7/30/2562

4 ขั้นตอนการเลือก PoE และ High Power PoE+ Switch ให้เหมาะกับการใช้งานในธุรกิจและองค์กร



สำหรับธุรกิจและองค์กรต่างๆ ที่เริ่มมีการติดตั้งอุปกรณ์ IT ภายในองค์กรเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเริ่มพบปัญหาในการเดินระบบไฟฟ้าและการใช้งานปลั๊กไฟที่เริ่มจะไม่เพียงพอและกลายเป็นอีกปัญหาในการออกแบบระบบ IT ต่างๆ เทคโนโลยีหนึ่งที่ถูกออกแบบมาแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะก็คือ PoE และ PoE+ ที่เป็นที่แพร่หลายมานานแล้วในระบบเครือข่ายขององค์กร และเริ่มถูกนำมาใช้งานในธุรกิจขนาดเล็กหรือตามบ้านกันบ้างแล้ว ซึ่งเราจะมาแนะนำให้รู้จักเทคโนโลยีนี้กันอย่างรวดเร็วในบทความนี้ครับ




รู้จักเทคโนโลยี Power over Ethernet อย่างรวดเร็ว

ก่อนหน้าที่โลกเราจะมีเทคโนโลยี PoE นั้น การติดตั้งอุปกรณ์ IT หรืออุปกรณ์เครือข่ายใดๆ ต่างก็ต้องมีการเผื่อการเชื่อมต่อกับปลั๊กไฟเอาไว้เสมอ ทำให้ในการใช้งานหลายๆ กรณีนั้นจะต้องมีการเผื่อไว้ทั้งสาย LAN และสายไฟพร้อมๆ กัน ส่งผลต่อเนื่องให้การติดตั้งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพราะอาจต้องเดินระบบไฟฟ้าเพิ่มสำหรับแต่ละอุปกรณ์ รวมถึงความรกของสาย LAN และสายไฟพี่มีจำนวนมากภายในอาคารหรือบนโต๊ะทำงาน

แนวคิดของ Power over Ethernet หรือ PoE จึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อรวมการรับส่งข้อมูลและการจ่ายพลังงานไฟฟ้าเอาไว้ภายในสาย LAN เส้นเดียวกันเลย ทำให้การออกแบบและติดตั้งใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ นั้นสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินระบบไฟลงไปได้ และช่วยให้ปริมาณสายต่างๆ ภายในองค์กรลดลงไปด้วยเช่นกัน โดยอุปกรณ์ที่นิยมจ่ายไฟฟ้าด้วย PoE มีดังนี้
IP Phone และระบบ Video Conference
IP Camera หรือกล้อง IP CCTV
Wireless Access Point
อุปกรณ์ IP Decoder
อุปกรณ์ Router บางชนิด
อุปกรณ์ Network Switch ขนาดเล็ก
นาฬิกา IP Clock ที่ประสานเวลากับระบบ NTP
อุปกรณ์ Sensor, Controller, Meter และอื่นๆ ในระบบ SCADA และ Internet of Things (IoT)
อุปกรณ์หลอด LED อัจฉริยะ และระบบควบคุมแสงไฟภายในอาคาร
ระบบ Access Control สำหรับรักษาความปลอดภัยภายในอาคาร เช่น ตรวจสอบบัตร, ลายนิ้วมือ, การ์ด และอื่นๆ
ระบบ Point of Sale (POS) ขนาดเล็ก
และอื่นๆ อีกมากมาย

จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีแต่อุปกรณ์ใช้งานในระดับธุรกิจหรือองค์กรเท่านั้นที่มีการใช้งาน PoE แต่อุปกรณ์ที่ใช้งานตามบ้านบางประเภทเองก็เริ่มมีการใช้งาน PoE บ้างแล้ว รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ จากระบบ Internet of Things (IoT) ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้มาตรฐานของการจ่ายไฟผ่านสาย LAN นี้จะเป็นที่รู้จักสากลกันภายใต้มาตรฐาน 802.3af (PoE) ที่มีกำลังจ่ายไฟประมาณ 15.4 Watt และมาตรฐาน 802.3at (High Power PoE+) ที่มีกำลังจ่ายไฟประมาณ 30 Watt และรองรับการทำงานแบบ Backward Compatible กับ 802.3af ได้ ทั้งนี้ในการคำนวนใดๆ นั้นก็ต้องประเมินเผื่อความสูญเสียของกำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการส่งผ่านสาย LAN เอาไว้ด้วยประมาณ 10% ก่อนที่จะไปถึงอุปกรณ์ตัวรับพลังงานที่จะนำมาเชื่อมต่อ

สำหรับอุปกรณ์ที่สามารถจ่ายไฟบนสาย LAN ด้วย PoE หรือ High Power PoE+ ได้นั้น ปัจจุบันมีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ อุปกรณ์ Switch ที่รองรับการทำงานแบบ PoE และ High Power PoE+ โดยสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้ผ่านสาย LAN ทีละหลายๆ เส้น และอุปกรณ์ PoE และ High Power PoE+ Injector ที่ส่วนใหญ่จะมีหน้าที่ในการจ่ายไฟให้กับสาย LAN ทีละ 1 เส้นเท่านั้น


4 ขั้นตอนการเลือก PoE และ High Power PoE+ ให้เหมาะกับการใช้งาน



สำหรับการนำเทคโนโลยี PoE และ High Power PoE+ มาใช้ในองค์กรนั้น มีขั้นตอนการพิจารณาดังต่อไปนี้



1. สำรวจก่อนว่าอุปกรณ์ที่เราต้องการกำลังไฟฟ้าเท่าไหร่, ใช้ความเร็วเครือข่ายเท่าไหร่ และติดตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง

อุปกรณ์แต่ละประเภทนั้นต้องการกำลังไฟฟ้าที่แตกต่างกัน บางอุปกรณ์อาจต้องการเพียงแค่ไม่กี่ Watt และสามารถใช้ PoE ก็สามารถตอบโจทย์ได้แล้ว แต่บางอุปกรณ์นั้นก็อาจต้องการกำลังไฟที่มากกว่านั้น เช่น 802.11ac Wireless Access Point ที่มักต้องการถึงระดับ PoE+ เป็นต้น ในขณะที่ความเร็วเครือข่ายที่ต้องการและจุดติดตั้งเองนั้นก็สำคัญเพราะจะส่งผลต่อการออกแบบระบบโดยรวม นอกจากนี้ก็ยังมีประเด็นเรื่อง Uptime ของอุปกรณ์ต่างๆ เพราะถ้าหากมีนโยบายว่าอุปกรณ์บางประเภทเช่น IP Camera นั้นควรจะต้องทำงานได้ตลอดเวลาอยู่เสมอจริงๆ การเลือก PoE และ High Power PoE+ Switch ที่มี Redundant Power Supply ก็อาจตอบโจทย์ในแง่ความทนทานนี้ได้



2. กำหนดจุดติดตั้ง PoE และ High Power PoE+ Switch โดยต้องมีระยะไม่เกินกว่า 100 เมตรจากจุดติดตั้งอุปกรณ์

หลังจากที่มีข้อมูลเรื่องกำลังไฟฟ้า, ความเร็วเครือข่ายที่ต้องการ และจุดติดตั้งของอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว ก็ได้เวลาเลือกจุดติดตั้ง PoE และ High Power PoE+ Switch ที่จะต้องมีระยะไม่เกินกว่า 100 เมตร และเตรียมสาย LAN ให้รองรับต่อการใช้ PoE และ High Power PoE+ ด้วย



3. คำนวนจำนวน Port สำหรับจ่ายไฟฟ้าผ่าน PoE และ High Power PoE+ ในแต่ละจุดติดตั้งที่ต้องการ

ในการคำนวนจำนวน Port ในแต่ละจุดติดตั้งนี้ จะทำให้เรารู้ข้อมูลของปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการในแต่ละจุด ซึ่งจะเชื่อมโยงไปยังการออกแบบระบบไฟฟ้าของอาคารในจุดนั้นๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการ และส่งผลต่อเนื่องไปยังการเลือกอุปกรณ์ Switch หรือ Injector ที่จะนำมาใช้งานอีกด้วย



4. เลือกรุ่นและจำนวนของ PoE และ High Power PoE+ Switch ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน

PoE และ High Power PoE+ Switch แต่ละรุ่นนั้นจะรองรับการจ่ายไฟผ่านจำนวน Port ได้แตกต่างกัน บางรุ่นสำหรับการใช้งานระดับองค์กรนั้นอาจรองรับการจ่าย PoE และ High Power PoE+ ได้พร้อมๆ กันทุก Port แบบเต็มกำลัง ในขณะที่ Switch บางรุ่นเองก็จะมีจำนวน Port ที่สามารถจ่าย PoE และ High Power PoE+ ได้จำกัดซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากค่า Total PoE Power Budget หรือมีเงื่อนไขต่างๆ ที่แตกต่างกัน รวมถึงบางกรณีอาจส่งผลถึงปริมาณ Power Supply Unit ที่ติดตั้งบน Switch แต่ละตัวเลยด้วย ดังนั้นการเลือกรุ่นและจำนวนของ PoE และ High Power PoE+ Switch ในจุดติดตั้งเหล่านี้ให้เหมาะสมต่อการใช้งานจึงอาจมีความซับซ้อนอยู่บ้าง และควรลงรายละเอียดให้ครบถ้วน ทั้งนี้ถ้าหากบางจุดติดตั้งนั้นรองรับอุปกรณ์เพียง 1 ตัว การเลือกใช้ PoE หรือ High Power PoE+ Injector ก็อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมได้เช่นกัน และการออกแบบขนาดของ Uplink ให้เหมาะสมและเตรียม Port สำหรับใช้งานเป็น Uplink เอาไว้ด้วยก็เป็นอีกสิ่งที่อยู่ในการคำนวนที่จะลืมไปไม่ได้เลย


แนะนำ High Power PoE+ Switch จาก ZyXEL ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน PoE และ PoE+ ในระบบเครือข่ายสำหรับธุรกิจ

ZyXEL นัันเป็นผู้ผลิตที่ถือว่าตอบรับได้ทั้งความต้องการในระดับองค์กรและธุรกิจรวมถึงการใช้งานตามบ้านได้ในแง่ของโซลูชันทางด้าน PoE ที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่อุปกรณ์ PoE และ High Power PoE+ Switch ขนาดเล็กตั้งแต่ 8-24 Port ไปจนถึง Switch รุ่นใหญ่ขนาด 24-48 Port พร้อม Uplink ขนาด 10Gbps และมี Redundant Power Supply Unit โดยจะแบ่งออกเป็น 5 รุ่นหลักๆ ด้วยกันดังนี้


ZyXEL GS1100 Series เป็น Unmanaged Switch รุ่นเล็กสุด รองรับทั้ง PoE และ High Power PoE+ และมีตั้งแต่ 8-24 Port
ZyXEL GS1900 Series เป็น Web Managed Layer 2 Switch ที่รองรับทั้ง PoE และ High Power PoE+ และมีตั้งแต่ 8-24 Port
ZyXEL GS1920 Series เป็น Advanced Web Managed Layer 2 Switch ที่มีทั้งรุ่น High Power PoE+ และรุ่นที่ไม่รองรับ PoE โดยมีตั้งแต่ 24-48 Port
ZyXEL GS2210 Series เป็น Fully Managed Layer 2 Switch ที่มีทั้งรุ่น High Power PoE+ และรุ่นที่ไม่รองรับ PoE โดยมีตั้งแต่ 8-24 Port
ZyXEL GS3700 Series เป็น Fully Managed Layer 2/3 Switch ที่มีทั้งรุ่น High Power PoE+ และรุ่นที่ไม่รองรับ PoE โดยมีตั้งแต่ 24-48 Port และรองรับการเพิ่ม 10Gbps Uplink และ Redundant Power Supply Unit (PSU) ได้ในตัว

การเลือกใช้ POE (Power Over Ethernet) แบบ Passive และ แบบมาตรฐาน 802.3af/at


การเลือกใช้ POE (Power Over Ethernet) แบบ Passive และ แบบมาตรฐาน 802.3af/at






POE คืออะไร ??


POE หรือ Power over Ethernet เป็นเทคโนโลยี่ในการจ่ายไฟเลี้ยงผ่านสาย Lan (สาย UTP) ให้กับอุปกรณ์เครือข่ายที่รองรับ โดยที่เราไม่ต้องหาปลั๊กไฟติดตั้งไว้ใกล้ๆกับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น Access Point, IP-Camera เพื่อเอา DC Adapter ต่อเข้าไปครับ เพราะสายไฟจาก DC Adapter ระยะจะได้เต็มที่ก็ประมาณ 1 เมตร เวลาติดตั้ง Access Point หรือ กล้อง IP-Camera บนฝ้า บน เสา ก็ต้องเดินสายไฟ ต่อปลั๊กกันอีก ค่อนข้างจะวุ่นวาย




หรือ

กรณีติดตั้งอุปกรณ์ Network ที่เป็นแบบภายนอกอาคาร เช่น Outdoor Access Point หรือ IP-Camera การเดินไฟ 220 VAC เพื่อต่อกับ Adapter ของอุปกรณ์ เมื่อเวลาฝนตกหนัก พายุเข้า แล้วเกิดมีน้ำสาดเข้าไปในปลั๊กไฟ จะอันตรายมากครับ


การเลือกใช้งานอุปกรณ์เครือข่ายที่มีลักษณะการติดตั้งตามจุดต่างๆ เลือกรุ่นให้รองรับ POE จะสะดวกกว่ามาก และ การดูแลรักษาก็ค่อนข้างง่าย ย้ายจุดติดตั้งก็ไม่ต้องมาเดินไฟกันใหม่ ลากสาย Lan เส้นเดียวจบ




POE แบ่งหลักๆได้ 2 แบบ ทั้งแบบมาตรฐาน IEEE 802.3 และ แบบที่ไม่ใช่มาตรฐาน (Passive POE) การเลือกใช้งาน ต้องเลือกให้ถูกต้องครับ



POE ที่เป็นแบบมาตรฐาน IEEE 802.3



แบ่งเป็น 2 แบบหลักๆ ที่ใช้กันบ่อยๆ คือ 802.3af และ 802.3at ใน 2 แบบนี้ จะต่างกันตรงกำลังไฟ (Watt) เป็นหลักครับ




IEEE 802.3af จะจ่ายไฟกระแสตรง (VDC) ได้สูงสุด 57VDC, จ่ายกระแส 350mA, Power 15.4Watt มาตรฐานนี้จะใช้กับอุปกรณ์ Access Point หรือ IP-Camera ทั่วๆไป ที่ไม่ต้องการไฟที่กำลังสูงมาก

IEEE802.3at จะจ่ายไฟกระแสตรง (VDC) ได้สูงสุด 57VDC,จ่ายกระแส 650mA, Power 30Watt มาตรฐานนี้จะใช้กับอุปกรณ์ Access Point ที่ใช้ไฟสูงๆ เช่นพวก Dual-Radio, Wireless AC หรือ IP-Camera ที่เป็น Speed dome, Pan/Tilt/Zoom


การเลือก POE ให้ดูอุปกรณ์ที่จะรับไฟ (Access Point, IP-Camera) เป็นหลัก อุปกรณ์ที่รับไฟพวกนี้จะเรียกว่า PD (Power Device) โดยตรวจสอบจาก Datasheet




ตัวอย่าง Access Point ของ Engenius รุ่น EWS360AP ใน Datasheet ระบุว่ารองรับ POE มาตรฐาน IEEE 802.3at ถ้าไปซื้อ POE แบบ 802.3af จะใช้งานไม่ได้ เพราะไฟไม่พอ หรืออาจจะใช้งานได้ แต่เดินสาย Lan ได้แค่ไม่กี่เมตรครับ





รูปนี้เป็น Datasheet ของ Engenius ECB300 รองรับ POE มาตรฐาน IEEE 802.3af




ส่วนรูปนี้เป็น Datasheet ของกล้อง IP-Camera Acti รองรับ POE มาตรฐาน IEEE 802.3af




เวลาเลือกซื้อ จะได้เลือกได้ถูกต้องครับ



มาดูตัวจ่ายไฟกันบ้าง


ตัวจ่ายไฟจะเรียกว่า PSU (Power Sourcing Equipment) จะมีทั้งอุปกรณ์ที่เป็น POE Injector และ POE Switch



POE Injector



การเลือกใช้ POE Injector ไม่ยากครับ ดูว่า อุปกรณ์ที่จะใช้ไฟ (PD) ต้องการแบบไหน มาตรฐานอะไร af หรือ at, ความเร็ว Port เป็น Gigabit (1000Mbps) หรือ Fast Ethernet (100Mbps) เราก็แค่เลือก POE Injector ให้ตรงกัน เพราะต้องซื้อชุดต่อชุดครับ มีอุปกรณ์ PD 3 ตัว ก็ต้องซื้อ POE Injector 3 ตัว


ในรูปจะเป็น อุปกรณ์ POE Injector Micronet SP309I จ่ายไฟมาตรฐาน IEEE 802.3af/ at , Port Lan ความเร็ว Gigabit







POE Switch


ส่วนการเลือกใช้ POE Switch จะต้องมีการคำนวนนิดหน่อยครับ เนื่องจากมีหลายแบบ




1. ดูจำนวน Port ของ Switch ที่จ่ายไฟออกมา

เพราะ POE Switch หลายๆรุ่น มักจะมี Port ที่จ่ายไฟ เป็น ครึ่งนึงของจำนวน Port บน Switch ทั้งหมด

เช่นของ Cisco รุ่น SG200-08P จำนวน Port ทั้งหมด 8 Port แต่จ่ายไฟแค่ 4 Port ครับ

ถ้าจ่ายไฟได้ทุก Port ก็จะมีบางยี่ห้อ เช่น IP-COM F1218P รุ่นนี้มี Port 16 Port และ สามารถจ่ายไฟได้ทั้ง 16 Port หรือ ของ Engenius ครับ


2. คำนวน Power Budget หรือ คำนวนการจ่ายไฟสูงสุด ให้กับอุปกรณ์ที่รับไฟ (PD) ตรงนี้สำคัญครับ ให้นับจากอุปกรณ์ PD ที่ต้องใช้งาน





ในรูป เป็น Specification ของ Engenius POE Switch ดูตรงช่อง Power Budget




สมมุติ ใช้อุปกรณ์ Access Point ของ Engenius ที่เป็นมาตรฐาน 802.3at จำนวน 2 ตัว และ 802.3af จำนวน 3 ตัว

จากข้างต้น อุปกรณ์รับไฟที่เป็นมาตรฐาน 802.3at หมายถึงต้องการไฟ 30W เพราะฉะนั้น 30W x 2 = 60W และ 802.3af ต้องการไฟ 15.4W เพราะฉะนั้น 15.4W x 3 = 46.2W รวมเป็น 46.2 + 60 = 106.2W เราต้องเลือก POE Switches ที่รองรับมาตรฐาน 802.3af/at จ่ายไฟอย่างน้อย 6 Port และ จ่ายไฟรวมทั้งหมดได้ไม่ต่ำกว่า 106.2W



เลือกรายการ POE Switch ครับ http://www.sysnetcenter.com/78-poe-switch ตรวจสอบจำนวน Port ที่จ่ายไฟที่ต้องการ และ จ่ายไฟสูงสุด


จากตัวอย่าง ต้องเลือก POE Switch ที่จ่ายไฟไม่ต่ำกว่า 5 Port และ กำลังไฟรวมไม่ต่ำกว่า 106.2W

จะมีเป็น IP-COM รุ่น G1009P จ่ายไฟได้ 8 Port, กำลังไฟสูงสุด 121.2W




หรือ Engenius EGS5110P รุ่นนี้จ่ายไฟได้ 8 Port รวม 130W




ใช้วิธีคำนวนประมาณนี้ละครับ หรือถ้าไม่สะดวก ส่งรายละเอียดมาให้ทางร้านตรวจสอบให้ได้ครับ


กรณีที่อุปกรณ์รับไฟ (PD) ใช้ POE มาตรฐาน 802.3af แล้ว ไปซื้อ POE ที่เป็นมาตรฐาน 802.3at มา ก็ยังใช้งานได้ เพราะในอุปกรณ์จ่ายไฟ (PSU) จะมี Cuircuit ตรวจสอบการจ่ายไฟกันกับอุปกรณ์รับไฟ (PD) เช่น PD ต้องการไฟแค่ 15.4W PSU ก็จะจ่ายให้แค่ 15.4W แต่ถ้า PD ต้องการ 30W แต่ PSU จ่ายไฟไม่ถึง ก็จะไม่จ่ายไฟให้ครับ


และการเลือกใช้ POE ที่เป็นแบบมาตรฐาน ไม่ต้องกลัวช๊อตครับ เช่นถ้าต่อสาย Lan จาก POE Switch เข้ากับ Access Point ที่ไม่รองรับ POE เจ้าตัว PSU ก็จะไม่จ่ายไฟออกมา เอามิเตอร์วัดไฟที่สาย Lan จะไม่มีไฟ มีแต่ packet data ที่วิ่งบนสาย UTP เท่านั้น




POE ที่ไม่เป็นมาตรฐาน (Passive POE)



POE แบบนี้ จะเรียกกันว่า Passive POE คือ มี Adapter อาจจะเป็น 12VDC, 24VDC หรือ 48VDC จะต่อไฟเข้าคู่สาย Lan ตรงๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็น ขา 4,5 และ 7,8 ไม่มี Curcuit ในการตรวจสอบการใช้ไฟของอุปกรณ์รับไฟ ไม่มีการปรับแรงดันไฟใดๆให้ตรงกับฝั่งรับไฟทั้งนั้น ถ้าจ่ายไฟแรงดันเกิน ขึ้นอยู่กั[อุปกรณ์รับไฟ มีวงจร Regulate ปรับแรงดันลงหรือไม่ ถ้าไม่มี อุปกรณ์ช๊อตครับ หรือถ้าใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่ไม่รองรับ POE ต้องระวังเรื่องไฟในสาย Lan ด้วยนะครับ ทำให้ Port Lan ช๊อตง่ายๆเลย

แต่ข้อดีคือ...ราคาถูก




อุปกรณ์รับไฟที่รองรับ (ขอยกตัวอย่างเป็น Access Point นะครับ) มักจะมีวงจร Regulate เพื่อปรับแรงดันให้ตรงกับที่อุปกรณ์ต้องการ เช่น แรงดันต้นทาง 24VDC วิ่งผ่านสาย Lan ประมาณ 100 เมตร เจอความต้านทานในสาย ไฟ DC ที่ปลายทางตกเหลือ 20VDC ตัว Access Point เช่นของ Ubiquiti ใช้แรงดัน 11 VDC ในตัว Access Point จึงต้องมีวงจร Regulate ปรับแรงดันให้ตรงตามที่ใช้งาน

Passive POE ราคาจะค่อนข้างถูก อุปกรณ์ Access Point ที่รองรับ Passive POE ส่วนใหญ่จะมี POE มาให้ในกล่องเลย เช่นของ Engenius Access Point รุ่นที่เป็น Outdoor, Ubiquiti, Mikrotik Access Point


รูปนี้จะเป็น Spec ของอุปกรณ์ Ubiquiti Access Point จะมี Passive POE ให้มาในชุดเลย




รูปนี้จะเป็นรูปแบบการต่อ Passive POE กับอุปกรณ์ Ubiquiti ครับ สาย Lan ลากได้ประมาณ 60-80 เมตร




ส่วนรูปนี้เป็นของ Engenius ครับ




เวลาใช้ Access Point หลายๆตัว ที่รองรับ Passive POE แล้ว จะวางเกะกะมาก




มีผู้ผลิตทำ Passive POE Switch ออกมาครับ ช่วยได้เยอะเลยเวลาเข้าตู้ Rack





www.sysnetcenter.com/1302-nc-link-nc-pus051d-24v-passive-poe-switch-5-port-4-port-24vdc-72w.html


ข้อเสียหลักของ Passive POE คือ ไม่มีการตรวจสอบไฟที่จะจ่ายออกไป เวลาเจอไฟกระชาก มักจะทำให้อุปกรณ์ที่รับไฟเช่น Access Point พังไปด้วย ควรต้องมีการติดตั้งเครื่องสำรองไฟที่สามารถควบคุมระดับไฟกระชากได้ครับ หรือติดตั้งพวก Surge Protection จะช่วยป้องกันได้เยอะมากครับ



มีรูปแบบการใช้งานอีกอย่างนึงคือ อุปกรณ์รับไฟ ไม่รองรับ Passive POE แบบ แต่ต้องการใช้ร่วมกับ Passive POE แบบตามรูป




http://www.sysnetcenter.com/power-over-ethernet/46-power-over-ethernet-passive.html


อุปกรณ์ เวลาซื้อ จะมี 2 ชุด ชุดแรก ประกอบด้วย Jack ตัวเมีย , RJ45 ตัวผู้ และ RJ45 ตัวเมีย จะเรียกชุดนี้ว่า Passive POE Injector ส่วนอีกชุด จะมี Jack ตัวผู้, RJ45 ตัวผู้ และ RJ45 ตัวเมีย จะเรียกว่า Passive POE Splitter การต่อ จะเหมือนกับรูปนี้ครับ




เมื่อก่อนจะนิยมใช้กับ Linksys WRT54GL ในงานติดตั้งระบบ Hotspot ภายในอาคาร

ข้อดี ไม่ต้องติดตั้งปลั๊ก 220VAC ไว้ใกล้ๆเพื่อเสียบ Adapter แต่ข้อเสียคือ เนื่องจากในอุปกรณ์ WRT54GL ไม่มีวงจร Regulate เพื่อลดระดับไฟ เราจึงต้องจ่ายไฟ 12VDC ที่ต้นทาง

ข้อเสีย ในสาย UTP จะมีความต้านทานในสาย ถ้าเราลากสายยาวๆ ซัก 50 เมตร Voltage ที่ปลายทางของสายจะตกลงมา อาจจะเหลือแค่ 9VDC หรือ ไปเจอสาย UTP ปลอม อาจจะเหลือไม่ถึง 5VDC ทำให้ไฟไม่พอ WRT54GL ไม่ทำงาน จึงต้องเดินสาย UTP สั้นๆ ครั้นจะเพิ่มไฟที่ต้นทางเป็น 24VDC ก็ทำไม่ได้ครับ เพราะถ้าจ่ายไฟให้ WRT54GL เกินเยอะๆ ช๊อตครับ



และจะมีอุปกรณ์ที่แปลงไฟจาก POE มาตรฐาน 802.3af/at เป็นไฟ 24VDC, 12VDC และ 5VDC กรณีที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่ไม่รองรับ POE ครับ จะมี Jack Adapter และ หัว RJ45 ไว้ต่อเข้ากับอุปกรณ์โดยตรง

ZQ-GAT-24V15W Gigabit POE Converter แปลงไฟ POE 802.3af/at เป็นไฟ 24VDC 15W

ZQ-AF-12V12W Gigabit Active PoE Splitter อุปกรณ์แปลงไฟ POE 802.3af/at Output 12VDC 1A 12W

ZQ-AF-5V10W Gigabit Active PoE Splitter อุปกรณ์แปลงไฟ POE 802.3af/at Output 5VDC 2A 10W

TOTOLINK POE200 Gigabit PoE Splitter สำหรับแปลงไฟมาตรฐาน 802.3af เพื่อจ่ายไฟ DC 5V, 9V และ 12VDC