ตอนนี้ผู้เขียนจะสาธิตการใช้ Firebird ด้วยโปรแกรมจัดการฟรีอีกเช่นกัน
เนื่องจากตัวของเจ้า Firebird เองก็เป็นฐานข้อมูลในแนวไร้หน้าตา ไร้ GUI
เช่นเดียวกับ MySQL จึงต้องพึ่งโปรแกรมในการจัดการ (Database Management)
ตัวอื่นๆ เพราะกลุ่มผู้พัฒนา Firebird ไม่พัฒนาออกมาให้ด้วย (MySQL มี
Oracle จัดให้)
ผู้เขียนเสนอโปรแกรมตัวที่ฟรี และก็ใช้งานได้สะดวกพอสมควร คือ EMS SQL Manager for InterBase/Firebird
การใช้งาน EMS SQL Manager
เมื่อติดตั้งเสร็จ เปิดโปรแกรมครั้งแรกจะมีหน้าต่างถามถึงรูปแบบในการแสดงผล
|
ผู้เขียนใช้ค่าเริ่มต้น แล้วกด OK เพื่อใช้งาน |
- Environment style > MDI environment : จะแสดงเป็นหน้าต่างย่อยๆภายในเหมือนกับ Microsoft Office หรือ SQL Server 2000 นั่นเอง
- Floating windows environment : จะแสดงเหมือนกับ Conponent pirate ของ Delphi หรือเหมือนกับ SQL Server 2008 นั่นเอง
จะพบกับหน้าต่างแสดง Version ของ EMS SQL Manager ซึ่งหากต้องการใช้งานแบบ
Full Option จะสามารถใช้งานได้แค่ 30 วันเท่านั้น ให้กดปุ่ม Close
|
หากต้องการใช้งาน
แบบ Full ให้คลิ๊กเลือก 30 days left หรือดูรายละเอียดก่อนที่ Link
ตามลูกศร หากต้องการใช้แบบ Free version ให้กด Close |
ขั้นตอนแรกจะต้องทำการ Register Host และ Register
Database ก่อน โดยใช้ปุ่มด้านบนของ Tools bar หรือคลิ๊กเมาส์ขวาในช่อง
Databases ก็ได้
|
ปุ่ม Register Database และ ปุ่ม Register Host |
Register Host
ผู้เขียนใช้ Firebird ที่เครื่องตัวเอง จึงใส่ Host name เป็น localhost หรือจะใช้ 127.0.0.1 ก็ได้
เลือก
Protocal เป็น Local หากไม่ทราบ Port ให้ปล่อยว่างไว้ จากนั้นให้ใส่ User
name และ Password เป็นค่าเริ่มต้นของ Firebird คือ User name = SYSDBA และ
Password = MASTERKEY
จากนั้นใช้ค่า Preferences ของ Firebird
ด้วยการกดที่ Get Server Preferences โปรแกรมจะกำหนดค่า Port และ Client
Library ด้านล่างให้อัตโนมัติ
จะพบหน้าต่างการตั้งค่าต่างๆสำหรับการเข้าใช้ Host
|
Path to database utilities ให้เลือกที่อยู่ของ Utilities ต่างๆ จะใช้ค่าเริ่มต้นก็ได้ เสร็จแล้วกด Finish |
|
หากไม่มีข้อผิดพลาด จะสามารถเชื่อมต่อกับ Host ได้ทันที จะเห็นได้จาก Tab Databases |
Create Database
กดปุ่ม Create Database ใน Tools bar ด้านบน
|
เลือก Host ที่เพิ่ง Register ไป |
|
เลือกที่อยู่ของ Database File (ไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูล) ใส่ User/Password ของ Host ให้เรียบร้อย อย่าลืมกำหนด Charset เป็น "UTF8" |
|
โปรแกรมจะสร้าง
SQL เพื่อสร้าง Database บน Host นี้ และเมื่อติ๊กเครื่องหมายที่ Register
the database after creating จะนำทางไปสู่ขั้นตอนการ Register Database |
|
ตรวจสอบข้อมูลให้ถุกต้อง อย่าลืมเปลี่ยน Font charset เป็น "THAI_CHARSET" ด้วย จากนั้นกด OK |
|
Database ชื่อ TEST ถูกสร้างขึ้นพร้อมใช้งาน |
Register Database
ในตอนนี้ผู้เขียนจะแนะนำการ Register Database หากมี Database File ที่สร้างไว้แล้ว
ขั้นตอนแรกให้ใช้ปุ่ม Register Database ที่อยู่ใน Tools bar ด้านบน จะพบหน้าต่าง Register Database
|
ผู้เขียนเลือก localhost:3050 ที่เพิ่ง Register ไป ตัวเลข 3050 คือ Port ในการรับส่งข้อมูลนั่นเอง |
- Database is located on the host already registered in SQL Manager : เลือก Register Database บน Host ที่มีอยู่แล้ว
- Database is located on a newhost : ต้องการ Register Database กับ Host ใหม่
|
ใส่ User name และ Password ของ Host แล้วกด Next |
|
ขั้นตอนนี้ก็เหมือนเดิม ตรวสอบเสร็จอย่าลืมตั้งค่า Font charset เป็น "THAI_CHARSET" ด้วย
|
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น