1/30/2556

Android บน Smart TV ยุคต่อไปการรับชมโทรทัศน์

Smart TV คือการหลอมรวมของเทคโนโลยี (Technology Convergence) ระหว่าง "โทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต" ที่ทำให้โทรทัศน์ในรูปแบบของ Smart TV
http://www.lcdtvthailand.com/asp-bin/images-source/image/journal/2012/Provision_Android_TV/Provision_Android_TV_03.JPG


สามารถใช้งานเป็นอุปกรณ์ ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และยังสามารถรับชมโทรทัศน์ในระบบเดิมได้ ซึ่งเปรียบได้กับ Smartphone ที่เป็น Technology Convergence ระหว่างโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต โดยที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและยังใช้งานเป็นโทรศัพท์ได้

ปัจจุบันเทคโนโลยี Smartphone ได้ถูกพัฒนาจนเกิดความชัดเจน โดยมีระบบหลักคือ Android และ iOS (Apple) ซึ่งครองส่วนแบ่งของตลาดเกินกว่า 80% และกำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต Content และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ของโลกกำลังถูกเปลี่ยนเป็น Smartphone และ Smartphone กำลังจะเป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ในทางกลับกัน พัฒนาการของเทคโนโลยี Smart TV กลับขาดความชัดเจน โดยไม่มีระบบหลัก ที่ประสบความสำเร็จ และสามารถชิงส่วนแบ่งของตลาดได้ ถึงแม้ว่าแนวคิดของ Smart TV อาจได้ถือกำเนิดขึ้นก่อน Smartphone เพราะโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีที่มีความแพร่หลายมาก่อนยุคของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นรากฐานของ Smartphone

ทั้งนี้ Smart TV เคยมีผู้เล่นจากหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจอินเทอร์เน็ต : MSN TV, AOL TV, Google TV ฯลฯ ธุรกิจโทรทัศน์: Samsung Smart TV, Sony Smart TV, LG Smart TV ฯลฯ ธุรกิจเกมส์: Xbox 360 ฯลฯ ธุรกิจคอมพิวเตอร์: Apple TV, Lenovo Smart TV ฯลฯ โดยที่ Smart TV อาจมีทั้งรูปแบบของ Set-Top Box เช่น Apple TV หรือ Xbox 360 และที่ผนวกเข้าเป็นโทรทัศน์เช่น Samsung Smart TV

ชัยชนะใน Smart TV ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะเป็นจุดหลอมรวมของเทคโนโลยีและธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ระดับโลก จึงมีผู้เล่นรายใหม่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแม้กระทั่ง Apple ยังมีข่าวลือว่าจะเข้าสู่ธุรกิจ Smart TV โดยจะเป็นผู้ผลิตโทรทัศน์ และมิใช่เพียงแค่ Set-Top Box ดังเช่น Apple TV

อย่างไรก็ดี แนวทางที่อาจเป็นกระแส คือการนำ Android ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระบบเปิดที่ถูกพัฒนาโดย Google สำหรับ Smartphone มาประยุกต์ใช้เป็นเทคโนโลยีของ Smart TV  ซึ่งเริ่มถูกปฏิบัติอย่างแพร่หลาย โดยมีตัวอย่างของ Samsung Smart TV, LG Smart TV, Lenovo Smart TV ฯลฯ ถึงแม้ว่า Google จะพัฒนา Google TV เป็นเทคโนโลยีระบบเปิดสำหรับ Smart TV แต่การใช้งาน Android บน Smart TV อาจได้รับความนิยมกว่า ซึ่งอาจได้อานิสงส์จากความสำเร็จของ Android บน Smartphone ที่ทำให้เกิดระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่มีความแข่งแกร่ง เช่น App ที่เพิ่ม Value ให้กับการใช้งาน Smart TV

ในมุมมองหนึ่ง App บน Smart TV อาจเปรียบเสมือนจำนวนช่องของ Content ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างไร้ขีดจำกัด ทั้งยังมี Interactivity ที่นำไปสู่บริการอย่าง On Demand ในรูปแบบต่างๆ แต่ถึงกระนั้นอุปสรรคที่สำคัญสำหรับการใช้งาน Android บน Smart TV คือการที่ Android ถูกออกแบบสำหรับการใช้งานด้วยระบบสัมผัส เช่นเดียวกับ iOS ที่จำเป็นต้องใช้นิ้วมือในการสัมผัสจอภาพ จึงได้มีการพัฒนา Gesture เช่นตัวอย่างของ Samsung Smart TV ที่ทดแทนการสัมผัสด้วยการโบกมือให้กับกล้องที่คอยจับภาพผู้ใช้งาน และการพัฒนา Remote Control ให้ทดแทนระบบสัมผัส และกระทั่งการดัดแปลงองค์ประกอบอื่นๆ ของ Android ให้เหมาะสมกับการใช้งานผ่าน Smart TV

พัฒนาการเหล่านี้ทำให้เกิดการแตกแขนง (Fork) ของระบบ Android บน Smart TV โดยผู้เล่นแต่ละรายต่างมีพัฒนาการของตัวเองที่แตกต่างกับรายอื่น ซึ่งต่างกับ Android บน Smartphone ที่มีความคล้ายคลึงอย่างเป็นระบบระหว่างผู้เล่น แต่ถึงกระนั้น Android บน Smart TV นับเป็นครั้งแรก ที่เทคโนโลยีของ Smart TV เริ่มมีความชัดเจน แม้ว่าแนวทางนี้จะเริ่มมีปรากฎในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา แต่กลับมีการยอมรับของเทคโนโลยี (Technology Adoption) ที่รวดเร็วกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา

Android บน Smart TV จึงเป็นเทคโนโลยีที่ควรติดตาม และอาจสร้างความแตกต่างในยุคต่อไปของการรับชมโทรทัศน์

10 อันดับธุรกิจเงินดี ปี 2556

ธุรกิจทำเงิน, 2556, 2013, ธุรกิจน่าทำ, ทำธุรกิจ,อะไรดี
.
ในยุคเศรษฐกิจที่จะค้าจะขายอะไรก็ดูจะยากไป เสียหมด หลายคนคงกำลังมองหาธุรกิจที่จะอยู่รอดและทำเงินได้ดีเป็นอย่างแน่ๆ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำใทางศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ต้องออกมาวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจที่เป็นไปได้ต่างๆ โดยพิจารณาจากข้อมูลด้านต่างๆ จนในที่สุดก็ออกมาเป็น 10 อันดับธุรกิจน่าสนใจ ในปี 2556 ดังนี้จร้าาาาา^0^


อันดับ 10
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (โดยเฉพาะแนวดิ่ง) และธุรกิจด้าน Logistic

อันดับ10,ธุรกิจทำเงิน, 2556, 2013, ธุรกิจน่าทำ, ทำธุรกิจ,อะไรดี

.

อันดับ 9
ธุรกิจก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง และธุรกิจสถาบันการเงิน

อันดับ9,ธุรกิจทำเงิน, 2556, 2013, ธุรกิจน่าทำ, ทำธุรกิจ,อะไรดี

ใ.

อันดับ 8
ธุรกิจด้านการศึกษา และธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์

อันดับ9,ธุรกิจทำเงิน, 2556, 2013, ธุรกิจน่าทำ, ทำธุรกิจ,อะไรดี

.

อันดับ 7
ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา บุหรี่

อันดับ7,ธุรกิจทำเงิน, 2556, 2013, ธุรกิจน่าทำ, ทำธุรกิจ,อะไรดี
.

อันดับ 6
ธุรกิจด้านอาหาร

อันดับ6,ธุรกิจทำเงิน, 2556, 2013, ธุรกิจน่าทำ, ทำธุรกิจ,อะไรดี
 .
.

อันดับ 5
ธุรกิจพลังงาน และพลังงานทดแทน

อันดับ5,ธุรกิจทำเงิน, 2556, 2013, ธุรกิจน่าทำ, ทำธุรกิจ,อะไรดี

.

.

อันดับ 4
ธุรกิจบริการ จำหน่ายน้ำมัน ก๊าซ NGV LPG

อันดับ4,ธุรกิจทำเงิน, 2556, 2013, ธุรกิจน่าทำ, ทำธุรกิจ,อะไรดี

.

.

อันดับ 3
ธุรกิจด้านสื่อโทรทัศน์

อันดับ3,ธุรกิจทำเงิน, 2556, 2013, ธุรกิจน่าทำ, ทำธุรกิจ,อะไรดี

.

.


อันดับ 2
ธุรกิจด้านเทคโนโลยีสื่อสาร

อันดับ2,ธุรกิจทำเงิน, 2556, 2013, ธุรกิจน่าทำ, ทำธุรกิจ,อะไรดี

.

.

อันดับ 1
ธุรกิจทางการแพทย์ และความงาม

อันดับ1,ธุรกิจทำเงิน, 2556, 2013, ธุรกิจน่าทำ, ทำธุรกิจ,อะไรดี

นอกจากนี้ ผลวิจัยจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยสนับสนุน และปัจจัยบั่นทอน ในการดำเนินธุรกิจในปี 2556

ปัจจัยสนับสนุน
- เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวและเศรษฐกิจเอเซียยังคงขยายตัวได้ดี
- มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทย
- การปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
- อัตราดอกเบี้ยทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน (บาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น)
- แนวโน้มราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวดีขึ้น และการดูแลราคาสินค้าของภาครัฐ
- ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ดีขึ้น

ปัจจัยบั่นทอน
- ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
- สถานการณ์ทางด้านการเมืองไทย
- ระดับราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
- ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เช่น ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และราคาวัตถุดิบต่างๆ
- ภัยธรรมชาติ

ขอขอบคุณ
http://money.sanook.com

Smart TV คืออะไร อธิบายง่ายๆ เจาะจากกูรู

what-is-Smart-TV
จาก Digital TV ที่พูดถึงกันไปเมื่อครั้งที่ผ่านมา คราวนี้มาที่เรื่อง Smart TV / Internet TV กันบ้าง เพราะ 2 เรื่องนี้เนี่ย สูสีคู่คี่บี้กันมาเลยค่ะ
Smart TV – โทรทัศน์ฉลาด!! แสดงว่ามันต้องทำอะไรได้มากกว่าทีวีปกติแน่ๆ แต่มันคืออะไรกันล่ะ
มันจะคุ้มค่าจริงหรือ ? สมควรแก่เวลาหรือยังที่จะเปลี่ยนมาใช้ Smart TV ? Smart TV มีดีอะไร ?
เหล่านี้อาจเป็นคำถามที่ถูกตั้งขึ้นกับทีวีที่มีราคาหลักหมื่นถึงแสนนี้อยู่ 
เรามาลองทำความรู้จัก Smart TV ให้มากขึ้นอีกนิดกันเถอะค่ะ

Smart TV คืออะไร ??
เทียบให้เข้าใจกันง่ายๆ กับสิ่งใกล้ตัวก็คือ Smart Phone นั่นเอง ที่เดี๋ยวนี้พัฒนาไปจนมี Application หลากหลายให้เลือกใช้ – ถ่ายรูป ดูหนัง ฟังเพลง อินเทอร์เน็ต และอื่นๆ – พอมาเป็น Smart TV ก็เหมือนกัน มี Function ลูกเล่นต่างๆ ที่มากขึ้น เช่น เล่น DVD ต่อกับเครื่องเกม จอยน์กับคอมพิวเตอร์ ต่อไปก็เชื่อมต่อ Internet มี Application เป็นของตัวเอง Update/Download กันได้ในตัว…
- ขอบคุณข้อมูลจากกูรู ToNy [www.lcdtvthailand.com]
 smart-tv-application

1. การเชื่อมต่อของ Smart TV , Internet TV
Smart TV / Internet TV ต้องใช้ Internet เพื่อ Update, Download ตัว Application หรือการใช้งาน Browser นั่นเองค่ะ ซึ่งปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ประเภทก็คือ 1) ผ่านสาย LAN 2) ผ่าน Wi-Fi USB 3) Wireless ด้วยตัวรับสัญญานแบบ Built-in

2. Application ใน Smart TV , Internet TV
ส่วนนี้น่าสนใจค่ะ และค่อนข้างสำคัญค่ะถ้าคิดจะใช้ ก่อนจะเลือกยี่ห้อของ Smart TV ก็ศึกษากันสักหน่อยว่าค่ายนั้นๆ เนี่ย เค้ามี Application ที่โดนใจเรามากน้อยแค่ไหน (หรือมองความฮิตเผื่อไปในอนาคต) Application ที่ว่านี้ก็เหมือนบนมือถือเลยมีให้เลือกมากมาย ยกตัวอย่าง
- เล่นเกม เช่น Pac-Man, Tetris, , Let’s Golf, Homerun Battle 3D เป็นต้น
- ดูข่าว เช่น Nation Channel, BBC News, WSJ Live, Time TV เป็นต้น
- Social Network เช่น Facebook, Twitter, YouTube, Vimeo เป็นต้น
- Utilities/Lifestyle อื่น เช่น Accu Weather, Skype, SF Cinema, Major Cineplex, Traffy, Yoga เป็นต้น
โอยย….เยอะ ยิ่งรู้จักก็ยิ่งอยากเชิญมาอยู่บ้านเดียวกันเลยนะคะ :)
 1000-apps
3. การควบคุม Smart TV , Internet TV
อ่านกันมาสักพักก็ชักสงสัยว่าจะควบ คุมอย่างไร ส่วนนี้บางท่านอาจะละเลยกับโทรทัศน์ธรรมดาที่กดปุ่มเลือกช่องนู่นนี่ได้นิด หน่อยก็พอแล้ว แต่มาเป็น Smart TV เป็นมากกว่านั้นแน่นอนค่ะ เราเลยต้องศึกษา และให้ความสำคัญในส่วนนี้กันหน่อย
- ควบคุมจากรีโมททีวี : Basic Function แต่ละยี่ห้อคล้ายกันหมด อาจมีการจัดวางที่ต่างกันเล็กน้อย ขึ้น-ลง-ซ้าย-ขวา ตัวเลขแบบมีตัวอักษร (เหมือนโทรศัพท์สมัยก่อนยุคทอง Nokia) ประมาณนั้นค่ะ
- อุปกรณ์เสริมจากแต่ละค่าย : อันนี้แล้วแต่ลูกเล่นแล้วล่ะว่าจะสร้างสรรค์มาดึงดูดเราได้แค่ไหน เช่น Samsung ทำ Qwerty คีย์บอร์ด หรือ Magic Motion Remote จาก LG ปุ่มเดียวก็เสียวได้ ควบคุมทุกอย่าง อยู่หมัดแบบเครื่อง Wii
- ควบคุมผ่าน Application บน Smart Phone : เก๋ไก๋มั้ยล่ะ ทั้ง Android และ iOS มีพร้อมหมด ข้อดีคือ เราคล่องกับ Smart Phone กันอยู่แล้วล่ะ จริงมั้ย ใช้ทุกวัน 

เป็นอย่างไรบ้างคะ พร้อมแล้วหรือยังสำหรับ Smart TV ?

แอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจ ห้ามพลาด !! ถ้าคุณใช้ Smart TV, Internet TV

แอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจ ห้ามพลาด !! ถ้าคุณใช้ Smart TV, Internet TV

แอพพลิเคชั่นสำหรับ Smart TV , Internet TV มีให้เลือกใช้มากมาย ทีวีบางยี่ห้อนั้นมีให้เลือกกว่า 1,000 แอพเลยทีเดียว แต่สำหรับอันที่เป็นที่นิยมผมก็ขอรวบรวมมาแนะนำให้เลือกใช้กันครับ

1. Facebook :
อย่างแรกเลยที่ขาดไม่ได้สำหรับยุค นี้ก็คือ Social Network ยอดฮิตอย่าง Facebook นั่นเอง ถือว่าเป็นแอพพลิเคชั่น "ยอดนิยม" สำหรับทุกเพศทุกวัย โดยประมาณ 90% ของ Smart TV จะมีติดมาให้อยู่แล้ว ซึ่งเราสามารถเข้าไปเช็ค New Feeds หรือทำการ Update สถานะได้ทันที รวมไปถึงการคอมเม้นท์ในวอล์ต่างๆ และในบางรุ่นจะสามารถดูทีวีไปพร้อมๆกับเล่น Facebook ได้อีกด้วย แอพพลิเคชั่นจะขึ้นมาอยู่ด้านข้างของจอภาพ ใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว


 


ตัวอย่างการใช้งาน Facebook พร้อมๆกับดูทีวีไปด้วย 
2. Youtube : สำหรับ Youtube นั้น น้อยคนที่จะไม่รู้จัก เพราะเป็นอีกหนึ่งแอพพลิเคชั่นที่ "ขาดไม่ได้" สำหรับ Smart TV ในปัจจุบัน ซึ่งสามารถเข้าไปรับชมคลิปวีดีโอต่างๆได้จากทั่วโลก สามารถค้นหาคลิปวีดีโอที่ต้องการได้ด้วยการใช้เมนูคีย์บอร์ดในตัวเครื่อง พิมพ์คีย์เวิร์ดที่ต้องการลงไป ก็จะได้รายชื่อคลิปวีดีโอที่ต้องการมารับชม


การใช้งาน Youtube Application

3. Accu Weather : เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการพยากรณ์ อากาศ โดยที่เราสามารถระบุตำแหน่งของสถานที่ ที่เราต้องการทราบสภาพอากาศได้ โดยส่วนใหญ่จะมีมาให้ในตัวเครื่อง

4. Skype : อีกหนึ่ง Application ที่มีประโยชน์มากในการสนทนาทั้งภาพและเสียงไปพร้อมๆกัน นั่นก็คือ Skype ครับ ซึ่งต้องอาศัยตัวกล้องที่เชื่อมต่อผ่านช่องต่อ USB มาใช้ควบคู่กันไป จะแตกต่างจากที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ก็คือ ในตัวกล้องจะมีไมโครโฟนรับเสียงอยู่ในตัว ไม่จำเป็นต้องไปต่อเพิ่มแล้ว แถมได้ภาพใหญ่จุใจ เห็นกันชัดๆข้ามโลก อีกด้วย

มาดูตัวอย่างการใช้งานกันครับ


จอเล็กๆคือไว้ดูตัวเราเอง ส่วนจอใหญ่ก็คือคู่สนทนาของเรา ตัวกล้องจะอยู่ด้านบนทีวี
 5. SF Cinema : เป็นหนึ่งใน Local Content ที่สามารถดูรายละเอียดของหนัง และเช็คเวลาฉายของหนังได้  ถือเป็น Content โดยคนไทย เพื่อคนไทยจริงๆ


6. Game : โดยส่วนมาก แล้วเกมส์ที่มาให้เล่นกับทีวีนั้นจะเป็นเกมส์แนว "สดใส คลายเครียด ใช้สมองนิดๆ" ครับ ถือว่าใช้เล่นแก้เบื่อได้ดีทีเดียว โดยจะไม่เหมือนกันในแต่ละยี่ห้อ ยกตัวอย่างมาให้ดูเป็นบางเกมส์นะครับ จริงๆมีเยอะกว่านี้อีกมาก

SUDOKU เกมส์ใช้สมอง ลองปัญญา


 "Dracula's Coffin" เกมส์เลื่อนลังไม้


ที่เห็นเลื้อยๆแบบนี้ "บันไดงู" นั่นเองครับ


สุดคลาสสิกกับ "เกมส์จับผิด"


 เกมส์ Angry Birds ใน Samsung และ Android TV
 ที่แนะนำไปก็เป็นเพียงแค่ "บางส่วน" ของ Smart TV เท่านั้นเองครับ ยังมีอีกหลายแอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจ น่าใช้ แต่ว่าในการเลือกซื้อ Smart TV มาใช้ ควรจะศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนว่าตรงตามความต้องการของเราหรือไม่ เพราะในแต่ละยี่ห้อก็มีสิ่งที่ "ทำได้" และ "ทำไม่ได้" จะฟันธงว่า Smart TV , Internet TV เครื่องไหนดีที่สุดนั้น ค่อนข้างลำบาก ผมบอกได้ว่า "ดีหมด" แต่ ดีคนละอย่าง เช่น บางยี่ห้อสามารถลงแอพเพิ่มได้ แต่อีกยี่ห้อหนึ่งสามารถดูทีวีไปพร้อมๆกับเล่น Facebook อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม Smart TV , Internet TV ก็ถือเป็นอีกก้าวของเทคโนโลยีที่ยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ แน่นอนครับ

เจาะลึก !!! พาไปรู้จักกับ Smart TV , Internet TV มันคืออะไร ? ทำอะไรได้บ้าง ? มาดูกัน

เจาะลึก !!! พาไปรู้จักกับ Smart TV , Internet TV มันคืออะไร ? ทำอะไรได้บ้าง ? มาดูกัน

Smart TV / Internet TV โดยทั่วไปคือทีวีที่ "ฉลาด" มากขึ้นนั่นเอง ด้วยความสามารถของตัวเครื่อง ( Spec ) ที่สูงมากขึ้น สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่น ( โปรแกรม ) ได้หลากหลาย  สามารถเชื่อมต่อเข้าใช้งานในโลกออนไลน์ Internet อย่างการใช้ Web Browser , Social Network และอื่นๆ ตามฟังก์ชั่นของ Smart TV / Internet TV แต่ละรุ่น

ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีของ TV นั้นพัฒนาไปไกลมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ LCD TV , LED TV , PLASMA TV เชื่อว่าหลายๆท่านคงได้พบเห็นตามร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้ากันเยอะแล้ว และในปัจจุบันนี้ทีวีจะไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือที่เอาไว้รับชมรายการ โทรทัศน์หรือดูหนังเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยังก้าวเข้าสู่โลกของการเชื่อมต่ออย่าง " Internet "  การใช้แอพพลิเคชั่นที่หลากหลายช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ความ สามารถในการเล่นเกมส์ การจองตั๋วภาพยนต์ และอื่นๆอีกมากมาย ทุกอย่างรวบรวมไว้แค่ปลายนิ้วสัมผัส



 


Smart TV คืออะไร ??

ก่อนจะพูดถึงคำว่า " Smart TV " ผม ขอยกตัวอย่างไปถึงคำว่า Smart ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด เพื่อให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น นั่นก็คือ " Smart Phone " ที่ทุกท่านรู้จักกันดีนั่นเอง เริ่มจากเมื่อก่อนนี้ โทรศัพท์มือถือก็มีความสามารใช้รับสายโทรเข้าเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันก็มีโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น ทั้งกล้องถ่ายรูป เครื่องเล่นเพลงต่างๆ เชื่อมต่อกับ Internet ดูคลิปวีดีโอ ลงแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมอย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น iOS ของ Apple หรือ Android จาก Google นั่นคือที่มาของคำว่า " Smart Phone "

 

กลับมาถึงทางด้าน " Smart TV " ก็ เช่นเดียวกันครับ เมื่อก่อนทีวีที่ใช้กันตามบ้านก็มีการใช้งานเพียง ดูละคร ดูหนัง ดูข่าว เท่านั้น ยังไม่มีฟังก์ชั่นที่ใช้งานได้หลากหลายต้องพึ่งแหล่งข้อมูลจากภายนอกเพียง อย่างเดียวในการแสดงผลเช่น เครื่องเล่น DVD เครื่องเกมส์ Console ต่างๆ แต่ในปัจจุบันกล่าวได้ว่าเป็นทีวีที่ "ฉลาด" มากขึ้นนั่นเอง ความสามารถของตัวเครื่องสูงมากขึ้น สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นได้หลากหลาย  โดย ส่วนใหญ่แล้วความสามารถทั้งหมดจะใช้งานได้ด้วยการท่องไปในโลกออนไลน์ แต่ก็ไม่ได้จำกัดแค่การเชื่อมต่อ Internet เพียงอย่างเดียว ยังรวมไปถึงการใช้งานอื่นๆเช่นการเล่นเกมส์ ( โดยไม่ต้องเชื่อมต่อ Internet ) การลงแอพพลิเคชั่นต่างๆ มาใช้งาน ซึ่งในแต่ละแบรนด์จะมีความสามารถในการใช้งานและชื่อเรียกแตกต่าง กันออกไป ล่าสุดในปี 2012 บางยี่ห้อเช่น Samsung ยังเพิ่มความสามารถในการควบคุมทีวีให้เหนือชั้นคือการสั่งงานด้วย "เสียง" , "ท่าทาง" และระบบจดจำใบหน้า  ผมขอแยกไว้ตามนี้ครับ


  

 














Provision ED7 Android TV

** Android TV ** ขอ เพิ่มเติมเกี่ยว Android TV กันบ้างครับ ผมคิดว่าหลายๆท่านน่าจะรู้จักระบบปฏิบัติการณ์นี้กันพอหอมปากหอมคอ ซึ่งปกติแล้วเจ้าระบบนี้จะโลดแล่นอยู่บน Smart Phone และ Tablet มากกว่า แต่ปัจจุบันมีทีวีที่จับเอา OS นี้มายัดลงไปก็คือ Provision รุ่น ED7 และ Polytron รุ่น H12A ซึ่งในอนาคตก็อาจจะมีเพิ่มเติมอีกก็เป็นได้ โดยความสามารถก็จะคล้ายกับในมือถือครับ คือการลงแอพพลิเคชั่นต่างๆมาใช้งาน แต่ด้วยข้อจำกัดบางประการเช่นบางแอพต้องใช้เบอร์โทรศัพท์ในการลงทะเบียนเล่น ก็ไม่สามารถทำได้
 


Smart TV , Internet TV นั้น ย่อมต้องการ Internet เข้ามาเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานอัพเดทข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์ การใช้งานเว็บบราวเซอร์ หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นมาใช้งานในตัวเครื่อง ซึ่งทีวีแต่ละรุ่นก็มีการเชื่อมต่อไม่เหมือนกัน มาดูกันครับว่าสามารถเชื่อมต่อได้อย่างไรบ้าง

ประเภทของการเชื่อมต่อ Internet ของ Smart TV , Internet TV แบ่งได้ 3 ประเภทก็คือ


1. เชื่อมต่อผ่านสาย LAN  ( Wired - ใช้สาย )
2. เชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi Adapter USB  ( Wireless - ไร้สาย )
3. เชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi Built-in ในตัวเครื่อง ส่วนมากจะมีในเฉพาะรุ่นสูงๆเท่านั้น  ( Wireless - ไร้สาย )

ซึ่งหลังจากเชื่อมต่อผ่าน WiFi ในวงเดียวกันแล้วบางรุ่นจะมีความสามารถในการแชร์ไฟล์จากอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆเช่นเพลง วีดีโอต่างๆ เพื่อมาแสดงผลทางหน้าจอทีวีได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Notebook , กล้องถ่ายรูป Digital , โทรศัพท์ Smart Phone รุ่นต่างๆ หรือที่เราเรียกว่า DLNA


Application on Smart TV :

สำหรับทีวีบางรุ่นนั้น จะมีความสามารถในการติดตั้งใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆได้ เช่น Samsung / LG / Philips ในจุดนี้เองท่านที่เคยใช้งาน Smart Phone ทั้ง Android หรือ iOS จะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะว่าใช้หลักการเดียวกัน คือเมื่อเราต้องการใช้งานตัวไหนก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจาก Server กลางของแต่ละค่ายได้ทันที และที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมครับ แอพพลิเคชั่นบางชนิดเมื่อ ดาวน์โหลดมาแล้ว การใช้งานในครั้งต่อไปก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ Internet อีก เช่น เกมส์ต่างๆ แต่สำหรับรุ่นที่ไม่สามารถเข้าไปดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ ก็สามารถอัพเดทผ่านทางเฟิร์มแวร์ของตัวเครื่องได้เช่นกัน ( วิธีการอัพเฟิร์มแวร์ก็ง่ายมาก เพียงแค่เชื่อมต่อ Internet ไว้และไปที่เมนูอัพเดท ซอฟแวร์ ในการตั้งค่าทีวี ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที ) ส่วนประเภทของแอพพลิเคชั่นต่างๆผมขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วนก็คือ

1. Local Content : คือแอพพลิเคชั่นต่างๆที่เป็นของคนไทย ภาษาไทย ใช้งานได้อย่างสะดวกเช่น MTHAI , Major Cineplex , SF Cinema , Traffy , Nation Channel

2. Global Content : คือแอพพลิเคชั่นที่เป็นสากลใช้กันทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น Youtube , Facebook , Skype

ท่องเว็บไซต์ต่างๆไปพร้อมกับ Web Browser : 
 

อีกหนึงความสามารถของ Smart TV ,  Internet TV นั่นก็คือ การเข้าเว็บไซต์ต่างๆได้อย่างอิสระ เสมือนว่าเราเปิดจากคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว โดยจะไม่ต้องเสียเวลาเชื่อมต่อให้วุ่นวาย แต่ว่าข้อจำกัดอย่างการพิมพ์ภาษาไทย ต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมอื่นเข้ามาเป็นตัว ช่วย ซึ่งผมจะอธิบายในส่วนต่อไปครับ และการแสดงผลอย่าง Flash หรือ Java Script ก็ทำได้ค่อนข้างสมบูรณ์ ( ยกเว้นบางรุ่นเท่านั้น ซึ่งในอนาคตอาจจะมีเฟิร์มแวร์ออกมาช่วยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น )


การควบคุม Smart TV , Internet TV ในรูปแบบต่างๆ

มาต่อกันที่ส่วนของการควบคุมกันครับ หลายๆท่านอาจจะยังสงสัยว่า " เอ๊ะ ! ฟังก์ชั่นของทีวีนั้นมีเยอะมาก แต่ปุ่มในรีโมทมันเป็นแค่ตัวเลข และปุ่มทิศทางเท่านั้น เวลาพิมพ์จะสะดวกหรือเปล่า "  จริงๆ แล้วการควมคุมให้ง่ายขึ้นก็เป็นเรื่องที่ทางแต่ละยี่ห้อต้องพยายามปรับตัว เข้าหาผู้บริโภคอย่างเราๆกันให้มากที่สุด เพื่อให้มีความสะดวกสบายในการใช้งาน เพราะความยากง่ายในการควบคุมทีวีก็เป็นหนึ่งในตัวช่วยตัดสินใจเลือกซื้อ Smart TV เช่นกัน

1. ควบคุมจากรีโมททีวี : โดยปกติแล้วทุกยี่ห้อจะคล้ายๆ กันทั้งหมด อาจจะแตกต่างกันในด้านการวางตำแหน่งและดีไซน์ ที่ขาดไม่ได้ก็คือ ปุ่มควบคุมทิศทาง จะใช้ในการเลื่อนตำแหน่งไปยังส่วนที่ต้องการ และปุ่ม OK เพื่อใช้เลือก วิธีการพิมพ์ก็จะทำได้แค่ "ภาษาอังกฤษ" เท่านั้น โดยใช้ปุ่มตัวเลขเป็นแป้นคีย์บอร์ด ( เช่นเลข 2 บนรีโมทจะมี A B C  ถ้าต้องการพิมพ์ C ให้กดเลข 2 จำนวน 3 ครั้ง )


ตัวอย่างรุ่น Samsung ES8000

2. ควบคุมจากอุปกรณ์เสริมเช่น เมาส์และคีย์บอร์ด : ใน จุดนี้ก็ขึ้นอยู่กับแบรนด์ต่างๆ ว่าจะสามารถพัฒนาตัวทีวีให้รองรับกับคีย์บอร์ดและเมาส์ได้หรือไม่ โดยวิธีการเชื่อมต่อจะทำผ่านช่อง USB 2.0 เท่านั้น ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกสบายในการพิมพ์ตัวอักษร ( วิธีการเปลี่ยนภาษาคือ (ALT+ <- alt="" br="" nbsp="">

 
ถัดมาก็คือตัว Magic Motion Remote จาก ทาง LG ที่ใช้รีโมทเป็นตัวชี้ไปยังหน้าจอทีวี และใช้ปุ่มเพียงปุ่มเดียวควบคุมได้ทุกอย่าง ง่ายต่อการใช้งานอีกเหมือนกัน ( คล้ายๆกับการใช้งานของ Nintendo Wii )
 

 
3. ควบคุมจาก Application บน Smart Phone : สำหรับวิธีนี้ต้องการ Smart Phone รุ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Android หรือว่า iOS ก็สามารถเข้าไปค้นหา แอพพลิเคชั่น รีโมท จากทาง Android Market หรือ App Store ได้ฟรี ข้อดีคือจะทำให้สามารถพิมพ์ " ภาษาไทย " ได้ และมีความคล่องตัวในการใช้งานมาก โดยการเชื่อมต่อนั้นจะต้องเชื่อมต่อผ่าน วง LAN เดียวกันกับตัวทีวีด้วยครับ
 


 
4. การควบคุมด้วยเสียง / ท่าทาง / ระบบจดจำใบหน้า ( Samasung ES8000 , ES7500 , E8000 ) : ถือ เป็นทีวีรุ่นแรกที่บุกเบิกคำสั่งนี้ครับ ทำให้การควบคุมทีวีสะดวกกว่าที่เป็นอยู่ รวมถึงนำเอาไปประยุกต์ใช้กับแอพพลิเคชั่นต่างๆได้อีกด้วย
 

ชี้ 10 จุดตาย..ระบบปฏิบัติการลินุกซ์

เราต่างทราบกันดีว่า ซอฟต์แวร์ทุกชนิดล้วนมีข้อบกพร่องให้โปรแกรมเมอร์ต้องแก้ไข ปรับปรุง พัฒนากันไม่รู้จบ โชคดีที่ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยโมเดลการพัฒนาซอฟต์แวร์ โอเพ่นซอร์ส ทำให้ได้รับการปรับปรุงแก้ไขต่อเนื่องไม่มีวันจบสิ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามในโลกนี้ใม่มีอะไรที่จะสมบูรณ์แบบไปทั้งหมด แม้แต่ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เองก็ยังคงมี “จุดอ่อน” ที่เมื่อสะกิดโดนเมื่อใดก็ถือเป็น “จุดตาย” ได้ทันที ด้วยการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเท่านั้นจึงจะเป็น “เกราะป้องกัน” ได้อย่างดีที่สุด “จุดตาย” ที่ผู้เขียนนำมาเสนอนี้ มีจุดประสงค์เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ และเป็นแนวทางให้แก่ผู้สนใจ ศึกษาระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ได้นำไปวางแผนป้องกัน เพิ่มความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน รวมไปถึงช่วยให้เข้าใจการทำงานของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์มากยิ่งขึ้นในโอกาส ต่อไป มาเริ่มกันเลยนะครับ
http://www.xda-developers.com/wp-content/uploads/2012/11/Linux.jpg?f39ce1
จุดตายที่ 1 MBR MBR ย่อมาจาก Master Boot Record เป็นจุดเริ่มต้นของระบบปฏิบัติการทุกชนิดที่บูตด้วยฮาร์ดดิสก์ พื้นที่ขนาดจิ๋วแค่ 512 ไบต์ที่อยู่บริเวณส่วนแรกสุดของฮาร์ดดิสก์นี้เอง เป็นที่เก็บโปรแกรมประเภท Boot Loader ไว้ สำหรับระบบปฏิบัติการลินุกซ์รุ่นปัจจุบันนิยมใช้กันก็คือโปรแกรมชื่อ GRUB นั่นเอง ซึ่งโปรแกรม GRUB นี้มีหน้าที่เริ่มต้นโหลดเคอร์เนลลินุกซ์เข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องพีซี อันเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของการเริ่มต้นระบบเลยก็ว่าได้ ส่วนของโปรแกรม GRUB ที่ติดตั้งอยู่ที่ MBR นี้ ไม่ใช่ตัวโปรแกรมทั้งหมด หากแต่เป็นเพียงเฉพาะส่วนหนึ่งที่เรียกกันว่า Stage 1 ของ GRUB เท่านั้น ซึ่งมันจะค้นหา Stage 1.5 ของตัวมันเองไล่ลำดับไปจนถึงเคอร์เนลในที่สุด จากความสำคัญดังกล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าหาก MBR และ GRUB ที่ฝังอยู่ในส่วนต้นของฮาร์ดดิสก์ได้รับความเสียหายย่อมส่งผลให้ระบบไม่ สามารถทำงานได้ นั่นคือ ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ของเราจะบูตไม่ขึ้นอย่างแน่นอน และถือว่าเป็นจุดตายที่พบค่อนข้างบ่อยมากอาการหนึ่ง แนวทางป้องกัน “จุดตายที่ 1” ทำได้โดยสำรอง MBR ไว้ในแผ่นดิสก์ โดยใช้คำสั่งหรือโปรแกรมสำเร็จรูปก็ได้ และในกรณีที่ต้องการใช้หลายระบบปฏิบัติการในเครื่องเดียวกันควรติดตั้งระบบ ปฏิบัติการวินโดวส์ “ก่อน” ลีนุกซ์เสมอ เพราะการติดตั้งวินโดวส์จะเขียนข้อมูลทับ GRUB Stage 1 ให้เสียหายได้ ส่วนการแก้ไขปัญหากรณีที่ GRUB Stage 1 โดนทำลายไปแล้ว จะต้องใช้แผ่นบูตของลีนุกซ์บูตแทนฮาร์ดดิสก์ หรือใช้เทคนิคที่เรียกว่า Linux Rescue ก็ได้เช่นกัน จุดตายที่ 2 คอนฟิกของ GRUB เราได้ทราบถึงความสำคัญของโปรแกรม GRUB ไปพอสมควรแล้ว และทราบแล้วว่า GRUB ไม่ได้อยู่ที่ MBR เท่านั้น แต่ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกในไดเร็คทอรี่ /boot/grub เรียกว่าเป็นคอนฟิกทั้งหมดของ GRUB ก็ได้ ในพื้นที่นี้มีไฟล์สำคัญๆ ได้แก่ grub.conf stage1 e2fs_stage1_5 และ stage2 โดยเฉพาะไฟล์ grub.conf นั้น มีรายละเอียดการทำงานระบุไว้ภายใน ทั้งยังเป็นไฟล์ข้อความธรรมดาอีกด้วย จึงมีความเสี่ยงสูงมากที่จะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข จนมีผลทำให้ระบบไม่สามารถบูตได้ตามปรกติ หรือมีโอกาสที่ผู้ที่บุกรุกเข้าสู่ระบบจะทำการแก้ไขคอนฟิกเพื่อให้เคอร์เนล (ซึ่ง GRUB เป็นผู้กระตุ้นให้ทำงาน) มีการทำงานที่เอื้อต่อการเปิดช่องโหว่ขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่หายนะที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นสำหรับเซิร์ฟเวอร์ในระบบอินเตอร์เน็ต แนวทางการป้องกัน “จุดตายที่ 2” คือ ควรใช้เซ็ต immutable bit เพื่อป้องกันการแก้ไขไฟล์โดยไม่ตั้งใจ และ ควรกำหนดพารามิเตอร์ในการเม้าต์พื้นที่นี้เป็นแบบอ่านได้เท่านั้น (Read Only) สำหรับการแบ๊คอัพคอนฟิกไว้คงไม่ต้องกล่าวให้เปลืองเวลาเพราะเป็นภารกิจปรกติ ของผู้ดูแลระบบที่ทราบกันดีอยู่แล้ว จุดตายที่ 3 เคอร์เนลและไฟล์ประกอบทั้งหมด คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เคอร์เนล คือ หัวใจสำคัญของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ “จุดตายที่ 3” จึงตกอยู่ที่ /boot ซึ่งเป็นไดเร็คทอรี่ที่จัดเก็บไฟล์เคอร์เนลรวมทั้งไฟล์อื่นๆ ที่ร่วมกันทำงานกับเคอร์เนล โดยเฉพาะในขั้นตอนของการบูตระบบในครั้งแรกที่เปิดเครื่อง เราไม่อาจย้ายตำแหน่งที่เก็บเคอร์เนลไปที่อื่นได้ เหตุผลเนื่องมาจากข้อจำกัดของโปรแกรมประเภท Boot Loader (เช่น GRUB) จะต้องสามารถค้นหาและโหลดไฟล์เคอร์เนลได้ง่ายที่สุดนั่นเอง ไดเร็คทอรี่ /boot จึงกลายเป็น “เป้านิ่ง” ให้ผู้ไม่หวังดีโจมตีได้ง่ายมาก โดยเฉพาะเมื่อโปรแกรมแอปพลิเคชั่นที่กำลังทำงานอยู่มีช่องโหว่ด้านความ ปลอดภัยทางเครือข่าย ประเด็นสำคัญอีกข้อก็คือ เนื่องจากไฟล์เคอร์เนลและไฟล์ประกอบทั้งหลายใน /boot นี้ไม่ใช่ไฟล์ข้อความธรรมดา การโจมตีจึงเป็นลักษณะ “เช็คบิล” ล้วนๆ คือ ทำลายให้เสียหายเท่านั้น ผลลัพธ์คือ บูตไม่ได้นั่นเอง สำหรับแนวทางการป้องกัน ยังคงเหมือนกับ /boot/grub ที่ได้กล่าวไปแล้ว เพราะทั้งสองพื้นที่นี้อยู่ร่วมกัน การแยกเม้าต์เฉพาะ /boot และทำให้เม้าต์แบบ Read Only จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทั้งจุดตายที่ 2 และจุดตายที่ 3 จุดตายที่ 4 SELinux SELinux ย่อมาจาก Security Enhanced Linux เป็นคุณสมบัติด้านการรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มเติมขึ้นในเคอร์เนลลีนุกซ์ รุ่นใหม่ตั้งแต่ 2.6 ขึ้นไปก็จะมีรวมไว้เสมอ ซึ่งมีความซับซ้อนในการบริหารจัดการอยู่พอสมควร และยังถือว่าเป็นของใหม่สำหรับหลายๆ ท่านอยู่ในเวลานี้ ดังนั้นคุณสมบัตินี้จึงถูกออกแบบให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกโหมดในการทำงานและ สามารถเปิดปิดการทำงานได้ตามความต้องการ มีข้อดีอย่างนี้แล้ว SELinux จะเป็น “จุดตายที่ 4” ได้อย่างไร ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า SELinux มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเคอร์เนลมาก คือ เป็นส่วนหนึ่งในเคอร์เนลเลยทีเดียว ดังนั้นเมื่อมีความผิดปรกติใดก็ตามเกี่ยวกับ SELinux ย่อมทำให้การทำงานของเคอร์เนลผิดปรกติไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตัวอย่างหนึ่งก็คือ ไฟล์คอนฟิกของ SELinux ที่มีปรากฏในลีนุกซ์ตระกูล Red Hat ทั้งหมด ได้แก่ Red Hat Enterprise Linux ,Fedora Core ,CentOS จะมีไฟล์ชื่อ /etc/sysconfig/selinux ซึ่งใช้ในการกำหนดการทำงานให้แก่เคอร์เนลในเรื่องเกี่ยวกับ SELinux หากไฟล์นี้ถูกแก้ไขผิดเพี้ยนไป ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ บูตไม่ขึ้นครับ อาการที่ปรากฏก็คือ ถึงกับ Kernel Panic เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นจึงใคร่ขอแนะนำว่า การที่จะไปแก้ไขคอนฟิกไฟล์โดยตรงด้วยโปรแกรมแก้ไขข้อความ ( vim หรือ nano ) เป็นทางเลือกที่ต้องระมัดระวัง หากสามารถใช้โปรแกรมคำสั่งที่กำหนดให้ใช้ก็จะปลอดภัยกว่า แต่ถ้าถนัดที่จะแก้ไขโดยตรงเองก็ต้องเพิ่มความละเอียดรอบคอบมากยิ่งขึ้น สรุปแล้ว “จุดตายที่ 4” นี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เราเรียกกันว่า “Admin Error” ก็คงไม่ผิด จุดตายที่ 5 ไฟล์ธรรมดา..ที่ไม่ธรรมดา จุดตายที่ 5 นี้ อันที่จริงยังไม่ถึงขั้นร้ายแรงนัก เรียกว่า แค่เอ๋อ..ยังไม่ถึงตาย ไฟล์คอนฟิกบางไฟล์นั้น ดูเผินๆ ก็เป็นแค่ไฟล์ธรรมดาที่คุ้นๆ กันอยู่ (ผ่านไปผ่านมา..ไม่เคยสนใจ) แต่อาจจะสร้างความผิดปรกติให้ระบบได้อย่างคาดไม่ถึง และมีอำนาจมากพอจะเปลี่ยนให้ “แอดมินผู้เชี่ยวชาญ” ให้กลายเป็น “แอดมึนผู้มืดมน” ไปได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่นไฟล์ /etc/hosts ซึ่งเป็นไฟล์ที่มีปรากฏในโฮสต์ทุกระบบปฏิบัติการที่ทำงานกับระบบเครือข่าย TCP/IP โดยหน้าที่แล้วไฟล์นี้ใช้เก็บรายชื่อโฮสต์จับคู่กับหมายเลขไอพีไว้เท่านั้น เอง ไม่ว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการติดต่อกับโฮสต์ต่างๆ แม้แต่การติดต่อกับโฮสต์ตัวเองก็จะต้องเปิดไฟล์นี้เพื่ออ้างอิงชื่อและหมาย เลขไอพีที่ถูกต้อง แล้วเพราะเหตุใดจึงนับว่าเป็น “จุดตาย” ประเด็นอยู่ตรงที่โปรแกรมแอปพลิเคชั่นทุกๆ โปรแกรมที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชื่อโฮสต์ จะต้องสามารถอ้างอิงถึง “ตัวเอง” ได้ เช่น localhost หรือชื่อใดๆ ที่ตั้งขึ้นก็ตาม เพื่อให้วงจรของการสื่อสารดำเนินไปอย่างถูกต้อง ดังนั้นหากชื่อโฮสต์ของ “ตัวเอง” ที่ระบุไว้ในไฟล์นี้ ไม่ถูกต้องแล้ว ผลก็คือจะทำให้โฮสต์ของเราไม่รู้จัก “ตัวเอง” ว่าชื่ออะไรกันแน่ ผลที่เกิดขึ้นจะทำให้ระบบของเราเกิดอาการ “เอ๋อ” ได้อย่างไม่ต้องแปลกใจ เช่น โฮสต์ของเราชื่อ nomnam.example.com เมื่อได้รับอีเมล์ที่ส่งมาถึง user@nomnam.example.com โฮสต์ของเราก็ไปมองในไฟล์ /etc/hosts ปรากฏว่าระบุไว้เป็นชื่ออื่น โฮสต์ของเราก็จะปฏิเสธ (reject) อีเมล์ฉบับนั้นไปซะนี่ แทนที่จะรับไว้ให้แก่ user ซึ่งมันคงคิดไปว่า “ฉันไม่ได้ชื่อ nomnam.example.com ซะหน่อย..นี่ไม่ใช่อีเมล์ของฉัน..” เพราะฉะนั้นโปรดอย่ามองข้ามจุดเล็กๆ น้อยๆ มิฉะนั้นมันอาจกลายเป็น “จุดตาย” ขึ้นมาก็ได้ จุดตายที่ 6 เข้าเกียร์ไม่ได้..ก็จอดสนิท ลีนุกซ์ทุกสายพันธุ์จะมีศูนย์กลางของการควบคุมการทำงานของโปรเซสที่รับ ช่วงต่อจากเคอร์เนลที่เหมือนกันหมด คือ โปรแกรม init และไฟล์คอนฟิกที่ทำงานคู่กันก็คือไฟล์ /etc/inittab เปรียบเสมือนฟันเฟืองชิ้นเล็กๆ ที่ใช้ควบคุมการส่งกำลังของรถยนต์ ไฟล์ทั้งสองนี้มีหน้าที่ควบคุมการบูตเข้าสู่การทำงานในโหมดต่างๆ ของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไปจนถึงการปิดเครื่องหรือการรีบูตเครื่อง ซึ่งโหมดต่างๆ เหล่านี้เราเรียกว่า Run Level โดยใช้ค่าตัวเลขในการแทนความหมาย เช่น runlevel 0 หมายถึงการปิดเครื่อง (halt) เป็นต้น จากความสำคัญที่กล่าวมา จึงทำให้เราค้นพบ “จุดตาย” อีกจุดหนึ่ง ซึ่งโอกาสที่ /sbin/init จะถูกโจมตีในลักษณะ Rootkits ก็มีปรากฏมาแล้ว (ถูกดัดแปลงโค๊ดภายในจนกลายเป็นเครื่องมือของแฮกเกอร์) ไฟล์ /etc/inittab ที่มีสภาพเป็นไฟล์ข้อความธรรมดาย่อมถูก “รบกวน” ได้ไม่ยากเลย แม้กระทั่งความผิดพลาดของผู้ดูแลระบบเองก็ทำให้ถึงกับ “จอดสนิท” ได้เช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น ภายใต้การทำงานของโปรแกรม init ยังมีไฟล์ย่อยๆ อีกจำนวนมาก ที่รวมกันทำงานเพื่อควบคุมการเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการ คือ /etc/rc.d/rc.sysinit และ /etc/rc.d/rc ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระบบย่อยที่เรียกว่า System Services แบบ SysV เพื่อเริ่มต้นการทำงานหรือยุติการทำงานของโปรแกรมบริการ (เช่น บรรดาเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ) ทั้งหมดในระบบอีกด้วย หนทางป้องกัน “จุดตายที่ 6” นี้ คงหนีไม่พ้น “immutable bit” เท่านั้น เนื่องจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อยู่ร่วมกันในเม้าต์พอยต์ “/” ทั้งสิ้น เรียกว่า One Problem One Solution จริงๆ (ไม่เช่นนั้นคงไม่เรียกว่า “จุดตาย” จริงไหมครับ) จุดตายที่ 7 ร่างกาย..ขาดรุ่งริ่ง โครงสร้างของทุกสรรพสิ่งในโลกของเรา เกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ นำมาประกอบเข้าด้วยกัน การที่ระบบปฏิบัติการจะรวมกันและทำงานได้นั้น จำเป็นต้องมี “ข้อต่อ” ที่ช่วยยึดส่วนต่างๆ เช่นเดียวกัน ศูนย์กลางของการเชื่อมโยงดิสก์พาร์ทิชั่นทั้งหลายของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ก็คือ “จุดตาย” ที่จะกล่าวถึง ในที่นี้ก็คือไฟล์ /etc/fstab ซึ่งเป็น “ผู้ให้ข้อมูล” เกี่ยวกับการเชื่อมโยงดิสก์พาร์ทิชั่นทั้งหมดของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เข้า ด้วยกัน ทั้งระบบไฟล์ที่เชื่อมโยง (mount) แบบถาวร และระบบไฟล์ของอุปกรณ์ประเภทถอดเปลี่ยนได้ (Removable Data Storage) ไฟล์ /etc/fstab เป็นไฟล์ข้อความธรรมดา จึงมีปัญหาที่คล้ายกับ “จุดตาย” อื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว มันถูกเปลี่ยนแปลงข้อความภายในได้ง่าย สิ่งที่อยู่ภายในมีความสำคัญต่อการเชื่อมโยงระบบไฟล์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน แล้วจะมีอะไรที่ “เสี่ยง” มากไปกว่านี้อีก ในเบื้องลึกไฟล์ /etc/fstab ไม่ได้ทำงานอย่างเอกเทศ แต่มันยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่ “ยากต่อการป้องกัน” อีกด้วย ตั้งแต่โปรแกรมคำสั่ง /bin/mount ซึ่งทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงระบบไฟล์ต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยอ้างอิงข้อมูลจาก /etc/fstab อีกที แถมโบนัสความเสี่ยงด้วยการที่มีการกำหนดสิทธิแบบพิเศษเป็น SUID อีกต่างหาก ซึ่งทำให้ผู้ที่รันโปรแกรม mount นี้จะมีสิทธิ์สูงเทียบเท่า root เลยทีเดียว ลองคิดดูสิครับว่าอะไรจะเกิดขึ้นถ้าไฟล์ mount นี้ถูกสวมรอยโดย Rootkits ...??? นอกจากนี้ในกระบวนการ mount อันเป็นสิ่งปรกติในระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ยังมีส่วนประกอบที่คุณไม่สามารถ “ป้องกันการเขียน” (Write Protect) ได้อีกด้วย นั่นคือไฟล์ /etc/mtab ซึ่งคล้ายกับกระดาษทดที่ใช้ตลอดเวลาที่มีการ mount เกิดขึ้น ถ้าไฟล์นี้เสียหายหรือเปลี่ยนแปลงไประบบย่อมเพี้ยนไปอย่างแน่นอน จุดตายที่ 8 แหล่งกบดาน..ของวายร้าย ถ้าสิ่งที่กล่าวมานี้เป็นฝันร้ายแล้วล่ะก็... คุณคงจะต้องนิยามความหมายของคำว่าฝันร้ายใหม่ซะแล้ว เพราะ “จุดตาย” ที่จะชึ้ให้เห็นต่อไปนี้เป็นเสมือนแหล่งซ่อนตัวหรือกบดานของเหล่าวายร้ายที่ จะแฝงเข้ามาอาศัยในเซิร์ฟเวอร์ของเรา แล้วจากนั้นจะใช้เครื่องของเราเป็นฐานในการโจมตีผ่านเครือข่ายไปยังโฮสต์ อื่นๆ ต่อไป ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้จะคุ้นเคยกันในชื่อต่างๆ เช่น Backdoor หรือTrojans นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางที่เหล่าวายร้ายจะนำสิ่งที่เรียกว่า Shell Code มาฝังไว้ได้ โดยจะทยอยส่งโค๊ดเข้ามาทีละเล็กทีละน้อยจนกลายเป็นโปรแกรมใหญ่มากพอที่จะทำ งานได้ตามที่ต้องการ แน่นอนว่าพื้นที่เหล่านี้จะต้องมีช่องโหว่มากพอที่ใครก็ตามสามารถ “เขียน” ข้อมูลลงไปได้ คือ มี Permission Mode เป็น w (write) ตามมาด้วย Permission Mode เป็น x (Execute) ซึ่งจะทำให้โค๊ดที่ผ่านการ “ประกอบร่าง” สำเร็จแล้วสามารถรันได้อีกด้วย “จุดตายที่ 8” นี้ มีอยู่ทั่วไปในระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ที่เห็นได้ชัดเจนว่ามี Permission Mode สูงพอสำหรับการ “เขียน” และการ “รัน” ( ค่าของ Permission Mode สูงประมาณ 755 ขึ้นไป) ได้แก่ /tmp ,/var/tmp และ /dev/shm ทั้งสามจุดนี้มี Permission Mode เป็น drwxrwxrwt หรือ 1777 การป้องกันทำได้โดยแยก mount point ออกไปจาก mount point “/” กำหนด option ของการเม้าต์ไม่อนุญาตให้สามารถรันโปรแกรมได้ และใช้โปรแกรมประเภท Local IDS ต่างๆ มาช่วยในการเฝ้าระวัง (ถึงแม้จะได้แค่เฝ้าระวังก็ยังดีกว่าไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง) สิ่งสำคัญที่ต้องเตือนให้ทราบไว้ก็คือ กรุณาอย่าคิดว่าจะไปเปลี่ยน Permission Mode ของ “จุดตาย” เหล่านี้ให้น้อยลงนะครับ เพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบและโปรแกรมต่างๆ ทำให้ทำงานผิดปรกติได้ เท่ากับไป “วางยา” ตัวเองเสียอีก จุดตายที่ 9 ไม่ขาด..แต่เกินก็มีปัญหาได้ เป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้วว่า ถ้าส่วนประกอบของระบบสูญหายไป ย่อมทำให้ระบบทำงานไม่ได้หรือเกิดความผิดปรกติขึ้น เช่น ไฟล์คอนฟิกสำคัญหายไป หรือข้อความภายในผิดเพี้ยนไป เป็นต้น แต่ในทางกลับกัน ถ้ามีไฟล์แปลกปลอมหลงเข้าไปในระบบบ้างล่ะ จะเกิดปัญหาได้หรือไม่ “จุดตายที่ 9” นี้ เป็น พื้นที่ไดเร็คทอรี่ที่มีความอ่อนไหวเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพื้นที่เก็บคอนฟิกไฟล์ของโปรแกรมต่างๆ ทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวระบบปฏิบัติการมากๆ ไปจนถึงส่วนเฉพาะโปรแกรมบริการบางโปรแกรม ที่มีข้อจำกัดในด้านการทำงานมากๆ ถ้ามีไฟล์ “ส่วนเกิน” หลงเข้าไปแล้วล่ะก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ความเปราะบางเช่นนี้พิจารณาดูดีๆ แล้ว น่าจะจัดว่าเป็น “ข้อบกพร่อง” (Bug) ของโปรแกรมก็คงไม่ผิด ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ /etc/xinetd.d/ ที่ไดเร็คทอรี่นี้จะเป็นที่เก็บไฟล์คอนฟิกย่อยๆ ของ Xinetd ซึ่งเป็น Super Server ที่ให้บริการด้านระบบเครือข่ายต่างๆ เนื่องจากรูปแบบของไฟล์คอนฟิกย่อยๆ เหล่านี้จะต้องมีไวยกรณ์ต่างๆ ตรงตามกำหนดไว้เท่านั้น ผิดเพี้ยนแม้แต่น้อยก็จะทำให้ Super Server หรือลูกพี่ใหญ่เริ่มต้นทำงานไม่ได้เลย ดังนั้นหากมีไฟล์อะไรก็ตามหลงเข้ามาปะปนในพื้นที่นี้ การแปลความหมายก็จะเข้าใจว่าเป็นไวยกรณ์ที่ผิดปรกติ และส่งผลให้ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ในที่สุด บริการเซิร์ฟเวอร์ทั้งหลายภายใต้ Xinetd ก็พลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วยนั่นเอง กรณีปัญหาที่เกิดจากไฟล์ “ขาดหาย” ไม่ครบตามปรกติคงเป็นปัญหาที่แสนธรรมดามากเมื่อเทียบกับปัญหาที่มีไฟล์ “เกิน” เข้ามาในระบบเช่นนี้ จุดตายที่ 10 ยังไม่ถึงตาย...แค่หายใจติดขัด ปัญหาบางลักษณะที่เกิดขึ้นกับเซิร์ฟเวอร์ลีนุกซ์ของเรา บางครั้งจะไม่ถึงขนาดที่รุนแรงนัก เพียงแต่สร้างความไม่ปรกติให้เห็นได้ หรือส่งผลกระทบกับบางเรื่องเท่านั้น แต่ถ้าไม่เตรียมการป้องกันไว้ก็จะเกิดปัญหาขึ้นบ่อยๆ หรือหากเกิดปัญหาขึ้นก็จำเป็นต้องเร่งแก้ไขอยู่ดี ดังนั้นหากจะนับรวมเป็นอีกหนึ่ง “จุดตาย” ก็คงไม่ผิดกติกา ตัวอย่างของอาการปัญหาประเภทนี้ ได้แก่ ปัญหาเนื้อที่ดิสก์เต็ม (Disk Full) ในบางจุด โดยเฉพาะที่พบบ่อยมากๆ คือ พื้นที่ /tmp และ /var เนื่องจากโปรแกรมบางตัวไม่มีระบบป้องกันตัวเองเมื่อพื้นที่จัดเก็บข้อมูล เกิดความขัดข้อง ทำให้ไม่สามารถบันทึกหรือเขียนข้อมูลได้ เช่น โปรแกรมประเภทเว็บที่เขียนด้วยภาษา PHP หรือโปรแกรมในกลุ่มฐานข้อมูล อาจจะออกแบบให้พักข้อมูลที่ /tmp เมื่อใดก็ตามที่พื้นที่นี้เต็มหรือไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ ก็จะมีอาการผิดปรกติขึ้นทันที และเป็นเช่นนั้นไปจนกว่าจะได้รับการแก้ไข ปัญหาทำนองเดียวกันนี้จะพบได้ในเรื่องของการจัดเก็บบันทึกไฟล์สถานะ หรือ Log ต่างๆ อีกด้วย เช่น พื้นที่ /var/log เกิดอาการเต็มขึ้นมาระบบจะไม่สามารถบันทึก log ต่อไปได้ อาจมีผลทำให้โปรแกรมต่างๆ หยุดทำงานได้เช่นกัน หนทางป้องกันก็คือ ควรตรวจดูว่าแต่ละโปรแกรมที่เราใช้งานนั้นมีการพักข้อมูลที่ใดบ้าง ควรจัดสรรให้มีเนื้อที่เพียงพอต่อการทำงานของระบบและโปรแกรมต่างๆ ทั้งหมด บางโปรแกรมจะสามารถกำหนดค่าในคอนฟิกได้ว่าจะย้ายไปใช้พื้นที่อื่นๆ หรือไม่ ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง หรือขยับมิให้โปรแกรมหลายๆ โปรแกรมมาใช้พื้นที่เดียวกันมากจนเกินไป และสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะนำโปรแกรมที่ช่วยบริหารจัดการดิสก์ ระบบจัดการเกี่ยวกับบันทึก Log File ได้แก่ Log watch ,Log Rotate และ SysLOG มาช่วยจัดการก็จะลดภาระผู้ดูแลระบบไปได้มาก ถึงเวลา..สำรวจจุดตาย ผู้เขียนได้ชี้ “จุดตาย” ในระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ให้ได้ทราบกันแล้วถึง 10 จุด พร้อมเสนอแนะแนวทางการป้องกัน ตลอดจนเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ในทางปฏิบัติแล้วผู้ดูแลระบบควรตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ควรศึกษาหาความรู้ และมีกำหนดการที่จะตรวจตราดูสภาพการทำงานของระบบทั้งหมดอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้เซิร์ฟเวอร์ลีนุกซ์ของเราต้องตกอยู่ในสภาพ “เฉียดตาย” แล้วจึงจะหาทางแก้ปัญหา เพราะเมื่อถึงเวลานั้นมันอาจจะสายเกินไปแล้วก็ได้