4/21/2552

Windows Server 2008 Administration

Windows Server 2008 Administration

การจัดการ Windows Server 2008 แบบ Stand Alone
การจัดการ Windows Server 2008 เบื้องต้นนั้น ได้แก่การเปลี่ยนชื่อเครื่อง การเปลี่ยนกลุ่ม การจัดการยูสเซอร์ นโยบายความปลอดภัย การจัดการจากระยะไกล การจัดการฮาร์ดดิสก์ การติดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เป็นต้น

การเปลี่ยนชื่อเครื่อง (Change computer name)
การเปลี่ยนชื่อเครื่อง (Computer Name) นั้น สามารถทำได้โดยผ่านทาง Server Manager ตามขั้นตอนดังนี้

1. เปิด Server Manager โดยการคลิก Start คลิก Server Manager ดังรูปที่ 1


รูปที่ 1 Server Manager

2. ในหน้าต่าง Server Manager ในส่วน Server Summary ให้คลิก Change System Properties


รูปที่ 2 Server Summary

3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ System Properties บนแท็บ Computer Name ให้คลิกปุ่ม Change


รูปที่ 3 System Properties

4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Computer Name/Domain Changes ในช่อง Computer name ใส่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก OK


รูปที่ 4 Computer Name/Domain Changes

5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ System Properties ให้คลิก OK อีกครั้ง
6. ระบบจะแสดงข้อความแจ้งเตือนให้ทำการรีสตาร์ทระบบให้คลิก Restart Now เพื่อทำการรีสตาร์ทเครื่อง

หมายเหตุ:
การเปลี่ยนชื่อเครื่อง (Computer Name) นั้นสามารถทำได้หลายทาง ดังนี้
• คลิก Start คลิก Control Panel แล้วดับเบิลคลิก System จากนั้นคลิก Advanced Settings แล้วคลิกแท็บ Computer Name
• คลิก Start คลิกขวาที่ Computer คลิก Properties จากนั้นคลิก Advanced Settings แล้วคลิกแท็บ Computer Name

การเปลี่ยนกลุ่ม (Change Workgroup)
การเปลี่ยน Workgroup มีวิธีการคล้ายกันกับการเปลี่ยนชื่อเครื่อง โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เปิด Server Manager โดยการคลิก Start คลิก Server Manager ดังรูปที่ 1
2. ในหน้าต่าง Server Manager ในส่วน Server Summary ให้คลิก Change System Properties
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ System Properties บนแท็บ Computer Name ให้คลิกปุ่ม Change
4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Computer Name/Domain Changes ในช่อง Workgroup ใส่ชื่อเวิร์กกรุ๊ปที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก OK
5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ System Properties ให้คลิก OK อีกครั้ง
6. ระบบจะแสดงข้อความแจ้งเตือนให้ทำการรีสตาร์ทระบบให้คลิก Restart Now เพื่อทำการรีสตาร์ทเครื่อง

การจัดการยูสเซอร์ (User Management)
การจัดการยูสเซอร์บน Windows Server 2008 นั้น มีลักษณะการทำงานเหมือนกันกับการจัดการยูสเซอร์บน Windows XP และ Windows Server 2003 โดยมีรูปแบบการจัดการ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. การจัดการแบบกราฟิกอินเทอร์เฟชโดยการใช้สแนป-อิน Microsoft Management Console (MMC) ชื่อ Server Manager
2. การจัดการแบบกราฟิกอินเทอร์เฟชโดยการใช้สแนป-อิน Microsoft Management Console (MMC) ชื่อ Computer Management
3. การจัดการแบบคอมมานด์พร็อมพ์โดยการใช้คำสั่ง Net user และ Net Localgroup จากคอมมานด์พร้อมท์

ในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการจัดการแบบกราฟิกอินเทอร์เฟชโดยการใช้สแนป-อิน Microsoft Management Console (MMC) ชื่อ Server Manager โดยจะกล่าวเพิ่มเติมในส่วนของการใช้ Computer Management และสำหรับการจัดการด้วยคำสั่ง net user นั้น จะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อๆ ไป

Microsoft Management Console (MMC)
Microsoft Management Console หรือ MMC เป็นเครื่องมือที่ไมโครซอฟท์พัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ดูแลระบบ (Administrator) ในการบริหารจัดการระบบต่างๆ บนวินโดวส์ เช่น การจัดการฮาร์ดแวร์ (Hardware), การจัดการนโยบายความปลอดภัยของระบบ (Security Policy), การจัดการยูสเซอร์และกรุ๊ป (Users and Groups), และการจัดการเซอร์วิสต่างๆ (Services) เป็นต้น โดยสามารถใช้ MMC ในการ สร้าง บันทึก และ เปิด เครื่องมือต่างๆ ที่ชื่อ สแนป-อิน (Snap-in) ซึ่งมีมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ สำหรับเครื่องมือที่ MMC ทำการบันทึกนั้นจะเรียกว่า MMC Console สำหรับเวอร์ชันของ MMC ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 นั้น จะเป็นเวอร์ชัน 3.0

สแนป-อิน (Snap-in) คือเครื่องมือต่างๆ ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่รองรับโดย MMC ตัวอย่าง สแนป-อินที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่ Computer Management, Serivecs เป็นต้น

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้งาน Microsoft Management Console บน Windows Server 2008 จะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อๆ ไป

การจัดการยูสเซอร์ด้วย Server Manager
Server Manager นั้น เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาใน Windows Server 2008 ซึ่งเป็นการรวมการจัดการเซิร์ฟเวอร์ในด้านต่างๆ ให้อยู่ในหน้าต่างเดียว เพื่อความสะดวกในการใช้งาน มีการทำงานแบบกราฟิกอินเทอร์เฟช โดย Server Manager นั้น สามารถใช้จัดการด้านต่างๆ ได้ 5 ระบบ คือ
1. Roles
2. Features
3. Diagnostics
4. Configuration
5. Storage

โดยการส่วนของการจัดการเกี่ยวกับยูสเซอร์จะอยู่ใน Local Users and Groups ซึ่งอยู่ภายใต้หัวข้อ Configaration

องค์ประกอบของ Server Manager
Server Manager นั้นจะเป็นสแนป-อินตัวหนึ่งของ Microsfot Management Console (MMC) โดยจะมีองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบด้วยกัน ดังนี้
1. เมนูบาร์ เป็นแถบคำสั่งต่างๆ ให้เลือกใช้งาน มี 4 คำสั่ง คือ File, Action, View และ Help
2. ทูลบาร์ เป็นแถบเครื่องมือต่างๆ ให้เลือกใช้งาน มี 6 คำสั่ง Back, Forward, Up One Level, Show/Hide Console tree, Export และ Help
3. คอนโซลทรี เป็นโฟลเดอร์หัวข้อต่างๆ ที่มีในคอนโซล จะอยู่ในด้านซ้ายมือของหน้าต่าง
4. ดีเทลแพน แสดงรายละเอียดของแต่ละหัวข้อในคอนโซลทรี ะอยู่ในตรงกลางของหน้าต่าง
5. เอ็คชันแพน แสดงรายละเอียดของคำสั่งที่สามารถใช้ได้ จะอยู่ในด้านซ้ายมือของหน้าต่าง

การจัดการยูสเซอร์บน Windows Server 2008
• การสร้างยูสเซอร์ใหม่ (Create New User)
การสร้างยูสเซอร์ใหม่บน Windows Server 2008 โดยใช้ Server Manager มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่ Start คลิก Server Manager ดังรูปที่ 1
2. ในหน้าต่าง Server Manager ให้คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Configuration แล้วคลิกเครื่องหมาย + หน้า Local Users and Groups


รูปที่ 5 Local Users and Groups

3. ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์ Users แล้วเลือก New User… ซึ่งจะได้หน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ New User ดังรูปที่ 6


รูปที่ 6 New User

4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ New User ให้ใส่ User name, Full name, Description, Password, Confirm password และเลือก Option ตามความต้องการ โดยคลิกให้มีเครื่องหมายถูกหน้าหัวข้อที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก Create

อ็อปชันของการสร้างแอคเคาท์ใหม่
- User must change password at next log on คือ กำหนดให้ยูสเซอร์ทำการเปลี่ยนรหัสผ่านในการล็อกออนครั้งต่อไป
- User cannot change password คือ กำหนดให้ยูสเซอร์ไม่สามารถเปลี่ยนรหัสผ่านได้เอง
- Password never expires คือ กำหนดให้รหัสผ่านไม่มีการหมดอายุ
- Account is disabled คือ ระงับการใช้งานยูสเซอร์ชั่วคราว

หมายเหตุ:
1. ในกรณีที่ใช้สแนป-อิน Computer Management ในการสร้างยูสเซอร์ สามารถทำได้โดยการคลิก Start คลิก Administrative Tools แล้วคลิก Computer Management
2. พาสเวิร์ดที่ใส่นั้น จะต้องเป็นไปตามนโยบาย Password must meet complexity requirement คือจะต้องประกอบด้วย อักษรตัวเล็ก (a , b, c, …y, z) อักษรตัวใหญ่ (A, B, C, …Y, Z) อักษรพิเศษ (!, @, # , $, %, ^, &, *, (, ), _,+ และ ตัวเลข (1, 2, 3, ..9, 0) หากใส่ค่าไม่ถูกต้องระบบจะแสดงข้อความผิดผลาดดังรูปที่ 7


รูปที่ 7 Password error

• การลบเซอร์ (Delete User)
การลบยูสเซอร์บน Windows Server 2008 โดยใช้ Server Manager มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่ Start คลิก Server Manager ดังรูปที่ 1
2. ในหน้าต่าง Server Manager ให้คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Configuration แล้วคลิกเครื่องหมาย + หน้า Local Users and Groups
3. ให้คลิกที่โฟลเดอร์ Users แล้วคลิกขวา User ที่ต้องการลบในแพนด้านขวามือ แล้วคลิก Delete ดังรูปที่ 8


ดังรูปที่ 8 Delete user

4. วินโดวส์จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ ให้ยืนยันการลบยูสเซอร์ดังรูปที่ 8 ให้คลิก Yes เพื่อยืนยัน


ดังรูปที่ 9 Delete user confirm

• การสร้างกรุ๊ปใหม่ (Create New Group)
การสร้างกรุ๊ปใหม่บน Windows Server 2008 โดยใช้ Server Manager มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่ Start คลิก Server Manager ดังรูปที่ 1
2. ในหน้าต่าง Server Manager ให้คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Configuration แล้วคลิกเครื่องหมาย + หน้า Local Users and Groups


รูปที่ 10 Local Users and Groups

3. ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์ Groups แล้วเลือก New Group... ซึ่งจะได้หน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ New Group ดังรูปที่ 11


รูปที่ 11 New Group

4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ New Group ให้ใส่ Group name สำหรับ Group Description ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้เสร็จแล้วคลิก Create หากไม่ต้องการสร้างกรุ๊ปเพิ่มให้คลิก Close

• การเปลี่ยนชื่อกรุ๊ป
การเปลี่ยนชื่อกรุ๊ปนั้นทำได้ ตามขั้นตอนดังนี้

1. คลิกขวาที่กรุ๊ปที่ต้องการเปลี่ยนชื่อแล้วลือก Rename
2. พิมพ์ชื่อที่ต้องการกำหนดให้เป็นชื่อของกรุ๊ป เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อจบการทำงาน

• การเพิ่มยูสเซอร์เข้าเป็นสมาชิก
การเพิ่มยูสเซอร์เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นทำได้ ตามขั้นตอนดังนี้

1. ดับเบิลคลิกที่กรุ๊ปที่ต้องการเพิ่มสมาชิก หรือคลิกขวาที่กรุ๊ปที่ต้องการเพิ่มสมาชิกแล้วลือก Add to Group.. ดังรูปที่ 12 ซึ่งจะได้หน้า "Group" Properties ลักษณะดังรูปที่ 13


รูปที่ 12 Add to Group


รูปที่ 13 "Group" Properties

2. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ "Group" Properties ดังรูปที่ 13 ให้คลิก Add
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Select Users ให้ใส่ชื่อยูสเซอร์ที่ต้องการเพิ่มเข้าเป็นสมาชิก เสร็จแล้วคลิก OK

Note:
ในกรณีที่ต้องการเพิ่มมากกว่าหนึ่งยูสเซอร์ให้คั่นระหว่างยูสเซอร์ด้วย ; และ space ตัวอย่างเช่น: user1; user2; user3 เป็นต้น


รูปที่ 14 Select Users

4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ "Group" Properties ให้คลิก OK เพื่อจบการทำงาน

• การลบยูสเซอร์ออกจากการเป็นสมาชิก
การลบยูสเซอร์ออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นทำได้ ตามขั้นตอนดังนี้

1. ดับเบิลคลิกที่กรุ๊ปที่ต้องการลบยูสเซอร์ออกจากการเป็นสมาชิก หรือคลิกขวาที่กรุ๊ปที่ต้องการเพิ่มสมาชิกแล้วลือก Add to Group.. ซึ่งจะได้หน้า "Group" Properties ลักษณะคล้ายรูปที่ 13
2. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ "Group" Properties ให้คลิกยูสเซอร์ที่ต้องการลบออกจากการเป็นสมาชิก เสร็จแล้วคลิก Remove
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ "Group" Properties ให้คลิก OK เพื่อจบการทำงาน

การติดตั้งโปรแกรมบน Windows Server 2008
การติดตั้งโปรแกรมบน Windows Server 2008 นั้น มีรูปแบบและวิธีการเหมือนกับการติดตั้งบนโปรแกรมบนวินโดวส์เวอร์ชั่นอื่นๆ โดยรูปแบบการติดตั้งมี 2 แบบ คือ
1. การติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ที่ไม่ได้เป็นองค์ประกอบของวินโดวส์ มีวิธีการติดตั้งเหมือนกันกับการติดตั้งโปรแกรมบนวินโดวส์เวอร์ชั่นอื่นๆ
2. การติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของวินโดวส์ ทำได้โดยการเปิด Add or Remove Programs จาก Control Panel แล้วเลือก Add/Remove Windows Components จากนั้นเลือก component ที่ต้องการ

การติดตั้งฮาร์ดแวร์บน Windows Server 2008
การติดตั้ง Hardware บน Windows Server 2008 นั้น มีรูปแบบและวิธีการเหมือนกันกับการติดตั้งบน Hardware บน Windows XP ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหลังจากติดตั้งตัวฮาร์ดแวร์เสร็จแล้ว จะต้องทำการติดตั้งไดรฟ์เวอร์ให้กับฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งด้วย ในส่วนของวิธีการติดตั้งไดรฟ์เวอร์นั้นให้ศึกษาจากคู่มือที่มากับฮาร์ดแวร์นั้นๆ สำหรับวิธีการตรวจสอบการทำงานของ Hardware ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องนั้น สามารถทำได้โดยการเปิด System Properties แล้วคลิกแท็บ Hardware จากนั้นคลิก Device Manager ถ้าหากว่าอุปกรณ์ตัวใดมีเครื่องหมาย ! สีเหลือง หรือ สีแดง แสดงว่าอุปกรณ์ตัวนั้นมีปัญหา ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการลงไดรฟ์เวอร์ (Driver) ใหม่ แต่ถ้าหากลงไดรฟ์เวอร์ใหม่แล้วยังไม่หายอาจเป็นไปได้ว่าตัว Hardware อาจเสีย

Tips: กดคีย์ Windows + Break พร้อมกันเพื่อเปิด System Properties

การจัดการจากระยะไกล (Remote Management)
การจัดการระบบใน Windows Server 2008 นั้น นอกจากการทำแบบโลคอลแล้ว แอดมินยังสามารถทำการจัดการ Windows Server 2008 จากระยะไกล (Remote Management) ผ่านระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องไปทำงานที่หน้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ได้เช่นเดียวกับบน Windows XP โดยใช้ฟีเจอร์ Remote Management ซึ่งมีมาพร้อมกับ Windows Server 2008 อยู่แล้ว โดยอ่านรายละเอียดได้จาก การใช้งาน Remote Desktop บน Windows Server 2008

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น