คู่มือเตรียมสอบ
แบบ ปรนัย ( ถาม – ตอบทั่ว ๆ ไป )
ข้อที่ 1 ลาป่วย ลากิจ มาสายในรอบประเมิน เท่าใด จึงจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง
ตอบ= ลาป่วยกิจรวมกันไม่เกิน 10 ครั้ง ( 23 วันทำการ) สายไม่เกิน 18 ครั้ง
ข้อที่ 2 ค่าตอบแทนผู้นำการออกกำลังกาย เช่น เต้นแอโรบิค โยคะ ฯลฯ มีเท่าใด
ตอบ= จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินครั้งละ 1 ชั่วโมง ๆ ละคนละ 300 บาท สัปดาห์ละไม่เกิน 3 ครั้ง รวมแล้วไม่เกินเดือนละ 3,600 บาท
ข้อที่ 3 การใช้ตำแหน่งพนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นประกันหรือหลักประกัน ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจ มีกี่แห่ง
( นว. ปี 47)
ตอบ= จำนวน 79 แห่ง
ข้อที่ 4 การส่งคืนวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ตำแหน่งผู้บริหารสำนักงานศาลยุติธรรม ตั้งแต่ระดับ 8 ลงมา
หากพ้นจากตำแหน่ง ให้ส่งคืนภายในกี่วัน
ตอบ= ให้ส่งคืนทันทีหรืออย่างช้าไม่เกิน 15 วันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งหรือส่งมอบงาน
ส่วนข้าราชการผู้บริหาร ฯ ตั้งแต่ระดับ 9 ขึ้นไป หรือตำแหน่งตุลาการศาลยุติธรรม ให้สามารถนำ
วิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมหมายเลขไปใช้ในตำแหน่งใหม่ได้
ข้อที่ 5 รถประจำตำแหน่งหรือรถส่วนกลางมีหลักเกณฑ์กี่ปี่ที่จะได้รับการจัดสรรใหม่
ตอบ=รถประจำตำแหน่งมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 6 ปีและรถส่วนกลางมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี ส่วนรถรับรองไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ อยู่ในดุลพินิจของเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ข้อที่ 6 ผู้ใช้รถประจำตำแหน่งต้องคืนรถประจำตำแหน่งให้แก่สำนักงาน สำนักงานศาลยุติธรรมประจำภาคแล้วแต่กรณีภายในกี่วัน หรือกรณีผู้ใช้รถประจำตำแหน่งถึงแก่กรรม ให้เลขาธิการหรือหัวหน้าส่วนราชการศาลยุติธรรมเรียกรถคืนภายในกี่วัน
ตอบ= ผู้ใช้รถประจำตำแหน่งต้องคืนภายใน 15 วันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งหรือส่งมอบงาน กรณีถึงแก่กรรมเรียกคืนภายใน 15 วันเช่นเดียวกัน แต่ผ่อนผันได้ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันถึงแก่กรรม
ข้อ 7 พยานที่ได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญา มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเฉพาะพยานที่ระบุไว้ในสำนวนการสอบสวน จ่ายในอัตราเท่าใด
ตอบ= พยานที่อยู่ในเขตจังหวัด ค่าตอบแทนครั้งละ 200 บาท ส่วนพยานที่พักอยู่นอกเขต ได้รับครั้งละ 500 บาท
ข้อที่ 8 ตราสัญลักษณ์พิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา หากมีความประสงค์ที่นำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในการจัดทำสิ่งของใด ๆ ใครเป็นผู้อนุญาต
ตอบ= สำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้พิจารณาคำขออนุญาตใช้ตรา
ข้อ 9 การจัดลำดับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในพระราชพิธี จัดเรียงลำดับอย่างใด
ตอบ = จัดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ผู้นำฝ่ายต่าง ๆ
1. นายกรัฐมนตรี
2.ประธานรัฐสภา(ประธานสภาผู้แทนราษฎร)
3.ประธานวุฒิสภา
4. ประธานศาลฎีกา
5. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
6. ประธานศาลปกครองสูงสุด
กลุ่มที่ 2 ผู้นำองค์กรอิสระต่อจากลำดับที่ 1
1. ประธาน กกต.
2. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
3. ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
4. ประธาน ปปช.
5. ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ข้อที่ 10 โทษทางวินัยมี 5 สถาน เรียงลำดับอย่างไร (ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2551 )
ตอบ= ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก
โทษทางวินัยที่เป็นกรณีร้ายแรง มี ปลดออกและไล่ออก ผู้กระทำผิดวินัยร้ายแรงให้ไล่ออกไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ ส่วนกรณีไม่ร้ายแรง มีภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน
ตัวอย่าง นาย ก เป็นข้าราชการ ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกฐานรับของโจร แต่ศาลรอการลงโทษไว้ 2 ปี เป็นการกระทำผิดวินัยฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง แม้จะเป็นการรอการลงโทษก็ถือว่าต้องคำพิพากษาให้จำคุกแล้ว
ข้อที่ 11 การเดินทางไปต่างประเทศ ให้แจ้งสำนักงานศาลยุติธรรมทราบล่วงหน้าเป็นเวลากี่วัน
ตอบ = ไม่น้อยกว่า 45 วันทำการก่อนกำหนดเดินทาง (นว.ศย 007/ว.20 ลง 14 มกราคม 2548)
ข้อที่ 12 คำแนะนำของประธานศาลฎีกา เกี่ยวกับการนั่งพิจารณาคดีต่อเนื่องและครบองค์คณะ ให้นัดสืบพยานจำเลยนัดแรก หลังจากสืบพยานโจทก์ภายในกี่วัน
ตอบ = ภายใน 15 วัน
ข้อที่ 13 หน่วยงานในพื้นที่พิเศษของสำนักงานศาลยุติธรรม ปี 49 มีกี่หน่วยงาน
ตอบ= 14 หน่วย
ข้อที่ 14 การทำสัญญาจ้างวงเงินเท่าใดที่ต้องปิดอากรแสตมป์
ตอบ= วงเงินสัญญาจ้างต่ำกว่า 200,000 บาท ต้องปิดอากรแสตมป์ ส่วนสัญญาจ้างวงเงินตั้งแต่ 200,000 บาท ขึ้นไป ต้องชำระค่าอากรแสตมป์เป็นเงินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยนำตราสารมาสลักหลัง
ข้อที่ 15 เช็คประกันซองประกวดราคาในการซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของ ให้เก็บรักษาไว้เพื่อรอการจ่ายคืนให้แก่ผู้ยื่นซองประกวดราคาภายในกี่วัน
ตอบ= ภายในกำหนดไม่เกิน 7 วัน นับจากวันรับเช็ค หากพ้นกำหนดให้นำส่งหรือนำฝากคลังตามระเบียบต่อไป ( ศย. 012/373 ลง 17 ตุลาคม 2549)
ข้อที่ 16 ผู้อำนวยการ ฯ มีอำนาจในการสั่งบรรจุและให้ออกจากราชการของข้าราชการศาลยุติธรรมระดับใด
ตอบ= สั่งบรรจุระดับ 4 ลงมา สั่งอนุญาตให้ออกจากราชการ ระดับ 3 ลงมา
ข้อที่ 17 การบังคับโทษนักโทษเด็ดขาดประหารชีวิต มีหลักเกณฑ์ใหม่อย่างไร
ตอบ = ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีรับรองรูปถ่ายโดยให้รับรองบริเวณใต้รูปถ่ายจำเลย โดยกรมราชทัณฑ์จะส่งรูปถ่ายและแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ มาให้ศาลอย่างน้อย 2 ชุด เพื่อตรวจสอบ (ศย 016/ว.24 ลง 23 มกราคม 2549)
ข้อที่ 18 บุคคลใดบ้างได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
ตอบ= 1. สมเด็จพระบรมราชินี
2. พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่พระองค์เจ้าขึ้นไป
3. ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช
4. ผู้มีกายพิการ เดินไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้างหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
5.ผู้อยู่ที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย
6. บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้
ข้อที่ 19 จงบอกหน้าที่ต่าง ๆของประธานศาลฎีกา
ตอบ= 1. ให้ความเห็นชอบในการที่ ก.ศ. กำหนดจำนวนและระดับเจ้าหน้าที่ศาล (ม.7 วรรค สอง)
2. ให้ความเห็นชอบประกาศ ก.บ.ศ. ในการแบ่งส่วนราชการภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม (ม.5 วรรคท้าย)
3. เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ขึ้นตรงประธานศาลฎีกา (ม.8)
4.เป็นประธาน ก.บ.ศ. (ม.10)
5. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งเมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ต.
6. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งเมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ศ. โดยให้ฟังความเห็นจาก ก.บ.ศ. ประกอบการพิจารณา
*** หมายเหตุ อาจใช้ตอบในการตอบแบบอัตนัยได้ด้วย
ข้อที่ 20 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักพรรดิมาลา ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้าง
นับเวลาราชการอย่างไร
ตอบ = ข้าราชการต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับแต่วันเริ่มบรรจุราชการจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน 60 วัน
ลูกจ้าง ต้องเป็นลูกจ้างประจำ หมวดฝีมือ เช่นพนักงานขับรถยนต์ หรือลูกจ้างประจำที่มีลักษณะงานเหมือนข้าราชการ ปฏิบัติงานติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 8 ปี
ส่วนการขอเหรียญจักพรรดิมาลา ผู้ขอจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับราชการด้วยดีเป็นเวลา 25 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 5 ธันวาคม ของปีที่จะขอ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีทั้งหมด 4 ประเภท
ข้อที่ 21 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยใช้แผน พัฒนา ฯ ฉบับที่ 10 (ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2554 ) มีลักษณะสำคัญอย่างไร
ตอบ= สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันภายใต้แนวปฏิบัติของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ส่วน แผน ฯ ฉบับที่ 8 เน้น “ คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”
ส่วนแผน ฯ ฉบับที่ 9 เน้น “ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ข้อที่ 22 วิสัยทัศน์ของประเทศไทยมีว่าอย่างไร
ตอบ= มุ่งพัฒนาสู่ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ( Green and Happiness Society ) คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกอย่างมีศักดิ์ศรี
ข้อที่ 23 การจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (ศาลแขวง ฯ) มีหลักเกณฑ์อย่างใด
ตอบ= ผู้พิพากษาให้ได้รับค่าตอบแทน ชั่วโมงละ 220 บาท วันหนึ่งไม่เกิน 1,320 บาท
ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ให้ได้รับค่าตอบแทนชั่วโมงละ 120 บาท วันหนึ่งไม่เกิน 720 บาท
ค่าตอบแทนหมายค้น หมายจับ วันทำการปกติ 16.30-08.30 น. ผู้พิพากษาให้ได้รับวันละ 620 บาท
วันหยุดราชการ 08.30-16.30 น. หรือ 16.30-08.30 น. อัตราวันละ 620 บาท
ส่วนข้าราชการศาลฯ ลูกจ้างฯพนักงานราชการ ฯ รับอัตราวันละ 420 บาท
กรณีการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการฯ (งานโอ) วันทำการปกติได้รับค่าตอบแทนไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง
ในอัตราชั่วโมงละ 50 บาท
ในวันหยุดราชการ ให้ได้รับค่าตอบแทนไม่เกิน 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท
ข้อที่ 24 หลักเกณฑ์การปลดเผาสำนวน หลักการจำง่าย ๆพอสังเขป
ตอบ =
1.กากประเด็นที่ศาลอื่นส่งมาให้สืบพยานแทน ฯ ถ้าอายุเกินกว่า 5 ปี จะเผาทำลายก็ได้
2. สำนวนคดีแพ่งที่มิใช่คดีมโนสาเร่อันถึงที่สุดเกินกว่า 10 ปี ให้ปลดทำลายหรือเก็บรักษา ดังนี้
2.1 คดีเรื่องที่พิพาทเรื่องที่ดิน ให้เก็บรักษาแต่พยานเอกสาร แผนที่ คำพิพากษา หรือคำสั่ง และคำบังคับ นอกนั้นให้ทำลายเสีย
2.2 สำนวนเรื่องอื่น ๆ ให้เก็บรักษาไว้เฉพาะคำพิพากษาหรือคำสั่ง และเมื่อเก็บรักษาไว้ครบ 10 ปี ให้ทำลายเสียทั้งสิ้น
3. สำนวนคดีมโนสาเร่ อันถึงที่สุดเกินกว่า 10 ปี ให้ทำลายเสียทั้งสำนวน(จะต่าง กับคดีแพ่งนะ)
แสตมป์ฤชากรที่ติดอยู่บนเอกสารที่จะต้องทำลายให้ทำลายเสียด้วย
บรรดาสารบบความ บัญชีนัดพิจารณา บัญชีรับส่งสำนวน บัญชีหมายต่าง ๆและต้นขั้วใบเสร็จรับเงิน ซึ่งได้ผ่านการตรวจของ สตง. แล้ว เมื่ออายุเกิน 10 ปี ให้ทำลายเสีย (จำ ! ไม่มีสารบบคำพิพากษา ซึ่งไม่สามารถทำลายได้ แม้จะเก็บไว้เกินกว่า 10 ปี ก็ตาม)
ส่วนในคดีอาญา
บรรดาสำนวนความในคดีอาญา อันถึงที่สุดเกินกว่า 10 ปี ให้จัดการปลดทำลายหรือเก็บรักษาไว้ดังนี้
1.สำนวนเรื่องบุกรุกที่ดิน เก็บไว้แต่พยานเอกสาร แผนที่ คำพิพากษา หรือคำสั่ง และในกรณีที่มีการถอนฟ้อง ให้เก็บรักษาใบถอนฟ้องไว้ด้วย นอกนั้นให้ทำลายเสีย
2. สำนวนความที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยและปรากฏตามฟ้องว่าจำเลยสมคบกับพวกกระทำผิด ซึ่งอยู่ในอายุความ แต่ยังจับตัวไม่ได้ และสำนวนความที่ศาลไม่ได้พิจารณาพิพากษาเนื่องจากจำเลยหลบหนี หรือยังจับไม่ได้ ให้เก็บรักษาสำนวนไว้ต่อไปอีก 10 ปี แล้วทำลายเสีย
3. แสตมป์ที่ติดอยู่บนเอกสาร ให้ทำลายด้วย
4. สำนวนเรื่องอื่น ๆ ให้เก็บรักษาไว้แต่เฉพาะคำพิพากษาหรือคำสั่ง คดีที่จำเลยต้องโทษให้เก็บรักษาหมายแจ้งโทษไว้อีก จำนวน 1 ฉบับ และเมื่อเก็บรักษาไว้ต่อไปอีก 10 ปีให้ทำลายเสียทั้งสิ้น
5. สำนวนฝากขัง ฯ ที่มีอายุเกินกว่า 5 ปี ให้ทำลายเสียทั้งสำนวน
6. บรรดาสารบบความ บัญชีนัดพิจารณา บัญชีสั่งขัง บัญชีรับส่งสำนวน บัญชีหมายต่าง ๆ บัญชีของกลาง และต้นขั้วใบเสร็จรับเงิน ซึ่งผ่านการตรวจ ของ สตง. เมื่อมีอายุเกินกว่า 10 ปีให้ทำเลยเสีย (ยกเว้นสารบบคำพิพากษาให้เก็บไว้ตลอดไป)
หมายเหตุ ระเบียบงานสารบรรณ หนังสือที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ให้เก็บไว้เป็นหลักฐานของทางราชการตลอดไปหรือส่งให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติกรมศิลปากร กำหนด
ข้อที่ 25 การเบิกจ่ายค่าพาหนะเนื่องในการเดินทางไปราชการเบิกจ่ายได้ในอัตราอย่างไร
ตอบ = 1. การใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการเบิกเงินชดเชยได้
1.1 รถยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 4 บาท
1.2 รถจักรยานยนต์ กิโลเมตรละ 2 บาท
2. อัตราค่าพาหนะรับจ้างข้ามเขตจังหวัดระหว่างสถานที่อยู่ ที่พักหรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทางหรือสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการ
2.1 กรณีเป็นการเดินทางข้ามเขตจังหวัดระหว่างกรุงเทพฯกับจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับกรุงเทพฯหรือการเดินทางข้ามเขตจังหวัดที่ผ่านกรุงเทพฯให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงภายใยวงเงินเที่ยวละไม่เกิน 600 บาท
2.2 การเดินทางข้ามเขตจังหวัดอื่น ๆ นอกจากข้อ 2.1 เบิกเท่าที่จ่ายจริงภายในวงเงินเที่ยวละไม่เกิน 500 บาท
ข้อที่ 26 กลุ่มโรคเรื้อรัง 4 โรค ที่ให้สถานพยาบาลเป็นผู้เบิกค่ารักษาพยาบาลโดยตรงกับกรมบัญชีกลาง และผู้มีสิทธิไม่ต้องชำระเงินเอง เว้นแต่เกินจากสิทธิมีโรคอะไรบ้าง
ตอบ= 1.โรคเบาหวานที่ต้องใช้ยาคุมน้ำตาล
2. โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องใช้ยาควบคุม
3. โรคหัวใจ
4. โรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาต (ตาม ว.233/47)
ข้อที่ 27 ข้าราชการที่ไปช่วยราชการยังท้องที่อื่น ซึ่งอยู่ต่างสำนักเบิกเงินเดือน ในส่วนราชการเดียวกันหรือต่างส่วนราชการกัน หนังสือรับรองการใช้สิทธิใครเป็นผู้ออก
ตอบ= ให้ผู้มีสิทธิยื่นหนังสือแสดงแบบต่อผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิและผู้มีอำนาจอนุมัติ ณ ส่วนราชการที่ไปช่วยปฏิบัติราชการ โดยให้ส่งสำเนาคู่ฉบับส่งให้หน่วยงานราชการที่เบิกจ่ายเงินเดือนทราบด้วย
(ว 235/47)
ข้อที่ 28 การส่งคู่ความหรือเอกสารให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์หรือบุคคลใดซึ่งสำนักอยู่ในพระบรมมหาราชวัง มีหลักเกณฑ์อย่างไร
ตอบ= ให้ส่งคำคู่ความหรือเอกสารดังกล่าวไปยังสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อสำนักงานศาลยุติธรรมจะได้ทำหนังสือนำส่งคำคู่ความและสำนวนความเพื่อขอให้สำนักพระราชวังดำเนินการต่อไป
ข้อที่ 29 ค่าใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เบิกได้ในอัตราเท่าใด
1. ประธานศาลฎีกา ไม่จำกัดวงเงิน
2. รองประธานศาลฎีกา ประธานแผนกในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์/ภาค รองประธานศาลอุทธรณ์
เลขาธิการประธานศาลฎีกา เลขานุการศาลฎีกาหรือ รองเลขาฯ หรือเลขานุการศาลยุติธรรม หรือเลขานุการศาลยุติธรรมประจำภาค ที่มีตำแหน่งเกี่ยวกับผู้บริหารศาลยุติธรรม กต. กบศ. กศ ภายในวงเงินไม่เกิน 4,000 บาท
3. อธิบดี รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น เลขานุการศาลยุติธรรมประจำภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ภายในวงเงินไม่เกิน 3,000 บาท.
4.ผู้บริหารสำนักงานศาลยุติธรรม
ซี 11 ไม่เกิน 4,000 บาท
ซี 10 ไม่เกิน 3,000 บาท
ซี 9 ไม่เกิน 2,000 บาท
ซี 8 ไม่เกิน 1,000 บาท
ข้อที่ 30 ประธานศาลฎีกาชื่อ นายวิรัช ลิ้มวิชัย
ข้อที่ 31 เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมชื่อ นายพินิจ สุเสารัจ
ข้อที่ 32 ระบบการบริหารการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า ระบบ Gfmis
ข้อที่ 33 ผู้ช่วยศาลไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรียกว่า ผู้ประนีประนอม
ข้อที่ 34 โฆษก สำนักงานศาลยุติธรรมชื่อ นายประสงค์ มหาลี้ตระกูล
ข้อที่ 35 สายด่วนของสำนักงานศาลยุติธรรมคือหมายเลข 1741
ข้อที่ 36 คดีที่ศาลมีคำพิพากษาปรับเท่าใดจึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ = ปรับไม่เกิน 80,000 บาท
ข้อที่ 37 การมอบอำนาจในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการและลูกจ้างฯ มอบให้ผู้อำนวยการสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการฯ ผู้อำนวยการสำนักงานฯ มีอำนาจดังนี้
- สั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 4 ลงมา
- สั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 ลงมา ในแต่ละสำนักฯแล้วแต่กรณี
- การสั่งบรรจุและการดำเนินการทางวินัย ของลูกจ้างประจำ
- การสั่งจ้าง เลิกจ้าง และการสั่งอนุญาตให้ลาออกของลูกจ้างชั่วคราว
ข้อที่ 38 การมอบอำนาจในการดำเนินการทางวินัยมีอย่างไร
ผู้อำนวยการสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการฯ ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากอง มีอำนาจลงโทษ ตัดเงินเดือน ครั้งหนึ่งไม่เกิน 5 เปอร์เซ็น ไม่เกิน 2 เดือน
ผู้อำนวยการสำนักงานประจำ ฯ เป็นผู้บังคับบัญชาในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่เป็นกอง มีอำนาจลงโทษตัดเงินเดือนไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ เวลา 1 เดือน
เมื่อดำเนินการทางวินัย และให้รายงานไปยังสำนักงานศาลยุติธรรมภายใน 5 วันทำการ นับแต่วันที่ออกคำสั่ง
กรณีที่ผู้บังคับบัญชา มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการศาลยุติธรรม กรณีผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ส่งสำเนาคำสั่งไปยังสำนักงานศาลยุติธรรมภายใน 5 วันทำการ นับแต่วันที่ออกคำสั่ง
ข้อที่ 39 เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมมอบอำนาจให้ ผอ.ภาค ผอ.สำนักอำนวยการ ฯ (ซี 9) มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ใต้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับ 7 ลงมา ส่วน ผอ.สำนักงานประจำศาลฯ (ซี 8) มีอำนาจ ฯแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ฯ ตั้งแต่ระดับ 5 ลงมา ในสำนักงานประจำศาล เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยไปยังสำนักงานศาลยุติธรรมโดยเร็ว (จำ! หมายเหตุ ไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้)
ข้อ 40 การรายงานการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์
การขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี
การขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชฯอันมีเกียรติยิ่งมงกุฎไทย ให้รายงานไปยังสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี
การขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา สำหรับผู้ที่รับราชการมาครบ 25 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่ 5 ธันวาคม ของปีที่รับราชการ รายงานภายในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี
การขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา ต้องรับราชการมาด้วยความเรียบร้อย ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย แม้จะมี พรบ.ล้างมลทินก็ขอไม่ได้
ข้อที่ 41 การมอบอำนาจในการอนุมัติจ่ายเงิน
1.หัวหน้าส่วนราชการศาลยุติธรรมหรือข้าราชการตุลาการที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการศาลยุติธรรม มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน รวมทั้งการจ่ายเงินซึ่งต้องจ่ายตามกำหนดระยะเวลาแน่นอน เช่นเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน
2. ผู้อำนวยการสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาล จ่ายได้เหมือนข้อ 1 ในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท **
3. ผู้อำนวยการสำนักงานประจำศาลฯ จ่ายได้เหมือนข้อ 1 แต่ไม่เกิน 200,000 บาท (ว 89/47)**
ข้อที่ 42 การให้ข่าวและบริการข่าวสารของศาลยุติธรรม
ผู้รับผิดชอบ ได้แก่ ประธานศาลฎีกา อธิบดี ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฯ
1. ข่าวเกี่ยวกับการประชุม กต. กบศ. กศ. ให้ประธานกรรมการ เลขานุการคณะกรรมการหรือโฆษกศาลยุติธรรมเป็นผู้ให้
2.ข่าวเกี่ยวกับนโยบายประธานศาลฎีกา ให้ประธานศาลฎีกา เลขาธิการประธานศาลฎีกา เลขานุการศาลฎีกา เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม หรือ โฆษกศาลยุติธรรม เป็นผู้ให้
3. ข่าวเกี่ยวกับการปฏิบัติงานประจำหรือภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ให้ผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบในราชการศาล เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ให้
4.ข่าวในลักษณะวิชาการ ซึ่งสมควรเผยแพร่แก่ประชาชนหรือข้อมูล ซึ่งสมควรเผยแพร่แก่ประชาชนโดยเร็ว เช่นผลคำพิพากษาของศาลซึ่งได้ตัดสินไปแล้ว เป็นต้น ให้ผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
5. การถ่ายภาพ สถานที่ ปิดประกาศ หรือเสียงหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดในบริเวณศาลหรือในห้องพิจารณาคดีที่ไม่มีการพิจารณาคดีในศาล ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้รับผิดชอบในราชการศาล
6. การกระทำใด ๆ ให้ปรากฏภาพหรือเสียง การถ่ายภาพยนตร์ หรือกระทำอย่างอื่นในทำนองเดียวกัน ในระหว่างการนั่งพิจารณาคดีของศาล จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการกระทำในการพิจารณาคดีตามกฎหมาย
7. การถ่ายภาพ ภาพยนตร์ บันทึกภาพเสียงผู้ต้องหาหรือจำเลย ในขณะที่อยู่ในสถานที่ควบคุมภายในศาลหรือขณะเจ้าหน้าที่กำลังควบคุมผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น จากสถานที่ควบคุมภายในศาล ไม่สามารถกระทำได้
( แสดงว่าถึงแม้จะมีผู้อนุญาตก็กระทำมิได้ เฉพาะข้อ 7 )
ข้าราชการฝ่ายตุลาการและลูกจ้าง ซึ่งไม่มีหน้าที่ให้ข่าวตามระเบียบนี้ ห้ามมิให้ให้ข่าว ถ้าฝ่าฝืนเป็นความผิดวินัย ข้าราชการตุลาการ รายงาน กต. ถ้าเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างให้ดำเนินการทางวินัยต่อไป
ข้อที่ 43 เว็บไซต์ ของสำนักงานศาลยุติธรรมคือ www.coj.go.th (ใหม่)
ข้อที่ 43.1 การเบิกจ่ายค่าดอกไม้ ค่าพวงมาลา กระเช้าดอกไม้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัดและเพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ (ไม่ได้กำหนดวงเงินเหมือนเดิม)
ข้อที่ 43.2. เกี่ยวกับเงินทดรองราชการ ให้จ่ายได้เฉพาะหมวดรายจ่ายดังนี้
1. หมวดค่าจ้างชั่วคราว เฉพาะค่าจ้างซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายแน่นอน เป็นงวดประจำ แต่มีความจำเป็นจะต้องจ่ายให้ลูกจ้างแต่ละวัน
2. หมวดค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ
3.หมวดค่าสาธารณูปโภค เฉพาะ ค่าไปรษณีย์โทรเลข*** ตรงนี้แหล่ะ ที่ข้อสอบมักหลอก ค่าสาธารณูปโภค อย่างอื่น เช่นค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เบิกจ่ายไม่ได้นะ อย่าลืม
ข้อที่ 44 การรายงานวันทำการและวันหยุดราชการของข้าราชการศาลยุติธรรมและลูกจ้าง ให้รายงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ข้อที่ 45 การระบุหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ในหนังสือราชการมุมล่างด้านซ้าย ดังนี้
ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
โทร.x xxxx xxxx ต่อ xxx
โทรสาร x xxxx xxxx
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (ถ้ามี) (อีเมล)
สำเนาส่ง (ถ้ามี)
ถ้าติดต่อกับหน่วยงานในต่างประเทศ ให้ระบุหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร เช่น
Tel 22 2222 2222 ext 222 Fax 22 2222 2222
ข้อที่ 46 กำหนดผู้ทำการแทนอธิบดีผู้พิพากษาภาค
ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลที่มีอาวุโสสูงสุดของศาลในจังหวัดที่อธิบดีผู้พิพากษามีสถานที่ตั้งเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้พิพากษาหัวหน้าศาลที่อาวุโสสูงสุดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับของศาลในจังหวัดที่อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีสถานที่ตั้งเป็นผู้ทำการแทน
*** หมายเหตุ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม. 13 ให้ประธานศาลฏีกาสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทน
ข้อที่ 47 หลักเกณฑ์การขอช่วยราชการ
ผู้อำนวยการภาค ฯ มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการระดับ 1-5 ช่วยราชการศาลในภาคเดียวกันครั้งเดียวหรือหลายครั้งไม่เกิน 90 วัน และส่งคำสั่งไปยังสำนักงานศาลยุติธรรม
อธิบดีผู้พิพากษาภาค มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการระดับ 1-5 ช่วยราชการในภาคเดียวกันครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันไม่เกิน 180 วัน และส่งสำเนาคำสั่งไปยังสำนักงานศาลยุติธรรม
ถ้าผู้อำนวยการภาคอนุญาตแล้ว อธิบดีฯ อนุญาตได้อีก แต่รวมกันไม่เกิน 180 วัน
ระดับ 6 ขึ้นไป ให้ส่วนราชการต้นสังกัดของข้าราชการศาลยุติธรรม รายงานสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่ออนุญาต
ข้อที่ 48 การเดินทางไปรับราชการและการขอผัดการเดินทาง
ให้เดินทางไปรับราชการในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งโดยพลันหรืออย่างช้าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งหรือวันที่ถือได้ว่าควรจะได้รับทราบคำสั่ง
ซี 1-5 ขอผัดการเดินทางไม่เกิน 60 วัน
ซี 6 ขึ้นไป ขอผัดการเดินทาง
ถ้ามีเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ สำนักงานศาลยุติธรรม จะผ่อนผันให้ผัดการเดินทางนอกจากข้างต้นได้
ข้อที่ 49 ค่าเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางไปราชการ
ซี 1-2 (ลูกจ้างประจำด้วย) ประเภท ก 180 บาท
ประเภท ข 108 บาท
ซี 3-8 ประเภท ก 210 บาท*** (ออกข้อสอบบ่อย)
ประเภท ข 126 บาท
ซี 9 ขึ้นไป ประเภท ก 240 บาท
ประเภท ข 144 บาท
ประเภท ก ได้แก่
1. การเดินทางไปราชการนอกจังหวัดพื้นที่ที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ
2. การเดินทางไปราชการจากอำเภอหนึ่งไปปฏิบัติราชการในอำเภอเมืองในจังหวัดเดียวกัน
ประเภท ข ได้แก่
1. การเดินทางไปปฏิบัติราชการในท้องที่อื่นนอกจากที่กำหนดในประเภท ก
2. การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ
ข้อที่ 50 อัตราค่าเช่าที่พัก
1. ซี 8 ลงมา หรือตุลาการได้รับเงินเดือนชั้น 2 ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา ดะโต๊ะยุติธรรม เหมาจ่าย ไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน****
2. ซี 9 หรือตุลาการรับเงินเดือน ชั้น 3 ขั้นต่ำ เหมาจ่ายไม่เกิน 1,600 บาทต่อวัน
3. ซี 10 หรือตุลาการรับเงินเดือนชั้น 3 ขั้นสูงขึ้นไป ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2,500 บาท ต่อวัน
4. ถ้าเดินทางเป็นหมู่คณะ หากผู้ดำรงตำแหน่ง เป็นหัวหน้าคณะและจำเป็นต้องใช้สถานที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นประสานงานของคณะหรือบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักเพิ่มขึ้นอีก 1 ห้อง หรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้ ถ้าเบิกค่าเช่าที่พักเพิ่มอีก 1 ห้อง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 2,500 บาท ถ้าเป็นการเช่าห้องชุด เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 5,000 บาท ต่อวัน
ข้อที่ 51 การรายงานข้าราชการศาลยุติธรรมเป็นความ
1. เมื่อข้าราชการศาลยุติธรรมเป็นโจทก์ หรือผู้เสียหาย หรือจำเลยในคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีปกครอง ให้ข้าราชการนั้น รายงานไปให้สำนักงานศาลยุติธรรมทราบอย่างช้าภายใน 15 วัน นับแต่วันฟ้องหรือทราบว่าถูกฟ้อง
2. เมื่อคดีเสร็จสิ้นในชั้นศาลใด ให้ข้าราชการที่เป็นความหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในงานของศาลยุติธรรม รายงานผลคดีให้สำนักงานศาลยุติธรรมทราบในโอกาสแรก พร้อมทั้งแนบสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งไปด้วย
3. ให้นำหลักเกณฑ์ ตาม 1-2 มาใช้กับข้าราชการศาลยุติธรรมที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาหรือคดีแพ่งโดยอนุโลม
ข้อที่ 52 การรายงานข้าราชการตุลาการเป็นความ
1. เมื่อข้าราชการตุลาการเป็นโจทก์ หรือผู้เสียหาย หรือจำเลยในคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีปกครอง ให้ข้าราชการตุลาการนั้น รายงานไปให้สำนักงานศาลยุติธรรมทราบอย่างช้าภายใน 15 วัน นับแต่วันฟ้องหรือทราบว่าถูกฟ้อง
2. หากเป็นความในศาลเดียวกับที่ข้าราชการตุลาการนั้นรับราชการอยู่ ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ
ในงานของศาลยุติธรรมรายงานให้สำนักศาลยุติธรรมทราบ และหากศาลนั้นอยู่ในเขตอำนาจของอธิบดีภาค ก็ให้รายงานให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคทราบอีกทางหนึ่งด้วย ระยะเวลาตามข้อ 1
3. เมื่อคดีเสร็จสิ้นในชั้นศาลใด ให้ข้าราชการตุลาการที่เป็นความหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในงานของศาลยุติธรรม รายงานผลคดีให้สำนักงานศาลยุติธรรมทราบในโอกาสแรก พร้อมทั้งแนบสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งไปด้วย
ข้อที่ 53 การรายงานข้าราชการที่รับราชการมาครบ 30 ปี
หน่วยงานส่วนกลาง สำนักอำนวยการในกรุงเทพฯ และสำนักงานประจำศาลแรงงานภาค สำนักศาลยุติธรรมประจำภาค รวบรวมข้อมูลของหน่วยงานแล้วรายงานสำนักงานศาลยุติธรรมภายในเดือนตุลาคมของทุกปี ส่วนศาล (สำนักงานอำนวยการประจำ ฯ หรือสำนักงานประจำศาลฯ ระเบียบไม่ได้กำหนดไว้ จึงต้องรายงานภายในเดือนตุลาคม ของทุกปี เช่นเดียวกัน เพื่อให้ภาครายงานให้ทันภายในเดือนตุลาคม
ข้อที่ 54 การอนุญาตให้ข้าราชการตุลาการไปบรรยาย สอน อบรม ทบทวนความรู้หรือเข้าร่วมประชุมสัมมนา อภิปราย
1. การไปบรรยาย สอน อบรม ทบทวนความรู้หรือสัมมนาในสถานศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐ ของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม นอกเวลาราชการไม่จำต้องขออนุญาต แต่ให้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับ เสนอไปยังสำนักงานศาลยุติธรรม
2. การไปบรรยาย สอน อบรม ทบทวนความรู้หรือสัมมนาในสถานศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐ ของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม นอกจากข้อ 1 ให้ขออนุญาตต่อผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาตามระเบียบการลา เพื่ออนุญาตแล้ว ให้รายงานสำนักงานศาลยุติธรรม
3. กรณีข้าราชการตุลาการหรือดะโต๊ะยุติธรรมประสงค์จัดให้มีการบรรยาย สอบ อบรมหรือทบทวนความรู้ในสาขาวิชาใด ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมมิได้เป็นผู้จัดหรืออนุญาตให้จัด ไม่ว่าจะเป็นในหรือนอกเวลาราชการ ให้ขออนุญาตต่อประธานศาลฎีกา
4. การไปบรรยาย สอน อบรม ทบทวนความรู้ หรือเข้าร่วมประชุม สัมมนา อภิปรายของข้าราชการศาลยุติธรรม ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณีเป็นผู้พิจารณาอนุญาต เมื่ออนุญาตแล้ว ให้รายงานสำนักงานศาลยุติธรรมทราบ
ข้อที่ 55. นโยบายประธานศาลฎีกา นายวิรัช ลิ้มวิชัย ปี พ.ศ.2550*****
คติพจน์ประธานศาลฎีกา “ ความยุติธรรมที่รวดเร็ว เป็นธรรมและเสมอภาค” Justice For All (จำ !!! )****
นโยบายประธานศาลฎีกาเน้นสองส่วนหลัก คือ ศาลและผู้พิพากษา
ศาล ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม ประหยัดและทั่วถึง
ผู้พิพากษา ซึ่งเป็นที่พึ่งของสังคมในความเป็นกลาง และถูกต้อง
การเข้าถึงความยุติธรรมที่สะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม ประหยัดและทั่วถึง เป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานและเป็นเครื่องชี้วัดถึงประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรม
การเร่งรัดคดีในศาล
เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ คดีที่เข้าสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ต้องเป็นคดีที่มีสาระสำคัญ อันควรแก่การที่ศาลสูงจะวินิจฉัย ในปัจจุบันการบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวมีทั้งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และ ป.วิแพ่ง กำหนดหลักการดังกล่าวไว้ อย่างไรก็ตามประชาชนผู้มีคดีความต้องได้รับการยืนยันว่าศาลยุติธรรมทุกชั้นศาลมีประสิทธิภาพในการประสาทความยุติธรรมที่รวดเร็ว เสมอภาคและทั่วถึง การปฏิเสธคดีที่ไม่เป็นสาระสำคัญอันควรแก่การวินิจฉัยของศาลสูงนั้น มีความจำเป็นเพื่อความยุติธรรมที่รวดเร็ว ทั้งยังเป็นหลักการที่ศาลสูงในนานาอารยประเทศถือปฏิบัติ เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาเป็นคดีที่มีสาระสำคัญอันควรได้รับการวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาก็สามารถวางแนวบรรทัดฐานให้ศาลอื่น ๆ ปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นศาลยุติธรรม จะพัฒนาระบบการไกล่เกลี่ยในศาลให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้คู่ความสามารถยุติข้อพิพาทโดยสมานฉันท์แม้ว่าข้อพิพาทดังกล่าวจะเข้าสู่การพิจารณาของศาลแล้วก็ตาม
การส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชนและกลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน
ส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยศาลและผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในปัญหาของผู้บริโภค พัฒนาและบริหารจัดการคดีมโนสาเร่อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง จัดให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมทางศาลได้โดยสะดวก ส่งเสริมการไกล่เกลี่ยคดีในศาลชั้นต้นและศาลสูง รวมทั้งการบริหารจัดการคดีสมัยใหม่ และใช้วิธีพิจารณาคดีวิสามัญในศาลชั้นต้น เช่นคดีมโนสาเร่ อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความพึงพอใจของคู่ความและลดจำนวนคดีที่ขึ้นสู่ศาลสูง นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการพัฒนานิติกรประจำศาลให้สามารถช่วยคู่ความที่มาศาลด้วยต้นเอง อันเป็นการคุ้มครองผู้ด้อยโอกาสและเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมอย่างทั่วถึง
ข้อที่ 55 การซื้อหรือการจ้างกระทำได้ 5 วิธี คือ
1. วิธีตกลงราคา การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน 200,000 บาท
2. วิธีสอบราคา การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 200,000 บาทแต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
3. วิธีประกวดราคา การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน 2,000,000 บาท
4. วิธีพิเศษ แบ่งเป็น
4.1 การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่การซื้อครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน 200,000 บาท ให้กระทำได้ดังนี้
- เป็นพัสดุที่ขายทอดตลาด
- เป็นพัสดุที่ต้องซื้อโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ทางราชการ
- เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรง
- เป็นพัสดุที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วนหรือเพื่อประโยชน์แก่การดำเนินการของศาลยุติธรรมหรือสำนักงานและจำเป็นต้องซื้อเพิ่ม
ฯลฯ
4.2 การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่การจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 200,000 บาท ดังนี้
- เป็นงานที่ต้องจ้างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะหรือผู้มีความชำนาญพิเศษ
- เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจให้ทราบความชำรุดเสียหายเสียก่อนจึงจะประมาณค่าซ่อมได้ เช่น งานจ้างซ่อมเครื่องจักร เครื่องไฟฟ้าหรืออิเลคทรอนิกส์
- เป็นงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่ราชการ
5. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ได้แก่การซื้อหรือจ้างจากส่วนราชการหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
5.1 เป็นผู้ผลิตหรือทำงานจ้างนั้นเอง และประธานอนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง (ประธานหมายความว่าประธานศาลฎีกา)
5.2 มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ซื้อหรือจ้าง
ข้อที่ 56 แบบตัวหนังสือที่ใช้ในการพิมพ์หนังสือราชการกำหนดให้ ใช้แบบใดและมีขนาดเท่าใด
ตอบ = Browallia New ขนาด 17
ข้อที่ 57 การเช่าอสังหาริมทรัพย์รวมค่าบริการอื่นสัญญาไม่เกินเดือนละ 200,000 บาท ให้เลขาธิการเป็นผู้มีอำนาจ ถ้าเกินให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ
ข้อที่ 58 สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 1,000,000 บาท ขึ้นให้ส่งสำเนาให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และกรมสรรพากร ภายใน 30 วัน นับแต่วันทำสัญญาหรือข้อตกลง
ข้อที่ 59 การจำหน่ายพัสดุมีดังนี้
- ขาย
- แลกเปลี่ยน
- โอน
- แปรสภาพหรือทำลาย
ข้อที่ 60 การจ้างที่ปรึกษาตามระเบียบงานพัสดุกระทำได้ 2 วิธี วิธีตกลง วิธีคัดเลือก
ข้อที่ 61 รถส่วนกลางทุกคันให้มีตราเครื่องหมายของสำนักงานศาลยุติธรรม ขนาดกว้าหรือยาวไม่น้อยกว่า 18 เซนติเมตร และอักษรชื่อเต็มสำนักงานศาลยุติธรรมสูงไม่น้อยกว่า 5 เชนติเมตร ไว้ด้านข้างนอกรถทั้งสองข้าง ส่วน รถจยย. ส่วนกลาง ให้ลดลงตามส่วน
ข้อที่ 62 ความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลัง มีอัตราโทษปรับทางปกครอง 4 ชั้น
1. โทษชั้นที่ 1 ปรับไม่เกินเงินเดือน 1 เดือน
2. โทษชั้นที่ 2 โทษปรับเท่ากับเงินเดือนตั้งแต่ 2 เดือนถึง 4 เดือน
3. โทษชั้นที่ 3 โทษปรับเท่ากับเงินเดือนตั้งแต่ 5 เดือนถึง 8 เดือน
4. โทษชั้นที่ 4 โทษปรับเท่ากับเงินเดือนตั้งแต่ 9 เดือนถึง 12 เดือน
ข้อที่ 63 ประเทศไทยใช้รัฐธรรมนูญมาแล้วกี่ฉบับ
ตอบ= ฉบับที่ 18 ชื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เริ่มใช้วันที่ 24 สิงหาคม 2550 โดยรัฐธรรมนูญฉบับแรกเริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 7 ชื่อ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย และมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475
ข้อ 64 ประกาศสำนักงานศาลยุติธรรมเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการส่งคำคู่ความหรือเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งโดยทางไปรษณีย์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2550 หากประสงค์จะส่งคำคู่ความ ให้ยื่นเป็นคำบอกกล่าวแสดงความประสงค์ต่อศาล ฯ (ต้องเป็นคำบอกกล่าว)
ข้อ 65 การชำระค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการส่งคำคู่ความให้จ่ายเป็นรายคดีละไม่เกิน 500 บาท หากไม่เพียงพอให้เป็นหน้าที่ของคู่ความที่จะต้องตรวจสอบให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระ เมื่อคดีถึงที่สุด ถ้ายังมีเงินดังกล่าวเหลืออยู่ให้คืนแก่ผู้มีสิทธิรับโดยเร็ว โดยมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้
1.ค่าส่งไปรษณีย์ให้เป็นไปตามข้อตกลงของสำนักงานศาลยุติธรรมกับบริษัทไปรษณีย์ ว่าด้วยการส่งคำคู่ความ พ.ศ.2545
2. ค่าพิมพ์เอกสารแผ่นละ 2 บาท
3. ค่าถ่ายเอกสารแผ่นละ 2 บาท
4. ค่าโทรสาร ให้เป็นไปตามใบเรียกเก็บเงิน ของทีโอที
5.ค่าโทรสารในเขตพื้นที่เดียวกัน แผ่นแรก 3 บาท แผ่นต่อไป แผ่นละ 0.50 บาท (ห้าสิบสตางค์)
ข้อที่ 66 ข้อบังคับสำนักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยการฌาปนกิจสงเคราะห์ศาลยุติธรรม พ.ศ.2550 มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ
- ใช้ตัวย่อ ฌศย
- เครื่องหมายเป็นวงกลม ขนาด 3.5 ซม . มีรูปเหมือนตราสัญลักษณ์สำนักงานศาลยุติธรรม และมีคำว่าฌาปนกิจสงเคราะห์ศาลยุติธรรมอยู่ในวงกลม
ข้อ 67 รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ในส่วนที่เกี่ยวกับศาลยุติธรรม มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญพอสังเขป ดังนี้
มาตรา 113 ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่งประกอบด้วย ..... ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมายจำนวนหนึ่งคน...... เป็นกรรมการ
มาตรา 168 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีจะต้องผ่านการวิเคราะห์และพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏรและให้แล้วเสร็จภายใน 105 วัน นับแต่วันร่าง พรบ. ดังกล่าวมาถึงสภาผู้แทนราษฎร
เกี่ยวกับศาลนะ*** รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการบริหารงานโดยอิสระ ของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง
ในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายของศาล หากหน่วยงานนั้นเห็นว่างบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรนั้นไม่เพียงพอ ให้สามารถเสนอคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการได้โดยตรง**** ตรงนี้ต้องจำ เพราะปกติจะต้องผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
มาตรา 218 ศาลยุติธรรมอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลอื่น
มาตรา 219 ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้เสนอต่อศาลฎีกาได้โดยตรง........
ให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้ วิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีให้เป็นไปตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด โดยต้องใช้ระบบไต่สวนและเป็นไปโดยรวดเร็ว
ให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา ประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน 9 คน
มาตรา 221 คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.)ประกอบด้วย (จำนวน 15 คน ) ดังนี้ *****
1. ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการ
2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล ได้แก่ศาลฎีกา จำนวน 6 คน ศาลอุทธรณ์ จำนวน 4 คน ศาลชั้นต้น จำนวน 2 คน ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลและได้รับเลือกจากข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาล
3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน ซึ่งไม่เป็นข้าราชการตุลาการและได้รับเลือกจากวุฒิสภา
ในกรณีที่ไม่มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง (3) หรือมีแต่ไม่ครบสองคน ถ้า ก.ต. จำนวนไม่น้อยกว่า 7 คนเห็นว่ามีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องให้ความเห็นชอบ ให้ ก.ต. จำนวนดังกล่าวเป็นองค์ประกอบและองค์ประชุมพิจารณาเรื่องเร่งด่วนนั้นได้
มาตรา 222 ศาลยุติธรรมมีหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ต้องมาจากการเสนอของประธานศาลฎีกาและได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมตามที่กฎหมายบัญญัติ
สำนักงานศาลยุติธรรมมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ******** หมายเหตุ เป็นมาตราที่ผู้เรียบเรียงเห็นว่าสำคัญมาก เพราะนำไปประกอบการเขียนตอบได้หลาย ๆ อย่าง และควรจำการแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม จะไม่เหมือนแบบเดิม
มาตรา 306 เกี่ยวกับผู้พิพากษาอาวุโส .... ให้ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมดำรงตำแหน่งได้จนถึงอายุครบ 70 ปี และผู้พิพากษาซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นในปีงบประมาณใด ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วไม่น้อยกว่า 20 ปี และผ่านการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถขอไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลซึ่งไม่สูงกว่าขณะดำรงตำแหน่งได้
ข้อ 68 พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศวันที่ 10 ธันวาคม 2550 จึงใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2550 และมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ให้ยกเลิก มาตรา 7 ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา 7 ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน
ข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น
1. ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว
2. มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ไปประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน
3. ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคำร้องขอของตนเอง
ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ที่เป็นท้องที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ด้วย
หมายเหตุ
เดิมข้าราชการที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปรับราชการในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่กลับเข้ารับราชการใหม่ จะเบิกค่าเช่าบ้านไม่ได้ แต่ พรฎ. ฉบับนี้ให้เบิกได้ เนื่องจากให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมในปัจจุบันให้มากขึ้น
ข้อที่ 69 ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานศาลยุติธรรม พ.ศ.2544 กำหนดให้ คำว่า
- คณะรัฐมนตรี ให้หมายถึง ก.บ.ศ.
- ก.พ. , อ.ก.พ.กระทรวงและ อ.ก.พ.กรม ให้หมายถึง ก.ศ.
- กระทรวง ให้หมายถึง สำนักงานศาลยุติธรรม
- นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ให้หมายถึงประธานศาลฎีกา
- ปลัดกระทรวงและอธิบดี ให้หมายถึง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
- หัวหน้าส่วนราชการที่เป็นกอง ให้หมายถึง ผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการสำนักงาน
หัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากอง ให้หมายถึง ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค และผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาล
****** ข้อที่ 70 เกี่ยวกับระเบียบการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมที่ควรจำ (ต้องเข้าใจนะ ข้าราชการฝ่ายตุลาการประกอบด้วย ข้าราชการ 3 ประเภท คือ ข้าราชการตุลาการ ดะโต๊ะยุติธรรม และข้าราชการศาลยุติธรรม)
ข้อ 7 ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ใด ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการในหน่วยงานอื่น หากประสงค์ที่จะลาป่วย ลาคลอดบุตร ลากิจส่วนตัว ลาพักผ่อน หรือลาเพื่อเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ให้ขออนุญาตลาต่อผู้บังคับบัญชาที่ไปช่วยราชการนั้น ดังนั้น การลาประเภทอื่น เช่น การลาบวช ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัย ลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ และการลาติดตามคู่สมรส ต้องขออนุญาตลาต่อส่วนราชการต้นสังกัด
ข้อ 8 การนับวันลาให้นับตามปีงบประมาณ (ปีงบประมาณอยู่ระหว่างเดือน ตุลาคม ถึง กันยายน )
ข้อ 13 การลาแบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ***
1. ลาป่วย
2. ลาคลอดบุตร
3. ลากิจส่วนตัว
4. ลาพักผ่อน
5. ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์
6. ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
7. ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
8. ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
9. ลาติดตามคู่สมรส
ข้อ 14 การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์ ส่วนการลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ถ้าผู้มีอำนาจจะสั่งให้มีใบรับรองแพทย์ก็ได้ (อย่าไปจำว่าการลา 3 วันต้องมีใบรับรองแพทย์)
ข้อ 15 การลาคลอดบุตรจะลาในวันที่คลอด ก่อนหรือหลังวันที่คลอดบุตรก็ได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 90 วัน มีสิทธิได้รับเงินเดือน
ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตร แต่ไม่ได้คลอดบุตรตามกำหนด หากประสงค์จะขอถอนวันลาคลอดบุตรไป ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ถอนวันลาคลอดบุตรได้ โดยถือว่าวันที่หยุดราชการไปนั้น เป็นวันลากิจส่วนตัว ตัวอย่าง ลากิจตั้งแต่12-25 ม.ค.51 ปรากฏว่าคลอดบุตร เมื่อวันที่ 22 ม.ค.51 จึงยื่นลาคลอดบุตรตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค.51 นับวันลาอย่างไร ? นับวันลาคลอดบุตรตั้งแต่วันเริ่มวันลาคลอดบุตร ส่วนลากิจแม้จะยังไม่ครบกำหนดวันลา ก็ให้ถือว่าการลากิจนั้นสิ้นสุดลง )
** ข้อ 17 ข้าราชการศาลยุติธรรม(ตามระเบียบนี้ให้หมายถึงลูกจ้างประจำด้วย) มีสิทธิลากิจส่วนตัว โดยได้รับเงินเดือนปีละไม่เกิน 45 วันทำการ
*** ข้อ 18 ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ 15 แล้ว หากประสงค์จะลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างลา
ข้อ 20 ข้าราชการศาลยุติธรรมมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้ 10 วันทำการ เว้นแต่ข้าราชการศาลยุติธรรมดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการไม่ถึง 6 เดือน
1. ผู้ซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน
2. ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัวแล้วต่อมาได้บรรจุเข้ารับราชการอีก
3. เพื่อซึ่งลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีกหลัง 6 เดือน นับแต่วันออกจากราชการ
4. ผู้ซึ่งสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่น นอกจากการไปรับราชการทหารตามกฎหมาย ฯลฯ
ข้อ 21 ถ้าในปีใดมิได้ลาพักผ่อนหรือลาแล้วแต่ไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันที่มิได้ลาปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้ แต่วันลาพักผ่อนสะสมรวมกับวันลาในปีปัจจุบันจะต้องไม่เกิน 20วันทำการ
สำหรับผู้ที่รับราชการมาไม่น้อยกว่า 10 ปี ให้มีสิทธิสะสมวันลาพักผ่อนได้ไม่เกิน 30 วันทำการ
ข้อ 22 การลาพักผ่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะหยุดราชการได้
ข้อ 25 ข้าราชการประสงค์จะลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้มีอำนาจก่อนวันอุปสมบทหรือก่อนวันเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ไม่น้อยกว่า 60 วัน***หมายเหตุ การลาอุปสมบทของข้าราชการศาลยุติธรรม ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ลาคือเลขาธิการ ฯ ส่วนการลาทุกประเภทของตุลาการ ให้เป็นอำนาจของผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รวมทั้งหารลาอุปสมบทด้วย แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน ถ้าเกิน 60 วัน ให้เป็นอำนาจของอธิบดีภาค หรืออธิบดีศาลเยาวชน ฯแล้วแต่กรณี*****
**** ข้อ 26 เมื่อได้รับอนุญาตให้ลา ฯ จะต้องอุปสมบทหรือเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ภายใน 10 วัน นับแต่วันเริ่มลา และจะต้องกลับมารายงานตัวปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน นับแต่วันที่ลาสิกขา หรือวันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทย ฯ
แต่เมื่อได้ลา ฯ ดังกล่าวแล้ว และไม่สามารถ ตามที่ขอลาไว้ เมื่อได้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการและขอถอนวันลา ให้ถือว่าวันที่หยุดราชการไปแล้ว เป็นวันลากิจส่วนตัว
**** ข้อ 27 ข้าราชการศาลยุติธรรมที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก ให้รายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง ส่วนกรณีได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพลให้รายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชม. นับแต่เวลารับหมายเรียกเป็นต้นไป และให้ไปเข้ารับการตรวจเลือก ตามวันเวลาในหมายเรียก โดยไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาต (จะต่างกับกับการลาพักผ่อน จะต้องอนุญาตก่อนจึงจะหยุดราชการได้)
**** ข้อ 28 เมื่อข้าราชการศาลยุติธรรมที่ลานั้นพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือการเตรียมพลแล้ว จะต้องรายงานตัวเพื่อกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 7 วัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็น เลขาธิการหรือประธานศาลฎีกาอาจขยายให้ได้แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 15 วัน
ข้อที่ 29 การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำคับชั้นจนถึงเลขาธิการศาลยุติธรรมหรือประธานศาลฎีกาแล้วแต่กรณีเพื่อพิจารณาอนุญาต (เลขาธิการหรือประธานศาลฎีกาเท่านั้น เป็นผู้อนุญาต )
ข้อที่ 30 การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงประธานศาลฎีกาเพื่อพิจารณา (ประธานศาลฎีกาผู้เดียวเป็นผู้อนุญาต)
ข้อที่ 31 การไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ มี 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 มี 3 ข้อ ได้แก่
1. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกและเป็นวาระที่จะต้องส่งไปปฏิบัติงานในองค์การนั้น
2. รัฐบาลไทยมีข้อผูกพันที่จะต้องส่งไปปฏิบัติงานตามความตกลงระหว่างประเทศ
3. ประเทศไทยต้องส่งไปปฏิบัติงานเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประเทศตามความต้องการของประเทศไทย
ประเภทที่ 2 ได้แก่ การลาไปปฏิบัติงานนอกเหนือจากประเภทที่ 1
ข้อที่ 32 คุณสมบัติผู้ที่จะลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
1. รับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีก่อนถึงวันที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่ไป
ปฏิบัติงานในองค์การสหประชาชาติ ให้ลดเป็น 2 ปี
- สำหรับผู้ที่เคยไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศประเภทที่ 2 มาแล้วจะต้องมีเวลา
ปฏิบัติราชการในส่วนราชการไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันเริ่มกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ ฯ
- ผู้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศประเภทที่ 2 ต้องมีอายุไม่เกิน 52 ปี นับถึง
วันที่ได้รับอนุญาต (ข้อสังเกต ระบุอายุไว้เฉพาะการลาประเภทที่ 2 แล้วเท่านั้น ส่วนการลาประเภทที่ 1 ไม่ได้กำหนดอายุไว้ จึงน่าอายุอยู่ระหว่างยังไม่เกษียณราชการ )
ข้อที่ 33 การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ สำหรับประเภทที่ 1 ไม่เกิน 4
ปี ประเภทที่ 2 ไม่เกิน 1 ปี โดยไม่ได้รับเงินเดือน เว้นแต่ อัตราเงินเดือนต่ำกว่าเงินเดือนของทางราชการ
ข้อที่ 34 หากประสงค์จะปฏิบัติงานต่อ ให้ยื่นเรื่องราวพร้อมเหตุผลความจำเป็น
จนถึงประธานศาลฎีกา เพื่อพิจารณาอนุญาต แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี (สรุปแล้วลาไม่เกิน 4 ปี )
ส่วนกรณีประเภท 2 ถ้าประสงค์จะอยู่ปฏิบัติงานต่อ เกินกว่า 1 ปี ให้
ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการในช่วงระยะเวลาที่เกิน 1 ปีด้วย
ข้อที่ 35 เมื่อประธานศาลฎีกาสั่งอนุญาตตาม ข้อ 33 และ 34 ให้ส่งสำเนาคำสั่งให้
กระทรวงการคลังและคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.) ทราบด้วย
ข้อที่ 36 ให้สำนักงานศาลยุติธรรมจัดทำสัญญาผูกมัดข้าราชการศาลยุติธรรมที่ไป
ปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศประเภทที่ 2 ให้กลับมารับราชการในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นเวลา 1 เท่าของระยะเวลาที่ไปปฏิบัติงาน ฯ ถ้าไม่กลับหรือปฏิบัติงานไม่ครบ ให้ชดใช้เบี้ยปรับแก่ทางราชการ
1. ไม่กลับเข้ารับราชการเลย ชดใช้เป็นเงินเท่ากับเงินเดือนสุดท้ายที่ได้รับ คูณด้วย
ระยะเวลาที่ลาไปปฏิบัติงานที่คิดเป็นเดือน เศษของเดือนถ้าเกิน 15 วันให้คิดเป็น 1 เดือน
2. กลับมารับราชการแต่ไม่ครบ ให้ชดใช้เบี้ยปรับตาม (1) ลดลงตามส่วน การทำสัญญา
ดังกล่าว ให้จัดส่งกระทรวงการคลังและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน แห่งละ 1 ชุด
****ข้อที่ 37 ข้าราชการที่ลาไปปฏิบัติงานในองค์การะหว่างประเทศเมื่อ
ปฏิบัติงานเสร็จแล้ว ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ภายใน 10 วัน ***(จำ) นับแต่วันถัดจากวันเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน และให้รายงานผลการปฏิบัติงานให้ประธานศาลฎีกาทราบภายใน 30 วัน****(จำ) นับแต่วันที่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้อที่ 38 การลาติดตามคู่สมรส ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ
จนถึงเลขาธิการหรือประธานศาลฎีกาแล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาตให้ลาได้ไม่เกิน 2 ปี และในกรณีจำเป็นอาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีก 2 ปี แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี ถ้าเกิน 4 ปี ให้ลาออกจากราชการ
ข้อที่ 42 การลาทุกประเภท การหยุดราชการ ฯ ของประธานศาลฎีกา ให้อยู่
ในดุลพินิจของประธานศาลฎีกาและแจ้งให้ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต. ) ทราบ
ข้อที่ 43 การลาทุกประเภทของประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์
ภาค ให้เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายและแจ้งให้ ก.ต.ทราบ
ข้อที่ 45 การลาทุกประเภทของข้าราชการตุลาการที่ไปทำงานในสำนักงาน
ศาลยุติธรรม รวมทั้งผู้ช่วยผู้พิพากษาที่มิได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในศาล ให้เป็นอำนาจของเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ข้อ 47 การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย ให้ผู้
พิพากษาหัวหน้าศาลในท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใด มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการตุลาการ และดะโต๊ะยุติธรรมที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในศาลนั้น ๆ ไปประเทศดังกล่าวได้ไม่เกิน 7 วัน
สรุป
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลอนุญาตให้ผู้อำนวยการ ฯ ลาป่วยครั้งหนึ่งได้ไม่เกิน 120 วัน ลากิจ 45 วัน
- ผู้อำนวยการฯ อนุญาตให้ข้าราชการลาป่วยได้ไม่เกิน 60 วัน ลากิจ 30 วัน
- ผอ.วิทยาลัย / หัวหน้ากลุ่ม/หัวหน้าฝ่าย อนุญาตให้ข้าราชการในวิทยาลัยลาป่วยไม่เกิน 30
วัน ลากิจ 15 วัน (ข้อสังเกต หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าฝ่าย ในศาลไม่มีอำนาจให้ลา เว้นแต่ว่าด้วยการรักษาราชการแทน)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ฯ อนุญาตให้ผู้พิพากษาและดะโต๊ะยุติธรรม ลาทุกประเภทได้ไม่
เกิน 60 วัน ถ้าเกิน เป็นอำนาจของอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางแล้วแต่กรณี
??????????????????????????????????
ต่อไปเป็นการรวมสารพัดเรื่องเท่าที่เคยเป็นข้อสอบเก่าหรือน่าจะเป็นข้อสอบใหม่
1. เงินค้างจ่ายในศาลถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกร้องเอาภายในกี่ปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ? 5 ปี
2. ระบบศาลของไทยเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด ? สุโขทัย
3. วันศาลยุติธรรมตรงกับวันที่เท่าไหร่ของทุกปี ? 21 เมษายน ของทุกปี
4. ศาลยุติธรรมแยกออกจากกระทรวงยุติธรรมเมื่อใด ? 20 สิงหาคม 2543
5. ศาลยุติธรรมแบ่งออกเป็นกี่ชั้น อะไรบ้าง ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา
5.1 สำนักงานศาลยุติธรรมแบ่งส่วนราชการมีทั้งหมด 22 ส่วนราชการ ตามประกาศ กบศ. วันที่ 28 ธันวาคม 2550 ประกอบด้วย 15 สำนัก 4 กอง 2 สถาบัน 1 ศูนย์ (เดิมมี 20 ส่วนราชการ) ดังนี้
1. สำนักคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
2. สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
3. สำนักคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
4. สำนักบริหารกลางและสวัสดิการ
5. กองการต่างประเทศ
6. ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม
7. กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์
8. กองออกแบบและก่อสร้าง
9. สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
10. สำนักการคลัง
11. สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
12. สำนักระงับข้อพิพาท
13. สำนักแผนงานและงบประมาณ
14. สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม
15. สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์
16. กองบริหารทรัพย์สิน
17. สำนักพัฒนาระบบงาน
18. สำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา
19. สำนักประธานศาลฎีกา
20. สำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
21. สำนักอำนวยการประจำศาล
22. สำนักงานประจำศาล
**** เดิม กองการเจ้าหน้าที่แยกเป็นกองต่างหาก แต่ปัจจุบัน ไปขึ้นกับ สำนักคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
5.2 นโยบายของเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม(นายพินิจ สุเสารัจ ) คือ 5 ส. ประกอบด้วย***
1. สำนึก มีความสำนึกในหน้าที่ที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมาย ดังวลีที่ว่า “ สำนึกในหน้าที่ เอื้ออารีต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อผู้บังคับบัญชา และต่อประชาชน ”
2. สามัคคี มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งจะเป็นศูนย์รวมพลังสร้างความสำเร็จมาสู่งาน
3. สนับสนุน มีการสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน มีความห่วงใย ทำงานรูปแบบสนุกสนานอย่างเต็มที่และเต็มใจ
4. ส่งเสริม ให้โอกาสกับทุกคนเท่าเทียมกัน พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในวิทยาการสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5. สัมฤทธิ์ผล เพื่อให้เป็นไปตามภารกิจ ตรงตามวัตถุประสงค์และตรงตามเป้าหมาย สุดท้ายประโยชน์ก็จะเกิดแก่ประชาชนที่มาขอรับบริการของศาลยุติธรรมต่อไป
6. ศาลพิเศษและศาลชำนัญพิเศษมีอะไรบ้าง
ศาลพิเศษได้แก่ศาลเยาวชนและครอบครัว ส่วนศาลชำนัญพิเศษปัจจุบันมี 4 ศาล คือ
ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และศาลล้มละลาย
(จงจำ ! ศาลเยาวชนฯ ไม่ศาลชำนัญพิเศษ แต่เป็นศาลพิเศษ)
7. ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา มีองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดี ประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อยกี่คน ? 3 คน
8. องค์คณะผู้พิพากษาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีทั้งหมดกี่คนและใช้ระบบใดในการพิจารณาคดี ? ทั้งหมด จำนวน 9 คน ใช้ระบบไต่สวน
9. องค์คณะศาลชั้นต้น เช่นศาลจังหวัด มี จำนวน 2 คน(ผู้พิพากษาประจำศาลไม่เกิน 1 คน) ศาลเยาวชนฯหรือศาลจังหวัดแผนก มีองค์คณะ จำนวน 4 คน ประกอบด้วย ผู้พิพากษา 2 คน ผู้พิพากษาสมทบ จำนวน 2 คน (ต้องมีผู้หญิงอย่างน้อย 1 คน)
10. ศาลอุทธรณ์ และศาลฏีกา องค์คณะ อย่างน้อยศาลละ 3 คน
11. ผู้พิพากษาในระบบศาลยุติธรรม ปัจจุบันมีกี่ประเภท ? 4 ประเภท คือ ผู้พิพากษา
ผู้พิพากษาอาวุโส ผู้พิพากษาสมทบ และดะโต๊ะยุติธรรม
12. ตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส สามรถดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาอาวุโส ต่อไปได้จนถึงอายุกี่ ปี ? 70 ปี
13. ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนฯดำรงตำแหน่งอยู่ในวาระกี่ปี ? 3 ปี
14. ดะโต๊ะยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาคดีลักษณะใด ? คดีทางแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและมรดกของกฎหมายอิสลาม ใน 4 จังหวัดภาคใต้ มีจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล และดะโต๊ะยุติธรรม มีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี เป็นผู้มีความรู้ภาษาไทยสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
15. องค์กรที่มีอำนาจในการบริหารงานของสำนักงานศาลยุติธรรมแบ่งออกเป็นกี่องค์กรอะไรบ้าง
3 องค์กร คือ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) หน้าที่บริหารงานของตุลาการ
คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)
คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.)
14. องค์กรที่ทำหน้าที่คล้ายคณะรัฐมนตรีคือ องค์กรใด ? คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)
15. คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดกี่คน? 15-17 คน
ประกอบด้วยกรรมการ ทั้งหมด 3 ประเภท คือกรรมการโดยตำแหน่ง กรรมซึ่งได้รับการเลือกตั้งในแต่ละชั้นศาลและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คือ
– ประธานศาลฎีกาเป็นประธานโดยตำแหน่ง = 1 คน
- ข้าราชการตุลาการ(ผู้พิพากษา) ชั้นศาลละ 4 คน โดยได้รับเลือกจากผู้พิพากษา ทั่วประเทศ = 12 คน
-ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ด้านงบประมาณ ด้านพัฒนาองค์กรหรือด้านบริหารจัดการซึ่งประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและกรรมการเลือกจากบุคคลซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นตุลาการ ไม่น้อยกว่า 2 คนแต่ไม่เกิน 4 คน คณะกรรมการชุดนี้อยู่ในวาระละ 2 ปี
16. ใครมีหน้าที่ในการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและผู้พิพากษาสมทบ ? เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
17. ตำแหน่งข้าราชการตุลาการทั้งหมด มีกี่ตำแหน่ง ? 19 ตำแหน่ง
18. ประธานศาลฎีการับเงินเดือนชั้นใด ชั้น 5 (อธิบดีรับเงินเดือนชั้น 4 )
19 คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกอบด้วยคณะกรรมการทั้งหมดกี่คน? 15 คน
- ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการ
- กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ศาลฏีกา 6 คน ศาลอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น เลือกจากตำแหน่งหัวหน้าศาล ฯ 2 คน
- กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ซึ่งวุฒิสภาเป็นผู้เลือก ผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติไม่เป็นผู้เคย ต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ฯ( ข้อสอบทุนไปเกาหลี จะหลอกไปมาระหว่าง ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุก หรือไม่เคยได้รับโทษจำคุก ซึ่งถ้าจำไม่แม่น อาจสับสน)
20. ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาอย่างไร
ในคดีแพ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษา (ตัดสิน)ในราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท
ในคดีอาญาโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือนหรือปรับเกิน 10,000 บาทไม่ได้ (ถ้าเกินต้องให้หัวหน้าศาลลงลายมือชื่อ ตรวจสำนวน ถือเป็นเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้)
21. สำนักงานศาลยุติธรรมสังกัดกระทรวงยุติธรรมใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ เป็นหน่วยงานอิสระมีฐานะเป็นนิติบุคคล
22. การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นหน้าที่ของใคร ? ก.บ.ศ. โดยทำเป็นประกาศ ก.บ.ศ.
23. ใครมีหน้าที่ในการกำหนด จำนวนและระดับของข้าราชการศาลยุติธรรม ? ก.ศ. โดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกา
24. ผู้อำนวยการสำนักงานประจำศาล เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่เป็นกอง และเป็นระดับ 8
25. ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาล เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในฐานะส่วนราชการที่สูงกว่ากอง และเป็นระดับ 9
26. เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการศาลยุติธรรม และไม่เป็นข้าราชการตุลาการ
27. ก.บ.ศ. หรือ ก.ศ. อยู่ในตำแหน่งสูงสุดติดต่อกันได้ทั้งหมดกี่ปี ? 4 ปี (วาระ ละ 2 ปี )
28. คณะกรรมการ ก.ศ. ประกอบด้วยกรรมกการรวมทั้งหมดกี่คน ? 15 คน
29. ประธาน ก.ศ. คือใคร ? รองประธานศาลฎีกาซึ่งมีอาวุโสสูงสุด
30. ใครเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ของ ก.ศ. ? ประธานศาลอุทธรณ์ เลขาธิการ ก.พ. และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม รวม 3 ตำแหน่ง
31. กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งของคณะกรรมการ ก.ศ. คือใคร ? ตุลาการซึ่งได้รับแต่งตั้งจาก ก.ต. ชั้นศาลละ 1 คน
32 . ข้าราชการศาลยุติธรรมตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการศาลยุติธรรมระดับ 6 ขึ้นไป จำนวน 5 คน
33. ผู้ทรงคุณวุฒิของก.ศ. ด้านใดจึงจะมีสิทธิได้รับเลือกเป็นกรรมการ ก.ศ. ? ด้านพัฒนาองค์กร ด้านการบริหารงานบุคคล หรือด้านการบริหารและการจัดการ ( ดูข้อแตกต่างของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.บ.ศ . มีด้านการงบประมาณ ด้านการพัฒนาองค์กรหรือการบริหารและจัดการ)
34. ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในศาลยุติธรรม มี 3 ประเภท ได้แก่
1. ข้าราชการตุลาการ
2. ดะโต๊ะยุติธรรม
3. ข้าราชการศาลยุติธรรม
35. ผู้พิพากษาอาวุโสมีอายุตั้งแต่ 61-70 ปี นั่งพิจารณาคดีได้ในศาลชั้นต้น (จะแตกต่างจากผู้พิพากษาผู้มีอาวุโส)
36. ข้าราชการตุลาการโอนมาเป็นข้าราชการศาลยุติธรรมได้หรือไม่ ? ได้ถ้าเจ้าตัวยินยอมและ ก.ต.เห็นชอบ เช่น ผู้พิพากษาโอนมาเป็น ผอ.ซี 8 ได้ ถ้าเจ้าตัวยินยอมและ ก.ต.เห็นชอบ
37. โทษทางวินัย ของข้าราชการตุลาการมี 5 สถาน คือ
1. ไล่ออก
2. ปลดออก
3. ให้ออก
4. งดเลื่อนตำแหน่งหรืองดเลื่อนเงินเดือน
5. ภาคทัณฑ์
37.1 การรักษาความปลอดภัยตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2517 แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ? 3 ประเภท ได้แก่
1. การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล
2. การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสาร
3. การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่
37.2 ความลับของทางราชการ กำหนดไว้ทั้งหมด 4 ชั้น ได้แก่ (ปัจจุบันมี 3 ชั้น)
1. ลับที่สุด เป็นความลับที่สำคัญที่สุด
2. ลับมาก เป็นความลับที่สำคัญมาก
3. ลับ เป็นความลับที่มีความสำคัญ
4. ปกปิด เป็นความลับซึ่งไม่เปิดเผยให้ผู้ไม่มีหน้าที่ทราบ (ยกเลิกแล้ว)***
ปัจจุบัน มี 3 ชั้นแล้ว ตัดปกติ****
37.3 เครื่องแบบข้าราชการศาลยุติธรรม มีกี่ชนิด ? 2 ชนิด
1 เครื่องแบบปฏิบัติการ
2. เครื่องแบบพิธีการ มี เครื่องแบบปกติขาว เครื่องแบบครึ่งยศ เครื่องแบบเต็มยศ
ผอ.สำนักประธานศาลฏีกา และ ผอ. กองกลาง (ตามระเบียบ ก.บ.ศ.ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเครื่องแบบพิธีการ พ.ศ. 2549 (ปัจจุบัน ผอ.กองกลางน่าจะเป็น ผอ.สำนักบริหารกลางและสวัสดิการ ) เบิกค่าเครื่องแบบปกติขาว เบิกได้ไม่เกินคนละไม่เกิน 2 ชุด ภายในระยะเวลา 4 ปี
ส่วนเครื่องแบบครึ่งยศและเต็มยศ เบิกได้เฉพาะกางเกงและกระโปรงสีดำคนละไม่เกิน 2 ตัว ภายในระยะ 4 ปี
37.4 เครื่องแบบข้าราชตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. เครื่องแบบปฏิบัติราชการ มี 2 ประเภท
1.1 เครื่องสีกากีคอพับ
1.2 เครื่องสีกากีคอแบะ
2. เครื่องแบบพิธีการ มี 5 ประเภท
2.1 เครื่องแบบปกติขาว
2.2 เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง
2.3 เครื่องแบบครึ่งยศ
2.4 เครื่องแบบเต็มยศ
2.5 เครื่องแบบสโมสร
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
38. หนังสือราชการมีทั้งหมดกี่ชนิด ? มี 6 ชนิด ได้แก่
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น
39. คำขึ้นต้นและคำลงท้ายที่จะมีหนังสือไปถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯ ใช้อย่างไร…………………
กราบเรียน .....ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ( นว. เดือน มกราคม 2551) เดิมถ้าคำขึ้นต้นกราบเรียน..... คำลงท้ายจะ ขอแสดงความนับถืออย่างสูง ซึ่งได้เปลี่ยนจากอย่างสูงเป็น อย่างยิ่ง หมดแล้ว )
40. การเก็บรักษาหนังสือแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ
1. เก็บระหว่างปฏิบัติ
2. การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
3. การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
41. อายุการเก็บหนังสือปกติเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี เว้นแต่
- หนังสือที่ได้ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องจะค้นได้จากที่อื่น ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
- หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญ และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี
42. การทำลายหนังสือ ให้กระทำภายใน 60 วัน หลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเสนอหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ
43. หนังสือประทับตรา ใช้ตราประทับแทนการลงชื่อหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าระดับกอง เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา
44. งานอาลักษณ์ มีลักษณะอย่างไร ? งานอาลักษณ์เป็นเอกสารที่มีลักษณะต้องใช้ลายมือและตัวเขียนโดยเฉพาะ ( พิมพ์ไม่ได้)
การรับรองสำเนาเอกสาร จะต้องใช้คำว่า “ สำเนาถูกต้อง ” ระดับ 2 ขึ้นไปลงลายมือชื่อรับรอง พร้อมทั้งลงชื่อตัวบรรจง ตำแหน่ง และวัน เดือน ปี ที่ รับรอง
46. การออกหนังสือรับรอง ไม่ต้องระบุหัวกระดาษว่า หนังสือรับรอง เพราะในข้อความและแบบของหนังสือ ได้แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งแล้ว
47.หนังสือภายนอกคือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อกันระหว่างส่วนราชการ เช่น หนังสือจาก ศาล ถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนต่าง ๆ
48. หนังสือภายใน เป็นหนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวงทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
49 หนังสือสั่งการมี 3 ชนิด ได้แก่ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ
50. หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
51. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการมี 4 ชนิด คือ หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น
52. การยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ ผู้อนุญาตให้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป ส่วน การยืมในส่วนราชการเดียวกัน ผู้ยืมและผู้ให้ยืมต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกขึ้น
53. คณะกรรมการทำลายหนังสืออย่างน้อย 3 คน โดยปกติให้แต่งตั้งจากข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป
54. สำเนามี 2 ประเภท คือ
1. สำเนาคู่ฉบับ จัดทำพร้อมต้นฉบับ ผู้ลงชื่อต้นฉบับ จะลงลายมือชื่อย่อไว้
2. สำเนา จัดทำขึ้นใหม่ เช่น ถ่ายเอกสาร คัด อัดสำเนา ปกติจะต้องมีการรับรอง
55. เงินของทางราชการมี 4 ประเภทใหญ่ คือ
1. เงินงบประมาณรายจ่าย หมายถึง จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่ายหรือให้ก่อหนี้ผูกพันได้ตามความประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย เช่นเงินเดือน ค่าจ้าง เงินประจำตำแหน่ง เงินสวัสดิการต่าง ๆ เช่น เงินค่ารักษาพยาบาล
2. เงินรายได้แผ่นดิน หมายถึงเงินทั้งปวงที่ส่วนราชการจัดเก็บ หรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หรือจดนิติกรรม นิติเหตุ และกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เงินค่าปรับ ค่าธรรมเนียมศาล และเงินกลางค้างจ่ายเกิน 5 ปี
3. เงินนอกงบประมาณ เช่น เงินกลาง เงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลาง เงินทดรองราชการ
4. เงินทดรองราชการ หมายถึง เงินที่กระทรวงการคลังจ่ายและอนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควรเพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่ายตามระเบียบหรือข้อบังคับของกระทรวงการคลัง
ระเบียบการเงิน ฯ 2545
กรณีใบเสร็จรับเงินสูญหาย ให้หัวหน้าส่วนราชการศาลยุติธรรมรายงานให้เลขาธิการทราบ เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้
1.ดำเนินการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนทันที นับแต่วันที่ทราบใบเสร็จรับเงินสูญหาย
2.ติดประกาศยกเลิกใบเสร็จรับเงินดังกล่าวไว้ที่หน่วยงานนั้น ในที่พบเห็นและตรวจสอบได้ง่าย เพื่อป้องกันมิให้นำใบเสร็จดังกล่าวมาใช้อีก
3. ทำหนังสือแจ้งเวียนการยกเลิกใบเสร็จรับเงินที่สูญหายดังกล่าว ให้ศาลยุติธรรมและส่วนราชการต่าง ๆ ทราบ เพื่อป้องกันการนำใบเสร็จรับเงินนั้นมาเป็นหลักฐานในการเบิกเงินจากทางราชการอีก
การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
กรณีศาลยุติธรรมและสำนักงานได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ ในประเภทค่าใช้จ่ายด้านบริหารจัดการครั้งหนึ่งรายหนึ่งเป็นเงินตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้น ถ้าเห็นว่าเบิกเงินไม่ทันสิ้นปี ก็ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ต่อ เลขาธิการฯ
56. คดีมโนสาเร่ คือ
1.คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกิน 300,000 บาท
2.คดีฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 30,000 บาท (ค่าขึ้นศาลในคดีมโนสาเร่ คิดร้อยละ 2 บาท แต่ไม่เกิน 1,000 บาทต่อคดี )ที่แก้ไขใหม่
57. การคิดค่าขึ้นศาล ปกติคิดค่าขึ้นศาลร้อยละ 2.50 ถ้าทุนทรัพย์ไม่ถึง 100 บาท ให้นับเป็น 100 บาท เศษของ 100 ถ้าถึง 50 บาท ให้นับเป็น 100 ถ้าต่ำกว่า 50 บาท ให้ปัดทิ้ง ทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ให้คิดค่าขึ้นศาล 200 บาท คำนวณตามคดีมโนสาเร่ ถ้าเกินคิดร้อยละ 2.50 แต่ค่าขึ้นศาลสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ( ได้แก้ไขใหม่แล้ว อยู่ระหว่างการมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ประมาณเดือน พฤษภาคม 2551 ซึ่งได้แก้ไขพอเป็นสังเขปดังนี้*****
ค่าขึ้นศาลไม่เกิน 50 ล้าน คิดร้อยละ 2 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนที่เกิน 50 ล้าน คิด ร้อยละ 0.1 บาท
คดีไม่มีข้อพิพาท คิดเรื่องละ 200 บาท
คดีมโนสาเร่คิดตามบัญชี 1 คือร้อยละ 2 แต่ไม่ให้เกิน 1,000 บาทต่อคดี
ค่ารับรองเอกสารหรือรับรองคดีถึงที่สุด ฉบับละ 50 บาท
ค่าอ้างเอกสารฉบับละ 50 บาท
ส่วนในเรื่องค่าคำร้อง ค่าคำขอ จะไม่มีอีกแล้ว
ส่วนค่าขึ้นศาลอนาคต 100 บาท ให้เรียกได้ในกรณี คดีฟ้องขอให้ชำระค่าเสียหาย ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ บรรดาที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคต
ส่วนการคำนวณค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ให้เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ร้อยละ 2.50 บาท (แก้ไขใหม่ร้อยละ 2 บาท)
58. ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท คดีที่กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาพิพากษาลงโทษได้ไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท ถ้าเกิน จะต้องให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลลงลายมือชื่อร่วมเป็นองค์คณะหลังจากได้ตรวจสำนวนแล้ว
59. ผู้มีอำนาจในการเสนอความเห็นในการจัดตั้งยุบ เลิก หรือเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลคือ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
60. ระบบธรรมาภิบาลหรือ พ.ร.บ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ประกอบด้วยหลักสำคัญ 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม
2. หลักคุณธรรม
3.หลักความโปร่งใส
4. หลักความมีส่วนร่วม
5. หลักความรับผิดชอบ
6. หลักความคุ้มค่า
61. ระบบคุณธรรม ที่ใช้ในการบริหารงานบุคคล ยึดหลัก 4 ประการ
1. หลักความเสมอภาค
2. หลักความสามารถ
3. หลักความมั่นคง
4. หลักความเป็นกลาง
62. TQM หมายถึง การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร มี 3 ประการ
1.เน้นความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการ
2.ทุกคนมีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีม
3. แก้ไขปัญหาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
63. 5 ส. ประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย (ที่ขี้เกียจ)
64. หลักสมรรถนะทั้งหมด มี 4 ด้าน คือ
1. ด้านความรู้
2.ด้านปฏิสัมพันธ์
3.ด้านคุณลักษณะและจริยธรรม
4. ด้านการคิดวิเคราะห์
64 1 ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา พ.ศ.2549 ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการศาลยุติธรรม หากพ้นจากตำแหน่งหรือได้รับการจัดสรรเครื่องคอมฯใหม่ ให้ส่งคืนทันทีหรืออย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งหรือวันที่ได้รับการจัดสรรใหม่
64.2 แนวโน้ม HR Outsourcing กับอนาคตของนักบริหารทรัพยากรบุคคล มีลักษณะอย่างไร
เนื่องจากปัจจุบันในองค์กรต่าง ๆ ได้เริ่มมุ่งเน้นและทรัพยากรที่ภารกิจหลักของตนเอง งานต่าง ๆที่ไม่จำเป็นต้องบริหารเอง จึงถูกส่งมอบให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาทำแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานสนับสนุนต่าง ๆ ภายในองค์กร เช่น การทำความสะอาด การขนส่ง การจัดทำบัญชี การดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น งานธรการ บุคคล ทั้งหมดให้หน่วยงานภายนอกมาติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์แบบออนไลน์สามารถให้บริการต่าง ๆแก่พนักงานต่าง ๆได้ เช่นการลา การขอเบิกสวัสดิการต่าง ๆ จะไม่มีเจ้าหน้าที่ธุรการมาประจำ แต่จะมีเฉพาะผู้จัดการแผนกบุคคล ซึ่งปัจจุบันที่เห็นเด่นชัด เช่น ธนาคารต่าง ๆ จะลดจำนวนพนักงานลงใช้เครื่องมือสมัยใหม่เข้ามาช่วย
เกี่ยวกับกฎหมายทั่ว ๆ ไป
65. บุคคลใดบ้างที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล ? พนักงานอัยการ ผู้เสียหาย
66. หมายอาญามี่กี่ประเภท ? มี 5 ประเภท
1.หมายจับ
2.หมายค้น
3.หมายขัง
4. หมายจำคุก
5. หมายปล่อย
**** ศาล คือผู้มีอำนาจออกหมายดังกล่าวทั้งหมด*****
67. กรณีใดที่ศาลต้องตั้งทนายความให้กับจำเลย ? ในคดีที่อัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปี ตาม ป.วิอาญา ม.173
68. การยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนด 1 เดือน ( จำไว้ ไม่ใช่ 30 วันนะ) นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง การยื่นฎีกาก็อยู่ในกำหนดเดียวกัน
69. พยานมีกี่ชนิด ? 4 ชนิด คือ พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ผู้ชำนาญการพิเศษ
ในคดีอาญา ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน
70. โทษทางอาญาทั้งหมดมี 5 อย่าง เรียงจากมากไปหาน้อยคือ
1. ประหารชีวิต
2. จำคุก
3. กักขัง
4. ปรับ
5. ริบทรัพย์สิน *** หมายเหตุ เป็นโทษที่เบาที่สุด
71. ผู้ต้องโทษประหารชีวิต ปัจจุบันใช้วิธีการประหารชีวิตแบบใด ? วิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย
72. โทษกักขังแทนค่าปรับ ให้คิดอัตรา 200 บาท ต่อ 1 วัน ห้ามกักขังเกิน 1 ปี เว้นแต่กรณีที่ศาลพิพากษาปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทขึ้นไป จะกักขังแทนค่าปรับเกิน 1 ปี แต่ไม่ให้เกิน 2 ปี
73. ผู้ต้องโทษปรับไม่เกิน 80,000 บาท จะยื่นคำร้องขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับก็ได้
74. วิธีการเพื่อความปลอดภัยในคดีอาญามีกี่วิธี ? 5 วิธี
1. กักกัน
2.ห้ามเข้าเขตกำหนด
3.เรียกประกันทัณฑ์บน
4. คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
5. ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง
75. การรอการลงโทษ กรณีที่ศาลจะรอการลงโทษได้คดีนั้นศาลจะต้องลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 3 ปี และถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นไม่เคยต้องโทษมาก่อน
76. การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้กระทำไม่มีความผิด ** (ไม่ใช่ไม่ต้องรับโทษ คนละอย่างกัน)
77.อายุความในคดีอาญาสูงสุดมีกำหนดกี่ปี ? 20 ปี
78. เด็กตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชน ฯ
เด็ก หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์
เยาวชน หมายความว่าบุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์
79. การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อ ชาย-หญิง มีอายุ 17 ปี บริบูรณ์แล้ว เช่นเดียวกับการสมรส
80. บุตรบุญธรรม บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี จะรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมก็ได้ แต่ผู้นั้นต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
81. พยานดังต่อไปนี้ไม่ต้องไปศาล
1. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชินี พระยุพราช หรือผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไม่ว่ากรณีใด ๆ
2. พระภิกษุสามเณรในพุทธศาสนาไม่ว่ากรณีใด (นักพรต นักบวช ชี พราหมณ์ ไม่ได้รับการยกเว้นนะ )
3. บุคคลใด ๆ ที่ไม่สามารถไปศาลได้ เพราะเจ็บป่วยหรือมีข้อแก้ตัวอันควร
82. พยานต่อไปนี้ไม่ต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนา ( ป.วิแพ่ง ม.112 )
1.พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
2.บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือหย่อนความรู้รับผิดชอบ
3. พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา
4. บุคคลซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องสาบาน
หมายเหตุ พระภิกษุสามเณรในพุทธศาสนา แม้มาเป็นพยานศาล จะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคำถามใด ๆ ก็ได้**** คนอื่นไม่ได้รับการยกเว้น จำ!!!
83 . โดยปกติการรับรองเอกสาร ค่ารับรองเอกสารฉบับละ 20 บาท มี ค่ารับรองบัญชีค่าฤชาธรรมเนียม ฉบับละ 15 บาท จำ !ด้วย**** (แก้ไขใหม่ แต่จะมีผลบังคับใช้วันที่ 11 พ.ค.51 ค่ารับรองคิดฉบับละ 50 บาท ส่วนค่าคำขอ หรือค่าคำร้องต่าง ๆ จะไม่มี )
83.1 ผู้ขัดขืนไม่ไปศาลตามหมายเรียก ตาม ป.อ. ม 170 ต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ส่วนผู้ที่เบิกความเท็จ มีความผิดตาม ป.อาญา ม. 177หรือ 181 ต้องระวางโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท
84. การขอออกหนังสือคดีถึงที่สุดต้องชำระค่าธรรมเนียม ค่าคำขอ 10 บาทค่าออกหนังสือคดีถึงที่สุด ฉบับละ 15 บาท (แก้ไขใหม่ แต่จะมีผลบังคับใช้วันที่ 12 พ.ค.51 ค่าหนังสือคดีถึงที่สุดฉบับละ 50 บาท ส่วนค่าคำขอ หรือค่าคำร้องต่าง ๆ จะไม่มี )
- ส่วนค่าคำร้องขอสืบพยานไว้ล่วงหน้าตาม ม ป.วิ แพ่ง 101 ในกรณีที่คดียังไม่อยู่ในศาล คิดค่าธรรมเนียม 100 บาท ซึ่งเท่ากับค่าขึ้นศาลอนาคต *** (เพิ่มเติม)
84.1 ค่าธรรมเนียมในการส่งสำนวนไปสืบพยานประเด็นที่ศาลอื่นในคดีแพ่ง (ค่าส่งประเด็น) เท่าไหร่ ? 40 บาท
84.2. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2550 กำหนดพื้นที่รักษาความปลอดภัยไว้กี่ อย่าง ? 2 อย่าง คือ พื้นที่ควบคุม และพื้นที่หวงห้าม ซึ่งพื้นที่หวงห้ามยังแบ่งออกเป็น เขตหวงห้ามเฉพาะ และเขตหวงห้ามเด็ดขาด ****
พื้นที่ควบคุมหมายถึง พื้นที่ที่อยู่ติดต่อหรืออยู่โดยรอบ “ พื้นที่หวงห้าม ”
เขตหวงห้ามเฉพาะ เช่น ห้องพิจารณา ห้องธุรการ ที่จอดรถผู้พิพากษา ที่จอดรถราชทัณฑ์
เขตหวงห้ามเด็ดขาด เช่น ห้องผู้พิพากษา ห้องเก็บสำนวน อาคารที่พักประจำตำแหน่ง ห้องปฏิบัติงานของ รปภ. หมายเหตุ ต้องจำไว้นะ ว่า สถานที่ใด เป็นเขตหวงห้ามอะไร.........
เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
85. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 มีผลบังคับใช้เมื่อใด ? วันที่ 24 สิงหาคม 2550 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 มีทั้งหมด จำนวน 309 มาตรา
86. รัฐสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา
87. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด จำนวน 480 คน แบบแบ่งเขต จำนวน 400 คน แบบสัดส่วน จำนวน 80 คน
88. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
89. วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิก จำนวนรวม 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้น หักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
90. คณะรัฐมนตรีประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน โดยพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้ง
นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้
91. การจัดตั้งศาลจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ
92. ที วี สาธารณะ แห่งแรกของประเทศไทยคือ T P B S ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551
เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ปี 2551
ข้อที่ 1 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้ **** น่าสนใจเพราะเป็น พ.ร.บ. ที่แก้ไขและบังคับใช้ใหม่ ******
1. ประกาศในราชกิจจา ฯ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 และ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2551
2. ข้าราชการพลเรือนหมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.นี้ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน
3. ข้าราชการฝ่ายพลเรือนหมายความว่า ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการอื่นในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน ตรมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น
4. มาตรา 6 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีทั้งหมด จำนวน 10-12 คน
4.1. นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน = 1 คน
4.2 ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง = 3 คน
4.3. กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรกเกล้า แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ด้าน ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านบริหารและจัดการ และด้านกฎหมาย จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน7 คน = 5-7
4.4 . เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการ และเลขานุการ = 1 คน
5. กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี
6. เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกำหนด 30 วัน เว้นแต่วาระกรรมการเหลือไม่ถึง 180 วัน จะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้
7. ก.พ. มีอำนาจดังต่อไปนี้ มีทั้งหมด จำนวน 13 ข้อ
7.1 เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคลากรภาครัฐด้านมาตรฐานค่าตอบแทน การพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมตลอดทั้งการวางแผนกำลังคนและด้านอื่น ๆ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
7.2 รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงอัตราเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง สวัสดิการอื่น ๆ
7.3 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหาร และพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน เพื่อส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
7.4 ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ
7.5 ออกกฎ ก.พ.และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
7.6 ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้ พ.ร.บ.นี้ รวมทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติกรณีที่เป็นปัญหา มติของ ก.พ. ตามข้อนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
7.7 กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนในกระทรวงและกรม เพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานการบริหารทรัพยากรบุคคล
7.8 กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวง
7.9 ออกข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและควบคุมดูแลและการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ
7.10 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ฯ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุแต่งตั้ง
7.11 กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
7.12 พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับ วัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมการเกษียณอายุข้าราชการพลเรือน
7.13 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.นี้หรือกฎหมายอื่น
8. สำนักงาน ก.พ. มีเลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของ ก.พ. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีอำนาจหน้าที่ทั้งหมด จำนวน 14 ข้อ จะต่างกับ ก.พ. นะ
9. อ.ก.พ.กระทรวง ประกอบด้วยกรรมการไม่เกิน 11 คน
รัฐมนตรี เป็นประธาน ปลัดกระทรวงเป็นรองประธาน ผู้แทน ก.พ. จำนวน 1 คน เป็นอนุกรรมกาโดยตำแหน่ง = 3 คน
และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก
1. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและจัดการ ด้านกฎหมาย จำนวน ไม่เกิน 3 คน
2. ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ในกระทรวงนั้น จำนวนไม่เกิน 5 คน
10. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ( ก.พ.ค. ) ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง คุณสมบัติ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี และมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ได้เพียงวาระเดียว
11. ข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ฯ ปี 2551 มี 2 ประเภท คือ*****
1.ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4
2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับการบรรจุแต่งตั้งในพระองค์พระมหากษัตริย์ ข้าราชการพลเรือนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
12. ผู้ที่ถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามเมื่อจะกลับเข้ารับราชการจะต้อง ออกจากงานหรือราชการไปเกิน 2 ปี แล้ว ส่วนกรณี ผู้ถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตาม พ.ร.บ.นี้ จะต้องออกจากราชการไปเกิน 3 ปี แล้ว จึงจะมีสิทธิ อาจได้รับการยกเว้นให้เข้ารับราชการได้
13.ส่วนตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี 4 ประเภท*****
1. ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
2. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม ฯ
3. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามที่ ก.พ.กำหนด
4. ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ตามที่ ก.พ.กำหนด
14. ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังต่อไปนี้
1. ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับดังนี้ มี 2 ระดับ
ก) ระดับต้น (รองอธิบดี/เทียบเท่า)
ข) ระดับสูง (ปลัดกระทรวง / รองปลัดกระทรวง/อธิบดีหรือเทียบเท่า)
2. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับดังต่อไปนี้ มี 2 ระดับ
ก) ระดับต้น (เทียบ ระดับ 8 บก)
ข) ระดับสูง (เทียบระดับ 9 บส)
3. ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับดังต่อไปนี้ มี 5 ระดับ
ก) ระดับปฏิบัติการ (เทียบ ระดับ 3-5)
ข) ระดับชำนาญการ (เทียบระดับ 6-7)
ค)ระดับชำนาญการพิเศษ (เทียบระดับ 8)
ง)ระดับเชี่ยวชาญ (เทียบระดับ 9 )
จ)ระดับทรงคุณวุฒิ (เทียบระดับ 10-11)
4. ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับดังต่อไปนี้ มี 4 ระดับ
ก)ระดับปฏิบัติงาน (เทียบ ระดับ 1-4)
ข) ระดับชำนาญงาน (เทียบระดับ 5-6)
ค) ระดับอาวุโส (เทียบระดับ 7)
ง)ระดับทักษะพิเศษ (เทียบระดับ 8 ขึ้นไป)
หมายเหตุ เดิม ตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ปี 2535 แบ่งข้าราชการพลเรือนออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ 2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ 3. ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ และ เดิมตำแหน่งข้าราชการพลเรือน แบ่งออกเป็น 3 ตำแหน่ง คือ 1. ตำแหน่งประเภททั่วไป 2.ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ 3.ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง *****
มาตรา 51 คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนให้เหมาะสมตามความจำเป็นได้ แต่ต้องไม่เกิน ร้อยละ 10 โดยกระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 57 ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
1. ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาและขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจาก ครม.แล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดสั่งบรรจุ และให้นายกนำกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง
2. ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการ ฯ ให้ปลัดกระทรวงเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อนำเสนอ ครม. เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม เป็นผู้สั่งบรรจุ ให้นายกเสนอโปรดเกล้า ฯแต่งตั้งต่อไป
3. ประเภทบริหารระดับต้น ให้ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
4. ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ และประเภททั่วไป ในสำนักงานรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้ง
5. ประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
6. ประเภทอำนวยการระดับต้น ให้อธิบดีสั่งบรรจุและแต่งตั้ง เมื่อได้รับความเห็นขอบจากปลัดกระทรวง
7. ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เสนอ ครม.เพื่อพิจารณาอนุมัติ ให้รัฐมนตรีสั่งบรรจุ นายกนำทูลโปรดเกล้า ฯแต่งตั้ง
8. ประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
9. ประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้อธิบดีสั่งบรรจุ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง
10. ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ชำนาญงานและอาวุโส ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย เป็นผู้บรรจุและแต่งตั้ง
มาตรา 59 ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ถ้าผลการประเมินไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งบรรจุ ถ้าผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐาน ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไปได้ แม้ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม
มาตรา 78 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้ โดยมุ่งประสงค์ให้เป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ มี จำนวน 5 ข้อ
1. การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ
3. การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
4. การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
5. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
ถ้าข้าราชการพลเรือนไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณข้าราชการอันมิใช่การกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน (ผิดจรรยาบรรณให้ตักเตือน)
มาตรา 88 โทษทางวินัย มี 5 สถานคือ
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดเงินเดือน
4. ปลดออก
5. ไล่ออก
มาตรา 114 การอุทธรณ์
ผู้ใดถูกสั่งลงโทษ ตาม พรบ. นี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง
มาตรา 116 ว.2 ในกรณีผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายใน 90 วันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบ
ม.122 ข้าราชการพลเรือนร้องทุกข์ได้ในกรณีใดบ้าง ? ข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด 9 ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้
1. เป็นการปรับปรุงระบบตำแหน่งและประเภทตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมกับลักษณะงาน เพื่อจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
2. โครงสร้างเดิม จำแนกออกเป็น 11 ระดับ โดยมีบัญชีเงินเดือนเดียว
3. โครงสร้างใหม่
3.1 จำแนกกลุ่มตำแหน่ง เป็น 4 ประเภท อิสระจากกัน
3.2 แต่ละกลุ่มมี 2-5 ระดับ แตกต่างกันตามค่างาน และโครงสร้างการทำงานในองค์กร
3.3 มีบัญชีเงินเดือนพื้นฐานแยกแต่ละกลุ่ม
3.4 กำหนดชื่อเรียกระดับตำแหน่งแทนตัวเลข เช่น กลุ่มทั่วไประดับต้น ฯ
-เงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ประเภททั่วไป มีได้หรือไม่ ? มีในตำแหน่งทักษะพิเศษ ตำแหน่งเดียว เป็นเงิน 9,900 บาท
มาตรา 128 การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ. ให้กระทำให้แล้วเสร็จ ภายใน 120 วันนับแต่วันที่ พรบ. นี้มีผลใช้บังคับ***
มาตรา 129 การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ.ค. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ พรบ.นี้ใช้บังคับ***
เพิ่มเติมทั่ว ๆ ไป (การเงิน)
1. คดีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มีอัตราโทษ เท่าใด จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน หกพันบาท
2. ตาม พรบ.ดังกล่าวหาก ฟ้องไม่ทันภายในกำหนด 48 ชม. จะขอผัดฟ้องได้กี่คราว ๆ ละกี่วัน คราวละไม่เกิน 6 วันแต่ไม่เกิน 3 คราว
3. ค่าป่วยการล่ามหรือล่ามภาษามือ จ่ายในอัตราเท่าใด ตามที่ศาลกำหนด แต่ไม่ต่ำกว่าชั่วโมงละ 300 บาท และไม่เกินชั่วโมงละ 500 บาท
4. ค่าตอบแทนหรือค่าป่วยการของผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญ ตาม ป.วิ อาญา มาตรา 150 มีอัตราเท่าใด ตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ต้องไม่ต่ำกว่า ชั่วโมงละ 500 บาทและไม่เกินชั่วโมงละ 1,000 บาท
5. แนวทางในการจ่ายค่าตอบแทนพยาน กรณีศาลที่ไม่มีเงินทดรองราชการ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการจ่ายเงิน ทำสัญญายืมเงิน โดยให้ยืมเงินงบประมาณจากงานช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิของคู่ความตามกฎหมาย โดยยืมได้ครั้งละไม่เกิน 20,000 บาท และให้ส่งใช้สัญญายืมเงินทุก 15 วัน
6. เงินรางวัลทนายความที่ศาลศาลตั้งให้ให้แก่ผู้ต้องหามีอัตราต่ำสุดและสูงสุดเท่าใด ต่ำสุด 4,000 บาท สูงสุด 50,000 บาท
7. เงินรางวัลที่ศาลจ่ายให้แก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้เสียหาย ตาม ป.วิอาญา ม.44/2 ว.2 มีอัตราเท่าใด ตามที่ศาลเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
8. ค่าตอบแทนและค่าพาหนะสำหรับนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ ให้เบิกจ่ายเมื่อปฏิบัติหน้าที่ ในอัตราคนละครั้งละ 500 บาท โดยให้เบิกจ่ายไม่เกินคนละ 1 ครั้งต่อวัน
9. ค่าป่วยการที่ปรึกษากฎหมายที่ศาลแต่งตั้งให้เด็กหรือเยาวชน มีอัตราต่ำสุดสูงสุดเท่าใด ต่ำสุด 600 บาท สูงสุด 20,000 บาท
10. ผู้พิพากษาสมทบ ศาลคดีเด็กและเยาวชน ให้ได้รับค่าป่วยการสำหรับวันที่ปฏิบัติการ วันละ 500 บาท เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงาน
11.ค่าป่วยการสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ ในศาลล้มละลาย ให้คิดเป็นรายชั่วโมง ๆ ละไม่ตำกว่า 500 บาท และไม่เกินชั่วโมงละ 1,000 บาท (ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ อัตราเดี่ยวกัน)
12. ผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญา ฯ ได้รับค่าป่วยการสำหรับวันที่ปฏิบัติวันละ 1,000 บาท
13. วันที่ 21 เมษายน 2551 เป็นครบรอบศาลยุติธรรม 126 ปี
14. ห้ามมิให้ออกหมายเรียกพยานดังต่อไปนี้
1. พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
2. พระภิกษุสามเณรในพุทธศาสนาไม่ว่ากรณีใด
3.ผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันตามกฎหมาย
กรณี ตาม 3 ให้ส่งคำบอกกล่าวไปยังสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อดำเนินการต่อไป
15. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 แบ่งศาลออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. ศาลรัฐธรรมนูญ
2. ศาลยุติธรรม
3. ศาลปกครอง
4. ศาลทหาร ** หมายเหตุ อย่าไปคิดว่าเป็นการแบ่งชั้นศาลนะ.. เพราะชั้นศาลแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ
1. ศาลชั้นต้นและศาลพิเศษและศาลชำนัญพิเศษ
2. ศาลอุทธรณ์
3. ศาลฎีกา
16. คดีที่จะเข้าลักษณะความผิด ตาม พรบ.การทำความรุนแรงในครอบครัว ฯ ต้องมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน หกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
17. คดีฟื้นฟู ฯ จะเข้าหลักเกณฑ์ได้ ถ้าเป็นเฮโรอีน มีน้ำหนักไม่เกิน 100 มิลลิกรัม
เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) ไม่เกิน 5 หน่วยการใช้ หรือไม่เกิน 500 มิลลิกรัม
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 (กัญชา) มีน้ำหนักไม่เกิน 5,000 มิลลิกรัม
เอกสารประกอบการเตรียมสอบ เปลี่ยนสายงาน เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม 3 และนิติกร 3
วิชา การย่อความ เรียงความ งานสารบรรณ
เรียบเรียงโดย
ส.ต.ท.เหรียญทอง เพ็งพา เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม 7
ศาลจังหวัดมุกดาหารแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อนุเคราะห์ให้กับน้องๆ ที่จะเตรียมตัวสอบ
การย่อความ
จุดประสงค์
สามารถย่อความจากเรื่องที่กำหนดให้ได้ และที่สำคัญคือให้สอบได้ด้วย !!!!
สรุปสาระสำคัญ
1. การย่อความ คือการนำเรื่องราวต่าง ๆ มาเขียนใหม่ด้วยภาษาของผู้ย่อเอง เมื่อเขียนแล้วเนื้อความเดิมจะสั้นลง แต่ยังมีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ การย่อนี้ไม่มีขอบเขตว่าย่อลงไปเท่าใดจึงเหมาะสมเพราะบางเรื่องมีพลความมากก็ย่อลงไปได้มาก แต่บางเรื่องมีใจความน้อย ก็อาจจะย่อได้ 1 ใน 2 หรือ 1 ใน 3 หรือ 1ใน 4 ของเรื่องเดิมตามแต่ผู้ย่อจะเห็นสมควร
1.1 ใจความ คือข้อความสำคัญในบทพูดและบทเขียน
1.2 พลความคือ ทำหน้าที่ขยายความให้ชัดเขนยิ่งขึ้น ถ้าตัดออกผู้ฟังหรือผู้อ่านก็ยังเข้าใจเรื่องนั้นได้
1.3 วิธีหาใจความ คือพิจารณาบทพูดหรือบทเขียนว่า ถ้าตัดความใดออกแล้วความตอนต้นเรื่องจะเสียหมดข้อความนั้นคือใจความ
ประโยชน์ของการย่อความ
1.ช่วยให้การอ่านการฟังได้ผลดียิ่งขึ้น ช่วยให้เข้าใจและจดจำข้อความสำคัญที่ฟังหรือได้อ่านได้สะดวกรวดเร็ว
2. ช่วยในการจดบันทึก เมื่อได้ฟังหรือศึกษาวิชาใดก็ตาม รู้จักจดข้อความที่สำคัญลงสมุดได้ทันเวลาและได้ใจความ
3. ช่วยในการเขียนตอบแบบฝึกหัดหรือข้อสอบ กล่าวคือผู้ตอบจะต้องย่อความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในรูปของข้อเขียนสั้น ๆแต่มีใจความครบถ้วน
4. ช่วยเตือนความทรงจำ เช่นอ่านหนังสือแล้วทำบทย่อเป็นตอน ๆ หรือเป็นระยะ ๆ ควรทำติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ไม่ต้องอ่านหนังสือซ้ำใหม่ตลอดเล่ม
5. ช่วยประหยัดเงินในการเขียนข้อความในโทรเลขได้ ถ้ารู้จักย่อความจะเขียนข้อความได้สั้น ๆ เนื้อความกะทัดรัดชัดเจน ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราว
จุดประสงค์ที่สำคัญของการย่อความ
1. เพื่อให้รู้จักจับใจความสำคัญของเรื่อง ว่าเรื่องที่ฟังหรืออ่านเป็นเรื่องของใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างใด
2. เพื่อนำใจความสำคัญไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่นหรือเพื่อสรุปเนื้อเรื่องที่ได้ฟังได้อ่านนั้นเอาไปใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป
หลักการย่อความ
1. ควรใช้แบบขึ้นต้นย่อความให้ถูกต้องกับชนิดหรือประเภทของข้อความนั้น โดยเขียนนำเป็นย่อหน้าแรกแล้วเขียนข้อความที่ย่อในย่อหน้าต่อไป
2. ถ้าเรื่องเดิมไม่มีชื่อเรื่องจะต้องตั้งชื่อเรื่องเอง **** จำด้วย
3. ถ้าเรื่องที่ย่อเป็นร้อยกรอง ต้องย่อเป็นร้อยแก้ว
4. ถ้าเรื่องที่ย่อเป็นรูปแบบการเขียน เช่น จดหมาย แถลงการณ์ เวลาย่อแล้ว ไม่ต้องมีรูปแบบนั้น ๆปรากฏอยู่และให้ย่อเป็นความเรียงธรรมดา
5. อ่านเรื่องที่จะย่อให้ตลอดและละเอียดพร้อมจับใจความให้ได้ว่าอ่านเรื่องอะไร ใครทำอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ ได้ผลอย่างไร และมีใจความสำคัญอย่างไร
6. แยกข้อความออกเป็นตอน ๆ แล้วจับใจความสำคัญของตอนนั้น ให้ได้ว่ากล่าวถึงเรื่องอะไร
7. นำใจความสำคัญของแต่ละตอนมาเรียบเรียงใหม่ ให้เป็นย่อหน้าเดียว โดยยึดหลักดังนี้
7.1 ใช้สำนวนโวหารของผู้ย่อเอง หลีกเลี่ยงการใช้สำนวนของเรื่องเดิม
7.2 เปลี่ยนสรรพนามบุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 เป็นบุรุษที่ 3 หรือใช้ชื่อตำแหน่ง
7.3 ไม่ใช้อักษรย่อในข้อความที่ย่อ นอกจากอักษรนั้น ๆ จะนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น พ.ศ. ก.ม. เป็นต้น
7.4 ใช้ภาษาง่าย ๆ ธรรมดาที่เข้าใจกันทั่วไป ไม่ใช้ศัพท์ยาก หรือศัพท์สะแลง
7.5 ถ้าข้อความเดิมใช้ราชาศัพท์ ก็ให้คงราชาศัพท์นั้น ๆ ไว้
7.6 ไม่ใช้เครื่องหมายต่าง ๆในข้อความที่ย่อ เช่นเครื่องหมายอัญประกาศ เครื่องหมายสัญประกาศ นขลิขิต เป็นต้น ( ขีดเส้นใต้หรือจุด)
7.7 คำพูดโต้ตอบของบุคคลในเรื่องให้ย่อรวมกัน ไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ และไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ทั้งสิ้น
7.8 เมื่อเรียบเรียงข้อความเสร็จแล้วควรอ่านทบทวนดูว่า เนื้อความที่ย่อนั้นติดต่อสัมพันธ์กันดีหรือไม่ เก็บใจความสำคัญครบหรือยัง เมื่อตรวจแก้ไขดีแล้วจึงคัดลอกให้เรียบร้อย
ตัวอย่างแบบการขึ้นคำนำย่อความ
การขึ้นคำนำย่อความ จะต้องบอกรายละเอียดเกี่ยวกับข้อความนั้นว่าเป็นประเภทใด เรื่องอะไร ใครเขียน หรือเกี่ยวกับผู้ใด ในโอกาสใด เมื่อไร เช่น
นิทานเรื่อง.................................ของ...................................ความว่า....................
ข่าวเรื่อง....................................จาก....................................ความว่า...................
จดหมายประเภท......................ของ.....................ถึง............ลงวันที่..................ความว่า..........................
ประกาศของ..................เรื่อง...............แด่...........ในโอกาส..........เมื่อ..............ความว่า......................
ปาฐกถา...................................แก่.......................ที่...........................ความว่า...........................
ตัวอย่างแบบทดสอบ
การเรียงความ
เรียงความหมายถึง การนำถ้อยคำมาผูกประโยคแล้วเรียบเรียงเป็นเรื่องราว เพื่อแสดงความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียน ให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องราวที่เขียน ด้วยสำนวนภาษาที่สละสลวยน่าอ่าน
หลักการเขียนเรียงความ
1. เขียนชื่อเรื่องไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
2. ลายมือชื่อเขียนให้ชัดเจน อ่านง่าย สะอาด เขียนให้ถูกต้อง
3. ก่อนลงมือเขียนต้องวางโครงเรื่องเสียก่อน เพื่อลำดับเรื่องราวให้เป็นไปตามลำดับก่อนหลัง ไม่สับสนวกวน
4. เรียงความต้องมีคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป (คำลงท้าย)
5. การย่อหน้า ไม่ควรเขียนเรียงความย่อหน้าเดียว อย่างน้อยจะต้องย่อหน้าคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป การย่อหน้าแต่ละครั้งจะต้องตรงกัน
6. เนื้อเรื่องและชื่อเรื่องต้องมีความสัมพันธ์กัน จึงจะเรียกว่าเขียนได้ตรงตามจุดประสงค์ มีเอกภาพ สัมพันธภาพ
ส่วนประกอบของการเรียงความ
1. คำนำ คือส่วนที่นำไปสู่เนื้อเรื่อง
2. เนื้อเรื่อง ส่วนสำคัญให้รายละเอียดของเรื่อง
3. สรุป เป็นตอนที่รวบรวมความคิดเห็นของผู้เขียนที่กล่าวมาทั้งหมด ให้จบลงในตอนท้ายเรื่อง
การวางโครงเรื่อง
การวางโครงเรื่องหมายถึง การวางแผนว่าจะเขียนอะไรก่อนหลัง ตัวอย่าง การเขียนเรียงความเรื่องการประหยัด
คำนำ - ความสำคัญของการประหยัด
เนื้อเรื่อง – ความหมายของการประหยัด การไม่ประหยัดได้รับผลอย่างไร การตระหนี่ต่างจากการประหยัดอย่างไร วิธีการประหยัด
สรุป – การประหยัดเป็นการสร้างความมั่นคง....
วิธีการเขียนคำนำ มีหลายแบบดังนี้
1. นำด้วยข้อความที่ประหลาดใจ เช่น ถึงแม้จะมีคนค้นคว้ามานับพันปี มนุษย์ก็ยังไม่สามารถค้นพบวิธีรักษาโรคหวัดให้หายขาดได้
2. นำด้วยข้อความที่เร้าด้วยความสนใจ เช่น คุณลักษณะที่สำคัญของผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตคืออะไร....
3. นำด้วยข้อความที่ชวนให้สงสัยอยากติดตาม เช่น จนกระทั่งเที่ยงคืนแนวรบสงบ
4. นำเพื่อมุ่งสู่เรื่อง เช่น ในช่วง 20 ปีแรกของมนุษย์ไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับการศึกษา
5. นำด้วยระบุเวลาและสถานที่ เช่น ในเดือนตุลาคมที่ลานพระรูปทรงม้า..........
ข้อแนะนำในการเขียนคำนำ
1. ควรเขียนคำนำที่มีใจความพอเหมาะอย่าเขียนกว้าง มุ่งตรงต่อจุดมุ่งหมายของเรื่อง
2. ควรเสนอแนวความคิดใหม่ ๆ จึงจะทำให้ผู้อ่านสนใจ อย่าเขียนสิ่งที่รู้กันดีอยู่แล้ว
3. อย่าเขียนคำนำออกนอกเรื่อง
วิธีเขียนเนื้อเรื่อง
เนื้อเรื่องต้องมีสาระมีเหตุผล เรียบเรียงเป็นระเบียบ เนื้อหามาจากความทรงจำ ประสบการณ์ การสังเกต การอ่านหนังสือ เลือกสรรเนื้อหาที่สำคัญ และน่าสนใจเขียนลงในเรียงความ ข้อเสนอแนะดังนี้
1. การลำดับเนื้อหา จัดให้เหมาะสม ในการเล่าเรื่อง จัดเวลาก่อนหลัง
2. การยกตัวอย่างประกอบจะต้องมีเหตุผล มีหลักฐาน
3. การเขียนเปรียบเทียบ ต้องระบุข้อความที่คล้ายคลึงกันหรือเหมือนกัน
วิธีเขียนสรุป
บทสรุปมีความสำคัญเท่ากับคำนำ ผู้เขียนควรสรุปให้ดีคือให้ข้อคิดเห็น ความรู้ และความประทับใจแก่ผู้อ่าน มีวิธีเขียนสรุปหลายแบบดังนี้
1. ลงท้ายด้วยข้อความที่แสดงสาระสำคัญของเรื่อง เป็นการย่อเนื้อเรื่องที่สำคัญให้ผู้อ่านทราบ
2. ลงท้ายโดยเน้นให้เห็นตอนสำคัญของเนื้อเรื่องเพียงบางตอน
3. ลงท้ายตอนที่สำคัญที่สุดของเนื้อเรื่อง
4. ลงท้ายด้วยการฝากข้อคิดเห็นหรือความเห็นของผู้เขียน
5. ลงท้ายด้วยคำตอบ ถ้าตั้งคำถามไว้ในคำนำ
ตัวอย่างข้อสอบเรียงความ
??????????????????????????????????
“ อะไรในโลกนี้ ไม่มียากไม่มีง่าย ผู้ที่ขาดความตั้งใจจริง อะไรก็ยากไปเสียทั้งหมด”
“ ในการทำสิ่งใดก็ตาม หากวางชีวิตเป็นเดิมพัน ไม่มีครั้งใดที่ไม่สำเร็จ ”
“ ความยากลำบาก ฝึกให้ใจเข้มแข็ง เหมือนกับการทำงานทำให้ร่างกายแข็งแรง”
ขอให้โชคดีนะครับ !
6/17/2553
คู่มือเตรียมสอบเลื่อนระดับหรือย้ายเปลี่ยนสายงาน สำหรับ ข้าราชการในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม
23:00
1 comment
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
讓人流連忘返,真期待新文章發表!.................................................................
ตอบลบ