5/29/2557

ยืดอายุการใช้งาน Laser Printer ด้วยการระวังรักษา Fuser unit

ยืดอายุการใช้งาน Laser Printer ด้วยการระวังรักษา Fuser unit
พรินเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญส่วนหนึ่งของการใช้งานคอมพิวเตอร์ และในปัจจุบัน เลเซอร์ พรินเตอร์ ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์สำนักงานที่มีความจำเป็นสำหรับทุกองค์กร รวมถึงมีไว้ใช้งานในบ้านพักอาศัย โดยในเลเซอร์ พรินเตอร์ ทุกเครื่องอุปกรณ์ที่สำคัญของเลเซอร์ พรินเตอร์ ก็คือ Fuser
Fuser (ชุดทำความร้อน) เปรียบเสมือนเตารีด ซึ่งโดยทั่วไปหลักการทำงานของเลเซอร์ พรินเตอร์ ประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้
  • ขั้นตอนที่ 1 เครื่องจะทำการรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ และนำข้อมูลที่ได้มายิงแสงเลเซอร์ผ่านกระจกหมุนแล้วสะท้อนไปยังลูกกลิ้งของ โทนเนอร์ ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าสูบผงหมึกติดขึ้นมาแล้วไปแปะบนกระดาษ เป็นภาพหรือตัวอักษรตามที่เราต้องการ
  • ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นผงหมึกที่อยู่บนกระดาษก็จะถูกนำไปรีดความร้อนโดย Fuser ทำให้ผงหมึกละลายติดแน่นบนกระดาษ หาก Fuser มีปัญหา ก็จะพบว่าเมื่อเอามือป้ายบริเวณที่พิมพ์ หมึกก็จะหลุดออกมาเป็นฝุ่นผงนั่นเอง
การตรวจสอบความเสียหายของ Fuser Film
สาเหตุพื้นฐานของอาการเสีย
  1. กระดาษติด เนื่องจากไม่มีการคลี่กระดาษที่ดีก่อนนำใส่เครื่องหรือกระดาษมีรอยยับ
  2. มีสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ติดอยู่ในเครื่อง เช่น ลวดเย็บกระดาษ, คลิปหนีบการะดาษ ซึ่งมักจะเกิดบ่อยกับการนำกระดาษเก่ามาใช้ใหม่
  3. การนำกระดาษ ออกผิดวิธี เช่น การนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์บางอย่างเข้าไปงัดแงะเวลากระดาษติด หรือดึงกระดาษที่ติดอย่างแรงด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง
ตัวอย่างอาการเสีย ของ Fuser ที่พบบ่อยได้แก่ แผ่นฟิล์มที่ Fuser ฉีกขาด, กระดาษติด, Pressure Roller ฉีกขาด, กระดาษจำนวนมากติดอยู่ภายในชุด Fuser, ลวดเย็บกระดาษติดอยู่ภายใน ดังรูปตัวอย่างต่อไปนี้
รูปที่ 1 ตัวอย่างอาการเสียของ Fuser ที่พบบ่อย
แผ่นฟิล์มที่ Fuser ฉีกขาด จะมีลักษณะต่างๆดังรูปที่ 2 ถึง 15
รูปที่ 2 เกิดจากการใช้กระดาษ reuse แต่ไม่มีการจัดเรียงที่ดี จึงทำให้กระดาษติด
รูปที่ 3 เกิดจากลวดเย็บกระดาษที่ติดอยู่ในเครื่อง ทำให้แผ่นฟิล์มเป็นรู
รูปที่ 4 เกิดจากลวดเย็บกระดาษติดอยู่ในเครื่องและกระดาษติดทำให้มีการดึงกระดาษออก จึงทำให้ฟิล์มขาด
รูปที่ 5 เกิดจากลวดเย็บกระดาษติดอยู่ในเครื่องและมีการดึงกระดาษที่ผิดวิธี ทำให้ฟิล์มฉีกขาดและเป็นรอยย่น
รูปที่ 6 เกิดจากลวดเย็บกระดาษติดอยู่ในเครื่องและมีการดึงกระดาษที่ผิดวิธี ทำให้ฟิล์มฉีกขาด
รูปที่ 7 เกิดจากลวดเย็บกระดาษหรือคลิปหนีบกระดาษติดอยู่ในเครื่อง ทำให้ roller เป็นรอย
รูปที่ 8 เกิดจากลวดเย็บกระดาษติดอยู่ในเครื่องและมีการดึงกระดาษที่ผิดวิธี ทำให้ฟิล์มฉีกขาด
รูปที่ 9 เกิดจากลวดเย็บกระดาษหรือคลิปหนีบกระดาษติดอยู่ในเครื่อง ทำให้ Pressure roller ฉีดขาด
รูปที่ 10 เกิดจากลวดเย็บกระดาษหรือคลิปหนีบกระดาษติดอยู่ในเครื่อง ทำให้ roller เป็นรูและเป็นรอย
รูปที่ 11 เกิดจากคลิปหนีบกระดาษติดอยู่ในเครื่อง ทำให้ roller เป็นรอย
รูปที่ 12 เกิดจากกระดาษติด และมีการดึงกระดาษผิดวีธี
รูปที่ 13 เกิดจากการใช้กระดาษผิดประเภท ทำให้กระดาษติด
รูปที่ 14 เกิดจากการใช้กระดาษผิดประเภท เช่นกระดาษสติ๊กเกอร์ ทำให้ยางของกระดาษสติ๊กเกอร์ติดที่ฟิล์ม
รูปที่ 15 อะไหล่แตกหัก อาจเกิดจากการกระแทกทำให้ชิ้นส่วนเกิดแตกหัก
จากอาการเสียต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว น่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ใช้งาน โดยให้ระมัดระวังในการใช้งาน Laser Printer มากขึ้น เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งาน Laser Printer ของท่าน ซึ่งข้อควรระวังมีดังต่อไปนี้ หากกระดาษติดภายในเครื่องควรจะมีวิธีการเอากระดาษที่ติดอย่างถูกวิธี (ดูได้จากคู่มือการใช้งาน), ไม่ควรนำของมีคมมางัดแงะเพื่อนำกระดาษที่ติดอยู่ที่เครื่องพิมพ์ออก, ควรระมัดระวังเรื่องลวดเย็บกระดาษ หรือคลิปหนีบกระดาษ สำหรับการใช้กระดาษ Reuse (นำกระดาษเก่ามาใช้งานใหม่) ซึ่งถ้าหากคุณระมัดระวังการใช้งานเหล่านี้แล้ว จะทำให้สามารถช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานของเครื่อง Laser Printer ของคุณได้ อนึ่งจากอาการต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว หากเกิดขึ้นถือว่าเป็นอาการเสียที่เกิดจากการใช้งานอย่างผิดวิธี และส่งผลให้การรับประกันสิ้นสุดลงอีกด้วย

5/01/2557

การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย Microsoft Office Publisher

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

การเปิดโปรแกรม

1. เราสามารถเปิดโปรแกรม Microsoft Publisher 2007 ได้ โดยคลิกที่ Start > Programs > Microsoft Office > Microsoft Office Publisher 2007


2. คลิกเลือกภาระงานจากแถบงานด้านซ้ายมือ แล้วคลิก สร้าง



                                       รู้จักวัตถุ (Object)
หลังจากสร้างงานขึ้นมาแล้วเราจะพบว่า ผลงานสําเร็จรูปที่สร้างขึ้นจากคําสั่งต่าง ๆ ในโปรแกรมจะประกอบไปด้วยรูปภาพและตัวอักษรต่างๆ
เราเรียกส่วนประกอบเหล่านั้นว่า “Object”

รู้จักแถบเครื่องมือ (Toolbar Options)


Toolbar Options คือ    แถบเครื่องมือที่ใช้สําหรับสร้างและจัดการกับวัตถุต่างๆ (Object) ที่่ี่อยู่ในงานสิ่งพิมพ์ที่เราสร้างโดยจะปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายของหน้า จอ     ซึ่งในหน้าต่างแถบเครื่องมือนี้ จะประกอบด้วยวัตถุ (Object) ต่าง ๆ ดังนี้



การทํางานกับวัตถุ (Object)


เมื่อเลือกรูปแบบของงานได้ตามที่ ต้องการแล้ว เราอาจต้องการตกแต่งผลงานเพิ่มเติมเพื่อให้ผลงานของเรามีความสวยงามและน่า สนใจมากขึ้น ซึ่งสามารถทําได้ดังนี้



การทํางานกับกล่องข้อความ

การสร้างกล่องข้อความ (Insert Text Box)

เราสามารถใส่ข้อความเพิ่มเติมลงในผลงาน ได้โดยสร้างกล่องข้อความขึ้นมา ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. คลิกที่ปุ่ม กล่องข้อความ
2. คลิกเมาส์ลงบนพื้นที่งานที่ต้องการสร้างข้อความ
3. พิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไป
4. กดแป้น Enter





คลิกที่ปุ่มแทรกตาราง จะปรากฏรูปแบบตารางให้เลือกตามความเหมาะสมของภาระงาน เมื่อเลือกได้แล้วคลิก ตกลง แถบข้อความหรือตัวเลขเปลี่ยนได้

การแก้ไขข้อความ (Edit Text)


เราสามารถเปลี่ยนข้อความที่โปรแกรมมีมาให้ได้โดย

1. คลิกที่กล่องข้อความที่ต้องการแก้ไข จะปรากฏจุดแฮนเดิล (Handle) วงกลมสีขาวรอบกล่องข้อความ
2. คลิกที่ข้อความในกล่องข้อความหรือลากเมาส์ระบายข้อความ
3. พิมพ์ข้อความที่ต้องการแก้ไข





คลิกเลือกปุ่มอักษรศิลป์ จะปรากฏรูปร่างอักษรศิลป์ให้เลือก    





การใช้งานเฟรมรูปภาพ



                                 
  การค้นหาภาพ

จะปรากฏแหล่งภาพให้เลือก 3 แหล่ง ได้แก่ ภาพาจากกลุ่มภาพตัดปะที่มีมาพร้อมกับโปรแกรม รูปภาพจากแฟ้ม เป็นแหล่งเก็บภาพที่ผู้จัดทำรวบรวมไว้ และจากสแกนเนอร์หรือกล้อง เลือกจากสแกนเนอร์หรือกล้องที่ต่อเชื่อมขณะทำงาน

การใช้งาน เส้น  

 

การใช้งานลูกศร   

     

การเปลี่ยนขนาดเส้น คลิกขวาที่เส้น จะปรากฏแถบเครื่องมือ คลิกที่ จัดรูปแบบรูปร่างอัตโนมัติ

การใช้งาน วงรี สี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปร่างอัตโนมัติ



ไม่ว่าจะเป็นวงรี สี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือรูปร่างอัตโนมัติ เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถเติมสี  และเติมลักษณะพิเศษต่าง ๆ ได้ เช่นเดียวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดหรือ เพาเวอร์พอยท์ตามปกติ