10/25/2553

รหัสแถบ (Bar Code)

รหัสแถบ (Bar code) คือ  แถบเส้นดำยาวพิมพ์เรียงเป็นแถบบนตัวภาชนะสำหรับบรรจุสินค้าที่วางขายกันตามร้านค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ททั่วไป สิ่งซึ่งแถบดำเหล่านี้เหมายถึงนั้นมักจะเป็น "ข้อความ" ที่ใช้บ่งบอกตัวสินค้านั้น ๆ เช่นว่า ยาสีฟัน เป็นต้น
การใช้รหัสแถบบวกกับเครื่องอ่านรหัสแถบนี้ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว และความแม่นยำในการทำงานได้มาก ตัวอย่างในซูเปอร์มาร์เก็ท รหัสแถบที่ติดอยู่บนตัวสินค้า จะทำให้การคิดเงินทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ คือเมื่อพนักงานเพียงแต่ใช้ตัวอ่านรหัสแถบรูดผ่านรหัสแถบ ก็จะทราบว่าสินค้าชนิดนั้นเป็นสินค้าอะไร เมื่อบวกกับการโปรแกรมราคาสินค้าเข้ากับเครื่องคิดเงินบางประเภท ความผิดพลาดในการกดราคาสินค้าก็จะไม่เกิดขึ้น และในกรณีนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องติดราคาสินค้าลงบนสินค้าทุกตัว ทำให้สะดวกต่อการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าในอีกทางหนึ่ง
อีกตัวอย่างของการใช้รหัสแถบได้แก่ ศูนย์แยกจดหมายหรือสิ่งของพัสดุภัณฑ์ ในปัจจุบันการแยกแยะจดหมายอัตโนมัติโดยการให้เครื่องอ่านที่อยู่บนซองจดหมายหรือพัสดุภัณฑ์นั้นยังทำไม่ได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และอีกประการหนึ่งความรวดเร็วก็ยังไม่ได้ระดับที่น่าพอใจ ระบบแยกจดหมายจึงใช้รหัสแถบเป็นสื่อกลาง โดยก่อนที่จะมีการส่งเข้าระบบแยก เราจะทำการตีรหัสแทนที่อยู่ปลายทางลงบนตัวจดหมายก่อน จากนั้นส่วนต่าง ๆ ในระบบแยกจดหมายก็จะอาศัยการอ่านรหัส ซึ่งสามารถทำได้อย่างง่ายดาย และแม่นยำในการแยกแยะจดหมายต่อไป
00-09 สหรัฐอเมริกา, แคนาดา
30-37 ฝรั่งเศส
40-43 เยอรมันตะวันตก
49 ญี่ปุ่น
50 อังกฤษ
54 เบลเยี่ยม
57 เดนมาร์ก
60 อาฟริกาใต้
64 ฟินแลนด์
70 นอรเวย์
73 สวีเดน
76 สวิส
80-83 อิตาลี
84 สเปน
87 เนเธอร์แลนด์
90-91 ออสเตรีย
93-94 ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์
แถบรหัส EAN/UPC และเลขรหัสประเทศต่าง ๆ
ในปัจจุบัน รหัสแถบนี้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ เพื่อการบ่งบอกวัตถุอย่างอัตโนมัติ (Automatic Identification) สืบเนื่องจากเทคนิคและอุปกรณ์สำหรับการ recognize รหัสแถบนี้อยู่ในขั้นปฏิบัติการได้อย่างแน่นอนแล้ว ซึ่งผิดกับการ Identification ด้วยภาพหรือเสียงที่ยังต้องค้นคว้าปรับปรุงกันอีกมาก
หลักการอ่านรหัสแถบ
สำหรับการอ่านรหัสแถบ เขาใช้หลักการที่ว่า พื้นสว่างจะสะท้อนได้มากกว่าพื้นมืด ดังนั้นเมื่อตัวอ่านถูกกวาดไปบนรหัสแถบ ลำแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหัวอ่านจะสะท้อนกลับมาหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่า มันได้ตกกระทบแถบขาวหรือแถบดำ แสงสะท้อนกลับเหล่านี้จะถูกดัดแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า โดย Photodiode ที่ติดอยู่ที่หัวอ่าน องค์ประกอบสำคัญของตัวอ่านรหัสแถบก็คือ ขนาดของลำแสงที่ส่งออกมานั้น จะต้องสัมพันธ์กับความละเอียด (resolution) ของแถบ กล่าวคือ ขนาดของมันจะต้องไม่ใหญ่กว่าความกว้างของแถบดำหรือแถบขาวที่แคบที่สุด ในทางปฏิบัติเขาใช้จุดลำแสงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.2 มม.
ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งก็คือความยาวคลื่นของแสงที่ใช้ ซึ่งขึ้นกับว่าจะใช้อ่านรหัสแถบสีอะไร โดยทั่วไปเขาใช้แสงอินฟราเรด (Infrared) ที่มีความยาวคลื่นประมาณ 0.95 ไมครอน (micron) สำหรับอ่านแถบขาวดำ และใช้แสงสีแดงที่มีความยาวคลื่น 0.65 ถึง 0.7 ไมครอน สำหรับอ่านรหัสแถบสีเขียวหรือสีน้ำเงินที่พิมพ์บนพื้นสีเหลืองหรือส้ม
ลักษณะของรหัส
ในการอธิบายลักษณะของรหัสนั้น เขาจะใช้พารามิเตอร์อยู่สองสามตัว กล่าวคือ สิ่งแรก ดูว่ารหัสแถบนั้นเป็นชนิด NRZ (Not Return to Zero) หรือว่าชนิดโมดูเลชัน (Modulation) ด้วยความกว้าง ในกรณีที่เป็น NRZ การรักษาระดับลอจิค (logic) ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนระดับสัญญาณ กล่าวคือ ถ้าแถบขาวแทนเลข 0 เราสามารถจะแทนเลข 0 หลายตัวที่อยู่ติดกันได้ด้วยแถบขาวยาว โดยไม่ต้องมีแถบดำสลับกันไป แต่ในกรณีที่รหัสเป็นแบบโมดูเลชันด้วยความกว้างนั้น เราจะกำหนดเอาว่า 1 คือ แถบขาวหรือแถบดำที่กว้าง และ 0 คือ แถบขาวหรือแถบดำที่แคบ ดังนั้นการแทนตัวเลขสองตัวที่เหมือนกันและอยู่ติดกัน จึงต้องมีการ "สับเปลี่ยน" ตัวอย่างเช่น เลข 0 สองตัวติดกันจะต้องแทนด้วยแถบขาวและแถบดำ ไม่ใช่แถบดำหรือแถบขาวสองแถบติดกัน เพราะจะทำให้กลายเป็นการแทนเลข 1 หนึ่งตัว ซึ่งไม่ใช่เลข 0 สองตัวตามที่ต้องการไป เรายังมักเรียกรหัสแถบชนิดโมดูเลขันตามความกว้างว่าเป็นรหัสสองระดับ (แคบ/กว้าง)
สิ่งที่สองที่เราพูดกันก็คือ รหัสนั้นเป็นชนิดต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่อง (Discrete) กล่าวคือ ในชนิดไม่ต่อเนื่องจะมีการแทรกช่องว่าง (เปรียบได้กับการเว้นวรรค) ระหว่างตัวอักษร ดังนั้นรหัสแถบชนิดนี้จะกินเนื้อที่มาก เพื่อเปรียบเทียบการกินเนื้อที่มากน้อย เขาจึงได้นิยามความหนาแน่นของรหัสขึ้น โดยให้มันเท่ากับ จำนวนอักษรต่อความยาวหนึ่งหน่วย (นิ้วหรือ ซม.) ความหนาแน่นนี้จะขึ้นด้วยตรงกับความกว้างของแถบขาวและแถบดำ ทั้งชนิดกว้างและชนิดแคบ พื้นที่ที่เป็นอักษรควบคุม (control character) และช่องไฟระหว่างอักษร
โดยทั่วไปแล้ว สำหรับรหัสที่มีความหนาแน่นสูง ความกว้างของแถบขาวหรือดำจะต่ำกว่า 0.009 นิ้ว (0.23 มม.) ซึ่งจะให้ความหนาแน่นของตัวอักษรสูงกว่า 8 ตัวอักษรต่อนิ้วโดยทั่วไป และสำหรับความหนาแน่นขนาดกลาง ความกว้างของแถบดำหรือแบบขาวจะอยู่ระหว่าง 0.009 นิ้ว ถึง 0.020 นิ้ว (0.23 มม. ถึง 0.50 มม.) ให้ความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 4 ถึง 8 ตัวอักษรต่อนิ้ว และสุดท้ายสำหรับกรณีความหนาแน่นต่ำกว่า 4 ตัวอักษรต่อนิ้ว
ความแม่นยำในการอ่านรหัส
สำหรับพารามิเตอร์ต่อไปนั้นเกี่ยวข้องกับความแม่นยำแน่นอนในการอ่านรหัส ซึ่งได้แก่ ความละเอียด, ความแตกต่างของความเข้ม (Contrast) และความไม่สมบูรณ์ของแถบรหัส ความละเอียดนั้นจะหมายถึง ขีดความสามารถของตัวอ่านในการอ่านแถบดำหรือแถบขาวที่แคบที่สุด ดังได้กล่าวไปแล้วว่า ขึ้นอยู่กับขนาดของจุดลำแสงที่ตัวอ่านใช้สำหรับความแตกต่างของความเข้มนั้น เราวัดจาก C เท่ากับ พลังงานที่สะท้อนจากแถบสว่าง ลบ พลังงานที่สะท้อนจากแถบมืด หารด้วย พลังงานที่สะท้อนจากแถบสว่าง ซึ่ง C นี้ไม่ควรต่ำกว่า 0.7 สุดท้ายความไม่สมบูรณ์ของแถบรหัส มักจะเกิดจากความบกพร่องของการพิมพ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดการบิดเบี้ยวของแถบ, ความกว้างของแถบไม่แน่นอน หรือความคมชัดไม่ดีพอ เป็นต้น จึงจำเป็นที่เราจะต้องเลือกเครื่องพิมพ์ให้เหมาะสมกับงานและรหัสที่ใช้
ความหลากหลายของรหัส
นอกจากนี้ รหัสยังมีลักษณะอื่นที่แตกต่างกันอีกเช่น เป็นรหัสแทนตัวเลข หรือรหัสแทนทั้งตัวเลขและตัวอักษร ความยาวของแถบรหัสคงที่หรือแปรเปลี่ยนได้ เป็นต้น การเลือกใช้นั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน โดยเราจะพิจารณาเลือกรหัสจากชุดตัวอักษรที่รหัสสามารถแทนได้ ความยากง่ายในการใส่รหัส ความแม่นยำของรหัส ความยืดหยุ่นต่อความเร็วที่ใช้ในการอ่าน และความต้านทานต่อความไม่สมบูรณ์ในการพิมพ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามรหัสที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันเห็นจะได้แก่ UPC (Universal Product Code), EAN (European Artich number), Codebar, "2 ใน 5" และรหัส 39
รหัส EAN/UPC
        รหัส EAN/UPC เป็นรหัสแทนตัวเลขเท่านั้น แถบรหัสหนึ่งประกอบด้วยเลข 8 ตัว หรือ 13 ตัว แต่ขนาด 13 ตัวเป็นแบบที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด แถบรหัสจะขึ้นต้นและลงท้ายด้วยรหัส 101 เสมอ ตัวเลข 13 หลักนี้จะถูกแบ่งเป็นสามส่วน ส่วนแรกประกอบด้วยเลข 2 ตัว ซึ่งบ่งบอกประเทศ ส่วนที่สองประกอบด้วยเลข 4 ตัว บ่งบอกผู้ผลิตและส่วนสุดท้าย ซึ่งแยกจากส่วนที่สองโดยมีรหัส 01010 เป็นตัวคั่นนั้น จะบ่งบอกรหัสตัวสินค้า รหัสแต่ละตัวจะใช้แถบ 7 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างตายตัวเท่ากัน โดยแถบดำคือ 1 และแถบขาวคือ 0 รหัส EAN/UPC นี้เป็นรหัสที่ใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภค และเป็นที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก รหัสตระกูล "2 ใน 5"

1
2
3
4
5
6
7
8
9
0
1      0      0      0      1
0      1      0      0      1
1      1      0      0      0
0      0      1      0      1
1      0      1      0      0
0      1      1      0      0
0      0      0      1      1
1      0      0      1      0
0      1      0      1      0
0      0      1      1      0
  Code Start
  Code Stop
 1      1      0 
 1      0      1 
2 ใน 5 อุตสาหกรรม
        สำหรับรหัส "2 ใน 5" ซึ่งตามความเป็นมาแล้ว เป็นรหัสชนิดแรกที่ถูกใช้อย่างเป็นกิจจะลักษณะ หนึ่งตัวรหัสจะประกอบด้วยแถบห้าแถบ ซึ่งสองในจำนวนนี้จะมีลักษณะผิดแผกจากที่เหลือ ซึ่งเราจะได้เห็นกันต่อไป รหัสในตระกูลนี้ได้แก่ "2 ใน 5 อุตสาหกรรม", "2 ใน 5 แมทริกซ์" และ "2 ใน 5 สอดแทรก" ทั้งหมดเป็นรหัสแทนตัวเลข
        รหัส "2 ใน 5 อุตสาหกรรม" นั้น แถบรหัสหนึ่งจะมีความยาวระหว่าง 1 ถึง 32 ตัว ในรหัสชนิดนี้แถบดำเท่านั้นที่ถือเป็นองค์ประกอบของแถบรหัส โดยแถบดำแคบถือเป็น 0 และแถบดำกว้างถือเป็น 1 รหัส "2 ใน 5 อุตสาหกรรม" นี้ เป็นรหัสที่ง่ายต่อการพิมพ์ แต่ว่าขาดความแน่นอนในการอ่าน ดังนั้นจึงมีการเติมเอาอักษรควบคุมที่ท้ายแถบรหัส รหัสชนิดนี้ใช้กันแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ บนตั๋วเครื่องบิน และเครื่องแยกจดหมาย
        สำหรับรหัส "2 ใน 5 แมทริกซ์" นั้น แถบดำและแถบขาวล้วนถือเป็นองค์ประกอบของรหัส หนึ่งตัวรหัสประกอบด้วยสามแถบดำและสองแถบขาว ระหว่างรหัสแต่ละตัวจะมีช่องไฟคั่น แถบรหัสจะขึ้นต้นและลงท้ายด้วยรหัส 10000 เสมอ การถือเอาแถบขาว ซึ่งก็คือ พื้นที่ที่ใช้ในการพิมพ์รหัสเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรหัส ทำให้รหัสชนิดนี้กินเนื้อที่น้อยกว่ารหัสชนิดแรก จาก 28 ถึง 33 เปอร์เซ็นต์ ข้อเสียคือความต้านทานต่อความผิดพลาดจะลดต่ำลง
        รหัส "2 ใน 5 สอดแทรก" นั้น อาจถือได้ว่าเป็นรหัสที่น่าสนใจที่สุดในรหัสตระกูลนี้ ในรหัสชนิดนี้แถบดำและขาวล้วนถือเป็นองค์ประกอบของรหัสเช่นเดียวกับ "2 ใน 5 แมทริกซ์" แต่จะไม่มีช่องไฟระหว่างรหัส และการใส่รหัสนั้นจะทำในลักษณะ "สอดแทรก" คือ อักษรตัวแรกจะถูกใส่รหัสด้วยรหัส "2 ใน 5 อุตสาหกรรม" โดยใช้แถบดำเป็นตัวประกอบ แต่ตัวอักษรตัวต่อมาจะถูกใส่รหัสด้วย "2 ใน 5 อุตสาหกรรม" ที่ใช้คราวนี้แถบขาวเป็นตัวประกอบ แถบขาวที่ได้มีห้าแถบด้วยกัน คือแบ่งเป็นสองแถบกว้างและสามแถบแคบ ซึ่งจะถูกแทรกเข้าสลับกับแถบดำห้าแถบที่ได้จากการใส่รหัสตัวอักษรแรก แถบรหัสของ "2 ใน 5 สอดแทรก" นี้จะขึ้นต้นด้วยรหัส 0000 และลงท้ายด้วยรหัส 100 เมื่อเทียบกับรหัส "2 ใน 5 อุตสาหกรรม" รหัสชนิดนี้ให้ความหนาแน่นมากกว่าจาก 36 ถึง 42 เปอร์เซ็นต์ และจาก 10 ถึง 12 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับรหัส "2 ใน 5 แมทริกซ์" มันจึงเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรม
รหัส 39
        รหัส 39 เป็นรหัสชนิดแรกที่ใช้แทนตัวอักษรด้วย ปัจจุบันได้มีรหัสซึ่งขยายจากรหัส 39 แล้ว คือ รหัส 128 รหัส 39 นั้น ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 43 ตัว (เดิม 39 ตัว) ซึ่งแบ่งเป็นพยัญชนะ 26 ตัว ตัวเลข 10 ตัว และอักษรพิเศษที่เหลือรหัส 39 นี้สามารถถือเป็นรหัส "3 ใน 9) เพราะหนึ่งตัวรหัสประกอบด้วย 9 ตัวประกอบ โดยสามตัวในนั้นจะเป็นแถบกว้าง และอีกสองตัวจะเป็นแถบแคบ หนึ่งแถบรหัสจะมีหนึ่งถึงสามตัวอักษรเท่านั้นซึ่งตามด้วย Check digit ดังนั้นรหัส 39 จึงมีความแน่นอนในการอ่านสูง แต่เปลืองเนื้อที่ รหัสชนิดนี้มีใช้กันมากในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิค โดยใช้ในการแยกชนิดแผงวงจร
Codabar
        Codabar เป็นรหัสสำหรับตัวเลขและมีความยาวของแถบรหัสจาก 1 ถึง 32 ตัว เป็นรหัสที่ใช้ในธนาคารเลือดของสหรัฐอเมริกา และในอุตสาหกรรมยาและทางการแพทย์ หนึ่งตัวรหัสประกอบด้วย 7 บิท ซึ่งแบ่งเป็น 4 แถบดำ และ 3 แถบขาว แถบดำหรือขาวที่แคบแทน 0 และแถบดำหรือขาวกว้างแทน 1
รหัสในตระกูลอื่น
        นอกเหนือจากรหัสที่กล่าวแล้ว ยังมีรหัสอื่น ๆ ที่เราสามารถพบเห็นได้ เพียงแต่ว่าไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าพวกแรกเท่านั้น รหัสเหล่านี้ได้แก่ รหัส 128, รหัส "2 ใน 7" และรหัส 11
        รหัส 128 เป็นรหัสที่ใหม่มาก มันประกอบด้วยชุดตัวอักษร 128 ตัวของแอสกี (ASCII) รหัสชนิดนี้เป็นรหัสต่อเนื่องและให้ความแน่นอนในการอ่านสูงมาก ส่วนรหัส "2 ใน 7" เป็นรหัสชนิดโมดูเลชัน ตามความกว้างสำหรับแทนตัวเลขและอักษรพิเศษ 6 ตัว คือ $-: /. และ + ความกว้างของแถบในรหัสชนิดนี้ไม่ได้ถูกกำหนดไว้เพียงขนาดเดียว แต่มีถึง 18 ขนาดให้เลือกใช้ สามารถให้ความหนาแน่นได้ถึง 11 ตัวอักษรต่อนิ้ว แต่ว่ามีกฎเกณฑ์ที่ซับซ้อนจึงไม่เป็นที่นิยมใช้กันมากนัก และสุดท้ายรหัส 11 เป็นรหัสตัวเลขเช่นกัน มีลักษณะใกล้เคียงกับรหัส "2 ใน 5 แมทริกซ์" หนึ่งรหัสประกอบด้วย 3 แถบดำ และ 2 แถบขาว
        รหัส 11 นี้ให้ความหนาแน่นสูงมาก เนื่องจากว่ามีการออกแบบให้สัดส่วนของแถบกว้างต่อแถบแคบดีที่สุดในแต่ละรหัส แต่ผลก็คือความซับซ้อนซึ่งทำให้สู้แบบ "2 ใน 5" ไม่ได้

ที่มา : ดร.สุวิทชัย คุ้มปีติ  วารสารคอมพิวเตอร์ สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย  ปีที่ 15  ฉบับที่ 75/2531

10/07/2553

Photoshop การรวมรูปแบบไม่มีรอยต่อ ตอนที่3(ตอนจบ)


การรวมรูปแบบไม่มีรอยต่อ ตอนนี้เป็นตอนจบนะครับ เป็นตอนที่จะนำไปใช้จริง ผมจะลองทำตัวอย่างให้ดูว่าเขานำไป
ประยุกต์ใช้อย่างไร ส่วนใครที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กลมกลืนแค่ไหนผมบอกได้เลยครับว่าขึ้นกับการฝึกฝนครับผมว่า Photoshop ไม่มีใครเก่งกว่าใครหรอกครับ มันขึ้นกับว่าใครรู้เทคนิคมากกว่าใครเป็นสำคัญครับ เพราะคนที่รู้เทคนิคมากกว่าย่อมตัดต่อได้เนียนกว่า ใช้เวลาน้อยกว่าครับ ดังนั้นถ้ามีโอกาสก็พยายามใช้เทคนิคบ่อยๆนะครับ ผมกล้าบอกได้เลยว่าช่วงแรกๆมือใหม่จะใช้วิธีการจำครับ จำว่าขั้นไหนทำอะไร พอเราซ้อมไปซักพัก มันจะเป็นความเข้าใจครับ เราจะเข้าใจหลักการทำงานของมัน จากนั้นการใช้แบบประยุกต์จะเกิดขึ้นมากมาย และดูมีฝีมือขึ้นเรื่อยๆครับ อีกอย่างหนึ่งที่อยากบอกมานานแล้วครับคือ ผมพยายามไม่ใช้การอธิบายแบบภาษาคอมพ์ซักเท่าไหร่ครับ เพราะผมเชื่อว่ายิ่งทำให้มือใหม่เบื่อเร็วเท่านั้น ผมพยายามใช้การอธิบายแบบเปรยบเทียบกับสิ่งที่มีในชีวิตประจำวันของผู้อ่านให้มากที่สุด เพราะผมคิดว่ามันสื่อให้เขาเข้าใจหลักการของเทคนิคมากกว่า ส่วนถ้าใครชอบอ่านที่มันเป็นภาษาเทคนิคล้วนๆจริงๆ ผมว่าก็แค่คลิกอ่าน Help ของโปรแกรมมันก็จะสอนไว้ทุกเครื่องมือนะครับ แต่จะใช้ยังไงจริงๆนี่ซิสำคัญครับ มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ
พูดถึงเครื่องมือเกลี่ยสี Gradient Tool กันก่อนครับ เพราะมันเป็น 1 ใน 2 พระเอก ที่ทำให้เรารวมรูปแบบไม่มีรอยต่อได้ราบรื่น(ซึ่งพระเอกตัวที่ 2ก็คือ Layer Mask นั่นเองครับ) Gradient Tool เป็นเครื่องมือที่เกลี่ยสีได้ทุกสีครับ ไม่ใช่เฉพาะขาว-ดำแต่ที่เราพูดถึงในตอนปูพื้นฐานก็เพราะว่า มันสำเร็จรูปนั่นเองครับ คือแค่คลิกแล้วลากจากจุด 1ไป 2 มันก็จะเกลี่ยสีให้จากสีที่เราเลือกไว้จาก Foreground--->Background แต่เนื่องจากมันสำเร็จรูปนั่นเอง เลยทำให้เรามีรูปแบบตัวเลือกในการเกลี่ยน้อยมาก คือประมาณ 5 แบบ คือ 1.แบบแนวหน้ากระดาน,2. แบบวงกลม... ,5.แบบเพชร คำถามคือ ถ้าเราอยากทำแบบอื่นล่ะ เช่นรูปหัวใจ รูปอื่นๆตามใจชอบเราแล้วเราจะทำยังไง  นี่ไงครับ คือที่มาของบทความนี้ที่จะแนะวิธีประยุกต์

ดังนั้นขอให้จำจุดสำคัญๆต่อไปนี้ไว้นะครับคือ
1.Layer Mask คือตัวบังรูปที่เราสร้างขึ้น ดังนั้นแต่ละรูปสามารถมี Mask ของตัวเองได้
2.สีดำในMask ส่งผลให้รูปที่ผูกโซ่กับมันไว้โปร่งแสง จนเห็นรูปด้านหลัง
3.Mask ที่บังต้องค่อยๆเกลี่ยส่วนบังไปหาส่วนไม่บัง(ดำ-->ขาว) โดยให้ค่อยๆเห็นจากรูปหนึ่งไปยังอีกรูปหนึ่ง
4.ถ้าไม่เกลี่ยสีในการบัง Mask ก็ไม่มีความหมาย เพราะภาพจะกระโดดจากจุดบังไปจุดไม่บัง จึงเห็นรอยต่อ
1.สร้างพื้นที่ทำงานให้มีพื้นหลังสีขาวขึ้นมา 1 อัน เพื่อเป็นที่ในการใช้ตัดต่อรูปครับ
2.ผมจะcopy รูปน้ำตกและนำเข้ามาเป็นตัวเอก(Layer 1)ของรูปนะครับ

3.ผมจะcopy รูปดอกไม้ (Layer 2) และนำเข้ามาซ้อนบนรูปน้ำตก พร้อมกันนี้ผมจะ สร้างMask ให้มัน 1อันครับ

4.คลิกเลือกเครื่องมือ Lasso Tool(เลือกพื้นที่แบบอิสระ) รูปห่วงเชือก แล้ววาดลงบนดอกไม้เป็นรูปหัวใจ แล้วคลิกขวาเลือก Select Inverse เพื่อกลับพื้นที่ในการเลือกจากรูปหัวใจ เป็นรูปรอบๆหัวใจแทน

5.จากนั้นเลือก Edit > Fill... > Black  เป็นการเทสีดำลงบน Mask เพื่อกำหนดให้พื้นที่รอบหัวใจมองไม่เห็น

6.เราจะได้ดอกไม้รูปหัวใจจากการบังของ Maskที่มีขอบชัดเจน นั่นเนื่องจากว่า Mask ยังไม่มีการเกลี่ยสีนั่นเอง

7.ก่อนอื่นให้ทำการยกเลิกการเลือกพื้นที่โดยการคลิกที่พื้นที่ด้านนอกพื้นที่ๆเราทำงานก่อน เพราะถ้าเราไม่ยกเลิกแล้วทำการเกลี่ยสีทันที มันจะเกลี่ยเฉพาะพื้นที่ ที่มีเส้นประSelection อยู่ครับ เมื่อยกเลิกการเลือกพื้นที่แล้วต่อมาเราทำการเกลี่ยสีให้กับ Mask ทั้งอัน(ทั้งขาวและดำ)ด้วยการ เลือก Filter > Blur > Gaussian Blure... ดังรูปครับ


8.ต่อมาผมจะcopy ภาพดวงตา(Layer 3)และวางลงบนพื้นที่ทำงานจากนั้นก็ Add Layer Mask ให้มัน 1 อันดังรูปครับ

9.ทำเหมือนขั้นตอนก่อนหน้านี้ครับคือเลือกเครื่องมือ Lasso Tool ทำการลากพื้นที่รอบๆดวงตา (วิธีที่ลากแล้วออกมาสวยก็คือก่อนลากให้ตั้งค่า Feather = 20 pxl ก่อนนะครับ เวลาลากออกมาไม่ว่ามันจะยึกยือแค่ไหนมันจะปรับรูปร่างสมมาตรให้ครับ

10.ทำเหมือนภาพก่อนหน้าครับคือ คลิกขวาบนดวงตา เลือก Selection Inverse เพื่อเลือกพื้นที่รอบๆดวงตาแทนครับ แล้วเลือก Edit > Fill... > Black (ก็จะทำการเทสีดำลงบนMask รอบๆดวงตาทำให้มองเห็นแต่ดวงตาครับ)

11.สังเกตจุดที่ผมวงสีแดงไว้นะครับ นั่นคือส่วนที่โผล่มาเพราะสีดำไปบังส่วนนั้นไม่พอ ทีนี้เรามาตามเก็บงานครับ หลักการคือเราเทสีดำเพื่อบังใช่ไหมครับ เมื่อมีบางจุดโผล่แสดงว่าสีดำมันขาดในจุดนั้นเราก็ต้องไปเติมสีดำให้มันเฉพาะจุดนั้นใช่ไหมครับให้เราทำการเลือกหัวแรงBrush คลิกสลับถาดสีเป็นสีดำอยู่ด้านหน้าแล้วเอาหัวแปรงไปทาจุดสีดำใต้ขอบตา   อย่าลืมนะครับความจริงเราไม่ได้ทาลงไปที่ภาพ สีดำที่เราทาลงไปความจริงมันกำลังทาที่Mask ที่ผมวงสีแดงไว้ครับ ดังรูป


12.ผลจากการเก็บงานเราก็จะได้ดังรูปครับ ทีนี้ไม่ว่าจะซ้อนกี่รูป จะบังออกมาเป็นรูปหัวใจ ดวงดาว อื่นๆอีกมากมาย เราก็ทำได้เป็นอิสระแล้วใช่ไหมครับ ดังนั้นพวกรูปการบังสำเร็จรูปที่เขาให้มาก็กลายเป็นของธรรมดาไปเลยใช่ไหมครับ

ทบทวนจุดสำคัญครับ
1.วางรูปแล้วสร้างMask ทันที(สร้างแล้วจะใช้ไม่ใช้ก็ได้)
2.เลือกพื้นที่ที่ต้องการ แล้วกลับพื้นที่ด้วย Selection Inverse เพื่อจะเทสีดำใส่มัน
3.เทสีดำใส่พื้นที่ที่บังแล้ว มันจะยังมีขอบอยู่เพราะยังไม่ได้เกลี่ยสี
4.ยกเลิกการเลิกพื้นที่ก่อน แล้วทำการเกลี่ยสีใน Mask ทั้งอัน ด้วย Filter > Blure > Gaussian  Blure..
5.เก็บงานโดยเติมสีดำลงMask ในจุดที่ต้องการบังเพิ่ม หรือ เติมสีขาว ในจุดที่ต้องการเห็นครับ
ผมอธิบายยืดยาวไปหน่อยเพราะอยากให้เข้าใจแบบง่ายที่สุดครับ เพราะจุดนี้ผมศึกษาด้วยตนเองบอกตรงๆครับว่า งง ที่สุด และซ้อมมือนานมากกว่าจะเข้าใจเพราะไม่มีใครสอนครับ อ่านหนังสือเองก็ไม่มีเล่มไหนบอกว่าทำไมต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ เขาบอกแค่ว่าเลือกนั่นเลือกนี่ เทนั่นเทนี่ เสร็จ จบ  อ่านเสร็จก็ งง งง งง และก็ งง ครับ ผมจึงเห็นใจคนที่ศึกษาใหม่ๆเลยร่ายยาวนิดนึงครับ ใครติดตรงไหนถามได้นะครับ ผมไม่ค่อยได้ตอบคอมเมนต์ แต่ก็ขอบพระคุณทุกท่านที่เสีสละเวลาเข้ามาอ่านและคอมเมนต์ให้ครับ ขอบพระคุณทุกท่านครับ
ที่มาของรูปเพื่อประกอบตัวอย่างอธิบาย : จากอินเตอร์เนต

Photoshop การรวมรูปแบบไม่มีรอยต่อ ตอนที่ 1


เทคนิคที่จะกล่าวถึงนี้ ผมว่าเป็นเทคนิคที่เด่นมากเทคนิคหนึ่งของโปรแกรม Photoshopและเป็นเทคนิคหนึ่งที่ทำให้โปรแกรมนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย คือการเอารูปหลายๆรูปมารวมอยู่ในรูปเดียวกันโดยไม่มีรอยต่อแต่ละรูปครับ ผมพยายามคิดๆๆว่าจะอธิบายคนที่มือใหม่จริงๆให้เข้าใจได้อย่างไร เพราะตอนแรกๆที่ผมเรียนรู้ด้วยตนเองบอกตรงๆว่าผมเองก็ งง มากครับ เพราะเขาเอารูป 2รูปมาต่อกัน โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า เลเยอร์หน้ากาก(Layer Mask) ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง มาบังในส่วนที่ให้เห็นแต่สิ่งที่ควรจะเห็นและไม่ให้เห็นในสิ่งที่ไม่ควรจะได้เห็น ดังนั้นผมก็เลยคิดว่าการทำให้เข้าใจง่ายที่สุดก็คือทำ Layer Mask กับรูปเพียงรูปเดียวก่อนเป็นการปูพื้นฐาน เพราะผมคิดว่าถ้าเข้าใจพื้นฐานรูปเดียว ต่อไปจะซ้อนกี่รูปก็ไม่เป็นปัญหา เพราะพื้นฐานแน่นว่างั้นเถอะครับมาเข้าเรื่องกันเลยครับ
1.เปิดรูปที่ต้องการขึ้นมา 1 รูป ในที่นี้ผมจะใช้รูปชายหาดที่มีเกาะอยู่ดังรูปครับ

2.ดับเบิ้ลคลิกตรง Pallete ที่ชื่อว่า Background มันจะขึ้นหน้าต่างให้เปลี่ยนชื่อเลเยอร์เป็น Layer 0 แล้วกด OK (ทำไมต้องเปลี่ยนเหรอครับ ก็เพราะว่าถ้าไม่เปลี่ยนชื่อมันจะมีรูปกุญแจถูกล๊อคอยู่ ซึ่งมันจะไม่ยอมให้เราใส่เลเยอร์หน้ากาก LayerMask ถ้าไม่เชื่อก็ลองไม่เปลี่ยนชื่อนะครับ แล้วข้ามไปทำข้อถัดไปเลย ดูว่าทำได้ไหม ควรลองให้เห็นด้วยตัวเองครับ)

3.เราจะทำการเพิ่ม Layer Mask ด้วยคำสั่ง Layer > Layer Mask > Reveal All ดังรูปนะครับ(มีคีย์ลัดคือ ไปที่ Pallete ของเลเยอร์ครับ ดูแถบล่างสุดอันที่สาม รูปสี่เหลี่ยมที่มีวงกลมด้านใน พอชี้ที่มันจะมีคำว่า Add Vecter Mask ครับ) สังเกตุที่ Pallete เลยอร์นะครับ จะมีรูปเราผูกโซ่ร่วมกับกระดาษว่างๆสีขาว 1 อัน ตอนนี้แปลว่าถ้ากระดาษยังขาวอยู่เราก็จะเห็นรูปทั้งหมดครับ ดังรูป



4.ให้เซตจานสีเป็น ดำ-ขาว นะครับแล้วคลิกที่ Gradient Tool (1) แล้วไปเลือก วิธีการบังจาก (2) ดังรูปวงกลมสีแดงที่ผมวงไว้นะครับ

5.ทีนี้สังเกตุที่จานสีเราเป็น ดำ-ขาว แปลว่า การเกลี่ยสีจะเกลี่ยจาก ดำ-ไป-ขาว ให้เราลากเมาส์ที่รูปจากซ้ายไปขวา
ตามรูปประกอบนะครับ

6.ดูผลที่เกิดขึ้นในช่อง Pallete ที่ผมเอามาประกอบครับ กระดาษสีขาวจะมีสีดำ เกลี่ยไปขาว ส่งผลให้รูปเราส่วนที่โดนสีดำบังเราจะมองไม่เห็น และค่อยๆเห็นในส่วนสีขาวครับ ดังรูป

7.ต่อมาให้เรายกเลิกสิ่งที่ทำลงไปด้วยคำสั่ง Edit > Undo Gradient หรือคีย์ลัด (Ctrl+z) ครับ แล้วไปที่ถาดสี ให้เราคลิกที่ลูกศรที่มีหัว 2 ด้านหนึ่งครั้ง จะเป็นการสลับจานสีจากดำ-ขาว มาเป็น ขาว-ดำ ดังรูปครับ และสังเกตุด้านบนก็จะเปลี่ยนการเกลี่ยสีจากขาวเป็นดำเช่นกันครับ ดูตรงจุดที่ผมวงกลมสีแดงไว้นะครับ

8.ต่อมาให้คลิกเมาส์ลากที่รูป ณ ตำแหน่งเดิมแบบเดิมทุกอย่างดูความเปลี่ยนแปลง ดังรูปครับ จะเห็นว่าในช่อง LayerMask สีขาวจะถูกเกลี่ยไปหาสีดำ และเราจะมองเห็นรูปที่ช่องสีขาวเท่านั้นครับ ส่วนที่สีดำบังเราจะมองไม่เห็น ดังรูปครับ



9.ทีนี้ให้เรายกเลิกสิ่งที่ทำด้วย (Ctrl+z) และลองเลือกวิธีเกลี่ยสีใส่LayerMask แบบวงกลมดูบ้าง โดยให้เราเลือก ดังรูปที่ผมวงกลมสีแดงไว้นะครับจากนั้นให้คลิกที่กลางรูปแล้วลากไปหามุมใดมุมหนึ่งครับ แล้วดูผลที่เกิดขึ้นครับ



ลองทำดูหลายๆแบบครับ ลองหนึ่งครั้ง กดยกเลิกการทำ แล้วลองแบบอื่นดูไปเรื่อยๆ เพื่อให้เข้าใจเทคนิคการใช้ Layer Mask ครับ   ผมจะสรุปสั้นๆนะครับว่า
1.การทำLayer Mask ไม่มีผลใดๆต่อรูปเลย สิ่งที่เราเห็นเกิดขึ้นเกิดจาก หน้ากากMask บังให้เราเห็นในสิ่งที่ควรเห็น และไม่ให้เห็นในสิ่งที่ไม่ให้เห็น
ถ้าไม่เชื่อก็ลองกดรูปถังขยะที่มุมขวาล่างสุดของ Pallet ดูครับ เมื่อ mask หายไปรูปเราก็ยังคงอยู่ปกติทุกอย่าง
2.สีที่เกลี่ยบนMask สีดำคือจุดที่เราจะไม่เห็น(โปร่งแสงจนเห็นพื้นหลัง) สีขาวคือจุดที่เรามองเห็น
ทำความเข้าใจกับพื้นฐานนี้ก่อนนะครับ ตอนที่2 ผมจะมาแนะวิธีเอา 2รูปมารวมกันโดยไม่มีรอยต่อ ด้วย Mask นี้ล่ะครับ

Photoshop การรวมรูป แบบไม่มีรอยต่อ ตอนที่2


จากบทความที่แล้ว ที่เรากล่าวถึงการใช้ Layer Mask มาบังรูปของเรา ให้เห็น และไม่ให้เห็นในส่วนที่เราต้องการเพื่อไม่ให้ผู้อ่าน งง ในการนำไปใช้ ผมจะยกทั้งรูปทั้ง Layer Mask ของบทความที่แล้วมาทั้งหมดเลย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ต่อเนื่อง และดูว่ามันใช้ยังไง เพียงแต่คราวนี้ผมจะเพิ่มรูปเข้ามาอีกหนึ่งรูปเพื่อให้เห็นชัดเจนว่ารูปทั้งสองรูปถูกเชื่อมต่อกันแบบกลมกลืน(ไม่เห็นรอยต่อ) เรามาเข้าเรื่องกันเลยนะครับ
1.ผมจะสร้างพื้นที่ในการตัดต่อรูป2รูปขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่ามันควรจะใหญ่พอที่จะบรรจุรูปทั้ง 2 รูปได้ โดยผมให้มัน
มีสีBackground เป็นสีขาว โดยใช้คำสั่ง File > New...ครับ (เนื่องจากรูปที่ผมจะนำมาตัดต่อรูปแรกขนาดW400xH300 pixelsและรูปที่สอง W500xH300 pixels ดังนั้นเพื่อให้บรรจุทั้งสองรูปลงไปได้ ผมจึงต้องสร้างพื้นที่ใช้งานขั้นต่ำที่ W 900xH300 pixels)ดังรูปครับ

2.ผมจะเปิดรูปบ้านตากอากาศในทะเลขึ้นมา จากนั้นจะทำการคัดลอกภาพด้วยการ เลือกเครื่องมือ Rectangular Marquee Tools(รูปเส้นประสี่เหลี่ยมที่ใช้ในการเลือกพื้นที่ครับ) มาลากครอบทั้งรูป แล้วเลือกคำสั่ง Edit > Copy จากนั้นก็เอาไปวางในพื้นที่ตัดต่อของเราด้วยคำสั่ง Edit > Paste ครับ
ขั้นตอนข้างบนทั้งหมดใช้คำสั่งลัดด้วยการ เปิดภาพขึ้นมา กด(Ctrl+A  : เลือกภาพทั้งหมด) > (Ctrl+C : ก๊อบปี้ภาพ) > คลิกพื้นที่ตัดต่อของเรา > (Ctrl+V : วางภาพที่ก๊อบปี้มาลงไปในพื้นที่ตัดต่อ) จากนั้นให้ใช้เครื่องมือ Move tools เลื่อนภาพไปยังตำแหน่งขวามือสุดดังรูปครับ ภาพนี้จะมีชื่อว่า Layer 1 ครับ



3.ผมจะเปิดรูปที่สองที่เป็นรูปเกาะและมีเรือดังรูปครับ และก๊อปปี้มาและวางลงในพื้นที่ทำงานด้วยวิธีเดียวกับข้อ 2 ครับ แล้วเลือกเครื่องมือMove tools ลากภาพไปไว้ซ้ายมือโดยให้รูปมีพื้นที่ซ้อนกับรูปแรกในส่วนที่เราต้องการจะตัดต่อเชื่อมกันครับ รูปนี้จะมีชื่อว่า layer 2 ดังรูปครับ

4.ผมจะเลื่อนปรับแต่ระดับน้ำทะเลที่เส้นขอบฟ้าของทั้งสองรูปให้อยู่ระดับเดียวกันเพื่อไม่หลอกตานะครับ ทีนี้ผมจะคลิกที่ Layer 2 และสร้าง LayerMask ด้วยการกดรูปสี่เหลี่ยมมีวงกลมด้านใน(Add Vector Mask)เพื่อทำการบังรูป Layer 2 ให้เห็นบางส่วน(ส่วนที่ไม่เห็น มันจะโปร่งแสงมองเห็นรูปด้านหลังหรือ Layer1 นั่นเองครับ) ดังรูปครับ

5.เซตสีในจานสีเป็น ขาว-ดำ(เพื่อสร้างMaskมองเห็น--->มองไม่เห็น(โปร่งแสง)) จากนั้นคลิก Gradient Tool และเลือกรูปแบบการบัง ดังรูปวงกลมสีแดงครับ

6.คลิกเมาส์ลงในรูปที่ Layer 2 แถวๆขอบในๆ แล้วลากไปหาขอบของรูปครับ (ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า ขั้นตอนนี้คือขั้นตอนการเกลี่ยการมองให้ให้กับ Maskไม่ได้เป็นการกระทำลงไปที่รูปครับ และสิ่งที่เกิดที่รูปคือผลที่เกิดจาก Mask บังรูปเอาไว้ครับ)

7.จะเห็นผลที่ได้จากรูปนะครับ คือรูปทั้งสองผสานกันแบบไม่มีรอยต่อ  แต่จะเห็นความแตกต่างชัดเจนว่าเกิดจากรูปสองรูปมาผสานกันนั่นคือท้องฟ้าครับ คนละสีกันเลย แม้น้ำทะเลจะดูใกล้เคียงกันครับ ผมจะไม่ปรับแก้ใดๆทั้งสิ้นนะครับ เพราะหัวข้อนี้คือ เทคนิคการรวมรูปสองรูปแบบไม่มีรอยต่อ ส่วนเรื่องท้องฟ้าและน้ำทะเลนั้นถ้าผู้อ่านติดตามไปเรื่อยๆ บอกได้เลยครับว่า แค่นี้จัดการง่ายมากสำหรับโปรแกรม Photoshop ครับ เพราะมันมีเทคนิคเรื่องการตัดต่อ การคัดลอกแบบ Stamp และอื่นๆอีกมากมายที่จะมาจัดการให้รูปทั้งสองรูปดูเป็นรูปเดียวกันจนดูไม่ออกครับ แล้วผมจะค่อยๆแนะจากง่ายไปยากนะครับ ตอนนี้เอาเทคนิคนี้ให้เข้าใจก่อนครับ

8.และภาพสุดท้ายนี้คือภาพที่ผมแต่งด้วยเทคนิคอื่นๆที่ยังไม่ได้กล่าวถึงครับ แต่งแบบหยาบๆ ยังไม่มีการเก็บรายละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านมองเห็นถึงศักยภาพของโปรแกรม Photoshop ครับ

10/01/2553

การกำจัดไวรัส สปายแวร์ที่ฝังอยู่ใน Windows ด้วย Combofix

combofix-screenshot
เป็นการใช้เครื่องมือที่ชื่อ Combofix มีการใช้งานที่ง่ายมาก เพียงแค่ดับเบิ้ลคลิกแล้วตอบ รอจนเสร็จอย่าเพิ่งใจร้อนรอให้โปรแกรมปิดไปเอง ซึ่งจะแสดงหน้าจอ Notepad แสดงรายงาน ข้อสำคัญคือต้องทำใน Safe Mode เท่านั้นจึงจะได้ผล เพราะใน Safe Mode ไวรัสบางตัวจะไม่ทำงาน หรือทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ดาวน์โหลด Combofix ได้ที่ www.combofix.org
การเข้า Safe Mode ทำได้โดยการกดปุ่ม F8 ในตอนบูตเครื่อง ในช่วงที่เพิ่งผ่านหน้าจอ Bios มาให้รีบกด F8 รัว ๆ ถ้ากดทันเราจะเห็นเมนูตัวเลือกการบูตเข้า Windows ให้เราเลือกเป็น Safe Mode แล้วกด Enter ดังรูปด้านล่าง
safe-mode
เมื่อเข้าสู่ Safe Mode แล้วให้เลือกผู้ใช้เป็น Administrator เพราะมีสิทธิ์ในการใช้งานมากที่สุด สังเกตพื้นหลังจะเป็นสีดำ และมีข้อความเขียนว่า Safe Mode
เมื่อเข้า Safe Mode แล้วเราก็ทำการดับเบิ้ลคลิกไฟล์ Combofix เมื่อมีหน้าจอถามอะไรขึ้นมาก็ตอบ Yes ไป
ตัวอย่างหน้าจอการทำงาน
combofix-01

combofix-02

combofix-03

combofix-05

combofix-07

สุดท้ายเมื่อเสร็จจะมีหน้าจอแสดงรายงานดังรูปด้านล่าง
combofix-09
เมื่อเสร็จแล้วก็ให้ทำการใช้โปรแกรม Scan Virus ที่ Update แล้วทำการสแกนทั้งเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อตรวจหาไฟล์ไวรัสที่ตกค้าง
จากที่ใช้มาสามารถลบ Virus Malware Spyware ที่ฝังและเริ่มทำงานตอนบูตเครื่องได้หลายตัวเป็นที่น่าพอใจ

การลบไวรัส AUTORUN.IY AUTORUN.ZR

ไวรัสตัวนี้อยู่ในประเภท Worm ปรกติจะไม่แสดงอาการอะไร จะแสดงข้อความเมื่อไฟล์ของมันถูกลบโดยโปรแกรมสแกนไวรัส แต่โปรแกรมสแกนไวรัสส่วนใหญ่จะลบไฟล์ออกไม่หมด เพราะไวรัสตัวนี้ประกอบไปด้วยหลายไฟล์ โดยมันจะเริ่มทำงานทุกครั้งที่เปิดเครื่อง และจะทำการคืนค่า start up ของมันใน Registry เพื่อให้ตัวมันได้เริ่มทำงานอีกครั้งตอนเปิดเครื่อง หากว่าผู้ใช้พยายามลบออก ดังนั้นเมื่อเราลบค่าใน start up มันก็จะกลับมาอีก โดยตอนเปิดเครื่องจะแสดงหน้าจอดังนี้
nvcpl64.dll
โดยจะมีข้อความแสดงข้อผิดพลาดดังนี้
Error in C:\WINDOWS\system32\NvCpl64.dll
Missing entry:RunDll32.exe
ขั้นตอนการลบไวรัส
สามารถใช้ Combofix ซึ่งง่ายกว่า หรือใช้วิธีเดิมดังนี้
บูตเข้า Windows ด้วยแผ่น Window PE หากยังไม่มีดู วิธีการทำแผ่น Windows PE
แก้ไข Registry โดยดูวิธีจาก การแก้ไขค่า Registry Windows จากแผ่นบูต Windows PE
ในวงเล็บสีแดงคือตำแหน่งที่เข้าไปแก้ไขจากแผ่น Windows PE จากบทความ การแก้ไขค่า Registry Windows จากแผ่นบูต Windows PE
ลบ Key
HKEY_CLASSES_ROOT\CLSID (HKEY_USERS\software\Classes\CLSID)
{00000231-1000-0010-8000-00AA006D2EA4}

แก้ไข Entry
HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer\Advanced (HKEY_USERS\current\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer\Advanced)
ShowSuperHidden = "0"
เป็น 1
ShowSuperHidden = "1"

ลบ Key
HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer\Browser Helper Objects (HKEY_USERS\software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer\Browser Helper Objects)
{00000231-1000-0010-8000-00AA006D2EA4}

ลบ Entry
HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Run (HKEY_USERS\software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Run)
NvCpl = "RunDll32.exe "%System%\NvCpl64.dll",RunDll32.exe"

แก้ไข Entry
HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows NT\CurrentVersion\Windows (HKEY_USERS\software\Microsoft\Windows NT\CurrentVersion\Windows)
AppInit_DLLs = "%System%\IPv6.dll"
เป็นค่าว่าง
AppInit_DLLs = ""

ลบ Key
HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows NT\CurrentVersion\Winlogon\Notify (HKEY_USERS\software\Microsoft\Windows NT\CurrentVersion\Winlogon\Notify)
cryptnet21

ต่อไปให้เราหาไฟล์ของไวรัส เพื่อลบออกโดยจะมีไฟล์ดังนี้

C:\Thumbs.lnk
C:\Autorun.inf
%System%\arf
%System%\cryptnet21.dll
%System%\IPv6.dll
%System%\NvCpl64.dll
%System%\WinXP.bmp

บางเครื่องจะมีไฟล์นี้
%Systemroot%\SoftwareDistribution\Uninstall.bin
%System%\drivers\ReSSDT.sys

%Systemroot% ปรกติคือ C:\Windows
%System% ปรกติของ Windows 9x คือ C:\Windows\System
%System% ปรกติของ Windows XP NT 2000 คือ C:\Windows\System32
บางไฟล์อาจจะถูกโปรแกรมสแกนไวรัสลบออกไปบ้างแล้วทำให้หาไม่เจอ ก็ลบเท่าที่หาเจอครับ