9/10/2560

สำเนาคำพิพากษาของศาล เก็บไว้กี่ปีครับ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ไปที่ศาลเดิมที่พิจารณาพิพากษาคดีของคุณ
ไปที่งานเก็บแดง บอกหมายเลขแดงไป (หรือถ้าไม่มีเลขแดง ก็บอกเลขดำไป)
จากนั้นก็ขอคัดถ่ายเอกสารคำพิพากษาของศาลในคดี โดยจะให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาหรือไม่ก็ได้ (ค่ารับรอง 50 บาท)

ถ้าอยากจะยึดทรัพย์ลูกหนี้ ต้องดูว่าได้ทำทั้งสองอย่างในคดีแล้วหรือยัง คือ
1 ขอออกคำบังคับ
2 ขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี

ถ้าหากเป็นการพิพากษาตามยอม หมายถึง ทำสัญญาประนีประนอมต่อกันในศาล แล้วพิพากษาตามนั้น
ก็จะข้ามไปขั้นตอนที่ 2 ได้เลย

แต่ถ้าเป็นการพิพากษาตามปกติ คุณต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 และ 2 ก่อน
จากนั้นก็ไปดำเนินการที่สำนักงานบังคับคดีในเขตพื้นที่ ที่ศาลนั้นตั้งอยู่
แล้วก็นำ จพง.บังคับคดี ยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป
หากเป็นการยึดทรัพย์สิน เช่น บ้าน หรือ ที่ดิน
ต้องไปถ่ายรูปทรัพย์ที่จะยึดมาด้วย พร้อมทำแผนที่ที่ตั้งของทรัพย์นั้น
จากนั้นไปคัดทะเบียนราษฎร์ เพื่อประกอบการยึดทรัพย์ต่อไป
อ้อ..ถ้าเจ้าหนี้ยึดเอง ก็ทำเองได้เลย แต่ถ้าให้คนอื่นทำ เช่น ทนายความทำให้ ก็ต้องทำหนังสือมอบอำนาจติดไปด้วย

มีเวลา 10 ปีครับ




ถึงแม้ทำลายสำนวนไป ศาลก็จะมีกากสำนวนอยู่

และถ้าไม่เกิน 10 ปี มีอยู่ครบอยู่แล้ว เป็นโจทก์เองไปขอตรวจสำนวนและขอคัดถ่ายได้




ต่อให้ขอคัดไว้แล้วไม่ได้ไปรับ แค่ ๖ เดือน หรือนานสุดก็ ๑ ปี โทรไปตามทนายหรือใครที่มาขอคัด
แล้วไม่มีสัญญาณตอบรับ เจ้าหน้าที่ก็ทำลายแล้วค่ะ
ถ้าต้องการก็ค่อยมาขอใหม่ได้ ถึงจะเกิน ๑๐ ปีและปลดทำลายสำนวนความไปแล้วก็ตาม
คำพิพากษายังคงอยู่ เก็บรักษาไว้ตลอดไปค่ะ จนกว่าจะมีระเบียบให้จัดเก็บคำพิพากษาในรูปแบบอื่น
มาขอคัดถ่าย แต่ถ้านานกว่า ๕ ปีแล้วถึงจะยังไม่ปลดทำลาย เจ้าหน้าที่ก็คงหาสำนวนลำบากแล้ว สำนวนจะเยอะ
แทนที่จะได้รับสำเนาคำพิพากษาไว้นั้นที่ขอ อาจจะต้องนัดรับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น