4/24/2556

ระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าในบ้านพักอาศัยโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์

ระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าในบ้านพักอาศัยโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
ระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าในบ้านพักอาศัยเป็นระบบ ที่ออกแบบเพื่อให้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก แผงโซลาร์เซลส์ และนำกระแสไฟฟ้านั้นไปใช้กับระบบแสงสว่าง หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างเช่น โทรทัศน์ วิทยุ พัดลม ฯลฯ


อุปกรณ์ที่ใช้ภายในระบบ

  • แผงโซลาร์เซลส์
  • เครื่องประจุกระแสไฟฟ้าลงแบตเตอรี่( Battery charger)
  • แบตเตอรี่
  • เครื่องแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ(Inverter)


  • ชนิดของเซลส์แสงอาทิตย์

    แผงเซลส์แสงอาทิตย์มี 3 แบบคือ
  • แบบ อะมอร์ฟัส (แผงจะเป็นเหมือนฟิมล์เคลือบบนกระจก สีน้ำตาล)ตัวอย่างเช่น แผงโซลาร์เซลส์บนเครื่องคิดเลข
  • แบบผลึกเดี่ยว แผงจะมีลักษณะเป็นแผงสีดำ เนื้อแผ่นโซลาร์เซลส์ จะเป็นเนื้อเดียวกัน
  • แบบผลึกรวม แผงจะมีสีน้ำเงิน เนื้อแผ่นโซลาร์เซลส์จะเป็นลักษณะของผลึก หลายแบบรวมเข้าด้วยกัน

    แบบผลึกเดี่ยว
    ( Single Crystal )
    แบบผลึกรวม
    ( Poly Crystal )
    แบบอะมอร์ฟัส
    ( Amorphous )
  • แผง แบบผลึกเดี่ยวให้ประสิทธิภาพ การแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่รับแสง ดีที่สุด รองลงมาคือแบบผลึกรวม และท้ายสุดคือแบบอะมอร์ฟัส
    โดยทั่วไปที่วัตต์ที่เท่ากัน แผงแบบอะมอร์ฟัสราคาถูกที่สุด สูงขึ้นไปคือแบบผลึกรวม และผลึกเดี่ยว
    (รวบรวม 15/12/2006)
    Model
    ชนิด
    ขนาด(mm)
    V x A = P
    พลังงานต่อพึ้นที่
    (วัตต์/ตารางเมตร์)
    ราคา
    ราคาต่อพื้นที่
    (บาท/ตารางเมตร์)
    website http://www.techtron.co.th/
    ผลึกรวม 60 x 80 5.1v x 0.07a = 0.36w 75.01
    SLC_5 ผลึกรวม 370 x 220 17v x 0.29a = 5w 61.42
    SLC_10 ผลึกรวม 397 x 370 17v x 0.58a = 10w 68.07
    SLC_40 อะมอร์ฟัส 1248 x635 44.8v x 0.9a = 40w 50.45
    SLC_78 ผลึกรวม 1350 x 700 17v x 4.56a = 78 w 82.57
    SLC_123 ผลึกรวม 1610 x 780 17.2v x 7.16a = 123w 98.03
    website http://www.silaresearch.com/acc_solarcell.php
    D-SOLAR8.5 / 240 ผลึกรวม 222 x 155 8.5v x 0.28a = 2.38w 69.44 800
    D-SOLAR16.8 / 300 ผลึกรวม 310 x 240 16.8v x 0.3a = 5.04w 67.75 2,250
    D-SOLAR16.8 / 600 ผลึกรวม 522 x 243 16.8v x 0.6a = 10.08w 79.49 4,500
    D-SOLAR16.8 / 1A2 ผลึกรวม 635 x 280 16.8v x 1.19 = 19.99w 112.48 7,000 39,370
    website http://www.marketathome.com/shop/s_product.php?shopid=6193&groupproduct=all
    EEC03P ผลึกรวม 178 x 183 17v x 0.280 = 3w 92.09 1,200
    EEC05P ผลึกรวม 225 x 565 17.5v x 0.285 = 5w 39.37 1,800
    EEC10P ผลึกรวม 301 x 356 16.5v x 0.59a = 10w 93.45 3,000 27,996
    EEC20P ผลึกรวม 556 x 346 17.2v x 1.16a = 20w 102.35 6,000 31,188
    EEC40P ผลึกรวม 550 x 650 17v x 2.36a = 40w 110.7 11,500 32,167

    ( คำนวนโดยเฉลี่ย 1ตารางเมตร์ ได้กำลังงาน102วัตต์ /ชั่วโมง ราคาประมาณ 30,000 บาท )

    การเลือกใช้งาน แบตเตอรี่ , เครื่องควบคุมการชาร์จประจุ และเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า


    การเลือกใช้งาน เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้า (Battery charger )


    เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้านั้นเป็นอุปกรณ์ที่ต้องต่อเข้ากับแผง solarcell ทางด้านเข้าเพื่อรับพลังงานจากแผง โซลาร์เซลส์ และ ต่อเข้ากับ แบตเตอรี่ ทางด้านออก เพื่อ นำกระแสไฟฟ้าจากแผง solarcell ไปประจุลง แบตเตอรี่ ดังนั้นการเลือกใช้ baterry charger จึงต้องคำนึงถึง แผง solarcell ที่เลือกใช้ และแบตเตอรี่ที่เลือกใช้ เราสามารถพิจารณาการเลือกใช้ เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้า ได้ดังนี้
    -การพิจารณาคุณสมบัติของ battery charger ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผง solarcell นั้นเราต้องพิจารณาคือ
    1.แรง ดันที่รับได้ของ battery charger ต้องเหมาะกับแรงดันของแผง solarcell เช่น ถ้าเราใช้แผงแบบ อะมอร์ฟัสแบบ 40W ซึ่งมีแรงดัน 44V ดังนั้น battery charger ต้องสามารถทำงานได้ด้วยแรงดันเข้า 44V หรือถ้าใช้แผงแบบ โพลี ซิลิกอน ซึ่งมีแรงดัน 12V battery charger ที่เราจะเลือกใช้ก็ต้องทำงานได้ที่แรงดัน 12V
    2.จำนวนกำลังไฟฟ้า เป็นวัตต์ที่ Battery charger สามารถรับได้สูงสุด เช่น battery charger สามารถรับกำลังไฟฟ้าจาก แผง solarcell ได้ 80W ดังนั้นจำนวนแผง solarcell ที่สามารถต่อได้สูงสุดกับ battery charger ตัวนี้ต้องมีกำลังไฟฟ้าไม่เกิน 80W
    -การพิจารณาคุณสมบัติของ battery charger ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ แบตเตอรี่
    1 พิจารณาเลือก Battery charger ให้เหมาะกับชนิดของแบตเตอรี่ที่ใช้ เช่น แบบแห้ง ,แบบ กรดตะกั่วเติมน้ำกลั่น
    2 เลือก Battery charger ให้เหมาะกับแรงดันของ Battery ที่ใช้ เช่นแบบ 12V,24V

    การเลือกใช้งาน แบตเตอรี่(Battery )
    1.เลือก ใช้ชนิดของแบตเตอรี่ให้เหมาะกับงาน เช่น ถ้าต้องการกระแสจากแบตเตอรี่ไม่สูงนัก อาจจะใช้ แบตเตอรี่แบบแห้งซึ่งมีกระแสขนาดเล็กให้เลือกใช้ เช่น 10Ah , 20Ah แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องใช้กระแสสูง ก็ต้องเลือกใช้แบบกรดตะกั่วเติมน้ำกลั่นซึ่งมีให้เลือกเช่น 105Ah , 125Ah ,175Ah
    2.เลือกขนาดของแรงดันของแบตเตอรี่ให้เหมาะกับ Battery charger เช่นแบบ 12V หรือ 24V
    3 เลือกขนาดกระแสของแบตเตอรี่ให้สูงกว่า กระแสไฟฟ้าสูงสุดจาก Battery charger ประมาณ 7-10 เท่า เช่นถ้ากระแสชาร์จสูงสุดจาก battery charger เป็น 6A ควรเลือก แบตเตอรี่ขนาดประมาณ 42-60 Ah แต่บางครั้ง แบตเตอรี่ที่ขายทั่วไปนั้น ไม่ได้มีขนาดกระแสทุกขนาดให้เราเลือก ก็ใช้ขนาดที่ใก้ลเคียง

    การเลือกใช้งาน เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)


    จากรูปด้านบนจะเห็นว่า เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าต่อเข้ากับแบตเตอรี่และ อุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้น การเลือก เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจึงต้องพิจารณาดังนี้
    -การพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวของกับแบตเตอรี่ที่ใช้คือ เลือก inverter ที่ใช้ให้ตรงกับขนาดของแบตเตอรี่ที่ใช้คือ 12V หรือ 24V
    -การพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ถ้าหากเราต้องการนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าประกอบด้วย หลอดไฟฟ้า โทรทัศน์ .ในเวลาเดียวกัน ซึ่งมีกำลังไฟฟ้ารวมทั้งหมด 120W ดังนั้น inverter ของเราต้องมีกำลังไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 120W จึงจะทำให้สามารถใช้งานได้เพียงพอกับ อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาด 120W สรุปง่ายๆ ก็คือเลือกขนาดกำลังไฟฟ้าของ inverter ให้มากกว่าขนาดกำลังรวมของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดที่ต้องใช้ในเวลาเดียวกัน

    ตัวอย่างการประมาณการใช้ไฟฟ้าต่อวัน
    เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆนั้น จะบ่งบอกปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ในรูปของกำลังไฟฟ้าเป็นวัตต์ (W) เราสามารถดูกำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ได้จากป้ายฉลากของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดอยู่บนตัวเครื่อง หรือ ภายในคู่มือของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น เช่นหลอดไฟฟ้าฟลูออเร้นเซ้นขนาดยาว จะมีกำลังไฟฟ้า 40 วัตต์ ,ขนาดสั้น 20 วัตต์ โทรทัศน์สีขนาด 14 นิ้วจะมีกำลังไฟฟ้าประมาณ 70 วัตต์(ดูจากป้ายฉลากภายหลังตัวเครื่อง )
    หลัง จากทราบกำลังไฟฟ้าเป็น วัตต์ ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆแล้ว ต่อไปเป็นการประมาณการจำนวนชั่วโมงที่คาดว่าจะใช้ต่อ 1 วัน เช่น และค่าของกำลังไฟฟ้าเป็นวัตต์ของเครื่องใช้ ไฟฟ้านั้น คูณ ด้วยจำนวนชั่วโมงที่ใช้ก็จะเป็นกำลังไฟฟ้าที่ใช้ภายในจำนวนชั่วโมงนั้น เช่น
    หลอดไฟฟ้า 40 วัตต์ต้องการใช้ 3 ชั่วโมงต่อวัน = 40x3 = 120 วัตต์ ( แสดงให้เห็นว่า ถ้าใช้หลอดไฟฟ้า 40 วัตต์ 1 ชั่วโมงจะกินไฟ 40 วัตต์ และถ้าเป็น 3 ชั่วโมงจะกินไฟฟ้า 120 วัตต์ )
    หลอดไฟฟ้า 20 วัตต์ต้องการใช้ 4 ชั่วโมงต่อวัน = 20x4 = 80 วัตต์
    โทรทัศน์สี 70 วัตต์ เปิดใช้งาน 5 ชั่วโมงต่อวัน = 70x5 = 350 วัตต์
    ดังนั้นปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมทั้งหมดเท่ากับ 120 + 80 + 350 = 550 วัตต์

    ตัวอย่างการประมาณจำนวนแผงSolarcell
    จากปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อ 1 วันซึ่งเท่ากับ 550 วัตต์ ดังนั้นแผง โซล่า เซลส์ นั้นต้องผลิตไฟฟ้าต่อ 1 วัน ได้ไม่น้อยกว่า 550 วัตต์ จึงจะเพียงพอต่อการใช้งานตามตัวอย่างด้านบน
    เราลองมาดูความหมายของ แผงโซล่า เซลส์ ที่บอกกำลังไฟฟ้าเป็นวัตต์ เช่นเดียวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า ก่อนที่จำทำการคำนวณหา แผง solarcell ว่าจะใช้จำนวนเป็นเท่าใดจึงจะเพียงพอกับความต้องการ
    ตัวอย่างเช่นแผง Solarcell 40วัตต์ หมายถึงว่าแผง Solarcell แผงนี้เมื่อตั้งกลางแสงแดดไว้ 1 ชั่วโมงจะผลิตไฟฟ้าได้ 40วัตต์ ถ้าตั้งกลางแสงแดดไว้เป็นเวลา 3 ชั่วโมงจะผลิตไฟฟ้าได้ 120วัตต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วปริมาณของแสงแดดใน 1 วัน นั้นจะมีช่วงเวลาที่แสงแดดจัดๆนั้นเป็นเวลาประมาณ 4.5 ชั่วโมง ดังนั้นการตั้งแผงเซลส์แสงอาทิตย์ 40วัตต์ไว้กลางแดดใน 1 วันจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้เท่ากับ 40x4.5 = 180วัตต์
    จะเห็นว่าการ ใช้แผงเซลส์แสงอาทิตย์ 40วัตต์ เพียง 1 แผงใน 1 วันจะผลิตไฟฟ้าได้เพียง 180 วัตต์ ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของเราซึ่งเท่ากับ 550 วัตต์
    เราสามารถคำนวณหากำลังไฟฟ้าของแผงเซลส์แสงอาทิตย์ที่ต้องการได้จากสมการ
    กำลังไฟฟ้ารวมใน 1 วันที่ต้องการใช้ = กำลังไฟฟ้าของแผงเซลส์แสงอาทิตย์ x จำนวนชั่วโมงของแสงแดด
    ดังนั้น กำลังไฟฟ้ารวมใน 1 วันที่ต้องการใช้ = 550 วัตต์
    จำนวนชั่วโมงของแสงแดดใน 1 วัน(แสงแดดจัด) = 4.5 ชั่วโมง
    จะสามารถคำนวณหากำลังไฟฟ้าเป็นวัตต์ของแผงโซลาร์เซลส์ที่ต้องการได้คือ
    กำลังไฟฟ้าของแผงเซลส์แสงอาทิตย์ = กำลังไฟฟ้ารวมใน 1 วันที่ต้องการใช้ / จำนวนชั่วโมงของแสงแดด
    กำลังไฟฟ้าของแผงเซลส์แสงอาทิตย์ = 550 / 4.5 = 122 วัตต์

    ชาร์จ Battery อย่างไรให้ถูกวิธีเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานให้ยาวนาน

    ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเป็นอุปกรณ์ที่ต้องพกพาติดตัวไปทุกที่ ทุกเวลา ทำให้โทรศัพท์มือถือกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในชีวิตประจำวัน
    แต่มีอิกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ซื่งทำให้โทรศัพท์มือถือสามารถทำงานได้นั้นคือ " แบตเตอรี่"


               โดยแบตเตอรี่สำหรับโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัญส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Li-Ion (ลิเธี่ยม - ไอออน) หรือแบบ Li - Poly (ลิเธี่ยม - โพลิเมอร์)ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ ส่วนรุ่นเก่าจะเป็นแบบ NiCd และ Ni-MH
    ส่วนคำถามยอดนิยมที่ว่า "จะต้องชาร์จแบตเตอรี่อย่างไร นานเท่าไร และต้องชาร์จกี่ครั้งจึงจะดี"ซื่งตัวผมเองก็ได้ข้อมูลมาหลายวิธี ดังนั้นเรามาทำความรู้จัก และทำความเข้าใจให้ลึกขึ้นเกี่ยวกับการชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือกันครับ
    แบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือใหม่ๆ ในปัจจุบัญจะใช้แบตเตอรี่แบบ Li-Ion กันหมดแล้ว ซื่งคุณสมบัติทั่วไปของแบตเตอรี่แบบ Li-Ion จะมีคุณสมบัติคร่าวๆ ดังนี้


          1.คุณสมบัติของแบตเตอรี่ในข้อแรกคือ Operation Cell Voltage "4.2-2.5 V" หมายความว่า แบตเตอรี่แบบ Li-Ion ทำงานที่ระดับแรงดัน 4.2 V เมื่อแบตเตอรี่เต็ม แต่เมื่อใช้งานจนมีแรงดันเหลือเพียง 2.5 V และยังพยายามใช้ต่อไปอิก จะถือเป็นเรื่องอันตรายต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่ เพราะจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วขึ้น เพราะฉะนั้นควรชาร์จแบตเตอรี่เมื่อโทรศัพท์มือถือเตือนนะครับ
        2.คุณสมบัติของแบตเตอรี่ในข้อที่สอง Continuous rate capability "Typical : 1C " " High rate : 5 C" หมายความว่าแบตเตอรี่แบบ Li-Ion ชาร์จประจุที่ระดับปกติที่อัตราการชาร์จ 1 C ซึ่งหมายถึง 1 เท่าของความจุแบตเตอรี่ที่มีหน่วยเป็น Ah (แอมป์ ต่อ ชั่วโมง) เช่น แบตเตอรี่ Li-Ion ที่มีความจุ 1,000 mAh (1000 มิลลิแอมป์ต่อชั่วโมง) แบตเตอรี่ชนิดนี้มีความจุ C = 1,000 mAh ดังนั้น ถ้าชาร์จแบตเตอรี่ที่มีระดับปกติให้ชาร์จที่กระแส 1,000 mA หรือ 1 A จะใช้เวลาในการชาร์จ 1 ชั่วโมง และสามารถชาร์จที่ระดับสูงหรือเรียกว่าการชาร์จแบบเร้วที่ 5 C ให้การชาร์จที่กระแสชาร์จ 5,000 mA จะใช้เวลาการชาร์จ 0.2ชั่วโมง เป็นต้น ซื่งเวลาในการชาร์จอาจเพิ่มจากนี้เนื่องจากการสูญเสีย Loss ( เพราะฉนั้น การคำนวนเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มของโทรศัพท์มือถือแต่ละรุ่นอาจคำนวน ได้จากการนำความจุของแบตเตอรี่อย่าง BL-5C ความจุ 970 mAh หารด้วยกระแสที่ใช้ในการชาร์จหน่วยเป็น mA ในฝั่ง Output ครับอย่าง Nokia ACP-12U Output 800mA ก็จะใช้เวลาสุทธิ 970/800 = 1.21 ชั่วโมง แล้วบวกขึ้นไปอิก 1 - 2 ชั่วโมงกล่ายเป็น 2.21 - 3.21 ชั่วโมงเผื่อไว้สำหรับค่าการสูญเสีย Loss ครับ
           3.คุณสมบัติของแบตเตอรี่ในข้อ 3 Cycle life at 100 % DOD "Typical 3000" หมาย ความว่าความลึกของการคายประจุแบตเตอรี่ในการชาร์จแบตเตอรี่ใหม่ในแต่ละครั้ง ( DOD : Depth of Discharge) โดย 100 % DOD หมายถึงการใช้แบตเตอรี่จนหมดเกลี้ยง 100 % แล้วนำไปชาร์จใหม่ จะใช้ได้ 3,000 รอบการชาร์จ
          4.คุณสมบัติของแบตเตอรี่ในข้อที่ 4 Cycle lift at 20 to 40 % DOD "Over 20,000" หมาความว่าการใช้งานแบตเตอรี่จนคายประจุออกมาจำนวน 20 % ของความจุแบตเตอรี่ ( เหลือความจุที่ 80 % )แล้วเริ่มต้นการชาร์จใหม่จนเต็มอิกครั้ง จะใช้ได้ 20,000 รอบการชาร์จ
          5.คุณสมบัติของแบตเตอรี่ในข้อที่ 5 Calendar lift " Over 5 year" หมายความว่า ถ้าคุณใช้แบตเตอรี่ไปจนครบเวลา 5 ปีแล้วคุณยังใช้แบตเตอรี่ยังไม่ครบจำนวนครั้งที่แบตเตอรี่สามารถรองรับได้ แบตเตอรี่ก็จะเสื่อมได้เช่นกันโดยแบตเตอรี่จะเสื่อมไปเองในเวลาที่มากกว่า 5 ปี
         6.คุณสมบัติของแบตเตอรี่ในข้อที่ 6 Self Discharge Rate "2 to 10 % /month" หมายความว่าแบตเตอรี่แบบ Li-Ion เมื่อชาร์จเต็มหรือมีประจุอยู่และไม่นำมาใช้งานประจุไฟฟ้าในแบตเตอรี่จะหาย ไปเองโดยอัตโนมัติ ประมาณ 2- 10 % ต่อเดือน ฉนั้นแม้ถ้าปิดมือถือไม่ใช้งานเป็นเดือนแบตเตอรี่ก็อาจจะหมดได้
          7.คุณสมบัติสุดท้ายของแบตเตอรี่ Memory effect "none" แบตเตอรี่แบบ Li-Ion ไม่มีปัญหาเรื่อง Memory effect ในแบตเตอรี่รุ่นเก่าๆอย่าง Ni-Cd จะเกิดปัญหา Memory effect ซึ่งเกิดมาจากทำการชาร์จแบตเตอรี่ในขณะที่ยังใช้งานไม่หมดกำลังไฟ ทำให้ประสิทธิภาพในการประจุไฟเข้าไปใหม่ลดลง ฉนั้นหากเป็นแบตเตอรี่ที่ไม่มีปัญหาเรื่อง Memory effect คุณสามารถทำการชาร์จได้ตลอดแม้ยังใช้ไม่หมด

           ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นทำให้เราทราพว่าอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ขึ้น อยู่กับช่วงเวลาและจำนวนครั้งในการชาร์จของแบตเตอรี่ และข้อมูลในข้อ 3 และ 4 ถ้าคุณใช้แบตเตอรี่จนหมดเกลี้ยงหรือ 100 % DOD ในทุกครั้งที่ชาร์จแบตเตอรี่ใหม่ตลอดอาจุของแบตเตอรี่ที่คุณใช้ จะสามารถใช้งานแบตเตอรี่นี้โดยการ Charge / discharge กลับไปกลับมาอย่างนี้ 3000 รอบ แบตเตอรี่จึงเสื่อมสภาพ แต่ถ้าคุณใช้แบตเตอรี่ไปประมาณ 20 - 40 % ของความจุแล้วชาร์จใหม่ ทำอย่างนี้ทุกๆครั้งตลอดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ คุณสามารถ Charge / Discharge กลับไปกลับมาได้ถึง 20,000 รอบ แบตเตอรี่จึงเสื่อมสภาพ
    ดังนั้นการใช้แบตเตอรี่แบบ 20 - 40 % DOD จะดีกว่า เพราะสามารถชาร์จแบตเตอรี่จำนวนครั้งได้มากกว่า 100 % DOD ถึง 6-7 เท่า

          สรุปว่าแบตเตอรี่แบบ Li-Ion ควรจะชาร์จหลังการใช้งานไปประมาณ 20-40 % เพื่อเพิ่มรอบในการชาร์จ ซื่งแตกต่างไปจากแบตเตอรี่ชนิด Ni-Cd หรือ Ni-Mh ที่จะต้องใช้แบตเตอรี่ให้หมดเกลี้ยงทุกๆครั้ง
    ในการใช้เครื่องชาร์จ ควรใช้เครื่องชาร์จที่ได้รับไฟฟ้าที่นิ่งๆ คือการได้รับไฟฟ้าที่ไม่มีไฟตก ไฟเกิน หรือไฟกระชาก อุณภูมิระหว่างการชาร์จ หรือประจุไฟควรที่จะประจุที่อุณภูมิปกติ และไม่มีความชื้นมากนัก เพราะจะทำให้ถ่ายเทความร้านได้ยาก ขั้วแบตเตอรี่และขั้วสายชาร์จนั้นต้องมีการส่งผ่านไฟฟ้าที่สม่ำเสมอ เพราะทำให้การประจุไฟหรือการชาร์จเป็นไปอย่างราบลื่นและได้เป็นผลที่ดีควร หลีกเลี่ยงการทำแบตเตอรี่ตกพื้น เพราะจะทำให้หน้าสัมผัสภายในเสียหาย หรือหลุดได้ รวมถึงทำให้สารประกอบต่างๆรั่วไหลและเป็นต้นเหตุให้เกิดการระเบิดได้
    การชาร์จในตอนหลังที่ได้รับแบตเตอรี่มานั้น Ni-Cd , Ni-Mh นั้นจะใช้เวลาในการชาร์จ 12 - 14 ชม. ใน 3 ครั้งแรก และทุกครั้งต้องใช้แบตเตอรี่ให้หมด เพื่อเป็นการกระตุ้นธาตุ Ni ส่วน Li-Ion และ Li-Poly นั้นไม่ต้องครับแค่ชาร์จให้เต็มในสามครั้งแรก ชาร์จสัก 6 ชม.ก็พอครับ แต่สำหรับ Li-Ion อย่าทำให้แบตเตอรี่หมดเกลี้ยงเป็นอันขาดเพราะจะทำให้แบตเตอรี่เสียได้ แต่โดยทั่วไปแล้วตัวแบตเตอรี่เองจะมีวงจรป้องกันการใช้จนหมดอยู่แล้ว ส่วน Li-Poly นั้นแก้ใขส่วนนี้มาแล้ว และยังเป็นแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักเบากว่า Li-Ion อิกด้วยครับ

    Reference : Mymobile Magazibe Feb 2007

    ควบคุมการแสดงผลภาพจาก GLCD color 6100 (By Maxpic)

    หลังจากที่ได้กล่าวถึงอุปกรณ์ มือถือ จอแสดงผล Nokia GLCD 3310 กันไปแล้ว คราวนี้เราจะมาแกะรอย Nokia GLCD color 6100 กัน บ้างครับ ด้วยความที่เป็นจอแสดงผลภาพแบบกราฟิกสี ซึ่งมีราคาถูก สามารถหาซื้อได้ที่ เสือป่า หรือ ร้านขายอะไหล่อุปกรณ์มือถือทั่วไป  วันนี้คุณจะได้ทึ่งกับตัวเองแล้วครับ เพราะว่าคุณก็สามารถควบคุมการแสดงผลภาพจาก GLCD color 6100 ไมโครคอนโทรลเลอร์ ในงาน Embedded Electronics , โครงงาน , งาน ประดิษฐ์ ต่าง ๆ ได้ง่ายเพียงปลายนิ้วเท่านั้นเอง และคุณยังได้พื้นฐานที่แท้จริงถึงการควบคุมการแสดงผลของจอประเภทกราฟิกด้วย ครับ คุณลองทำดูวันนี้ คุณก็จะทำได้ในวันนี้ !!! Nokia GLCD color 6100 โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งเวอร์ชั่นของ chip ภายในออกเป็น 2 แบบคือ แบบ chip phillips และ chip Epson แต่ละแบบ มีการเขียน software ที่แตกต่างกัน เวลาเลือกซื้อ คุณสามารถสังเกตความแตกต่างได้จากภายนอกของจอแสดงผลได้เลย ดังรูป



    สังเกตที่สีของสายแพ โดยพลิกดูจากด้านหน้าของจอ (แต่ไม่ใช่สีที่ แผ่น pcb) จะสังเกตเห็นว่า จะมีสีส้ม กับ สีเขียว ซึ่งสีเขียว คือ chip Epson และ สีส้ม คือ chip Phillips ครับ ดังนั้นเวลาคุณเลือกซื้อมาใช้งาน กรุณาสังเกตอย่างที่บอกไปครับ (หากว่าใครมีเทคนิคการเลือกซื้อเพิ่มเติม สามารถ share knowledge กันได้ครับ ThaiEasyElec ขอขอบคุณครับ)
    องค์ประกอบของ GLCD Nokia 6100


     ขาของ LCD6100 มี 10 ขา โดยมีรายละเอียดดังนี้
     ขา 1 VDIG คือ แรงดันไฟเลี้ยงสำหรับวงจร Digital เช่น ไฟเลี้ยง LCD Controller ที่ฝังอยู่
     ขา 2 RST คือ ขารีเซต โดยทำงานที่ลอจิก 0
     ขา 3 SDAT คือ ขาสำหรับรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม
     ขา 4 SCLK คือ สำหรับสัญญาณนาฬิกาสำหรับกำหนดจังหวะการอ่านข้อมูล
     ขา 5 CS คือ Chip Select สำหรับ enable การรับส่งข้อมูลอนุกรม ทำงานที่ลอจิก 0
     ขา 6 VDISPLAY แรงดันที่ใช้ในการแสดงผล สามารถใช้ได้กับแรงดัน 3.3V
     ขา 7 NC ไม่มีการใช้งาน
     ขา 8 GND
     ขา 9 LED- เป็นขาลบ สำหรับไฟ Backlight ถ้าไม่ต้องการควบคุม การจ่ายไฟ สามารถต่อ GND ได้โดยตรง
     ขา 10 LED+ เป็นขาบวก สำหรับไฟ Backlight ใช้ได้กับแรงดันประมาณ 6-7 V
     ท่านสามารถ Download symbol และ footprint สำหรับจอ LCD 6100 ได้ที่เว็บไซต์ ThaiEasyElec ครับ
    การติดต่อ GLCD Nokia 6100 ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์
         ภายในจอ LCD 6100 จะมี LCD Controller ที่ทำหน้าที่สแกนภาพออกที่จอ (เหมือนเวลาเราใช้ 7-segments) โดยจะมีหน่วยความจำ SRAM ในตัว และเวลาเราติดต่อกับจอ ก็คือการติดต่อกับตัว LCD Controller ซึ่งจริงๆแล้ว สามารถติดต่อได้ทั้งแบบ parallel และแบบอนุกรม แต่ผู้ผลิตจอ LCD 6100 ได้ต่อวงจรในส่วนนี้เรียบร้อยแล้ว และให้เราติดต่อได้ทางอนุกรมเท่านั้น
    สำหรับจอ LCD 6100 ที่ใช้ IC PCF8833 ของ Phillips เป็น LCD Controller ใช้การเชื่อมต่อแบบ SPI 9-bit มี timing diagram ดังรูป

         จาก  Timing diagram (รูปนำมาจาก datasheet ของ PCF8833) การส่งข้อมูลจะส่ง MSB ก่อน LSB และก่อนจะเป็นข้อมูล 8 บิต จะต้องส่ง bit DC เพื่อบอก LCD Controller ว่าเป็นไบต์ที่จะส่งนั้น เป็นคำสั่ง หรือเป็นค่าพารามิเตอร์ สำหรับส่งคำสั่ง บิต DC จะต้องเป็นลอจิก 0 และสำหรับพารามิเตอร์ บิต DC จะต้องเป็น 1 เช่น ถ้าต้องการกำหนด ความเข้มของภาพ (contrast) จะต้องส่งคำสั่ง 0x25 ตามด้วย ค่าพารามิเตอร์ความสว่าง ในที่นี้กำหนดเป็น 0x3F

         สำหรับสัญญาณ CS (SCE ใน รูป) ใช้กำหนดจังหวะการเริ่มต้นการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับ เข้าใจตรงกันว่าให้นับบิตไหนเป็นบิตแรก และแต่ละไบต์ สามารถส่งต่อเนื่องกันโดยที่ไม่ต้องหยุดการส่งข้อมูลแล้วเริ่มใหม่ โดยสามารถเริ่มต้นครั้งเดียวแล้วส่งคำสั่งตามด้วยค่าพารามิเตอร์ แล้วส่งคำสั่งถัดไปได้ทันที
    ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม ไมโครคอนโทรลเลอร์ติดต่อกับ GLCD Nokia 6100     บทความนี้ ใช้ AVR Atmega16 เป็น MCU เชื่อมต่อกับจอ LCD และส่งข้อมูลแบบเป็น IO คือไม่ได้ใช้ SPI เนื่องจากส่งได้ 8 บิต (ไม่พอสำหรับ 9 บิต)
    Download Source Code >> code_C.rar

    สำหรับการเซ็ตค่าเริ่มต้น ให้กับจอ มีลำดับดังนี้
    กำหนด #define ต่างๆ
    #define CS0 Clrb(LCD_CS_PORT,LCD_CS_PIN)   //LCD_CS = 0
    #define CS1 Setb(LCD_CS_PORT,LCD_CS_PIN)   //LCD_CS = 1
    #define CSOUT Setb(LCD_CS_DPRT,LCD_CS_PIN)   //LCD_CS = output
    #define SO0 Clrb(MOSI_PORT,MOSI_PIN)   //MOSI = 0
    #define SO1 Setb(MOSI_PORT,MOSI_PIN)   //MOSI = 1
    #define SOOUT Setb(MOSI_DPRT,MOSI_PIN)   //MOSI = output
    #define CLK0 Clrb(SCK_PORT,SCK_PIN)   //SCK = 0
    #define CLK1 Setb(SCK_PORT,SCK_PIN)   //SCK = 1
    #define CLKOUT Setb(SCK_DPRT,SCK_PIN)   //SCK = output
    #define CLKP CLK1; CLK0
     เริ่มการกำหนดค่าเริ่มต้น หลังจากทำการรีเซตจอ
     START();
     CMD(SLEEPOUT);     

    CMD(NORON);
     CMD(COLMOD);
     DAT(0x02);    //กำหนดโหมดสีที่ใช้เป็น 256 สี    
     CMD(MADCTL);
     DAT(0x00);       
     CMD(SETCON);
     DAT(0x3F);   //Don't set more than 0x3F
     STOP();
     Delay100ms(20);
     START();
     CMD(DISPON);
     STOP();
         จากนั้น เราก็จะสามารถแสดงภาพตามต้องการได้ จากที่เรากำหนด โหมดสีเป็นแบบ 8 บิตนั้น ใน 8 บิต ประกอบด้วยโทนสีแดง (R) 3 บิต สีเขียว (G) 3 บิต และสีน้ำเงิน (B) 2 บิต โดยเรียงลำดับจาก MSB ไปยัง LSB เป็น RGB ซึ่งจะเห็นว่าเราสามารถระบุโทนสีแดง และเขียวได้ 8 โทน กับอีก 4 โทน สำหรับสีน้ำเงิน นอกจากนี้ เราสามารถสลับโทนสีแดง กับน้ำเงินได้ เพื่อให้สามารถแสดงรายละเอียดสีน้ำเงินได้มากขึ้น การใส่สีให้กับพิกเซล คือ การกำหนด code สี ให้กับพิกเซล  เนื่องจากมี 8 บิต จึงสามารถแสดงได้ 256 สี การเขียน code สี ให้กับ pixel ก็คือการเขียน code สีลงไปในหน่วยความจำที่อยู่ใน LCD Controller จากนั้นในการแสดงผล LCD  Controller จะนำ code สี ที่แต่ละตำแหน่ง มาเปิดตารางดูว่า code หรือโทนของแต่ละสี เป็นระดับสีเท่าไร ใน 16 ระดับ (4 บิต สำหรับแต่ละสี) ซึ่งระดับ 0 ก็คือมืดที่สุด และระดับ 15 คือสูงที่สุด เช่น ถ้าเป็นองค์ประกอบสีแดง R = 15 ก็หมายถึงสีแดงสด ถ้า R = 0 คือสีดำ

         ดังนั้น สี 256 สี ที่เราสามารถแสดงได้ ก็คือ การเลือกสีมาจากสีทั้งหมด 16 x 16 x 16 = 4096 สี นั่นเอง โดยเราสามารถกำหนดตารางสี สำหรับแต่ละโทนได้โดยใช้คำสั่ง RGBSET แต่เนื่องจาก PCF8833 นั้นได้ทำการกำหนดค่าเริ่มต้นของตารางสีดังกล่าวไว้แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดใหม่

         สำหรับการเขียนค่าสีลงในหน่วยความจำของจอ PCF8833 ได้ กำหนดวิธีการไว้คือ เราต้องกำหนดคอลัมน์เริ่มต้น คอลัมน์สุดท้าย แถวแรก และแถวสุดท้าย แล้วจึงเขียนลงในหน่วยความจำทีเดียวอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเขียนจนจบแถวแรก ตำแหน่งแอดเดรส จะเลื่อนไปยังแถวถัดไปทางซ้ายสุดให้เอง ลองดูตัวอย่างการใส่สีให้กับจอทั้งจอ (132x132 pixel) ดังนี้ โดยในที่นี้เลือกใส่สีน้ำเงิน
     START();
     CMD(CASET);
     DAT(sx);     //กำหนดคอลัมน์แรกที่จะเขียนลงใน memory
     DAT(ex);    //กำหนดคอลัมน์สุดท้ายที่จะเขียนลงใน memory

     CMD(PASET);
     DAT(sy);     //กำหนดแถวแรกที่จะเขียนลงใน memory
     DAT(ey);    //กำหนดแถวสุดท้ายที่จะเขียนลงใน memory
     CMD(RAMWR);    //เขียนข้อมูลลงใน memory
     for (i = 0; i < ((ex-sx+1) * (ey-sy+1)); i++)
     {
      DAT(color);   //เขียนข้อมูลที่เป็นสี 8 บิต ลงใน memory
     }
     STOP();

         จากรูป คือการเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำ เมื่อกำหนดคอลัมน์เริ่มต้น คอลัมน์สุดท้าย แถวแรก และแถวสุดท้าย เป็น xs, xe, ys ,ye ตามลำดับ (รูปนำมาจาก datasheet ของ PCF8833)
    แนะนำโปรแกรมช่วยให้คุณเข้าใจการแสดงผลภาพ
         คราวนี้เราถ้าเราต้องการนำภาพจากในคอมของเรามาแสดงบนจอ LCD 6100 ในที่นี้จะใช้การสร้าง .h ไฟล์ มาเพื่อเก็บภาพไว้ในหน่วยความจำโปรแกรมของ Atmega16 ก่อนอื่น เราก็ต้องสร้างไฟล์ .h ก่อน โดยทาง ThaiEasyElec.com ได้เขียนโปรแกรมด้วยภาษา C# สำหรับสร้างไฟ .h จาก .bmp ให้ใช้งานง่ายๆ ดังนี้




    โปรแกรมมีชื่อว่า bmp2h_conv เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา ให้ท่านกด Load เพื่อโหลดภาพ .bmp .jpg หรือ .jpeg
    Download bmp2h_conv >> bmp2h_conv.rarDownload bmp2h_conv เพื่อการพัฒนาต่อด้วย C#.net  >> bmp2h_conv C#.net.rar





         เมื่อ Load มาแล้ว ช่อง From จะแสดงรายละเอียดของภาพ ท่านสามารถกำหนดขนาดของภาพที่ท่านต้องการแสดงได้ที่ช่อง width และ height จากนั้นสามารถใช้ mouse เลื่อนกรอบภาพได้
         เมื่อเลือกขนาดและบริเวณที่ต้องการได้แล้ว ก็กด Generate เพื่อสร้างไฟล์ .ก็จะได้ไฟล์ที่มีรูปแบบดังนี้
    //############################################
    // bmp to header file convertor version 1.0
    // Author : http://www.thaieasyelec.com/
    //############################################
    // source bmp file : C:Documents and SettingsPeDesktopThaiEaysElecLPic132x132.bmp
    // source pixel dept : 32
    // target name : C:Documents and SettingsPeDesktopbmp2h_conv_piclcd132x96.h
    // target pixel dept : 8
    // target width : 132
    // target height : 96
    // ############################################
    uint8_t lcd132x96[] PROGMEM =
    {
     0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,
     0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,
     0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,
     0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,
     0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,
     0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,
     0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,
     0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,
     0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,
     0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,
     0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF,0xFF, ...
    นำไฟล์ไป include ใน Project แล้ว compile ได้ทันที
    จากนั้นการแสดงภาพจากหน่วยความจำโปรแกรม สามารถเขียนได้ดังนี้
     START();
     CMD(CASET);
     DAT(0);
     DAT(131);

     CMD(PASET);
     DAT(0);
     DAT(95);
     CMD(RAMWR);
     for (i = 0; i < 132*96; i++)
     {
      DAT(pgm_read_byte(&lcd132x96[i]));
     }
     STOP();

    เมื่อ Build Project และโปรแกรมใส่ MCU ก็จะได้ภาพดังนี้



         ในตัวอย่างใช้ขนาดภาพ 132x96 เนื่องจาก Atmega16 มีหน่วยความจำโปรแกรม 16K จึงต้องเหลือที่ไว้สำหรับเก็บ code อื่นๆ ไว้ถ้าโอกาสหน้าสามารถอ่านภาพที่เก็บใน SD Card ได้แล้ว จะเขียนมาใหม่ครับ
    Thanks a lot....
         ขอขอบคุณ ฝรั่ง นาย เจมส์ พี ลินช์ (Mr. James P. Lynch) จาก Ebook เรื่อง Nokia 6100 LCD Display Driver ซึ่ง เขียนเกี่ยวกับการควบคุมจอ Nokia 6100 ด้วย ARM 7 ของ atmel โดยใช้บอร์ดของ olimex และ Sparkfun.com
         หากท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม e-mail มาถามได้ครับ โดยกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง หรือเข้าไปที่
    Contact Us ในบทความต่อไป จะมีเรื่องราว Reviewed อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อีกครับ วันนี้ http://www.thaieasyelec.com/  ขอจบบทความ GLCD Nokia 6100 เพียงเท่านี้ครับ

    Review By MAXPIC..

    ตารางความถี่ของโทรศัพท์มือถือในไทย

    รวบรวมข้อมูลเมื่อ 15/11/2009
    คลื่นความถี่ 3G ที่สามารถใช้ในไทยมีด้วยกัน 3 Band

    • ย่าน 2.1 GHz คลื่นนี้เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด มีโทรศัพท์รองรับอยู่หลายรุ่น
    • ย่าน 900MHz เป็นที่นิยมรองมาเป็นอันดับสอง มีเครื่องโทรศัพท์รองรับอยู่พอสมควร
    • ย่าน 800MHz มีการใช้เป็นส่วนน้อย เครื่องส่วนมากจะออกแบบมาใช้โดยเฉพาะ


    ย่านความถี่ระบบ GSM
    band uplink(MHz) downlink(MHz) bandwidth(MHz) Owner
    900 880-915 925-960 35 (TOT)
      880-897.5   925-942.5 17.5
      897.5-915   942.5-960 17.5 (TOT->AIS)
    1800 1710-1785 1805-1880 75 (CAT)
      1710-1722.6   1805-1817.6 12.6 (CAT->Truemove)
      1722.6-1747.9   1817.6-1842.9 25.3 (CAT->DTAC)
      1747.9-1760.5   1842.9-1855.5 12.6 (CAT->DPC->AIS)
      1760.5-1785   1855.5-1880 24.5 (CAT->DTAC)
    1900 1850-1910 1930-1990 60
      1885-1900   1968-1980 15 (TOT->thaimobile GSM1900)
    ช่องห่างระหว่างช่องสัญญาน 200 KHz

    ย่านความถี่ระบบ CDMA
    band uplink(MHz) downlink(MHz) bandwidth(MHz) Owner
    Class 6 1920–1980 2110-2170
    Class 0 824–849 869-894 25 (CAT)
      824-835   869-880 11 (CAT->HUTCH CDMA)
      835-845   880-890 10
      845-846.5   890-891.5 1.5 (CAT->HUTCH CDMA)
      846.5-849   891.5-894 2.5 (CAT->DTAC)
    Class 5F 479–483.5 489-493.5
    ช่องห่างระหว่างช่องสัญญาน 1.25MHz

    ย่านความถี่ระบบ 3G (IMT2000 cdma ,WCDMA)
    band uplink(MHz) downlink(MHz) bandwidth(MHz) Owner
    I 1920-1980 2110-2170 60
      1920-1965   2110-2155 45 รอการประมูล (10,10,10,15)
      1965-1980   2155–2170 15 (TOT 3G ,close GSM1900)
    V 824-849 869-894 25
      834.2-839   870.2-884 4.8 Truemove ทดลองใช้
      839-849   884-894 10 Dtac ทดดลองใช้
    VIII 880-915 925-960 35
      897.5-915   942.5-960 17.5 AIS เปิดให้บริการบางพิ้นที่
    ช่องห่างระหว่างช่องสัญญาน 5MHz

    REVIEW การใช้งาน PROTEUS เบื้องต้น

    หลังจากที่ผมได้พบวัตถุต้องสงสัยเป็นซองพัสดุภัณฑ์เมื่อเปิดมาดูก็ได้พบกับ CD 1 แผ่น จึงได้ลองเปิดดู
    พบว่าท่าน hulahula ส่งมาให้ช่วย review ให้ซึ่งก็เห็นควรเพราะว่า
    มีหลายท่านถามเข้ามาว่ามีเวปไหน สอนเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน proteus เบื้องต้นบ้าง
    ซึ่งก็ได้มี อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้จัดทำเป็น CD Training มาให้ได้ดูกัน





    ซึ่งในแผ่นมีทั้งหมด 8 บทด้วยกัน
    เอาเป็นว่ามาดูกันทีละบทเลยดีกว่า

    บทที่1.PICK DEVICE
    พื้นฐานการใช้งานในการวางอุปกรณ์ เลือกอุปกรณ์
    การลบ การกำหนดคุณสมบัติ การย้าย การเชื่อมโยงอุปกรณ์



    บทที่2.GENERATOR
    การจำลองด้วยสัญญาณแบบต่างๆ DC AC
    การใช้เครื่องมือใน Proteus เช่น Scope Generator เป็นต้น



    บทที่3.ARROW-COLOR
    การดูทิศทางกระแส และความหมายสีของเส้น




    บทที่4.METER
    การใช้เครื่องมือวัดในการวัดค่า AMP VOLT ณ จุดที่ต้องการตรวจสอบ


    บทที่5.HELP
    การใช้ help เพื่อการศึกษาซึ่งมีทฤษฏีในการอ้างอิงอยู่




    บทที่6.WIRELESS-CONNECTION
    การลดความซับซ้อนของการวาดผังวงจรโดยการใช้ Terminal


    บทที่7.PCB1
    บทที่8.PCB2

    วิธีการทำ pcb โดยใช้ โปรแกรม ares ที่มีอยู่ใน proteus
    การสร้างรายการอุปกรณ์ (BOM)
    การเลือกขนาดเส้น Track
    การใช้งาน Auto Route

    การสอนเป็นแบบกันเอง ไม่ใช้คำที่วิชาการมากซึ่งยากต่อการเข้าใจ
    สุดท้ายนี้ก็ขอจบการ review นี้ก่อนนะครับ



    By MAXPIC..

    ชนิดหัวต่อต่างๆที่ใช้ในงาน Wireless Lan

    หัวต่อชนิด N Connectors ส่วนมากจะใช้กับงานภายนอกอาคาร จุดต่อสายอากาศงานภายนอกอาคาร   มีขนาดใหญ่ ค่อนข้างราคาถูก ใช้กับสาย RG-213 หรือ LMR-400
    ชนิดหัวต่อต่างๆที่ใช้ในงาน Wireless Lan
     
    หัวต่อชนิด N-Connector
       
    Male N-Connector Female N-Connector
    หัวต่อชนิด Male N-Connector หัวต่อชนิด Female N-Connector
    หัว ต่อชนิด N Connectors ส่วนมากจะใช้กับงานภายนอกอาคาร จุดต่อสายอากาศงานภายนอกอาคาร   มีขนาดใหญ่ ค่อนข้างราคาถูก ใช้กับสาย RG-213 หรือ LMR-400
    หัวต่อชนิด RP-TNC  
       
    Male RP-TNC Female RP-TNC
    หัวต่อชนิด Male RP-TNC หัวต่อชนิด Female RP-TNC
    RP-TNC connectors มีขนาดปานกลาง  ใช้กับอุปกรณ์ของบริษัท linksys , Cisco
    หัวต่อ RP-SMA  
       
    Male RP-SMA Female RP-SMA
    หัวต่อชนิด Male RP-SMA หัวต่อชนิด Female RP-SMA
    SMA connectors ส่วนมากจะพบใน wireless Pci Card
       
    หัวต่อชนิด MC (Lucent) Connector  
    Male Lucent Connector Female Lucent Connector
    หัวต่อชนิด Male MC (Lucent) Connector หัวต่อชนิด Female MC (Lucent) Connector
    หัวต่อชนิด MC (Lucent) Connector ส่วนมากจะพบใน PCMCIA Card , โทรศัพท์มือถือ
       
    คำนำหน้า 'RP' ใน RP-TNC และ RP-SMA คือการกลับจุดต่อสัญญาน (จะแตกต่างกับ TNC , SMA ธรรมดา)

    4/11/2556

    โทรทัศน์ระบบดิจิทัล



    โทรทัศน์ระบบดิจิทัล
     หรือ โทรทัศน์ดิจิทัล (อังกฤษ: Digital television) หรือทีวีดิจิตอล คือการส่งผ่านของเสียงและวิดีโอโดยสัญญาณดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งความคมชัดของภาพและเสียง การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบแอนะล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ จึงเรียกได้อีกอย่างว่า Multicasting การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย เช่น โทรทัศน์ระบบ HDTV ตรงกันข้ามอะนาล็อกก็ใช้กับสัญญาณโทรทัศน์อะนาล็อก หลายประเทศจะเปลี่ยนการรับสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอะนาล็อกเป็นโทรทัศน์ระบบดิจิทัล เพื่อออกอากาศโทรทัศน์แบบอะนาล็อกได้ จึงใช้วิทยุคลื่นความถี่เดิม โทรทัศน์แต่เดิมใช้ระบบอนาลอก (analog) หรือเชิงเส้นทั้งในภาคการส่งสัญญาณและภาครับสัญญาณ แต่ต่อมาเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาอย่างกว้างขวางขึ้น จึงได้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์นำมาพัฒนาใช้ในการช่วยโทรทัศน์ แต่ต่อมาได้มีผู้เล็งเห็นว่าหากนำ เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกับเทคโนโลยีของโทรทัศน์ คงจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล คอมพิวเตอร์นั้นใช้ส่งสัญญาณ และรับสัญญาณในระบบดิจิตอล ดังนั้น จึงได้ปรับปรุงโทรทัศน์ให้ใช้ระบบดิจิตอลด้วย เนื่องจากโทรทัศน์ใช้กันทั่วโลก การเปลี่ยนระบบจากอนาลอกเป็นระบบดิจิตอล จึงต้องเปลี่ยนทั่วโลก ซึ่งคณะกรรมการสหภาพโทรคมนาคมสากล (ITU) กำลังประชุมกันอยู่ โดยกำหนดมาตรฐานดังนี้ 1.ระบบแพร่ภาพดิจิตอลผ่านดาวเทียม (DVB-S The Digital Video Broadcasting Satellite System) , 2.ระบบแพร่ภาพดิจิตอลผ่านสายเคเบิล (DVB-C the digital cable eleliverly system) และ 3. ระบบแพร่ภาพดิจิตอลภาคพื้นดิน (DVB-T the Digital Terrestrial Television System)

    กลไกการทำงาน

    เป็นระบบการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีข้อมูลที่มีการเข้ารหัสเป็นดิจิตอล ทีมีค่า “0” กับ “1” เท่านั้น โดยมีกระบวนการต่าง ๆ ที่จะทำการแปลงสัญญาณภาพและเสียงให้เป็น ดิจิตอล มีการบีบอัดข้อมูล ทำการเข้ารหัสข้อมูล ก่อนที่จะทำการมอดูเลตข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้เพื่อส่งผ่านตัวกลางไปสู่ผู้รับปลายทาง ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับโทรทัศน์ระบบอะนาล็อก เมื่อสัญญาณดิจิตอลถูกส่งมายังเครื่องรับโทรทัศน์ จะผ่านกระบวนการบีบอัดข้อมูลสัญญาณดิจิตอล โดย MPEG-2 หรือ MPEG-4 ทำการถอดรหัส หลังจากนั้นสัญญาณจะถูกส่งไปยังหลอดภาพ แล้วหลอดภาพจะยิงลำแสงออกไปยังหน้าจอโทรทัศน์ ทำให้เกิด Pixel (จุดภาพ) บนจอภาพ ซึ่งในระบบ HDTV นั้นจะให้ภาพที่มีความละเอียดของ Pixel สูงกว่าโทรทัศน์ทั่วไปมาก จึงทำให้ภาพที่ออกมามีความคมชัด ละเอียด และไม่มีการกระพริบของสัญญาณภาพ ลักษณะการยิงลำแสง แบ่งได้ 2 แบบ คือ Interlaced Scanning และProgressive Scanning
    • 480i/576i (SDTV) เป็นสัญญาณโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นแบบดิจิทัล
    • 480p/576p (EDTV) เป็นโทรทัศน์ที่มีความชัดเจนเพิ่มขึ้น (Enhanced Definition Television) หรือEDTV ที่ให้ภาพชัดเจนใกล้เคียงกับ HDTV ซึ่งดีกว่าที่รับชมกันในขณะนี้และทุกวันนี้สามารถ เล่นแผ่นดีวีดีทั้งหมดกับ EDTV ได้
    • 720p (HDTV) เป็น HDTV format ที่ให้คุณภาพใกล้เคียงกับ 1080i แต่ก็ยอมให้ส่งสัญญาณ 480p ได้ด้วย
    • 1080i (HDTV) เป็น HDTV image ที่มีคุณภาพของภาพที่คมชัดซึ่งเป็นแบบที่ผู้ให้บริการโทรทัศน์ใช้อยู่

    ดิจิตอล คือ อะไร

    ดิจิต แปลว่า นิ้ว ในสมัยโรมันการคิดเลขใช้วิธีนับนิ้ว ดังนั้น อะไรที่ใช้คิดเลขก็จะเรียกว่า ดิจิตอล เนื่องจากนิ้วมี 10 นิ้ว การนับจึงเรียกว่าเลขฐาน 10 คือ นับ ตั้งแต่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,0 เมื่อถึง 0 แล้วจะนับต่อต้องเอาเลขมาเรียงกันก็จะได้ 10,11,12,13,14,15 เป็นต้น มีวิธีนับอีกวิธีหนึ่ง ที่เรียกว่า เลขฐาน 2 คือ 1 และ 0 ตัวเลขฐาน 1 และ 0 ตัวเลขฐาน 2 นี้จะเรียงต่อกันไปและเปลี่ยนเป็นเลขฐาน 10 ได้เช่น 0 เท่ากับ 0 , 1 เท่ากับ 1 , 10 เท่ากับ 2 , 11 เท่ากับ 3 เป็นต้น ตัวเลข 0 และ 1 ที่วิ่งตามกันเป็นแถวก็จะสามารถปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ถูกต้องได้ไม่ยาก เพราะไม่ใช่ 0 ก็ต้องเป็น 1 ไม่ใช่ 1 ก็ต้องเป็น 0 คอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณดิจิตอล คือ เลข 0 และ เลข 1 เวลาส่งสัญญาณก็แปลงเป็นไฟฟ้าก่อน ที่ใดมีสัญญาณ 0 คือ ปิดสวิทซ์ ถ้าเปิดสวิตซ์ สัญญาณก็จะเป็น 1 ด้วยวิธีการเปิด และปิดสวิตซ์นี้ เราก็สามารถส่งสัญญาณดิจิตอลได้ การเปิดและปิดสวิตซ์นี้ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้เปิด-ปิดได้เร็วและเรียบร้อย

    [แก้]คอมพิวเตอร์เข้ามาในโทรทัศน์ได้อย่างไร

    ในระยะแรกคอมพิวเตอร์เข้ามาในวงการโทรทัศน์เพื่อมาช่วยในบริหารและการจัดการ เช่น คิดบัญชี ทำบัญชีสิ่งของ ทำบัญชีบุคลากร และการใช้เป็นเครื่องมือในสำนักงาน เป็นต้น ต่อมาก็ใช้ในการทำระบบอัตโนมัติในสำนักงาน ใช้ในการช่วยส่งข่าวบ้าง ใช้ในการบันทึกข้อความบ้าง ต่อมาเมื่อมีระบบกราฟิกเข้ามา ได้ใช้คอมพิวเตอร์ทำตัวอักษรและทำกราฟิคต่างๆ ตลอดจนช่วยในการทำภาพโฆษณาต่างๆ ตลอดจนช่วยในการทำภาพโฆษณา ภาพพิเศษต่างๆ ภาพที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นทำได้สวยงามวิจิตรพิสดารเป็นอย่างมาก เช่น ภาพนกกินหยดน้ำ นกที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์สวยยิ่งนัก ทำให้เกิดภาพอื่นๆ ขึ้นมาอีกมากมายหลายแบบ จนกระทั่งทำให้ภาพนิ่งเคลื่อนไหวได้ (Animation) ตัวการ์ตูนตัวเดียว สามารถเคลื่อนไหวได้สารพัด ทำให้ สามารถสนองตอบจินตนาการของผู้สร้างภาพยนตร์การ์ตูน ได้เป็นอย่างดีทั้งนี้เพราะดิจิตอลสามารถเปลี่ยนแปลง และแปรผันได้ตามโปรแกรมที่จัดเข้ามา
    การบันทึกภาพในระบบอนาลอกนั้น เมื่อนำไปกระทำซ้ำต่อกันหลายครั้ง ภาพจะมีคุณภาพลดลง คือ ไม่ชัดเท่ากับต้นฉบับ แต่ในระบบดิจิตอลนั้นแม้จะนำไปกระทำซ้ำ ต่อเนื่องกันหลายสิบครั้งภาพก็ยังคงมีคุณภาพคงเดิม ด้วยข้อดีนี้จึงมีการนำเอาระบบดิจิตอล มาใช้ในเครื่องบันทึกภาพโทรทัศน์และเครื่องบันทึกภาพ แบบอื่นๆ ต่อมาได้มีการพัฒนากล้องโทรทัศน์ให้เป็นระบบดิจิตอลบ้าง การนำเอาดิจิตอลมาใช้กับกล้องโทรทัศน์นี้ มิใช่ว่าจะทำให้คมชัดอย่างเดียวเพราะกล้องที่คมชัดมากๆ ภาพจะไม่สวย เพราะจะเห็นสิวฝ้า ตลอดจนรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า ชนิดที่เจ้าของหน้าเห็นเข้าอาจเป็นลมไปเลยก็ได้ แต่ดิจิตอลมีข้อดีตรงที่บังคับ และเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ เพียงกดปุ่มอัตโนมัติ ใบหน้าที่เต็มไปด้วยสิวและรอยเหี่ยวย่นก็จะกลายเป็นหน้าที่มีผิวสีชมพูระเรื่อ ผิวเนียนอย่างนางงามผิวเนียนอะไรอย่างนั้น แต่ก็จะเป็นเฉพาะบางกล้องเท่านั้น เพราะกล้องดิจิอตอลที่คุณภาพต่ำก็มี แตถ้าคุณภาพสูง ภาพจะสวยแต่ราคาก็จะแพงมากเช่นกัน
    เมื่อกล้องก็เป็นดิจิตอลแล้วอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องตัดต่อภาพ เครื่องลำดับภาพ เครื่องทำภาพพิเศษ เครื่องกำเนิดสัญญาณซิงค์ เครื่องกระจายสัญญาณและเครื่องควบคุมอื่นๆ ก็ได้รับการพัฒนาให้เป็นดิจิตอลไปด้วยรวมถึงทั้งอุปกรณ์ห้องส่ง หรืออุปกรณ์ห้องผลิตรายการทั้งหมด แม้แต่การบังคับไฟที่ให้แสงในการถ่ายทำก็บังคับด้วยดิจิตอล รวมความแล้ว่าระบบในห้องส่งโทรทัศน์ได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบเป็นดิจิตอลทั้งหมด สายที่ส่งสัญญาณเข้ามาก็ถูกเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล แต่การส่ง สัญญาณ จากสถานีไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ตามบ้านผู้ชมนั้นยังไม่ได้ ใช้ระบบดิจิตอล เพราะเครี่องรับโทรทัศน์ของผู้ชมยังเป็นอนาลอกอยู่ การที่จะเปลี่ยนเครื่องรับหลายพันล้านเครื่องให้เป็นระบบดิจิตอล โดยโยนเครื่องเก่าทิ้งหมดนั้นทำไม่ได้ เป็ฯการเดือดร้อนต่อประชาชนผู้รับชมแต่ความจำเป็นในการเปลี่ยนระบบก็ยังคงมีเพราะทุกวันนี้ความถี่วิทยุมีจำนวนจำกัด ส่วนสถานีวิทยุโทรทัศน์ตลอดจนการสื่อสารต่างๆ เกิดขึ้นทุกวันจึงมีความจำเป็นต้องใช้ความถี่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้นระบบดิจิตอลจึงสามารถตอบรับความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดีเพราะระบบดิจิตอลสามารถบีบอัดความกว้างของช่องสัญญาณให้ลดลง ทำให้สามารถเพิ่มช่องทางการส่งสัญญาณได้อีกมากมาย
    ตัวอย่างเช่น ดาวเทียม 1 ดวงมี ช่อง สัญญาณดาวเทียม 12 ช่องสัญญาณถ้าจะส่งโทรทัศน์ในระบบอนาลอกไม่มีการบีบอัดสัญญาณจะส่งได้ ทั้งหมด 24 ช่องโทรทัศน์ คือ 2 ช่องต่อ 1 ทรานสปอนเดอร์ แต่ถ้าส่งในระบบดิจิตอลและมีการบีบอัดสัญญาณ (Compression) จะสามาระส่งได้ถึง 10 ช่อง โทรทัศน์ต่อ 1 ทรานสปอนเดอร์ ดาวเทียมดวงหนึ่ง 12 ทรานสปอนเดอร์ จะส่งโทรทัศน์ได้ถึง 120 ช่อง สายเคเบิลก็เช่นเดียวกัน ถ้าส่งในระบบอนาลอกก็จะส่งได้น้อยช่องกว่าส่งด้วย

    [แก้]ระบบดิจิตอลที่มีการบีบอัดสัญญาณ

    การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้นได้เริ่มต้นโดยการส่งสัญญาณผ่านทางดาวเทียมและโทรทัศน์ทางสาย หรือ เคเบิลเทเลวิชั่น (Cable Television) และเนื่องจากระบบดิจิตอลนี้ ควบคุมได้ง่าย การสั่งการก็ง่าย จึงเกิดโทรทัศน์ 2 ทางขึ้นและเกิดรายการ เปย์เปอร์วิว (Pay Per View) หรือการรับชมรายการที่ต้องจ่ายเงินเป็นรายเรื่อง และเนียร์วีดิโอออนดีมานด์ (Near video on Demand) คือการรับชมตามเวลาที่กำหนดโดยต้องจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือนและ วิดิโอออนดีมานด์ (Video on Demand) คือ การรับชมรายการใดก็ได้ตามรายการที่ระบุไว้โดยต้องจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือน
    ส่วนการรับสัญญาณนั้นก็จำเป็นจะต้องให้เครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้อยู่เดิมรับได้ด้วย ดังนั้นหากใครต้องการที่จะรับโทรทัศน์จากดาวเทียมก็ต้องมีจานรับประกอบกับอุปกรณ์ร่วม คือ กล่องไออาร์ดี (IRD) ซึ่งต้องนำมาติดตั้ง กับเครื่องรับโทรทัศน์ก็จะสามารถรับโทรทัศน์ จากดาวเทียมในระบบดิจิตอลได้ ซึ่งเรารู้จักกันในนาม ดีทีเอช ( DTH ) หรือ ไดเร็คทูโฮม ( Direct to home ) โดยจานจะรับสัญญาณจากดาวเทียมมาขยายและส่งเข้ากล่องไออาร์ดี กล่องนี้จะแปลงสัญญาณดิจิตอลจากดาวเทียมให้เป็นสัญญาณโทรทัศน์ ในระบบอนาล็อกแล้วส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์
    ส่วนระบบเคเบิลทีวีก็มีกล่องอยู่ด้านหน้าหรือด้านบนของเครื่องรับโทรทัศน์เดิมเช่นกัน เรียกว่าเซททอปบ๊อก (Set top box) กล่องนี้ก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณโทรทัศน์ในระบบอนาล็อกและเปลี่ยนช่องสัญญาณส่งเข้าเครื่องรับโทรทัศน์ ส่วนการควบคุมการใช้ทางเคเบิลทีวีก็จะควบคุมจากรีโมทคอนโทรลและเนื่องจากเป็นระบบดิจิตอล การควบคุมก็จะทำได้อย่างสะดวก การสั่งฉายภาพยนตร์เรื่องที่ต้องการก็สามารถสั่งได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ หรือเปลี่ยนช่องสัญญาณได้ง่ายการปรับแต่งต่าง ๆ ทำได้ง่าย ๆ

    การพัฒนาโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestial Television)

    ในขณะที่โทรทัศน์จากดาวเทียมขยายกิจการมากขึ้น มีการถ่ายทอดข้ามโลกและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ทางเคเบิลทีวีก็พัฒนาระบบมากขึ้น มีการให้บริการมากขึ้น ทางโทรทัศน์ที่ส่งด้วยสายอากาศภาคพื้นดิน ก็ต้องขยับตัวเพราะต้องการช่องสัญญาณมากขึ้น การพัฒนาโทรทัศน์ภาคพื้นดินนั้น มีความพยายามที่จะเพิ่มสถานีโทรทัศน์ให้มากขึ้นโดยการใช้ช่องสัญญาณความถี่ในย่านยูเอชเอฟ นอกจากนั้นยังมีความพยายามทำโทรทัศน์ให้มีความคมชัดมากขึ้น และมีรายละเอียดมากขึ้นที่เรียกว่า เอชดีทีวี (HDTV) แต่ก็ต้องเลิกล้มไปเพราะเห็นว่าระบบที่พัฒนานั้นเป็นระบบอนาล็อก ซึ่งจะพัฒนาต่อไปก็คงยากจึงหันมาพัฒนาโทรทัศน์ HDTVในระบบดิจิตอลแทน

    การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล (Digital)

    เดิมทีการส่งโทรทัศน์จะส่งในระบบอนาลอก ( Analog ) แต่เมื่อมีสถานีส่งโทรทัศน์มากขึ้นก็เกิดปัญหาสัญญานรบกวนกันเกิดขึ้น เพราะความถี่มีจำนวนจำกัด การส่งโทรทัศน์ในระบบอนาลอกนั้น ในเมืองเดียวกันจะส่งความถี่ใกล้เคียงกันไม่ได้ ต้องส่งช่องเว้นช่อง เช่นใน กทม. ส่งช่อง 3 5 7 9 11 จะส่งช่อง 2 4 6 8 10 12 ไม่ได้ ถ้าจะส่งช่อง 2 4 6 8 10 12 จะต้องส่งให้ห่างจาก กทม. อย่างน้อย 200 กม. เช่นที่ นครสวรรค์ ระยอง หรือ ประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่น ๆ อีก อาทิ
    1. สัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและแม่เหล็กอื่น ๆ ทำให้ภาพไม่คมชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องที่มีความถี่ต่ำ
    2. สัญญาณที่ส่งมาจากสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์อื่น ๆ มารบกวนทำให้รับไม่คมชัด
    3. สัญญาณที่สะท้อนจากตึก สิ่งปลูกสร้าง หรือภูเขาทำให้เกิดเงาที่จอเครื่องรับโทรทัศน์ ทำให้ได้รับไม่ชัดเจนและน่ารำคาญ
    4. เนื่องจากไม่สามารถบีบอัดสัญญาณได้ จึงต้องใช้ความถี่มากทำให้มีสถานีได้น้อย
    5. การที่จะส่งสัญญาณอื่น ๆ ร่วมไปด้วยทำได้โดยยาก
    ยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีก แต่เหตุผลที่สำคัญคือ การมีช่องสัญญาณน้อยไม่พอใช้ จึงต้องนำระบบทีวีดิจิตอล มาแก้ปัญหาเพื่อให้มีช่องสัญญาณออกอากาศรายการได้มากขึ้น และมีช่องรายการที่มีความคมชัดสูง เพิ่มขึ้น

    ประโยชน์ของการส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล

    การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้นได้ประโยชน์หลายประการ เช่น
    1.ทำให้ใช้ประโยชน์จากช่องสัญญาณได้มากขึ้น เช่น เดิม 1 ช่องใช้ได้ 1 รายการ เมื่อหันมาใช้ระบบดิจิตอล มีการบีบอัดสัญญาณ ( Digital Compression ) ก็จะสามารถส่งได้ถึง 4-6 รายการทางภาคพื้นดิน และ 8-10 รายการทางดาวเทียม
    2. ให้บริการเสริมได้ ( ถ้ากฎหมายอนุญาต )
    3. สามารถรับชมขณะอยู่ในพาหนะเคลื่อนที่ได้ เช่น รับโทรทัศน์บนรถยนต์ได้ชัดเจนในบางความถี่
    4. สามารถให้บริการฟรี ( Free to Air ) หรือบริการเก็บค่าสมาชิกได้
    5. ค่าใช้จ่ายในการออกอากาศต่อ 1 รายการลดลง เพราะเครื่องส่ง 1 เครื่อง สามารถส่งได้หลายรายการ
    6. พัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ เพื่อรับกับวิวัฒนาการของการส่งและรับโทรทัศน์ในอนาคต เช่น โทรทัศน์จอกว้าง ( WIDE SCREEN ) โทรทัศน์ความคมชัดสูง ( HDTV )
    7. ประหยัดพลังงานในการส่งโทรทัศน์ เนื่องจากเครื่องส่งใช้กำลังออกอากาศลดลง
    8. คุณภาพในการรับชมดีขึ้น ไม่มีเงา การรบกวนน้อย เพราะถ้าจะรับได้ชัดก็ชัดเลยแต่ถ้าอยู่ในที่รับไม่ชัดก็จะรับไม่ได้ ดังนั้นหากต้องการรับชมก็ต้องขวนขวายหาวิธีรับจากทางอื่น เช่น จากเคเบิลทีวี หรือจากดาวเทียม ซึ่งถ้ารับได้ก็จะได้ชัดเจนไม่มีเงาและสิ่งรบกวน หรือถ้ามีการรบกวนก็จะมีในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมาก

    การรับโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล

    เมื่อมีการส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล เป็นการส่งในเชิงตัวเลข แต่เครื่องรับโทรทัศน์ในปัจจุบัน เป็นเครื่องรับแบบอนาลอก ซึ่งมีอยู่มากมาย ทั่วโลกนับพันล้านเครื่อง เฉพาะในประเทศไทยมีถึง 15,586,000 เครื่อง ( ตามข้อมูลของสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ) ถ้าจะให้ทิ้งเครื่องรับโทรทัศน์เก่าทั้งหมด ก็จะเป็นปัญหาแน่ คือ
    1. จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อเครื่องใหม่ซึ่งจะประมาณเท่ากับ 15 ล้าน คูณด้วย 1 หมื่นบาท เท่ากับ 1 แสนห้าหมื่นล้านบาท
    2. การที่จะสร้างเครื่องรับ 15 ล้านเครื่องในวันเดียวกันนั้นทำไม่ได้ดังนั้นจึงต้องใช้เครื่องรับโทรทัศน์เก่าไปก่อนและ แก้ปัญหาโดยทางสถานีโทรทัศน์ส่งสัญญาณทั้งในระบบอนาลอกแบบเดิม และส่งในระบบดิจิตอลควบคู่กันไป ผู้ใดที่ต้องการรับในระบบอนาลอกกรับไป ผู้ใดต้องการรัรบในระบบดิจิตอลก็รับไป
    การรับสัญญาณในระบบดิจิตอลใช้เครื่องรับในระบบอนาลอกธรรมดานั้นเพียงแต่ติดเซททอป (SET TOP) ไว้ที่ด้านหน้าเพื่อแปลงสัญญาณดิจิตอลให้เป็นอนาล็อกก่อนที่รับสัญญาณจากสายอากาศและถ้ามีการบีบอัดสัญญาณด้วย ก็จะต้องมีเครื่องขยายสัญญาณจากสายอากาศและถ้ามีการบีบอัดสัญญาณด้วย ก็จะต้องมีเครื่องขยายสัญญาณออกให้เท่าเดิมจึงจะรับกันได้ หรือมีเครื่องที่รับได้เฉพาะสมาชิกบอกรับก็จะต้องมีเครื่องถอดรหัสสมาชิกบอกรับด้วย
    ปัญหาที่จะเกิดก็คือเครื่องเซททอป (SET TOP) ราคายังค่อนข้างแพง ถ้าเครื่องนี้มีราคาถูกลงก็จะทำให้คนรับโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมากขึ้น ผู้ประกอบการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลจึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นอย่างมาก แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องส่งออกอากาศให้ได้ ทุกฝ่ายก็ต้องหาทางเอาเองเช่น
    1. ทำเครือข่ายเล็ก ๆ ซึ่งเมื่อคำนวณค่าเครื่องรับแล้วมีไม่เกิน 1000 เครื่อง ค่าใช้จ่ายก็คงไม่มาก
    2. ในที่ที่ไม่สามารถจะส่งระบบอนาลอกได้จริง ๆ ก็จำเป็นที่จะส่งในระบบดิจิตอล เช่น ในท้องถิ่นที่ความถี่เต็มแล้วหรือโทรทัศน์ท้องถิ่น เป็นต้น
    3. ทางด้านการศึกษาซึ่งต้องการรายการมาก เนื่องจากมีหลายสาขาสวิชาและแต่ละสาขาก็มีวิชาที่จะต้องสอนอย่างหลากหลาย ดังนั้นการที่จะไปสร้างสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินตั้ง 20 ช่อง ก็คงไม่มีทางเป็นไปได้ แต่ถ้าส่งในระบบดิจิตอลไปยังผู้รับชมกลุ่มเป้าหมายจำนวนจำกัดก็คงไม่ต้องใช้งบประมาณมากนัก
    4. สถานีที่ทำไว้เพื่อความทันสมัยในวันข้างหน้า ควรทำการส่งในระบบดิจิตอลทางภาคพื้นดินขนาน ไปกับการส่งในระบบอนาลอกด้วย รายการเดียวกัน อาทิเช่น สถานโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในอนาคต ข้างหน้าอาจส่งออกอากาศทั้ง 2 ระบบ ดังนั้นใครรับช่อง 3 ไม่ชัดก็สามารถหันไปรับสัญญาณในระบบดิจิตอลได้ ทำให้ประชาชนมีทางเลือก ระยะแรกคนที่รับดิจิตอลก็อาจมีไม่มากนัก แต่เมื่อเซททอปมีราคาถูกลงหรือมีผู้ทำเครื่องรับโทรทัศน์ที่รับได้ทั้งอนาลอกและดิจิตอลในตัวของมันเองขึ้นมา ราคาก็คงจะไม่แพงมากนัด เหมือนกันซื้อเครื่องรับธรรมดากับเครื่องรับที่รับได้ทุกระบบทั่วโลกในขณะนี้ ซึ่งผู้ซื้อไม่รู้สึกว่าแพงเลย แต่มีความคมชัดมาก
    5. โทรทัศน์ 2 ทาง ซึ่งใช้ในการศึกษา การแพทย์ การประชุมทางไกล และอื่น ๆ ที่ใช้ดิจิตอล
    6. มหาวิทยาลัย โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน วิทยาลัย กิจการทหารและกิจการพิเศษบางอย่างจะใช้ดิจิตอล เพราะต้องการนำเสนอรายการมากรายการ
    7. โทรทัศน์ท้องถิ่นจะใช้ดิจิตอล เพราะเป็นเครื่องส่งเล็กสามารถใช้ความถี่ซ้ำกันได้
    8. โทรทัศน์พิเศษอื่น ๆ เช่น โทรทัศน์เพื่อคนพิการ โทรทัศน์เพื่อการกีฬา จะใช้ดิจิตอล เพราะสามารถส่งข้อมูลอื่นควบคู่ไปได้ด้วย
    9. โทรทัศน์โรงแรมซึ่งมีรายการพิเศษเฉพาะในโรงแรมของตนจะใช้ระบบดิจิตอล เพราะความสามารถให้ความหลายหลายทางด้านรายการกับผู้มาใช้บริการและที่สำคัญค่าใช้จ่ายต่อรายการถูกกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
    10. โทรทัศน์สมาชิกบอกรับ จะใช้ดิจิตอล เพราะต้องการช่องรายการมาก
    11. โทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูง (HDTV)
    12. โทรทัศน์กิจการพิเศษ ซึ่งใช้เฉพาะกลุ่มเป้าหมายในเชิงปิดลับจะใช้ดิจิตอล
    13. โทรทัศน์ผ่านโครงข่ายโทรคมนาคม (Telecom Network) เช่น อินเทอร์เน็ต ฯลฯ

    โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในไทย

    ในประเทศไทยจะใช้ DVB เป็นมาตรฐานหลักในการออกอากาศระบบดิจิทัล ทั้งภาคดาวเทียม และเคเบิล (DVB-S, DVB-C) ที่มีผู้ให้บริการหลายราย ทั้งแบบบอกรับสมาชิก และแบบซื้อขาดไม่มีรายเดือน ส่วนภาคพื้นดินนั้นเดิมทีจะใช้ระบบ DVB-T ซึ่งเคยมีการทดสอบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2543 ถึงพฤษภาคม 2544 จากตึกใบหยก 2 แต่ความล้าช้าของการออกกฎหมายกสช ผ่านมา 10 ปี เทคโนโลยี DVB พัฒนาดีขึ้น ประเทศไทย และสมาชิกอาเซียนจึงมีการตกลงจะใช้ระบบ DVB-T2 ประเทศไทยต้องรอการอนุญาตจากกสทช.ก่อน ซึ่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 จะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเพื่อเริ่มนำร่องโครงการทดลอง ดิจิทัล ทีวี ภาคพื้นดิน และในรูปแบบโทรศัพท์ที่สามารถดูโทรทัศน์ได้ เป็นลำดับแรกในเดือนมิถุนายน 2555 การทดลองดิจิทัลทีวี DVB-T2 เคยทดลองมาแล้วโดยช่อง 5ในปี พ.ศ. 2554 และจะยุติระบบอะนาล็อกในปี พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2563 ปัจจุบัน ได้มีการทดลองออกอากาศ ทีวีดิจิตอล อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556 โดยออกอากาศในระบบ ยูเอชเอฟ จำนวน 2 คลื่นความถี่ คือ ความถี่ 594 เมกกะเฮิร์ต และ ความถี่ 626 เมกกะเฮิร์ต

    มาตรฐานการส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล

    การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมีการส่งในมาตรฐานต่างกัน เช่น
    1.ประเทศอเมริกาใช้มาตรฐาน เอทีเอสซี (ATSC) ซึ่งย่อมาจาก อเมริกัน แอดวานซ์ เทเลวิชั่น ซิสเต็ม ( AMERICAN ADVANCE TELEVISION SYSTEM ) ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ ปี ค.ศ.1998
    2.ยุโรป ใช้มาตรฐาน ดีวีบี (DVB) ย่อมาจาก ดิจิตอลวิดิโอ บรอดคาสติ้ง ( DIGITAL VIDEO BROADCASTING ) ติดตั้งและใช้งานในปี 1998
    3.ญี่ปุ่นใช้มาตรฐาน ไอเอสดีบี (ISDB) ย่อมาจากคำว่า อินทีเกรดเต็ด เซอร์วิส ดิจิตอล บรอดคาสติ้ง (INTEGRATED SERVICE DIGITAL BROADCASTING) ในปี ค.ศ.1998
    ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ได้เริ่มทดลองใช้งานหรือศึกษาว่าจะใช้ระบบใด เช่น จีน ไต้หวัน ใช้ระบบอเมริกัน (ATSC) กลุ่มประเทศยุโรป สแกนดิเนเวีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ใช้ระบบ ดีวีบี (DVB) สำหรับสิงคโปร์ติดตั้งและทดลองใช้ทั้ง 2 ระบบ คือทั้งอเมริกัน (ATSC) และยุโรป (DVB) ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะค้าขาย 2 ระบบนี้ ผ่านประเทศของตนเองสำหรับลูกค้าในภูมิภาคนี้ เพราะเล็งเห็นว่าลูกค้าสามารถจะไปดูตัวอย่างสถานีที่สิงคโปร์ได้ง่ายเพราะใกล้กว่าค่าใช้จ่ายถูกกว่า และสิงคโปร์ก็สามารถเรียกเก็บค่าบริการได้อย่างสบาย และเนื่องจากสิงคโปร์ไม่มีความประสงค์จะแข่งขันกับญี่ปุ่นจึงไม่นำระบบของญี่ปุ่นมาติดตั้ง ส่วนประเทศไทยจะคิดอย่างไรก็ไม่ทราบ ขอกราบเรียนว่าน่าจะใช้ระบบเดียวกันก็จะดี เพราะจะเป็นผลดีกับประชาชน จะได้ไม่ต้องซื้อเครื่อง 2 ระบบ อย่างระบบเสียง 2 ภาษาซึ่งมี 2 ระบบอย่างทุกวันนี้ ส่วนถ้าจะคิดค้าขายแบบสิงคโปร์ก็ควรจะตั้งสถานีระบบอเมริกันเพียงสถานีเล็กสถานีเดียวก็พอ เรื่องนี้สุดแต่จะพิจารณา

    ระบบการส่งและการรับโทรทัศน์

    การส่งและรับโทรทัศน์ในอนาคตอันใกล้นี้ น่าจะเป็นดังนี้
    1. การส่งและรับโทรทัศน์ในระบบอนาลอกโดยคลื่นความถี่ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television)
    2. การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลด้วยคลื่นความถี่ภาคพื้นดิน (Digital Terrstrial Television)
    3. การส่งโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในระบบอนาลอก
    4. การส่งโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในระบบดิจิตอล
    5. การส่งโทรทัศน์ระบบสมาชิกบอกรับ ชนิดไร้สาย หรือระบบมัลติพอยท์ มัลติแชนแนล ดิสทริบิวชั่น ซีสเต็ม (Multipoint Multichannel Distribution System) หรือ MMDS เป็นการส่งโทรทัศน์โดยใช้คลื่นผ่านไมโครเวฟเป็นตัวกระจายคลื่น 1-2.3 จิกะเฮิรตซ์ ความถี่ย่านนี้จะรับโดยใช้ระบบอนาลอก
    6. การส่งโทรทัศน์ระบบสมาชิกบอกรับชนิดไร้สาย หรือ MMDS โดยใช้ระบบดิจิตอล
    7. การส่งเคเบิลทีวีชนิดใช้สายในระบบอนาลอก
    8. การส่งเคเบิลทีวีชนิดใช้สายในระบบดิจิตอล
    9. การให้บริการโทรทัศน์โดยผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมในระบบดิจิตอล
    10. การส่งโทรทัศน์โดยการบีบอัดสัญญาณในระบบดิจิตอล ผ่านดาวเทียม
    11. การส่งโทรทัศน์ 2 ทาง ( Interactive Television ) ในระบบดิจิตอล
    12. การส่งโทรทัศน์ 2 ทาง โดยผ่านดาวเทียมทางหนึ่ง และผ่านเคเบิลใยแก้อีกทางหนึ่ง
    13. การส่งโทรทัศน์ความคมชัดสูงผ่านดาวเทียม (HDTV VIA SATELLITE)
    14. การส่งโทรทัศน์ความคมชัดสูงผ่านเคเบิลในระบบดิจิตอล

    การแพร่ภาพโทรทัศน์

    โทรทัศน์ (television)การถ่ายทอดเสียงและภาพพร้อมกันจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยเครื่องที่เปลี่ยนสัญญาณภาพและเสียงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า เครื่องส่งโทรทัศน์ และเครื่องที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสัญญาณภาพและเสียง เรียกว่า เครื่องรับโทรทัศน์
    โทรทัศน์แอนะล็อก (analog television) คือ โทรทัศน์ที่มีระบบการรับ- ส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปสัญญาณแอนะล็อกแบบ A.M. และ F.M เช่น โทรทัศน์ที่ระบบ NTSC PAL และ SECAM ซึ่งก็คือโทรทัศน์ทั่วไปที่ใช้ตามบ้านเรือน
    โทรทัศน์ดิจิตอล (digital television) คือ โทรทัศน์ที่มีระบบการรับ – ส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปดิจิตอลคือส่งข้อมูลเป็นบิต ซึ่งหลายช่องสัญญาณที่มีความถี่เดียวกันสามารถนำมาส่งเป็นช่องสัญญาณเดียวกันได้ โทรทัศน์ดิจิตอลจะให้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าแบบแอนะล็อก เช่น HDTV
    • 1.ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC) เป็นระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศสหรัฐอเมริกาย่อมาจาก Nation Television System Committee โดยมีการส่ง 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที อาจเรียกระบบนี้ว่าระบบ เอฟซีซี(FCC) ระบบนี้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจของประเทศสหรัฐอเมริกา
    • 2.ระบบพัล (PAL) ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ย่อมาจาก Phase Alternative Line อาจเรียกว่าระบบ ซีซีไออาร์ (CCIR) ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบโทรทัศน์สีเอ็นทีเอสซี โดยมีการส่ง 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที เช่น ระบบการส่งโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ไนประเทศไทย
    • 3.ระบบซีแคม (SECAM) ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศฝรั่งเศสย่อมาจาก Se'quantiel Couleur à Me'moire (sequential color with a memory) โดยมีการส่ง 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที เป็นระบบที่ใช้ในประเทศฝรั่งเศส ประเทศทางแถบยุโรปและแอฟริกา
    การที่จะรับและส่งข้อมูลข่าวสารมีได้หลายวิธี แต่การที่จะรับและส่งข้อมูลได้ดีคือการที่ผู้รับสามารถรับข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์เป็นการส่งข้อมูลอีกวิธีหนึ่งที่สามารถที่ให้ผู้รับได้ทั้งข้อมูลทางภาพและทางเสียงเหมือนกับแหล่งที่มา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การแพร่ภาพโทรทัศน์แบบแอนะล็อก และการแพร่ภาพโทรทัศน์แบบดิจิตอล ซึ่งการแพร่ภาพในแต่ละประเภทสามารถรับและส่งข้อมูลได้หลายแบบ เช่น การส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิล การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม และ การส่งสัญญาณภาคพื้นดิน ซึ่งอาจจะมากจากการถ่ายทอดสดหรือจากการบันทึกเทปไว้