12/03/2557

UPS ความเหมือนที่แตกต่าง Off-line On-line




เราเคยสงสัยไหมว่า UPS ขนาด x VA เนียะ บางทีมันก็มีรุ่นคาบเกี่ยวยกตัวอย่างเช่น 1000VA ของรุ่นนึงมัน 3-4 พันบาท แต่กับ 1000VA กับอีกรุ่นนึง ทะลึ่ง หมื่นกว่าบาท โอ้ ต่างกัน 3 เท่าเลยนะ นั้นมันเป็นเหตุให้ชวนสงสัย บางคนก็นำมาใช้ปนกันแล้วก็พบว่า เออมันก็ใช้ได้นี่จะซื้อลูกละหมื่นทำไมว่ะ ซื้อพันก็พอ
จริงๆมันก็เป็นเรื่องใหม่สำหรับผม เพราะผมก็เกิดความสงสัย สุดท้ายด้วยความที่ตัวเองไม่ได้มีฟอร์มมาก ไม่กลัวคนหาว่าโง่ ก็เลยถามเลย ก็ต้องขอบคุณ Emerson PM ที่ให้ความกระจ่างในครั้งนี้ได้อย่างจริงๆจังๆ ก็เลยพอจะสรุปมาให้เพื่อนๆฟังว่า UPS จริงๆแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน เขาเรียกว่า Off-line / Line Interactive / On-line
ก่อนอื่นขอปูพื้นเรื่องไฟฟ้าก่อน ไฟฟ้าบ้านเราที่เราเสียบปลั๊กกันนั้นมาแบบ AC (กระแสสลับ) ซึ่งจะมาเป็นคลื่น ที่ไม่ค่อยเสถียรภาพเท่าไร ถ้าเขียนบอกมามันก็จะเหมือนกับหุ้น ที่ขึ้นๆลงๆ ไม่ค่อยนิ่ง กับมันมีไฟอีกชนิดนึงที่เรียกว่า DC (กระแสตรง) ซึ่งเป็นเส้นตรง มีความเสถียรภาพสูง

1. Off-line UPS
มักจะอยู่บน UPS ตั้งแต่ 500VA – 1000VA หลักการทำงานของมันก็ง่ายๆคือ ขณะที่ไฟติด กระแสไฟ AC จะวิ่งเข้า UPS วิ่งตรงไปที่อุปกรณ์ของเรา เช่น PC/Server ก็ว่ากันไป ไม่มีการแปลงสัญญาณแต่อย่างใด มาแบบไหน เข้าแบบนั้น กรณีไฟดับ ก็ใช้ไฟจากแบตตารี่ แบบนี้หากเป็นอุปกรณ์ที่ความ Sensitive สูงก็ไม่แนะนำ เพราะจะทำให้อุปกรณ์เสียง่ายเพราะได้รับไฟที่ไม่เสถียร
2. Line Interactive UPS
มีตั้งแต่ UPS 500 – 3000VA หรือบางยี่ห้อก็ใหญ่โตไป ระดับ 10,000VA ก็มี หลักการทำงานก็คือ เมื่อกระแสไฟฟ้า AC จากไฟบ้านเข้ามา จะผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Voltage Regulator (VR) เพื่อปรับกระแส AC ที่เข้ามาแบบไม่เสถียรให้เป็น AC แบบเสถียร แต่ข้อเสียของมันก็คือ หากไฟดับ ไฟกระชาก หรือ ไฟตก จะมีช่วงที่ wave ของไฟขาดหายไปนิดนึง 4-6ms typical ค่าตรงนี้เรียกว่า Transfer Time โดยที่อุปกรณ์ไม่ดับนะครับ แต่ว่ามันอาจจะส่งผลต่ออุปกรณ์ได้ เช่น เครื่องมือแพทย์ จะยอมรับ Error ตรงนี้ไม่ได้ ส่วน Server ข้อมูลที่ User submit มาในช่วงนั้นก็จะหายไป หรือ ส่งข้อมูลผิดพลาดไป นอกจากมี Battery Backup Cache ช่วยเป็นต้น
3. On-line UPS
มักอยู่ใน UPS 700VA ขึ้นไป หลักการทำงานของมันนั้นดีที่สุด คือ ไฟกระแสสลับที่มาจากบ้านเรา จะถูกส่งเข้า Power Factor Correction เพื่อแปลง AC เป็น DC เพื่อให้มีความเสถียรภาพสูง หลังจากนั้นค่อยทำการเข้า แบตตารี่ และ Inverter เพื่อแปลง DC กลับเป็น AC ที่เสถียรภาพสูง ดังนั้นจะแตกต่างจาก Line Interactive ที่แปลง AC ที่ไม่เสถียร to AC ที่เสถียร แต่จะเป็นการแปลง AC ไม่เสถียร to DC to AC ที่เสถียร ดังนั้นไม่ว่าจะไฟตก ไฟดับ ไฟกระชาก ก็จะไม่มี Transfer Time เพราะโดนควบคุมแปลง AC to DC แล้วนั้นเอง
วิชาการหนักหน่อยนะครับ จบง่ายๆอย่างนี้ล่ะกัน อุปกรณ์ที่เราจะไปต่อกับ UPS เช่น Computer PC หรือ Server หากอยากได้ไฟเสถียรควรจะใช้ Line Interactive เป็นอย่างน้อย แต่กับอุปกรณ์ที่ Sensitive มากๆ หรือสำคัญมากสำหรับข้อมูล มีข้อมูลไหล เข้า-ออก ตลอดเวลาอย่าง Server ถ้าไปถึงระดับ On-line ได้ก็จะดีที่สุด
ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อองค์กรของท่านเอง เพราะมันยึดอายุการทำงานของ Server และอุปกรณ์ที่ใช้ได้มากทีเดียว

12/01/2557

Remote มือถือ Android ของคุณด้วย AirDroid

วันนี้มีระบบน่าสนใจ สำหรับคนที่อยากจะควบคุมอุปกรณ์โทรศัพท์เราจากระยะไกล ไม่ว่าจะเพื่อ Backup file โอนถ่าย  media content เช่น pictures, files, contacts ringtones และ ทำงานต่างๆได้ ควบคุมโทรศัพท์เองจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา  จะว่ามีประโยชน์มั๊ย ก็นะ!! บางทีโทรศัพท์หาย ไม่อยากให้ข้อมูลสำคัญไปอยู่ในมือโจร พอหายปุ๊ปก็รีบเข้าไปลบให้หมด ระบบนี้มีชื่อว่า Airdroid!
วิธีการติดตั้ง
  1. ระบบจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือส่วนที่ 1 สำหรับติดตั้งที่มือถือของเราโดยสามารถ Download เพื่อติดตั้ง Application สำหรับมือถือได้จาก Googleplay ส่วนที่ 2 คือหน้า web  ที่จะใช้ควบคุมจากคอมพิวเตอร์ของเรา(ข้อ 3)
  2. เมื่อติดตั้งแล้วให้ Login ระบบผ่านมือถือ Android ด้วย Google facebook accountของเราซึ่งมีอยู่ในมือถืออยู่แล้ว หรือทำการลงทะเบียนโดยตรง ในตัวอย่างนี้จะลองใช้  Google Account
Airdroid1  Airdroid2 Airdroid4
3. หลังจากติดตั้ง AirDroidที่โทรศัพท์ของเราแล้ว ที่คอมพิวเตอร์ที่จะใช้ควบคุม ให้ไปที่เว็ปนี้ แล้ว Scan QR Code เลย หรือจะ Login ด้วย Google account เดียวกันกับที่มือถือก็ได้
Screen Shot 2557-11-16 at 4.15.37 PM



4. เมื่อ login ได้แล้วจะเข้าสู่หน้าจอควบคุมของเรา จัดการได้เลย อยากทำอะไรต่อ!!

 Screen Shot 2557-11-20 at 9.05.51 PM
5. ในบางครั้งอาจเกิดปัญหาเรื่องการติดต่อดังนั้นให้เราตรวจสอบว่าเราสามารถ Connect กับ Internet ได้หรือไม่ที่มือถือเรา จากนั้นทำการกดปุ่ม reconnect ที่browser

11/30/2557

วิธีเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟ (UPS) อย่างสรุป !!

เอาแบบเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับการหาซื้อเครื่องสำรองไฟ (UPS) ก่อนเลย คือ
1. งบ ราคา ไหวที่เท่าไหร่ ตั้งไว้เลย //อย่างผมนี่ตั้งไว้ไม่เกิน 3พัน
2. PSU หลังเครื่องใช้ไฟเท่าไร ก็เลือก UPS ที่ไฟ watt ใกล้เคียงหรือมากกว่าซัก 20%
- เอาเข้าจริง PC สมัยใหม่ มันไม่ได้ทำงาน full load ตลอดเวลาอยู่แล้ว ยิ่งเล่นเนต ทำงานเรื่อยเปื่อย แทบจะใช้วัตต์ไม่เต็ม ups ด้วยซ้ำ
3. เลือกซื้อ UPS แบบ On-Line Interactive(งบกลางๆ 3-10k+) หรือ True On-line UPS(งบสูงๆ 15k+) เท่านั้น
- True On-line UPS คือ ไฟเข้าแบต แบตส่งปลั๊ก ไฟที่ได้เลยนิ่งมากกกกที่สุด
- On-Line Interactive คือ ไฟเข้าแบต+ปลั๊ก พอตกกระชากก็สลับไฟใช้แบตฯระดับ millisecond
- Off-Line คือ ไฟเข้าปลั๊ก พอไฟตกกระชากใช้ relay สลับไปใช้แบต ซึ่งกาก-กากมากที่สุด อย่าใช้
4. ดูที่ VA แล้วคูนด้วย 0.6 จะได้ watt ที่แท้จริงที่ UPS สามารถทำงานได้ตอนไฟตก
- ค่ากำลังไฟฟ้า(VA) = ค่ากระแส(220V) x ค่าแรงดัน(_A) เท่าไรก็ว่าไป … เอามา *0.6 ก็ได้ wattแท้ของ UPS ที่รองรับการใช้งานจริงๆไหวล่ะ
5. นึกออกเดี๋ยวมาอัพเดทเพิ่ม .. หรือรายละเอียดเชิงลึกก็ google เอาเองเลย เงิน+อุปกรณ์ของท่านต้องป้องกันเอาเอง 555+
เท่าที่ค้นหาข้อมูลใน Google ก่อนเลือกซื้อ UPS ใช้ก็ได้ข้อมูลหลักๆประมานนี้
- APC ดีที่สุด ราคาก็แพงกว่าชาวบ้านทั้งหมดทั้งมวลในสเปกที่เท่ากัน //เรื่องซ่อมบำรุง เรื่องแบตเหมือนจะแพงกว่าชาวบ้านด้วยมั้ง
- Leonics, Syndome, Line Thai เป็น UPS ราคาถูก ที่อยู่ในเกรดของดี ให้เลือกซื้อในกลุ่มนี้ ปาเป้าหรือหาได้ใกล้บ้านก็จัดไป //คหสต.เหมือน leonic จะภาษีดีกว่าที่แบตไม่แพง+ได้ประสิทธิภาพดีกว่าชาวบ้าน 20% เลยมั้ง
ตอนซื้อใช้งานจริงก็จะเอา UPS APC นั่นล่ะ เพราะที่ตู้เซิฟเวอร์ใน CAT-IDC ก็เห็นใช้ตัวนี้กรองไฟอยู่ แต่เท่าที่เชคสเปกมา เจอตัวที่ไม่เกินงบ3พันบาท(advice) มันได้แค่ UPS APC 500VA/300W เอง … เพราะสเปก PC ที่ใช้ http://www.taxze.com/pc-town-lloullsj-review/ เทียบเคียงจากการ์ดจอในเว็บรีวิวชาวบ้าน Full load แทบจะถึง 450Watt ด้วยซ้ำ(full load ของเครื่องตัวเองน่าจะไม่ถึง 350w หรอกมั้ง -*-)
ก็เลยมองยี่ห้ออื่นลงมาคือ UPS Leonics OA 650 รายละเอียดตามสเปก 650VA/390W ตามต้องการ + เครื่องสีดำด้วย + จอ lcd เท่ๆ อีกด้วย //ห๊ะ

รายละเอียด UPS Leonics OA 650
รายละเอียด UPS Leonics OA 650 http://www.leonics.co.th/html/th/pd_pqp/ups/oa.php
โทรไปถามราคาบริษัทแม่ เขาบอก 2,900 บาทรวมแวทเรียบร้อยมั้งนะ … เลยดูราคาโปรโมชันที่ thailandups เขาให้ 2,500 รวม vat ก็ 2,675บาท เสร็จสรรพ ไปรับที่ซอยวัดบัวขวัญ แถวๆ พันทิพย์งามวงศ์วาน ก็หนักเอาการอยู่ พอเอามาใช้จริง ก็ถือว่ารับได้ โอเคเลย เสียบ PC(psu450w) + LED Dell U2312HM + Sierra Wireless Ac754S(3G)

- ใช้งานเปิดเว็บทั่วไป กินไฟแค่ 1/4 ขีดเอง (ดูจากรูปบนด้านซ้ายนั่นล่ะ)
- ใช้งานหนักๆ เล่นเกม ออฟไฟน์-ออนไลน์ก็กินแค่ 2-3/4 ขีดเท่านั้น
- ลองเทสมือปิดสวิทต์ไฟเอง มันก็ร้องตี๊ดๆ ได้หลายนาทีนะ ไม่รู้ว่าเท่าไร ไม่ได้ปล่อยให้เครื่องดับ
- พอไฟตกจริงๆ แบบไฟกระชากเสี้ยววิ กับเกือบๆวิ ที่ผ่านๆมาๆหลายๆรอบเกือบ 10รอบ ก็ยังทำงานได้ดี เวิร์ก จอคอมไม่ดับ เครื่องไม่ดับ เนตไม่หลุด (แต่ก่อนไฟตกที เร้าเตอร์หอรีที รอเป็นพักใหญ่ๆถึงจะกลับมาเล่นเนตได้)

เดี๋ยวอีกซัก 1-2ปี แบตพัง หรือ UPS พัง ก็ค่อยมาอัพเดทอีกทีละกัน ตอนนี้เวิร์กๆๆๆๆ
สรุป การเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟ UPS เลือกใช้ของดีๆไปเลย เครื่องคอมฯตั้งหลายหมื่น เพิ่มอีกไม่กี่พันก็ช่วยเซฟอุปกรณ์ หรือข้อมูลใน SSD/HDD ไม่ให้เสียหาย .. คุ้มที่จะใช้ UPS อย่างไม่ต้องคิดเลย
 

11/16/2557

ปุ่มต่างๆเพื่อจัดการข้อมูลใน Microsoft Access


โดยปกติแล้ว Microsoft Access จะมีแถบ Navigation Bar 



ซึ่งมีไว้จัดการ เพิ่มข้อมูล แก้ไขข้อมูล หรือลบข้อมูล 
แต่ผู้ที่เริ่มต้นใช้จะมองว่าใช้งานยาก หรือ ความเล็กของ Navigation Bar อาจมองสังเกตุเห็นได้ยาก จึงทำให้
จัดการข้อมูลได้ยากเช่นเดียวกัน ดังนั้น การนำปุ่ม หรือ Button มาช่วยในการอำนวยความสะดวกอาจช่วยได้อีกอย่างหนึ่ง
เพิ่มความสะดวกในการ เพิ่ม,ลบ,แกไขข้อมูล 



โดย ปกติแล้วการกำหนดการทำงานของปุ่ม ต้องเขียนโปรแกรมเพื่อกำหนดให้ปุ่มนั้นทำงานตามคำสั่ง (เพิ่ม,ลบ,แก้ไขข้อมูล) แต่ใน Microsoft Access 
จะ มีหน้าต่างช่วยเหลือ หรือเรียกว่า Wizard ซึ่งเป็นตัวช่วยสร้างหรือกำหนดว่า ปุ่มนั้นๆ ที่เราสร้างขึ้น จะให้ทำอะไร ซึ่งเราสามารถใช้ Wizard สร้าง
ปุ่มที่มีหน้าที่ตามที่เราต้องการได้



ตัวอย่าง การสร้างปุ่มเพื่อให้โปรแกรมทำงานตามต้องการ (กรณีตัวอย่างการเพิ่ม - ลบ - แก้ไขข้อมูลของตารางสินค้า)




1.Click ขวาและเลือก Design View




2.เลือกเครื่องมือ Button หรือรูปปุ่ม  เพื่อทำการสร้างปุ่ม













3.เมื่อเสร็จแล้วจะมี หน้าต่างตัวช่วยสร้างขึ้นมา ในโปรแกรมเรียกมันว่า Wizard
หน้าต่างที่ช่วยสร้างปุ่มนี้ ให้เราเลือก Record Operations (การกระทำการต่อข้อมูล)เพื่อจัดการข้อมูล








จากภาพด้านบน Record Operation จะมีเมนูย่อยหรือหน้าที่ของมันอยู่ 6 หน้าที่

1.Add New Record  คือ เพิ่มข้อมูลใหม่ หรือ New
2.Delete Record คือ ลบ ข้อมูลที่เลือก
3.Duplicate Record คัดลอกข้อมูล หรือการทำซ้ำ
4.Print Record เรียก หน้ารายงาน Data Report เพื่อสั่ง Print
5.Save Record คือ การสั่งให้ปุ่ม ทำการบันทึกข้อมูล
6.Undo Record คือ ปุ่มแก้ไขย้อนกลับ

ใน ส่วนมากแล้ว การกระทำการต่างๆต่อข้อมูล จะใช้ประจำคือ Add new/เพิ่มข้อมูล  , Save Record/บันทึกข้อมูล,  Delete Record / ลบข้อมูล 
ใน ตัวอย่างนี้เราจะเริ่มสร้างจาก ตัว ปุ่ม Add New Record ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จแล้วผู้ใช้ต้องการเพิ่มข้อมูลก็สามารถกดปุ่มนี้เพื่อ กรอกข้อมูลใหม่ได้เลย








4.จากภาพ จะมีปุ่มรูปวงกลม (Ratio Button) ให้เราเลือกว่า จะสร้างปุ่มโดยการเขียนว่าให้ปุ่มนี้ทำอะไร หรือเลือกรูปภาพในการทำปุ่ม
จากรูปแล้ว 
Text คือ เขียนว่าปุ่มนั้นทำอะไร






นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเขียนตัวอักษรลงบนปุ่ม หรือ ใช้ สัญลักษณ์ ลงบนปุ่ม





5. เมื่อเลือกเสร็จแล้ว ตั้งชื่อปุ่ม (ควรตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ) และเมื่อตั้งชื่อปุ่มเสร็จแล้ว กด Finish







6. เมื่อกด Finish เสร็จแล้วเราสามารถ เปลี่ยนสื (Back Color) หรือ เปลี่ยนให้ปุ่ม มีสภาพตามความเหมาะสมของหน้าตาโปรแกรม






นอก จากเราสามารถสร้างปุ่ม จัดการ เพิ่ม แก้ไข ลบ และบันทึกนข้อมูลแล้ว เราสามารถ สร้างปุ่มที่มี Function เหมือน Navigation Bar ได้ทั้งหมด
โดยการ


เลือก Record Navigation --->>>

Find Next = ไปยังข้อมูลชุดถัดไป  
Find Record = ค้นหาข้อมูล
Go To First Record = ไปยังข้อมูลแรกสุด  I<
Go To Last Record = ไปยังข้อมูลสุดท้ายหรือล่าสุด  >I
Go To Next Record = ไปยัง ข้อมูลถัดไป >
Go To Previous Record = ไปยัง ข้อมูลก่อนหน้า  <


ให้นักเรียนสร้างปุ่ม เพิ่มข้อมูล บันทึกข้อมูล และลบช้อมูล เพื่อจัดการข้อมูล
ใช้กับการจัดการข้อมูลทุกข้อมูล ส่งภายใจก่อนเรียนครั้งหน้า!!!



11/07/2557

วิธีแก้ TeamViewer หมดอายุการใช้งาน โดยการเปลี่ยน Mac Address

วันนี้ TeamViewer หมดอายุการใช้งาน พอลอง Uninstall ออกแล้ว Install ใหม่ก็ใช้งานไม่ได้เหมือนเดิมครับ อันเนื่องมาจากว่าทาง TeamViewer นั่นได้มีการจำ MAC Address ของเครื่องเราไว้ครับทำให้เวลาเรา Install ใหม่ก็ยังใช้งานไม่ได้อยู่ดีครับ แต่วันนี้เรามีวิธีที่จะทไให้การ Install ใหม่นั่นใช้งานได้ครับ
เริ่มแรกเลยให้ทำการ Uninstall TeamViewer ตัวปัจจุบันออกก่อนครับ โดยเข้าไปที่ Control Panel => Programs and Features
จากนั่นให้ไปที่ Registry แล้วลบ Key ของ TeamViewer ออกครับ
จากนั่นให้เข้าไปที่ %appdata% เพื่อทำการลบ Folder TeamViewer ออกครับ
จากนั่นให้ทำการเปลี่ยน Mac Address โดย
จากนั่นให้ไป Download โปรแกรม TeamViewer มาใหม่ครับเพื่อทำการ Install ใหม่เพียงเท่านี้ก็ใช้งานได้ละครับ

10/30/2557

DNS VS NETBIOS DNS กับ NETBIOS มันต่างกันอย่างไร

DNS VS NETBIOS
เคยสับสนไหมครับว่า DNS กับ NETBIOS มันต่างกันอย่างไร หรือทุกวันนี้คิดว่ามันคือสิ่งเดียวกันจนคุณแยกมันไม่ออก จนเป็นที่มาของหลายปัญหาเช่น Ping ชื่อเครื่องเจอ, Ping ชื่อเว็บไม่เจอ, ทำไมใช้ IP เข้าได้, ทำไมใช้ชื่อเข้าไม่ได้ แล้วเรียกใช้งานยังไง เอาล่ะวันนี้จะมาแถลงไขกันให้ง่าย ๆ
DNS ย่อมาจาก Domain Name System แปลตรงตัวเลยคือ ระบบชื่อโดเมน ถ้าคุณไปค้นหาตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ คุณจะต้องพบกับศัพท์เทคนิคยาก ๆ หลายอย่าง มีรูทไอนั่น มีรูทไอนี่ อันนี้เป็น Parent อันนี้เป็น Child อ่านแล้วงงแทนครับ แต่มันก็เป็นทฤษฎีที่ดีนะครับถ้าหากคุณเข้าใจก่อนว่าสิ่งที่เค้ากำลังพูดถึง มันหมายถึงอะไร ดังนั้นเราจะมาทำความเข้าใจกันง่าย ๆ กับ DNS ดังนี้
DNS จะมีการเรียกอ้างอิงแบบเป็นลำดับชั้น (นั่นเริ่มยากกับเค้าละ) คือมีการแบ่งลำดับชั้นด้วยเครื่องหมาย จุด (.) เช่น คุณจะเรียกโดเมน a.local จะเห็นว่า คุณกำลังเรียกหาเจ้าของที่ชื่อว่า a ซึ่ง a นั้น อยู่ภายใต้ local
หรือคุณจะเรียกหาโดเมน x.a.local นั่นแสดงว่า คุณกำลังเรียกหาเจ้าของที่ชื่อว่า x โดยที่ x นั้นอยู่ภายใต้ a.local
พยายามให้คุณมองว่า สิ่งที่คุณกำลังเรียกหานั้น คือคำแรกก่อนที่จะเจอเครื่องหมายจุด และสิ่งที่คุณจะได้กลับมา คุณก็จะได้ x ตอบกลับมาโดยตรง คุณจะได้สิ่งที่อยู่ใน x ตอบกลับมา ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ใน a.local ตัวอย่างเช่น
คุณเรียกเว็บไซต์ a.local คุณก็จะได้เว็บไซต์ a ตอบกลับมายัง Browser
คุณเรียกเว็บไซต์ x.a.local คุณก็จะได้เว็บไซต์ x กลับมา ไม่ใช่เว็บไซต์ a
DNS Level
จะเห็นจากภาพได้ว่า คุณเรียกถึงลำดับชั้นใด คุณก็จะได้ลำดับชั้นนั้นตอบกลับมา
ทีนี้ DNS มันไม่ได้เอาไว้ใช้กับเรื่องเว็บไซต์อย่างเดียว มันอาจจะถูกกำหนดให้กับชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ หรือชื่อเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่เป็น Domain Controller ก็ได้ ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบกับภาพเดิม เวลาคุณเรียกถึงชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น
คุณเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ computer.local คุณก็จะได้รับการ Reply จาก computer กลับมา
คุณเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ notebook.computer.local คุณก็จะได้รับการ Reply จาก notebook กลับมา
การที่มันมีลำดับชั้นที่ถูกแบ่งคั่นด้วยจุด (.) นั่นหมายถึงว่า ลำดับชั้นมีมีความสัมพันธ์ต่อกัน ซึ่งความสัมพันธ์นี้จะถูกมองได้หลายกรณี เช่น notebook.computer.local ก็จะหมายถึง notebook อยู่ภายใต้ computer ซึ่งอาจมีการใช้ทรัพยากรที่อยู่ในขอบเขตเดียวกัน, การยืนยันตัวตนที่อยู่ในขอบเขตเดียวกัน, การสอบถามจากแหล่งเดียวกันได้ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถถูกสืบทอดมาได้ เพราะมันมีความสัมพันธ์กัน แต่เพียงถูกคั่นด้วย จุด เท่านั้นเอง
NETBIOS ย่อมาจาก Network Basic Input/Output System อันนี้ถ้าคุณไปค้นหาตามแหล่งข้อมูลล่ะก็ ผมเชื่อได้เลยว่าคุณจะต้องพบกับประวัติศาสตร์ชาติตระกูลของ NETBIOS ตั้งแต่สมัยฟริ้นสโตน ที่มีการกลายพันธุ์มาจาก NET นั่น NET นี่ ซึ่งเรื่องนี้ ผมไม่หยิบมาเล่าละกัน เพราะมันซ้ำกับข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
NETBIOS ผมบอกสั้น ๆ เลยว่า มันคือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ จบ !! ไม่มีลำดับชั้น ไม่มีจุด ไม่มีความสัมพันธ์ในขอบเขตใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าคุณเรียกชื่อเครื่อง computer เช่น COM1 คุณก็จะได้คำตอบ Reply จาก COM1 กลับมา แค่นั้น

แล้ว DNS กับ NETBIOS ทำงานต่างกันอย่างไร ?

จำเหตุการณ์ที่คุณเข้าเว็บผ่าน IP ได้ แต่เข้าผ่านชื่อโดเมนไม่ได้ บ้างไหมครับ หรือเหตุการณ์ที่คุณเรียกชื่อเครื่องได้ แต่เรียกชื่อเว็บไม่ได้ อะไรก็แล้วแต่ที่คุณล้วนเคยเจอมา สามารถอธิบายได้ดังนี้
การสื่อสารสำหรับคอมพิวเตอร์ จะใช้สิ่งที่สำคัญอยู่ 2 อย่าง คือ IP Address กับ MAC Address ซึ่งในเรื่องของ MAC Address นั้นจะมีกระบวนการของมันอีก แต่จะยังไม่พูดถึง ผมอยากให้โฟกัสไปที่เรื่อง IP Address อย่างเดียว โดยที่บอกไว้คือ ไม่ว่าจะเป็นชื่อแบบไหนก็แล้วแต่ จะ NETBIOS หรือ DNS สุดท้ายของกระบวนการสิ่งที่ได้มาคือ เลข IP Address ทั้งสิ้น เครื่องจะคุยกันผ่าน IP Address ล้วน ๆ ไม่ใช่ชื่อเครื่อง หรือ ชื่อโดเมนเนม ดังนั้น เมื่อคุณเรียกชื่อเครื่องใด ๆ ก็แล้วแต่ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน หรือต่างเครือข่ายที่ทราฟฟิกสามารถวิ่งถึงกันได้ การเรียกแบบ IP Address ย่อมสำเร็จเสมอ
แต่การที่นำชื่อ NETBIOS หรือ DNS มาตั้งชื่อแทนการเรียกแบบ IP Address นั้น มันทำให้จดจำง่ายเท่า นั้นเอง ซึ่งไม่ว่าคุณจะเรียกปลายทางในรูปแบบใด สุดท้ายมันก็จะต้องทำการค้นหาว่า ชื่อที่คุณเรียก มี IP Address เป็นอะไร แล้วมันจึงนำ IP Address นั้นไปสื่อสารกันเอง ดังนั้นเหตุการณ์ที่ว่าเมื่อคุณเรียกปลายทางด้วยชื่อใด ๆ แล้วไม่สามารถติดต่อได้ นั่นแสดงว่า กระบวนการ Name Resolution ของคุณนั้นไม่สามารถทำงานได้สมบูรณ์ พูดง่าย ๆ ก็คือ มันไม่สามารถแปลงชื่อเป็น IP Address ได้นั่นเอง เมื่อไม่มี IP Address ก็ไม่สามารถคุยกันได้ ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้, OK มั๊ย ?

NETBIOS name resolution

การที่คุณเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการ Ping หรือเรียก Web Server โดยใช้เพียงชื่อ NETBIOS เช่น Ping COM1 หรือ http://COM1 หรือ Browse Computer ผ่าน Network เช่น \\COM1 กระบวนการของมันคือ มันจะตรวจสอบก่อนว่า ขั้นตอนการถามหาเครื่องปลายทางนั้นถูกกำหนดไว้ให้ใช้การถามหาในรูปแบบใด ซึ่งรูปแบบการค้นหานั้นแบ่งเป็น 4 รูปแบบดังนี้

รูปแบบที่ 1 b-node (Broadcast)

เป็นการถามหาโดยจะหาจาก Cache ในเครื่องตัวเองก่อน ซึ่งการได้ Cache มานั้นแน่นอนว่า ย่อมมีการติดต่อสื่อสารกันมาก่อนหน้านั้นแล้วจึงจะมี Cache เกิดขึ้น และแน่นอน ถ้าหากไม่มีการสื่อสารกันครั้งแรกเกิดขึ้น Cache ก็ย่อมไม่มี มันก็จะทำการค้นหาต่อไปโดยการ Broadcast ตะโกนหาว่าเครื่องใดชื่อ COM1 ถ้ามี มันก็จะตอบกลับมาพร้อมกับหมายเลข IP Address แล้วจึงทำการสื่อสารกัน
b-node (Broadcast)
วิธีนี้จะมีผลเสียคือ กระบวนการที่จะเกิดขึ้นทุกครั้งคือการ Broadcast ซึ่งจะทำให้เกิดทราฟฟิกในเครือข่ายมาก

รูปแบบที่ 2 p-node (peer to peer)

รูปแบบนี้ก็จะยังคงการถามหาจาก Cache ในเครื่องตัวเองก่อนเช่นกัน แต่ถ้าหากไม่สามารถค้นหา IP Address ปลายทางจาก Cache ตัวเองได้ มันก็จะสอบถามไปยังเครื่อง WINS Server (วินซ์) ซึ่งสุดท้ายแล้ว WINS Server ก็จะตอบคำถามกลับมาเป็นเลข IP Address ปลายทางเช่นเดียวกัน
p-node (peer to peer)
วิธีนี้จะมีจุดอ่อนคือ หากไม่สามารถติดต่อ WINS Server ได้ ก็จะไม่สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้เลย แม้ว่าคอมพิวเตอร์ปลายทางนั้นมีอยู่จริงก็ตาม

รูปแบบที่ 3 m-node (Mixed)

จะเป็นการค้นหาเริ่มจาก Cache ในเครื่องตัวเองอีกเช่นกัน แต่เมื่อค้นหาไม่พบ จึงจะทำการ Broadcast ออกไปเพื่อค้นหา IP Address เครื่องปลายทาง แต่ถ้ายังไม่พบอีก ก็จะไปสอบถามจาก WINS Server แทน
m-node (Mixed)
วิธีนี้เป็นการผสมระหว่าง b-node และ p-node แต่ก็ยังมีจุดอ่อนตรงที่ แม้จะมี WINS Server คอยตอบคำถามในการ Resolve IP Address แล้ว แต่มันก็ยังคงมีทางเลือกเป็นการ Broadcast ก่อนอยู่ดี ทราฟฟิกจะถูกส่งออกกระจายไปยังทุกเครื่องเสมอ เช่นเดียวกับ b-node แต่ก็ยังมีแผนสำรองตรงที่ หากไม่สามารถ Broadcase ถามหา IP Address ได้ไม่ว่าจะอะไรก็ตาม ก็ยังคงมี WINS Server คอยตอบคำถามให้เสมอ

รูปแบบที่ 4 h-node (Hybrid)

รูปแบบนี้จะทำการค้นหาจาก Cache ในเครื่องตัวเองก่อน (อีกแล้ว) เมื่อไม่สามารถค้นหา IP Address ของเครื่องปลายทางได้ ก็จะสอบถามไปยัง WINS Server เพื่อค้นหา IP Address บน WINS Server และในที่สุดถ้า WINS Server ไม่สามารถตอบได้ ก็จะใช้การ Broadcast เพื่อตะโกนถามหาทุกเครื่องเป็นขั้นสุดท้าย
h-node (Hybrid)
จะเห็นได้ว่า รูปแบบที่ 4 Hybrid นั้นจะมีประโยชน์มากกว่า เพราะจะใช้การ Broadcast เป็นทางเลือกสุดท้ายเพื่อลดทราฟฟิกในเครือข่าย โดยหากไหน ๆ ก็มี WINS Server ไว้รอแล้ว ก็วิ่งไปถามที่ WINS Server ก่อนเสียเลย ซึ่งจะต้องมีคำตอบเป็น IP Address ให้ค่อนข้างแน่นอน
แล้วแต่ละรูปแบบนั้นถูกกำหนดไว้เป็นแบบใดในเครื่องคอมพิวเตอร์ คุณสามารถกำหนดได้จาก Option ของ DHCP Server หรืออีกวิธีคือการกำหนดผ่านค่า Registry บนเครื่องคุณเอง ซึ่งค่าเริ่มต้นในสมัยนี้ส่วนมากได้ถูกกำหนดมาเป็น Hybrid อยู่แล้ว คุณสามารถตรวจสอบได้ด้วยคำสั่ง ipconfig /all
ipconfig /all

DNS name resolution

การที่เรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์โดยระบบ DNS ไม่ว่าจะเป็นการ Ping หรือเรียก Web Server นั้น องค์ประกอบ 2 สิ่งที่จะต้องมีก่อนคือ การกำหนดค่า DNS Server บนเครื่องต้นทาง และจะต้องมีเครื่อง DNS Server ตั้งท่ารอไว้ด้วย ซึ่งการทำงานที่เกิดขึ้นคือ เมื่อมีการเรียกเครื่องปลายทาง เช่น ด้วยการ Ping หรือเรียก Web Server, จะมีการไปสอบถามค้นหาจาก DNS Server ว่าเครื่องที่กำลังถูกเรียกหานั้น มี IP Address เป็นอะไร เมื่อค้นหาคำตอบได้แล้วจึงส่งกลับไปให้เครื่องต้นทางทราบเพื่อนำ IP Address นั้นไปสื่อสาร โดยจะเห็นว่า วิธีนี้จะไม่ใช้การตะโกนถามหา แต่จะเหมือนกับมีผู้คอยตอบคำถามยืนรออยู่ ซึ่งจะทำให้คุณได้รับคำตอบทันที ดังนั้น ปัญหาที่คุณพบเมื่อเรียกชื่อเว็บไซต์แล้วเข้าไม่ได้ แต่เรียกด้วย IP Address กลับเข้าได้ ก็แสดงว่า การทำงานของ DNS Server นั้นมีปัญหาเสียแล้ว อาจจะต้องตรวจสอบว่ากำหนดค่า DNS บนเครื่องต้นทางถูกต้องหรือไม่ และบน DNS Server มี IP Address สำหรับให้คำตอบอยู่หรือไม่
DNS Query
ทั้งหมดนี้ก็เป็นแนวทางที่แปลกแหวกแนวไปบ้างถ้าหากจะเอาไปเทียบกับตำรา วิชาการ แต่คิดว่ามันคงเป็นสิ่งที่จะทำให้คุณมองถึงการใช้งานจริงได้ง่ายขึ้น ก่อนที่จะไปอ่านตำรายุบยับหลังจากนี้ แล้วน่าจะวาดภาพในหัวได้ง่ายขึ้น เนอะ...

http://www.itsesa.com/kb/dns-vs-netbios.html

Setup WINs Server


WINs Server
WINs Server คืออะไร คำถามนี้ผมลองค้นเจอตามเว็บไซต์ต่าง ๆ มากมาย แต่เชื่อไหมครับว่า คำตอบเหล่านั้นก็ยังเคลือบแคลงความสงสัยให้กับคุณอยู่ดี เพราะทุกวันนี้คำถามว่า WINs Server (Windows Internet Naming Service) คืออะไรก็ยังผุดอยู่ให้เห็น เอาเป็นว่าข้อมูลที่คุณค้นเจอนั้นเป็นออกแนววิชาการละกัน แต่ผมนั้นจะชวนคุณมาปฏิบัติให้บรรลุกันเสียที
ยังจำเรื่อง NETBIOS ที่เคยกล่าวถึงไปได้ไหมครับ ว่ากระบวนการเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการ Ping เช่น Ping com1
หรือเรียกชื่อเว็บไซต์ด้วยชื่อแบบไม่มีลำดับชั้น เช่น http://com1
หรือ Browse Computer ผ่าน UNC Path เช่น \\com1
ชื่อเหล่านี้เป็นรูปแบบของ NETBIOS ซึ่งถ้าหากเรามองง่าย ๆ มันก็คือชื่อประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง จะเห็นว่าไม่มีการแบ่งเป็นลำดับชั้นที่คั่นด้วยจุดเหมือนระบบ Domain name โดยที่ระบบโดเมนนั้น จะมี DNS Server เป็นฐานข้อมูลในการเก็บรวบรวม Record ต่าง ๆ ที่ Computer ได้มา Register ไว้ ทำให้เวลาเราค้นหา Host ใด ๆ ก็ตาม ก็สามารถไปถามจาก DNS Server ได้ทันที
แล้ว NETBIOS ล่ะ จะไปหาจากไหน อะไรเป็นตัวเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้, ถ้าคุณไม่มี WINs Server ก็ตัวใครตัวมันครับ ต่างคนต่างเก็บชื่อตัวเองไว้, ผมยกตัวอย่างให้ดังนี้ครับ
สมมติว่าคุณเป็นอาจารย์ แล้วจะตามหาเด็กนักเรียนคนหนึ่ง ซึ่งไม่รู้ว่าอยู่ชั้นไหน ห้องอะไร สิ่งที่คุณจะทำก่อนก็คือ นึกก่อนครับ คิดเอาจากหัวสมองก่อนว่าตัวเองจำได้หรือเปล่า หรือว่าเคยรู้จักนักเรียนคนนั้นไหม จำได้หรือไม่ว่าอยู่ชั้นไหน ห้องอะไร ถ้าคุณจำได้ ก็สามารถเดินไปพบนักเรียนคนนั้นได้ทันที ตรงนี้ผมเปรียบให้เหมือนกับแคชครับ โดย Computer จะค้นหาจาก Cache ที่มีอยู่ก่อนนั่นเอง
ต่อมา ถ้าคุณไม่มี Cache ซึ่งก็คือคุณไม่รู้จักเด็กคนนั้น หรือลืมเด็กคนนั้นไปแล้ว สิ่งที่คุณจะทำก็คือ ประกาศถามหาชื่อเด็กคนนั้นว่าอยู่ห้องไหน ซึ่งเด็กคนอื่น ๆ ก็จะได้ยินเหมือนกันทั้งโรงเรียน แต่ถ้าไม่ใช่ชื่อของนักเรียนคนนั้น เค้าก็จะไม่มาหาคุณใช่ไหมครับ และถ้าใครมีชื่อดังกล่าว ก็จะตอบกลับมาหาคุณเอง ตรงนี้ผมเปรียบให้เหมือนกับ Broadcast นั่นเอง
และถ้าคุณไม่อยากเสียเวลานึก หรือไปตะโกนประกาศถามหาเอาล่ะก็ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ ไปค้นหาจากระเบียนนักเรียน ซึ่งในระเบียนเหล่านั้นก็จะมีรายชื่อ เลขประจำตัว ชั้นเรียน ห้องเรียนของทุกคนไว้ ทำให้เมื่อเวลาคุณไปค้นหาจากระเบียนนั้นก็สามารถพบได้ทันที ตรงนี้ผมก็จะเปรียบระเบียนเหมือนกับ WINs Server นี่แหล่ะ
ต่อมาเมื่อคุณรู้จักกับเด็กคนนั้นแล้ว ก็จะทำให้คุณมีความจำขึ้นมา ซึ่งนั่นก็คือ Cache ทำให้ครั้งต่อไปที่คุณจะถามหาเด็กนักเรียนคนนั้นอีก ก็จะใช้จากความจำ Cache ไปพบนักเรียนคนนั้นได้ทันที โดยไม่ต้องไปประกาศ หรือไปเปิดค้นหาจากระเบียนอีกครั้งให้เสียเวลา
ไปดูข้อมูลประกอบได้ที่ หัวข้อ NETBIOS name resolution http://www.itsesa.com/kb/dns-vs-netbios.html
เอาล่ะ ทีนี้ก็น่าจะพอนิยามได้แล้วว่า WINs Server ก็คือฐานข้อมูลของชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือชื่อ Host ทั้งหลายนั่นเอง ร่ายมาซะยาว เข้าสู่การติดตั้ง WINs Server กันเลยดีกว่า

Add WINs Server feature

เปิด Server Manager ขึ้นมา แล้วคลิกขวาที่ Features, เลือก Add Features
Add WINs Server feature
หน้า Select Features เลือก WINS Server
Select WINS feature
หน้า Confirm Installation Selections คลิก Install
Install WINs Server
เสร็จแล้วเปิด WINS ขึ้นมาตรวจสอบ
WINs Server
ให้ WINS แสดง Record ที่ได้บันทึกชื่อ Host ต่าง ๆ ไว้ โดยคลิกขวาที่ Active Registrations แล้วเลือก Display Records
Display WINs Record
เลือกแถบ Record Types, เลือกรายการ WorkStation, คลิก Find Now
WINs Record Type
ก็จะพบกับ Record ของ WINs Server ที่เก็บรวบรวมชื่อ Host เอาไว้
WINs Record
ซึ่งการที่คุณมี WINs Server เอาไว้นั้น ก็เพื่อคอยตอบคำถาม Host name แบบ NETBIOS โดยที่มุ่งเป้าหมายมาถามที่เครื่อง WINs Server นี้ และเลี่ยงการ Broadcast เพื่อลดทราฟฟิคของ Network
โดยไม่จำเป็นอีกด้วย


http://www.itsesa.com/deployment/setup-wins-server.html

10/17/2557

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบรีโมทด้วย TeamViewer

โปรแกรม TeamViewer เป็นโปรแกรมสำหรับการใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากระยะไกลตัวหนึ่งที่น่า สนใจ เนื่องจากมีฟีเจอร์ที่ดีและมีระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ ขนาดโปรแกรมไม่ใหญ่มาก สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมลงเครื่อง และมีทั้งเวอร์ชันที่สามารถใช้งานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (เวอร์ชัน personal /non-commercial use) และเวอร์ชันเชิงพาณิชย์ ท่านใดสนใจก็สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://www.teamviewer.com/download/index.aspx ครับ
TeamViewer เป็นโปรแกรม Remote Desktop แบบ One-Stop คือ นอกจากใช้งานในแบบ Remote Support ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานในลักษณะ Remote presentation และ Remote administration ได้อีกด้วย ที่สำคัญอีกอย่างคือสามารถใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยที่ไม่ต้องทำการคอน ฟิกไฟร์วอลล์ใหม่ นอกจากนี้มีทั้งเวอร์ชันสำหรับใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติ การวินโดวส์และเวอร์ชันสำหรับใช้งานบนแม็คอินทอช

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ TeamViewer
TeamViewer มีฟีเจอร์ต่างๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้
• Remote Support สามารถควบคุมคอมพิวเตอร์จากระยะไกลจากที่ใดก็ได้ผ่านทางแลนหรืออินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมลงเครื่องทั้งด้านเครื่องต้นทางและเครื่อง ปลายทาง และในขณะที่ทำการเชื่อมต่ออยู่ยูสเซอร์ที่ทำงานหน้าเครื่องยังสามารถใช้งาน ได้ตามปกติ
• Remote presentation สามารถนำเสนองานต่างๆ จากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางได้
• Works behind firewalls สามารถใช้งานข้ามเครือข่ายหรือผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยที่ไม่ต้องทำการคอนฟิก ไฟร์วอลล์ใหม่ เนื่องจากโปรแกรม TeamViewer จะทำการค้นหาเครื่องปลายทางและปรับพอร์ตการทำงานโดยอัตโนมัติ
• File transfer สามารถทำการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่องปลายทางกับเครื่องต้นทาง ถึงแม้ว่าจะมีไฟร์วอลล์กั้นอยู่ก็ตาม โดยที่ไม่ต้องทำการคอนฟิกไฟร์วอลล์ใหม่
• High security standard โปรแกรม TeamViewer ทุกเวอร์ชันจะใช้มาตรฐานการเข้ารหัสแบบ RC4
• Flexible use for a variety of applications สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การซัพพอร์ตยูสเซอร์แบบออนไลน์ การนำเสนอผลงาน การรับ-ส่งไฟล์ เป็นต้น
• No installation required โปรแกรม TeamViewer สามารถใช้งานโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมลงเครื่องทั้งด้านเครื่องต้นทาง และเครื่องปลายทาง ทำให้สามารถพกพาไปใช้งานได้สะดวก

รายละเอียดเกี่ยวกับโปรแรกม TeamViewer
เวอร์ชัน: 3.5.4437
ขนาดไฟล์: 1.318 MB
ภาษา: อังกฤษ
ประเภทไลเซนส์: personal /non-commercial use
ผู้พัฒนา: TeamViewer (เว็บไซต์ http://www.teamviewer.com/)

การติดตั้ง TeamViewer
การติดตั้ง TeamViewer นั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ TeamViewer_Setup.exe (หากโปแกรมป้องกันไวรัสถามแจ้งเตือนให้คลิก Skip หรือ Permit)
2. ในหน้า Welcome to TeamViewer ให้เลือก Install และเลือกเช็คบ็อกซ์ Show Advanced settings เสร็จแล้วคลิก Next



3. ในหน้า Environment ให้เลือกเป็น personal /non-commercial use เสร็จแล้วคลิก Next



4. ในหน้า License Agreement ให้เลือกลือกเช็คบ็อกซ์ I accept the terms in the License Agreement และเช็คบ็อกซ์ I agree thw I will only use TeamViewer for non-commercial and private use เสร็จแล้วคลิก Next



5. ในหน้า Choose installation type แนะนำให้เลือกเป็น Start automatically with Windows และให้ใส่รหัสผ่านในกล่อง Password: และ Confirm password: เหมือนกัน 2 ครั้ง เสร็จแล้วคลิก Next



6. ในหน้า Install VPN adapter ให้คลิก Next
7. ในหน้า Choose Installation Location ให้คลิก Next เพื่อใช้ค่าที่โปรแกรมกำหนดให้ หากต้องการกำหนดเองให้ใส่พาธเต็มของโฟลเดอร์ที่จะใช้ในการติดตั้งหรือคลิ กปุ่ม Browse แล้วเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก Next



8. ในหน้า Choose Start menu Folder ให้คลิก Next เพื่อใช้ค่าที่โปรแกรมกำหนดให้ แล้วคลิก Install



9. ในหน้า Completeing the TeamViewer 3 Setup Wizard ให้คลิก Finish



การตั้งค่าบนเครื่อง TeamViewer
หลัง จากทำการติดตั้งเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการคอนฟิกการเชื่อมต่อ ซึ่งจะมีอยู่ 2 กรณี คือ การใช้งานผ่านทางแลนและการใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ต

• การใช้งานผ่านทางแลน
โดยดีฟอลท์ TeamViewer จะไม่เปิดการใช้งานผ่านทางแลน โดยจะต้องทำการคอนฟิก ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เปิดโปรแกรม TeamViewer โดยการดับเบิลคลิดไอคอนโปรแรกมบนเดสก์ท็อปหรือคลิกที่ไอคอนที่แอยู่บนถาดระบบ
2. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer คลิก Extra แล้วคลิก Options



3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ TeamViewer Options ในส่วน Connection คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ Accept incoming LAN connections เสร็จแล้วคลิก OK



4. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer ให้คลิกปุ่ม Minimize เพื่อจบการทำงาน

• การใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ต
โดย ดีฟอลท์ TeamViewer จะเปิดการใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ และคอนฟิกให้ใช้พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ของเว็บบราวเซอร์ อย่างไรก็ตามสำหรับในองค์กรที่การออกอินเทอร์เน็ตผ่านพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ทำ การออเท็นติเคชัน จะต้องทำการคอนฟิกเพิ่มเติมตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เปิดโปรแกรม TeamViewer โดยการดับเบิลคลิดไอคอนโปรแรกมบนเดสก์ท็อปหรือคลิกที่ไอคอนที่แอยู่บนถาดระบบ
2. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer คลิก Extra แล้วคลิก Options
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ TeamViewer Options ในส่วน Connection คลิกปุ่ม Proxy settings...
4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Proxy Settings ให้เลือกเป็น Use mannual proxy: แล้วใส่หมายเลขไอพีของพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ในกล่อง Proxy IP: ใส่หมายเลขพอร์ตของพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ในกล่อง Port: และใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในช่อง Username และ Password ตามลำดับ เสร็จแล้วคลิก OK



5. เสร็จแล้วคลิก OK
6. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer ให้คลิกปุ่ม Minimize เพื่อจบการทำงาน

เริ่มต้นใช้งาน TeamViewer
หลังจากทำการคอนฟิกเครื่อง TeamViewer ต้นทางเสร็จเรียบร้อยแล้ว บนเครื่องปลายทางให้รันโปรแกรม TeamViewer ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ TeamViewer_Setup.exe
2. ในหน้า Welcome to TeamViewer ให้เลือก Run เสร็จแล้วคลิก Next



3. ในหน้า License Agreement ให้เลือกลือกเช็คบ็อกซ์ I accept the terms in the License Agreement เสร็จแล้วคลิก Next



4. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer ในส่วน Create Session ให้ใส่หมายเลขไอพีของเครื่องที่ต้องการเชื่อมต่อโดย Remote Desktop แล้วคลิกปุ่ม Connect to partner



5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ TeamViewer Authentication ให้ใส่รหัสผ่านที่กำหนดในขั้นตอน "การใช้งานผ่านทางแลน" ด้านบน แล้วคลิกปุ่ม Log On



6. หลังจากทำการ Log On เสร็จก็สามารถใช้งานต่างๆ เหมือนกับการนั่งทำงานหน้าเครื่อง
7. หากไม่ต้องการใช้งานต่อให้ Disconnect โดยการคลิกที่ไอคอนเครื่องหมายกากบาท

• ที่มา: Thai Windows Administrator Blog