แนะนำ DNS Server
DNS Server ในมุมมองของผู้เขียนมีหน้าที่หรือลักษณะการใช้งานอยู่ 2 ประเภทคือ
DNS Server ในมุงมองของผู้เขียนสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
จากรูปแบบทั้งสองดังที่ได้กล่าวมา ในแต่ละแบบนั้นสามารถแบ่งย่อยเป็นอีก 2 แบบคือ
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการการเซ็ตแบบ Secondary zone ก่อน ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ในที่นี้สมมุติว่าเราต้องการจะเซ็ต DNS ให้เป็นของโดเมนที่ชื่อ mydomain.com และมีชื่อ host และIP Address ต่าง ๆ เป็นดังนี้ :
หมายเหตุ เนื่องจากเป็นการทดลอง จึงขอใช้เป็น Private IP
ขั้นตอนการเซ็ตมีดังต่อไปนี้
DNS Server ในมุมมองของผู้เขียนมีหน้าที่หรือลักษณะการใช้งานอยู่ 2 ประเภทคือ
- เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแปลชื่อ host หรือชื่อโดเมนให้เป็น IP Address (หรือกลับกัน) ซึ่ง DNS Server ประเภทนี้ไม่ต้องมีการคอนฟิกเพิ่มเติมแต่ประการใด แค่ติดตั้งโปรแกรม DNS ก็สามารถทำงานได้แล้ว
- เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของโดเมนที่ได้จดทะเบียน DNS Server ประเภทนี้ต้องมีการเซ็ตเพิ่มเติมครับ ซึ่งหลักการของจดทะเบียนโดเมน เมื่อเราจดทะเบียนโดเมนแล้ว เราต้องมีการแจ้งไปที่ฐานข้อมูลกลางของโลก (Internic) ว่าโดเมนของเรานั้นมี DNS Server ตัวไหนเป็นตัวเก็บค่าข้อมูลต่าง ๆ ของโดเมนเอาไว้ ข้อมูลที่ว่าก็เช่นชื่อ host ต่าง ๆ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราจดทะเบียนโดเมนชื่อ itwizard.info ซึ่ง DNS Server ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของโดเมนคือ ns1.itwizard.info และ ns2.itwizard.info (ตรวจเช็คได้จาก www.internic.com ซึ่งชื่อ name server พวกนี้ต้องแจ้งไปที่ internic ด้วยว่ามี ip address เป็นอะไร คนที่เคยจดทะเบียนโดเมนแล้วรู้ดี)
- ตัวอย่างเช่นเมื่อมีคนเรียกใช้งาน www.itwizard.info หรือ mail.itwizard.info ถ้าตัว DNS ตัวใกล้เคียงไม่มีข้อมูลของชื่อโดเมนดังกล่าวอยู่ในแคช ตัว DNS Server ใกล้เคียงก็จะถามไปที่ตัว Server ของ Internic แล้ว Server ของ Internic ก็จะบอกมาว่าโดเมนที่กำลังสอบถามอยู่นั้น DNS Server ตัวไหนเป็นตัวรับผิดชอบเก็บข้อมูล นั่นคือจะบอกว่าเป็น ns1.itzard.info และ ns2.itwizard.info นั่นเอง จากนั้น Server ทั้งสองนี้ก็จะเป็นตัวบอกว่าค่าจริง ๆ ของ www.itwizard.info หรือ mail.itwizard.info มีค่า IP address เป็นอะไร
DNS Server ในมุงมองของผู้เขียนสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
- Primary zone จะเป็น Server ที่เก็บฐานข้อมูลหลักของโดเมน การเซ็ตอัพ DNS ชนิดนี้จะต้องมีการเพิ่มชื่อ Host ต่าง ๆ เข้าไปเองทั้งหมด
- Secondary zone อาจจะเรียกว่าเป็น Slave ซึ่งการเซ็ตอัพ Server ชนิดนี้ไม่ต้องมีการเพิ่มชื่อ Host ต่าง ๆ เข้าไปเอง เพียงแต่ในขั้นตอนของการเซ็ตอัพ จะมีการอ้างอิงถึงเครื่องที่เป็น Primary Zone หลังจากนั้นก็จะทำการสำเนาไฟล์ทั้งหมดมาจากเครื่องที่เป็น Primary ซึ่งจะมีชื่อ Host ต่าง ๆ เข้ามาเอง
จากรูปแบบทั้งสองดังที่ได้กล่าวมา ในแต่ละแบบนั้นสามารถแบ่งย่อยเป็นอีก 2 แบบคือ
- Forward lookup zone เป็น DNS Sever ที่ทำหน้าที่แปลงชื่อโฮสต์หรือชื่อโดเมนไปเป็น IP Address
- Reverse lookup zone เป็น DNS Server ที่ทำหน้างที่แปลง IP Address เป็นชื่อ Host หรือชื่อโดเมน
(ในที่นี้ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวถึง Reverse lookup zone เพราะไม่ค่อยจะมีความจำเป็นมากนัก)
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการการเซ็ตแบบ Secondary zone ก่อน ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เลือกเมนู All Programs -- > Administrative Tools --> DNS ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 - แล้วจะได้ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 - ให้คลิ๊กที่เมาส์ขวาที่ชื่อเครื่องแล้วเลือกเมนู New Zone ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 - เมื่อได้ดังรูปที่ 4 ให้คลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 4 - เมื่อได้ดังรูปที่ 5 ให้เลือก Secondary zone แล้วคลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 5 - เมื่อได้ดังรูปที่ 6 ให้เลือก Forward lookup zone แล้วคลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 6 - เมื่อได้ดังรูปที่ 7 ให้ป้อนชื่อโดเมนที่ต้องการจะเซ็ตและต้องมีโดเมนที่มีอยู่จริง (หมายถึงมีการเซ็ต Primary Server เรียบร้อยแล้ว) ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนของยกตัวอย่างโดเมนของโรงเรียนหนึ่งนะครับ แล้วคลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 7 - เมื่อได้ดังรูปที่ 8 ให้ป้อน IP Address ของ DNS Server ที่เป็น Primary Server แล้วคลิ๊กปุ่ม Add
รูปที่ 8 - เมื่อได้ดังรูปที่ 9 ให้คลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 9 - เมื่อได้ดังรูปที่ 10 ให้คลิ๊กปุ่ม Finish
รูปที่ 10 - จากนั้น Server ที่เรากำลังเซ็ตอยู่จะไปดึงไฟล์ข้อมูลมาจาก Primary Server แล้วจะมีชื่อ host ต่าง ๆ ปรากฏดังรูปที่ 11
รูปที่ 11 - ในกรณีที่ไม่สามารถดึงไฟล์จาก Primary Server ได้ก็อาจจะต้องทำการ Transfer from Master ดูดังรูปที่ 12 แต่ถ้ายังไม่สามารถดึงได้อีกก็อาจจะมีปัญหาในการเชื่อมต่อหรือไม่ก็เครื่องที่เป็น Primary อาจจะไม่อนุญาตให้มีการ Transfer ครับ
รูปที่ 12
ในที่นี้สมมุติว่าเราต้องการจะเซ็ต DNS ให้เป็นของโดเมนที่ชื่อ mydomain.com และมีชื่อ host และIP Address ต่าง ๆ เป็นดังนี้ :
Host Name | IP Address |
ns1.mydomain.com | 192.168.1.11 |
ns2.mydomain.com | 192.168.1.12 |
mail.mydomain.com | 194.168.1.13 |
www.mydomain.com | 192.168.1.14 |
ขั้นตอนการเซ็ตมีดังต่อไปนี้
- เมื่ออยู่ในหัวข้อ New Zone ดังรูปที่ 13 ให้เลือกเป็น Primary zone แล้วคลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 13 - เมื่อได้ดังรูปที่ 14 ให้เลือกรายการ Forward lookup zone แล้วคลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 14 - ให้ป้อนชื่อโดเมนดังรูปที่ 15 แล้วคลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 15 - ในรูปที่ 16 เป็นชื่อของ zone file ในที่นี้ขอใช้ชื่อที่เป็น default แล้วให้คลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 16 - ในรูปที่ 17 เลือก Do not allow dynamic update แล้วคลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 17 - ให้คลิ๊กปุ่ม Finish ตามรูปที่ 18
รูปที่ 18 - จากนั้นจะมีชื่อโดเมนปรากฏขึ้นมาดังรูปที่ 19
รูปที่ 19 - ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการเพิ่ม host เข้าไป โดยให้คลิ๊กเมาส์ขวาที่ชื่อโดเมน แล้วเลือกเมนู New Host ดังรูปที่ 20
รูปที่ 20 - ให้ป้อนชื่อ host และ IP Address เข้าไปดังรูปที่ 21 แล้วคลิ๊กปุ่ม Add Host สำหรับ check box ที่เป็น Create associatied pointer (PTR) record จะใช้ในกรณีที่เราทำ Reverse Zone ด้วย แต่ในที่นี้เราไม่ได้ทำ จึงไม่จำเป็นต้องเลือก
รูปที่ 21 - เมื่อมีการ Add Host แล้วจะมีรายงานดังรูปที่ 22
รูปที่ 22 - จากนั้นให้ทำการ Add Host ที่เหลือให้ครบตามตัวอย่างที่กล่าวมา และเมื่อ Add Host ครบแล้วก็จะได้ผลลัพท์ดังรูปที่ 23
รูปที่ 23 - ในส่วนของ Mail นั้นนอกจากที่ได้ Add Host ไว้แล้วให้ทำการเพิ่มในส่วนของ Mail Exchanger ด้วย โดยให้เลือกเมนู New Mail Exchanger (MX) แล้วจะได้ดังรูปที่ 24 จากนั้นให้คลิ๊กปุ่ม Browse เพื่อ Browse ไปหา host ที่ชื่อ mail ตามที่ได้ Add ไว้แล้ว
รูปที่ 24 - เมื่อทำการ Browse ก็จะเจอ host ที่ได้ Add ไว้ดังรูปที่ 25 ให้เลือกชื่อที่เป็น mail แล้วคลิ๊กปุ่ม OK
รูปที่ 25 - แล้วจะได้ดังรูปที่ 26 จะเห็นว่ามี Priority ของ mail อยู่ด้วย ในที่นี้ขอให้ใช้ค่า default ที่มีอยู่คือ 10 แล้วคลิ๊กปุ่ม OK
รูปที่ 26 - จากนั้นจะได้ผลลัพท์ดังรูปที่ 27 ซึ่งจะเห็นว่ามีค่าของ Mail Exchanger อยู่ด้วยแล้ว
รูปที่ 27 - การทดสอบการทำงานของ DNS Server สามารถทดสอบได้ด้วยการรันคำสั่ง nslookup แล้วให้ป้อนชื่อ host ต่าง ๆ เข้าไปดังรูปที่ 28
รูปที่ 28
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น