11/27/2555

VPS,Hosting on SSD แรงจริงหรือมั่วนิ่ม !?

เนื่องจากมีคนสอบถามมามากมาย เกี่ยวกับการเลือกใช้งาน VPS และสับสนว่า VPS ที่มีคำโฆษณาว่า ใช้ SSD เร็ว มันจริงหรือ ?? ผมบอกได้เลย ว่า มันเร็วจริง “แต่” ต้องดูด้วยว่า มันเป็นยังไง ซึ่งในบทความนี้ขอเกริ่นคร่าวๆเริ่มตั้งแต่การทำงานของ Hard Disk แบบที่ใช้กันทั่วไป (Sata II, Sata III) หรือแบบจานหมุน ก่อนเลยและกันว่ามีการทำงานยังไง
วิธีการทำงานของ Hard Disk คร่าวๆ


HDD
ภาพ Hard Disk แบบจานหมุน
HDD sector

การแบ่งพื้นที่และการเก็บข้อมูลบนจาน
            Hard Disk แบบจานหมุน ความเร็วของมันขึ้นอยู่กับรอบของ Hard Disk ซึ่งแบบจานหมุนทั่วไป คือ 5400 rpm (round per minute) และ 7200 rpm ซึ่ง Hard Disk แบบนี้จะมีค่าของ MTBF (ความทนทาน หรืออายุการใช้งาน) ที่สูง พังยาก ยิ่งถ้าเครื่องไม่ได้กระแทก ไม่ได้ดับบ่อยๆ ใน Hard Disk บางรุ่นอาจจะอยู่ได้ถึง 120,000 ชั่วโมง หรือประมาน 13 ปีเลยทีเดียว ซึ่งโดยปกติแล้ว ขีดจำกัดของ Computer ที่ไม่สามารถเร่งความเร็วให้ได้สูงกว่าที่เป็นอยู่ ก็คือ Hard Disk นี่เอง เนื่องจาก Hard Disk ที่มีจำนวนรอบน้อยๆ อย่าง 5400,7200 rpm นั้น กว่าจะอ่านข้อมูล หรือว่าหาข้อมูลที่อยู่ในจานแม่เหล็กได้นั้น จะใช้เวลาค่อนข้างที่จะนาน เพราะในจานๆนึง จะแบ่งเป็นบล๊อคๆ ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และเมื่อขนาดของ Hard Disk ใหญ่ จานก็จะมีความกว้าง บล๊อคก็จะกว้างตามไปด้วย ทีนี้ในการหาข้อมูล ตัวหัวอ่านก็จะต้องเลื่อนไปเรื่อยๆตามบล๊อคของจานหมุน จนกว่าจะเจอ นี้หละคือขีดจำกัดของ Hard Disk แบบทั่วไป ซึ่งถ้างานบางงานเราต้องการ Access Time (ระยะเวลาในการเข้าถึงข้อมูล) ที่รวดเร็วมากๆ ตัว Hard Disk แบบทั่วไปนี้ถือว่าสอบตกเลยทีเดียวเพราะเหตุนี้ จึงได้เกิด Hard Disk อีกสองประเภทที่เห็นได้ตามท้องตลาด คือ Hard Disk แบบ SAS หรือ Near-line SAS และอีกแบบคือ SSD ซึ่ง Hard Disk แบบ SSD นี่แหละ คือหัวข้อของวันนี้


            SSD (Solid State Drive) เป็น Hard Disk ที่ไม่ได้มีการเก็บข้อมูลอยู่บนจานแม่เหล็ก ซึ่งมีหน่วยความจำเป็นแบบ Flash Memory ซึ่งทำให้การอ่านข้อมูล และการเขียนข้อมูลนั้นรวดเร็วกว่าแบบจานหมุน เพราะไม่ต้องรอระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลทีละ Sector แต่จะค้นหาข้อมูลใน Flash Memory ได้ทันที ลดขีดจำกัดของ Hard Disk แบบจานหมุน ที่ถ้ามีรอบที่เยอะ ก็จะเกิดความร้อนเยอะ ซึ่งเจ้า SSD นี้ มีอายุการใช้งานค่อนข้างที่จะน้อย (สำหรับ SSD แบบทั่วไปที่เห็นกันได้ง่ายๆตามท้องตลาด จะมีอายุการใช้งานเพียง 1-5 ปีเท่านั้น) และ SSD มีราคาที่สูง แต่ขนาดความจุค่อนข้างน้อย จึงไม่เหมาะที่จะใช้งานในการเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญซึ่งถ้าต้องการที่จะ ใช้กันจริงๆ ก็ควรที่จะมีการ Backup ข้อมูลไปยัง Hard Disk แบบ SATA เพื่อเป็นการ Backup ข้อมูลเก็บไว้ทุกๆวัน
จากที่อ่านมา ดูเหมือนมันจะมีแต่ข้อดีนี่นาเจ้า SSD แถมเดี๋ยวนี้ราคา SSD เดี๋ยวนี้ก็ไม่แพงแล้วด้วย ดูราคากันดีกว่า


SSD Price
OCZ VERTEX 3
60 GB SATA III (read up to 535/s,write up to 480/s) 2690
OCZ VERTEX 3
120 GB SATA III (read up to 550/s, write up to 500/s) 3990
OCZ VERTEX 3
240 GB SATA III (read up to 550/s, write up to 520/s) 8590
OCZ AGILITY 4 64 GB SATA III (read up to 300/s, write up to 200/s) 2390
OCZ AGILITY 4 128 GB SATA III (read up to 400/s, write up to 300/s) 3690
OCZ AGILITY 4 256 GB SATA III (read up to 400/s, write up to 400/s) 7500
OCZ VERTEX 4 64 GB SATA III (read up to 460/s, write up to 220/s) 5Y 2990
OCZ VERTEX 4 128 GB SATA III (read up to 550/s, write up to 420/s) 5Y 4450
OCZ VERTEX 4 256 GB SATA III (read up to 550/s, write up to 465/s) 5Y 9000
จากราคาข้างต้น จะเห็นได้ชัดว่า เดี๋ยวนี้ราคา SSD ที่มีขนาดความจุที่ 256 GB นั้นมีราคาแค่ 9,000 บาทเท่านั้นเอง (จากแต่ก่อนขนาดเท่านี้ราคาจะอยู่ที่ 2 หมื่นบาทอย่างต่ำ) แต่มันเป็นระดับ Desktop Grade นะครับ ซึ่งถ้าจะเอาจริงๆ ระดับ Server Grade แพงหูฉี่เลยล่ะครับ ทีนี้เรามาดู HDD SATA กันบ้างดีกว่า ซึ่งผมจะขอเลือกระดับ Enterprise มาโชว์เท่านั้น


HDD SATA Price


WD 5003 ABYX 500 GB SATA II 64 MB RE4 Enterprise 5-Y 3390
WD 1003 FBYX 1 TB SATA II 64MB RE4 Enterprise 5-Y    4350
จากราคาจะเห็นได้ชัดว่า ถ้าเราเทียบกันตามพื้นที่ที่ได้รับต่อราคาแล้วนั้น SSD โคตรรรรแพงเลยใช่มั๊ยละครับ เรามาเข้าประเด็นกันเลยดีกว่าว่า สรุปแล้ว Hosting on SSD หรือ VPS on SSD มันดีจริงหรือ?

ประเด็นที่ถกเถียง

สำหรับที่ผมเก็บข้อมูลมา การใช้ SSD on Server จะมีทั้งสิ้น 3 ประเภท คือ
1. SSD run OS และ SATA เป็น Storage
สำหรับคนที่ทำแบบนี้ ทางทฤษฏีคือมันแทบจะไม่มีผลใดๆ นอกจากการทำให้ Boot OS เร็วกว่าปกติ และมีโอกาสเสี่ยงในการที่ Main OS จะพังเร็วกว่าปกติเพราะมีอายุการใช้งานที่น้อยซึ่ง แต่บางคนก็ทักว่า “อ้าว มันก็เป็น SSD นะ” แต่อย่าลืมว่า ข้อมูลที่คุณค้นหา และเก็บข้อมูลนั้น มันอยู่บน Hard Disk ที่เป็น SATA ซึ่งจะหาข้อมูลอะไร มันก็ต้องไปหาจาก Hard Disk อีกที สรุปแล้ว ความต่างแทบจะมองไม่เห็นในการใช้งานจริงเลย เพราะเครื่อง Boot บ่อยๆ ถือว่า Availability ไม่ผ่าน
2. SSD run OS and Storage
สำหรับการทำงานแบบนี้ อย่างที่กล่าวไป คือมันเร็วกว่า Hard Disk ปกติจริง แต่ โปรดถามผู้ให้บริการและชั่งใจจากน้ำหนักดีๆ ว่าราคาของ VPS ที่ขาย และขนาดของการใช้งาน “มันสมเหตุสมผลกันหรือเปล่า” และควรที่จะเลือกแบบ Storage มีการเชื่อมต่อกันโดยใช้ RAID1 เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการ Lost Data
3. SATA for Storage and RAID1,5,6 และเอา SSD มาทำเป็น cache
            วิธีการนี้เราเรียกกันว่า Flashcache ซึ่งจะเอา Hard Disk มา RAID เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล และการเอา SSD มาทำเป็น Cache ขนาดใหญ่ เพื่อใช้ในการช่วยและลดระยะเวลาในการ Read/Write ข้อมูล ซึ่งจะมี Mode ในการใช้งานอยู่ทั้งสิ้น 3 Mode คือ
  • Writethrough : เขียนลง ssd+harddisk พร้อมกัน ใช้ ssd เป็น backup write cache ในตัว (แต่ถ้า ssd เขียนข้อมูลช้าจะทำให้เครื่องอืด แต่ถ้าเร็วละเร็วกว่าปกติแน่นอน)
  • Writearound : เขียนลง harddisk อย่างเดียว โอกาสพังถ้าไฟดับระหว่างเขียนก็เท่าๆ กับแบบปกติ
  • Writeback : เขียนลง ssd ก่อน แล้วว่างเมื่อไหร่ค่อย flush ลง harddisk .. mode นี้ลองแล้วเร็วมาก แต่ค่อนข้างเสี่ยงกรณี ssd พัง

จบแล้วครับสำหรับบทความเรื่อง “VPS,Hosting on SSD แรงจริงหรือมั่วนิ่ม !?” ก็ขอให้ผู้ที่ใช้บริการและเลือก VPS ตัดสินใจดีๆก่อนจะซื้อกันนะครับ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลของท่าน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น