai,Nattapol;
ผลจากคำสั่งนี้ Wichai และ Nattapol จะไม่สามารถเพิ่มเติมข้อมูลหรือลบข้อมูลในตาราง ลูกค้า(CUSTOMERSTAB) ได้