4/30/2552

Windows Server: Event Log Solution เก็บ Log ง่าย ๆ ไม่ต้องจ่ายสักบาท

Windows Server: Event Log Solution เก็บ Log ง่าย ๆ ไม่ต้องจ่ายสักบาท


สวัสดีครับ ห่างหายไปนานเลยเรื่องบทความ พอดีไปเรียนมาครับ ติดงานเยอะด้วย ตอนนี้พอจะว่าง จะรีบ ๆ ปั่นบทความมาแจกกันอ่านให้เยอะ ๆ นะครับ เป็นกำลังใจให้ด้วยละกันครับผม

สืบเนื่องมาจากกระแสการเก็บ Logs ตาม พรบ กำลังมาแรง

บทความข้างล่างต่อไปนี้เป็นบทความที่ช่วยให้เราสามารถเก็บ Server LOG ไฟล์ได้ตาม พรบ โดยให้ windows มัน Auto ทำให้ ผมทดสอบพร้อมกับใช้งานจริงมาแล้ว Work ! ! ! ครับผม

หมายเหตุ * * 1. โปรดพิจารณาในการเอาไปใช้ นะครับ บทความนี้เกิดจากประสบการณ์ของผมคนเดียว
2. การทำตามด้านล่างนี้มีความเสี่ยงด้านการแก้ไขระบบ ควรทำการ Backup ทุกอย่างของคุณไว้ก่อนเสมอก่อนที่จะทำตาม
3. การตั้งค่าแบบนี้เป็นการเก็บ Logs ตาม พรบ เฉพาะด้าน Logs ของ Server ไม่เกี่ยวกับ Traffic Logs แต่อย่างได

หลักการในการทำงานของ Solution ผมคือ

1 สั่ง audit ให้ระบบ server ทำการเก็บ log ให้พอเพียงกับที่ขอบเขตที่ พรบ ต้องการ
2 ทำการย้ายพื้นที่ในการเก็บ Log ของ windows ไม่ให้ไปกองไว้ที่เดียวกับ system drive (เนื่องจากเราต้องเก็บไว้อย่างน้อง 90 วันบางทีอาจจะทำให้ system drive เต็ม) ควรหา disk ที่ว่าง ๆ เอาไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะ
3. ปรับแต่งค่าใน Windows เพื่อให้มันทำการ auto backup ไว้เป็น archive ให้เรา
4 (Option) ตั้งค่าการ Backup ด้วย Windows Backup อีกรอบเก็บไว้ยัง Media อื่น ๆ

มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ (หากอ่านข้อความด้านล่างไม่เข้าใจ แนะนำให้ ๆ ๆ ย้อนกลับไปจุดเริ่มต้นทบทวนหลักการอีกรอบครับ)

1.ตั้ง Audit Policy ให้กับ Server เพื่อให้เก็บเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นพอที่จะไปเป็นหลักฐานทางด้าน IT ได้

หาก Server เป็น Domain Controller ให้เปิด Domain controller Security




หากเป็น Server ธรรมดา ให้พิมพ์ command ที่ Run >> secpol.msc จะเจอหน้าตาเหมือนกันดังรูป




หน้าจอ Audit Policy สั่ง Audit Policy ให้เหมือนกับรุปที่อยู่ด้านล่าง




สั่งให้ computer ทำการเก็บ Logs files ไว้ที่ Harddisk ที่มีความจุเยอะ ๆ (ในที่นี้ใช้เป็น D:\)

วิธีทำ

- พิมพ์ command ที่ Run >> regedit,
- ที่ Registry HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Services\Eventlog
คลิ๊กที่ subkey ต่าง ๆ ที่อยุ่ใน Event viewer เช่น Application.
- ด้านขวามือหาคำว่า File
- แก้ไข Path จัดเก็บให้เรียบร้อย (เป็น path ที่เรียกเต็ม ๆ เช่น d:\eventlogs\ appevent.evt)
- ทำซ้ำให้ครบทุก Event Viewer ที่ต้องการแก้ไข path หลัก ๆ ก็มีดังรุปที่อยู่ด้านล่าง
- สั่งรีสตาร์ทเครื่องเพื่อให้มีผล




4. หลังจากที่ ทำการ รีสตาร์ทเครื่องแล้วให้ไปเพิ่ม option เพื่อให้มันทำการ auto backup ให้เราครับ ทำโดยการแก้ไข registry ที่เดิมครับโดยจากเดิมเปลี่ยนที่ option “File” คราวนี้เรามาเปลี่ยน Option “AutoBackupLogFiles” จากค่า 0 ให้เป็น 1 ครับ



5.หลังจากนั้นให้รีสตาร์ทเครื่องอีกทีครับ

6.จากนั้นให้เรามาปรับแก้ไขค่า Default Size ของ Event Viewer ในแต่ละอันให้เหมาะสมจากรูป หาก Security Logs มันเต็มที่ 131 MB ระบบจะทำการ Auto Backup ออกมาเป็น ไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า Archive-xxxxxxx เองโดยอัตโนมัติ

*** อย่าลืมตั้งค่า ติ๊กไว้ตรงช่อง Do not Over write (Clear Log Manual นะครับ) ตามรูปครับตามรูป






เพียงเท่านี้เราก็ไม่ต้องกังวลแล้วครับว่า Logs จะเต็มหรือถูกลบทิ้งไปเนื่องจากมันทำการ Archive ให้โดยอัตโนมัติที่เหลือก็คื่อทำการ zip ไว้หรือว่าทำการจัดเก็บลงเทปเพื่อความปลอดภัยอีกรอบ

ลองทำดูครับง่าย ๆ เพียงพอต่อความต้องการขององค์กรขนาดเล็ก-กลาง ครับไม่ต้องไปซื้อ Solution ให้เสียเวลา ทำเองแบบนี้พอเพียง เพียงพอแล้วขอรับ


มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ติติงกันได้นะครับผม ขอบคุณครับ กำลังทะยอยเขียนอีก version นึงครับ รอสักครู่



7. เพิ่มเติมครับเพิ่มเติม หลังจากการตีความ พรบ ว่า Logs ไฟล์นั้น Administrator ห้ามแก้ไข ดังนั้นเราต้องไปเซ็ตค่าเพิ่มอีกนิดครับโดยการเข้าไปเซต Security Permission ของ Logs ที่เราแก้ไขค่าไป โดยทำการ Modify ให้ Administrator มีสิทธิ์แค่ Read ครับ แค่นี้ก็ยืนยันกับเจ้าหน้าที่ได้แล้วว่าเราไม่มีสิทธิ์ไปแก้ไขอะไร


4/26/2552

การติดตั้ง Windows Server 2008 Hyper-V

การติดตั้ง Windows Server 2008 Hyper-V
การติดตั้ง Windows Server 2008 Hyper-V นั้น มีขั้นตอนเหมือนกับการติดตั้ง Role อื่นๆ อย่างไรก็ตาม Hyper-V นั้นเป็นเทคโนโลยีแบบ 64-bit ซึ่งจะมีให้เลือกติดตั้งได้เฉพาะบนระบบ Windows Server 2008 และระบบฮาร์ดแวร์แบบ 64-bit เช่นเทคโนโลยี Intel VT หรือ AMD-V เท่านั้น

ข้อควรทราบ:
ด้วยสาเหตุต่างๆ หลายประการ ทำให้ไมโครซอฟท์พัฒนา Hyper-V เสร็จช้ากว่ากำหนด ส่งผลให้เวอร์ชันของ Hyper-V ที่ออกมาพร้อม Windows Server 2008 นั้นยังเป็นเวอร์ชัน Pre-Release ดังนั้น ก่อนทำการติดตั้ง Hyper-V ต้องทำการติดตั้งอัพเดทที่ชื่อ Hyper-V Update for Windows Server 2008 x64 Edition (KB950050) ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ http://support.microsoft.com/kb/950050 และทำการดาวน์โหลดไฟล์อัพเดทที่เว็บไซต์ http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=F3AB3D4B-63C8-4424-A738-BADED34D24ED&displaylang=en หลังจากดาวน์โหลดเสร็จแล้วให้ทำการติดตั้งโดยการดับเบิลคลิกไฟล์ Windows6.0-KB950050-x64.msu เมื่อระบบทำการติดตั้งอัพเดทแล้วเสร็จให้ทำการรีสตาร์ทระบบหนึ่งครั้ง ซึ่งหลังจากระบบรีสตาร์ทเสร็จจะทำการคอนฟิกระบบและทำการรีสตาร์ทระบบเองอีกหนึ่งครั้ง เมื่อการติดตั้งอัดเดทเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทำการติดตั้ง Windows Server 2008 Hyper-V ตามขั้นตอนด้านล่าง

ขั้นตอนการติดตั้ง Windows Server 2008 Hyper-V
การติดตั้ง Windows Server 2008 Hyper-V ให้ทำการล็อกออนเข้าเซิร์ฟเวอร์ด้วยแอคเคาท์กลุ่ม Administrator จากนั้นดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1. เปิด Server Manager โดยการคลิก Start คลิก Server Manager ดังรูปที่ 1


รูปที่ 1 Server Manager

2. ในหน้าต่าง Server Manager ให้เลื่อนลงไปยังส่วน Roles Summary จากนั้นคลิก Add Roles


รูปที่ 2 Roles Summary

3. ในหน้า Berfore You Begin ให้คลิก Next
4. ในหน้า Select Server Roles ให้คลิก Hyper-V ดังรูปที่ 3 แล้วคลิก Next


รูปที่ 3 Select Server Roles

5. ในหน้า Hyper-V ให้คลิก Next
หมายเหตุ: ให้ตรวจสอบคอนฟิก BIOS ของเครื่องว่ารองรับการใช้งาน Hyper-V หรือไม่

6. ในหน้า Create Virtual Networks ให้เลือก Ethernet Card ที่ต้องการใช้เป็น Virtual Networks เสร็จแล้วคลิก Next


รูปที่ 4 Create Virtual Networks

7. ในหน้า Confirm Installation Seclection ให้ตรวจสอบการเลือกค่าต่างๆ ว่าถูกต้องหรือไม่ เสร็จแล้วคลิก Install


รูปที่ 5 Confirm Installation Seclection

8. รอจนการติดตั้งแล้วเสร็จ จากนั้นในหน้า Installation Results ให้คลิก Close
9. ในหน้า Do you want to restart now? ให้คลิก Yes เพื่อทำการรีสตาร์ทระบบ จากนั้นรอจนระบบพร้อมใช้งาน


รูปที่ 6 Do you want to restart now?

10. เมื่อระบบพร้อมใช้งาน ให้ทำการล็อกออนด้วยแอคเคาท์ที่ทำการติดตั้ง Hyper-V จากนั้นวินโดวส์จะทำการคอนระบบต่อ เมื่อเสร็จแล้วจะแสดงหน้า Installation Results ดังรูปที่ 7 จากนั้นให้ Close เพื่อจบการติดตั้ง Hyper-V


รูปที่ 7 Installation Results

หมายเหตุ:
ในการติดตั้ง Windows Server 2008 Hyper-V นั้น ระบบจะทำการติดตั้ง Hyper-V Manager ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการจัดการTools โดยอัตโนมัติ อ่านรายละเอียดวิธีการใช้งานได้ที่ Hyper-V Server Configuration (ThWAB)


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ดาวน์โหลด Microsoft Hyper-V Server 2008 (ThWAB)
โฮมเพจ Hyper-V Server 2008
โฮมเพจ Hyper-V Server 2008 FAQs
โฮมเพจ Microsoft Hyper-V Server 2008 Configuration Guide


Windows Server 2008 Hyper-V Installation

© 2008 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.

Configure IP Address บน Hyper-V Server

Configure IP Address บน Hyper-V Server
การคอนฟิกระบบ Netwotk นั้นเป็นงานหนึ่งที่แอดมินทั้งหลายต้องทำอยู่บ่อยๆ เช่น การตั้งค่า IP address การตั้งค่า DNS Server เป็นต้น โดยทั่วๆ ไปการตั้งค่าจะกระทำผ่านทางอินเทอร์เฟชแบบกราฟิก แต่บน Hyper-V Server นั้นการคอนฟิกระบบ Netwotk จะทำจากหน้าต่าง Hyper-V Configuration ตามขั้นตอนดังนี้

Hyper-V Configuration
Hyper-V Configuration

ขั้นตอนที่ 1. ในหน้าต่าง Hyper-V Configuration ให้พิมพ์เลข 3 แล้วกด Enter
ขั้นตอนที่ 2. ในหน้า Network Settings ให้เลือก Network Adapter ที่ต้องการจากคอลัมน์ Index
ตัวอย่างเช่น Index 0 ก็ให้พิมพ์เลข 0 แล้วกด Enter

ขั้นตอนที่ 3. ในหน้า Network Adapter Settings ให้เลือกตัวเลือกที่ต้องการโดยการพิมพ์ตัวเลขเสร็จแล้วกด Enter
โดยมีตัวเลือก 4 ตัว ดังนี้
1 = Set Network Adapter IP Address
2 = Set DNS Server
3 = Clear DNS Server Settings
4 = Return to Main Menu

ขั้นตอนที่ 4. หากเลือก 1 หรือ 2 ในขั้นตอนที่ 3 ก็ให้ป้อนค่าต่างๆ ให้ครบถ้วน
ขั้นตอนที่ 5. เมื่อทำการป้อนค่าต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วให้เลือกตัวเลือกที่ 4 เพื่อกลับไปยังเมนูหลัก


Copyright © 2009 All Rights Reserved.

Windows Server 2008 Active Directory Domain Services

การติดตั้ง Active Directory Domain Services บน Windows Server 2008
1. การวางแผนการติดตั้ง Active Directory
ก่อนการติดตั้ง Active Directory บนเครื่อง Windows Server 2008 นั้น แอดมินจะต้องวางแผนการติดตั้งว่าจะมีลักษณะแบบใด และต้องเตรียมข้อมูลพื้นฐานของระบบเครือข่าย เช่น หมายเลขไอพีและซับเน็ตมาสก์ที่ใช้ หมายเลขไอพีของ DNS Server หมายเลขไอพีของดีฟอลท์เกตเวย์ (Default Gateway) และในกรณีที่เราไม่ได้ดูแลระบบเองทั้งหมด ก็ต้องประสานงานกับแอดมินที่เป็นผู้ดูแลระบบเครื่องเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ หรือผู้ดูแลระบบเครือข่ายเพื่อทำการคอนฟิกในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น DNS เซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น โดยก่อนทำการติดตั้ง Active Directory บนเครื่อง Windows Server 2008 ให้วางแผนหรือเตรียมข้อมูลต่างๆ ดังนี้
- ชื่อของ Domain Name และ Child Domain name
- ติดตั้งเป็น New Forest หรือ Existing Forest
- ติดตั้งเป็น New Domain ใน Existing Forest หรือเป็น New Child Domain ใน Existing Forest
- หมายเลข IP Address สำหรับเซิร์ฟเวอร์ทุกตัว
- หมายเลข Subnet Mask
- IP Address ของดีฟอลท์เกตเวย์
- IP Address ของ DNS เซิร์ฟเวอร์

หมายเหตุ:
ในกรณีที่ทดลองติดตั้งActive Directory บนเครื่อง Windows Server 2008 ในระบบเครือข่ายตนเองสามารถกำหนดค่าต่างๆ ได้ตามความต้องการ

ดำเนินการติดตั้ง Active Directory บนเครื่อง Windows Server 2008
หลังจากติดตั้ง Windows Server 2008 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนดำเนินการติดตั้ง Active Directory ให้ทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่าการคอนฟิกต่างๆ ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้ทำการล็อกออนเข้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ด้วยแอคเคาท์ที่เป็นโลคอลแอดมิน โดยดีฟอลท์นั้นวินโดวส์จะเปิดหน้าต่าง Initial Configuation Tasks ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยเหลือแอดมินในการเริ่มต้นการจัดการ Windows Server 2008 ในด้านต่างๆ เช่น Config Networking, Adding Roles, Add Features และ Configure Windows Firewall เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือ Server Manager (แสดงไอคอนอยู่บน Taskbar) ซึ่งเป็นเครื่องมือแอดมินในการจัดการเซิร์ฟเวอร์แบบรูทีน

ขั้นตอนการติดตั้ง Active Directory และ Domain Controller
ในบทความนี้ผมจะแสดงถึงขั้นตอนการติดตั้ง Active Directory ซึ่งเป็นการติดตั้ง Windows Server 2008 เป็นโดเมนคอนโทรลเลอร์ใน New Domain และ New Forest โดยมีขั้นตอนดังนี้

การติดตั้ง Active Directory แบบ New Domain และ New Forest นั้นมีขั้นตอนดังนี้
1. ทำการล็อกออนเข้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ด้วยยูสเซอร์ที่เป็นโลคอลแอดมิน จากนั้นดำเนินการข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
1.1 ในหน้าต่าง Initial Configuation Tasks ให้คลิกที่ Add roles

Add Roles (ICT)
Add Roles (Initial Configuration Tasks)

1.2 ในหน้าต่าง Server Manager ในส่วนเนวิเกตให้คลิกที่ Roles จากในหัวข้อ Role Summary คลิกที่ Add roles

Add Roles (Server Manager)
Add Roles (Server Manager)

2. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Before You Begin ให้คลิก Next

Before You Begin
Before You Begin

3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Select Server Roles ให้คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ Active Directory Domain Services เสร็จแล้วคลิก Next

Select Server Roles
Select Server Roles

4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Active Directory Domain Services ให้คลิก Next
5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Confirm Installation Selections ให้คลิก Install

Confirm Installation Selections
Confirm Installation Selections

6. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Active Directory Installation Wizard ให้คลิก Next
7. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Installation Progress ให้รอจนการทำงานแล้วเสร็จ
8. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Installation Results ให้คลิก Close the wizard and luanch the Active Directory Domain Services Installation Wizard เพื่อรันคำสั่ง dcpro หรือคลิก Close แล้วทำการรันคำสั่ง dcpro แบบแมนนวล

Installation Results
Installation Results

9. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Welcome to Active Directory Domain Services Installation Wizard ให้คลิก Next

AD Domain Services Installation Wizard
Welcome to AD Domain Services Installation Wizard

10. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Operating System Compatibility ให้คลิก Next

Operating System Compatibility
Operating System Compatibility

11. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Choose a Deployment Configuration ให้เลือกเป็น Create a new domain in a new forest เสร็จแล้วคลิก Next

Choose a Deployment Configuration
Choose a Deployment Configuration

12. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Name the Forest Root Domain ให้ป้อนชื่อเต็มของ Domain ในช่อง FQDN of the forest root domain เสร็จแล้วคลิก Next

Name the Forest Root Domain
Name the Forest Root Domain

13. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Set Forest Functinal Level ให้เลือกระดับที่ต้องการจากดร็อปดาวน์ลิสต์ (มีให้เลือก 3 ระดับคือ Windows 2000, Windows Serve 2003 และ Windows Server 2008 ในที่นี้เลือกเป็น Windows Server 2003) เสร็จแล้วคลิก Next

หมายเหตุ: การเลือกในขั้นตอนนี้จะมีผลกับตัวเลือกในขั้นตอนต่อไป


Forest Functinal Level

14. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Set Domain Functinal Level ให้เลือกระดับที่ต้องการจากดร็อปดาวน์ลิสต์ (มีให้เลือก 2 ระดับคือ Windows Serve 2003 และ Windows Server 2008 ในที่นี้เลือกเป็น Windows Server 2003) เสร็จแล้วคลิก Next

Set Domain Functinal Level
Domain Functinal Level

15. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Additional Domain Controller Options ให้เลือกค่าที่ต้องการเสร็จแล้วคลิก Next (ในที่นี้เลือกตามค่าดีฟอลท์)
16. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Active Directory Domain Services Installation Wizard ให้คลิก Yes เพื่อไปยังขั้นตอนต่อไป

AD Domain Services Installation Wizard
AD Domain Services Installation Wizard

17. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Location of Database. Log Files. and SYSVOL ขอแนะนำให้ใช้ค่าที่วินโดวส์กำหนดให้ แต่หากต้องการกำหนดค่าเองก็สามารถทำได้โดยป้อนค่าที่ต้องการในช่อง Database folder, Log folder และ SYSVOL folder เสร็จแล้วคลิก Next

Location of Database. Log Files. and  SYSVOL
Location of Database. Log Files. and SYSVOL

18. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Active Directory Services Restore Mode Administrator Password ให้ป้อนพาสเวิร์ดที่ต้องการในช่อง Restore Mode Password และ ในช่อง Confirm password เสร็จแล้วคลิก Next

AD Services Restore Mode Administrator Password
AD Services Restore Mode Administrator Password

19. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Summary ให้คลิก Next

หมายเหตุ: สามารถทำการส่งออกการกำหนดค่าได้โดยการคลิกที่ Export settings

Summary
Summary

20. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Active Directory Domain Services Installation Wizard ให้รอจนระบบจะทำการติดตั้ง Active Directory แล้วเสร็จ

หมายเหตุ: หากต้องการให้ระบบทำการรีสตาร์ทโดยอัตโนมัติให้คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ Reboot on complete ซึ่งระบบจะทำการรีสตาร์ทโดยอัตโนมัติ และไม่ต้องทำขั้นตอนที่ 21 และ 22

21. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Completing the Active Directory Domain Services Installation Wizard ให้คลิก Finish

Finish
Finish

22. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ถัดไปให้คลิก Restart Now

Restart Now
Restart Now

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
• แนะนำ Active Directory เว็บไซต์ Windows Server 2003 Active Directory


Keywords: Windows Server 2008 Active Directory AD Installation

Copyright © 2009 All Rights Reserved.

Windows Vista and Windows Server 2008 Service Pack 2 RC Download

ไมโครซอฟท์เปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปดาวน์โหลด Windows Server 2008 Service Pack 2 และ Windows Vista Service Pack 2 Release Candidate (RC) ไปทดลองใช้งานแล้วเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2552 โดยจะมีให้เลือกดาวน์โหลด 2 ชุด คือชุด 5 ภาษา รองรับวินโดวส์เวอร์ชันภาษา English, French, German, Japanese และ Spanish และชุด 26 ภาษา ซึ่งครอบคลุมวินโดวส์ในทุกภาษา

Service Pack 2 (SP2) เป็นการรวบรวมอัพเดทและฮอตฟิกซ์ทั้งหมดที่ออกหลัง SP1 และทำการปรับปรุงความเข้ากันของแอพลิเคชัน ขยายความสามารถในการรองรับฮาร์ดแวร์ และจะสามารถติดตั้งได้เฉพาะบน Windows Server 2008 หรือ Windows Vista ที่ติดตั้ง SP1 อยู่แล้วเท่านั้น สำหรับวิธีการติดตั้งจะสามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือการติดตั้งผ่านทาง Windows Update และการดาวน์โหลดมาติดตั้งแบบแมนนวล

การติดตั้งผ่านทาง Windows Update
การติดตั้ง Service Pack 2 ผ่านทาง Windows Update นั้น ให้ศึกษาวิธีการตามคำแนะนำใน Windows Update Experience Kit ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=18045534-BF27-4953-B907-764C4682714C

การดาวน์โหลด Windows Server 2008 SP2 และ Windows Vista SP2 Release Candidate (RC)
การดาวน์โหลด Service Pack 2 เวอร์ชัน Standalone 5 ภาษา:
• ดาวน์โหลด SP2 ในรูปแบบไฟล์ ISO สำหรับ Windows Server 2008 x86/x64/ia64 and Windows Vista x86/x64 ได้ที่เว็บไซต์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=0A3D7A63-46AF-4E04-AC8C-91B8BC476450

• ดาวน์โหลด SP2 เวอร์ชัน x86 สำหรับ Windows Server 2008 and Windows Vista x86 ได้ที่เว็บไซต์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=DCA54ECC-362A-4B4D-B62B-22780E839A7E

• ดาวน์โหลด SP2 เวอร์ชัน x64 สำหรับ Windows Server 2008 and Windows Vista x64 ได้ที่เว็บไซต์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=361D0CA3-4B2C-4F1C-8B3E-DE376FDB1DE8

• ดาวน์โหลด SP2 เวอร์ชัน IA64 สำหรับ Windows Server 2008 ia64 ได้ที่เว็บไซต์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=9E77AE84-BB5A-4A3F-A481-68826B34C893

การดาวน์โหลด Service Pack 2 เวอร์ชัน Standalone 26 ภาษา:
• ดาวน์โหลด SP2 ในรูปแบบไฟล์ ISO สำหรับ Windows Server 2008 x86/x64/ia64 and Windows Vista x86/x64 ได้ที่เว็บไซต์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=DBA0FC54-D35C-4978-AC0D-E3224CFE1736

• ดาวน์โหลด SP2 เวอร์ชัน x86 สำหรับ Windows Server 2008 and Windows Vista x86 ได้ที่เว็บไซต์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=1CE481D9-19DF-48EF-A952-A4B8E857DD45

• ดาวน์โหลด SP2 เวอร์ชัน x64 สำหรับ Windows Server 2008 and Windows Vista x64 ได้ที่เว็บไซต์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=B920AE4A-E1D3-4FB1-BB8A-A7CC857D5530

• ดาวน์โหลด SP2 เวอร์ชัน IA64 สำหรับ Windows Server 2008 ia64 ได้ที่เว็บไซต์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=D1056147-8270-4D5C-A85D-B84A556C0C61

หมายเหตุ:
ไม่แนะนำให้ทำการทดสอบบนเครื่องที่ใช้งานจริงครับ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
• Windows Server 2008 SP2 and Windows Vista SP2 Beta เว็บไซต์ http://technet.microsoft.com/en-us/windows/dd262148.aspx
• Release Notes for Windows Server 2008 SP2 Release Candidate เว็บไซต์ http://go.microsoft.com/fwlink/?LinkId=134026

Copyright © 2009 All Rights Reserved.

Configure IP Address บน Hyper-V Server จากคอมมานด์พร็อมท์

Configure IP Address บน Hyper-V Server
เนื่องจาก Hyper-V Server นั้นไม่มีอินเทอร์เฟชแบบกราฟิก ทำให้การคอนฟิกระบบในหลายๆ ด้าน จะต้องกระทำผ่านทางหน้าต่าง Hyper-V Configuration ซึ่งจะเป็นการทำงานในลักษณะแบตช์ไฟล์ โดยวิธีการคอนฟิกระบบทำได้ด้วยการป้อนตัวเลขของหัวข้อที่ต้องการคอนฟิก ตัวอย่างเช่น ป้อน 2 สำหรับการเปลี่ยนชื่อเซิร์ฟเวอร์ (ต้องทำการรีสตาร์ทระบบเพื่อให้การเปลี่ยนชื่อมีผล)

Hyper-V Configuration
Hyper-V Configuration

สำหรับแอดมินที่ไม่นิยมการคอนฟิกผ่านทาง Hyper-V Configuration ก็สามารถทำการคอนฟิกระบบแบบบรรทัดคำสั่งหรือคอมมานด์พร็อมท์ได้เช่นกัน ในบทความนี้จะนำเสนอวิธีการคอนฟิกระบบ Netwotk คือ การตั้งค่า IP address การตั้งค่า DNS Server คอมมานด์พร็อมท์

• การตั้งค่า IP address
การตั้งค่า IP Address ใน Windows Server 2008 Hyper-V สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง netsh ตามขั้นตอนดังนี้

รูปแบบคำสั่ง
netsh interface ipv4 set address [name=string][source=dhcp] or [[source=static] [addr=IP address] [mask=IP subnet mask] [gateway=IP address or none]] [gwmetric=integer]

เมื่อ
- name = ชื่อของอินเทอร์เฟชที่ต้องการตั้งค่า โดยทั่วไปเป็น Local Area Connection สามารถดูชื่ออินเทอร์เฟชได้โดยใช้คำสั่ง netsh interface show interface
- source = กำหนดค่าผ่านทาง DHCP หรือ กำหนดแบบแมนนวล หากกำหนดแบบแมนนวลจะต้องใส่ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ด้านล่างด้วย
- IP address = หมายเลขไอพีแอดเดรสที่ต้องการกำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
- mask = ซับเน็ตมาก์สของคลาสของไอพีแอดเดรส
- gateway = หมายเลขไอพีแอดเดรสของดีฟอลท์เกตเวย์ (สามารถกำหนดเป็น none ได้)
- gwmetric = ค่าเมตริกซ์ของเกตเวย์ เป็นตัวเลขจำนวนเต็ม เช่น 1,2,3...โดย 0=Automatic matric

ตัวอย่าง
ตั้งค่าต่างๆ ดังนี้
IP address = 192.168.1.19
Subnet Mask = 255.255.255.0
Defautl Gateway = 192.168.1.254
Gateway Metric = 0

วิธีการตั้งค่า IP address ตามตัวอย่าง ให้พิมพ์คำสั่งตามด้านล่างในหน้าต่างคอมมานด์พร็อมท์ เสร็จแล้วกด Enter

netsh interface ipv4 set address "Local Area Connection" static 192.168.1.19 255.255.255.0 192.168.1.254 0

• การตั้งค่า DNS Server
การตั้งค่า DNS Server ใน Windows Server 2008 Hyper-V สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง netsh ตามขั้นตอนดังนี้

รูปแบบคำสั่ง
netsh interface ipv4 add dnsserver [name=string] [addr=IP address] [index=integer]

เมื่อ
- name = ชื่อของอินเทอร์เฟชที่ต้องการตั้งค่า โดยทั่วไปเป็น Local Area Connection สามารถดูชื่ออินเทอร์เฟชได้โดยใช้คำสั่ง netsh interface show interface
- addr = หมายเลข IP ของ DNS server
- index = ลำดับของ DNS เป็นตัวเลขจำนวนเต็ม เช่น 1,2,3.....

ตัวอย่าง
ตั้งค่า IP address ของ DNS Server เป็น 192.168.1.10

วิธีการตั้งค่า DNS Server ตามตัวอย่าง ให้พิมพ์คำสั่งตามด้านล่างในหน้าต่างคอมมานด์พร็อมท์ เสร็จแล้วกด Enter

netsh interface ipv4 add dnsserver "Local Area Connection" 192.168.1.10 index= 1


Copyright © 2009 All Rights Reserved.

Add Hyper-V Server to AD Domain

จับ Hyper-V Server เข้าเป็นสมาชิกโดเมน
การเพิ่ม Hyper V เข้าเป็นสมาชิกโดเมนนั้นจะทำจากหน้าต่าง Hyper-V Configuration

Hyper-V Configuration
Hyper-V Configuration

การเตรียมระบบก่อนดำเนินการ
ก่อนดำเนินการเพิ่ม Hyper-V เข้าเป็นสมาชิกโดเมนนั้นแอดมินต้องเตรียมระบบในด้านต่างๆ ดังนี้
1. เตรียมโดเมนยูสเซอร์และพาสเวิร์ดที่มีสิทธิ์ในการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าเป็นสมาชิกของโดเมน
2. ทำการคอนฟิกค่า IP Address และ DNS Server ของเซิร์ฟเวอร์ Hyper-V ให้สอดคล้องกับของโดเมน (Active Directory)
3. ทำการเชื่อมต่อซิร์ฟเวอร์ Hyper-V ที่จะเพิ่มเข้าเป็นสมาชิกของโดเมนเข้ากับระบบเครือข่าย และทดสอบการใช้งาน โดยจะต้องสามารถติดต่อกับ DNS Server และ Domain Controler ของ Active Directory ได้ ซึ่งอาจ ใช้วิธีการ Ping ก็ได้

การเพิ่ม Hyper V เข้าเป็นสมาชิกโดเมนนั้นจะทำจากหน้าต่าง Hyper-V Configuration ตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1. ในหน้าต่าง Hyper-V Configuration ให้พิมพ์เลข 1 แล้วกด Enter
ขั้นตอนที่ 2. ที่พร็อมท์ Change Domain /Workgroup Membership ให้พิมพ์ D แล้วกด Enter
ขั้นตอนที่ 3. ที่พร็อมท์ Name of domain to join: ให้ป้อนชื่อเต็มของโดเมน ตัวอย่างเช่น thwablog.com แล้วกด Enter
ขั้นตอนที่ 4. ที่พร็อมท์ Specify an authorized domain\user: ให้ป้อนชื่อแอคเคาท์ที่มีระดับสิทธิ์ในการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าโดเมน ตัวอย่างเช่น thwablog\administrator แล้วกด Enter
ขั้นตอนที่ 5. วินโดวส์จะเปิดหน้าต่างคอมมานพร็อมท์ขึ้นมาหนึ่งหน้าต่าง ให้ป้อนรหัสผ่านของแอคเคาท์ที่ป้อนในขั้นตอนที่ 4
ขั้นตอนที่ 6. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Join Domain ให้คลิก Yes เพื่อรีสตาร์ทเซิร์ฟเวอร์

หลังจากการรีสตาร์ทเสร็จเรียบร้อย ให้ทำการทดลองล็อกออบเข้าเซิร์ฟเวอร์ Heper-V Server ด้วยโดเมนแอคเคาท์

Copyright © 2009 All Rights Reserved.

Windows Server 2008 Remove Active Directory Domain Services Role

การลบ Active Directory Domain Services
ในบทความนี้ผมจะแสดงถึงขั้นตอนการลบ Active Directory Domain Services บน Windows Server 2008 โดยในที่นี้จะเป็นการลบโดเมนคอนโทรลเลอร์ตัวสุดท้ายออกจากโดเมน

• ขั้นตอนการลบ Active Directory Domain Services
1. ทำการล็อกออนเข้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ด้วยยูสเซอร์ที่เป็นโดเมนแอดมิน จากนั้นพิมพ์ dcpromo ในกล่อง Start Search แล้วคลิก dcpromo จากรายการโปรแกรมดังรูปที่ 1.

Dcpromo
รูปที่ 1. Dcpromo

2. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Welcome to Active Directory Domain Services Installation Wizard ให้คลิก Next

ADDS Installation Wizard
รูปที่ 2. Welcome to ADDS Installation Wizard

3. ในกรณีที่โดเมนคอนโทรลเลอร์ (Domain Controller) ตัวที่จะทำการลบเป็นโกลบอลแคตาล็อกเซิร์ฟเวอร์ (Global Catalog) ของโดเมน วินโดวส์จะแสดงหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ดังรูปที่ 3. ให้คลิก OK เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป

หมายเหตุ: ในกรณีที่โดเมนคอนโทรลเลอร์ (Domain Controller) ตัวที่จะทำการลบเป็นโกลบอลแคตาล็อก (Global Catalog) เซิร์ฟเวอร์ แต่ไม่ได้เป็นโดเมนคอนโทรลเลอร์ตัวสุดท้ายของโดเมน ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ใช้สามารถเข้าถึงโกลบอลแคตาล็อกเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นๆ ได้

Global Catalog
รูปที่ 3. Global Catalog

4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Delete the Domain ให้คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ Delete the Domain because this server is the last Domain controller in the domain เสร็จแล้วคลิก Next

หมายเหตุ: ในที่นี้โดเมนคอนโทรลเลอร์ไม่ได้เป็นโดเมนคอนโทรลเลอร์ตัวสุดท้ายของโดเมน ไม่จำต้องเลือกเช็คบ็อกซ์ Delete the Domain because this server is the last Domain controller in the domain

Delete the Domain
รูปที่ 4. Delete the Domain

5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Delete Application Partition ให้คลิก Next
6. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Confirm Deletion ในที่นี้เลือกเช็คบ็อกซ์ Delete all apllication partitions on this Active Directory domain controller เสร็จแล้วให้คลิก Next

Confirm Deletion
รูปที่ 5. Confirm Deletion

7. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Administrator Password ให้ป้อนรหัสผ่านที่จะใช้เป็นรหัสผ่านของแอดมินในกล่อง Password และ Confirm Password เสร็จแล้วคลิก Next

Administrator Password
รูปที่ 6. Administrator Password

8. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Summary ให้คลิก Next แล้วรอจนการลบ Active Directory Domain Services แล้วเสร็จ
9. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Completing the Active Directory Domain Services Installation Wizard ให้คลิก Finish

Completing Remove ADDS
รูปที่ 7. Completing Remove ADDS

10. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ถัดไปให้คลิก Restart Now

Restart Now
รูปที่ 8. Restart Now

หลังจากเซิร์ฟเวอร์รีสตาร์ทแล้วเสร็จให้ทำการล็อกออนด้วยแอคเคาท์ Administrator และรหัสผ่านที่กำหนดในขั้นตอนที่ 7 ด้านบน

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
• แนะนำ Active Directory เว็บไซต์ Windows Server 2003 Active Directory
• การติดตั้ง ADDS บน Windows Server 2008 Windows Server 2008 Active Directory Domain Services

Copyright © 2009 All Rights Reserved.

What new in Server 2008 R2?

มีอะไรใหม่ใน Windows Server 2008 R2
Windows Server 2008 R2 ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่พัฒนาต่อเนื่องจาก Windows Server 2008 (ในลักษณะเดียวกันกับ indows Server 2003 R2 ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่พัฒนาต่อเนื่องจาก Windows Server 2003) นั้นมีกำหนดการออกในปี 2552 นี้ โดยในเวอร์ชัน R2 นี้ นอกกจากการปรับปรุงฟีเจอรืเดิมให้ทำงานได้ดีขึ้นแล้ว ยังมีการเพิ่มปังก?ชันการทำงานใหม่ๆ เข้ามาอีกหลายตัว โดยมีบางส่วยดังนี้

Hyper-V 2.0 with Live Migration capabilities
ใน Server 2008 R2 นั้นจะรวม Hyper-V 2.0 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชันแพลตฟอร์มรุ่นที่ 2 ของไมโครซอฟท์ และมีฟังก์ชัน Live Migration ซึ่งสามารถทำการไมเกรตเวอร์ชวลแมชชีน (Virtual Machines หรือ VMs) แบบ Host-to-Host ได้โดยมีเวลาดาวน์ไทม์น้อย โดยเฉพาะในกรณีที่มีการใช้งานแบบ Cluster การไมเกรตจะทำได้ภายในเวลาเพียงไม่นาน ส่งผลให้ไม่กระทบกับการใช้งานของผู้ใช้

Remote Desktop Services (next-generation Terminal Services)
ใน Server 2008 R2 บริการ Terminal Services จะเปลี่ยนชื่อเป็น Remote Desktop Services (RDS) สำหรับเหตุผลของการเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ เพื่อสะท้อนการขยายบทบาทบริการ Terminal Services ใน Windows Server 2008 R2 ซึ่งยูสเซอร์สามารถรันในแบบเดสก์ท็อปและแอพพลิเคชันในดาต้าเซ็นเตอร์จากที่ ใดก็ได้

บริการ RDS ทำให้การใช้งานเดสก์ท็อปหรือแอพพลิเคชันจากการเชื่อมต่อจากระยะไกล มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ ด้วยบริการ RDS จะช่วยดูแลให้ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีค่าขององค์กรมีความปลอดภัยและเป็นไปตาม บทบัญญัติต่างๆ โดยการย้ายแอพพลิเคชันและดาต้าจากอุปกรณ์ของยูสเซอร์ไปอยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์

Server Manager
เครื่องมือ Server Manager แบบ all-in-one ได้รับการอัพเดทใหม่ สามารถรองกับการจัดการเซิร์ฟเวอร์จากระยะไกล หรือ remote server management

Windows PowerShell 2.0
Windows PowerShell ใน Windows Server 2008 R2 นั้น จะอัพเดทเป็นเวอร์ชัน 2.0 ซึ่งมีสคริปต์ administrative cmdletss เพิ่มขึ้นหลายตัว นอกจากนี้ยังรองรับการสคริปต์ RDS และสามารถรันสคริปต์บนรีโมทคอมพิวเตอร์ได้

Active Directory Administrative Center
เป็น admin console แบบ PowerShell–based หลักตัวแรกของ Windows Server โดย Active Directory (AD) Administrative Center เป็นเครื่องมือที่มียูสเซอร์อินเทอร์เฟช (UI) แบบ task-based บน cmdlets เหมือนกับ admin console ของ Microsoft Exchange 2007 โดยหน้าต่างคอนโซลมีสามส่วน (hree-pane) ลักษณะเหมือนกับ Microsoft Management Console (MMC) งาน AD administrative ทั่วไปจะอยู่แพนด้านซ้ายมือ การกระทำ (tasks) อยู่แพนด้านขวามือ เครื่องมือทีถูกเลือกอยู่จะแสดงอยู่ตรงกลาง

ไมโครซอฟท์แจ้งกับลูกค้าว่า ในอนาคตนั้น เครื่องมือจัดการระบบวินโดวส์ต่างๆ จะทำงานอยู่บนพื้นฐานของ PowerShell มากขึ้น ในลักษณะเดียวกันกับ AD Administrative Center

.NET and ASP .NET in Server Core
สืบเนื่องจากลูกค้าที่ใช้งานแบบ Server Core ใน Server 2008 ต้องการให้มีการเพิ่มบทบาทที่จำเป็นของเซิร์ฟเวอร์ โดยหนึ่งในนั้นคือ IIS Web Server ซึ่งยังรองรับไม่เต็มรูปแบบ โดยใน R2 มีการเพิ่ม ส่วนย่อยของ .NET Frameworkเข้าใน Server Core และจะรองรับการใช้งาน IIS Web Server อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึง ASP .NET นอกจากนี้ ใน Server Core สามารถรันสคริปต์ PowerShell ได้อีกด้วย

Massive scalability with better multi-core support
Windows Server 2008 R2 สามารถรองรับลอจิคอลโปรเซสเซอร์ได้ 256 แกน โดยการปรับปรุงมากที่สุดจากเวอร์ชันก่อนหน้านี้ที่รองรับเพียง 64 โปรเซสเซอร์ นอกจากนี้เวอร์ชวลแมชชีนแบบฐาน Hyper-V สามารถรองรับโปรเซสเซอร์ได้ 32 แกนต่อ VM

Server 2008 R2 สำหรับรองรับ Windows 7
นอกจากฟีเจอร์ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีฟีเจอร์ใน R2 ที่รองรับเฉพาะกับการใช้งานกับ Windows 7 ดังนี้

DirectAccess
ฟีเจอร์ DirectAccess ทำงานผ่านทาง HTTPS เหมือนกันกับ Microsoft Outlook access to Exchange เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้ใช้แบบเคลื่อนที่สามารถเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ที่อยู่บนระบบเครือข่ายองค์กรจากระยะไกลได้โดยไม่ต้องยุ่งยากในการติดตั้งระบบที่ซับซ้อนและแพงอย่าง Virtual Private Network (VPN) โดยที่ผู้ใช้รู้สึกเหมือนกับเชื่อมต่อกับเครือข่ายขององค์กร

BranchCache
ฟีเจอร์ BranchCache จะเป็นฟีเจอร์ที่ช่วยแก้ปัญหาสำหรับองค์กรในการเชื่อมต่อเครือข่ายกับสำนักงานสาขาแบบความเร็วต่ำ โดยทำการแคชข้อมูลไว้บน เซิร์ฟเวอร์ของสำนักงานสาขา เมื่อผู้ใช้งานที่สาขาต้องการเข้าถึงข้อมูลกสามารถใช้ข้อมูลที่ทำการแคชไว้ได้

BitLocker to Go
ฟีเจอร์ BitLocker To Go สามารถรองรับการเข้ารหัสสื่อเก็บข้อมูลแบบพกพา เช่น แฟลชไดร์ฟ และฮาร์ดไดร์ฟแบบพกพาเป็นต้น อย่างไรก็ตามฟีเจอร์ BitLocker To Go จะต้องใช้ร่วมกันกับฮาร์แวร์ที่รองรับ Trusted Platform Module (TPM) ฟีเจอร์ BitLocker To Go จะช่วยองค์กรควบคุมไม่ให้ข้อมูลสำคัญและทรัพย์สินทางปัญญารั่วไหลออกจาก องค์กรได้ดีขึ้น

Power Management
เนื่องจาก Server 2008 R2 และ Windows 7 นั้น สามารถทำการมอนิเตอร์และคอนฟิกระบบ power management อัตโนมัติ และสามารถทำการคอนฟิกผ่านทาง Group Policy Objects (GPOs).

ข้อควรทราบเกี่ยวกับ Windows Server 2008 R2
นอกจากนี้ยังมีข้อควรทราบอีกอย่าง คือ ไมโครซอฟท์จะออก Server 2008 R2 เฉพาะเวอร์ชัน 64-บิต และไม่รองรับการอัพเกรดจาด Server 2008 เวอร์ชัน 32-บิต ดังนั้นผู้ที่ใช้ Server 2008 เวอร์ชัน 32-บิต หากต้องการใช้ Server 2008 R2 จะต้องทำการติดตั้งแบบ Clean Installation เท่านั้น สำหรับผู้ที่ใช้ Server 2008 เวอร์ชัน 64-บิต สามารถทำการอัพเกรดไปเป็น Server 2008 R2 ได้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
• http://windowsitpro.com/article/articleid/101225/what-you-need-to-know-about-windows-server-2008-r2.html

Copyright © 2009 All Rights Reserved.

Create VM in Server 2008 Hyper-V

สร้าง Virtual Machine บน Windows Server 2008 Hyper-V
ในบทความนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนการสร้าง Virtual Machine บน Windows Server 2008 Hyper-V โดยก่อนที่จะดำเนินการได้นั้น ท่านจะต้องทำการติดตั้งบทบาท Hyper-V ก่อน (อ่านรายละเอียดได้ที่ การติดตั้ง Windows Server 2008 Hyper-V) และต้องทำการคอนฟิกระบบต่างๆ ให้เรียบร้อย (อ่านรายละเอียดได้ที่ การคอนฟิก Hyper-V Server) จากนั้นทำการสร้างเวอร์ชวลแมชีนตามขั้นตอนดังนี้

การสร้าง Virtual Machine บน Windows Server 2008 Hyper-V
1. คลิก Start คลิก Administrative Tools แล้วคลิก Hyper-V Manager ซึ่งจะได้หน้าต่างดังรูปด้านล่าง

Hyper-V Manager
Hyper-V Manager

หมายเหตุ: สามารถเรียก Hyper-V Manager จากหน้าต่าง Server Manager ได้เช่นกัน

2. ในหน้าต่าง Hyper-V Manager ให้คลิกเมนู Action แล้วคลิกที่ New

New Virtual Machine
New Virtual Machine

3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Before You Begin ให้คลิก Next

4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Specify Name and Location ให้ใส่ชื่อเวอร์ชวลแมชชีนที่ต้องการในช่อง Name หากต้องการเก็บไฟล์เวอร์ชวลแมชชีนไว้ในโฟลเดอร์อื่นที่ไม่ใช่ค่าดีฟอลท์ ให้เลือกเช็คบ็อกซ์ Store the virtual machine in a different location เสร็จแล้วคลิก Next

Specify Name and Location
Specify Name and Location

5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Assign Memory ให้ใส่จำนวนหน่วยความจำที่ต้องการกำหนดให้กับเวอร์ชวลแมชชีน โดยค่าดีฟอลท์จะเท่ากับ 512MB เสร็จแล้วคลิก Next

Assign Memory
Assign Memory

6. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Configure Networking ให้เลือกการเชื่อมต่อกับเครือข่ายของเวอร์ชวลแมชชีนที่ต้องการจากดร็อปดาวน์ลิสต์ เสร็จแล้วคลิก Next

Configure Networking
Configure Networking

7. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Connect Virtual Hard Disk ให้เลือกชนิดของเวอร์ชวลฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก Next

- Create a virtual hard disk = ทำการสร้างเวอร์ชวลฮาร์ดดิสก์ใหม่ โดยต้องกำหนดชื่อในช่อง Name: และกำหนดตำแหน่งที่จะเก็บฮาณืดดิสก์ในช่อง Location: และกำหนดขนาดในช่อง Size:

- Use an existing virtual hard disk = เลือกใช้เวอร์ชวลฮาร์ดดิสก์ที่มีอยู่แล้ว โดยต้องระบุตำแหน่งที่เวอร์ชวลฮาร์ดดิสก์อยู่ในช่อง Location:

- Attach a virtual hard disk later = ทำการกำหนดเวอร์ชวลฮาร์ดดิสก์ในภายหลัง

Connect Virtual Hard Disk
Connect Virtual Hard Disk

8. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Installation Options ให้เลือกอ็อปชันที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก Next

- Install an operating system later = ทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการในภายหลัง

- Install an operating system from a boot CD/DVD-ROM = ทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการจาก CD/DVD-ROM

- Install an operating system from a boot floppy disk = ทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการจาก floppy disk

- Install an operating system from a network based installation server = ทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการผ่านทางระบบเครือข่าย

Installation Options
Installation Options

9. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Completing the New Virtual Machine Wizard หากต้องการสตาร์ทเวอร์ชวลแมชชีนหลังจากทำการสร้างแล้วเสร็จให้เลือกเช็คบ็อกซ์ Start the virtual machine after it is created เสร็จแล้วคลิก Finish

หมายเหตุ: ในกรณีที่เลือกอ็อปชัน Start the virtual machine after it is created จะต้องทำการเตรียมแผ่นสำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการให้พร้อม

Completing the New Virtual Machine Wizard
Completing the New Virtual Machine Wizard

Starting Machine
Starting Machine

10. ทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการตามความต้องการ

หลังจากทำการสร้างเวอร์ชวลแมชชีนและทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านสามารถใช้งานเวอร์ชวลแมชชีนที่สร้างขึ้นเหมือนกับการใช้งานคอมพิวเตอร์จริงๆ เช่น อาจจะทำการเปิดใช้งาน Remote Desktop บนเวอร์ชวลแมชชีน เพื่อความสะดวกในการจัดการเป็นต้น

สำหรับกรณีที่ไม่ได้เลือกอ็อปชัน Start the virtual machine after it is created ในขั้นตอนที่ 9 สามารถทำการสตาร์ทเวอร์ชวลแมชชีนได้โดยการคลิกขวาเวอร์ชวลแมชชีนที่ต้องการแล้วคลิก Start ดังภาพด้านล่าง

Start Virtual Machnine
Start Virtual Machnine