10/25/2564

การ set LAN 2 วง ให้ใช้ได้พร้อมกัน แบบ route บน windows

 ยกตัวอย่าง วง รพ.  มี 2 วง LAN

วงที่  1  192.168.1.1/24          เน็ต 3BB   ไม่มี authen

วงที่  2  192.168.3.202/24    เน็ต ภายใน รพ. มี authen

ปกติจะใช้ LAN วงที่ 2 เป็นหลักเพราะเส้นภายใน ใช้ติดต่อสื่อสารภายใน รพ. ซึ่งจะต้องเข้าระเบียบคือ เก็บ authen ถ้าจะใช้เน็ตก็ต้อง authen เพื่อเก็บประวัติการใช้งาน Internet  เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว

ต่อมา….มีเน็ต มาเพิ่ม จริงๆมีหลายค่าย ทั้ง TOT Leadline, TOT Fiber, Cat (onnet) Fiber,3BB Fiber
ซึ่งความเร็วแต่ละค่าย ก็แตกต่างกัน  แต่วง ภายใน จะจำกัดไว้เพื่อป้องกัน และแชร์เน็ตให้เท่าๆ กันทำให้รู้สึกว่าเน็ตช้า
ที่นี้มาเปลี่ยนเป็นมาใช้เส้น อิสระ เช่น 3BB เป็นตัวหลัก  ก็ออกเน็ตเร็วได้ปกติดี แต่ก็จะใช้งานติดต่อสื่อสารกับวง LAN ภายในไม่ได้ ที่นี้ละปัญหา

เรามีวิธีใช้ทั้ง 2 LAN มาใช้งานได้เลย แต่จะต้องกำหนด gateway ให้กับมันคุยได้รู้เรื่อง ก่อนเพื่อจะได้ไม่ขาดการติดต่อสื่อสาร ทั้งวงที่ 1 และวงที่ 2
อ้า…มาเริ่มกันเลย

หลักการคือ
– ต้องมี Card LAN 2 ใบนะครับ เพื่อรับ ip ของแต่ละวง
– ลบ Default Gateway ออกให้หมด
– ใส่ ip Gateway วงที่จะให้ออกเน็ต วงนอกเป็นหลัก
– ใส่ ip Gateway วงที่จะให้ใช้ภายใน  วงในเป็นรอง
– โดยเริ่มต้นที่  0.0.0.0 mask 0.0.0.0  วิ่งไปจนถึง  192.168.0.0 mask 255.255.0.0
– ซึ่งจะต้องผลลัพตามรูปนี้ครับ

ขั้นตอนที่ 1
– ลบค่า default gateway เก่าออกให้หมดก่อน

– ด้วยคำสั่ง route delete 0.0.0.0 mask 0.0.0.0  ตามรูปเลย
– ต่อมาสั่ง route add 0.0.0.0 mask 0.0.0.0 192.168.1.1  เข้าไปเพื่อเอาไว้สามารถออก internet เป็นตัวหลัก
– ต่อมาสั่ง route add 192.168.0.0 mask 255.255.0.0 192.168.200.1   เพื่อเอาไว้เป็น intranet วง LAN ภายใน
– ต่อมาสั่ง route add 0.0.0.0 mask 0.0.0.0 192.168.1.1 -P  ใส่ตัวเลือก -P เพื่อให้บันทึกเป็นเส้นทางแบบถาวร restart จะไม่หายไปนะครับ
– ต่อมาสั่ง route add 192.168.3.0 mask 255.255.255.0 192.168.1.1 -P เพื่อกำหนดวง LAN x.x.3.0/24 ให้ออกเน็ตขาวง x.x.1.0/24   แล้วใส่ -P เพื่อบันทึกแบบถาวร
– ต่อมาสั่ง route add 192.168.1.0 mask 255.255.255.0 192.168.1.1 -P เพื่อกำหนดวง LAN x.x.1.0/24 ให้ออกเน็ตขาวง x.x.1.0/24  เช่นกัน ใส่ -P เพื่อบันทึกแบบถาวรเช่นกัน

เสร็ลแล้วตรวจสอบว่ากำหนดครบแล้วหรือยังด้วยคำสั่ง
route print

– แล้วดูตรง Persistent Routes  ว่า gateway address ตรงตามที่เรากำหนดหรือไม่  สังเกตุว่าจะเริ่มต้นที่ 0.0.0.0 ไปจนถึง  192.168.3.0 และ gateway ก็เซ็ตตามที่เราต้องการ

– หรือ ถ้าเราต้องการเปลี่ยนวง LAN จาก x.x.1.0/24 ให้เป็น x.x.101.0/24 ก็ให้กำหนดตามรูปแบบนี้ก็ได้  (พอดีอีกเครื่องอยู่อีกวงที่จะใช้วง 101)
– ก็จะได้ตามรูปแบบนี้

– ซึ่งจริงๆแล้วเราสามารถกำหนดวงไหนก็ได้  แต่ที่ รพ.มีอยู่ 10 VLAN  ก็จำเป็นต้องแยกแต่ละตึก
– แล้วลองตรวจสอบ ping ดูทั้ง 2 วง ว่าเจอทุกวงไหมนะครับ

– อีกวง

– ที่นี้เราก็สามารถใช้งานพร้อมกัน 2 VLAN แล้วนะครับ


– ตามรูปนี้เลย

– ก็ลองเอาไปปรับใช้ดูนะครับ
– อาจจะอธิบายไม่ตรงตามหลักการ  เพื่อทำตามประสบการณ์ และส่วนใหญ่ผมก็หามาจาก internet
– โดยค้นหาจาก google นี้แหละครับ  มีลุงคนหนึ่งท่านแนะนำมา….

ปล. จริงๆใช้ WiFi กับ LAN ก็ทำได้นะครับ ไม่จำเป็นต้องเป็น LAN ทั้ง 2 อันก็ได้
– ท่านไหนมีข้อแนะนำ หรือเสนอแนะก็แจ้งมาได้นะครับ หาผิดพลาดประการใดก็รบกวนชี้แนะด้วยนะครับ
– แล้วพบกันใหม่ครับ


9/20/2564

ทำให้ Windows มองเห็น HDD ใหญ่กว่า 2TB ได้อย่างไร

 

ทำให้ Windows มองเห็น HDD ใหญ่กว่า 2TB ได้อย่างไร

1. ลง Windows บน Drive แบบ MBR (จากประสบการณ์ผู้เขียนใช้ 500 GB เฉพาะลง Windows ก็นับว่าเพียงพอ) 

2. หลังจากนั้นคุณผู้อ่านไปซื้อ Drive มีพื้นที่ 4 TB, 8 TB หรือ 12 TB ตอนเสียบครั้งแรก Windows จะถามให้เลือกแบบ GPT เป็นอันเรียบร้อย เพียงเท่านี้ Windows จะมองเห็น HDD เกิน 2TB ได้แล้ว

 

หรือเปิด Windows Explorer: คลิกขวาที่ This PC > คลิกเมนู Manage > คลิก Disk Management > เลือกแบบ GPT เป็นอันเรียบร้อย

 แสดงตัวอย่าง

 

 

การทำงานของคอมพิวเตอร์จะมี 3 ส่วนคือ

ส่วนแรก บูตระบบจะเก็บค่าเริ่มต้นไว้ใน BIOS (Basic Input/Output System) ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน จะมีตัวเลือก UEFI Boot กับ Legacy Boot

 

ส่วนที่สอง Harddisk, SSD จะมี 2 ตัวเลือกคือ แบบ MBR กับ GPT

การทำงานจะสอดคล้องกับข้อแรกคือ

หากเลือกบูต BIOS แบบ Legacy Boot Partition จะต้องเป็นแบบ MBR เท่านั้น

หากเลือกบูต BIOS แบบ UEFI Boot Partition จะต้องเป็นแบบ GPT เท่านั้น

 

ข้อแตกต่างของ MBR กับ GPT คือ
MBR จะแบ่งแบบ Primary ได้ 4 พาติชั้น และมองเห็นฮาร์ดดิสไม่เกิน 2TB
GPT จะแบ่งแบบ Primary ได้ไม่จำกัด และมองเห็นฮาร์ดดิสได้มากกว่า 8TB

 

เกร็ดความรู้: MBR กับ GPT คือรูปแบบการเก็บข้อมูลในส่วนของ Partition

ข้อแนะนำ: เราสามารถแปลงพาติชั่นกลับไป กลับมาระหว่าง MBR และ GPT โดยข้อมูลที่มีอยู่ไม่หาย ด้วย Windows Disk Manager หรือโปรแกรม Partition ทั่วไป

สิ่งสำคัญ: ควรแปลงเฉพาะพาติชั่นที่เป็น Data เท่านั้น (หากแปลง Partition ที่เป็น Windows จะต้องลงใหม่)

 

ส่วนที่สาม ระบบปฎิบัติการ Windows

1. หากติดตั้งบน Partition แบบ MBR จะสามารถติดตั้งบน Partition เดียวได้

2. หากติดตั้งบน Partition แบบ GPT ระบบ Windows จะถูกแบ่งเป็น 4 Partition อัตโนมัติ

 

ข้อควรระวัง: คุณควรจะติดตั้ง Windows บน Partition แบบ MBR หรือ GPT ได้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น 

สรุป: ก่อนคุณจะลง Windows คุณจะต้องเตรียมการตั้งแต่ต้น BIOS

หากเลือก UEFI Boot จะลง Windows บน Partition แบบ GPT

หากเลือก Legacy Boot จะลง Windows บน Partition แบบ MBR

 

9/19/2564

VMware คืออะไร? มีวิธีใช้ ต่างกับ VPS Server ยังไง?

 เชื่อว่าหลายๆคนในแวดวงไอทีคงจะรู้จัก Product สำหรับการทำ Virtual Machine (VM) จากบริษัท VMware ไม่มากก็น้อย แต่สำหรับใครที่ไม่เข้าใจว่า Virtual Machine คืออะไร แล้ว VMware คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องของเซิร์ฟเวอร์ แล้วต่างกับ VPS ไหม? วันนี้ลองมาทำความเข้าใจในโพสต์นี้ไปพร้อมๆ กันเลยครับ

Virtual Machine คืออะไร? 

Virtual Machine หรือตัวย่อ VM นั้นหมายถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เสมือนที่ทำการจำลองคอมพิวเตอร์ขึ้นมา จะใช้การทำงานของซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อจำลองการทำงานของคอมพิวเตอร์หลายเครื่องไว้ในเครื่องจริงเครื่องเดียว 

VMware คืออะไร? 

ความจริงแล้ว VMware เป็นบริษัทพัฒนา Software ชื่อดังตัวหนึ่งของวงการ ที่ใช้สำหรับการจัดการและบริหารทรัพยากรของ Server ที่ใช้งานอยู่ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น VMware server คือ คอนเซ็ปต์เซิร์ฟเวอร์ที่ภาคธุรกิจทั้งหลายได้นำเอามาใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยการติดตั้ง VMware เพื่อเชื่อมต่อกับระบบการควบคุมและการทำงานของ Server จะช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ Server ใด้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

แล้ว VMware server คืออะไร? 

ความจริงแล้วหน้าที่ของเจ้า Software ตัวนี้จะมีสิ่งที่เรียกว่า Hypervisor หรือ OS เพื่อช่วยสำหรับการจัดสรรค์และแบ่งปันทรัพยากรของตัว Server เพียงเครื่องเดียวเพื่อรองรับการใช้งาน OS และ Application ได้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ Server ที่เรามีอยู่นั้นสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกระบวนการคือการสร้างคอมพิวเตอร์เสมือน หรือที่เราเรียกว่า Virtual Machine ออกมาเพื่อให้สามารถใช้งาน Application ได้มากขึ้นนั่นเอง

โดยปกติแล้วหากมี Server เพียง 1 เครื่อง และไม่ได้ทำการลงโปรแกรม VMWare นั้น ก็จะสามารถติดตั้งได้เพียงแค่ 1 ระบบปฏิบัติการและใช้งาน Application ได้เพียงแอพเดียวเท่านั้น แต่ถ้ามีการใช้งาน VMWare เพื่อรองรับการใช้งาน Virtual Machine ขึ้นมานั้น ก็จะสามารถใช้งาน Application ได้มากมายหลากหลายขึ้นจาก Server เพียงแค่เดียวที่เรามีอยู่ได้

VMware มีวิธีใช้งานอย่างไร?

การใช้ VMware มีวิธีใช้งานที่ไม่ยาก ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทดลองติดตั้ง OS หลายๆ OS ไว้ในเครื่อง PC หรือ Notebook ไว้ในเครื่องเดียว เพื่อทำการทดสอบการใช้งาน Application ต่างๆ สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต้องการทำ Testing ก่อนออกระบบจริงสู่ตลาด หรือ การใช้งาน Application หลายๆ แอพภายในเครื่องเพื่อการใช้งานเฉพาะทางบางอย่างสำหรับบุคคลนั้นๆ

ข้อแตกต่างระหว่าง VMWare และ VPS

ในปัจจุบันนี้มีอีกคำศัพท์เฉพาะทางอย่างหนึ่งซึ่งคล้ายคลึงกับการใช้งาน Virtual Machine ที่ทำให้คนสับสนเป็นจำนวนมาก คือ Virtual Private Server (VPS) ซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์เสมือนในรูปแบบของ Cloud VPS Server Service โดยข้อแตกต่างระหว่าง VMWare และ VPS คือลักษณะของการให้บริการ โดย VMWare นั้นผู้ใช้งานจะทำการลงโปรแกรมและติดตั้งเอง ระบบ Cloud ของ VMware มีต้นทุนของระบบที่สูงกว่าแบบอื่นๆ ส่วน VPS จะสามารถใช้ผ่านผู้ให้บริการรายนั้นๆ แบบเช่าใช้รายเดือนหรือรายปีโดยที่เราไม่ต้องทำการติดตั้งเอง ต้นทุนไม่สูงเท่า VM ด้วย VPS จึงเหมาะกับมือใหม่หรือมือสมัครเล่นมากกว่า

รู้แบบนี้แล้วในการเลือกการรับบริการของทั้งสองรูปแบบ ท่านควรเลือกบริการที่เหมาะสมกับการใช้งานของเราเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะทั้งโปรแกรม VMware หรือ การซื้อแพ็คเกจ VPS ก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปตามแต่การใช้งานของท่านเช่นเดียวกัน

Vmware serverโปรแกรมนี้มีหลักการติดตั้งและทำงานอย่างไร

 


vmware server คือ

Vmware server คือคอนเซ็ปต์ที่ภาคธุรกิจทั้งหลายได้นำเอามาใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้เซิร์ฟเวอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยการติดตั้ง vmware เพื่อเชื่อมต่อกับระบบการควบคุมและการทำงานของเครือข่าย โดยมีหลักการที่สามารถอธิบายให้เข้าใจไม่ยากดังต่อไปนี้ 

Vmware server คือโปรแกรมที่มีหลักการทำงานอย่างไร  

Vmware server คือชุดของซอฟต์แวร์เสมือนจริงที่พัฒนาโดยบริษัท VMware, Inc. ที่ออกแบบมาให้สามารถสร้าง แก้ไข และใช้งานในรูปแบบของเทคโนโลยีเสมือนจริงได้ในลักษณะของเครื่อง Client และ Server เพื่อให้สามารถถึงเครื่อง Client ที่อยู่คนละพื้นที่ได้ โดย VMware Server จะทำการ copy ระบบการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเอาไว้ ภายใต้สภาพแวดล้อมของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีการติดตั้ง VMware ไว้เพียงเครื่องเดียว 

ส่วนการติดตั้งโปรแกรม vmware สำหรับ server นั้น ผู้ใช้ต้องทำการเลือก vmware ให้ถูกต้องกับระบบปฏิบัติการ (OS) ที่ต้องการใช้งานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ อาทิ สำหรับ MAC, Linux, Ubuntu และ vmware สำหรับ Windows เป็นต้น ซึ่งนอกจากโปรแกรมนี้ถูกนำมาใช้ในภาคธุรกิจกันอย่างกว้างขวางแล้ว คนที่สนใจและอยากทดลองใช้ยังสามารถทำการดาวน์โหลด ติดตั้ง เพื่อทดลองเชื่อมต่อและเรียกใช้งานระบบปฏิบัติการอื่น ๆ จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ได้อีกด้วย VMware Server มี freeware ที่ผู้ใช้สามารถติดตั้งได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าต้องการ VMware Server ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับการดำเนินงานในภาคธุรกิจ VMware ESXi ก็จะช่วยให้ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีขึ้น 

Vmware server คือโปรแกรมที่เหมาะกับใครบ้าง 

นอกจาก VMware Server แล้ว VMware ยังเป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งาน Virtualization อีกหลายรูปแบบได้แก่ VMware ประเภท Desktop Software, Cloud management software, Application management, VMware storage และ VMware สำหรับ Network และความปลอดภัยของระบบ เป็นต้น ผู้ใช้จึงสามารถเลือกประเภทของซอฟต์แวร์เพื่อติดตั้งให้เหมาะกับการใช้งานได้ อาทิ การติดตั้ง VMware Server สำหรับหน่วยงานที่มีเครื่องแม่ข่ายและเครื่องลูกข่ายอยู่เป็นจำนวนมาก, การติดตั้งระบบ Server ให้กับมหาวิทยาลัย/สถานศึกษา หรือบริษัทและองค์กรที่มีผู้ใช้ ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์รวมถึงระบบปฏิบัติการที่มีความแตกต่างกันเป็นจำนวนมาก และต้องการให้เครื่องแม่ข่ายสามารถเรียกดู เก็บข้อมูล ประมวลผล รวมถึงบริหารจัดการเครื่องลูกข่ายต่าง ๆ ได้  VMware Server คือระบบเทคโนโลยีเสมือนที่ช่วยบริหารจัดการเครือข่ายแบบนี้ให้ดีขึ้นได้เป็นอย่างมาก 

 

Vmware server คือโปรแกรมเสมือนที่ไม่ใช่เพื่อใช้สำหรับการทำ Virtualization ของ Client และ Server เท่านั้น แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ปัจจุบันคอนเซ็ปต์ของ vmware server คือความนิยมที่นำมาใช้กับระบบคลาวด์ ซึ่งเป็นการรวมเอาเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ เครื่องมาไว้ด้วยกัน โดยการใช้ vmware เป็นซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้เซิร์ฟเวอร์หลักเรียกใช้งานระบบเครือข่าย โปรแกรม ซอฟต์แวร์รวมถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ จากเซิร์ฟเวอร์ที่รวบรวมเอาไว้ในระบบคลาวด์ เพื่อการใช้งานสำหรับภาคธุรกิจได้อีกด้วย