10/30/2557

DNS VS NETBIOS DNS กับ NETBIOS มันต่างกันอย่างไร

DNS VS NETBIOS
เคยสับสนไหมครับว่า DNS กับ NETBIOS มันต่างกันอย่างไร หรือทุกวันนี้คิดว่ามันคือสิ่งเดียวกันจนคุณแยกมันไม่ออก จนเป็นที่มาของหลายปัญหาเช่น Ping ชื่อเครื่องเจอ, Ping ชื่อเว็บไม่เจอ, ทำไมใช้ IP เข้าได้, ทำไมใช้ชื่อเข้าไม่ได้ แล้วเรียกใช้งานยังไง เอาล่ะวันนี้จะมาแถลงไขกันให้ง่าย ๆ
DNS ย่อมาจาก Domain Name System แปลตรงตัวเลยคือ ระบบชื่อโดเมน ถ้าคุณไปค้นหาตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ คุณจะต้องพบกับศัพท์เทคนิคยาก ๆ หลายอย่าง มีรูทไอนั่น มีรูทไอนี่ อันนี้เป็น Parent อันนี้เป็น Child อ่านแล้วงงแทนครับ แต่มันก็เป็นทฤษฎีที่ดีนะครับถ้าหากคุณเข้าใจก่อนว่าสิ่งที่เค้ากำลังพูดถึง มันหมายถึงอะไร ดังนั้นเราจะมาทำความเข้าใจกันง่าย ๆ กับ DNS ดังนี้
DNS จะมีการเรียกอ้างอิงแบบเป็นลำดับชั้น (นั่นเริ่มยากกับเค้าละ) คือมีการแบ่งลำดับชั้นด้วยเครื่องหมาย จุด (.) เช่น คุณจะเรียกโดเมน a.local จะเห็นว่า คุณกำลังเรียกหาเจ้าของที่ชื่อว่า a ซึ่ง a นั้น อยู่ภายใต้ local
หรือคุณจะเรียกหาโดเมน x.a.local นั่นแสดงว่า คุณกำลังเรียกหาเจ้าของที่ชื่อว่า x โดยที่ x นั้นอยู่ภายใต้ a.local
พยายามให้คุณมองว่า สิ่งที่คุณกำลังเรียกหานั้น คือคำแรกก่อนที่จะเจอเครื่องหมายจุด และสิ่งที่คุณจะได้กลับมา คุณก็จะได้ x ตอบกลับมาโดยตรง คุณจะได้สิ่งที่อยู่ใน x ตอบกลับมา ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ใน a.local ตัวอย่างเช่น
คุณเรียกเว็บไซต์ a.local คุณก็จะได้เว็บไซต์ a ตอบกลับมายัง Browser
คุณเรียกเว็บไซต์ x.a.local คุณก็จะได้เว็บไซต์ x กลับมา ไม่ใช่เว็บไซต์ a
DNS Level
จะเห็นจากภาพได้ว่า คุณเรียกถึงลำดับชั้นใด คุณก็จะได้ลำดับชั้นนั้นตอบกลับมา
ทีนี้ DNS มันไม่ได้เอาไว้ใช้กับเรื่องเว็บไซต์อย่างเดียว มันอาจจะถูกกำหนดให้กับชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ หรือชื่อเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่เป็น Domain Controller ก็ได้ ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบกับภาพเดิม เวลาคุณเรียกถึงชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น
คุณเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ computer.local คุณก็จะได้รับการ Reply จาก computer กลับมา
คุณเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ notebook.computer.local คุณก็จะได้รับการ Reply จาก notebook กลับมา
การที่มันมีลำดับชั้นที่ถูกแบ่งคั่นด้วยจุด (.) นั่นหมายถึงว่า ลำดับชั้นมีมีความสัมพันธ์ต่อกัน ซึ่งความสัมพันธ์นี้จะถูกมองได้หลายกรณี เช่น notebook.computer.local ก็จะหมายถึง notebook อยู่ภายใต้ computer ซึ่งอาจมีการใช้ทรัพยากรที่อยู่ในขอบเขตเดียวกัน, การยืนยันตัวตนที่อยู่ในขอบเขตเดียวกัน, การสอบถามจากแหล่งเดียวกันได้ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถถูกสืบทอดมาได้ เพราะมันมีความสัมพันธ์กัน แต่เพียงถูกคั่นด้วย จุด เท่านั้นเอง
NETBIOS ย่อมาจาก Network Basic Input/Output System อันนี้ถ้าคุณไปค้นหาตามแหล่งข้อมูลล่ะก็ ผมเชื่อได้เลยว่าคุณจะต้องพบกับประวัติศาสตร์ชาติตระกูลของ NETBIOS ตั้งแต่สมัยฟริ้นสโตน ที่มีการกลายพันธุ์มาจาก NET นั่น NET นี่ ซึ่งเรื่องนี้ ผมไม่หยิบมาเล่าละกัน เพราะมันซ้ำกับข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
NETBIOS ผมบอกสั้น ๆ เลยว่า มันคือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ จบ !! ไม่มีลำดับชั้น ไม่มีจุด ไม่มีความสัมพันธ์ในขอบเขตใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าคุณเรียกชื่อเครื่อง computer เช่น COM1 คุณก็จะได้คำตอบ Reply จาก COM1 กลับมา แค่นั้น

แล้ว DNS กับ NETBIOS ทำงานต่างกันอย่างไร ?

จำเหตุการณ์ที่คุณเข้าเว็บผ่าน IP ได้ แต่เข้าผ่านชื่อโดเมนไม่ได้ บ้างไหมครับ หรือเหตุการณ์ที่คุณเรียกชื่อเครื่องได้ แต่เรียกชื่อเว็บไม่ได้ อะไรก็แล้วแต่ที่คุณล้วนเคยเจอมา สามารถอธิบายได้ดังนี้
การสื่อสารสำหรับคอมพิวเตอร์ จะใช้สิ่งที่สำคัญอยู่ 2 อย่าง คือ IP Address กับ MAC Address ซึ่งในเรื่องของ MAC Address นั้นจะมีกระบวนการของมันอีก แต่จะยังไม่พูดถึง ผมอยากให้โฟกัสไปที่เรื่อง IP Address อย่างเดียว โดยที่บอกไว้คือ ไม่ว่าจะเป็นชื่อแบบไหนก็แล้วแต่ จะ NETBIOS หรือ DNS สุดท้ายของกระบวนการสิ่งที่ได้มาคือ เลข IP Address ทั้งสิ้น เครื่องจะคุยกันผ่าน IP Address ล้วน ๆ ไม่ใช่ชื่อเครื่อง หรือ ชื่อโดเมนเนม ดังนั้น เมื่อคุณเรียกชื่อเครื่องใด ๆ ก็แล้วแต่ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน หรือต่างเครือข่ายที่ทราฟฟิกสามารถวิ่งถึงกันได้ การเรียกแบบ IP Address ย่อมสำเร็จเสมอ
แต่การที่นำชื่อ NETBIOS หรือ DNS มาตั้งชื่อแทนการเรียกแบบ IP Address นั้น มันทำให้จดจำง่ายเท่า นั้นเอง ซึ่งไม่ว่าคุณจะเรียกปลายทางในรูปแบบใด สุดท้ายมันก็จะต้องทำการค้นหาว่า ชื่อที่คุณเรียก มี IP Address เป็นอะไร แล้วมันจึงนำ IP Address นั้นไปสื่อสารกันเอง ดังนั้นเหตุการณ์ที่ว่าเมื่อคุณเรียกปลายทางด้วยชื่อใด ๆ แล้วไม่สามารถติดต่อได้ นั่นแสดงว่า กระบวนการ Name Resolution ของคุณนั้นไม่สามารถทำงานได้สมบูรณ์ พูดง่าย ๆ ก็คือ มันไม่สามารถแปลงชื่อเป็น IP Address ได้นั่นเอง เมื่อไม่มี IP Address ก็ไม่สามารถคุยกันได้ ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้, OK มั๊ย ?

NETBIOS name resolution

การที่คุณเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการ Ping หรือเรียก Web Server โดยใช้เพียงชื่อ NETBIOS เช่น Ping COM1 หรือ http://COM1 หรือ Browse Computer ผ่าน Network เช่น \\COM1 กระบวนการของมันคือ มันจะตรวจสอบก่อนว่า ขั้นตอนการถามหาเครื่องปลายทางนั้นถูกกำหนดไว้ให้ใช้การถามหาในรูปแบบใด ซึ่งรูปแบบการค้นหานั้นแบ่งเป็น 4 รูปแบบดังนี้

รูปแบบที่ 1 b-node (Broadcast)

เป็นการถามหาโดยจะหาจาก Cache ในเครื่องตัวเองก่อน ซึ่งการได้ Cache มานั้นแน่นอนว่า ย่อมมีการติดต่อสื่อสารกันมาก่อนหน้านั้นแล้วจึงจะมี Cache เกิดขึ้น และแน่นอน ถ้าหากไม่มีการสื่อสารกันครั้งแรกเกิดขึ้น Cache ก็ย่อมไม่มี มันก็จะทำการค้นหาต่อไปโดยการ Broadcast ตะโกนหาว่าเครื่องใดชื่อ COM1 ถ้ามี มันก็จะตอบกลับมาพร้อมกับหมายเลข IP Address แล้วจึงทำการสื่อสารกัน
b-node (Broadcast)
วิธีนี้จะมีผลเสียคือ กระบวนการที่จะเกิดขึ้นทุกครั้งคือการ Broadcast ซึ่งจะทำให้เกิดทราฟฟิกในเครือข่ายมาก

รูปแบบที่ 2 p-node (peer to peer)

รูปแบบนี้ก็จะยังคงการถามหาจาก Cache ในเครื่องตัวเองก่อนเช่นกัน แต่ถ้าหากไม่สามารถค้นหา IP Address ปลายทางจาก Cache ตัวเองได้ มันก็จะสอบถามไปยังเครื่อง WINS Server (วินซ์) ซึ่งสุดท้ายแล้ว WINS Server ก็จะตอบคำถามกลับมาเป็นเลข IP Address ปลายทางเช่นเดียวกัน
p-node (peer to peer)
วิธีนี้จะมีจุดอ่อนคือ หากไม่สามารถติดต่อ WINS Server ได้ ก็จะไม่สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้เลย แม้ว่าคอมพิวเตอร์ปลายทางนั้นมีอยู่จริงก็ตาม

รูปแบบที่ 3 m-node (Mixed)

จะเป็นการค้นหาเริ่มจาก Cache ในเครื่องตัวเองอีกเช่นกัน แต่เมื่อค้นหาไม่พบ จึงจะทำการ Broadcast ออกไปเพื่อค้นหา IP Address เครื่องปลายทาง แต่ถ้ายังไม่พบอีก ก็จะไปสอบถามจาก WINS Server แทน
m-node (Mixed)
วิธีนี้เป็นการผสมระหว่าง b-node และ p-node แต่ก็ยังมีจุดอ่อนตรงที่ แม้จะมี WINS Server คอยตอบคำถามในการ Resolve IP Address แล้ว แต่มันก็ยังคงมีทางเลือกเป็นการ Broadcast ก่อนอยู่ดี ทราฟฟิกจะถูกส่งออกกระจายไปยังทุกเครื่องเสมอ เช่นเดียวกับ b-node แต่ก็ยังมีแผนสำรองตรงที่ หากไม่สามารถ Broadcase ถามหา IP Address ได้ไม่ว่าจะอะไรก็ตาม ก็ยังคงมี WINS Server คอยตอบคำถามให้เสมอ

รูปแบบที่ 4 h-node (Hybrid)

รูปแบบนี้จะทำการค้นหาจาก Cache ในเครื่องตัวเองก่อน (อีกแล้ว) เมื่อไม่สามารถค้นหา IP Address ของเครื่องปลายทางได้ ก็จะสอบถามไปยัง WINS Server เพื่อค้นหา IP Address บน WINS Server และในที่สุดถ้า WINS Server ไม่สามารถตอบได้ ก็จะใช้การ Broadcast เพื่อตะโกนถามหาทุกเครื่องเป็นขั้นสุดท้าย
h-node (Hybrid)
จะเห็นได้ว่า รูปแบบที่ 4 Hybrid นั้นจะมีประโยชน์มากกว่า เพราะจะใช้การ Broadcast เป็นทางเลือกสุดท้ายเพื่อลดทราฟฟิกในเครือข่าย โดยหากไหน ๆ ก็มี WINS Server ไว้รอแล้ว ก็วิ่งไปถามที่ WINS Server ก่อนเสียเลย ซึ่งจะต้องมีคำตอบเป็น IP Address ให้ค่อนข้างแน่นอน
แล้วแต่ละรูปแบบนั้นถูกกำหนดไว้เป็นแบบใดในเครื่องคอมพิวเตอร์ คุณสามารถกำหนดได้จาก Option ของ DHCP Server หรืออีกวิธีคือการกำหนดผ่านค่า Registry บนเครื่องคุณเอง ซึ่งค่าเริ่มต้นในสมัยนี้ส่วนมากได้ถูกกำหนดมาเป็น Hybrid อยู่แล้ว คุณสามารถตรวจสอบได้ด้วยคำสั่ง ipconfig /all
ipconfig /all

DNS name resolution

การที่เรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์โดยระบบ DNS ไม่ว่าจะเป็นการ Ping หรือเรียก Web Server นั้น องค์ประกอบ 2 สิ่งที่จะต้องมีก่อนคือ การกำหนดค่า DNS Server บนเครื่องต้นทาง และจะต้องมีเครื่อง DNS Server ตั้งท่ารอไว้ด้วย ซึ่งการทำงานที่เกิดขึ้นคือ เมื่อมีการเรียกเครื่องปลายทาง เช่น ด้วยการ Ping หรือเรียก Web Server, จะมีการไปสอบถามค้นหาจาก DNS Server ว่าเครื่องที่กำลังถูกเรียกหานั้น มี IP Address เป็นอะไร เมื่อค้นหาคำตอบได้แล้วจึงส่งกลับไปให้เครื่องต้นทางทราบเพื่อนำ IP Address นั้นไปสื่อสาร โดยจะเห็นว่า วิธีนี้จะไม่ใช้การตะโกนถามหา แต่จะเหมือนกับมีผู้คอยตอบคำถามยืนรออยู่ ซึ่งจะทำให้คุณได้รับคำตอบทันที ดังนั้น ปัญหาที่คุณพบเมื่อเรียกชื่อเว็บไซต์แล้วเข้าไม่ได้ แต่เรียกด้วย IP Address กลับเข้าได้ ก็แสดงว่า การทำงานของ DNS Server นั้นมีปัญหาเสียแล้ว อาจจะต้องตรวจสอบว่ากำหนดค่า DNS บนเครื่องต้นทางถูกต้องหรือไม่ และบน DNS Server มี IP Address สำหรับให้คำตอบอยู่หรือไม่
DNS Query
ทั้งหมดนี้ก็เป็นแนวทางที่แปลกแหวกแนวไปบ้างถ้าหากจะเอาไปเทียบกับตำรา วิชาการ แต่คิดว่ามันคงเป็นสิ่งที่จะทำให้คุณมองถึงการใช้งานจริงได้ง่ายขึ้น ก่อนที่จะไปอ่านตำรายุบยับหลังจากนี้ แล้วน่าจะวาดภาพในหัวได้ง่ายขึ้น เนอะ...

http://www.itsesa.com/kb/dns-vs-netbios.html

Setup WINs Server


WINs Server
WINs Server คืออะไร คำถามนี้ผมลองค้นเจอตามเว็บไซต์ต่าง ๆ มากมาย แต่เชื่อไหมครับว่า คำตอบเหล่านั้นก็ยังเคลือบแคลงความสงสัยให้กับคุณอยู่ดี เพราะทุกวันนี้คำถามว่า WINs Server (Windows Internet Naming Service) คืออะไรก็ยังผุดอยู่ให้เห็น เอาเป็นว่าข้อมูลที่คุณค้นเจอนั้นเป็นออกแนววิชาการละกัน แต่ผมนั้นจะชวนคุณมาปฏิบัติให้บรรลุกันเสียที
ยังจำเรื่อง NETBIOS ที่เคยกล่าวถึงไปได้ไหมครับ ว่ากระบวนการเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการ Ping เช่น Ping com1
หรือเรียกชื่อเว็บไซต์ด้วยชื่อแบบไม่มีลำดับชั้น เช่น http://com1
หรือ Browse Computer ผ่าน UNC Path เช่น \\com1
ชื่อเหล่านี้เป็นรูปแบบของ NETBIOS ซึ่งถ้าหากเรามองง่าย ๆ มันก็คือชื่อประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง จะเห็นว่าไม่มีการแบ่งเป็นลำดับชั้นที่คั่นด้วยจุดเหมือนระบบ Domain name โดยที่ระบบโดเมนนั้น จะมี DNS Server เป็นฐานข้อมูลในการเก็บรวบรวม Record ต่าง ๆ ที่ Computer ได้มา Register ไว้ ทำให้เวลาเราค้นหา Host ใด ๆ ก็ตาม ก็สามารถไปถามจาก DNS Server ได้ทันที
แล้ว NETBIOS ล่ะ จะไปหาจากไหน อะไรเป็นตัวเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้, ถ้าคุณไม่มี WINs Server ก็ตัวใครตัวมันครับ ต่างคนต่างเก็บชื่อตัวเองไว้, ผมยกตัวอย่างให้ดังนี้ครับ
สมมติว่าคุณเป็นอาจารย์ แล้วจะตามหาเด็กนักเรียนคนหนึ่ง ซึ่งไม่รู้ว่าอยู่ชั้นไหน ห้องอะไร สิ่งที่คุณจะทำก่อนก็คือ นึกก่อนครับ คิดเอาจากหัวสมองก่อนว่าตัวเองจำได้หรือเปล่า หรือว่าเคยรู้จักนักเรียนคนนั้นไหม จำได้หรือไม่ว่าอยู่ชั้นไหน ห้องอะไร ถ้าคุณจำได้ ก็สามารถเดินไปพบนักเรียนคนนั้นได้ทันที ตรงนี้ผมเปรียบให้เหมือนกับแคชครับ โดย Computer จะค้นหาจาก Cache ที่มีอยู่ก่อนนั่นเอง
ต่อมา ถ้าคุณไม่มี Cache ซึ่งก็คือคุณไม่รู้จักเด็กคนนั้น หรือลืมเด็กคนนั้นไปแล้ว สิ่งที่คุณจะทำก็คือ ประกาศถามหาชื่อเด็กคนนั้นว่าอยู่ห้องไหน ซึ่งเด็กคนอื่น ๆ ก็จะได้ยินเหมือนกันทั้งโรงเรียน แต่ถ้าไม่ใช่ชื่อของนักเรียนคนนั้น เค้าก็จะไม่มาหาคุณใช่ไหมครับ และถ้าใครมีชื่อดังกล่าว ก็จะตอบกลับมาหาคุณเอง ตรงนี้ผมเปรียบให้เหมือนกับ Broadcast นั่นเอง
และถ้าคุณไม่อยากเสียเวลานึก หรือไปตะโกนประกาศถามหาเอาล่ะก็ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ ไปค้นหาจากระเบียนนักเรียน ซึ่งในระเบียนเหล่านั้นก็จะมีรายชื่อ เลขประจำตัว ชั้นเรียน ห้องเรียนของทุกคนไว้ ทำให้เมื่อเวลาคุณไปค้นหาจากระเบียนนั้นก็สามารถพบได้ทันที ตรงนี้ผมก็จะเปรียบระเบียนเหมือนกับ WINs Server นี่แหล่ะ
ต่อมาเมื่อคุณรู้จักกับเด็กคนนั้นแล้ว ก็จะทำให้คุณมีความจำขึ้นมา ซึ่งนั่นก็คือ Cache ทำให้ครั้งต่อไปที่คุณจะถามหาเด็กนักเรียนคนนั้นอีก ก็จะใช้จากความจำ Cache ไปพบนักเรียนคนนั้นได้ทันที โดยไม่ต้องไปประกาศ หรือไปเปิดค้นหาจากระเบียนอีกครั้งให้เสียเวลา
ไปดูข้อมูลประกอบได้ที่ หัวข้อ NETBIOS name resolution http://www.itsesa.com/kb/dns-vs-netbios.html
เอาล่ะ ทีนี้ก็น่าจะพอนิยามได้แล้วว่า WINs Server ก็คือฐานข้อมูลของชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือชื่อ Host ทั้งหลายนั่นเอง ร่ายมาซะยาว เข้าสู่การติดตั้ง WINs Server กันเลยดีกว่า

Add WINs Server feature

เปิด Server Manager ขึ้นมา แล้วคลิกขวาที่ Features, เลือก Add Features
Add WINs Server feature
หน้า Select Features เลือก WINS Server
Select WINS feature
หน้า Confirm Installation Selections คลิก Install
Install WINs Server
เสร็จแล้วเปิด WINS ขึ้นมาตรวจสอบ
WINs Server
ให้ WINS แสดง Record ที่ได้บันทึกชื่อ Host ต่าง ๆ ไว้ โดยคลิกขวาที่ Active Registrations แล้วเลือก Display Records
Display WINs Record
เลือกแถบ Record Types, เลือกรายการ WorkStation, คลิก Find Now
WINs Record Type
ก็จะพบกับ Record ของ WINs Server ที่เก็บรวบรวมชื่อ Host เอาไว้
WINs Record
ซึ่งการที่คุณมี WINs Server เอาไว้นั้น ก็เพื่อคอยตอบคำถาม Host name แบบ NETBIOS โดยที่มุ่งเป้าหมายมาถามที่เครื่อง WINs Server นี้ และเลี่ยงการ Broadcast เพื่อลดทราฟฟิคของ Network
โดยไม่จำเป็นอีกด้วย


http://www.itsesa.com/deployment/setup-wins-server.html

10/17/2557

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบรีโมทด้วย TeamViewer

โปรแกรม TeamViewer เป็นโปรแกรมสำหรับการใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากระยะไกลตัวหนึ่งที่น่า สนใจ เนื่องจากมีฟีเจอร์ที่ดีและมีระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ ขนาดโปรแกรมไม่ใหญ่มาก สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมลงเครื่อง และมีทั้งเวอร์ชันที่สามารถใช้งานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (เวอร์ชัน personal /non-commercial use) และเวอร์ชันเชิงพาณิชย์ ท่านใดสนใจก็สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://www.teamviewer.com/download/index.aspx ครับ
TeamViewer เป็นโปรแกรม Remote Desktop แบบ One-Stop คือ นอกจากใช้งานในแบบ Remote Support ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานในลักษณะ Remote presentation และ Remote administration ได้อีกด้วย ที่สำคัญอีกอย่างคือสามารถใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยที่ไม่ต้องทำการคอน ฟิกไฟร์วอลล์ใหม่ นอกจากนี้มีทั้งเวอร์ชันสำหรับใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติ การวินโดวส์และเวอร์ชันสำหรับใช้งานบนแม็คอินทอช

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ TeamViewer
TeamViewer มีฟีเจอร์ต่างๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้
• Remote Support สามารถควบคุมคอมพิวเตอร์จากระยะไกลจากที่ใดก็ได้ผ่านทางแลนหรืออินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมลงเครื่องทั้งด้านเครื่องต้นทางและเครื่อง ปลายทาง และในขณะที่ทำการเชื่อมต่ออยู่ยูสเซอร์ที่ทำงานหน้าเครื่องยังสามารถใช้งาน ได้ตามปกติ
• Remote presentation สามารถนำเสนองานต่างๆ จากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางได้
• Works behind firewalls สามารถใช้งานข้ามเครือข่ายหรือผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยที่ไม่ต้องทำการคอนฟิก ไฟร์วอลล์ใหม่ เนื่องจากโปรแกรม TeamViewer จะทำการค้นหาเครื่องปลายทางและปรับพอร์ตการทำงานโดยอัตโนมัติ
• File transfer สามารถทำการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่องปลายทางกับเครื่องต้นทาง ถึงแม้ว่าจะมีไฟร์วอลล์กั้นอยู่ก็ตาม โดยที่ไม่ต้องทำการคอนฟิกไฟร์วอลล์ใหม่
• High security standard โปรแกรม TeamViewer ทุกเวอร์ชันจะใช้มาตรฐานการเข้ารหัสแบบ RC4
• Flexible use for a variety of applications สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การซัพพอร์ตยูสเซอร์แบบออนไลน์ การนำเสนอผลงาน การรับ-ส่งไฟล์ เป็นต้น
• No installation required โปรแกรม TeamViewer สามารถใช้งานโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมลงเครื่องทั้งด้านเครื่องต้นทาง และเครื่องปลายทาง ทำให้สามารถพกพาไปใช้งานได้สะดวก

รายละเอียดเกี่ยวกับโปรแรกม TeamViewer
เวอร์ชัน: 3.5.4437
ขนาดไฟล์: 1.318 MB
ภาษา: อังกฤษ
ประเภทไลเซนส์: personal /non-commercial use
ผู้พัฒนา: TeamViewer (เว็บไซต์ http://www.teamviewer.com/)

การติดตั้ง TeamViewer
การติดตั้ง TeamViewer นั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ TeamViewer_Setup.exe (หากโปแกรมป้องกันไวรัสถามแจ้งเตือนให้คลิก Skip หรือ Permit)
2. ในหน้า Welcome to TeamViewer ให้เลือก Install และเลือกเช็คบ็อกซ์ Show Advanced settings เสร็จแล้วคลิก Next



3. ในหน้า Environment ให้เลือกเป็น personal /non-commercial use เสร็จแล้วคลิก Next



4. ในหน้า License Agreement ให้เลือกลือกเช็คบ็อกซ์ I accept the terms in the License Agreement และเช็คบ็อกซ์ I agree thw I will only use TeamViewer for non-commercial and private use เสร็จแล้วคลิก Next



5. ในหน้า Choose installation type แนะนำให้เลือกเป็น Start automatically with Windows และให้ใส่รหัสผ่านในกล่อง Password: และ Confirm password: เหมือนกัน 2 ครั้ง เสร็จแล้วคลิก Next



6. ในหน้า Install VPN adapter ให้คลิก Next
7. ในหน้า Choose Installation Location ให้คลิก Next เพื่อใช้ค่าที่โปรแกรมกำหนดให้ หากต้องการกำหนดเองให้ใส่พาธเต็มของโฟลเดอร์ที่จะใช้ในการติดตั้งหรือคลิ กปุ่ม Browse แล้วเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก Next



8. ในหน้า Choose Start menu Folder ให้คลิก Next เพื่อใช้ค่าที่โปรแกรมกำหนดให้ แล้วคลิก Install



9. ในหน้า Completeing the TeamViewer 3 Setup Wizard ให้คลิก Finish



การตั้งค่าบนเครื่อง TeamViewer
หลัง จากทำการติดตั้งเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการคอนฟิกการเชื่อมต่อ ซึ่งจะมีอยู่ 2 กรณี คือ การใช้งานผ่านทางแลนและการใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ต

• การใช้งานผ่านทางแลน
โดยดีฟอลท์ TeamViewer จะไม่เปิดการใช้งานผ่านทางแลน โดยจะต้องทำการคอนฟิก ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เปิดโปรแกรม TeamViewer โดยการดับเบิลคลิดไอคอนโปรแรกมบนเดสก์ท็อปหรือคลิกที่ไอคอนที่แอยู่บนถาดระบบ
2. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer คลิก Extra แล้วคลิก Options



3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ TeamViewer Options ในส่วน Connection คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ Accept incoming LAN connections เสร็จแล้วคลิก OK



4. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer ให้คลิกปุ่ม Minimize เพื่อจบการทำงาน

• การใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ต
โดย ดีฟอลท์ TeamViewer จะเปิดการใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ และคอนฟิกให้ใช้พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ของเว็บบราวเซอร์ อย่างไรก็ตามสำหรับในองค์กรที่การออกอินเทอร์เน็ตผ่านพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ทำ การออเท็นติเคชัน จะต้องทำการคอนฟิกเพิ่มเติมตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เปิดโปรแกรม TeamViewer โดยการดับเบิลคลิดไอคอนโปรแรกมบนเดสก์ท็อปหรือคลิกที่ไอคอนที่แอยู่บนถาดระบบ
2. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer คลิก Extra แล้วคลิก Options
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ TeamViewer Options ในส่วน Connection คลิกปุ่ม Proxy settings...
4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Proxy Settings ให้เลือกเป็น Use mannual proxy: แล้วใส่หมายเลขไอพีของพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ในกล่อง Proxy IP: ใส่หมายเลขพอร์ตของพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ในกล่อง Port: และใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในช่อง Username และ Password ตามลำดับ เสร็จแล้วคลิก OK



5. เสร็จแล้วคลิก OK
6. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer ให้คลิกปุ่ม Minimize เพื่อจบการทำงาน

เริ่มต้นใช้งาน TeamViewer
หลังจากทำการคอนฟิกเครื่อง TeamViewer ต้นทางเสร็จเรียบร้อยแล้ว บนเครื่องปลายทางให้รันโปรแกรม TeamViewer ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ TeamViewer_Setup.exe
2. ในหน้า Welcome to TeamViewer ให้เลือก Run เสร็จแล้วคลิก Next



3. ในหน้า License Agreement ให้เลือกลือกเช็คบ็อกซ์ I accept the terms in the License Agreement เสร็จแล้วคลิก Next



4. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer ในส่วน Create Session ให้ใส่หมายเลขไอพีของเครื่องที่ต้องการเชื่อมต่อโดย Remote Desktop แล้วคลิกปุ่ม Connect to partner



5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ TeamViewer Authentication ให้ใส่รหัสผ่านที่กำหนดในขั้นตอน "การใช้งานผ่านทางแลน" ด้านบน แล้วคลิกปุ่ม Log On



6. หลังจากทำการ Log On เสร็จก็สามารถใช้งานต่างๆ เหมือนกับการนั่งทำงานหน้าเครื่อง
7. หากไม่ต้องการใช้งานต่อให้ Disconnect โดยการคลิกที่ไอคอนเครื่องหมายกากบาท

• ที่มา: Thai Windows Administrator Blog

10/16/2557

วิธีแก้ TeamViewer จาก Trial Version เป็น Free สำหรับ ติดตั้งบน Windows Server

วิธีแก้ TeamViewer จาก Trial Version เป็น Free สำหรับ ติดตั้งบน Windows Server





1. Download ตัวติดตั้งจาก http://www.teamviewer.com


2. ติดตั้งโปรแกรม (ถ้าหากมีตัวเก่าที่เป็น Trial หรือ Expire แล้ว ก็ให้ Uninstall ออก ไปก่อนครับ)


3. เลือก Install กด Next จากนั้นจะมาที่หน้าที่ให้เลือก ว่า personal หรือ company แต่มันบังคับเลือกที่ company
4. ให้เรากด back กลับ 1ที


5.เข้าไปใน temp เพื่อแก้ไขไฟล์ติดตั้งเล็กน้อย Start > run > พิมพ์ %temp% แล้ว กด ปุ่ม enter
ถ้ามันเยอะให้กด sort by วันที่เอาครับ หรือจะลบออกทั้งหมดก่อนก็ได้ แล้วเริ่มข้อที่ 2 ใหม่


6. หาโฟลเดอร์ nsxXXXX.tmp (X=ตัวที่มันสุ่มขึ้นมา) ในที่นี้จะเป็น nsw149C.tmp ให้เปิดเข้าไปเลย


7. เปิดไฟล์ environment_unicode.ini ขึ้นมา


8. แก้ไข ในหัวข้อ Flags ใน Field 1,2และ3 จากเดิม Flags=Disable หรือ Notify ให้เป็น Flags=GROUP|NOTIFY (แก้ทั้ง 3Field)
9. แก้ไข ในหัวข้อ State ใน Field 1และ2 [Field 1 ,State=0ให้แก้เป็นState=1] และ [Field 2 ,State=1ให้แก้เป็นState=0]






10. save ไฟล์ที่แก้ไข และ กำหนดไฟล์  environment_unicode.ini ให้เป็น Read only


11.กลับมาที่ตัวที่เราติดตั้งค้างไว้ กด next ไปจะพบว่า มันไปอยู่ที่หัวข้อที่ต้องการแล้วกด Next ได้เลย


12. เลิอก I accep และ I agree กด Next เท่านี้เราก็จะได้ Free Version เหมือนกับ Destop PC ที่ Server ของเราแล้วครับ



ขอให้โชคดี
เครดิต : tak_rayong แห่ง RayongClub.NET

ทำ VPN ใช้เองด้วย Teamviewer

ทำ VPN ใช้เองด้วย Teamviewer

Copy ชาวบ้านเค้ามาทั้งดุ้น ขอขอบคุณ www.giffyhackman.com
ไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ :)
ยกตัวอย่างนะครับ
สมุติว่า ผมเขียน Software มาสักตัว พอดี Software ของผมมีความจำเป็นต้องติดต่อ DataBase (ต้องใช้ Netwaork)  DataBase ตัวนี้ติดตั้งที่ Server ของบริษัท ซึ่ง DataBase ที่ผมใช้ แน่นอนครับทาง Admin ของบริษัทไม่ยอมให้ผมนำออกมาข้างนอกแน่นอน เพราะข้อมูลมีความสำคัญมาก เป็นแบบนี้ถ้ากลับมาถึงห้องผมก็ไม่สามารถทำงานต่อได้ เนื่องจากต้องใช้ DataBase ที่บริษัท จึงทำให้ผมต้องหาวิธียังไงก็ได้ให้สามารถ Join Network กับที่ทำงาน ในขณะที่นั่งอยู่ห้องได้ ผมเลยไปนอนคิดอยู่ตั้งนาน พอดี นึกได้ว่า VPN สามารถทำได้ครับ แต่ติดตรงที่ เราไม่มี VPN Server เอง ถ้าไปขอ Admin อาจจะต้องเจอส้นตีนได้ ก็เลยหาวิธีทำ VPN Server ไว้ใช้เองโดยใช้ Temeviewer ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ผมเอาไว้ Remote ช่วยงานเพื่อนๆ อยู่เป็นประจำ  Teamviwerก็เปรียบเสมือนเป็นท่อส่ง แล้วทำ VPN แบบปรกติครอบมันอีกที
- บางคนอาจจะงงว่า ทำไม  ไม่ใช้ VPN ของ Windows ไปเลยล่ัะ ?
: ตอบ ก็คือ  การทำ VPN ไปที่ Server นั้น เครื่องที่เป็น VPN Server จะต้องเป็น Real IP หรือ Public IP หรือเป็นเครื่องที่ถูก Forword Port ของ Router จึงจะสามารถทำ VPN ตรงๆ ได้ แต่ในกรณี ของผม คือ ผมไม่อยากไปยุ่งกับพวก Admin เดี๋ยวต้องทำเรื่องการอนุมัติต่างๆ มากมาย  (อาจจะเกิดอาการที่เรียกว่า เซ็ง เป็ด ได้)
- บางคนอาจสงสัยว่าทำไมไม่ใช้ Teamviewer VPN ตรงๆๆ เลยล่ะ ในเมื่อมันก็มี VPN อยู่แล้ว?
:ตอบ  Teamviewer สามารถทำได้ ระหว่างแค่ เครื่อง 2 เครื่องเท่านั้น จะไม่สามารถมองเห็นเครื่องอื่นที่อยู่ใน LAN วงเดียวกันได้  (เห็นแค่เครื่องที่ลง Teamviewer ต้นทางและปลายทาง เท่านั้น)
วิธีที่ผมทำ ก็เป็นการใช้โปรแกรมสามัญประจำเครืองของผมอย่าง Teamviewer 4
เจ้าตัวนี้เจ๋งมากครับ สามารถ Remote Desktop , Share File, และที่สำคัญมันยังสามารถทำ VPN ได้ด้วย
โดยไม่ต้อง ไปทำ NAT หรือ Forword Port ที่ Routor  ซึ่งตรงนี้แหละครับ ที่ทำให้ผมชอบ
Teamviewer มากเลย  เหอๆ   และผมเชื่อว่า ชาวแก๊งหลายท่านไม่มี Router ไว้ใช้งานเอง
เพราะส่วนใหญ่จะใช้อินเตอร์เน็ตหอพัก,เน็ต True WIFI เหมือนอย่างผมตอนนี้ก็ Hack WIFI ข้างห้องใช้อยู่
ใช้ของฟรีแล้ว ถ้าเสือกไปแก้ Config Router เค้าอีก ผมคงโดนส้นตีนเค้าแน่เลย เหอๆๆ
เลยต้องทำ VPN + Teamviwer ไว้ใช้งานเอง
..
..
เอาเป็นว่าผมจะเอารูป Network ที่ห้องผมเอง ที่ผมอยู่ตอนนี้ มาเป้นตัวอย่างนะครับ ตามภาพด้านบนเลยนะครับ จากภาพ ตอนนี้ที่ห้องผมใช้ WIFI อยู่และมี Client อยู่ 2 เครือง คือ เครือง A , B แต่จะทำไง ให้เครืิอง A,B สามารถ ติดต่อมายัง Server ที่อยู่ที่บริษัท และให้ IP อยู่ในวงเดียวกันกับวง LAN ของบริษัท   และผมก็สามารถ Connect เข้าไปแล้วสามารถใช้งานต่างๆๆ ได้ เช่น Share File, Remote Desktop , Connect DataBase เป็นต้น โดยผมนั่งอยู่ที่ห้อง โดยมีตัวกั้นระหว่าง 2 ข้างคือ Hispeed Internet   เดี๋ยวมาดูวิธีที่ผมใช้ กันครับ  ลุยเล้ยยยยยยย……
อันดับแรกให้เพื่อนๆ ไปดาวน์โหลด ตัว teamviewer มาก่อน
ที่ http://www.teamviewer.com/download/ จากนั้นติดตั้ง
ลงระหว่างต้นทางและปลายทาง
จากภาพคือ ลงที่เครื่อง A และ F ลงเสร็จมันจะ Gen ID มาให้เรา 9 หลัก และ Pass
ให้เราจดไว้ด้วย ID และ Pass จะมีโอกาสเปลี่ยนไปเรื่อยๆ นะครับ
ถ้ามีการ Restart Router
แต่มีโอกาสน้อยมากที่มันจะเปลี่ยนไป
(คงไม่มีเจ้าของหอพักคนไหนเป็นบ้า นั้งปิดเปิด Rounter หรอกครับ เหอๆๆ )
แต่ Pass เปลี่ยนเรื่อยๆ มีวิธีแก้ไม่ใช้ Pass เปลี่ยนครับ โดยการเข้า Extras->Option
ตรง Pass ให้ Fix ไปเลย ทำทั้ง 2 ข้างจะดีมากเลยนะครับ เพราะ Pass จะไม่ถูก Random
จากนั้นก็ทำการ Login โดยใช้ ID ที่ได้มาจากฝั่งที่จะเรียก กรณีของผม คือ
ผมจะเรียก เครือง F  โดยใส่ ID 282 078 251 แล้วติ๊กที่ VPN ด้วย
จากนั้น Connect เลยครับ
….
เมื่อผมทำการ Connect ไปยังเครื่อง F ที่ผมตั้ง Standby อยู่ Office
ได้แล้ว มันจะได้ IP มาชุดนึง
จากภาพ คือ 7.32.202.37  คือเครื่องปลายทาง
7.28.188.70 คือเครื่องผมเอง
ที่เกิดจากการทำ VPN บน Teamviewer ไงครับ
เห็นไหม ครับ ที่ผมบอกตั้งแต่แรกว่า IP จะอยู่คนละวงกับ เครื่องอยู่ใน Office
แต่มันจะ ติดต่อกันได้ระหว่าง แค่ 2 เครืองเท่านั้นได้  จากนั้นเราก็เอา IP ของ Teamveiwer VPN
มาใช้ในการทำ VPN แบบปรกติ (ซึ่ง Windows XP , Vista, Windows Server 2003 มีอยู่แล้ว) ต่อเลยนะครับ
….
คราวนี้เราจะมาทำ VPN ฝั่ง Server กันบ้าง ที่เครื่อง F นะครับ
ที่เครื่อง F ให้เข้าไปที่ Start-> Control Panal->Network Connections- แล้วทำการ
Create New Connection ดังภาพด้านบนนะครับ แล้วกด Next
..
จากนั้นเลือก Set up and Advance Connection  กด Next

จากนั้นเลือก Accept Incoming connections กด Next
จากนั้นกด Next ข้ามเลย โดยไม่ต้องเลือก Modem  เพราะเราจะใช้ Internet
โดยไม่ต้องการ Dial up ให้ข้ามไปเลย โดยกด Next

จากนั้นเลือก Allow virtual private connections
….
จากนั้นเลือก User ในเครื่องในการเข้าถึง  ควรเลือก Permission ของ User ไหนก็ได้ ที่มีสิทธเป็น Administrator
กรณีผมเองเลือก Administrator เพราะ User ผมมีตัวเดียว
คือ Admistrator
….
จากนัั้นเมือมาถึงหน้านี้ให้เลือก Internet Protocal TCP/IP แล้วกด Propertie แล้วเลือก
– ถ้าจะให้ DHCP server แจก IP ให้เราอัตโนมัติ ต้องเลือก ตัวแรกเลยนะครับ Assign TCP/IP Address automatic using DHCP
– แต่แบบที่ 2 คือ Specify TCP/IP address คือเรากดหนดเอง   ต้องรู้นะครับว่า IP ช่วงไหน ที่ไม่มีคนใช้
แนะนำ แบบแรก  ครับ   แต่ถ้าใช้เองระหว่าง VPN กับเพือน ก็ เลือก แบบที่ 2 ดีกว่า นะครับ  เพราะไม่มี DHCP ไว้แจก IP
จากนั้นก็กด Next ไปเลือยๆๆ จน Finish     ก็แสดงว่า เราส้ราง VPN ฝั่ง Server เสร็จแล้ว   เย้ ครึ่งทางแ้ล้วโว้ย
….
….
เมือกี้นี้ ติดตั้ง VPN Serve ไว้ที่เคริืือง F ที่อยู่ Office เสร็จแล้ว  คราวนี้เราจะมาติดตั้ง เครือง VPN Client (เครืองที่จะัเรียก) คือเครือง A ตามภาพ   (ที่วางอยู่ห้อง)
ก็เหมือน เดิมครับ  ที่เครือง A เข้าไปที่  Start-> Control Panal->Network Connections-  แล้วทำการ Create New Networkconnections กด Next
..
มาถึงตรงนี้ จะไม่เหมือนทำที่เครื่อง F นะครับ  เพราัะ้ครื่อง F จะทำเป็น VPN Server
แต่เครื่องนี้เราจะทำเป็น VPN Client เลยต้องเลือกตัวที่ 2  Connect to the network at my workplace กด Next
เลือกตัวล่างครับ  Virtual Private Network Connections กด Next
…..
….
คราวนี้ก็มาใส่ชื่อ VPN COnnections ให้ัมัน (ใส่ไร ก็ได้ครับ) กรณีนี้ผมใส่ GIFFY VPN Attack  กด Next
….
จากนั้น มาถึงตอนนี้ ให้ใส่ IP ของ Teamviewer ที่ได้จากการทำ VPN กันอยู่  มาใส่ (ดังรูปที่ 3)
จากตัวอย่าง ผมใส่ 7.32.202.37 (อย่าเอา IP ของผมไปใส่นะครับ) แล้วกด Next ๆๆ เรื่อยๆๆ จน Fisnish คับ ก็เป็นอันเสร็จในการติดตั้ง VPN Client
เมื่อเราสร้างเสร็จก็ดับเบิ้ลคลิก ที่ Icon ที่เราสร้าง แล้วกรอก UserName Pass ของ เครื่อง VPN Server ที่เราสร้างตั้งแต่ตอนแรก (เป็น Account ของ WIndows)
….
เมื่อ UserName & Pass ใส่ถูกมันจะทำการทำ VPN ซ้อน VPN อีกครั้ง
ทำให้ IP เครื่อง A ที่ผมได้ ก็จะ้เป็น 172.117.11X.10X   ซึ่งอยู่ในวง LAN เดียวกัน กับ Office เลยครับ
ผมสามารถ Ping ดูผลได้ โดยทำการ Ping 7.32.202.37 ก็ได้ และ Ping 172.17.117.101
(VPN Server ที่ผมทำไ้ว้ เครื่อง F) ก็ได้
ก็แสดงว่า ผมก็สารถ Jion Network ระหว่างที่ทำงาน และ Office ได้ล่ะ
เหมือนกับว่าผมเอาเครื่องของผมที่อยู่ห้อง ไปนั่งทำงานที่ Ofifce ในวันเสาร์ อาทิตย์ อย่างงั้นเลย
และผมยังสามารถ Remote , Share File , ต่างๆๆได้ปรกติ โดยที่ Internet ที่ห้องผมก็ไ่ม่มีการ Drop เลยคับ
ผมสรุป IP ของเครื่อง A ก็จะได้ IP อยู่ 3 วง
คือ IP: 192.168.1.X         (ได้จาก WIFI ของหอพัก) ,
IP: 7.28.188.70         (ได้จาก Teamviewer) ,
IP: 172.17.117.XXX   (IP ที่ DHCP ที่ทำงานจ่ายให้เรา จากการทำ VPN)
ผลที่ได้ผมก็สามารถ Connect DataBae ตัวดังกลาว และ Run Applicaton ของผมได้
และทำงานของผมต่อไปได้ โดยใช้ทรัพยากรและข้อมูลต่างๆๆ จากฝั่งที่ทำงานได้อย่างสบายเลยครับ
Trick นี้อาจจะโดนใจ ชาวแก๊งหลายท่านนะครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์
เดี๋ยวมีไรเจ๋งๆๆ ใหม่ๆๆ  จะนำมา Share อีกที เอาเป็นว่าแค่นี้ก่อน นะครับ  บายๆๆๆๆ