เมื่อวันก่อนได้มีโอกาสไปฟัง VMWare Bootcamp ที่ตึกอื้อ จื่อ เหลียงครับ โดยพี่ๆจาก VMWare Thailand และมีดิสตริบิวเตอร์ ECS (Value) เป็นคนจัดงาน ซึ่งพี่ๆแต่ละคน Present ได้ขั้นเทพมากๆครับ วันนี้เลยอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับ VMWare ดูครับ

VMWare คืออะไร
VMWare ก็คือชื่อผู้ผลิตสินค้าที่ทำโปรแกรมที่สามารถทำ Virtualization ได้ครับ Wiki เชื่อว่าผู้อ่านคงรู้จักว่า Virtualization คืออะไรนะครับ ขอข้ามเลยครับ


อาจแบ่งสินค้าของ VMWare ได้เป็น 3 กลุ่มคือ
1. กลุ่มของ Desktop กลุุ่มนี้เชื่อว่าหลายคนรู้จักดีครับ เช่นพวก VMWare Workstation, VMWare Fushion เป็นโปรแกรม Virtualization ที่เราลงบน OS ของเราอีกที นอกจากพวกนี้แล้วยังมีพวก Thin Client อีก แต่วันนี้เราจะไม่พูดถึงกลุ่มนี้ครับ
2. กลุ่มของ Server อันนี้มีชื่อว่า VMWare vSphere ซึ่งใช้งานกันในระดับ Enterprise เป็นการลงบนเครื่องเปล่าๆ (เครื่อง Server) คือมองว่า VMWare เป็น OS ของเครื่อง Server นั้นๆเลย มี 2 ชื่อคือ ESX และ ESXi (อันนี้ฟรี) ตอนเขียนเป็นรุ่น vSphere 4.1 แล้วครับ
3. กลุ่มของ Management มีชื่อว่า vCenter เป็นตัวกลาง คอยดูแลจัดการพวก ESX, ESXi หลายๆตัว มีความสามารถมากมาย ทำงานร่วมกับกลุ่ม Desktop ด้วย





ความต่างระหว่าง ESX กับ ESXi

•ESX เสียเงินครับ ส่วน ESXi นั้นฟรี
•ESX มีขนาดประมาณ 2 GB ส่วน ESXi มีขนาดเพียง 70 MB
ที่ใหญ่กว่าเพราะว่า ESX มี Service Console บรรจุมาครับเป็น Linux OS แต่ไม่ได้เป็นส่วนของ Kernel ที่เป็นสุดยอดของ VMWare เราสามารถจัดการแก้ไขต่างๆได้มากมาย จัดการแบบ Advance ได้ ทำพวก vMotion HA ฯลฯ ได้


ในขณะที่ ESXi มีแต่ส่วนของ Kernel อย่างเดียว ซึ่งการทำงานด้าน Server Consolidation เหมือนกันหมด แต่ทำพวกความสามารถพิเศษไม่ได้ พวก HA FT vMotion ฯลฯ เพราะว่าพวกความสามารถพิเศษนั้นต้องไปเกาะที่ Service Console


•ESXi ติดตั้งง่ายมากๆ เพราะขนาดเล็ก และมีเมนู GUI ให้กดๆ ลงง่ายมากๆ
•ESX มีความซับซ้อนกว่า ไม่มี GUI ตอนติดตั้ง ต้องใช้ Command ของ Linux ในการตั้งค่าต่างๆ เช่นตั้งค่า IP
นี่เองทำให้ ESX สามารถปรับแต่งค่าได้มากมาย และยืดหยุ่นกว่า ส่วน ESXi ปรับแต่งได้จำกัด ตามขอบเขตที่ GUI ให้มาซึ่งมีน้อยๆ

หลังจากลง ESX, ESXi ที่ Server เสร็จ (เรียกว่า Host) ตั้งค่า IP แล้ว ก็ใช้เครื่องข้างนอก เปิด Browser เข้าไปยัง IP นั้น เพื่อไปดาวน์โหลดตัว vSphere Client มาติดตั้งเพื่อเข้าไปจัดการ Host นั้นได้ครับ

กรณีที่มีหลายๆ Host ก็ต้องลง ESX, ESXi ให้หมดทุก Host ครับ จากนั้นก็ลงตัวบริหารจัดการคือ VCenter Server ซึ่งจะลงบน Guest (Virtual Machine) บน Host หรือว่าลงบนเครื่อง Server ข้างนอกก็ได้

ทีนี้ก็เข้าประเด็นตามหัวข้อบล็อกที่ว่า VMWare ไม่ใช่แค่ Server Consolidation
เพราะว่าถ้าเป็นแค่นั้นแค่ ESXi ก็พอแล้ว ก็สร้างหลายๆ Guest บน Host เสร็จแล้ว รวมเครื่อง Server บนเครื่องเดียวได้แล้ว (Server Consolidation)

ความเก่งของ VMWare จะเริ่มฉายแววเมื่อคุณมี Host มากกว่า 1 และมี vCenter ครับ ตามไปดูความสามารถของมันกัน

1. VMotion สามารถย้าย Guest ข้าม Host ได้ง่ายดาย ด้วยการใช้เมาส์คลิกๆๆเท่านั้น ลากข้ามไปมาได้ดั่งใจ ไม่มี downtime ของระบบ เหมาะสำหรับ Plan Downtime เช่นเราจะซ่อมเครื่อง Host จัดการ MA Host เป็นต้น VMotion นี้เป็นแบบ Manual คือเราต้องเป็นคนทำเอง


2. DRS (Distributed Resource Scheduling) - Dynamic Resource Balancing คือระบบจัดการทรัพยากรระหว่าง Host เป็นการทำการ Balance Resource พวก Memory, CPU, NW, IOPS เช่นบน Host A มี Guest อยู่ 4 ตัว แล้ว Guest ตัวหนึ่งใช้งานหนักมากๆ กิน

ทรัพยากรของระบบเยอะจน Host A ไม่ไหวแล้ว Host A เลยส่ง Guest 2 ตัวไปยัง Host B ที่ดูการทำงานเบาบางให้ช่วยทำงาน DRS นี้เป็นแบบ Auto


3. DPM (Distributed Power Management) เหมือนกับ DRS แต่เป็นทำ Balance Power พวกไฟฟ้า พัดลม เช่นตอนกลางคืนการใช้งานน้อย ก็ย้าย Guest ไปรวมๆกัน และ Stasndby Host ตัวที่ว่างจาก Guest แล้ว DPM นี้ก็เป็นแบบ Auto เช่นกัน

4. HA (High Availability) คือเมื่อ Host ล่มโดยไม่ได้ตั้งใจ แน่นอนว่า Guest ที่อยู่บน Host นั้นก็ย่อมเจ๊งไปด้วย แต่ช้าก่อน HA มันจะทำให้ Guest นั้นไปเกิดบน Host ใหม่ที่ยังอยู่โดยอัตโนมัติ มีข้อแม้คือต้องใช้ Shared Storage คือที่เก็บข้อมูลตรงส่วนกลาง ไม่ได้เก็บเองบน

Host และตอนออกแบบระบบต้องให้ Host ใช้งานประมาณ 65% จะได้มีที่จาก Guest อื่นให้เกิด HA นี้เป็นแบบอัตโนมัติ และมี Downtime ไม่เกิน 5 นาที คือช่วงเวลาที่ Guest นั้นไปเกิดบนเครื่องใหม่คือเวลาที่ Boot OS ของ Guest นั่นเอง


5. FT (Fault Tolerance) ว่า HA เจ๋งแล้ว เจอ FT เข้าไปต้องบอกว่าเมพขิงๆ เพราะว่าไม่มี Downtime เลย Host ล่มปุ๊ป Guest เดี๊ยงปั๊ป เกิดใหม่บน Host ใหม่ทันที ไม่ต้องรอ Boot OS ผู้ใช้ไม่รู้ตัวเลย ที่ทำได้เช่นนี้เพราะมันจะทำงานพร้อมกัน 2 Host เขียน 2 ที่พร้อมกัน พอ

Host หนึ่งตาย อีกตัวก็ขึ้นได้ทันทีเลย (ลองดูจากรูปด้านล่าง) FT เหมาะสำหรับงานที่สำคัญๆ และต้องใส่ Memory ที่ Host เยอะๆ (>64G เพราะต้องเขียน 2 ที่ เดี๋ยวจะช้า มีข้อจำกัดคือ Guest ใช้ได้แค่ 1 Virtual CPU เท่านั้น


VMWare ยังมีความสามารถมากมายอีก แต่บล็อกนี้เริ่มยาวแล้วครับ ไว้พบกันใหม่บล็อคหน้

reference :
by likeapinion blog