ชื่อ Vmware คงไม่ต้องบรรยายสรรคุณกันมากนัก แต่ว่า มันแตกแขยงแยกย่อยออกมาเยอะเหลือเกิน ที่นิยมใช้กันอยู่ ก็มีพวก vmware work stations ซึ่งมันไม่ฟรี ครับ
ช้าก่อน อย่าพึ่งมาว่าผมบ้านะ
work station มีไว้ขายถึงแม้ว่าจะแจกให้ใช้ฟรี แต่เราต้องทำการลงทะเบียนเพื่อขอ Serial Number สำหรับใช้งาน ส่วนจะขอมากขอน้อย ก็แล้วแต่ความต้องการของท่านเองครับ (ผมเคยขอเป็น 100 ยังได้เลย)
server แจกให้ใช้ฟรี
อ่าว ว่าแล้วก็ไปดาวน์โหลดกันเลยครับ ที่นี่เลย http://www.vmware.com/products/server/
ดาวน์โหลดมาแล้ว ก็ติดตั้งได้เลยครับ ทำตามสเต็ปไปเรื่อย ๆ แล้วมันจะบังคับให้รีสตาร์ทเครื่อง 1 รอบ
เมื่อรีสตาร์ทเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องตกใจนะครับ ที่หน้าต่าง login windows เปลี่ยนไป เป็นไปเพื่อความเหมาะสมในการเรียกใช้งานครับ ซึ่ง vmware จำเป็นต้องให้มีการใช้งานหลายคน (เพราะเป็น versions server) ซึ่งถ้าเป็น login แบบเดิม ชื่อคงล้นหน้าจอแหง ๆ
สำหรับคนที่เคยใช้เวอร์ชั่น 1 มาแล้ว อาจจะรู้สึกแปลกตาไปบ้างครับ เพราะผมเองก็งงเหมือนกัน ปัญหามีไว้ให้แก้ไขครับ เรื่องแค่นี้เราจัดการได้
เริ่มต้นใช้งาน ก็ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ ไอคอนของ vmware ที่หน้าจอนั่นแหละครับ หรือจะเปิดจาก Start Menu เอาก็ได้ เมื่อเปิดขึ้นมาแล้ว มันจะเรียกใช้งานเบราเซอร์ (แล้วแต่ว่าท่านได้ตั้ง Default Browser ว่าตัวไหน) ซึ่งผมใช้ FireFox ในมาตรฐานในการเรียกใช้งาน
จากนั้น จะเจอหน้าต่าง Login ครับ (ตอนนี้แหละที่ผมงง เพราะมันไม่เคยถาม user , password เลย ลองเอา user ที่ผมใช้อยู่ก็ใช้งานไม่ได้)
ให้กรอก Username : administrator Password : (adminpassword)
แต่ถ้า ท่านยังไม่ได้ตั้ง password ของ administrator ก็สามารถทำตามผมได้ครับ ดังนี้
- คลิ๊กขวาที่ My Computer แล้วเลือก Manage
- เมื่อเข้าหน้าต่างของ Computer Management แล้ว ให้คลิ๊กที่ Local Users and Groups
- ให้ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ Users แล้วจะเห็นรายชื่อทั้งหมดที่อยู่ในเครื่องของเรา
- ตอนนี้เราต้องการใช้งาน Administrator หรือบางคนต้องการจะเปลี่ยนรหัสผ่าน ก็ให้คลิ๊กขวาที่ Administrator แล้วเลือก Set Password
- จะปรากฎหน้าต่างให้ทำการ Set Password ของ Administrator ให้กรอก Password ที่ท่านต้องการลงไปครับ ให้เหมือนกันทั้งสองช่อง แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม OK (ต้องจำรหัสผ่านนี้ให้ดีนะครับ งั้นเข้าวินโดว์ไม่ได้เน้อ)
- เอาละ คราวนี้ก็ให้เปิดโปรแกรม vmware ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ก็คลิ๊กจาก Start Menu หรือดับเบิ้ลคลิ๊กที่ไอคอนหน้าจอก็ได้ครับ
- เมื่อเปิดมาแล้ว จะมีช่องให้กรอก Login Name และ Password ก็ให้กรอก
- Login Name : administrator
- Password : เซ็ตเมื่อกี้
- ถ้ายังเข้าไม่ได้ ให้ตรวจสอบคำสะกดของ administrator และ password อีกครั้งหนึ่ง
- ถ้าเข้าได้แล้ว จะเห็นหน้าตาที่แตกต่างจากเวอร์ชั่น 1 อยู่มากครับ ความจริงให้ความรู้สึกเหมือนกำลังใช้เวอร์ชั่น ESX ด้วยซ้ำ
- เอาละ สิ่งที่น่าสังเกตุอีกอย่างหนึ่งก็คือ โปรแกรม vmware จะสร้าง โฟลเดอร์ Virtual Machine ไว้ที่ Drive C:
- แต่ถ้า Drive C: ของท่าน เหลือพื้นที่เพียงน้อยนิดเหมือนผม หรือไม่ต้องการให้สร้าง Virtual Machine ไว้ที่ Drive C: ละก็ สามารรถแก้ไขได้ครับ โดยให้คลิ๊กที่ Data Store
- จากนั้นให้ระบุพาร์ทไปยัง Drive ที่ต้องการ เช่นผมต้องการใช้งานที่ Drive D:
- นอกจากนี้ยังสามารถระบุพาร์ทไปยังเครื่องอื่นได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เครื่องข้าง ๆ ผม แชร์ไดร์ฟไว้ ผมก็บอกให้ vmware ไปใช้พื้นที่จากเครื่องข้าง ๆ ผม โดยเลือกที่ออปชั่น CIFS
- เมื่อเลือกเสร็จแล้ว ก็จะปรากฎ Drive ที่เราเพิ่มไปเมื่อกี้ครับ
เห้อ เยอะเหมือนกันแฮะ การใช้งานของผลัดเป็น part 2 ละกันครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น