10/25/2564

การ set LAN 2 วง ให้ใช้ได้พร้อมกัน แบบ route บน windows

 ยกตัวอย่าง วง รพ.  มี 2 วง LAN

วงที่  1  192.168.1.1/24          เน็ต 3BB   ไม่มี authen

วงที่  2  192.168.3.202/24    เน็ต ภายใน รพ. มี authen

ปกติจะใช้ LAN วงที่ 2 เป็นหลักเพราะเส้นภายใน ใช้ติดต่อสื่อสารภายใน รพ. ซึ่งจะต้องเข้าระเบียบคือ เก็บ authen ถ้าจะใช้เน็ตก็ต้อง authen เพื่อเก็บประวัติการใช้งาน Internet  เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว

ต่อมา….มีเน็ต มาเพิ่ม จริงๆมีหลายค่าย ทั้ง TOT Leadline, TOT Fiber, Cat (onnet) Fiber,3BB Fiber
ซึ่งความเร็วแต่ละค่าย ก็แตกต่างกัน  แต่วง ภายใน จะจำกัดไว้เพื่อป้องกัน และแชร์เน็ตให้เท่าๆ กันทำให้รู้สึกว่าเน็ตช้า
ที่นี้มาเปลี่ยนเป็นมาใช้เส้น อิสระ เช่น 3BB เป็นตัวหลัก  ก็ออกเน็ตเร็วได้ปกติดี แต่ก็จะใช้งานติดต่อสื่อสารกับวง LAN ภายในไม่ได้ ที่นี้ละปัญหา

เรามีวิธีใช้ทั้ง 2 LAN มาใช้งานได้เลย แต่จะต้องกำหนด gateway ให้กับมันคุยได้รู้เรื่อง ก่อนเพื่อจะได้ไม่ขาดการติดต่อสื่อสาร ทั้งวงที่ 1 และวงที่ 2
อ้า…มาเริ่มกันเลย

หลักการคือ
– ต้องมี Card LAN 2 ใบนะครับ เพื่อรับ ip ของแต่ละวง
– ลบ Default Gateway ออกให้หมด
– ใส่ ip Gateway วงที่จะให้ออกเน็ต วงนอกเป็นหลัก
– ใส่ ip Gateway วงที่จะให้ใช้ภายใน  วงในเป็นรอง
– โดยเริ่มต้นที่  0.0.0.0 mask 0.0.0.0  วิ่งไปจนถึง  192.168.0.0 mask 255.255.0.0
– ซึ่งจะต้องผลลัพตามรูปนี้ครับ

ขั้นตอนที่ 1
– ลบค่า default gateway เก่าออกให้หมดก่อน

– ด้วยคำสั่ง route delete 0.0.0.0 mask 0.0.0.0  ตามรูปเลย
– ต่อมาสั่ง route add 0.0.0.0 mask 0.0.0.0 192.168.1.1  เข้าไปเพื่อเอาไว้สามารถออก internet เป็นตัวหลัก
– ต่อมาสั่ง route add 192.168.0.0 mask 255.255.0.0 192.168.200.1   เพื่อเอาไว้เป็น intranet วง LAN ภายใน
– ต่อมาสั่ง route add 0.0.0.0 mask 0.0.0.0 192.168.1.1 -P  ใส่ตัวเลือก -P เพื่อให้บันทึกเป็นเส้นทางแบบถาวร restart จะไม่หายไปนะครับ
– ต่อมาสั่ง route add 192.168.3.0 mask 255.255.255.0 192.168.1.1 -P เพื่อกำหนดวง LAN x.x.3.0/24 ให้ออกเน็ตขาวง x.x.1.0/24   แล้วใส่ -P เพื่อบันทึกแบบถาวร
– ต่อมาสั่ง route add 192.168.1.0 mask 255.255.255.0 192.168.1.1 -P เพื่อกำหนดวง LAN x.x.1.0/24 ให้ออกเน็ตขาวง x.x.1.0/24  เช่นกัน ใส่ -P เพื่อบันทึกแบบถาวรเช่นกัน

เสร็ลแล้วตรวจสอบว่ากำหนดครบแล้วหรือยังด้วยคำสั่ง
route print

– แล้วดูตรง Persistent Routes  ว่า gateway address ตรงตามที่เรากำหนดหรือไม่  สังเกตุว่าจะเริ่มต้นที่ 0.0.0.0 ไปจนถึง  192.168.3.0 และ gateway ก็เซ็ตตามที่เราต้องการ

– หรือ ถ้าเราต้องการเปลี่ยนวง LAN จาก x.x.1.0/24 ให้เป็น x.x.101.0/24 ก็ให้กำหนดตามรูปแบบนี้ก็ได้  (พอดีอีกเครื่องอยู่อีกวงที่จะใช้วง 101)
– ก็จะได้ตามรูปแบบนี้

– ซึ่งจริงๆแล้วเราสามารถกำหนดวงไหนก็ได้  แต่ที่ รพ.มีอยู่ 10 VLAN  ก็จำเป็นต้องแยกแต่ละตึก
– แล้วลองตรวจสอบ ping ดูทั้ง 2 วง ว่าเจอทุกวงไหมนะครับ

– อีกวง

– ที่นี้เราก็สามารถใช้งานพร้อมกัน 2 VLAN แล้วนะครับ


– ตามรูปนี้เลย

– ก็ลองเอาไปปรับใช้ดูนะครับ
– อาจจะอธิบายไม่ตรงตามหลักการ  เพื่อทำตามประสบการณ์ และส่วนใหญ่ผมก็หามาจาก internet
– โดยค้นหาจาก google นี้แหละครับ  มีลุงคนหนึ่งท่านแนะนำมา….

ปล. จริงๆใช้ WiFi กับ LAN ก็ทำได้นะครับ ไม่จำเป็นต้องเป็น LAN ทั้ง 2 อันก็ได้
– ท่านไหนมีข้อแนะนำ หรือเสนอแนะก็แจ้งมาได้นะครับ หาผิดพลาดประการใดก็รบกวนชี้แนะด้วยนะครับ
– แล้วพบกันใหม่ครับ


9/20/2564

ทำให้ Windows มองเห็น HDD ใหญ่กว่า 2TB ได้อย่างไร

 

ทำให้ Windows มองเห็น HDD ใหญ่กว่า 2TB ได้อย่างไร

1. ลง Windows บน Drive แบบ MBR (จากประสบการณ์ผู้เขียนใช้ 500 GB เฉพาะลง Windows ก็นับว่าเพียงพอ) 

2. หลังจากนั้นคุณผู้อ่านไปซื้อ Drive มีพื้นที่ 4 TB, 8 TB หรือ 12 TB ตอนเสียบครั้งแรก Windows จะถามให้เลือกแบบ GPT เป็นอันเรียบร้อย เพียงเท่านี้ Windows จะมองเห็น HDD เกิน 2TB ได้แล้ว

 

หรือเปิด Windows Explorer: คลิกขวาที่ This PC > คลิกเมนู Manage > คลิก Disk Management > เลือกแบบ GPT เป็นอันเรียบร้อย

 แสดงตัวอย่าง

 

 

การทำงานของคอมพิวเตอร์จะมี 3 ส่วนคือ

ส่วนแรก บูตระบบจะเก็บค่าเริ่มต้นไว้ใน BIOS (Basic Input/Output System) ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน จะมีตัวเลือก UEFI Boot กับ Legacy Boot

 

ส่วนที่สอง Harddisk, SSD จะมี 2 ตัวเลือกคือ แบบ MBR กับ GPT

การทำงานจะสอดคล้องกับข้อแรกคือ

หากเลือกบูต BIOS แบบ Legacy Boot Partition จะต้องเป็นแบบ MBR เท่านั้น

หากเลือกบูต BIOS แบบ UEFI Boot Partition จะต้องเป็นแบบ GPT เท่านั้น

 

ข้อแตกต่างของ MBR กับ GPT คือ
MBR จะแบ่งแบบ Primary ได้ 4 พาติชั้น และมองเห็นฮาร์ดดิสไม่เกิน 2TB
GPT จะแบ่งแบบ Primary ได้ไม่จำกัด และมองเห็นฮาร์ดดิสได้มากกว่า 8TB

 

เกร็ดความรู้: MBR กับ GPT คือรูปแบบการเก็บข้อมูลในส่วนของ Partition

ข้อแนะนำ: เราสามารถแปลงพาติชั่นกลับไป กลับมาระหว่าง MBR และ GPT โดยข้อมูลที่มีอยู่ไม่หาย ด้วย Windows Disk Manager หรือโปรแกรม Partition ทั่วไป

สิ่งสำคัญ: ควรแปลงเฉพาะพาติชั่นที่เป็น Data เท่านั้น (หากแปลง Partition ที่เป็น Windows จะต้องลงใหม่)

 

ส่วนที่สาม ระบบปฎิบัติการ Windows

1. หากติดตั้งบน Partition แบบ MBR จะสามารถติดตั้งบน Partition เดียวได้

2. หากติดตั้งบน Partition แบบ GPT ระบบ Windows จะถูกแบ่งเป็น 4 Partition อัตโนมัติ

 

ข้อควรระวัง: คุณควรจะติดตั้ง Windows บน Partition แบบ MBR หรือ GPT ได้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น 

สรุป: ก่อนคุณจะลง Windows คุณจะต้องเตรียมการตั้งแต่ต้น BIOS

หากเลือก UEFI Boot จะลง Windows บน Partition แบบ GPT

หากเลือก Legacy Boot จะลง Windows บน Partition แบบ MBR

 

9/19/2564

VMware คืออะไร? มีวิธีใช้ ต่างกับ VPS Server ยังไง?

 เชื่อว่าหลายๆคนในแวดวงไอทีคงจะรู้จัก Product สำหรับการทำ Virtual Machine (VM) จากบริษัท VMware ไม่มากก็น้อย แต่สำหรับใครที่ไม่เข้าใจว่า Virtual Machine คืออะไร แล้ว VMware คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องของเซิร์ฟเวอร์ แล้วต่างกับ VPS ไหม? วันนี้ลองมาทำความเข้าใจในโพสต์นี้ไปพร้อมๆ กันเลยครับ

Virtual Machine คืออะไร? 

Virtual Machine หรือตัวย่อ VM นั้นหมายถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เสมือนที่ทำการจำลองคอมพิวเตอร์ขึ้นมา จะใช้การทำงานของซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อจำลองการทำงานของคอมพิวเตอร์หลายเครื่องไว้ในเครื่องจริงเครื่องเดียว 

VMware คืออะไร? 

ความจริงแล้ว VMware เป็นบริษัทพัฒนา Software ชื่อดังตัวหนึ่งของวงการ ที่ใช้สำหรับการจัดการและบริหารทรัพยากรของ Server ที่ใช้งานอยู่ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น VMware server คือ คอนเซ็ปต์เซิร์ฟเวอร์ที่ภาคธุรกิจทั้งหลายได้นำเอามาใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยการติดตั้ง VMware เพื่อเชื่อมต่อกับระบบการควบคุมและการทำงานของ Server จะช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ Server ใด้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

แล้ว VMware server คืออะไร? 

ความจริงแล้วหน้าที่ของเจ้า Software ตัวนี้จะมีสิ่งที่เรียกว่า Hypervisor หรือ OS เพื่อช่วยสำหรับการจัดสรรค์และแบ่งปันทรัพยากรของตัว Server เพียงเครื่องเดียวเพื่อรองรับการใช้งาน OS และ Application ได้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ Server ที่เรามีอยู่นั้นสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกระบวนการคือการสร้างคอมพิวเตอร์เสมือน หรือที่เราเรียกว่า Virtual Machine ออกมาเพื่อให้สามารถใช้งาน Application ได้มากขึ้นนั่นเอง

โดยปกติแล้วหากมี Server เพียง 1 เครื่อง และไม่ได้ทำการลงโปรแกรม VMWare นั้น ก็จะสามารถติดตั้งได้เพียงแค่ 1 ระบบปฏิบัติการและใช้งาน Application ได้เพียงแอพเดียวเท่านั้น แต่ถ้ามีการใช้งาน VMWare เพื่อรองรับการใช้งาน Virtual Machine ขึ้นมานั้น ก็จะสามารถใช้งาน Application ได้มากมายหลากหลายขึ้นจาก Server เพียงแค่เดียวที่เรามีอยู่ได้

VMware มีวิธีใช้งานอย่างไร?

การใช้ VMware มีวิธีใช้งานที่ไม่ยาก ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทดลองติดตั้ง OS หลายๆ OS ไว้ในเครื่อง PC หรือ Notebook ไว้ในเครื่องเดียว เพื่อทำการทดสอบการใช้งาน Application ต่างๆ สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต้องการทำ Testing ก่อนออกระบบจริงสู่ตลาด หรือ การใช้งาน Application หลายๆ แอพภายในเครื่องเพื่อการใช้งานเฉพาะทางบางอย่างสำหรับบุคคลนั้นๆ

ข้อแตกต่างระหว่าง VMWare และ VPS

ในปัจจุบันนี้มีอีกคำศัพท์เฉพาะทางอย่างหนึ่งซึ่งคล้ายคลึงกับการใช้งาน Virtual Machine ที่ทำให้คนสับสนเป็นจำนวนมาก คือ Virtual Private Server (VPS) ซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์เสมือนในรูปแบบของ Cloud VPS Server Service โดยข้อแตกต่างระหว่าง VMWare และ VPS คือลักษณะของการให้บริการ โดย VMWare นั้นผู้ใช้งานจะทำการลงโปรแกรมและติดตั้งเอง ระบบ Cloud ของ VMware มีต้นทุนของระบบที่สูงกว่าแบบอื่นๆ ส่วน VPS จะสามารถใช้ผ่านผู้ให้บริการรายนั้นๆ แบบเช่าใช้รายเดือนหรือรายปีโดยที่เราไม่ต้องทำการติดตั้งเอง ต้นทุนไม่สูงเท่า VM ด้วย VPS จึงเหมาะกับมือใหม่หรือมือสมัครเล่นมากกว่า

รู้แบบนี้แล้วในการเลือกการรับบริการของทั้งสองรูปแบบ ท่านควรเลือกบริการที่เหมาะสมกับการใช้งานของเราเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะทั้งโปรแกรม VMware หรือ การซื้อแพ็คเกจ VPS ก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปตามแต่การใช้งานของท่านเช่นเดียวกัน

Vmware serverโปรแกรมนี้มีหลักการติดตั้งและทำงานอย่างไร

 


vmware server คือ

Vmware server คือคอนเซ็ปต์ที่ภาคธุรกิจทั้งหลายได้นำเอามาใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้เซิร์ฟเวอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยการติดตั้ง vmware เพื่อเชื่อมต่อกับระบบการควบคุมและการทำงานของเครือข่าย โดยมีหลักการที่สามารถอธิบายให้เข้าใจไม่ยากดังต่อไปนี้ 

Vmware server คือโปรแกรมที่มีหลักการทำงานอย่างไร  

Vmware server คือชุดของซอฟต์แวร์เสมือนจริงที่พัฒนาโดยบริษัท VMware, Inc. ที่ออกแบบมาให้สามารถสร้าง แก้ไข และใช้งานในรูปแบบของเทคโนโลยีเสมือนจริงได้ในลักษณะของเครื่อง Client และ Server เพื่อให้สามารถถึงเครื่อง Client ที่อยู่คนละพื้นที่ได้ โดย VMware Server จะทำการ copy ระบบการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเอาไว้ ภายใต้สภาพแวดล้อมของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีการติดตั้ง VMware ไว้เพียงเครื่องเดียว 

ส่วนการติดตั้งโปรแกรม vmware สำหรับ server นั้น ผู้ใช้ต้องทำการเลือก vmware ให้ถูกต้องกับระบบปฏิบัติการ (OS) ที่ต้องการใช้งานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ อาทิ สำหรับ MAC, Linux, Ubuntu และ vmware สำหรับ Windows เป็นต้น ซึ่งนอกจากโปรแกรมนี้ถูกนำมาใช้ในภาคธุรกิจกันอย่างกว้างขวางแล้ว คนที่สนใจและอยากทดลองใช้ยังสามารถทำการดาวน์โหลด ติดตั้ง เพื่อทดลองเชื่อมต่อและเรียกใช้งานระบบปฏิบัติการอื่น ๆ จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ได้อีกด้วย VMware Server มี freeware ที่ผู้ใช้สามารถติดตั้งได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าต้องการ VMware Server ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับการดำเนินงานในภาคธุรกิจ VMware ESXi ก็จะช่วยให้ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีขึ้น 

Vmware server คือโปรแกรมที่เหมาะกับใครบ้าง 

นอกจาก VMware Server แล้ว VMware ยังเป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งาน Virtualization อีกหลายรูปแบบได้แก่ VMware ประเภท Desktop Software, Cloud management software, Application management, VMware storage และ VMware สำหรับ Network และความปลอดภัยของระบบ เป็นต้น ผู้ใช้จึงสามารถเลือกประเภทของซอฟต์แวร์เพื่อติดตั้งให้เหมาะกับการใช้งานได้ อาทิ การติดตั้ง VMware Server สำหรับหน่วยงานที่มีเครื่องแม่ข่ายและเครื่องลูกข่ายอยู่เป็นจำนวนมาก, การติดตั้งระบบ Server ให้กับมหาวิทยาลัย/สถานศึกษา หรือบริษัทและองค์กรที่มีผู้ใช้ ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์รวมถึงระบบปฏิบัติการที่มีความแตกต่างกันเป็นจำนวนมาก และต้องการให้เครื่องแม่ข่ายสามารถเรียกดู เก็บข้อมูล ประมวลผล รวมถึงบริหารจัดการเครื่องลูกข่ายต่าง ๆ ได้  VMware Server คือระบบเทคโนโลยีเสมือนที่ช่วยบริหารจัดการเครือข่ายแบบนี้ให้ดีขึ้นได้เป็นอย่างมาก 

 

Vmware server คือโปรแกรมเสมือนที่ไม่ใช่เพื่อใช้สำหรับการทำ Virtualization ของ Client และ Server เท่านั้น แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ปัจจุบันคอนเซ็ปต์ของ vmware server คือความนิยมที่นำมาใช้กับระบบคลาวด์ ซึ่งเป็นการรวมเอาเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ เครื่องมาไว้ด้วยกัน โดยการใช้ vmware เป็นซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้เซิร์ฟเวอร์หลักเรียกใช้งานระบบเครือข่าย โปรแกรม ซอฟต์แวร์รวมถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ จากเซิร์ฟเวอร์ที่รวบรวมเอาไว้ในระบบคลาวด์ เพื่อการใช้งานสำหรับภาคธุรกิจได้อีกด้วย

12/28/2563

no-ip กับ Mikrotik

 

  • noip logo.png

วิธีการสมัคร no-ip เพื่อทำ ddns เข้าควบคุม Mikrotik จากภายนอก

เห็นมีหลายๆท่านถามมาครับ สำหรับ Mikrotik ที่เซตแบบ PPPoE ว่าจะทำอย่างไรถึงจะเข้ามาดูรายงาน หรือแก้ไข ควบคุม Mikrotik
จากที่อื่นได้ โดยไม่ต้องเปิดเครื่อง PC หรือ Notebook ออนไว้เพื่อเช็ค ip

วิธีการส่วนใหญ่จะใช้ ddns ซึ่งอาจเป็น dyndns หรือ no-ip หรืออื่นๆแล้วแต่สะดวก
dyndns เมื่อก่อนจะฟรีครับ แต่เดี๋ยวนี้เสียตังค์แล้ว ประมาณปีล่ะ 20 เหรียญหรือ 600 บาทไทย
สามารถ add host ได้ 30 host



ส่วน no-ip ตัวฟรี จะได้ 5 host ซึ่งก็เพียงพอแล้ว ที่สำคัญคือฟรี แต่ในปัจจุบัน ลดลงให้เหลือแค่ 3 แล้วครับ
อันที่ผมใช้ สมัครมา 2 ปีแล้ว ปิดแต่ชื่อล่ะกัน ip มันเปลี่ยนได้


วิธีการสมัคร จำเป็นต้องมี email ครับ การสมัครก็ไปที่ http://www.no-ip.com/
เลือกตรง Sign Up Now 


user ให้ใช้ความยาว 6-15 ตัวอักษร และตั้งแต่ a-z,0-9,เครื่องหมาย - (ขีดกลาง) และ _(ขีดล่าง) นอกเหนือจากนี้จะไม่ได้ครับ
ความยาวของ password ขั้นต่ำ 6 ตัวอักษร (ตั้งให้ยากและจำได้ง่ายจะดีมาก)


ใส่ email และ domain ที่ใช้
เลือกได้หลายแบบครับ จะเป็น .no-ip.info .org .biz หรือ zapto.org ddns.me ddns.net ก็ตามต้องการ
ลอง add ขึ้นมาใหม่ดูก็ได้ว่ามีอะไรบ้าง โดยจะมีไกด์แนะนำว่าควรใช้อะไร จึงจะไม่ซ้ำคนอื่น


ขั้นตอนสุดท้ายของการสมัคร กด Sign Up
แบบจ่ายตังค์ประมาณ 15 เหรียญหรือ 450 บาทต่อปีครับ



ระบบจะส่ง mail ไปที่ email เราครับ จึงต้องใช้ email ที่มีอยู่จริงในการสมัคร


มาแล้ว รอไม่เกิน 5 นาที สำหรับผมนะ


ครอบลิงค์เพื่อยืนยันครับ ผมลืมแคปภาพหน้าจอ ข้ามไป log in เลยล่ะกัน
ตรง email ผมใส่เป็น user เลย เพราะตอนสมัครผมไม่ได้ระบุให้ user เป็น email (จะให้ user เป็น email ก็ทำตอนสมัครครับ)



เข้าได้แล้ว


domain ที่ผมใช้ตอนสมัคร ผมเลือกใช้เป็น no-ip.org ครับ
โดยไปดูที่ Host/Redirects


ทดลอง copy dns ของเราใส่ใน winbox


เข้าได้ครับ


ต่อไปจะมาว่าด้วย script ที่ใช้ อ้างตามนี้ครับ


1.สร้างสคริปท์ชื่อ no-ip_ddns_update สั่งให้รันแค่ 
  • write
  • test
  • read
2.คัดลอกสคริปท์ตามข้างล่าง แก้ไข 4 จุด คือ 1.user 2.password 3.hostname และ 4.interface ที่ใช้



3.ตั้งเวลาให้สริปท์ที่ตั้งทำงานทุก 5 นาที ถ้าจะเปลี่ยนให้ทำงานไม่ต้องถี่มากเป็น 15 นาที/ครั้งก็แก้จาก 5m เป็น15mครับ
อันนี้ ชื่อสคริปท์ต้องเป็น no-ip_ddns_update นะครับ ไม่งั้นมันไม่ตรง สคริปท์จะไม่ทำงาน

/system scheduler add comment="Update No-IP DDNS" disabled=no interval=5m \
name=no-ip_ddns_update on-event=no-ip_ddns_updatepolicy=read,write,test

ลองกันเลย ไปที่ system>>>script กด+ สร้าง New Script
copy Script ที่เราแก้แล้ววางลงไป และตั้งชื่อเป็น no-ip_ddns_update ติ๊กถูกแค่ read write test ตามเค้าไป


ทดลอง Run Script ดู


ไปที่ Environment ดูว่าได้ previousIP มาหรือเปล่า



ตั้งเวลา Run Script ง่ายมาก ไปที่ Terminal copy วาง enter จบ


มาแล้ว ดูใน system schedule ครับ มันทำงานทุก 5 นาที ตรง Interval=00:05:00


ผมลองแก้ให้มันทำงานทุก 5 วินาทีดูเพื่อดูว่ามันทำงานได้หรือเปล่า สังเกตุว่า Count จะวิ่งตามกันเลย


แค่นี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ ทดลองถอดสายโมเดมให้เนตหลุดหรือ reboot Mikrotik แล้วทดสอบ log in ใหม่ดูครับ
เสร็จแล้วอย่าลืมไปแก้ 5 วินาทีให้เป็น 5 นาทีตามเดิม หรืออาจจะเปลี่ยนให้มันทำงานทุก 15 นาทีก็ได้ครับ
5 นาทีผมว่ามันจะถี่ไป

ถ้าจะเข้าดู userman ก็ no-ip ของเรา:81/userman
 
ปล.ถ้าทำไม่ได้ สำหรับลูกค้า WiFi4YOU  แจ้งรุ่นที่ซื้อ ประกันเป็นเดือนไหน (เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่ได้ซื้อกับทางร้านแอบอ้างเข้ามาขอความช่วยเหลือครับ)
ผมจะ Teamviewer ให้ครับ เพียงกำหนดชื่อ dns มาให้ผมพอ เอา user+password ผมเนี่ยแหละให้ใช้
 
ปัญหาที่เจอ มึนงงอยู่ตั้งนาน
ตอนแรกผมใช้ RB750G ตัวที่เซตอยู่ก่อนกับ script dyndns แล้วลบ script กับ schedule ออก
ทำยังไงก็เข้าไปไม่ได้ ลองเข้าไปดูใน no-ip ปรากฏว่า ip ไม่อัพเดทตามเร้าเตอร์ (ซิ่งมันอาจเป็นเพราะ Policy ผมติ๊กไว้หมดก็ได้)
ดังนั้น จึงแนะนำว่า ค่าที่ใช้ควรเป็นค่าที่เซตใหม่หมดครับ หรืออย่าแตกต่างจาก wiki และอย่าพยายามเอาค่าเดิมมาใช้ เดี๋ยวปัญหาจะเยอะ

แถมทิบให้นิดนึง
ถ้าอยากเปลี่ยน user ที่ log in ทำได้หรือเปล่าหรือเปลี่ยนได้แค่ password
ไปที่ System>>>user ครับ
กด + สร้าง user ขึ้นมาใหม่ เลือกได้ว่าจะให้อ่านอย่างเดียว หรือสิทธิ์เต็ม แต่อย่างน้อยในระบบควรมีสิทธิ์แบบ Full อยู่ 1 user ครับ
สร้าง password ตอนนี้ก็ได้ หรือจะเปลี่ยนทีหลังก็ไปที่ System>>>password


เสร็จแล้วไปปิดสิทธิ์ของ admin ได้เลย โดยติ๊ก user ที่ต้องการแล้วกดเครื่องหมายกากบาทหรือคลิ๊กขวากด D หรือเลือก Disable ก็ได้


อีกทิบหากต้องการให้ทุกเครื่องที่อยู่ในวงแลน 192.168.1.x log in เข้า Mikrotik ได้โดยไม่ต้อง log in ก่อนก็ Allowed Address ให้มันครับ


สำหรับเรื่องของ dns จริงๆมันสามารถใช้ของที่อื่นได้อีกหลากหลาย
ลองไปดูใน wiki ของ mikrotik ดูครับ แต่ no-ip ผมว่าง่ายสุดๆแล้วนะ
ตัวอย่างของ dyndns ครับ ทำคล้ายๆกัน http://wiki.mikrotik.com/wiki/Dynamic_DNS_Update_Script_for_No-IP_DNS
 
ถ้าเป็นแบบ dhcp มาจากพวก Airnet หรือ Cable จะทำยังไง เดี๋ยวผมทำให้อีกบทความครับ เพราะมันต้องใช้การ forward port ด้วย

สำหรับวันนี้ก็พอเพียงเท่านี้ครับ 

การตั้งค่าดูกล้องวงจรปิดผ่านอินเทอร์เน็ต ง่ายๆ ฟรี! วิธีการตั้งค่าให้ดูกล้องวงจรปิดผ่านอินเทอร์เน็ต ง่ายๆ (สำหรับ NOIP)

 วิธีการตั้งค่าให้ดูกล้องวงจรปิดผ่านอินเทอร์เน็ต ง่ายๆ

โดยใช้ Hostname ของ NO-IP ใช้ฟรี!

    สวัสดีครับ สำหรับบทความนี้ นาย KARE จะมาแนะนำการตั้งค่าให้ดูกล้องผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้โฮสเนม No-ip สามารถใช้ได้ฟรี ทำตามได้ตามขั้นตอน ดังนี้ครับ เตรียมความพร้อมกันก่อนเลยครับ ต้องต่อสาย LAN ระหว่างเครื่อง DVR เข้ากับ Modem Router ก่อน

1. ต้องมี Hostname ก่อน   สามารถสมัครได้ฟรีที่  www.noip.com Hostname มีหน้าที่ ตรวจจับการอัพเดทค่า IP address ของเรา  ซึ่ง IP address เรานั้นจะเปลลี่ยนค่าไปเรื่อยๆ   ดังนั้นจึงต้องมี Hostname มาคอยจับค่า IP address ให้ตรงกันกับที่อยู่ปัจจุบัน  ทำให้เราใช้เพียงโฮสเนมตัวเดียวในการเข้าดูกล้องผ่านอื่นเทอร์เน็ตที่ใดๆก็ได้ในโลก 1.1 เข้าไปที่ www.noip.com เพื่อทำการสมัครสมาชิก    แล้วคลิกที่   Sign Up Now

no-ip

รูป 1.1 แสดงการเข้าเว็บ www.no-ip.org
 
1.2 กรอกขอมูลของเราเพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้งาน no-ip    เสร็จแล้วคลิกที่ Sign Up ตามรูปครับ
no-ip2no-ip3

รูป 1.2 แสดงการลงทะเบียน

1.3 ระบบจะส่งอีเมล์ให้เรา เพื่อทำการยืนยันการลงทะเบียนครับ
no-ip4
รูป 1.3 แสดงการลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อย
1.4 หลังจากยืนยันการสมัครที่อีเมล์เรียบร้อยแล้ว ก็ให้เรา Sign in เข้าระบบครับ โดยใช้ ชื่อ และรหัสผ่านที่เราได้ตั้งไว้ตอนลงทะเบียนครับ ต่อไป ให้เข้าไที่ Manage Hosts ที่เมนูขวาสุดครับ  เพื่อไปดูข้อมูลโฮสเนมของเรา
no-ip5
รูป 1.4 แสดงการเข้าสู่ระบบ
 
  1.5 เมื่อเราเข้ามาที่เมนู Manage Hosts แล้วเราก็จะเจอข้อมูล   ชื่อโฮสเนม, ไอพีแอดเดรส  ของเรา ให้เราจำชื่อโฮสเนมของเราไว้น่ะครับ เพราะจะต้องใช้ชื่อโฮสเนมไปใช้ในการตั้งค่าที่เครื่อง DVR ในขั้นตอนต่อไปด้วยครับ ***เราสามารถแก้ไข  และเพิ่มโฮสได้ครับ ซึ่งสำหรับผู้ใช้งานฟรี จะได้ 3 hosts name ครับ***
no-ip6

รูป 1.5 แสดงกาจัดการโฮส

  2. หลังจากได้โฮสเนมเรียบร้อยแล้ว ให้เราเข้าไปตั้งค่าที่เครื่อง DVR สามารถเข้าไปตั้งที่เมนูที่เครื่องได้เลย หรือ จะเข้ามาตั้งค่าผ่านเว็บ เบราซ์เซอร์ ก็ได้เหมือนกันครับ  ผมขอแนะนำเป็นวิธีตั้งค่าผ่านทางเว็บเบราซ์เซอร์น่ะครับ โดยให้เข้าไปที่ Ip address ของเครื่อง DVR    ตัวอย่างเช่น  https://192.168.1.234:90 ในส่วนต่อท้ายหลัง ip address จะเป็น เว็บพอร์ต ที่เราตั้งไว้    พอเข้ามาแล้วจะเห็นตามรูปด้านล่างครับ แล้วให้เรา Login ครับ
webdvr1
รูป 2.1 แสดงหน้าเว็บแอปพลิเคชันของเครื่องDVR
    เมื่อเข้ามาในระบบ ให้เราเลือกไปที่แท็บ SETUP (ตั้งค่า)  แล้วก็ แท็บ NETWORK (เครือข่าย)   โดยค่าเริ่มแรก DDNS จะถูกปิดการใช้งานไว้ ดังนั้น ให้เราเปิดการใช้งาน DDNS ก่อนครับ  แล้ว ให้ใส่ Hostname (โฮสเนม) ที่เราสมัครไว้  ในช่อง DOMAIN NAME จากนั้นให้เลือก SERVICE เป็น No-ip  และใส่ USER NAME และ PASSWORD   ของเว็บ No-ip ครับ  

webdvr2

รูป 2.2 แสดงการตั้งค่าเครือข่าย

แล้วให้เราทดสอบการตั้งค่า ที่ปุ่ม DDNS TEST      จากนั้นระบบจะแจ้ง Test Succeeded!  ตามรูปครับ
webdvr2.1
รูป 2.3 แสดงการทดสอบ DDNS สำเร็จ
เมื่อผลทดสอบสำเร็จ  ให้เรา APPLY นำไปใช้ ได้เลยครับ และเราต้องรีสตาร์ทเครื่อง DVR ด้วยนะครับ โดยไปที่เมนู MANTENACE ครับ  แล้ว คลิกที่ EXECUTE  ตามรูปครับ รอให้เครื่องเปิดใหม่ตามปกติ เป็นอันเรียบร้อยครับ

webdvr3

รูป 2.4 แสดงการสั่งรีสตาร์ทเครื่อง DVR

3. การ Forword Port 3.1 ให้เข้าไปในเมนูการตั้งค่าของ Modem (ในที่นี้คือ 192.168.1.1) เข้าไปที่เมนู Advance Setup >>  NAT >> Virtual server 3.2 ให้เราตั้งพอร์ตที่ต้องการ Forword ตัวอย่างเช่น MEDIA PORT       :  เป็นค่า PORT ที่ใช้ รับ-ส่ง ข้อมูลระหว่าง DVR กับเครื่องที่เรียกเข้ามา WEB    PORT       :  เป็นค่า PORT สำหรับเรียกใช้งานผ่านทาง Internet Explorer MOBILE PORT     : เป็นค่า PORT สำหรับเรียกใช้งานผ่านมือถือ เช่น iPhone, Black Berry (เมนูตั้งค่าจะอยู่ในเมนู “มือถือ”) Rule Index คือ Rule ที่เท่าไร ของตารางด้านล่าง พูดง่ายๆ คือ บรรทัดที่เท่าไรของตารางนั่นเอง ซึ่งจำเป็นต้องตั้งทั้งสิ้น 3 Rule ตามจำนวน Port นั่นเอง

- Application คือ ชื่อที่เรากำหนดเอง ในที่นี้ นาย KARE ขอแนะนำให้เป็นชื่อที่ตั้งแล้วสื่อความหมายหน่อย เพราะเวลาคนอื่นเข้ามาดู จะได้เข้าใจว่าเป็น Port สำหรับอะไร ไม่เช่นนั้น คนที่เข้ามาดูทีหลังอาจจะลบทิ้งไปเลยก็ได้

- Protocol จะมีให้เลือก 3 ค่า คือ TCP, UDP และ ALL (หมายถึงทั้ง TCP และ UDP) ซึ่งจริงๆ แล้ว เลือกเพียงแค่ TCP ก็เพียงพอแล้ว แต่จากประสบการณ์พบว่า บางครั้งเมื่อเลือกแต่ TCP อาจจะ Forward Port ไม่ผ่าน ดังนั้น ให้เลือกทั้ง 2 แบบจะดีกว่า คือเลือกเป็น ALL ครับ

- Start Port Number ให้ใส่ Port ทั้ง 3 ทีละค่า ในทีละ Rule

- End Port Number ให้ใส่เหมือนกับ Start Port Number ทีละ Rule

- Local IP Address ให้ใส่ IP Address ของ DVR

รูป 3.1 แสดงการตั้งค่า forword port
 
 
เมื่อตั้งค่า Rule ทั้ง 3 Rule เรียบร้อยแล้ว นาย KARE แนะนำว่า เราควรจะตรวจสอบว่า Port ที่เราได้ตั้งไว้ที่ modem นั้น สำเร็จหรือไม่ ด้วยการเรียกทดสอบจาก URL ด้านล่างนี้ www.canyouseeme.org

 รูป 3.2 แสดงการตรวจสอบพอร์ต

 
ที่สำคัญ เมื่อเราทำการใส่พอร์ตที่เราต้องการตรวจสอบแล้วนั้น ให้เราทำการคลิกตรง Check นะครับ ห้ามกดปุ่ม Enter มิฉะนั้นจะตรวจสอบพอร์ตไม่ได้นะครับ ^^
 
เราลองมาตรวจสอบพอร์ตแต่ละพอร์ตกันนะครับ - ในกรณีที่ตรวจสอบผ่านก็จะแสดงผลดังนี้
รูป 3.3 แสดงกาตรวจสอบพอร์ตผ่าน
    -  ในกรณีที่ตรวจสอบไม่ผ่านก็จะแสดงผลดังนี้

  แต่ทั้งนี้ เมื่อเกิด Error ขึ้น ให้ลองดูว่าเราได้กำหนดค่า Port หรือ IP address ของ DVR ผิดหรือไม่ หรือ Modem บางตัว เช่น D-Link เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว จำเป็นต้องมีการกด “Save and Reboot” Modem จึงจะบันทึกการตั้งค่าของเรา ถ้าติดขัดปัญหาอย่างไร ลองหาข้อมูลใน Google ด้วยการพิมพ์ยี่ห้อและรุ่นของ Modem ว่ามีวิธีการตั้งค่า Forward Port อย่างไร หากไม่เจอจริงๆ ก็ติดต่อ นาย KARE มาได้เลยครับผม ยินดีครับ