วิธีการสมัคร no-ip เพื่อทำ ddns เข้าควบคุม Mikrotik จากภายนอก
- write
- test
- read
SanThai Thaicourt Court Thai SanThai Court Thai
วิธีการสมัคร no-ip เพื่อทำ ddns เข้าควบคุม Mikrotik จากภายนอก
วิธีการตั้งค่าให้ดูกล้องวงจรปิดผ่านอินเทอร์เน็ต ง่ายๆ
สวัสดีครับ สำหรับบทความนี้ นาย KARE จะมาแนะนำการตั้งค่าให้ดูกล้องผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้โฮสเนม No-ip สามารถใช้ได้ฟรี ทำตามได้ตามขั้นตอน ดังนี้ครับ เตรียมความพร้อมกันก่อนเลยครับ ต้องต่อสาย LAN ระหว่างเครื่อง DVR เข้ากับ Modem Router ก่อน
1. ต้องมี Hostname ก่อน สามารถสมัครได้ฟรีที่ www.noip.com Hostname มีหน้าที่ ตรวจจับการอัพเดทค่า IP address ของเรา ซึ่ง IP address เรานั้นจะเปลลี่ยนค่าไปเรื่อยๆ ดังนั้นจึงต้องมี Hostname มาคอยจับค่า IP address ให้ตรงกันกับที่อยู่ปัจจุบัน ทำให้เราใช้เพียงโฮสเนมตัวเดียวในการเข้าดูกล้องผ่านอื่นเทอร์เน็ตที่ใดๆก็ได้ในโลก 1.1 เข้าไปที่ www.noip.com เพื่อทำการสมัครสมาชิก แล้วคลิกที่ Sign Up Now
รูป 1.2 แสดงการลงทะเบียน
1.3 ระบบจะส่งอีเมล์ให้เรา เพื่อทำการยืนยันการลงทะเบียนครับรูป 1.5 แสดงกาจัดการโฮส
2. หลังจากได้โฮสเนมเรียบร้อยแล้ว ให้เราเข้าไปตั้งค่าที่เครื่อง DVR สามารถเข้าไปตั้งที่เมนูที่เครื่องได้เลย หรือ จะเข้ามาตั้งค่าผ่านเว็บ เบราซ์เซอร์ ก็ได้เหมือนกันครับ ผมขอแนะนำเป็นวิธีตั้งค่าผ่านทางเว็บเบราซ์เซอร์น่ะครับ โดยให้เข้าไปที่ Ip address ของเครื่อง DVR ตัวอย่างเช่น https://192.168.1.234:90 ในส่วนต่อท้ายหลัง ip address จะเป็น เว็บพอร์ต ที่เราตั้งไว้ พอเข้ามาแล้วจะเห็นตามรูปด้านล่างครับ แล้วให้เรา Login ครับรูป 2.2 แสดงการตั้งค่าเครือข่าย
แล้วให้เราทดสอบการตั้งค่า ที่ปุ่ม DDNS TEST จากนั้นระบบจะแจ้ง Test Succeeded! ตามรูปครับรูป 2.4 แสดงการสั่งรีสตาร์ทเครื่อง DVR
3. การ Forword Port 3.1 ให้เข้าไปในเมนูการตั้งค่าของ Modem (ในที่นี้คือ 192.168.1.1) เข้าไปที่เมนู Advance Setup >> NAT >> Virtual server 3.2 ให้เราตั้งพอร์ตที่ต้องการ Forword ตัวอย่างเช่น MEDIA PORT : เป็นค่า PORT ที่ใช้ รับ-ส่ง ข้อมูลระหว่าง DVR กับเครื่องที่เรียกเข้ามา WEB PORT : เป็นค่า PORT สำหรับเรียกใช้งานผ่านทาง Internet Explorer MOBILE PORT : เป็นค่า PORT สำหรับเรียกใช้งานผ่านมือถือ เช่น iPhone, Black Berry (เมนูตั้งค่าจะอยู่ในเมนู “มือถือ”) Rule Index คือ Rule ที่เท่าไร ของตารางด้านล่าง พูดง่ายๆ คือ บรรทัดที่เท่าไรของตารางนั่นเอง ซึ่งจำเป็นต้องตั้งทั้งสิ้น 3 Rule ตามจำนวน Port นั่นเอง
- Application คือ ชื่อที่เรากำหนดเอง ในที่นี้ นาย KARE ขอแนะนำให้เป็นชื่อที่ตั้งแล้วสื่อความหมายหน่อย เพราะเวลาคนอื่นเข้ามาดู จะได้เข้าใจว่าเป็น Port สำหรับอะไร ไม่เช่นนั้น คนที่เข้ามาดูทีหลังอาจจะลบทิ้งไปเลยก็ได้
- Protocol จะมีให้เลือก 3 ค่า คือ TCP, UDP และ ALL (หมายถึงทั้ง TCP และ UDP) ซึ่งจริงๆ แล้ว เลือกเพียงแค่ TCP ก็เพียงพอแล้ว แต่จากประสบการณ์พบว่า บางครั้งเมื่อเลือกแต่ TCP อาจจะ Forward Port ไม่ผ่าน ดังนั้น ให้เลือกทั้ง 2 แบบจะดีกว่า คือเลือกเป็น ALL ครับ
- Start Port Number ให้ใส่ Port ทั้ง 3 ทีละค่า ในทีละ Rule
- End Port Number ให้ใส่เหมือนกับ Start Port Number ทีละ Rule
- Local IP Address ให้ใส่ IP Address ของ DVR
รูป 3.2 แสดงการตรวจสอบพอร์ต
No-IP คืออะไร
No IP ก็คือฟรีบริการที่เกี่ยวกับ Dynamic DNS ครับ ซึ่งคำว่า Dynamic DNS นั้นจะนำมาประยุกต์ใช้กับระบบ Internet ตามบ้านของเราได้ เนื่องจากหมายเลข IP Address ที่เราได้รับมาจากผู้ให้บริการ Internet นั้นเป็นแบบ Dynamic ก็คือ จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ต่อการ connect เข้าไปใช้บริการอินเตอร์เน็ตแต่ละครั้ง ดังนั้นหากเรามีระบบอะไรก็ตามที่รันอยู่ที่บ้านเราผ่าน Internet เราก็จะต้องจำหมายเลข IP Address นี้แทน ซึ่งจะค่อนข้างลำบากครับ หาเลข IP ถูกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ดังนั้นจึงมีบริการ Dynamic DNS มาช่วยจัดการปัญหาพวกนี้ คือแทนที่เราจะทำเลข IP Address เราก็จำเป็นชื่อ Domain แทน ซึ่ง Domain ที่เราได้จาก No-IP นี้ก็จะไปลิงค์กับหมายเลข IP Address ของระบบที่เราใช้งานอยู่ที่บ้านอัตโนมัติ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลง IP Address ระบบของ No-IP ก็จะทำการอัพเดท IP Address เพื่อลิงค์กับระบบโดเมนเนมให้อัตโนมัติครับ ซึ่งมีประโยชน์มากหากเรานำ concept นี้มาใช้กับ Raspberry Pi
ดังนั้น ลองเอามาประยุกต์ใช้กับ Raspberry Pi ดู อย่างเช่นว่าเรารันระบบ web server ไว้ที่บ้านและเราต้องการ Remote เข้าไปดูความเรียบร้อยผ่านเว็บ ก็สามารถใช้หลักการนี้ได้เช่นกันครับ
mkdir /home/pi/noip
cd /home/pi/noip
wget http://www.no-ip.com/client/linux/noip-duc-linux.tar.gz
tar -zxvf noip-duc-linux.tar.gz
cd noip-2.1.9-1sudo makesudo make install
sudo /usr/local/bin/noip2
sudo chmod 7777 /usr/local/etc/no-ip2.conf
sudo nano /etc/init.d/noip
#######################################################
#! /bin/sh
case "$1" in
start)
echo "Starting noip2"
/usr/local/bin/noip2
;;
stop)
echo -n "Shutting down noip2"
for i in `noip2 -S 2>&1 | grep Process | awk '{print $2}' | tr -d ','`
do
noip2 -K $i
done
;;
*)
echo "Usage: $0 {start|stop}"
exit 1
esac
exit 0
#######################################################
sudo chmod 7777 /etc/init.d/noip
sudo /etc/init.d/noip stopsudo /etc/init.d/noip start
sudo nano /etc/rc.local
sudo init 6
sudo /usr/local/bin/noip2 -S
sudo /usr/local/bin/noip2 -U 1
sudo /usr/local/bin/noip2 -h
ใน raspberrypi กับเวป no-ip ก็ควรจะได้ ip เดียวกับที่ดูใน Router นะครับ
หรือเข้าไปเช็คได้จากเวป http://www.portchecktool.com/
แต่ถ้าได้ Public IP ไม่เหมือนกับที่ดูใน Wan ของ Router อาจจะเกิดจาก ISP ได้ทำการ NAT Public IP เอาไว้ครับ ในกรณีนี้ ISP คือ 3BB เราก็โทรไปแจ้งให้เขาปลดให้ครับ แจ้งเขาไปว่าเราจะทำ DDNS สำหรับกล้องวงจรปิดหรืออะไรก็ได้ครับ แต่ Get Public IP ได้มาไม่ตรงครับ เดี๋ยวทางผู้ให้บริการเขาก็จะปลดออกให้ครับ