5/29/2555

เอาช่องทีวีมาลงเว็บเราทำไงครับ ช่อง3 ช่อง 5 9 7 น่ะ

แทรกโค๊ดนี้ลงไปในเนื้อหาครับ แทรกใน html


โค้ด:










แนบไฟล์:
tv-code.jpg [140.69 KiB]
ดาวน์โหลด 220 ครั้ง


แก้ไขตรงส่วนที่ ขีดเส้นสีแดงไว้ครับ
โค้ด:
mms://202.43.34.236/3

อันนี้เป็น URL ของช่องทีวี ต้องแก้ไข 2 ที่ครับ

โค้ด:
width="400" height="325"

กำหนดความกว้าง ความสูงของหน้าจอ โปรแกรม

url ที่ลองแล้วใช้ได้
โค้ด:
mms://202.43.34.236/3  ช่อง 3
mms://202.43.34.236/5  ช่อง 5
mms://202.43.34.236/7 ช่อง 7
mms://202.43.34.236/9  ช่อง 9
mms://202.43.34.236/11 ช่อง NBT
http://www.siamtv.org/channel/itv_350.asx  ช่อง tpbs


อื่น ๆ
โค้ด:
ID Des URL
1 TV ช่อง 3 mms://203.144.166.9/tv3
2 TV ช่อง 5 mms://61.90.149.194/btv5?WMContentBitrate=2048000
3 TV ช่อง 7 mms://streaming1.ip-tv.tv/ch7_live
4 TV ช่อง 9 modernine.mcot.net/tv9_56k.asx
5 TV ช่อง 11 mms://61.90.149.194/btv11?WMContentBitrate=2048000
6 TV ช่อง ITV thai.cside.tv/live/thai_tv/tv_itv_512k.asx
7 TV ช่อง Nation Channel mms://203.144.166.27/nationchannel?WMContentBitrate=60000bps
8 FM 95 คลื่นลูกทุ่งมหานคร radio.mcot.net/fm_95.asx
9 FM 96.5 คลื่นความคิด radio.mcot.net/fm_96_5.asx
10 FM 97.5 Seed FM radio.mcot.net/fm_97_5.asx
11 FM 99 คลื่นเมืองไทยแข็งแรง radio.mcot.net/fm_99.asx
12 FM 100.5 สถานีข่าวและสาระ radio.mcot.net/fm_100_5.asx
13 FM 107 Metropolis radio.mcot.net/fm_107.asx
14 FM 100.75 อ.ส.ม.ท เชียงใหม่ 203.151.49.67:10075
15 Thai Ware Radio radio.thaiware.com:8000/
16 Smooth FM 105 www.virginradiothailand.com/listen/105.asx
17 Hitz 95.5 www.virginradiothailand.com/listen/95_5.asx
18 88 Peak FM streamcaster.siamportals.com/station21
19 Eazy FM 105.5 www.virginradiothailand.com/listen/105_5.asx
20 88.5 FM MAX streamcaster.siamportals.com/station1
21 Hitz 105.75 เชียงใหม่ broadcast.virginradiothailand.com/105_75
22 วิทยุ จ.ส 100 mms://61.90.149.194/radio1000?WMContentBitrate=512000
23 89 Banana FM streamcaster.siamportals.com/station24
24 90 ลูกทุ่งฮิต streamcaster.siamportals.com/station5
25 91.5 Hot Wave streamcaster.siamportals.com/station22
26 93 Cool FM streamcaster.siamportals.com/station2
27 93.5 EFM streamcaster.siamportals.com/station23
28 102.5 Get Maximun streamcaster.siamportals.com/station31
29 103.5 Modern Love streamcaster.siamportals.com/station32
30 104.5 Fat Radio streamcaster.siamportals.com/station33
31 106.5 Green Wave streamcaster.siamportals.com/station25
32 Siam Radio streamcaster.siamportals.com/siamradio
33 88.25 Red Beat ขอนแก่น streamcaster.siamportals.com/redbeat88
34 95.75 Red Beat อุบล streamcaster.siamportals.com/redbeat95
35 106 Life FM streamcaster.siamportals.com/station3
36 CH 5 Radio FM 94 dev.tv5.co.th:8000/live.m3u
38 105 Red Beat ลำพูน streamcaster.siamportals.com/redbeat10
38 107.25 Red Beat โคราช streamcaster.siamportals.com/redbeat10
39 CM 77 Lanna Radio mms://203.155.164.170:9080
40 วิทยุ อ.ส.ม.ท ปัตตานี mms://61.19.223.230/fm_pattanee
41 วิทยุ อ.ส.ม.ท ยะลา mms://61.19.223.230/fm_yala
42 วิทยุ อ.ส.ม.ท นราธิวาส mms://61.19.223.230/fm_naratiwas
43 Soft FM 90 www.virginradiothailand.com/listen/89.asx
44 FM 101 mms://203.150.212.13/fm101
45 ผู้จัดการ 97.75 Thai Day Radio mms://broadcast.issp.co.th/thaidayradio1
46 FM 100 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ mms://202.28.248.188:1042
47 UBC News TV Thailand mms://203.144.166.47/ubcnews
48 UBC SportsTV Thailand mms://203.144.166.47/ubcsport
49 UBC Chic แฟชั่น TV mms://61.90.149.194/ubcchic
50 สถานีข่าว 24 ชั่วโมง TV ช่อง 11 mms://61.90.149.194/11news1?WMContentBitrate=2048000
51 TV หุ้น บลจ.กิมเอง mms://61.90.149.195/kimeng1?WMContentBitrate=2048000
52 ร่วมด้วยช่วยกัน Radio mms://202.57.162.184/cityradioaudio
53 FM 97 Trinity Radio mms://203.150.212.13/fm97
54 ราชมงคล 89.5 Sweet Radio 202.44.131.13:8382/RMUTfm89.5MHz
55 Nation Radio 90.5 mms://203.147.61.38/NationRadio?WMContentBitrate=40000bps
56 DMC ธรรมมะ On TV content.ucom.co.th/announcement/dmc-channel.asx
57 Nation Biz Channel TV mms://61.90.149.195/nationbiz?WMContentBitrate=2048000
58 T-Online TV mms://203.146.252.143/256
59 Thai Misc Radio ksc.bbznet.com:8000/
60 Thailand Radio Network www.radio.in.th:8000
61 Fun Radio Thailand mms://61.90.149.195/funradio?WMContentBitrate=512000
62 FMM 103 Radio mms://61.90.149.194/radio945?WMContentBitrate=512000
63 วิทยุวิเคราะห์หุ้น บ.ธนชาติ mms://61.90.149.195//nfs/adrDefault.wma?WMContentBitrate=2048000
64 Big Brother กล้อง 1 mms://61.90.149.194/ubcbigb1
65 Big Brother กล้อง 2 mms://61.90.149.194/ubcbigb21
66 Easy Web Radio mms://61.90.149.194/easywebradio?WMContentBitrate=2048000
67 E-Music TV UK gmixa.global-mix.net/e-music
68 Alternative.NU Music TV mms://stream.ihost.nu/nwez3
69 3VOOR 12 Music TV NL www.omroep.nl/live/vpro3voor12tvcentral-bb.asx
70 CM TV Music (AR) mms://200.80.43.200/satan
71 Deejay Music TV media.kataweb.it/MIBGetPointer.aspx?LIVE=2
72 CANAL Music TV 148.235.13.19/canal64
73 MAD Music TV Germany mms://media.mad.gr/madlivevideo
74 VIVA Music TV 62.153.249.21/live/viva1tv/adsl.asx
75 CCTV 9 News TV China www.cctv-9.com/2003/asx/live/live_b.asx
76 Pulse 24 News TV Canada mfile.akamai.com/12539/live/reflector:36820.asx?bkup=36821&prop=n
77 NOS News TV Holland mms://streamgate.xs4all.nl/streamgate70
78 RAI News TV Italy mms://fastreal.fastweb.it/rainewshigh
79 Hit Channel Music TV www.hitchannel.tv/mediaplayer/hitchanneltvmulticast.asx
80 Annenberg EDU TV USA www.scctv.net/annenberg_broadband.asx
81 BYU EDU TV USA www.byutv.org/streaming/byutv250.asx
82 KLRN EDU TV USA mms://www.pasadena56.tv:8280/
83 Resarch EDU TV USA www.researchchannel.org/webcast/asx/rtv-lan.asx
84 SCC EDU TV USA www.scctv.net/SCCtv%20Broadband.asx
85 UA EDA TV USA mms://uasmedia.uas.alaska.edu/wmtencoder/uasbroadcast.wmv
86 Europe Sports TV Latvia mms://media.stv.lv/stvwsx
87 Rai Sports TV Italy www.fastweb.it/streaming/raisport.asx
88 Brand Sports TV Brazil mms://media2.brturbo.com/bandsports.wmv
89 ACC TV Australia mms://acc.streamit.com.au/accbroadcast
90 Stream TV Canada mms://64.106.201.90/thestreamtvlive
91 Cyberjaya TV Malaysia mms://wms.cyberjaya.tv/CTV?WMContentBitrate=150000
92 Shine TV Newzealand www.r2.co.nz/meta/shinetv-384.asx
93 Arirang 1 TV Korea mms://211.43.217.86/live_world1
94 Arirang 2 TV Korea mms://211.43.217.86/live_world2
95 QVC TV UK mfile.akamai.com/10804/live/reflector:33183.asx?bkup=33186
96 WAM TV UK mms://146.101.200.150/WAMTV
97 Access Phonenix TV USA www.accessphoenix.org/livestream/APLIVE.asx
98 BE Ch 28 TV USA mms://64.164.28.55:8080/sapna-test.asf
99 C-SPAN 1 TV USA play.rbn.com/play.asx?url=cspan/cspan/wmlive/cspan1v.asf&proto=mms?mswmext=.asx
100 C-SPAN 2 TV USA play.rbn.com/play.asx?url=cspan/cspan/wmlive/cspan2v.asf&proto=mms?mswmext=.asx
101 C-SPAN 3 TV USA play.rbn.com/play.asx?url=cspan/cspan/wmlive/cspan3v.asf&proto=mms?mswmext=.asx
102 CCM CH 6 TV USA stream01.montgomerycountymd.gov/ondemand/PlayVideolive.asp
103 Church Channel TV USA boss.streamos.com/wmedia-live/tbn/8034/300_tbn-the_church_channel_050222.asx
104 IP TV ดูดวง Thailand 203.170.198.56/webcast_horo?WMContentBitrate=56000
105 IP TV Music Thailand 203.170.198.56/webcast_music?WMContentBitrate=56000
106 IP TV Game Thailand 203.170.198.56/webcast_game?WMContentBitrate=56000
107 UK TV www.solent.tv/wvx/live.asx
108 CNN USA Radio www.cnn.com/audio/radio/liveaudio.asx
109 FM 90.5 USA www.publicbroadcasting.net/thenight/ppr/thenight.m3u
110 USA TV 1 www.strawberrytv.com/chadtest.asx
111 USA TV 2 boss.streamos.com/wmedia-live/spirit/4801/100_spirit-tvu-live_030520.asx
112 USA TV 3 mms://stream.ihost.nu/nwez
113 GER TV 1 mms://193.159.251.27/live/viva1tv/isdn
114 GER TV 2 mms://193.159.251.27/live/online/isdn
115 JAPAN TV 1 www.bloomberg.com/streams/video/LiveJA_nb.asx
116 JAPAN TV 2 impress.tv/im/live.asx
117 CHINA TV 1 mms://winmedia.cctv.com.cn/live1
118 CHINA TV 2 mms://4.19.71.20/cctv9/mtv/mtv01.wmv
119 CHINA TV 3 mms://4.19.71.20/cctv9/mtv/mtv02.wmv
120 CANADA TV mms://ss1.tsw.ca/enc1
121 ITALY TV mms://mediaplayer.rtl.it/hitchanneltv
122 Hip Hop Hit USA Radio radio.msn.com/asx/generate.aspx?type=genre&id=10002377
123 IP TV เทปรายการถอดรหัส mms://203.170.198.56/iPTV_Channel/TodRahad.wmv


URL ไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้หมดหรือเปล่านะครับลงอทดสอบดู

5/16/2555

ปุ่ม Fn ปุ่มเจ้าปัญหาที่ User มักจะหลงลืม

ปุ่ม Fn หรือปุ่มฟังค์ชั่นเสริมที่ติดมาในโน้ตบุ๊กช่วยอำนวยความสะดวกในการเปิด ปิด ออปชั่นเสริมต่างๆ ที่สะดวกสบาย
image
แต่ User เองนั่นละที่บางทีก็เผลอไปกดพวกปุ่ม Fn นั่นนี่โดยไม่ได้ตั้งใจ พอใช้งานไม่ได้ก็โวยวายว่าเครื่องเสียบ้าง เครื่องห่วยบ้าง ซึ่งจริงๆแล้ว ท่านละครับไปกดปิดมันเอง วันนี้ผมเลยรวบรวมปัญหาของปุ่ม Fn ที่ User มักจะเผลอกดโดยไม่ตั้งใจจนคิดว่าเครื่องพัง
1.WiFi ใช้ไม่ได้
ปัญหาแรกที่เจอบ่อยมากถึงมากที่สุด เพราะว่าผู้ใช้เองนะละเผลอไปกดปิด WiFi โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งปรกติในโน้ตบุ๊กทุกรุ่นจะมีปุ่ม Fn เพื่อปิดหรือเปิด บางรุ่นก็อาจจะเป็นสวิตส์มาให้
    • ลองดูสวิตส์ก่อนว่าเปิดหรือยัง แล้วต่อมาก็ลองกด Fn+ ฟังค์ชั่น WiFi แล้วเปิดการใช้งาน แค่นี้เอง ปรกติถ้า WiFi ปิดอยู่ไฟสถานะสัญญาณ WiFi จะดับไป
2.ปุ่มคีย์บอร์ดพิมพ์แต่ตัวเลข
อันนี้มักจะเกิดในโน้ตบุ๊กที่ไม่มี Numpad เพราะว่าจะมี Fn+Numlock เพื่อทำให้คีย์บอร์ดสามารถพิมพ์ Numpad ได้ ซึ่งปรกติจะเป็นพวกปุ่ม U I O … แต่ว่าปุ่มโซนอื่นจะพิมพ์ได้ปรกติ
    • การแก้ปัญหาก็แค่กด Fn+Numlock สลับกลับมาก็ใช้ได้แล้ว ปรกติถ้าเราใช้งาน Numlock อยู่ก็จะมีสัญลักษณ์รูปตัวเลขขึ้นมาอยู่ให้สังเกตุอยู่แล้วครับ
image
3. TouchPad ใช้ไม่ได้
ปัญหานี้มักจะเกิดจากการที่เราเปลี่ยนไปใช้เมาส์แยก หรือมีเพื่อเรามาใช้เครื่องก็มักจะปิด TouchPad ไป แต่บางท่านไม่รู้ก็จะคิดว่ามันเสียไป ซึ่งจริงๆแล้วเขาแค่ปิดไปเท่านั้นเอง
    • แก้ปัญหาง่ายๆสังเกตุที่ Fn + สัญลักษณ์ หรือปุ่มกดแยก เมื่อเรากดคืนค่าแล้ว ก็จะสามารถใช้งานได้หรือบางรุ่นก็จะมีไฟแสดงสถานะขึ้นมาให้สังเกตุ
4. Webcam ใช้งานไม่ได้
โน้ตบุ๊กบางยี่ห้อจะมี Fn ที่สามารถปิดกล้อง Webcam ได้ซึ่งผู้ใช้เองมักจะปิดไปโดยไม่ตั้งใจ หรือไม่ได้เปิดตั้งแต่ตอนแรกพออยากจะใช้งานก็มักจะนึกไม่ถึง บางครั้งถึงกับยกเครื่องเข้าศูนย์ไปเลยก็มี
    • การแก้ปัญหาก็ไม่ยากครับลองหาปุ่ม Fn ที่เป็นรูปกล้องแล้วกดเปิดดูนะครับ
5. Fn กดไม่ติดเลยงะ
สุดท้ายเป็นกรณีที่บางยี่ห้อใช้ดีด้วยการสลับปุ่ม Fn กับปุ่ม F1…F12 เพื่อที่ไม่ต้องกด Fn ค้างเพื่อใช้งานแค่กดปุ่ม F1…F12 ก็สามารถสั่งงานได้แล้ว แต่บางท่านไม่ทราบก็กด Fn ค้างตลอด กลับกันบางท่านจะใช้ปุ่ม F1…F12 กลับกดไม่ติดซะงั้น
    • สังเกตุดูสัญลักษณ์ Fn กับ F ซึ่งมักจะใช้สีที่ต่างกัน ลองสลับการสั่งงานดูครับ หรือบางรุ่นสามารถสลับคืน เพื่อให้เป็นค่าปรกติได้ใน Bios ครับ
image
ก่อนอื่นที่เราคิดว่าเครื่องเราจะเสียหรือมีปัญหาให้สำรวจก่อนนะครับว่า เราเผลอกดอะไร หรือไปโดนปุ่มอะไรหรือเปล่า โดยสังเกตุได้จากสัญลักษณ์ Fn ที่ตีย์บอร์ด แล้วลองกดดีไม่มีปัญหาแน่นอน แต่ถ้ากดแล้วยังไม่สามารถใช้งานได้จริงค่อยนำเข้าศูนย์ก็ไม่สายครับ

Hot Key ของ Toshiba


กดปุ่ม FN ค้างตามด้วยปุ่มฟังชั่นต่างๆ

ปุ่ม ESC = Mute = เปิดหรือปิดเสียงเสียงครับ

ปุ่ม F1 = Lock = ล๊อคคอมพิวเตอร์ครับ ( คอมจะล๊อคตัวเอง(หากมีรหัสผ่าน) และจะไปอยู่หน้า Welcome Acreen )
ปุ่ม F2 = Power Plan = เป็นปุ่มสลับแผนการจะดการพลังงานครับ จะทำงานร่วมกับ Power MGT ของ Vista และโปแกรม Power Management ของ Toshiba เอง สำหรับ XP ครับ
ปุ่ม F3 = Standby = เป็นปุ่มลัดสำหรับเข้าสู่ระบบสแตนด์บาย ( ปิดเครื่องคอมชั่วคราวโดยยังให้ หน่วยประมวลยังทำงานและไฟยังเดินครับ )
ปุ่ม F4 = Hibernate = เป็นปุ่มที่เข้าสู่โหมด Hibernate ครับ คือ โหมดจำศีล เป็นการปิดเครื่อง(ปิดดับเลยน่ะครับไม่เหมือนสแตนด์บาย) แต่จะเก็บงานทั้งหมดไว้เมื่อเปิดขึ้นมาอีกครั้ง คอมพิวเตอร์ของเราจะมีการทำงานเหมือนกับครั้งล่าสุดก่อนปิดเครื่องครับ (ต่างจาก ShutDown ครับ)** ข้อเสีย หากทำบ่อยๆ ไม่ Shutdown จะทำให้มีการบันทึกงานชั่วคราว(ครั้งละเป็นกิ๊กเลยน่ะ) เยอะมากครับ
ปุ่ม F5 = Output = เป็นปุ่มที่ใช้ในการสลับจอครับ (ในกรณีที่ต่อจอแสดงผลหลายตัวในเวลาเดียวกัน)
ปุ่ม F6+F7 = Brightness = เป็นปุ่มปรับความสว่างของจอครับ โดยสองปุ่มนี้เหมือนกัน ต่างกันที่ F6 ปรับให้สว่างน้อยลง F7 ปรับให้สว่างมากขึ้น
ปุ่ม F8 = Wireless = ปุ่ม เปิดหรือปิดการทำงาน ระบบ ไร้สาย(Wireless) ทั้งหมดครับ (ทำงานร่วมกับ ConfigFree ได้ครับ) ซึ่งจะควบคุม Wi-Fi และ Bluetooth ครับ
ปุ่ม F9 = Touch Pad = ปุ่มสำหรับ เปิดหรือ ปิดการทำงานของทัชแพดครับ ( ใช้กรณีที่หลายๆท่านเจอปัญหาระหว่างพิมพ์งานและใช้ USB เม้าส์แทนครับ)
ปุ่ม F10+F11 = AccessNum = ปุ่มสำหรับเปิดการใช้งานปุ่มควบคุมสี่ทิศทาง(F10)(ที่ซ่อนอยู่ในชุด Numpad) ที่เป็นตัวสีเทาอ่ะครับ และเปิดการใช้งานปุ่มตัวเลข(F11)ที่เป็นตัวสีเทาที่ซ้อนอยู๋ในคีย์บอร์ดเช่น กัน
ปุ่ม F12 = ScrLock = ปุ่มล๊อคการทำงานของการ scroll (การเลื่อนหน้า(ขึ้น-ลง)
ปุ่ม Space Bar = Resolution = ปุ่มปรับความละเอียดของจอแสดงผลครับ (ทั้งจอของเครื่องและจอภายนอก(ขึ้นอยู่กับการใช้งาน)
ปุ่ม FN + 1 = Zooming Out = ปุ่มการทำงานร่วมกับ Toshiba Zooming Utilities โดยปุ่มนี้ Zoom ออกครับ
ปุ่ม FN + 2 = Zooming In = ปุ่มการทำงานร่วมกับ Toshiba Zooming Utilities โดยปุ่มนี้ Zoom เข้าครับ


อ๋อ HotKey ของ Toshiba ใช่ไหมครับ
วันนี้ผมได้รับคำถามจาก "ผู้มาเยือน" ในกระทู้แนะนำตัวของผม

จึงคิดว่า นำมาตอบในกระทู้นี้ดีกว่า เพื่อให้คนอื่นๆ ไม่ต้องเข้าไปค้น ( ในวันที่มันจะตกไปเยอะ )


คือ วิธีการใช้งานก็ ไม่ยากครับ กดปุ่ม FN ( ปุ่มที่สอง ล่างสุด จากด้านซ้ายของ คีย์บอร์ดน่ะครับ) กดค้างไว้น่ะครับ

แล้ว เลือก การใช้งาน ฟังก์ชั่นต่างๆ จากปุ่ม Fx ( Fx=F1,F2,F3,F4 ...... ) อ่ะครับ

ปุ่ม F พวกนี้ จะมีรูปแสดงการใช้งานอยู่แล้วครับ ดังนี้ครับ

ปุ่ม ESC = Mute = เปิดหรือปิดเสียงเสียงครับ
ปุ่ม F1 = Lock = ล๊อคคอมพิวเตอร์ครับ ( คอมจะล๊อคตัวเอง(หากมีรหัสผ่าน) และจะไปอยู่หน้า Welcome Acreen )
ปุ่ม F2 = Power Plan = เป็นปุ่มสลับแผนการจะดการพลังงานครับ จะทำงานร่วมกับ Power MGT ของ Vista และโปแกรม Power Management ของ Toshiba เอง สำหรับ XP ครับ
ปุ่ม F3 = Standby = เป็นปุ่มลัดสำหรับเข้าสู่ระบบสแตนด์บาย ( ปิดเครื่องคอมชั่วคราวโดยยังให้ หน่วยประมวลยังทำงานและไฟยังเดินครับ )
ปุ่ม F4 = Hibernate = เป็นปุ่มที่เข้าสู่โหมด Hibernate ครับ คือ โหมดจำศีล เป็นการปิดเครื่อง(ปิดดับเลยน่ะครับไม่เหมือนสแตนด์บ าย) แต่จะเก็บงานทั้งหมดไว้เมื่อเปิดขึ้นมาอีกครั้ง คอมพิวเตอร์ของเราจะมีการทำงานเหมือนกับครั้งล่าสุดก ่อนปิดเครื่องครับ (ต่างจาก ShutDown ครับ)** ข้อเสีย หากทำบ่อยๆ ไม่ Shutdown จะทำให้มีการบันทึกงานชั่วคราว(ครั้งละเป็นกิ๊กเลยน่ ะ) เยอะมากครับ
ปุ่ม F5 = Output = เป็นปุ่มที่ใช้ในการสลับจอครับ (ในกรณีที่ต่อจอแสดงผลหลายตัวในเวลาเดียวกัน)
ปุ่ม F6+F7 = Brightness = เป็นปุ่มปรับความสว่างของจอครับ โดยสองปุ่มนี้เหมือนกัน ต่างกันที่ F6 ปรับให้สว่างน้อยลง F7 ปรับให้สว่างมากขึ้น
ปุ่ม F8 = Wireless = ปุ่ม เปิดหรือปิดการทำงาน ระบบ ไร้สาย(Wireless) ทั้งหมดครับ (ทำงานร่วมกับ ConfigFree ได้ครับ) ซึ่งจะควบคุม Wi-Fi และ Bluetooth ครับ
ปุ่ม F9 = Touch Pad = ปุ่มสำหรับ เปิดหรือ ปิดการทำงานของทัชแพดครับ ( ใช้กรณีที่หลายๆท่านเจอปัญหาระหว่างพิมพ์งานและใช้ USB เม้าส์แทนครับ)
ปุ่ม F10+F11 = AccessNum = ปุ่มสำหรับเปิดการใช้งานปุ่มควบคุมสี่ทิศทาง(F10)(ที ่ซ่อนอยู่ในชุด Numpad) ที่เป็นตัวสีเทาอ่ะครับ และเปิดการใช้งานปุ่มตัวเลข(F11)ที่เป็นตัวสีเทาที่ซ ้อนอยู๋ในคีย์บอร์ดเช่นกัน
ปุ่ม F12 = ScrLock = ปุ่มล๊อคการทำงานของการ scroll (การเลื่อนหน้า(ขึ้น-ลง)
ปุ่ม Space Bar = Resolution = ปุ่มปรับความละเอียดของจอแสดงผลครับ (ทั้งจอของเครื่องและจอภายนอก(ขึ้นอยู่กับการใช้งาน)
ปุ่ม FN + 1 = Zooming Out = ปุ่มการทำงานร่วมกับ Toshiba Zooming Utilities โดยปุ่มนี้ Zoom ออกครับ
ปุ่ม FN + 2 = Zooming In = ปุ่มการทำงานร่วมกับ Toshiba Zooming Utilities โดยปุ่มนี้ Zoom เข้าครับ

โดย ในการทำงานให้สมบูรณ์นั้น จำเป็นต้อนลง Driver ของ Toshiba ในรุ่นนั้นๆ ก่อนครับ
หากไม่ได้ทำการลง Driver อาจจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่

ขอขอบคุณ รูปประกอบ จาก TOSHIBA Technical Support Bulletins

:cling: :yes: :crap2: :ohhh:

[ แก้ไขล่าสุด SAMURAi_DiNz เมื่อ 2009-4-12 11:52 ]
Attached Images   

5/15/2555

สื่อกลางในการส่งข้อมูล

ชนิดของสื่อกลางของระบบสื่อสาร (Type of media)

n แบบตัวนำโลหะ(Conductive metal) ได้แก่ Twisted pair, Coaxial cable
n แบบใยแก้ว หรือพลาสติก(Glass or plastic) ได้แก่ Fiber optic
n แบบคลื่นวิทยุ หรือเครือข่ายไร้สาย(Wireless) ได้แก่ Microwave, Satellite


สื่อกลางแบบตัวนำโลหะ

เป็นสายนำสัญญาณ (Transmission line) ที่ใช้ส่งข้อมูลมี สัญญาณไฟฟ้าเป็นพาหะ แยกเป็น 2 แบบ คือ
n สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair cable)
n สายโคแอกเชียล (Coaxial cable)

สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair cable)

ประกอบ ด้วยสายสัญญาณจำนวนคู่ แต่ละคู่จะพันกันเป็นเกลียวตลอดจนถึงปลาย เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงและจากภายนอก และมีฉนวนภายนอกห่อหุ้มอีกชั้น










แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
n ชนิดหุ้มฉนวน (Shielded twisted pair: STP)
n ชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded twisted pair: UTP)

สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (STP)

สาย ไฟแต่ละคู่จะถูกห่อหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอล์ย เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอกสาย และมีฉนวนไฟฟ้า เช่นพลาสติก ห่อหุ้มอีกชั้น
ระยะทางในการใช้งานจะสามารถใช้ได้ไกล แต่ไม่นิยมเนื่องจากมีราคาแพง โดยมากจะนำไปใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วสูง เช่น Gigabit Network หรือติดตั้งบริเวณที่มีการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาก


สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (UTP)

สาย ไฟแต่ละคู่จะถูกห่อหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้าภายนอกเท่านั้น ป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าแบบ STP เป็นสายที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากมีราคาถูก มักใช้ติดตั้งภายในอาคาร หรือภายในห้อง หรือหากต้องการติดตั้งภายนอกอาคารจะต้องเดินสายภายในท่อเหล็ก สามารถใช้ส่งข้อมูลความเร็ว 100 Mbps



การต่อสายคู่บิดเกลียว

ที่ปลายของสายจะใช้ตัวต่อสายแบบ RJ-45 สำหรับสาย 4 คู่









มีวิธีการต่อหัว 2 แบบ ตามจุดประสงค์การใช้งาน











มาตรฐานของสายคู่บิดเกลียว

องค์กร ANSI/EIA (American National Standards Institute/Electronic Industries Association) ได้กำหนดหมายเลข EIA 568 เพื่อควบคุมและแบ่งแยกกลุ่มสายสัญญาณ









สายโคแอกเชียลหรือสายซีลด์(Coaxial cable)

เป็น ตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวี มีใช้งานหลายลักษณะงาน ไม่ว่าในระบบเครือข่ายเฉพาะที่ ในการส่งข้อมูลระยะไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์ หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดิทัศน์











ที่ ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก สายโคแอกเชียลจะมีฉนวนหุ้มป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณ รบกวนจากภายนอก สายแบบนี้มีช่วงความถี่ที่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้กว้างถึง 500 MHz


สายโคแอกเชียล (ต่อ)

สายโคแอกเชียลที่ไช้กับการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ มี 2 แบบ
u สายโคแอกเชียลแบบอ่อน (Thinwire coaxial cable)
หุ้มด้วยฉนวนแบบบางมีขนาดเล็กโค้งงอได้ง่าย สำหรับติดตั้งในอาคารหรือห้อง
u สายโคแอกเชียลแบบแข็ง (Thickwire coaxial cable)มีฉนวนภายนอกที่หนา ทำให้สายมีขนาดใหญ่ สามารถทนต่อสภาพอากาศภายนอกอาคาร

มาตรฐานของสายโคแอกเชียล

มีการกำหนดมาตรฐาน JIS C3501 (ญี่ปุ่น), MIL-C-17 (อเมริกา) สำหรับสายโคแอคเชียล ด้วยหมาย RG ตามคุณลักษณะของสาย







เส้นใยนำแสง (Optical Fiber)

อาจ เรียกว่าเส้นใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก เป็นตัวกลางของสัญญาณแสง ทำมาจากวัสดุประเภทแก้วที่มีความบริสุทธิ์มาก เส้นใยนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก ขนาดประมาณ เส้นผมของมนุษย์ อาศัยหลักการสะท้อน และหักเหของแสงในการส่งแสงลงไปในสาย ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก - แกน (CORE) - แก้วหุ้ม (CLAD)
- ปลอกหุ้มหรือฉนวนภายนอก















ชนิดของเส้นใยนำแสง

วิธีการแบ่งชนิดของเส้นใยแสงมีหลายวิธี เช่น- แบ่งตามประเภทวัสดุ
+ Silica glass optic fiber
+ Multi component glass optic fiber
+ Plastic optic fiber
- แบ่งตามโหมด (Propagation Mode) ลักษณะการเดินทางของแสง
+ Single Mode optic fiber + Multi Mode optic fiber
- แบ่งตามดัชนีการหักเหแสงของ CORE ลักษณะการสะท้อนของแสง
+ Step Index optic fiber (SI - fiber)
+ Graded Index optic fiber ( GI fiber)


โหมดของเส้นใยนำแสง

คุณสมบัติการนำแสงของเส้นใยนำแสง แบ่งตามลักษณะการให้แสงส่องทะลุหรือไม่ เป็นคุณสมบัติเฉพาะของเนื้อแก้ว แบ่งเป็น 2 แบบ
- Single Mode optic fiber
- Multi Mode optic fiber












เส้นใยนำแสงแบบซิงเกิลโหมด

เป็น การใช้ตัวนำแสงที่บีบสำแสงให้พุ่งตรงไปตามท่อใยนำแสง โดยมีการกระจายออกด้านข้างน้อยที่สุด เป็นแบบสายที่มีกำลังการสูญเสียทางแสงน้อยที่สุด เหมาะสำหรับการใช้กับระยะทางไกลๆ เช่นเส้นใยนำแสงระหว่างประเทศ












เส้นใยนำแสงแบบมัลติโหมด

เป็น เส้นใยนำแสงที่มีลักษณะการกระจายแสงออกด้านข้างได้ โดยมีค่าดัชนีการหักเหของแสงของ CORE กับ CLAD ต่างกัน เพื่อให้เกิดการสะท้อนของแสงเมื่อตกกระทบพื้นที่ระหว่าง CORE กับ CLAD











สื่อกลางแบบคลื่นวิทยุ

คือการสื่อสารข้อมูลโดยใช้คลื่นวิทยุหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพาหะ หรือไม่มีสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล มีการใช้งาน 3 ลักษณะ
+ ไมโครเวฟ (Microwave)
+ ดาวเทียม (Satellite Link)
+ สื่อสารวิทยุ (Radio Link)

การแบ่งช่วงความถี่

ย่านความถี่ของสัญญาณไฟฟ้า สามารถแบ่งเป็นช่วง ดังนี้
















ไมโครเวฟ (Microwave)

เป็นการสื่อสารระหว่างสถานีภาคพื้นสองสถานี ความถี่ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่ในย่านไมโครเวฟ มีลักษณะเฉพาะคือ

+ ใช้สื่อสารระหว่างสถานี
+ ระยะระหว่างสถานีคือ 50 กม.
+ ทิศทางจานสายอากาศต้องตรงกัน
+ อาจเกิดปัญหาการบังของสิ่งปลูกสร้าง
+ อาจเกิดปัญหาจากสภาพอากาศ


ดาวเทียม (Satellite Link)

เป็นการสื่อสารระหว่างดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือโลกกับสถานีภาคพื้น หรือบ้านพักอาศัย มีลักษณะเฉพาะคือ
+ ใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง
+ ตัวดาวเทียมจะรับข้อมูลจากสถานี ภาคพื้น ขยายและสะท้อนสัญญาณ กลับมาที่สถานีภาคพื้นอีกทีหนึ่ง
+ ความถี่ของสัญญาณส่งขาขึ้น (Up Link) ประมาณ 4 GHz
+ ความถี่ของสัญญาณส่งขาลง (Down Link) ประมาณ 6 GHz


สื่อสารวิทยุ (Radio Link)

เป็นการสื่อสารระหว่างสถานีส่งวิทยุกับอุปกรณ์สื่อสารขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์ เพจเจอร์ อาศัย มีลักษณะเฉพาะคือ

+ มีสถานีแม่ข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ (Base Station) เป็นรัศมีกว้าง
+ ความถี่ส่งจากสถานีแม่ข่ายจะต่ำกว่าจากอุปกรณ์สื่อสาร
+ สื่อสารได้ทั้งแบบทางเดียวและสองทาง


ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ (Cellular Phone)

คือ ระบบการจัดการพื้นที่ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ แบ่งพื้นที่ผู้ใช้บริการเป็นช่อง (Cell) คล้ายช่องตัวอ่อนบนรวงผึ้ง แต่ละช่องมีหนึ่งสถานีแม่ข่าย แต่ละสถานีแม่ข่ายที่อยู่ติดกันจะใช้ความถี่ในการสื่อสารที่ต่างกัน เพื่อป้องกันการกวนกันของสัญญาณ














ที่มา
http://www.rmuti.ac.th/user/prakai/datacommunication_and_network/slide_02.ppt


บลูทูธ
เทคโนโลยี บลูทูธใช้การส่งสัญญาณวิทยุเพื่อทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เมาส์ หรือโทรศัพท์มือถือ สามารถติดต่อสื่อสารกันแบบไร้สายในระยะใกล้ โดยนำไปใชได้ในหลายๆ ทาง ได้แก่
• การรับส่งแฟ้มต่างๆ ระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง หรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ชนิดอื่น
• การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์แบบไร้สายที่รองรับบลูทูธ
• การใช้แป้นพิมพ์หรือเมาส์แบบไร้สายที่รองรับบลูทูธ
• การฟังเพลงโดยใช้หูฟังแบบไร้สายที่รองรับบลูทูธ
• การทำข้อมูลในเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (PDA) ที่รองรับบลูทูธ ให้ตรงกับข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือ

อุปกรณ์ชนิดอื่น
• การสร้างการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายด้วยโทรศัพท์มือถือที่รองรับบลูทูธ หรือโมเด็มเซิร์ฟเวอร์
• การเชื่อมต่อกับเครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคลบลูทูธ (PAN)

ที่มา
http://windowshelp.microsoft.com/Windows/th-TH/help/be987a70-abc6-4918-a60c-06d69c4207131054.mspx


ระบบอินฟาเรด (Infraed)

เป็น ระบบที่ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับ remote control ช่องเครื่องรับโทรทัศน์ อย่างไรก็ดีระบบนี้จะมีข้อจำกัดที่ต้องใช้งานเป็นเส้นตรงระหว่างเครื่องรับ และเครื่องส่งทำให้มีระยะทางรับส่งที่ไม่ไกลนัก รวมทั้งไม่อาจมีสิ่งกีดขวางด้วย ในปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล ๆ อยู่บ้างสำหรับพื้นที่ที่การเดินสายกระทำได้ไม่สะดวก รวมทั้งมีการนำไปใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ ด้วย

ที่มา
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net4.htm

การสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล





ความ หมายของการสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยัง ปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฏเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูป แบบที่ต้องการองค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล(Sender)ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ใน รูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับ รับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ
3. โปรโตคอล (Protocal)โปรโตคอล คือ กฏระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น
4. ซอฟต์แวร์ (Software)การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับกำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s netware] UNIX Windows NT ฯลฯ5. ข่าวสาร (Message)เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้5.1 ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว5.2 ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้ค่อนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง5.3 รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บ และใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก5.4 เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ 6. ตัวกลาง(Medium)เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับ หรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สำหรับสื่อสารข้อมูล เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต้นทางเข้ากับคอมพิวเตอร์ปลายทาง โดยใช้ตัวกลางหรือสื่อกลางสำหรับเชื่อมต่อ ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ การต่อแบบสายตรงตามรูปนั้น อาจจะต่อตรงโดยใช้ช่องต่อแบบขนานของเครื่อง ทั้ง 2 เครื่อง เพื่อใช้สำหรับโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องได้ หรืออาจจะต่อโดยใช้อินเทอร์เฟสคาร์ดใส่ไว้ใน เครื่องสำหรับเป้นจุดต่อก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งานเป็นการเชื่อมต่อ ระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังปลายทาง โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ
การ ส่งสัญญาณข้อมูล (Transmission Definition)การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆจากอุปกรณ์สำหรับส่งหรือผู้ส่ง ผ่านทางตัวกลางหรือสื่อกลาง ไปยังอุปกรณ์รับหรือผู้รับข้อมูลหรือข่าว ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ส่งไปอาจจะอยู่ในรูปของสัญญาณเสียง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงก็ได้ โดยที่สื่อกลางหรือตัวกลางของสัญญาณนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ เช่น สายเกลียวคู่ (Twisted paire) สายโทรศัพท์ สายโอแอกเชียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ส่วนตัวกลางอีกชนิดหนึ่งนั้นไม่สามารถกำหนดเส้นทางของสัญญาณได้ เช่น สุญญากาศ น้ำ และ ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น
แบบของการส่งสัญญาณข้อมูลการส่ง สัญญาณข้อมูล สามารถแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบดังนี้ 1. การส่งสัญญาณทางเดียว (One-Way Transmission หรือ Simplex)การส่งสัญญาณแบบนี้ในเวลาเดียวกันจะส่งได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าตัวส่งจะมีสัญญาณช่องทางก็ตาม ซึ่งมักจะเรียกการส่งสัญญาณทางเดียวนี้ว่า ซิมเพล็กซ์ ผู้ส่งสัญญาณจะส่งได้ทางเดียว โดยที่ผู้รับจะไม่สามารถโต้ตอบได้ เช่น การส่งวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์2. การส่งสัญญาณกึ่งทางคู่ (Half-Duplex หรือ Either-Way)การส่งสัญญาณแบบนี้เมื่อผู้ส่งได้ทำการส่งสัญญาณไปแล้ว ผู้รับก็จะรับสัญญาณนั้นหลังจากนั้นผู้รับก็สามารถปรับมาเป็นผู้ส่งสัญญาณ แทน ส่วนผู้ส่งเดิมก็ปรับมาเป็นผู้รับแทนสลับกันได้ แต่ไม่สามารถส่งสัญญาณพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ จึงเรียกการส่งสัญญาณแบบนี้ว่า ฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (Half Duplex หรือ HD) ได้แก่ วิทยุสนามที่ตำรวจใช้ เป็นต้น3. การส่งสัญญาณทางคู่ (Full-Duplex หรือ Both way Transmission)การส่งสัญญาณแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทางใน เวลาเดียวกัน เช่น การใช้โทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถพูดสายโทรศัพท์ได้พร้อม ๆ กัน
มาตรฐานสากล(International Standards)เพื่อความเป็นระเบียบและความสะดวกของผู้ผลิตในการผลิตอุปกรณ์สื่อ สารแบบต่าง ๆ ขึ้นมา จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานสากล สำหรับระบบติดต่อสื่อสารข้อมูลขึ้น ซึ่งประกอบด้วยโปรโตคอล และสถาปัตยกรรมโดยมีการจัดตั้งองค์การสำหรับพัฒนา และควบคุมมาตรฐานหมายองค์กรดังต่อไปนี้1. ISO (The International Standards Organization)เป็นองค์การสากลที่พัฒนามาตรฐานสากลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเครือ ข่าย โดยมีการแบ่งโครงสร้างในการติดต่อสื่อสารออกเป็น 7 ชั้น (Layers) 2. CCITT (The Conseclitive Committee in International)เป็นองค์กรสากลที่พัฒนามาตรฐาน v และ x โดยที่มาตรฐาน v ใช้สำหรับวงจรโทรศัพท์และโมเด็ม เช่น v29,v34 ส่วนมาจรฐาน x ใช้กับเครือข่ายข้อมูลสาธารณะเช่น เครือข่าย x.25 แพ็กเกจสวิตช์ (Package switch) เป็นต้น3. ANSI (The American National Standards Institute)เป็นองค์กรมาตรฐานของสหรัฐเมริกา ANSI ได้พัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและ ระบบเครือข่ายมาตรฐานส่วนใหญ่จะ เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ตัวเลข ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลและมาตรฐานเทอร์มินัส4. IEE (The Institute of Electronic Engineers)เป็นมาตรฐานที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักวิชาการ และผู้ปกครองอาชีพทางสาขาไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริการ มาตรฐานจะเน้นไปทางด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ไมโครโปรเซสเซอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น IEE 802.3 ซึ่งใช้ระบบ LAN (Local Area Network)5. EIA (The Electronics Industries Association)เป็นองค์กรมาตรฐานของอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานทางด้านไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน EIA จะขึ้นต้นด้วย RS (Recommended Standard) เช่น Rs-232-c เป็นต้น
การผลิตของผู้ประกอบการต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้มาตรฐานใดก็ตาม สิ่งที่ผลิตนั้นอย่างน้อยจะต้องได้ครบตามมาตรฐาน แต่อาจจะดีเหนือกว่ามาตรฐานก็ได้ ลักษณะของสัญญาณที่ใช้ในการส่งสัญญาณข้อมูลการส่งสัญญาณข้อมูล หรือข่าวสารต่าง ๆ สามารถทำได้ 2 ลักษณะดังนี้ 1. การส่งสัญญาณแบบอนาลอก(Analog Transmission)การส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะไม่คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในสัญญาณเลย โดยสัญญาณจะแทนข้อมูล อนาลอก เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น ซึ่งสัญญาณอนาลอกที่ส่งออกไปนั้นเมื่อระยะห่างออกไปสัญญาณก็จะอ่อนลงเรื่อย ๆ ทำให้สัญญาณไม่ค่อยดี ดังนั้นเมื่อระยะห่างไกลออกไปสามารถแก้ไขได้โดยใช้เครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) แต่ก็มีผลทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (Noise) ขึ้น ยิ่งระยะไกลมากขึ้นสัญญาณรบกวนก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขสัญญาณรบกวนนี้ได้โดยใช้เครื่องกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออกไป2. การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล(Digital Transmission)การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะใช้เมื่อต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจนแน่นอน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสนใจรายละเอียดทุกอย่างที่บรรจุมากับสัญญาณ ในทำนองเดียวกันกับการส่งสัญญาณแบบอนาลอก กล่าวคือ เมื่อระยะทางในการส่งมากขึ้น สัญญาณดิจิตอลก็จะจางลง ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้อุปกรณ์ทำสัญญาณซ้ำ หรือรีพีตเตอร์(Repeater)ปัจจุบันการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะเข้ามามีบทบาทสูง ในการสื่อสารข้อมูล เนื่องจากให้ความถูกต้องชัดเจนของข้อมูลสูง และส่งได้ในระยะไกลด้วย สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่ายด้วย ทั้งนี้เนื่องจากสัญญาณจากคอมพิวเตอร์อยู่ใน รูปของดิจิตอลนั่นเองแต่เดิมนั้นถ้าหากระยะทางใน การสื่อสารไกลมักจะใช้สัญญาณแบบอนาลอกเสียส่วนใหญ่ เช่น โทรศัพท์, โทรเลข เป็นต้น รหัสที่ใช้ส่งสัญญาณข้อมูล(Transmission Code)การส่งสัญญาณการสื่อสารถูกแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ แบบดิจิตอลและแบบอนาลอก ซึ่งการส่งสัญญาณแบบอนาลอกส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างมนุษย์ ได้แก่ การได้ยิน การมองเห็น อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ สำหรับการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลนั้น ส่วนใหญ่จะสื่อสารกันโดยใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในการถ่ายทอดข้อมูลซึ่ง กันและกันข้อมูลหรือข่าวสารโดยทั่วไปแล้วในเบื้องต้นส่วน ใหญ่จะอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ในทันที เช่น ตัวอักษร ตัวเลข เสียง และภาพต่าง ๆ ซึ่งข่าวสารเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบอนาลอก แต่เมื่อต้องการนำข้อมูลหรือข่าวสารเหล่านี้มาใช้กับคอมพิวเตอร์ จะต้องเปลี่ยนข้อมูล หรือข่าวสารเหล่านี้ให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้เสียก่อน ซึ่งคอมพิวเตอร์จะรับรู้ข่าวสารที่เป็นแบบดิจิตอลเท่านั้น นั่นคือการเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนข่าวสารแบบอนาลอกให้เป็นข่าวสารแบบ ดิจิตอลนั่นเอง จากข้อความหรือข่าวสารต่าง ๆ ที่เรามองเห็นและเข้าใจได้ เมื่อเราป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยพิมพ์เข้าทางแป้นพิมพ์ ตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไปจะต้องมีการเข้ารหัสโดยผ่านตัวเข้ารหัส (Encoder) ให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่สามารถส่งสัญญาณต่อไปได้เมื่อสัญญาณถูกส่งไปยัง เครื่องรับ จากนั้นเครื่องรับก็จะตีความสัญญาณที่ส่งมาและผ่านตัวถอดรหัส (Decodes) ให้กลับมาอยู่ในรูปแบบที่เราเข้าใจได้หรืออยู่ในรูปแบบที่ใช้สำหรับเก็บใน คอมพิวเตอร์ก็ได้อีกครั้งหนึ่ง
รูปแบบของรหัส รหัสที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของไบนารี (Binary) หรือเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 กับเลข 1 โดยใช้รหัสที่เป็นเลข 0 แทนการไม่มีสัญญาณไฟและเลข 1 แทนการมีสัญญาณไฟ ซึ่งเป็นไปตามหลักการของไฟฟ้าที่มีลักษณะมีไฟและไม่มีไฟอยู่ตลอดเวลา เรียกรหัสที่ประกอบด้วย 0 กับ 1 ว่าบิต (Binary Digit) แต่เนื่องจากข้อมูลหรือข่าวสารทั่วไปประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์มากมาย ถ้าจะใช้ 0 กับ 1 เป็นรหัสแทนแล้วก็คงจะได้เพียง 2 ตัวเท่านั้น เช่น 0 แทนตัว A และ 1 แทนด้วย Bดังนั้นการกำหนดรหัสจึงได้นำกลุ่มบิทมาใช้ เช่น 6 บิท, 7 บิท หรือ 8 บิทแทนตัวอักษร 1 ตัว ซึ่งจะสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด รหัสมาตรฐานโดยทั่วไปจะใช้กับอักขระภาษาอังกฤษซึ่งมีหลายมาตรฐาน เช่น รหัสโบดอต (Baudot code), รหัสเอบซีดิก (EBCDIC) และรหัสแอสกี (ASCll Code) รหัสแอสกี (ASCll CODE)รหัสแอสกี (ASCll CODE) มาจากคำเต็มว่า American Standard Code for Information Interchange ซึ่งเป็นรหัสมาตรฐานของอเมริกาที่ใช้สำหรับส่งข่าวสารมีขนาด 8 บิท โดยใช้ 7 บิทแรกเข้ารหัสแทนตัวอักษร ส่วนบิทที่ 8 จะเป็นบิทตรวจสอบ (Parity Bit Check) รหัสแอสกีได้รับมาตรฐานของ CCITT หมายเลข 5 เป็นรหัสที่ได้รับความนิยมในการสื่อสารข้อมูลอย่างกว้างขวาง เนื่องจากรหัสแอสกีใช้ 7 บิทแรกแทนตัวอักขระ แต่ละบิทจะประกอบด้วยตัวเลข 0 หรือเลข 1 ดังนั้นรหัสแอสกีจะมีรหัสที่แตกต่างกันได้เท่ากับ 27 หรือเท่ากับ 128 ตัวอักขระนั่นเองในจำนวนนี้จะแบ่งเป็นตัวอักษรที่พิมพ์ได้ 96 อักขระ และเป็นตัวควบคุม (Control Characters) อีก 32 อักขระ ซึ่งใช้สำหรับควบคุมอุปกรณ์และการ ทำงานต่าง ๆ รหัสโบคอต (Baudot Code)รหัสโบคอตเป็นรหัสที่ใช้กับระบบโทรเลข และเทเล็กซ์ ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานของ CCITT หมายเลข 2 เป็นรหัสขนาด 5 บิท สามารถมีรหัสที่แตกต่างกันได้เท่ากับ 25 หรือเท่ากับ 32 รูปแบบ ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนอักขระทั้งหมด จึงมีการเพิ่มอักขระพิเศษขึ้นอีก 2 ตัว คือ 11111 หรือ LS (Letter Shift Character) เพื่อเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์เล็ก (Lower case) และ 11011 หรือ FS(Figured Shift Character) สำหรับเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทำให้มีรหัสเพิ่มขึ้นอีก 32 ตัว แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 ตัว จึงสามารถใช้รหัสได้จริง 58 ตัว อีก 32 ตัว แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 เดิม จึงสามารถใช้รหัสได้จริง 58 ตัว เนื่องจากรหัสโบคอตมีขนาด 5 บิท ซึ่งไม่มีบิทตรวจสอบจึงไม่นิยมนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์
รหัสเอบซีดิก (EBCDIC)รหัส EBVFIC มาจากคำเต็มว่า Extended Binary Coded Deximal Interchange Code พัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM มีขนาด 8 บิตต่อหนึ่งอักขระ โดยใช้บิตที่ 9 เป็น บิทตรวจสอบ ดังนั้นจึงสามารถมีรหัสที่แตกต่างสำหรับใช้แทนตัวอักษรได้ 28 หรือ 256 ตัวอักษร ปัจจุบันรหัสเอบซีดิกเป็นมาตรฐานในการเข้าตัวอักขระบนเครื่องคอมพิวเตอร์
รหัส แบบของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารข้อมูล การเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารเพื่อสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอักจุดหนึ่ง นั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสม สำหรับรูปแบบของการเชื่อมต่อแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบดังต่อไปนี้ 1. การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to Point Line)เป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน โดยต่อจากอุปกรณ์รับหรือส่ง 2 ชุด ใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวมีความยาวของสายไม่จำกัด เชื่อมต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา (Lease Line) ซึ่งสายส่งอาจจะเป็นชนิดสายส่งทางเดียว (Simplex) สายส่งกึ่งทางคู่(Half-duplex) หรือสายส่งทางคู่แบบสมบูรณ์ (Full-duplex) ก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบซิงโครนัสหรือแบบวิงโครนัส การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดมีได้หลายลักษณะดังรูปข้างต้น
2. การเชื่อมต่อแบบหลายจุด(Multipoint or Multidrop)เนื่องจากค่าเช่าช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมากการส่งข้อมูลไม่ได้ใช้ งานตลอดเวลา จึงมีแนวความคิดที่จะใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวแต่เชื่อมต่อกับหลายๆ จุด ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุดแสดงให้เห็นได้
การเชื่อมต่อแบบหลายจุดแต่ จุดจะมีบัพเฟอร์ (Buffer) ซึ่งเป็นที่พักเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนทำการส่ง โดยบัพเฟอร์จะรับข้อมูลมาเก็บเรื่อย ๆ จนเต็มบัพเฟอร์ ข้อมูลจะถูกส่งทันทีหรือเมื่อมีคำสั่งให้ส่ง เพื่อใช้สายสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพในการส่งแต่ละครั้ง และช่วงใดที่ว่างก็สามารถให้ผู้อื่นส่งได้ การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับการสื่อสารที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการสื่อสารข้อมูลโดยวิธีการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะประหยัดค่าใช้ จ่าย และใช้ระบบสื่อสารได้ค่อนข้างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการดังต่อไปนี้
ประสิทธิภาพของเครื่องและซอฟต์แวร์ที่ใช้สื่อสารข้อมูล
ปริมาณการส่งผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสถานีส่งและรับข้อมูล
ความเร็วของช่องทางการส่งผ่านข้อมูลที่ใช้
ข้อจำกัดที่ออกโดยองค์การที่ควบคุมการสื่อสารของแต่ละประเทศ
3. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสาร (Switched Network)
จาก รูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นแบบจุดซึ่งต้องต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้วการสื่อสารข้อมูลไม่ได้ผ่านตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีแนวความคิด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารหรือเครือข่ายสวิตซ์ซิ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุดให้สามารถใช้ สื่อสารได้มากที่สุด ลักษณะเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารสามารถแสดงได้ดังรูป
เครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารที่เห็นโดยทั่วไปมี 4 รูปแบบดังนี้
เครือข่ายสื่อสารโทรศัพท์ (The Telephone NetworK)
เครือข่ายสื่อสารเทลเล็กช์ (The Telex/TWX Network)
เครือข่ายสื่อสารแพคเกตสวิตซ์ซิ่ง(package Switching Network)
เครือข่ายสื่อสารสเปเซียลไลซ์ ดิจิตอล(Specialized Digital Network)
หลักการทำงานของเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารดังนี้
การเชื่อมต่อด้องเป็นแบบจุดต่อจุด
ต้องมีการเชื่อมต่อการสื่อสารกันทั้งฝ่ายรับและส่งก่อนจะเริ่มรับหรือส่งข้อมูล เช่น หมุนเบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
หลังจากสื่อสารกันเสร็จเรียบร้อยจะต้องตัดการเชื่อมต่อ เพื่อให้ผู้อื่นใช้สายสื่อสารได้ต่อไป สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
องค์ ประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลอันหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือสายสื่อกลาง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้ เช่น สายโคแอกเซียล (Coaxial) สายเกลียวคู่ (Twisted-pair) สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) และสื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้นการเลือกสื่อกลางที่จะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระบบสื่อสารข้อมูลนั้น จำเป็นต้องพิจารณากันหลายประการ เช่น ความเร็วในการส่งข้อมูล ราคาของอุปกรณ์ที่ใช้ สถานที่ใช้ การบริการ การควบคุม ตลอดจนเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ซึ่งลื่อกลางแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable)สายโคแอกเซียลเป็นสายที่นิยมใช้กันค่อนข้างมากในระบบการสื่อสารความ ถี่สูง เช่น สายอากาศของทีวี สายชนิดนี้ถูกออกแบบมาให้มีค่าความต้านทาน 75 โอห์มและ 50 โอห์ม โดยสาย 75 โอห์ม ส่วนใหญ่ใช้กับสายอากาศทีวีและสาย 50 โอห์ม จะนำมาใช้กับการสื่อสารที่เป็นระบบดิจิตอลคุณสมบัติของสายโคแอกเซียลประกอบ ด้วยตัวนำสองสาย โดยมีสายหนึ่งเป็นแกนอยู่ตรงกลางและอีกเส้นเป็นตัวนำล้อมรอบอยู่อีกชั้น มีขนาดของสาย 0.4 ถึง 1 นิ้ว สายโคแอกเซียลมี 2 แบบ คือ แบบหนา (Thick) และแบบบาง (Thin) แบบหนาจะแข็ง การเดินสายทำได้ค่อนข้างยาก แต่สามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่าแบบบางสามารถ เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของสายสื่อสารกลางแบบโคแอกเชียลได้ดังต่อไปนี้
สาย คู่บิดเกลียว (Twisted-Pair)สายคู่เกลียวเป็นสายมาตรฐานสองเส้นหุ้มด้วยฉนวนแล้วบิดเป็น เกลียว สามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งแบบ อนาลอกและแบบดิจิตอล สายชนิดนี้จะมีขนาด 0.015-0.056 นิ้ว ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิทต่อวินาที ถ้าใช้ส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะต้องใช้วงจรขยายหรือแอมพลิฟายเออร์ ทุก ๆ ระยะ 5-6 กม. แต่ถ้าต้องการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะต้องใช้อุปกรณ์ทำซ้ำสัญญาณ (Repeater) ทุก ๆ ระยะ 2-3 กม. โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายเมกะบิตต่อวินาทีในระยะทางได้ไกล หลายกิโลเมตร เนื่องจากสายคู่เกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี และมีน้ำหนักเบา นอกจากนั้นยังง่ายต่อการติดตั้ง จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวางตัวอย่างของสายคู่บิดเกลียว คือ สายโทรศัพท์ สำหรับสายคู่บิดเกลียวนั้นจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ
สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้ม ฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้ม ฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่จะป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก
สายส่ง ข้อมูลแบบไฟเบอร์ออฟติกจะประกอบด้วยเส้นใยทำจากแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่ตรงแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก โดยที่ใยแก้วทั้ง 2 นี้จะมีดัชนีในการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงที่ส่งจากปลายด้านหนึ่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้
สายส่งแบบไฟ เบอร์ออฟติก (Fiber Optic)เป็นการส่งสัญญาณด้วยใยแก้ว และส่งสัญญาณด้วยแสงมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสามารถส่งข้อมูล ได้ด้วยเร็วเท่ากับแสง ไม่มีสัญญาณรบกวนจากภายนอก สายส่งข้อมูลแบบไฟเบอร์ออฟติกจะประกอบด้วยเส้นใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่ตรงแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก โดยที่ใยแก้วทั้ง 2 นี้จะมีดัชนีในการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงที่ส่งจากปลายด้านหนึ่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
โมเด็ม (MODEM)MODEM มาจากคำเต็มว่า Modulator – DEModulator ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลดิจิตอล ที่ได้รับจากเครื่องส่งหรือคอมพิวเตอร์ เป็นสัญญาณแบบอนาลอกก่อนทำการส่งไปยังปลายทางต่อไป โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ และเมื่อส่งถึงปลายทางก็จะมีโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากอนาลอกให้เป็น ดิจิตอล เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer)วิธีการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งปลายทางที่ ง่ายที่สุดคือ การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to Point) แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและใช้งานไม่เต็มที่ จึงมีวิธีการเชื่อมต่อที่ยุ่งยากขึ้น คือการเชื่อมต่อแบบหลายจุดซึ่งใช้สายสื่อสารเพียงเส้น 802.3
คอนเซนเต รเตอร์ (Concentrator)คอนเซนเตรเตอร์เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเพิ่มสายหรือช่องทางการส่งข้อมูลได้มากขึ้น การส่งข้อมูลจะเป็นแบบอซิงโครนัส
คอนโทรลเลอร์(Controller)คอนโทรลเลอร์ เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่ส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส ที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ดี การทำงานจะต้องมีโปรโตคอลพิเศษสำหรับกำหนด วิธีการรับส่งข้อมูล มีบอร์ดวงจรไฟฟ้าและซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์
ฮับ (HUB)ฮับเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่เช่นเดียวกับมัลติเพล็กซ์เซอร์ ซึ่งนิยมใช้กับระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มีราคาต่ำ ติดต่อสื่อสารข้อมูลตามมาตรฐาน IEEE 802.3
ฟรอนต์ – เอ็นโปรเซสเซอร์ FEP (Front-End Processor)FEP เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างโฮสต์คอมพิวเตอร์ หรือมินิคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับสื่อสารข้อมูล เช่น โมเด็ม มัลติเล็กซ์เซอร์ เป็นต้น FEP เป็นอุปกรณ์ทีมีหน่วยความจำ (RAM) และซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมการทำงานเป็นของตัวเองโดยมีหน้าที่หลักคือ ทำหน้าที่แก้ไขข่าวสาร เก็บข่าวสาร เปลี่ยนรหัสรวบรวมหรือกระจายอักขระ ควบคุมอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล จัดคิวเข้าออกของข้อมูล ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูล
อิมูเลเตอร์ (Emulator)อิมูเลเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกลุ่มข่าวสารจาก โปรโตคอลแบบหนึ่งไปเป็นกลุ่มข่าวสาร ซึ่งใช้โปรโตคอลอีกแบบหนึ่ง แต่จะเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือเป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ก็ได้ บางครั้งอาจจะเป็นทั้ง 2 อย่าง โดยทำให้คอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ามานั้นดูเหมือนเป็นเครื่องเทอร์มินัลหนึ่ง เครื่อง โฮสต์หรือมินิคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนิยมนำเครื่อง PC มาใช้เป็นเทอร์มินัลของเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพราะประหยัดกว่าและเมื่อไรที่ไม่ใช้ติดต่อกับมินิ หรือเมนแฟรมก็สามารถใช้เป็น PC ทั่วไปได้
เกตเวย์ (Gateway)เกตเวย์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าที่หลักคือ ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่าซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน สามารถสื่อสารกันได้เสมือนกับเป็นเครือข่ายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วระบบเครือข่ายแต่ละเครือข่ายอาจจะแตกต่างกันในหลายกรณี เช่น ลักษณะการเชื่อมต่อ (Connectivity) ที่ไม่เหมือนกัน โปรโตคอลที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลต่างกัน เป็นต้น
บริดจ์ (Bridge)เป็นอุปกรณ์ IWU (Inter Working Unit) ที่ใช้สำหรับเชื่อมเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะใช้โปรโตคอลที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้
เรา เตอร์ (Router)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะเป็นเครือข่ายเดียวกันหรือข้ามเครือข่ายกัน โดยการเชื่อมกันระหว่างหลายเครือข่ายแบบนี้เรียกว่า เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) โดยเครือข่ายแต่ละเครือข่ายจะเรียกว่า เครือข่ายย่อย (Subnetwork) ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้เชื่ออมต่อระหว่างเครือข่าย เรียกว่า IWU (Inter Working Unit) ได้แก่ เราเตอร์และบริดจ์
รีพีตเตอร์ (Repeater)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณซ้ำ เพื่อส่งสัญญาณต่อไปนี้ในระยะไกลป้องกันการขาดหายของสัญญาณ ซึ่งรูปแบบของเครือข่ายแต่ละแบบรวมทั้งสายสัญญาณที่ใช้เป็นตัวกลางหรือสื่อ กลาง แต่ละชนิดจะมีข้อจำกัดของระยะทางในการส่ง ดังนั้นเมื่อต้องการส่งสัญญาณให้ไกลกว่าปกติต้องเชื่อมต่อกับรีพีตเตอร์ดัง กล่าว เพื่อทำให้สามารถส่งสัญญาณ ได้ไกลยิ่งขึ้น
เครือข่าย (Networks)เครือข่าย หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงประกอบด้วยสื่อการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 ระบบเข้าด้วยกัน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ ความจำเป็นในการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นในการทำงานในยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังนี้ 1) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้การทำงานมีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 2) เครือข่ายช่วยให้หน่วยงานประหยัดงบประมาณโดยช่วยสนับสนุนการใช้ทรัพยากร คอมพิวเตอร์ร่วมกัน เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และฐานข้อมูล 3) เครือข่ายทำให้พนักงานหรือทีมงานของหน่วยงานที่อยู่ห่างไกลกันสามารถใช้ เอกสารร่วมกัน และแลกเปลี่ยนแนวคิด ความเห็น ตลอดจนเสริมให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพดีขึ้น และกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ 4) เครือข่ายช่วยสร้างให้การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับลูกค้าหรือองค์การ ภายนอกมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ประเภทของเครือข่าย1) จำแนกตามพื้นที่• เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN)เป็นการติดต่ออุปกรณ์สื่อสารตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไประยะ 2,000 ฟุต (โดยปกติจะอยู่ในอาคารเดียวกัน) LAN จะช่วยให้ผู้ใช้จำนวนมากสามารถใช้ทรัพยากรของหน่วยงานร่วมกัน เช่น พรินต์เตอร์ โปรแกรม และไฟล์ข้อมูล ในกรณีที่ LAN ต้องการเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะภายนอก เช่น เครือข่ายโทรศัพท์หรือเครือข่ายของหน่วยงานอื่น จะต้องมี gateway ซึ่งทำหน้าที่เหมือนประตูติดต่อระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกัน โดยช่วยแปลโปรโตคอลของเครือข่ายให้กับอีกโปรโตคอลหนึ่งเพื่อจะทำงานร่วมกัน ได้
• เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network-MAN)เครือข่ายเป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงขนาดใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน • เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN)เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ในบริเวณกว้างโดยครอบคลุมทั้ง ประเทศหรือทั้งทวีป WAN จะอาศัยสื่อโทรคมนาคมหลายประเภท เช่น เคเบิ้ล ดาวเทียม และไมโครเวฟ 2) แบ่งตามความเป็นเจ้าของ • เครือข่ายสาธารณะ (Public Network)เป็นเครือข่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้โดยทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ ดังนั้นผู้ใช้จะต้องแข่งกับผู้ใช้รายอื่น โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีผู้ใช้จำนานมาก เช่น ระบบโทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งผู้ใช้ไม่มีหลักประกันว่าสายจะว่างในช่วงนี้ต้องการหรือไม่
• เครือข่ายเอกชน (Private Network)เป็นเครือข่ายที่หน่วยงานสามารถเป็นเจ้าของเอง หรือ เช่าเพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร กรณีนี้ก็จะเป็นหลักประกันว่าหน่วยงานจะมีโอกาสได้ใช้เครือข่ายเมื่อต้องการ เสมอ
• เครือข่ายแบบมูลค่าเพิ่ม (Value-added Network-VAN)เป็นเครือข่ายกึ่งสาธารณะซึ่งให้บริการเพิ่มขึ้นจากการติดต่อ สื่อสารปกติผู้ให้บริการสื่อสาร (Communication service provider) เป็นเจ้าของ VAN อย่างไรก็ตาม VAN เร็วกว่าเครือข่ายสาธารณะและมีความปลอดภัยมากกว่า เครือข่ายสาธารณะ
• เครือข่ายเอกชนเสมือนจริง (Virtual Private Network-VPN)เป็นเครือข่ายสาธารณะที่รับประกันว่าผู้ใช้จะมีโอกาสใช้งาน เครือข่ายได้ตลอดเวลา แต่ไม่ได้ให้สายหรือช่องทางการสื่อสารแก่หน่วยงานผู้ใช้โดยเฉพาะ แต่จะใช้วิธีแปลงรหัสข้อมูลของหน่วยงานผู้ใช้โดยเฉพาะ แต่จะใช้วิธีแปลงรหัสข้อมูลของหน่วยงานเพื่อที่จะส่งไปพร้อม ๆ กับหน่วยงานอื่น ๆ Network Topologyคือการออกแบบและการติดต่อเชื่อมโยงกันของเครือข่ายทางกายภาพ โดยทั่วไปโทโปโลจีพื้นฐานมีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้ 1) แบบดาว (Star Network)เป็นเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์ทุกตัวและอุปกรณ์อื่นเชื่อมกับโฮสต์ คอมพิวเตอร์ที่อยู่ และการสื่อสารทั้งหมดระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่ายต้องผ่านโฮสต์คอมพิวเตอร์ เนื่องจากโฮสต์คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์อื่นทั้งหมดในเครือข่าย เครือข่ายแบบดาวเหมาะสำหรับการประมวลผลที่มีลักษณะรวมศูนย์ อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของแบบนี้ คือ หากใช้โฮสต์คอมพิวเตอร์ก็จะทำให้ระบบทั้งหมดทำงานไม่ได้ 2) แบบบัส (Bus Network)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์โดยใช้สายวงจรเดียว ซึ่งอาจจะเป็นสายเกลียวคู่สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วก็ได้ สัญญาณสามารถสื่อสารได้ 2 ทางในเครือข่ายโดยมีซอฟต์แวร์คอยช่วยแยกว่าอุปกรณ์ใดจะเป็นตัวรับข้อมูล หากมีคอมพิวเตอร์ตัวใดในระบบล้มเหลวจะไม่มีผล ต่อคอมพิวเตอร์อื่น อย่างไรก็ตามช่องทางในระบบเครือข่ายแบบนี้สามารถจัดการรับข้อมูลได้ครั้งละ 1 ชุดเท่านั้น ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการจราจรของข้อมูลได้ในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้งานพร้อม กัน โทโปโลจีแบบนี้นิยมใช้ในวงแลน 3) แบบวงแหวน (Ring Network)คอมพิวเตอร์ทุกตัวเชื่อมโยงเป็นวงจรปิด ทำให้การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งไปยังอีก ตัวหนึ่งโดยเดินทางไปในทิศทางเดียว คอมพิวเตอร์แต่ละตัวทำงานโดยอิสระ หากมีตัวใด ตัวหนึ่งเสียระบบการสื่อสารในเครือข่ายได้รับการกระทบกระเทือน ยกเว้นจะมีวงแหวนคู่ในการรับส่ง ข้อมูลในทิศทางต่างๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในการป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง นอกจากโทโปโลจีทั้ง 3 แบบที่กล่าวข้างต้น อาจจะพบโทโปโลจีแบบอื่นๆ เช่น แบบโครงสร้างลำดับชั้น (Hierarchical Network) ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายต้นไม้ (Tree) หรือมีแบบผสม (Hybrid) อย่างไรก็ตามโทโปโลจีแต่ละประเภทจะมีข้อดีและ ข้อจำกัดแตกต่างกันผู้พัฒนาระบบจะต้องพิจารณาถึงความเร็ว ความเชื่อถือได้ และความสามารถของเครือข่ายในการทำงาน หรือการแก้ไขข้อบกพร่องในกรณีที่อุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่ง ในระบบมีปัญหาตลอดจนลักษณะทางกายภาพ เช่น ระยะห่างของ node และต้นทุนของทั้งระบบ รูปแบบการประมวลผลแบบกระจายเครือข่าย (Organizational Distributed Processing)วิธีการประมวลผลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์มี 3 รูปแบบ คือ 1.Terminal-to-Host Processing2. File Server Processing3. Client/Server
ที่มาhttp://www.bcoms.net/temp/lesson6.asp

Categories of twisted pair cabling systems


มาตรฐาน 568 ของ ANSI/EIA หรือ ANSI/EIA (American National Standards Institute/Electronic Industries Association) Standard 568 คือ มาตรฐานหนึ่งที่ระบุหมวดหมู่ (Category) ที่เรียกเป็นคำเดียวด้วย “CAT” ของระบบเคเบิล twisted pair (สาย และการเชื่อมต่อ) ในด้านอัตรข้อมูลที่สามารถเป็นผล ข้อกำหนดอธิบายวัสดุเคเบิล ประเภทของ connector และ junction block ได้รับการใช้เพื่อให้เป็นไปตามหมวดหมู่ หมวดหมู่เหล่านี้ คือ
Category
อัตราข้อมูลสูงสุด
การประยุกต์ปกติ
CAT 1 ได้ถึง 1 Mbps (1 MHz) เสียงอะนาล๊อก (POTS),
อัตราอินเตอร์เฟซพื้นฐานใน ISDN,
สาย Doorbell wiring
CAT 2 4 Mbps ส่วนใหญ่ใช้ในระบบเคเบิลสำหรับเครือข่าย Token Ring ของ IBM
CAT 3 16 Mbps เสียงและข้อมูลบน 10BASE-T Ethernet
CAT 4 20 Mbps ใช้ใน 16 Mbps Token Ring กรณีอื่นใช้ไม่มาก
CAT 5 100 Mbps
1000 Mbps (4 pair)
100 Mbps TPDDI
155 Mbps ATM
ไม่มีการสนับสนุน และแทนที่โดย 5E
CAT 5E 1000 Mbps
(10000 Mbps prototype)
100 Mbps TPDDI
155 Mbps ATM
Gigabit Ethernet
ให้ near-end crosstalk ดีกว่า  CAT 5
CAT 6 ได้ถึง 400 MHz ประยุกต์กับ Super-fast broadband นิยมมากในการติดตั้งระบบเคเบิลใหม่
CAT 6E ได้ถึง 625 MHz
(ทดสอบภาคสนามได้ถึง 500 MHz)
สนับสนุน 10 Gigabit Ethernet (10GBASE-T)
CAT 7
(ISO Class F)
600-700 MHz
1.2 GHz เป็นคู่ด้วย Siemon connector
วิดีโอภาพเคลื่อนไหวสมบูรณ์
Teleradiology
ระบบคุ้มกันสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลและผู้ผลิต
ขณะที่การเชื่อมต่อยาวกว่าสำหรับ Gigabit Ethernet ใช้ไฟเบอร์อ๊อฟติก เป้าหมายคือ ขยายการวางสาย twisted-pair ตาม CAT 5 และ CAT 5E ให้จัดการได้เข้าที่สำหรับการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ตั้งโต๊ะ (ใช้ 4 คู่ของสาย twisted pair)
หมวดหมู่ที่นิยมมากในการติดตั้ง คือ CAT 3 และ CAT 5 ขณะที่เคเบิล 2 ระบบนี้อาจจะดูเหมือนกัน CAT 3 ได้รับการทดสอบในชุดข้อกำหนดขั้นต่ำและสามารถเป็นเหตุการส่งผ่านผิดพลาด ถ้าใช้ความเร็วสูงกว่า ระบบเคเบิล CAT 3 ได้รับการรับรอง near-end crosstalk เฉพาะสัญญาณ 16 MHz ขณะที่ ระบบเคเบิล CAT 5 ต้องผ่านการทดสอบ 100 MHz ส่วน CAT 5E ได้แทนที่ CAT 5
ข้อกำหนด CAT 6 ได้เสร็จสิ้นแล้วและสำหรับบางครั้งผลิตภัณฑ์ได้รับการเสนอให้เป็นไปตามข้อ กำหนดนี้ ซึ่งปรับปรุงจาก CAT 5E ด้าน near-end crosstalk และวิธีการอื่น ตามรายงานของ IEEE การติดตั้งใหม่ในปี 2004 ร้อยละ 70 เป็น CAT 6
ข้อกำหนด CAT 7 มีอยู่ แต่ยังไม่ประกาศเป็นทางการ

มีอะไรใหม่ใน Windows 8

มีอะไรใหม่ใน Windows 8

Windows8
หลังจากที่ Windows 7 วางอยู่ในตลาดได้ไม่นาน และตอนนี้ทาง Microsoft ได้ปล่อย Windows 8 สำหรับDeverlop ออกมาแล้ว แล้ววันนี้ผมก็ได้โหลดมาลองเล่น อยากจะบอกว่า Windows 8 นี้ เหมือนเอาความคิดของ Mobile มาใส่ใน Windows 8 บนคอมพิวเตอร์กันเลยทีเดียว ซึ่งผมชอบมากๆ Interfaceสวยดีครับ และยังสา่มารถ Connect เข้ากับพวก SkyDrive  ที่เอาไว้สำหรับเก็บข้อมูลของเรา ได้อย่างง่ายดาย  สำหรับ Spec PC / Notebook ที่เราจะเอามาลง Windows 8 นี้ ผมว่าต้องอย่างน้อยต้อง  Core i3 ละครับ  และแรมอย่างน้อยผมก็ว่าควรไม่ต่ำกว่า 2 GB นะครับ ซึ่งเดี๋ยวนี้ Hardware ก็ไม่แพงเหมือนแต่ก่อนแล้วครับ



พามาชม Interface Windows 8 กันเลยครับ

หลังจากที่เราเปิด Windows 8 มานะครับ เราก็จะพบกับหน้าตาของ gadget ของ Windows 8 กัน ซึ่งจะแบ่งออกเป็นหลายหมวดหมู่นะครับ
ประมาณแยกออกเป็น Tools develop , Games , Social network อันนี้ผมก็ชอบ
หน้าต่างนี้จะคล้ายๆกับ Function ของ Mobile เลยครับ
Windows8_Review_12

จะเป็น gadget icon ต่างๆครับ และ ชื่อที่เราได้ทำการ Login ก็จะอยู่มุมขวาบนครับ โดย Icon พวกนี้เราสามารถเพิ่ม-ลด ได้ตามใจชอบเลยนะครับ

Windows8_Review_13

ผมจะพาเข้ามาดูต่าง Windows 8 กันนะครับ ดูผ่านๆมันก็เหมือน Windows 7 เนอะครับ แต่ถ้าดูดีๆพวก Fuctions icon ต่างๆ ก็จะถูกจัดไว้ใหม่หมด โดยเมนูต่างๆก็จะไปอยู่ข้างบนเป็น Ribbon เหมือนชุด Microsoft Office 2010

Windows8_Review_1

เราสามารถตรวจสอบสภาพอากาศได้ด้วยครับ ซึ่งเป็นลูกเล่นบน Windows 8 ครับ

Windows8_Review_3

ในหน้าต่างนี้เป็น Interface ใหม่ของ Control บน Windows 8 ครับ ซึ่งจะมีเมนูให้เซ็ต หรือตั้งค่าต่างๆ


Windows8_Review_6





หน้านี้ก็เหมือน Control Panel เหมือนกับ Windows 7 นั่นแหละครับ

Windows8_Review_7


บน Windows 8 IE ที่ได้มาจะเป็น IE10 ครับผม
Windows8_Review_8


ภาำพนี้จะปรากฎก็ต่อเมื่อ ผม Lock screen บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของผมครับ แต่ถ้าเราจะปลดล๊อคก็ให้ลากเมาส์ขึ้นครับ ให้อารมณ์เหมือนใช้พวก Windows mobile ครับ

Windows8_Review_10


อันนี้เป็น Windows Task Manager ของ Windows 8 ครับ


Windows8_Review_11


บทความนี้ผมอ้างอิงมาจาก Windows 8 develop นะครับ แต่ถ้าตัวจริง Microsoft คงปล่อยออกมา สักกลางปีหน้า 2012 นะครับ
แต่ Windows 8 นี้ก็ยังมี error อยู่หลายจุดนะครับ และก็เจ้าเก่าครับจอฟ้า หรือ Bluescreen นั่นเอง
ดูโดยรวมแล้ว Windows 8 น่าใช้มากเลยนะครับ  มันจะให้คุณง่ายต่อการใช้เมนูต่างๆ และง่ายต่อการติดต่อบนโลกของ Internet
มีอะไรใหม่ๆ ผมจะมาอัพเดตบทความให้นะครับ
ผิดพลาดประการให้ ขอ อภัียไว้ด้วยนะครับ ^ ^

วิธีการแชร์ทรัพยากร(ข้อมูล,Printer)ร่วมกันภายในบ้าน หรือ ที่ทำงาน

Lan
สอนวิํธีการแชร์ข้อมูลต่างๆภายในวงแลนของเรา เพื่อแชร์ข้อมูลกันภายในบ้านของเรา
บ้าน เราเดี๋ยวนี้ มีคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ทั้งของพ่อ แม่ และของลูก แต่จะจัดการอย่างไรล่ะ??  ให้มันสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ อาทิเช่น Share Printer หรือ Share Data ทาง ไอทีไอไทย จึงทำบทความนี้ขึ้นมา งั้นเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
ขั้นตอนการทำ
1. หลายๆบ้านคงมี Network Diagram คราวๆประมาณนี้ พูดง่ายๆ ก็คือ มี router 1ตัว จากนั้นลากสายแลนมายัง Switch 8 port จากนั้นก็มีคอมพิวเตอร์ทั้ง PC /Notebook เอาสายแลนมา Plug ที่ Switch ตามภาพ
Diagram
ทางผู้เขียนจะกำหนดดังนี้
Computer Name
PC1= ITITHAI
PC2=Joomla
NoteBook = IT
Name workgroup =MSHOME
โดยคอมพิวเตอร์ทั้งหมดนี้จะรับ Ip address มาจาก Router
2. เรามาเริ่มทำกันที่ PC1 กันเลยดีกว่า(ส่วน PC2 , Notebook ให้ทำตามวิธีนี้เหมือนกันในคอมพิวเตอร์ของแต่ละเครื่องถ้าต้องการแชร์ข้อมูล เครื่องอื่นด้วย พูดง่ายๆเครื่องไหนต้องการแชร์ข้อมูลก็ให้เซ็ตเหมือนขั้นนี้จนเสร็จ) ให้ไปที่ Start - - -> Control Panel - - -> จากนั้นให้ทำการ Double Click icon Network Setup wizard
Share_network_Pic1
3. รูปก็จะปรากฏดังภาพ จากนั้นให้ทำการกดปุ่ม Next
Share_network_Pic2


4. จากนั้นก็ให้ทำการกด Next
Share_network_Pic3
5. จากนั้นให้เราทำการเลือก หัวข้อที่2
Share_network_Pic4
6.จาก นั้นระบบจะให้ใส่ Computer Name ให้เราใส่ตามใจชอบของเราเลยครับ เช่น PC1(ขั้นตอนนี้ผู้เขียนของใส่ว่า ITITHAI นะครับ) จากนั้นทำการกด Next ต่อไป
Share_network_Pic5
7. ขั้นตอนนี้ระบบจะให้ใส่ชื่อ Workgroup คือให้เราใส่ชื่อระบบภายในบ้านของเรา โดยผู้อ่านอาจจะใส่เป็น Home , Sharehome หรือใส่เป็นค่ามาตราฐาน MSHOME เลยก็ได้ แต่เครื่องภายในบ้านเราทั้งหมดจะต้่องมีชื่อ Workgroup  ที่เหมือนกันทั้งหมดนะครับ
Share_network_Pic6
8. หัวข้อนี้คือให้เีี่ี่ราเลือก Turn on file and printer sharing เพื่อเป็นการเปิด Function share resource จากนั้นทำการกด Next
Share_network_Pic7
9.หน้าต่างนี้ Window จะสรุปค่า config ต่างๆที่เราทำการปรับมาไว้เมื่อกี้มาให้เราดู จากนั้นให้กด Next
Share_network_Pic8
10. ในขั้นตอนนี้ให้เี่ราเลือกหัวข้อ Just Finish .. ...... เพื่อเป็นการสิ้นสินในการ Setup จากนั้นกด Next
Share_network_Pic9
11.ก็เป็นอันเสร็จสิ้นในการ Setup ระบบการแชร์
Share_network_Pic10
12.จากนั้นก็ให้เราไปทำการปิด Filewall ที่เครื่อง PC1(เครื่องที่แชร์ข้อมูลต้องปิด Firewall ) ของแต่ละเครื่อง
Share_network_Pic11
13. จากนั้นก็ดูใน Tab Exception ว่า File and Printer Sharing มีเครื่องหมายถูก อยู่ด้านหน้าหรือเปล่า จากนั้นก็ทำการกด Ok
Share_network_Pic12
14. จากนั้นเราก็ทำการเปิด Share Drive / Folder ที่เราต้องการ ทีนี้เราก็จะแชร์ใช้ทรัพยากร่วมกันภายในบ้านได้แล้ว ครับ
บทความวิธีการเซ็ตแชร์ข้อมูลกันภายในบ้าน
http://itithai.com/article-tips/windows/25-setup-share-data-in-workgroup.html

IT-RED

เพื่อสีที่ถูกต้องสมจริง เรามา Calibrate หน้าจอ Monitor กันเถอะ

>>> ในหน้าสุดท้ายมีกิจกรรมเล่นเกมกันสนุกๆ ด้วย อย่าลืมมาร่วมเล่นกันนะครับ
คุณเคยประสบปัญหาเช่นนี้หรือไม่ แต่งภาพบนหน้าจอตัวเองว่าสีสวยแล้ว พอส่งไฟล์ไปให้เพื่อนกับพบว่าสีไม่เห็นเหมือนบนจอเราเลย ทั้งมืด ทั้งเพี้ยน แล้วไหนจะเอาไปอัดอีก สีไปกันใหญ่เลยคราวนี้
calib
วันนี้ LCDSPEC.COM เรามีคำตอบมาให้ ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่า จอภาพและอุปกรณ์แสดงผลภาพทำงานโดยมี Color Space ที่ต่างกัน
CIE 1931 color space
Color Space แบบ 2 มิติ
โดยหากจอไหนที่มี Color Space ที่กว้างจะให้ความสดใสภาพได้มากกว่าจอที่มี Color Space แคบ เช่นจอที่เป็นชนิด LED LCD Monitor จะมี Color Space ที่กว้างกว่า จอชนิด CCFL LCD Monitor เป็นต้น
แล้ว Color Space มันคืออะไร ?
Color Sapce ของ Monitor ก็คือขอบเขตของการแสดงสีของจอภาพนั้นๆ ว่าสามารถแสดงสีได้มากน้อยแค่ไหน เป็นที่มาว่าทำไมแต่ละจอถึงให้สีที่มีความสดไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องมีการทำ Color Profile เข้ามาช่วยในการควบคุมให้มีการแสดงสีให้มีค่าใกล้เคียงกันมากที่สุด เนื่องจาก Color Profile นี้จะทำหน้าที่เสมือนแผนที่ที่บอกว่าสีที่ต้องการนี้อยู่ที่ตำแหน่งไหนของ Color Space ที่ใช้อยู่ เช่น ถ้าส่งคำสั่งแสดงสี 200,0,0 ไปให้ Monitor A จะได้สีแดงเข้มๆ แต่ถ้าส่ง 200,0,0 เช่นกัน ไปให้ Monitor? B จะได้สีแดงที่สว่างขึ้น ถ้าต้องการให้ Monitor A และ Monitor B แสดงสีออกมาเหมือนกัน ก็จะจำต้องที่จะต้องทำแผนที่สีที่ว่าไปเมื่อกี้ ซึ่งสีถ้าใช้ Color Profile บน Color Space ของ Monitor A สีแดงเข้มอยู่ที่ 200,0,0 แต่สีแดงเข้มบน Color Space ของ Monitor B อาจจะอยู่ที่ 190,0,0 ได้ การทำงานเช่นนี้จะมีการแปลงโปรไฟล์สีเกิดขึ้น เพื่อให้ได้สีที่ถูกต้อง
แล้วโปรไฟล์สีนี้จะได้มาอย่างไร โดยทั่วไป ผู้ผลิตจอมอร์นิเตอร์จะมีการทำโปรไฟล์สีของจอรุ่นนั้นๆ อยู่แล้ว แต่ด้วยการผลิตอุปกรณ์อิเล็คโทรนิกส์มันก็ไม่สามารถที่จะทำให้อุปกรณ์มีการ แสดงผลได้ตามต้นแบบ 100% ได้ และถ้าสังเกต จะเห็นว่าจอที่ใช้ไปนานๆ จะมีอากาเหลืองเกิดขึ้น เนื่องจากหลอด back light หรือภาคจ่ายไฟให้หลอด back light เริ่มเสื่อม ซึ่งนั่นก็ทำให้การใช้โปรไฟล์สีเดิมไม่สามารถใช้การได้นั่นเอง เราจึงควรที่จะทำโปรไฟล์สี หรือแผนที่สีบนจอขึ้นมาใหม่เพื่อให้ได้สีที่แสดงออกมายังตรงอยู่เหมือนเดิม ซึ่งการสร้างโปรไฟล์สีนี้ก็คือการ Calibrate หรือการปรับเทียบหน้าจอนั่นเอง
โดยการ Calibrate สามารถทำได้ 2 วิธีหลักด้วยกัน คือการใช้สายตาในการปรับเทียบ ซึ่งวิธีนี้จะมีความแม่นยำที่ค่อนข้างต่ำ แต่สามารถใช้ได้ถ้าไม่ได้ที่จริงจังเรื่องการใช้สีมากนัก แต่ถ้าต้องการความแม่ยำที่สูงขึ้นจะใช้พวก Hardware ประเภท Spectophotometer หรือ Colorimeter ในการปรับเทียบ
—–
การ Calibrate หน้าจอด้วย สายตา (Windows 7) :
การ Calibrate ด้วยวิธีนี้ ทีมงาน LCDSPEC.COM ขอบอกไว้ก่อนว่า?ผู้ใช้ต้องใช้ความแม่นยำในการพิจารณาสีพอสมควร และค่อนข้างมีปัญหาบ้างกับคนที่ตาบอดสี เนื่องจากเป็นการใช้สายตาในการปรับเลื่อนให้สีมีค่าเข้าใกล้สีขาวมาตรฐานมากที่สุด
งานนี้ขอใช้ Calibrate Color ของ Windows 7 นะครับ ถือว่าเป็น Tool นึงที่สะดวยเลยที่เดียวก็ว่าได้ ไม่ต้องไปเสียเวลาหา Adobe Gamma มาลงให้เสียเวลา
เอาหล่ะก่อนจะเริ่ม calibrate เรามาเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์และพื้นที่กันหน่อยดีกว่านะ
1. แสงสว่างในห้องต้องเหมาะสม ไม่มีแสงวูบวาบ หรือมีการฉายไฟเข้าจอโดยตรง
2. ผนังห้องควรมีสีใกล้เทากลางจะยิ่งดี เพราะสายตาเราจะวัดแสงและสีจากฉากและผนังรอบๆ จอด้วย
3. ตั้งค่าทั้ง จอ และ การ์ดจอ ให้เป็นค่าเริ่มต้น หรือ Factory Default
4. Wallpaper ควรเป็นภาพที่เป็นเฉดเทา
5. เปิดจอไว้อย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้หลอดจอ (CRT) หรือหลอด Back Light (LCD) ร้อนพอและให้แสงที่คงที่
ได้ตามนี้แล้ว มาทำการ Calibrate กันเลยดีกว่า
LCDSpec_Calibrate_Monitor_002
เริ่มด้วยจากการเข้าไปที่ Control Panel
สำหรับคนที่ใช้มุมมองแบบ Category ให้เลือกที่ Appearance and Peraonalization > Display > Calibrate color
ส่วนใครใช้มุมมองแบบ Large/Small icons (Classic) ให้เลือกที่ Display > Calibrate color ได้เลย
LCDSpec_Calibrate_Monitor_003
หลังจากเข้าโปแกรมแล้ว หาเรามี Monitor หลายตัว ก็สามารถเลือกได้ที่จะทำการ Calibrate ที่ Monitor ตัวไหนก็ได้โดยการลากหน้าต่าง Calibrate Monitor (ตามภาพ) ไปวางไว้ที่หน้าจอนั้นๆ จากนั้นทำการกด Next
LCDSpec_Calibrate_Monitor_004
ในขั้นตอนถัดมาจะเป็นการบอกถึงการตั้งค่าว่า เราควรตั้งค่าอย่างไรก่อนที่จะเริ่มทำการ Calibrate หน้าจอ โดยขั้นตอนที่ต้องทำก็ง่ายๆ เพียงแค่กดเมนูขึ้นมา แล้วทำการ Reset การตั้งค่าให้เป็นค่าเริ่มต้นเสียก่อน (Factory default) และถ้าหาก OSD Menu ของจอนั้นเลื่อนได้ ก็แนะนำให้เลื่อนไปอยู่ในจุดที่ดูไม่เกะกะ กับการอ่านวิธีในขั้นตอนต่อๆ ไป เมื่อได้ตำแหน่งที่เรียบร้อยแล้วจากก็กด Next กันได้เลยครับ
LCDSpec_Calibrate_Monitor_005
เริ่มจากการตั้งค่า Gamma ก่อน ด้วยการปรับค่าแบบง่ายๆ เลื่อนแถบ Slide bar ให้จุดสีที่อยู่ตรงกลางมีสีกลืนกันกับสีที่เป็นวงนอก โดยในภาพจะเป็นตัวอย่างของค่า Gamma ที่เหมาะสม ก็คือจุดที่อยู่กลางวงกลมจะดูกลืนไปกับสีพื้นที่อยู่รอบๆ จุดนั้น แล้วถ้าหากจุดตรงกลางเป็นสีขาว แสดงว่าค่า Gamma นั้นต่ำไป และในทางกลับกัน ถ้าจุดตรงกลางดูสีเข้มกว่าพื้นที่โดยรอบ แสดงว่าค่า Gamma นั้นสูงเกินไป เมื่อเราทำความเข้าใจกับการตั้งค่า Gamma แล้วหล่ะก็กด Next ต่อได้เลย
LCDSpec_Calibrate_Monitor_006
คราวนี้มาเป็นการปรับ Gamma จริงกันซะที ก็แค่เลื่อนแถบ Slide ให้สีจุด กับสีพื้นมันกลืนกันเป็นอันเสร็จพิธี กด Next ต่อครับ
LCDSpec_Calibrate_Monitor_007
หลังจากเสร็จสิ้นการตั้งค่า Gamma ให้กับหน้าจอ คราวนี้มาถึงการปรับค่าความสว่าง และค่าคอนทราสต์ เพื่อให้ได้แสงที่เหมาะสมในการใช้งาน แต่หากใครใช้โน็ตบุค โดยมากจะไม่สามารถปรับค่าเหล่านี้ได้ ก็สามารถกด Skip brightness and contrast adjustment เพื่อข้ามไปยังการปรับค่าสมดุลสีได้ทันที แต่ถ้าหากปรับค่าได้ ก็ให้กด Next เพื่อทำการปรับความสว่างของหน้าจอก่อน
LCDSpec_Calibrate_Monitor_008
การปรับ Brightness ที่เหมาะสม ลองดูที่ภาพนะครับ จะมีทั้งสีขาว ดำ ดำมาก และเงาดำ โดยต้องปรับให้เห็นสีทั้งหมดที่ว่าครับ ไม่ใช่ มืดจนไม่เห็นเงาดำในสีดำ หรือสว่างจนสีดำดูไม่ดำ ดูข้อตกลงแล้วก็ไม่ยากใช่มั้ยครับ กด Next ต่อดีกว่า
LCDSpec_Calibrate_Monitor_010
เมื่อรู้รูปแบบการปรับแล้ว ก็ลงมือตั้งค่าเลยละกัน ทำการกด เมนูขึ้นมา เข้าไปที่ส่วนการตั้ง Brightness ทำการเพิ่มหรือลดแสงเพื่อให้เห็น รายละเอียดบนเสื้อสูท และตัว X ที่อยู่บนฉากสีดำด้านหลัง โดยที่ส่วนสีดำต้องดูเป็นสีดำอยู่เหมือนเดิม หลังจากได้ความสว่างที่เหมาะสมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็กด Next เพื่อทำการปรับค่าคอนทราสต์ต่อเลยละกัน
LCDSpec_Calibrate_Monitor_011
ตอนนี้ก็มาถึงการตั้งคอนทราสต์ของจอกันแล้ว โดยภาพก็จะยังเป็นโทนขวา-ดำเหมือนเดิม การปรับในครั้งนี้จะให้สังเกตในส่วนของรอยยับบนเสื้อ และความใสภาพเป็นหลักก็แล้วกัน โดยถ้าหากคอนทราสต์เราสูงเกินไป รอยยับบนตัวเสื้อจะมองไม่เห็น จะดูว่าเสื้อขาวไปหมดทั้งตัว แต่ถ้าคอนทราสเราต่ำไป ภาพจะดูหมองๆ สีดำก็ไม่ดำออกจะเทาๆ ไปนิด เพราะฉนั้นค่าที่เหมาะสมจึงเป็นค่าที่ทำให้ส่วนขาวดำในภาพ ดูสีตัดกันมากที่สุด และบนตัวเสื้อเห็นรอยยับได้ชัดเจน ดูรูปแบบการปรับแล้วก็มาปรับจริงกันซะที กด Next
LCDSpec_Calibrate_Monitor_012
และแล้วเราก็มาปรับคอนทราสต์จริงๆ ซะที กดเมนูขึ้นมา ไปที่ Contrast แล้วก็เลื่อนๆๆๆๆๆๆ ได้ค่าดูน่าพอใจแล้วก็กด Next
LCDSpec_Calibrate_Monitor_013
หลังจากปรับค่าความเหมาะสมของจอกันไปแล้ว คราวนี้จะเป็นส่วนของการปรับสมดุลสีขวา จะเป็นส่วนของการสร้างรูปแบบสี หรือ Color Profile ขึ้น และตรงนี้เองที่ต้องการความแม่นของการดูสีค่อนข้างมากเลยทีเดียว? ว่าแต่เมื่อกี้มีใครมาทางลัดกันบ้างครับ ?ไม่เป็นไร ใครมามาทางตรง หรือทางลัดก็ไม่ว่ากัน ถ้าใครมาทางตรง จะเห็นว่าขั้นตอนก่อนหน้าจะมีแค่ มากไป หรือน้อยไป ความเป็นไปได้มีแค่ 3 ช่วงรูปแบบเท่านั้น แต่ครั้งนึ้รูปแบบความเป็นไปได้มีถึง 7 ช่วงรูปแบบ (แดงเกินไป เขียวเกินไป น้ำเงินเกินไป ออกจะม่วงไปนะ ออกฟ้าไปนิด ออกเหลืองไปหน่อย หรือว่าสีพอดีแล้ว) กันเลยทีเดียว o_O เพราะมันคือการปรับสมดุลสีกันทีเดียวทั้ง 3 สี เพื่อให้ได้สมดุลสีขาวที่เหมาะสม งานนี้ถ้าใครมีตัวช่วยอย่างกระดาษเทากลาง หรือกระดาษสีเทา 18% ก็จะช่วยให้ปรับได้ง่ายขึ้นอีกนิดนึงครับ คุยไปอาจจะไม่เห็นภาพ กด Next เลยดีกว่า
LCDSpec_Calibrate_Monitor_014
อย่างที่บอกหล่ะครับ ว่าคราวนี้เราจะตั้งค่าสีพร้อมกันเลย 3 สี (แล้วจะมั่วไปมั้ยเนี่ย) และก็อย่างที่บอก (อีกแล้ว) ถ้าใชกระดาษเทากลางก็พอเอาเทียบๆ ได้ แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร พยายามนิดนึง ค่อยๆ เลื่อนๆ ถ้าสีไหนมากไปก็ลดสีนั้นลง จนดูว่าสีทั้งหมดไล่จากขาวไปเทา (สีตรงกลางนั่นคือสีเทากลางหรือ Neutral grays) และเมื่อปรับจนได้สีเทาและไม่ แดงไป เขียวไป หรือน้ำเงินเกินไป ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว กด Next ต่อเพื่อบันทึกค่า
LCDSpec_Calibrate_Monitor_015
และสุดท้ายเมื่อปรับแต่งเสร็จ เผื่อใครจะลืมสีเดิมไปแล้ว ก็ลองกดที่ปุ่ม Previous calibration เพื่อดูค่าก่อนปรับสีก็ได้นะครับ บางจออาจจะดูว่าก่อนทำการปรับสีจอเราอาจจะฟ้าเกินไป หรือบางคนอาจจะใช้จอถนอมสายตา (เหลือง) มาเป็นเวลานานแล้วก็ได้ แต่ก็สุดแล้วแต่แหละครับ ถ้าใครดูแล้วว่าที่ Calibrate มานั้นดูแล้วไม่ชอบ ก็กด Cancel ออกไปได้ครับเพื่อใช้ค่าเดิม แต่ถ้าดูแล้วดีขึ้นก็กด Finish เป็นอันเสร็จสิ้นครับ
หลังจากได้ลอง Calibrate หน้าจอด้วยสายตาตัวเองกันไปแล้วไม่ทราบว่าเป็นยังไงบ้างครับ ลองเขียนมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ