3/11/2553

Bluetooth

บทนำเกี่ยงกับ Bluetooth (Introduction to Bluetooth)

1.1 ประวัติความเป็นมาของ Bluetooth

“Bluetooth ไม่ได้หมายถึง “ฟันสีฟ้า” หากแต่คือตำนานของกษัตริย์นักรบไว้กิ้งผู้ยิ่งใหญ่แห่งดินแดนสแกนดิเนเวีย

เมื่อพันกว่าปีมาแล้ว ณ ดินแดนที่เป็นประเทศเดนมาร์กในปัจจุบันได้เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักร Jutland ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ Gorm ผู้ชรา ค.ศ.908 องค์มเหสีแห่งกษัตริย์ Gorm ได้ให้กำเนิดโอรส นามว่า Herald

clip_image004 clip_image006

รูปที่ 1.1 กษัตริย์ Harald Bluetooth ปี ค.ศ. 940-981

(ที่มาของรูป : http://www.siamphone.com/news/bluetooth/page.htm)

Herald ได้ถูกเลี้ยงดูและเติบโตมาในวิถีของลูกผู้ชายชาวไวกิ้งที่มีชีวิตอยู่ด้วย การล่าสัตว์และการรบโดยเฉพาะการรบทางเรือ ที่โลกรู้จักกันดีในนามของ “เรือไวกิ้ง” ที่มีหัวเป็นรูปมังกรเพื่อสร้างความน่าเกรงขาม นักรบไวกิ้ง (Warrior Vikings) มักใช้ดาบหรือขวานเป็นอาวุธในมือเข้าประจัญกับข้าศึกส่วนมืออีกข้างถือโล่ เป็นเกราะกำบังกาย การรบที่ดุเดือดและห้าวหาญทำให้ชาวไวกิ้งได้รับฉายาว่า “คนเถื่อน” พวกเขามีพระเจ้าของพวกเขาเอง จึงไม่ลังเลที่จะทำลายโบสถ์และวัดของชาวคริสต์ที่เป็นศัตรู ทำให้ถูกมองว่าเป็นพวกปีศาจ และนี่เองจึงเป็นที่มาของจินตนาการ ที่เมื่อใดที่นึกถึงชาวไวกิ้ง ต้องมีภาพของคนเถื่อนสวมหมวกเหล็กที่มีเขา (ของปีศาจ) ติดอยู่เสมอ Harald นั้นได้เรียนศิลปะการใช้ดาบและการยิงธนูจนเชี่ยวชาญ เมื่อเติบใหญ่จึงกลายเป็นนักรบผู้สามารถ และได้ครองบัลลังก์ต่อจากบิดา ในยุคของเขานั้น อาณาจักรแถบสแกนดิเนเวีย ทั้งเดนมาร์กและนอร์เวย์ได้ถูกรวมเข้าเป็นปึกแผ่นด้วยความสามารถในด้านการรบ และการเมืองการปกครองของ Herald และเพื่อปกป้องอาณาจักรของพระองค์และเหตุผลทางยุทธศาสตร์กษัตริย์ Harald ได้ย้ายเมืองหลวงจาก Jutland มาอยู่ที่ Roskilideใกล้กับกรุงโคเปนเฮเกนในปัจจุบัน และได้สร้างป้อมปรามการ กำแพงเมือง และสะพานตามจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ และยังเป็นผู้รับเอาศาสนาคริสต์เข้าสู่ดินแดนสแกนดิเนเวียเป็นครั้งแรกอีก ด้วย

ความรุ่งเรืองของอาณาจักรทำให้เขาได้รับฉายาว่า Herald Blatand หรือ Harald Bluetooth ในภาษาอังกฤษ Bluetooth คำ ๆ นี้มาจากคำว่า Blatand ในภาษาเดนส์ แปลว่า บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ผู้มีผิวสีเข้ม The Great Man Who is Dark-skinned วาระสุดท้ายของกษัตริย์ Herald Bluetooth จบลงด้วยความตายอันแสนเศร้าจากลูกธนูในการรบครั้งสุดท้ายกับกลุ่มกบฏที่นำ โดยลูกชายและคนสนิทของตัวเอง เนื่องจากทางเข้ารีตเป็นคริสเตียน ร่างไร้ลมหายใจของพระองค์จึงไม่ถูกเผาไปกับเรือเช่นประเพณีของชาวไวกิ้งแต่ กลับถูกฝังไว้ที่โบสถ์ในเมือง Roskilde ซึ่งเป็นอนุสรณ์ถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ตราบจนปัจจุบัน จนกลายเป็นตำนานของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวเดนมาร์ก

หากชื่อนี้ยังได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้นัก วิจัยกลุ่มหนึ่ง นำมาใช้เป็นชื่อของเทคโนโลยีไร้สายชนิดใหม่ในนาม บลูทูธ(Bluetooth) ซึ่งมุ่งหมายที่จะรวบรวมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิด ต่าง ๆ รวมทั้งโทรศัพท์มือถือให้เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยหลักการแล้ว บลูทูธ คือ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย ซึ่งช่วยทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น PDA (Personal Digital Assistant) โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ Palmtop สามารถสื่อสารระหว่างกัน และติดต่อกับระบบ Internet ได้ด้วย หลักการนี้ยังได้ถูกนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ชนิดตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลกับเครื่อง Printer และ Scanner ระยะใกล้ ๆ ได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกในการใช้งานและแก้ปัญหาเรื่องสายเคเบิลสำหรับเชื่อมโยง

ทั้งหมดนี้ ทำโดยการฝังไมโครชิพขนาดจิ๋วเข้าไปในอุปกรณ์ดิจิตอลชนิดต่าง ๆ หรือเป็นการ์ดเสียบเพิ่มเติมในกรณีที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ซึ่งโมโครชิพนี้จะทำงานร่วมกับเครื่องรับส่งคลื่นวิทยุที่ฝังอยู่ภายใน อุปกรณ์เช่นกัน

Bluetooth กำลังจะกลายเป็นมาตรฐานสากลสำหรับเครือข่ายไร้สายชนิดใหม่ที่เรียกว่า Personal Area Network หรือ PAN ซึ่งไม่เพียงแต่จะใช้ติดต่อระหว่างอุปกรณ์แบบไร้สายด้วยกันเท่านั้น แต่ยังสามารถทำงานร่วมกับระบบ LAN (Local Area Network) และ WAN (Wide Area Network) เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่าย ISDN ที่มีอยู่เดิมได้ด้วย

โดยหลักการแล้ว บลูทูธ คือ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย ซึ่งช่วยทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น PDA (Personal Digital Assistant) โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ Palmtop สามารถสื่อสารระหว่างกัน และ ติดต่อกับระบบ Internet ได้ด้วย การเชื่อมต่อดังกล่าว ทำโดยติดต่อผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เรียกว่า Access Point หรือ Access Device ที่ติดตั้ง Bluetooth Chip เอาไว้คาดการณ์ในทางทฤษฎีเอาไว้ว่า Access Point แต่ละตัวจะ

สามารถรองรับอุปกรณ์ Bluetooth ได้ไม่ต่ำกว่า 0 ตัวในเวลาเดียวกัน

ผู้ที่คิดค้นเทคโนโลยีนี้ ในระยะเริ่มต้น ประกอบด้วย

1. Ericsson

2. Intel

3. Nokia

4. IBM

5. Toshiba

ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้นำในแต่ละสาขาของวงการ IT จนกระทั่งขณะนี้มีผู้สนับสนุนหลักเพิ่มอีก 4 ราย คือ 3Com Lucent Motorola และ Microsoft รวมแล้วเป็น 9 บริษัท ทั้งหมดร่วมกันพัฒนา มาตรฐานในส่วนของข้อกำหนดทางเทคนิคต่าง ๆ โดยเรียกว่า Bluetooth 1.0 Specification เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่คาดว่าจะทดสอบและแก้ไขทุกอย่างให้ลงตัวแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ การทำมาตรฐานให้ชัดเจนเช่นนี้จะทำให้เทคโนโลยี Bluetooth มีราคาที่ถูกลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับบริษัทที่สนใจจะเข้าร่วมผลิตอุปกรณ์ทั้งฮารด์แวร์และ ซอฟต์แวร์ ภายใต้เทคโนโลยี Bluetooth ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Bluetooth Special Internet Group (SIG) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้นมากกว่า 1,800 รายแล้ว และยังอยู่ในธุรกิจที่หลากหลายนับตั้งแต่ บริษัททางด้าน IT เช่น ผู้ผลิต Processor chip และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ กระทั่งผู้ผลิตกล้องถ่ายรูปเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รวมทั้งผู้ผลิตรถยนต์ (บริษัทใดสนใจจะสมัครเข้าเป็นสมาชิก แวะไปดูได้ที่ www. Bluetooth.com ปัจจุบันไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น)

ที่เกริ่นมาทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะขณะนี้ Ericsson ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ใช้เทคโนโลยี Bluetooth แล้วนั่นคือ Wireless Headset ซึ่งใช้เป็นอุปกรณ์เสริมของโทรศัพท์มือถือติดต่อกับมือถือผ่านคลื่นวิทยุ โดยไม่ต้องมีสายระโยงระยางให้เกะกะ และสามารถพูดคุยโทรศัพท์ขณะทำธุรกิจในที่ทำงาน หรือขณะขับรถยนต์ได้อย่างปลอดภัย ส่วนการโทรออกหรือใช้งานอื่น ๆ ก็สามารถทำได้โดยส่งงานด้วยเสียงพูดเท่านั้น ส่วนโครงการหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเทคโนโลยี Bluetooth ที่คาดว่าจะตามออกมาในไม่ช้านั้น นับว่ามีมากมายไร้ขีดจำกัดทีเดียว ยกตัวอย่างง่าย ๆ กับโทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) ที่ใช้เทคโนโลยี Bluetooth จะมีความสามารถรอบตัวมากขึ้น เช่น สามารถใช้เป็นเครื่อง Intercom เวลาที่อยู่ในสำนักงานหรือที่บ้านหรืออยู่ใกล้กับโทรศัพท์มือถือเครื่องอื่น คล้าย ๆ เครื่อง Walkie-Talkie ซึ่งไม่ต้องเสียค่าบริการใด ๆ หรืออาจใช้เป็นโทรศัพท์แบบไร้สาย (Portable Phone) เวลาอยู่บ้าน การโทรออกก็ทำโดยผ่าสายโทรศัพท์บ้านซึ่งค่าบริการถูกกว่าโทรศัพท์มือถือ เรียกได้ว่าเป็นThree-I-One Phone เลยทีเดียว และในทุก ๆ กรณีจะสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยอัตโนมัติ (Instant Internet) เพื่อรับส่งเมล์หรือท่องเว็บได้ตลอดเวลา เครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์ในสำนักงาน เช่น คอมพิวเตอร์ พริ้นเตอร์ สแกนเนอร์ แฟกซ์ ตลอดจนคีย์บอร์ดและเมาส์ ก็จะไม่มีสายเชื่อมต่อให้เกะกะและมักสร้างปัญหาเสมอ ๆเวลาที่ต้องมีการเคลื่อนย้าย ตัวอย่างที่ดีอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถอย่างรอบด้านของเทคโนโลยี Bluetooth ก็คือ กล้องถ่ายรูปหรือกล้องถ่ายวิดีโอระบบดิจิตอลที่สามารถส่งภาพโปสการ์ด (Instant Postcard) หรือภาพวิดีโอเคลื่อนไหวต่าง ๆ จากกล้องในมือของคุณ ผ่านไปยังโทรศัพท์มือถือเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และส่งไปให้ใครก็ได้บนโลกดิจิตอลใบนี้ ที่ออกจะเกินไปหน่อย แต่ดูล้ำสมัยเป็นโลกอนาคตดี ก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านไม่ว่าจะเป็น ตู้เย็น เตาอบไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า รวมทั้งเตาต้มกาแฟที่ใช้ Bluetooth Technology ซึ่งจะสามารถทำงานต่าง ๆ เช่น ดาว์นโหลดสูตรทำอาหาร หรือรับคำสั่งต่าง ๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ไม่ว่าเจ้าของบ้านจะอยู่ที่ไหนก็ตาม

จากความคาดหวังและการร่วมไม้ร่วมมือของบริษัท ต่าง ๆ ในวงการคอมพิวเตอร์และวงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คงทำให้เทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ และกลายเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรมในไม่ช้า แต่ทุกอย่างในโลกคงไม่มีอะไรแน่นอน

สำหรับเทคโนโลยี Bluetooth เรื่องคงไม่จบลงอย่างเศร้าสร้อยขนาดนั้น แต่ถึงอย่างไร ก็คงต้องรอให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าอนาคตของเทคโนโลยีตัวนี้จะสดใสอย่าง ที่คาดกันไว้หรือไม่

1.2 กำเนิด Bluetooth

เมื่อ Ericsson Mobile Communication ได้ เริ่มศึกษาสิ่งที่จะมาทดแทนสายเคเบิล สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยในการศึกษา จะมุ่งไปที่การใช้งาน สัญญาณวิทยุ เนื่องจาก สัญญาณวิทยุ ไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรง ซึ่งเป็นข้อดีที่มีมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการศึกษา ไม่ได้มุ่งศึกษาเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียงด้วย เพื่อใช้สำหรับ Headset ของโทรศัพท์เคลื่อนที่

ปี 1994 บริษัท อีริคสัน โมบาย คอมมูนิเคชั่น เริ่มต้นที่จะค้นคว้าวิจัยความเป็นไปได้ในการนำคลื่นสัญญาณวิทยุ มาใช้ระหว่างโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ต่างๆ และเป็นผู้นำชื่อ Bluetooth มาใช้

ปี 1998 กลุ่มผู้พัฒนาวิจัยระบบ Bluetooth ได้ถูกก่อตั้งขึ้น โดยเกิดจากการรวมตัวของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Ericsson, Nokia, IBM, Toshiba และ Intel ในกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า Special Interest Group (SIG) ซึ่งในกลุ่มจะประกอบด้วย กลุ่มผู้นำทางด้านโทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ได้ประเมินว่า ภายในปี 2002 ในอุปกรณ์การสื่อสาร, เครื่องใช้, คอมพิวเตอร์ จะถูกติดตั้ง Bluetooth ที่จะใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ อย่างแพร่หลาย

clip_image007clip_image008

รูปที่ 1.2 บริษัทที่เริ่มใช้ Bluetooth

(ที่มาของรูป : http://www.siamphone.com/news/bluetooth/page.htm)

โดยในปีเดียวกัน บริษัทเหล่านี้ ได้ประกาศ การรวมตัวกัน และเชิญชวนบริษัทอื่นๆ ให้เข้าร่วม ในลักษณะของการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ โดยในปี 1999 ได้ทำการเผยแพร่ Bluetooth specification Version 1.0 และได้สมาชิกเพิ่มขึ้น ดังนี้ Microsoft, Lucent, 3Com, Motorola

Bluetooth คืออะไร (What is Bluetooth)

2.1 Bluetooth คืออะไร

Bluetooth คือมาตรฐานของเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย ที่ใช้คลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) ในการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในระยะทางใกล้ๆ ไม่เกิน 10 เมตร วัตถุประสงค์ของการใช้ Bluetooth คือเพื่อใช้แทนสายที่ใช้ในการเชื่อมต่อทั้งหมด

อุปกรณ์ Bluetooth สามารถรับและส่งข้อมูลที่ช่วงคลื่นความถี่ 2.4 GHz และสามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ร่วมกันได้ถึง 8 ชนิดเป็นเครือข่ายที่มีชื่อว่า Pico net ในทางทฤษฎีแล้วเทคโนโลยีนี้จะมีแบนด์วิธด์สูงสุดที่ 1 MBits / วินาที แต่ถ้าหากเป็นการใช้งาน จริงแล้วแบนด์วิธด์แบบอะซิมเมกทริกซ์จะอยู่ที่ 721 Kbits/วินาที และมีความเร็วย้อนกลับที่ 57.6 ส่วนการสื่อสาร แบบซิมเมกทริกซ์ อยู่ที่ 432.6 Kbits/วินาที เทคโนโลยีนี้เหมาะสำหรับอุปกรณ์แบบพกพาติดตัวได้เนื่องจากใช้พลังงานต่ำมาก

Bluetooth นี้ จะรองรับการรับส่งข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อมูลปกติ และข้อมูลเสียง ด้วยความเร็ว 1 Mbps ตามมาตรฐาน Bluetooth 1.x และในอนาคตอันใกล้ ก็จะขยับขยายไปเป็น Bluetooth 2.0 ซึ่งจะให้ความเร็วในการรับส่งที่เพิ่มขึ้นเป็น 10 Mbps และด้วยความที่ว่า เป็นเทคโนโลยีไร้สายแบบระยะสั้น ซึ่งใช้อุปกรณ์ภาครับ-ส่ง ( Chip transceiver ) ขนาดเล็ก และราคาไม่แพง ทำให้เหมาะกับการใช้งานกับโทรศัพท์มือถือ, เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งแบบพกพา ( Notebook ) และแบบตั้งโต๊ะ ( Desktop ) รวมถึง เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ที่เรียกว่า PDA ( Personal Digital Assistants ) จำพวก Palm หรือ Pocketpc อีกด้วย

มาตรฐาน Bluetooth สร้างขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1998 โดยการวิจัยร่วมกันระหว่างบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านการสื่อสารทางไกล (Telecommunication) และด้านคอมพิวเตอร์คือ Ericsson, IBM, Intel, Nokia และ Toshiba ในปัจจุบัน Bluetooth มีบริษัทต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิก (SIG: the Bluetooth Special Interest Group) ในการสร้าง พัฒนา และผลักดันให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีเทคโนโลยี Bluetooth เป็นส่วนประกอบมาตรฐาน ประมาณ 2500 บริษัท

clip_image009

รูปที่ 2.1 เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับ Bluetooth

(ที่มาของรูป : http://www.siamphone.com/news/bluetooth/page.htm)

clip_image010

รูปที่ 2.2 อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อด้วย Bluetooth

(ที่มาของรูป : http://www.siamphone.com/news/bluetooth/page.htm)

2.2 วัตถุประสงค์ของ Bluetooth

สาเหตุที่เทคโนโลยี Bluetooth เป็นที่สนใจสำหรับกลุ่มบริษัทต่างๆ เนื่องจาก เทคโนโลยีนี้ ทำให้การเชื่อมต่อสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่กับอุปกรณ์ต่างๆ ทำได้สะดวกขึ้น และบริษัทต่างๆ สามารถทำกำไรจากเทคโนโลยีนี้ได้ โดยการขายผลิตภัณฑ์ ที่ใช้เทคโนโลยี Bluetooth นี้ รวมไปถึงการขายซอฟท์แวร์ ที่ใช้สำหรับการใช้งานอุปกรณ์ที่บริษัทได้ผลิตขึ้นมา

จุดประสงค์ของ เทคโนโลยี Bluetooth นั้น เริ่มต้นเพื่อขายให้แก่บริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเทคโนโลยีนี้ สามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทเหล่านี้ใช้งานได้ดีขึ้น โดยการเพิ่ม ขีดความสามารถของการติดต่อสื่อสารระหว่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ กับอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจาก ในอดีต การสื่อสารนี้ ทำได้โดยใช้สายเคเบิล ซึ่งมีความเสี่ยงที่ข้อมูลจะเกิดความเสียหายได้ ดังนั้น จุดประสงค์ของเทคโนโลยี Bluetooth คือ การแทนที่ การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ที่ใช้สายเคเบิล มาเป็นใช้อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี Bluetooth
เนื่องจากเทคโนโลยี Bluetooth ถูกออกแบบมาให้ใช้กับอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงสามารถทำงานได้ โดยใช้แบตเตอรี่ ดังนั้น เทคโนโลยี Bluetooth จึงเป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานน้อย และสามารถทำงานได้แม้ขณะที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำ ดังนั้น เทคโนโลยี Bluetooth จึงถูกนำไปใช้กับ อุปกรณ์ขนาดเล็กอื่นๆ เช่น Headset และ PDAs

ใน ปัจจุบัน การแทนที่สายเคเบิล ด้วยเทคโนโลยี Bluetooth ยังมีปัญหาอยู่ในบางเรื่อง เช่น ราคาของอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี Bluetooth นั้น มีราคาสูงกว่าแบบใช้สายเคเบิลอยู่มาก ดังนั้น ถ้าอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี Bluetooth นี้ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้ได้ คือ ราคาไม่แพง ใช้งานง่าย มีเสถียรภาพสูง ขนาดเล็ก และใช้พลังงานต่ำ เทคโนโลยี Bluetooth จะถูกนำมาใช้แทนที่การติดต่อสื่อสารแบบที่ใช้สายได้อย่างแพร่หลายแน่นอน

2.3 เป้าหมายของ Bluetooth
เทคโนโลยีบลูทูธพัฒนาขึ้นมา โดยมีเป้าหมายคือ

1 Low cost implementation พัฒนาให้มีราคาต่ำ ที่สามารถให้คนทั่วไปใช้ได้

2 Small implementation size ทำให้บลูทูธมีขนาดเล็กที่สุด เพื่อให้ใช้งานได้สะดวก

3 Low power consumption ให้บลูทูธใช้พลังงานในการทำงานน้อย เพื่อให้สามารถติดต่อกันได้โดยไร้ข้อจำกัด

4 Robust, high quality data & voice transfer พัฒนาให้บลูทูธมีความทนทานในการใช้งานและสามารถส่งทั้งข้อมูลและเสียงได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

5 Open global standard เป็นมาตรฐานเปิด คือให้ผู้ที่สนใจสามารถนำไปพัฒนาต่อได้ ทำให้เทคโนโลยีพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว (Bluetooth 2001)

การทำงานของ Bluetooth (How to does Bluetooth work?)

3.1 การทำงานของ Bluetooth

ลักษณะการทำงานทั่วไป

Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-10 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้น

clip_image012 clip_image014

รูปที่ 3.1 Transceiving Module

(ที่มาของรูป : http://blog.sanook.com/site/alias__ggghh/330197/default.aspx)

โดยหลักของบลูทูธจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับ อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากใช้การขนส่งข้อมูลในจำนวนที่ไม่มาก อย่างเช่น ไฟล์ภาพ, เสียง, แอพพลิเคชั่นต่างๆ และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ขอให้อยู่ในระยะที่กำหนดไว้เท่านั้น (ประมาณ 5-10 เมตร) นอกจากนี้ยังใช้พลังงานต่ำ กินไฟน้อย และสามารถใช้งานได้นาน โดยไม่ต้องนำไปชาร์จไฟบ่อยๆ ด้วย

ส่วนความสามารถการส่งถ่ายข้อมูลของ Bluetooth จะอยู่ที่ 1 Mbps (1 เมกกะบิตต่อวินาที) และคงจะไม่มีปัญหาอะไรมากกับขนาดของไฟล์ที่ใช้กันบนโทรศัพท์มือถือ หรือ การใช้งานแบบทั่วไป ซึ่งถือว่าเหลือเฟือมาก แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ล่ะก็ คงจะช้าเกินไป และถ้าถูกนำไปเปรียบกับ Wireless LAN (WLAN) แล้ว ความสามารถของ Bluetooth คงจะห่างชั้นกันเยอะ ซึ่งในส่วนของ WLAN ก็ยังมีระยะการรับ-ส่งที่ไกลกว่า แต่ขอได้เปรียบของ Bluetooth จะอยู่ที่ขนาดที่เล็กกว่า การติดตั้งทำได้ง่ายกว่า และที่สำคัญ การใช้พลังงานก็น้อยกว่ามาก อยู่ที่ 0.1 วัตต์ หากเทียบกับคลื่นมือถือแล้ว ยังห่างกันอยู่หลายเท่า



clip_image016

รูปที่ 3.2 อุปกรณ์ที่มีการใช้ Bluetooth

(ที่มาของรูป : http://www.siamphone.com/news/bluetooth/page.htm)

ลักษณะการทำงานเชิงลึกของเทคโนโลยี Bluetooth

- Protocol Stack

มีลักษณะการเชื่อมต่ออยู่ 2 แบบคือ

1. Asynchronous Connectionless (ACL)

ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลทั่วไป รองรับการเชื่อมต่อทั้งแบบสมมาตร และไม่สมมาตร Multi-slot packet เมื่อใช้ ACL สามารถมี data rate ได้สูงสุด 723 Kbps ในหนึ่งทิศทาง และ 57.6 kbps ในทิศทางอื่นๆ master จะเป็นผู้ที่ควบคุม bandwidth ที่จะให้ slave ใช้งาน และ ACL ยังสนับสนุน broadcast message ด้วย

2. Synchronous Connection Oriented (SCO)

ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลเสียง รองรับการเชื่อมต่อแบบสมมาตร, circuit switch และการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด ในการเชื่อมต่อแบบสมมาตรมีความเร็วในการรับ/ส่งอยู่ที่ 64 kbps และสามารถเชื่อมต่อได้ 3 ช่องสัญญาณพร้อมกัน

แต่โดยมากผู้ผลิตมือถือมักไม่ได้บอกรายระเอียด ว่า Chip ของ Bluetooth ที่ใส่เข้าไปเป็นแบบ ACL หรือ SCO จึงทำให้เกิดปัญหาว่าทำไมมือถือบางรุ่นถึงมีปัญหาในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ต่างๆ แต่ก็มีวิธีแก้ปัญหาโดยใช้ Software หรือ driver มาช่วย จึงทำให้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

สำหรับ อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นเน็ตเวิร์กนั้น การส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่ง ไปยังอุปกรณ์ปลายทาง จำเป็นต้องมีการส่งข้อมูลอื่นๆ ประกอบเข้าไปกับข้อมูลที่ต้องการส่งนั้นด้วย เพื่อควบคุมเส้นทางของข้อมูลให้สามารถส่งไปถึงอุปกรณ์ปลายทางได้อย่างถูก ต้อง ทำให้การส่งข้อมูลแต่ละครั้งเกิดการทำงานต่างๆขึ้นมากมาย จึงเกิดการสร้างโมเดลแทนการทำงานต่างๆที่ว่านี้ขึ้น เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมของการทำงานทั้งหมดได้

Application Layer

clip_image018

Applications

Presentation Layer

RFCOMM/SDP

Session Layer

L2CAP

Transport Layer

HCI

Network Layer

Link Manager

Data Link Layer

Link Controller

Physical Layer

Base band

Radio

OSI Model

Bluetooth Module

สำหรับโมเดลการทำงานของ บลูทูธ (Bluetooth Module) ถูกกำหนดให้มีโครงสร้างการทำงานดังตารางซึ่งจะเห็นได้ว่ามีจำนวน 8 ชั้น มากกว่าโมเดล OSI อยู่ 1 ชั้น ทำให้ขอบเขตการทำงานในแต่ละชั้น แตกต่างจากโมเดล OSI แต่ลำดับการทำงาน มีลักษณะเหมือนกัน โดยแต่ละชั้นของโมเดล บลูทูธ มีชื่อ และหน้าที่การทำงานดังนี้

- ชั้นที่ 8 Applications เป็นส่วนของโปรแกรมที่ติดต่อรับหรือส่งข้อมูลกับผู้ใช้

- ชั้นที่ 7 RFCOMM/SDP สำหรับ RFCOMM เป็นโปรโตคอลเสมือน ที่ทำให้แอพพลิเคชันด้านบน มอง บลูทูธ เป็นเหมือนพอร์ตอนุกรม (Serial Port) ทั่วไป ส่วน SDP (Service Discovery Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ช่วยค้นหาบริการจากอุปกรณ์ บลูทูธตัวอื่นที่อยู่ในขอบเขตพิโกเน็ตเดียวกัน

- ชั้นที่ 6 L2CAP (Logical Link Control and Adaptation Protocol) ทำหน้าที่ มัลติเพล็กซ์ข้อมูลจากชั้นบนซึ่งอาจจะมีการทำงานของโปรแกรมหลายโปรแกรมพร้อม กัน และจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ต

- ชั้นที่ 5 HCI (Host Control Interface) เป็นโปรโตคอลเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมชั้นบนที่ทำงานอยู่บนระบบหนึ่ง (เช่นโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กทำงานบน CPU x86) กับส่วนควบคุมการทำงานของ บลูทูธ (เช่น การ์ด PCMCIA Bluetooth ที่ต่ออยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก) ทำให้โปรแกรมรู้จักคำสั่งควบคุมอุปกรณ์ บลูทูธ

- ชั้นที่ 4 Link Manager ทำ หน้าที่แปลงคำสั่งที่ได้รับจากชั้นบนเป็นลำดับหน้าที่การทำงานที่ชั้นล่าง รู้จัก และคอยส่งคำสั่งลงไปควบคุมการทำงานของชั้นล่างทั้งหมด

- ชั้นที่ 3 Link Controller ควบคุมการเชื่อมต่อพื้นฐานของ บลูทูธ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสถานะของอุปกรณ์ โหมดการทำงานของอุปกรณ์ การค้นหาอุปกรณ์ Bluetooth ใกล้เคียง รวมไปจนถึงการเลือกว่าจะเป็น Master หรือ Slave ในสภาพแวดล้อมต่างๆ

- ชั้นที่ 2 Base band การทำงานของชั้นนี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจของ Bluetooth ในด้านฮาร์ดแวร์เลยก็ว่าได้ หน้าที่หลักของชั้นนี้ คือการควบคุมวงจรภาคส่ง – รับคลื่นวิทยุที่อยู่ชั้นล่างสุด ซึ่งจุดสำคัญที่สุดของการควบคุม ก็คือการเลือกช่องความถี่ในการรับส่งข้อมูลให้ตรงกันระหว่าง Master และ Slave ที่ต้องมีการกระโดดไปในรูปแบบเดียวกัน

- ชั้นที่ 1 Radio เป็นส่วนที่เกิดการรับ และส่งคลื่นวิทยุจริงๆ เป็นส่วนวงจรฮาร์ดแวร์ภาคส่ง – รับคลื่นวิทยุที่ถูกควบคุมจากชั้น Base band ไม่ว่าจะเป็นความถี่ และระดับความแรงของสัญญาณที่ใช้ รวมไปถึงเฟรมข้อมูลที่จะส่ง

- Security

เนื่องจาก The high speed, pseudo – random frequency hopping algorithm ทำให้ยากที่จะทำการดักฟัง การเชื่อมต่อของอุปกรณ์ บลูทูธ สำหรับ link encryption และ authentication Bluetooth ใช้ Strong contemporary cipher algorithm เรียกว่า SAFER+ ซึ่งสร้าง 128 – bits cipher keys จาก 128 – plain text input

3.2 ลักษณะการทำงานของบลูทูธ

การอธิบายโดยย่อ คือ บลูทูธเป็นเทคโนโลยีของอินเตอร์เฟซทางคลื่นวิทยุ ใช้ในการเชื่อมโยงสื่อสารไร้สายในแถบความถี่ 2.45GHz ทำให้อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ที่เคลื่อนย้ายได้สามารถติดต่อสื่อสารกันแบบไร้ สายระหว่างกันในระยะห่างสั้นๆ ได้ อุปกรณ์แต่ละตัวสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้สูงสุดถึง 7 ตัวพร้อมกัน เราเรียกเครือข่ายการติดต่อนี้ว่า Piconet ยิ่งไปกว่านั้น อุปกรณ์แต่ละตัวยังสามารถสังกัดอยู่กับเครือข่าย Piconet ได้หลายเครือข่ายพร้อมกันอีกด้วย

เทคโนโลยีการส่งคลื่นวิทยุของบลูทูธจะใช้การ กระโดดเปลี่ยนความถี่ (Frequency hop) เพราะว่าเทคโนโลยีนี้เหมาะที่จะใช้กับการส่งคลื่นวิทยุที่มีกำลังส่งต่ำและ ราคาถูก โดยจะแบ่งออกเป็นหลายช่องความถี่ขนาดเล็ก ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนช่องความถี่ที่ไม่แน่นอนทำให้สามารถหลีกหนีสัญญาณ รบกวนที่เข้ามาแทรกแซงได้

3.3 ข้อมูลทางเทคนิคเกี่ยวกับ Bluetooth USB Adapter

Bluetooth USB Adapter คือ อุปกรณ์ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊กของเรามีสัญญาณ Bluetooth ซึ่งจะช่วยให้การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์พกพาเข้าด้วยกันเป็นเรื่องง่าย และสะดวกสบายขึ้น นอกจากจะไม่มีสายสัญญาณแล้ว ยังไม่ต้องนำช่องส่งสัญญาณอินฟราเรด (IrDA) มาวางให้ตรงกันอีกด้วย เนื่องจาก BT-02UD2 ได้ใช้เทคโนโลยี Bluetooth 1.1 ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งสามารถทำให้เรามั่นใจได้เลยว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์มือถือ (PDA) โทรศัพท์มือถือ พรินเตอร์ (Printer) คีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หูฟังไร้สาย (Headset) ภายในรัศมี 10 เมตรรอบทิศทาง ด้วยน้ำหนักที่เบาเพียง 11 กรัม ขนาด 19.8 x 8.1 x 58.6 มิลลิเมตร จึงทำให้เหมาะสำหรับพกพาไปไหนมาไหน และใช้ชิปเซตมาตรฐาน Class 2 ที่มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 723.2 kbps ทำให้การถ่ายโอนข้อมูลจำพวกวิดีโอและเพลงให้เป็นได้ไปอย่างราบรื่น

ช่วงคลื่นความถี่ 2.4 GHz (2,400 – 2,483.5 MHz)

ความเร็วในการรับส่ง

- 723.2 Kbps (Asymmetrical Communication)

- 439.9 Kbps (Symmetrical Communication)

รูปแบบมาตรฐาน Bluetooth 1.1 Class II

ระยะทาง ภายในระยะ 10 เมตร ถึง 100 เมตร รอบทิศทาง

ระบบปฏิบัติการที่รองรับ Window 98SE, Me, 2000, XP

3.4 การต่อขยายเครือข่ายด้วย PAN

เครือข่าย PAN ที่ใช้เทคโนโลยี Bluetooth นั้น จะเป็นหนทางใหม่ในการต่อขยายเครือข่าย Mobile Network ไปให้ถึงมือผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานบางคนที่สามารถติดต่อเข้าไป ใช้เครือข่าย Bluetooth PAN ได้นั้น สามารถที่จะใช้เครื่องโทรศัพท์มือถือ GPRS/UMTS ที่เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย PAN นั้น เป็น Gateway ในการเชื่อมติดต่อไปยังอินเทอร์เน็ต หรือเชื่อมติดต่อไปยังเครือข่าย IP ขององค์กรได้ คราวนี้ ถ้ามาลองพิจารณา Traffic Load ในเครือข่าย จะพบว่า Aggregate Traffic ของเครือข่าย PAN นั้น โดยปกติ จะสูงเกินมากกว่ากราฟิกของเครื่องโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว ยิ่งกว่านั้นถ้าหากเครือข่าย Bluetooth PAN หลายเครือข่ายถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย Scatter net ก็ยิ่งทำให้ค่า Capacity นี้สูงขึ้นกว่าเดิมไปอีก รูปที่ 3 เป็นภาพตัวอย่างที่มีการใช้เครือข่าย Bluetooth PAN ถึง 4 เครือข่ายด้วยกัน เครือข่าย PAN เหล่านี้ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วย Bluetooth Link ผ่านทางเครื่อง Laptop Computer นอกจากนี้เครือข่าย PAN 2 เครือข่าย จะถูกเชื่อมต่อไปยังเครือข่าย IP Backbone Network โดย เครือข่ายหนึ่งจะเชื่อมต่อผ่านทาง LAN Access Point ส่วนอีกเครือข่ายหนึ่ง จะเชื่อมต่อผ่านทางเครื่องโทรศัพท์ GPRS/UMTS ดังที่แสดงในรูป

clip_image019

รูปที่ 3.3 ภาพตัวอย่างของการเชื่อมโยงระหว่างกันของเครือข่าย Bluetooth PAN 4 เครือข่าย โดยมีอยู่ 2 เครือข่ายที่เชื่อมต่อไปยังอินเทอร์เน็ต ผ่านทาง Bluetooth LAN Access Point และ GPRS/UMTS Phone

(ที่มาของรูป : http://www.technologymedia.co.th/articledetail.asp?arid=1266&pid=124)

เครือข่าย PAN หนึ่งๆ อาจจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์สมาชิกหลายอย่างที่มีเทคโนโลยีของการ Access ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ก็จะใช้ประโยชน์จากฟังก์ชัน ของ ad hoc ที่มีอยู่ในเครือข่าย PAN ตัวอย่างเช่น เครื่อง Notebook Computer ก็อาจจะมีอินเตอร์เฟสของ Wireless LAN (WLAN) เช่น IEEE 802.11 หรือ HiperLAN/2 ต่ออยู่กับเครื่อง ทำให้สามารถ Access เข้าไปใช้เครือข่ายได้เมื่อเครื่อง Notebook ถูกนำเข้ามาใช้ภายใน ดังนั้น เครือข่าย PAN จึงได้ประโยชน์จากการที่มีอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีของการ Access แบบต่างๆ รวมอยู่ด้วยกัน ภายในเครือข่าย ทำให้ขจัดความต้องการที่จะสร้างอุปกรณ์แบบลูกผสม เช่น อุปกรณ์ที่รวม PDA และ Mobile Phone เข้าด้วยกัน เพราะว่าเครือข่าย PAN จะทำให้เกิดการอินทิเกรตอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันทาง Wireless

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะขอเน้นว่า เทคโนโลยีของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ด้วยคลื่น Radio ในระยะสั้น อย่างเช่น Bluetooth นั้น จะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดความคล่องตัวสำหรับการใช้งานของเครือข่าย PAN

Bluetooth ในท้องตลาด

3.5 รูปแบบของการใช้งาน
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.ใช้ Bluetooth แทนสายเคเบิลต่างๆ (Cable Replacement)

เมื่อ เทียบกับการใช้อินฟาเรดในการส่งข้อมูลแล้ว การใช้ Bluetooth มีข้อดีกว่าการรับส่งข้อมูลแบบอินฟาเรด ระบบอินฟาเรดใช้แสงเป็นสื่อในการติดต่อ ดังนั้นเครื่องรับและเครื่องส่ง แบบอินฟราเรด จะต้องปรับให้อยู่ในตำแหน่งที่ตรงกัน และห้ามมีสิ่งกีดขวางระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง แต่ Bluetooth ใช้สัญญาณวิทยุเป็นสื่อในการติดต่อ ทำให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถอยู่จุดใดก็ได้ภายในรัศมีไม่เกิน 10 เมตรตามข้อกำหนด และสามารถส่งข้อมูลผ่านสิ่งกีดขวางได้ เช่น กำแพงห้อง ทำให้ Bluetooth มีข้อดีที่เหนือกว่าการส่งข้อมูลโดยใช้อินฟาเรด

ตัวอย่างของการใช้ Bluetooth แทนสายเคเบิล คือ การใช้ Bluetooth ระหว่างโทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) กับชุดหูฟังและไมโครโฟน (Headset) หรือแป้นพิมพ์และเมาส์แบบไร้สาย ปัจจุบันผลิตพันธ์ส่วนใหญ่ในท้องตลาดเป็นแบบใช้ Bluetooth แทนสายเคเบิลต่างๆ (Cable Replacement)

clip_image021

รูปที่ 3.4 แป้นพิมพ์และเมาส์แบบไร้สาย

(ที่มาของรูป : http://www.9final.com –> www.9final.com/…/mx3200/Slide2.jpg)

clip_image023

รูปที่ 3.5 ชุดหูฟังและไมโครโฟนไร้สายบลูทูธ

(ที่มาของรูป : http://www.bcommart.com/company_news.php?company_news_id=7)

2. ใช้ Bluetooth สร้างระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่เรียกว่า Pico-Network หรือ PAN (Personal Area Network)

เป็น ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีอุปกรณ์ที่ติดต่อสื่อสารกันได้ไม่เกิน 7 เครื่อง ภายในรัศมี 10 เมตร และอุปกรณ์เหล่านี้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้ Pico-Network ที่สร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น ในห้องประชุม ผู้ร่วมประชุมสามารถส่งแฟ้มข้อมูลผ่านเครื่อง PDA หรือโน้ตบุ๊ก หรือที่บ้าน เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่อยู่คนละห้องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องใช้สาย และเครื่องพิมพ์สามารถวางที่ใดก็ได้ในห้อง ปัจจุบันอุปกรณ์ที่สามารถทำงานแบบ Pico-Network ยังมี ไม่มากนักแต่การใช้ Bluetooth สร้างระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่เรียกว่า Pico-Network หรือ PAN จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นนอน

3. ใช้ Bluetooth เป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลในระบบเครือข่ายหลัก (Access Networking)

แบบนี้ผู้ใช้งานสามารถใช้เครื่อง PDA หรือ โน้ตบุ๊ก ในการเข้าถึงข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต (Internet) ตามที่ต่างๆ เช่นในที่ทำงาน หรือในที่สาธารณะตรงจุดที่มี Bluetooth อยู่ (Hotspots) ตัวอย่าง ที่ป้ายรถประจำทาง ผู้ที่รอรถประจำทางสามารถใช้โทรศัพท์มือถือ เครื่อง PDA หรือโน้ตบุ๊ก เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้ทันทีในการรับส่งอีเมล์ จองตั๋วหนัง หรือซื้อของแบบออนไลน์ (On-Line) การใช้งานในแบบที่ 3 นี้จะเกิดขึ้นได้โดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะต้องทำงาน ร่วมกับ Bluetooth ได้และจะต้องมีการลงทุนในการสร้างเครื่องข่ายแบบไร้สาย (Wireless LAN) ขึ้นตามจุดต่างๆเพื่อทำงานร่วมกับอุปกรณ์เหล่านั้น ดังนั้นการใช้ Bluetooth เป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลในระบบเครือข่ายหลักจะต้องมีการลงทุนค่อนข้าง มาก และยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่

ประโยชน์ของ Bluetooth (Advantage of Bluetooth)

4.1 ภาพรวมของการนำเทคโนโลยี Bluetooth มาใช้

-Cable Replacement
จุดประสงค์แรกของ Bluetooth ที่ออกมาก็เพื่อกำจัดสายเชื่อมต่อต่างๆ

-Ad Hoc Networking

เป็นการใช้เทคโนโลยีคลื่นวิทยุมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลทำให้การทำงานแบบเน็ตเวิร์กที่

-Data / Voice Access Point ใช้ในการรับสัญญาณข้อมูล และเสียงจากแม่ข่าย

แตกต่างจากวิธีดั้งเดิม และสามารถเชื่อมกับระบบเน็ตเวิร์กเมื่อใดก็ได้ที่ต้องการ

4.2 การใช้งาน จาก Bluetooth

แนวความคิดที่จะนำ บลูทูธ ไปใช้งานด้านต่างๆ มีดังนี้

1. คอมพิวเตอร์ไร้สาย

ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น พรินเตอร์ คีย์บอร์ด เมาส์ หรือลำโพง การเชื่อมต่อดังกล่าวในปัจจุบันนี้ก็ใช้สายสัญญาณเป็นตัวเชื่อมต่อเกือบทั้ง หมด ซึ่งทำให้เกิดความลำบากทั้งในด้านการใช้งาน การเคลื่อนย้าย และความเป็นระเบียบ ถ้าเปลี่ยนการใช้สายไฟเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดนี้มาเป็น บลูทูธ ก็จะทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไปทันที อีกทั้งยังง่ายต่อตัวผู้ใช้ เพราะการเชื่อมต่อทั้งหมด จะดำเนินไปโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องกังวลเรื่องการต่อสายผิดตำแหน่งอีกต่อไป

2. ชุดหูฟัง

ใน ปัจจุบัน การแก้ปัญหาของผู้ใช้โทรศัพท์ที่ต้องการใช้มือทั้งสองข้างทำงานอย่างอื่นไป พร้อมๆ กันด้วย คือการใช้ชุดหูฟัง โดยชุดหูฟังดังกล่าวจะมีสายเชื่อมต่อจากตัวโทรศัพท์ มายังหูฟังที่ติดอยู่กับตัวผู้ใช้ นั่นหมายความว่าตัวผู้ใช้ไม่สามารถเคลื่อนตัวไปไหนได้ไกลกว่าที่สายจะยาวถึง แล้วก็ต้องคอยระวังสายไม่ให้ไปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ซึ่งจะทำชุดหูฟังหลุดออกจากตัวผู้ใช้ แต่เมื่อทดแทนสายที่กล่าวถึงนี้ด้วย บลูทูธ ผู้ใช้สามารถขยับตัวไปไหนได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องคอยระวังสายอีกต่อไป ถ้าในกรณี สมอลทอร์ก ของโทรศัพท์มือถือ ผู้ใช้สามารถเก็บโทรศัพท์ไว้ที่ไหนก็ได้ใกล้ๆ ตัว ในขณะที่ใช้หูฟัง บลูทูธ และเนื่องจากชุดหูฟัง บลูทูธ ไม่ได้เชื่อต่อตายตัวกับอุปกรณ์ใด ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าหูฟังตัวเดียวกันนี้ เมื่อไม่ได้ใช้งานเป็น สมอลทอร์ก ก็สามารถฟังเพลงจากเครื่องเล่น ซีดี หรือเป็นชุดหูฟังของโทรศัพท์บ้านอีกเครื่องก็ได้

3. อินเทอร์เน็ต บริดจ์

ใน ปัจจุบัน หากต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์พกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือ พ็อกเก็ต พีซี เข้ากับอินเทอร์เน็ต จำเป็นจะต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังกล่าวเข้ากับช่องทางสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นโทรศัพท์มือถือหรือสายโทรศัพท์ธรรมดา ผ่านทางสายเชื่อมต่อ แต่การเชื่อมต่อดังกล่าว สามารถใช้งานได้เพียง 1 อุปกรณ์ ต่อ 1 ครั้ง และยังเกิดปัญหาในเรื่องความเกะกะของสายเมื่อต้องใช้งานนอกสถานที่ หรือในยานพาหนะต่างๆ แต่เมื่อทดแทนด้วย บลูทูธ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์พกพาต่างๆ จะสามารถเชื่อมต่อเข้ายังอินเตอร์เน็ตได้ โดยต่อผ่านโทรศัพท์มือถือที่มีระบบ GPRS โดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยาก อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานขึ้นด้วย

4.3 ตัวอย่างการใช้งาน Bluetooth ในปัจจุบันและอนาคต

คอมพิวเตอร์ กับ โทรศัพท์มือถือ

หาก เราต้องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พริ๊นเตอร์ คีย์บอร์ด เมาส์ หรือลำโพง การเชื่อมต่อในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวเชื่อมต่อทั้งหมด (Serial และ USB) ซึ่งอาจจะไม่สะดวกทั้งในด้านการใช้สอย เคลื่อนย้าย และความเรียบร้อยต่างๆ แต่หากเครื่อง PC มีอุปกรณ์ Bluetooth ก็สามารถติดต่อเข้าหากันได้โดยใช้คลื่นแทนการใช้สายไฟเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมด ทั้งการส่งไฟล์ภาพ, เสียง, ข้อมูล อีกทั้งระบบเชื่อมต่อผ่าน CSD และ GPRS บนโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยาก อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานมากขึ้นด้วย

clip_image024

รูปที่ 4.1 ตัวอย่างการใช้งาน Bluetooth

(ที่มาของรูป : http://www.siamphone.com/news/bluetooth/page.htm)

แต่ ข้อจำกัดการใช้งานก็มีเช่นกัน การเชื่อมต่ออุปกรณ์พกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือ พ็อกเก็ต พีซี เข้ากับอินเทอร์เน็ต จะสามารถใช้งานได้เพียง 1 อุปกรณ์ ต่อ 1 ชิ้น เท่านั้น ซึ่งบางทีอาจจะต้องสลับการใช้งานกันบ่อยๆ (สำหรับผู้ที่ใช้อุปกรณ์ไร้สายซะส่วนใหญ่) แต่ก็ถือว่าให้ความสะดวกมากกว่าการใช้สายเคเบิ้ล

โทรศัพท์มือถือ กับ ชุดหูฟัง (Smalltalk)

ชุดหูฟัง หรือ Smalltalk อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือที่ผู้ใช้เกือบทุกคนต้องมีใช้กัน ซึ่งราคาเดี๋ยวนี้มีตั้งแต่ 30-300 บาท ในด้านการใช้งานบนเครื่องโทรศัพท์มือถือ หากเป็นชุดหูฟังแบบมีสาย ข้อจำกัดจะอยู่ที่ เราไม่สามารถเคลื่อนตัวไปไหนได้ไกลกว่าที่สายจะยาวถึง แล้วก็ต้องคอยระวังสายไม่ให้ไปเกี่ยวกับสิ่งของต่างๆ บางทีอาจจะทำให้สายหลุดออกจากเครื่องด้วย แต่เมื่อนำ Bluetooth มา แทนที่การใช้งาน ก็น่าจะเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้มือทั้งสองข้างทำงานอย่างอื่น ไปพร้อมๆ กันด้วย ทั้งในเวลาขับรถ (ตอนนี้กฎหมายก็มีออกมาแล้ว เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือบนรถ) ขณะออกกำลังกาย หรือ ขณะปฏิบัติกิจต่างๆ ก็สามารถขยับตัวไปไหนได้อย่างสะดวก แค่หยิบชุดหูฟังมาแนบหูแล้วเอาโทรศัพท์เหน็บเอว เท่านี้ก็คุยได้แล้ว

clip_image025

รูปที่ 4.2 ชุดหูฟังบลูทูธ

(ที่มาของรูป : http://www.siamphone.com/news/bluetooth/page.htm)

จากประโยชน์ต่างๆ จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี Bluetooth สามารถนำมาใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี และยังเพิ่มความสะดวกในการใช้งานกับอุปกรณ์ต่างๆ และนอกเหนือจากที่กล่าวไป Bluetooth ยัง ถูกพัฒนามาใช้งานกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย ทั้งหูฟังสเตอริโอ เครื่องเล่นซีดี รีโมทวิทยุ แม้กระทั่งในรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี Bluetooth ไปใช้กันแล้ว ทั้งชุด Hands free, หรือ รีโมทเปิด-ปิดประตู หรือระบบ Keyless แต่ เราไม่ต้องกดปุ่มที่กุญแจอีกต่อไป เพียงแค่อยู่ในระยะการทำงาน ประตูก็จะเปิดล็อคให้ทันที ส่วนเวลาลงรถก็สามารถเดินตัวปลิวออกจากรถได้เลย เมื่อการเชื่อมต่อระหว่างตัวรถกับกุญแจขาดจากกัน ก็จะล็อคให้เองอัตโนมัติ (รถบางรุ่นเริ่มมีใช้กันแล้ว Mercedes-Benz SLR)

ตัวอย่างการใช้งาน Bluetooth ในที่ทำงาน

เครื่อง PDA จะทำการโอนย้ายข้อมูล อีเมล์และตารางนัดหมายระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ บนโต๊ะทำงานทันทีเมื่ออยู่ในระยะ 10 เมตร โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องกดปุ่มใดเลยในโรงงานผลิตสินค้าแห่งหนึ่ง เมื่อเดินผ่านเครื่องจักรที่กำลังทำงานอยู่ สามารถตรวจสอบสถานะต่างๆ ของเครื่องจักรได้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในที่ประชุม ใช้ PDA ส่งข้อมูลที่นำเสนอไปที่เครื่องฉายภาพ (LCD Projector) ได้โดยตรง

clip_image027

รูปที่ 4.3 ตัวอย่างเครื่อง PDA

(ที่มาของรูป : www.buysalethai.com/product.detail_0_th_713505)

ตัวอย่างการใช้งาน Bluetooth ที่บ้าน

กลับ จากที่ทำงานมาที่บ้าน กุญแจแบบ Bluetooth เพียงดอกเดียว จะเปิดประตูบ้านให้อัตโนมัติ เปิดไฟทางเดิน และเครื่องปรับอากาศ อุ่นอาหารเย็นในเตาไมโครเวฟ ตามที่ผู้ใช้งานได้ตั้งโปรแกรมไว้เด็กใส่กำไล Bluetooth จะส่งสัญญาณเตือนทันทีที่เด็กออกนอกบ้าน ในขณะที่คุณแม่นอนหลับโทรทัศน์สามารถวางตรงจุดใดก็ได้ในบ้านเนื่องจากใช้เสา อากาศแบบ Bluetoothอุปกรณ์ ระบบรักษาความปลอดภัยทุกชนิดในบ้านสามารถทำงานร่วมกันได้ และสามารถย้ายหรือเพิ่มอุปกรณ์ได้สะดวก เพราะใช้เทคโนโลยี Bluetooth

ตัวอย่างการใช้งาน Bluetooth ระหว่างเดินทาง

ที่ สนามบินในช่องรอคิวตรวจตั๋วเครื่องบินและเลือกที่นั่งที่มีคนรออยู่จำนวนมาก สามารถเลี่ยงการต่อคิวโดยใช้เครื่อง PDA ในการตรวจสอบตั๋วและเลือกที่นั่งได้ทันทีระหว่างรอเครื่องบินในห้อง รับรองผู้โดยสาร สามารถใช้เครื่อง PDA หรือ โน้ตบุ๊กเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตได้ และสามารถใช้เป็นอินเตอร์เน็ตโพน (Internet Phone Voice-Over IP) เพื่อที่คุยกับคนอื่นได้โดยเสียค่าบริการราคาถูก เมื่อไปถึงที่โรงแรม เครื่อง PDA จะทำการลงทะเบียน (Check in) อัตโนมัติ และรับกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครื่อง PDA เพื่อใช้ในการเปิดห้องพัก และเมื่อเดินเข้าใกล้ห้องพัก ประตูจะเปิดอัตโนมัติ

ตัวอย่างการใช้งาน Bluetooth ในรถยนต์

กุญแจ รถยนต์ Bluetooth เมื่อคุณเดินเข้าใกล้รถยนต์ประตูรถจะปลดล็อก ติดเครื่องยนต์ และวิทยุจะเปิดไปสถานีที่ชอบอัตโนมัติ และเมื่อเดินออกจากรถเครื่องยนต์ดับ และประตูล็อกอัตโนมัติเมื่ออยู่ใน รถยนต์ โทรศัพท์เคลื่อนที่จะอยู่ในการทำงานแบบใช้ระบบลำโพงและไมโครโฟนของรถยนต์ สามารถสนทนาทางโทรศัพท์กับผู้อื่นได้ทันทีโดยไม่ต้องจับโทรศัพท์

clip_image029

รูปที่ 4.4 ตัวอย่างเครื่อง PDA

(ที่มาของรูป : http://blog.slb1.sanook.com/site/alias__ggghh/330197/default.aspx)

ตัวอย่างการใช้งาน Bluetooth ในชีวิตประจำวันทั่วไป

ที่โรงภาพยนตร์ สามารถใช้เครื่อง PDA ในการจ่ายเงินจองตั๋วหนังและที่นั่งได้ทันทีในร้านอาหาร สามารถใช้เครื่อง PDA ในการดูเมนูทางร้าน สั่งอาหาร และจ่ายเงินได้ที่ร้านหนังสือ สามารถใช้เครื่อง PDA ในการซื้อหนังสือได้โดยจะอยู่ในรูปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Book) ที่ ร้านขายเทป สามารถใช้เครื่อง PDA ในการซื้อเพลง ซึ่งเพลงจะอยู่ในรูปของ MP3 สามารถเปิดฟังได้ทันที หรือโอนย้าย (Transfer) ไปที่เครื่องเล่น MP3 ในรถยนต์ได้
ตัวอย่างการใช้งาน Bluetooth กับเทคโนโลยี

ตอนนี้เทคโนโลยีต่างๆ เกิดขึ้นมากมายรอบตัวคุณอย่างรวดเร็ว หลายบริษัทเริ่มนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มาใช่ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อทำให้ประโยชน์สูงสุดทางการค้าและทางธุรกิจของตนและของลูกค้า โดยตอนนี้ ได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นำมาผสมผสานร่วมกันทำให้เกิดการตอบสนองความต้องการในรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยยกตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยี Bluetooth กับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือกำลังนำมาใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพอย่างมาก

เช่นที่สวนสัตว์ในประเทศเดนมาร์กได้ติดตั้งระบบ ที่จะช่วยให้ผู้ปกครองที่นำ บุตรหลานไป สวนสัตว์สามารถค้นหาตำแหน่งของเด็กๆ ได้ด้วยการนำเทคโนโลยี Bluetooth และโทรศัพท์มือถือ เข้ามาใช้ร่วมกัน ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Body Tags ระบบค้นหาพิเศษที่ชื่อ Blue Tags โดยเป็นนำอุปกรณ์ที่เป็นลักษณะป้ายที่มีระบบสัญญาณ Bluetooth ติดไว้กับเสื้อผ้าของเด็กๆ ที่เข้ามาใช้บริการภายใน สวนสัตว์ และทั่วภายในสวนสัตว์มีการติดตั้ง Base Station เพื่อเชื่อมโยงระบบทั้งหมดเข้าด้วยกัน ที่ศูนย์กลางข้อมูลของสวนสัตว์ ผ่านระบบ Wireless LAN (Local Area Network) ผู้ปกครองสามารถลงทะเบียนโทรศัพท์มือถือของตนเข้ากับระบบของสวนสัตว์ และสามารถตรวจสอบตำแหน่งของเด็กๆ ของตนได้ เพียงแค่ส่ง SMS เข้าไปในของทางสวนสัตว์ โดยตอนนี้ทางสวนสัตว์ได้เริ่มนำระบบนี้มาใช้ตั้งแต่เดือน มิถุนายนที่ผ่านมา โดยเริ่มต้นที่จำนวนป้าย Bluetooth 200 อันและ 50 Access Point ที่ติดตั้งอยู่ทั่วสวนสัตว์ และนอกจากนี้ระบบนี้ยังสามารถแจ้งเมื่อเด็กกำลังอยู่ใกล้ตำแหน่งที่ออกจาก สวนสัตว์ และสามารถส่งสัญญาณเตือนผู้ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของสวนสัตว์ได้ทันที แต่ระบบนี้ ก็อาจจะไม่เหมาะกับเด็กที่ซุกซน ซึ่งอาจจะทำการแกะอุปกรณ์ที่ติดอยู่ออกก็ได้ ซึ่งตอนนี้ทางบริษัทผู้ให้บริการกำลังผลิตรุ่นที่ติดกับแขนเสื้อ โดยที่ไม่สามารถถอดออกได้ หากไม่มีเครื่องปลดออก ซึ่งระบบนี้จะช่วยลดภาระของผู้ปกครองในการดูและบุตรหลานเมื่อเข้ามาในสวน สัตว์ และช่วยให้เด็กมีโอกาสที่จะได้ที่ศึกษาเรื่องราวต่างๆ ในสวนสัตว์ด้วยตัวเองอย่างเองอิสระและปลอดภัย และอีกความสามารถที่น่าสนใจของระบบนี้ก็คือ ระบบนี้สามารถส่ง SMS แจ้งทุกครั้งทีเด็กมีการเดินทางจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งได้ด้วย ซึ่งจะช่วยสามารถทำให้ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลาได้ว่าตอนนี้บุตร หลานของตน ตอนนี้กำลังอยู่ในตำแหน่งใดของสวนสัตว์ได้อย่างมั่นใจ

โดยระบบนี้สามารถรองรับการตรวจสอบและรองรับ เครื่องลูกข่ายได้มากกว่า 100000 เครื่อง ซึ่งการให้บริการในลักษณะนี้กำลังจะขยายขอบเขตและรูปแบบการให้บริการไปยัง ธุรกิจและสถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ เช่น สนามบิน หรือ โรงพยาบาล และตอนนี้การนำเทคโนโลยีBluetooth เริ่มมีการนำมาใช้ร่วมกับอุตสาหกรรมรถยนต์ เพราะเนื่องจากตอนนี้หลายๆประเทศมีกฎห้ามใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถยนต์ ซึ่งการนำเทคโนโลยี Bluetooth กับวงการรถยนต์น่าจะสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ขับขี่ได้อย่างมากมาย โดยตอนนี้มีผู้ผลิตรถยนต์หลายรายได้นำเทคโนโลยี Bluetooth เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตรถยนต์แล้ว เช่น BMW Saab Toyota Ford and DaimlerChrysler เป็นต้น

หากมองดูรูปแบบการให้บริการในลักษณะนี้จะเห็น ว่าเป็นการนำเทคโนโลยี Wireless LAN Bluetooth และระบบ SMS ผ่าน โทรศัพท์มือถือร่วมกัน ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีหลายรูปแบบที่แต่ละเทคโนโลยีมีความโดดเด่นและมีความ สามารถเฉพาะด้านนำมาผสมผสานและดึงจุดเด่นของเทคโนโลยีแต่ละตัวเพื่อนำ มาสร้างความสอดคล้องของพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการใช้เทคโนโลยีในแต่ละตัว ซึ่งในปัจจุบันได้มีอุปกรณ์หลายชนิดที่ได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆรวมไว้อยู่ ด้วยกันภายในทั้งหมดภายในเครื่องเดียว ซึ่งจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการใช้งาน และความสามารถที่จะรองรับการใช้งานได้หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น PDA รุ่นใหม่เดี๋ยวนี้จะประกอบไปด้วยเทคโนโลยีหลายอย่างรวมไว้ด้วยกันภายในตัว เช่น กล้องดิจิตอลBluetooth WIFI โทรศัพท์มือถือ ซึ่ง เทคโนโลยีทั้งหมดนี้ทำให้ผู้ที่ใช้งานสามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ด้วยการถืออุปกรณ์เพียงเครื่องๆเดียว และดูแนวโน้มในอนาคตแล้ว เราคงจะเริ่มเห็นอุปกรณ์ต่างๆมีเทคโนโลยีที่หลากหลายอยู่ภายในตัวเองทั้งหมด มากขึ้น แต่ คงน่าเสียดายมากหากผู้ใช้อุปกรณ์เหล่านั้นไม่สามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ใน อุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ ก็เหมือนกับการซื้อโทรศัพท์มือถือราคาหลายหมื่นบาทที่มีฟังก์ชั่นมากมายแต่ เพียงแค่ใช้โทรออกเพียงอย่างเดียว

4.4 ประโยชน์ของ Bluetooth

1. เป็นระบบที่มีความปลอดภัยจากการถูกดักฟัง เนื่องจาก Bluetooth จะแยกความถี่ต่าง ๆ เป็นช่วงๆ แต่ละช่วงต้องมีการกระโดดข้ามเพื่อไปยังอีกช่วงหนึ่งแบบไม่สม่ำเสมอ

2. สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ทั้งสัญญาณเสียง และข้อมูล เพราะ Bluetooth ใช้ช่วงความถี่ที่ 2.4 GHz

3. สามารถเชื่อต่อกับอุปกรณ์ Bluetooth อื่น ๆ ได้ถึง 7 เครื่องด้วยกัน

4. สัญญาณของ Bluetooth สามารถทะลุผ่านผนังกำแพงหรือกระเป๋าเอกสารได้ ซึ่งทำให้มีรัศมีถึง 10 เมตร

5. เนื่องจากชิป Bluetooth มีขนาดเล็กทำให้ง่ายต่อการนำไปฝังไว้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ

6. สามารถจำลองเพื่อทำเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก เพื่อการสื่อสารหรือส่งข้อมูลกันภายในเครือข่ายนี้ ได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเรียกกันว่า pan (personal area network)

7. เนื่องจาก Bluetooth เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้การประยุกต์ใช้งานทำได้หลากหลายและช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้มาก

8. สามารถใช้งานร่วมกับ หูฟังของโทรศัพท์ ชนิดไร้สายได้

9. รับข้อมูลระหว่างมือถือกับคอมพิวเตอร์ PC และ Notebook, ระหว่างมือถือกับ PDA และ Palm, ระหว่างมือถือกับ Printer, ระหว่างมือถือกับ Digital Camera

10. มีราคาไม่แพง

11. มีการรองรับอย่างกว้างขวางจากผู้ขาย

4.5 ข้อดี และข้อเสีย ของ Bluetooth

ข้อดี ที่โดดเด่นประการแรกขอ งบลูทูธก็คือ เป็นเทคโนโลยีราคาถูก ที่ทำงานโดยใช้ชิป ที่บรรจุวงจรไฟฟ้าส่งคลื่นวิทยุไว้เพียงตัวเดียว สนนราคาขายก็ไม่เกิน 5 ดอลลาร์ ชิปของบลูทูธอาจมีฟังก์ชั่นหลายอย่างหรือเพียงไม่กี่อย่างขึ้นอยู่กับเป้า หมายด้านค่าใช้จ่าย ตัวชิปอาจมีระบบความจำ (memory) ของมันเองหรือจะใช้ของตัวเครื่อง ที่มันไปทำงานให้ก็ได้ นอกจากนี้ระบบการเชื่อมต่ออาจจะเป็นแบบหลายจุดหรือ แบบจุดต่อจุด ซึ่งราคาถูกกว่าก็ได้

ทุกวันนี้ ราคาถือว่ายังเป็นปัญหาอยู่ เนื่องจากชิป ที่ขายอยู่ในปัจจุบันจะอยู่ ที่ 25-50 ดอลลาร์ต่อชิ้น และกว่าจะสามารถปรับให้อยู่ใน ราคาชิ้นละ 5 เหรียญได้ ก็อาจต้องรอถึงปี 2003 หรือ 2004 ผลิตภัณฑ์ ที่ใช้เทคโนโลยีบลูทูธไม่ว่าจะเป็นหูฟัง โทรศัพท์ และพีซีนั้น เพิ่งจะเริ่มลงตลาด ในปีหน้าตลาดน่าจะขยายมาก ขึ้น โดยผลิตภัณฑ์อาจเพิ่มเป็นคอม พิวเตอร์แล็ปทอปประสิทธิภาพสูง กล้องถ่ายรูปดิจิตอล พรินเตอร์ และ พีดีเอ อย่างไรก็ตาม หากราคายังไม่สามารถปรับลงได้เร็วอย่างที่คิด บลูทูธก็อาจต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าจะแพร่หลายในหมู่ผู้บริโภคได้

ข้อดีประการที่สองคือ การเป็นเทคโนโลยี ที่รุดหน้าของบลูทูธ ซึ่งก็หมายความว่ามันสามารถทำงาน ได้อย่างอัตโนมัติ และไร้ตัวตนได้ กล่าวคือ อุปกรณ์บลูทูธจะจับสัญญาณการเป็นบลูทูธด้วยกันได้เอง และสามารถทำการเชื่อมต่อสัญญาณ และสื่อสารไปพร้อมๆ ได้ทุกเมื่อ นี่เป็นคุณสมบัติ ที่ทำให้เครื่องมือทุกชิ้น ที่ใช้บลูทูธเป็นเครื่องมือ ที่สามารถ เชื่อมต่อสัญญาณ และอยู่ในระบบเครือข่ายได้ตลอดเวลา ลักษณะเช่น นี้อาจมีให้เห็นแล้วในรูปของสมาร์ท การ์ด ที่สามารถใช้ผ่านเข้าออกประตูออฟฟิศ หรือตัวพีดีเอ ที่ใช้รับออร์เดอร์ในร้านอาหาร บลูทูธจะทำให้การเชื่อมต่อสัญญาณแบบไร้สายเป็นคุณสมบัติติดตัวของอุปกรณ์ มือถือทั้งหลายเหมือนกับ ที่การเชื่อม ต่อกับอินเทอร์เน็ตนั้น คู่กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

สิ่งที่สำคัญสำหรับลักษณะดังกล่าวก็คือ การเป็นระบบเครือข่าย แบบเฉพาะกิจของบลูทูธ (Ad hoc network) หรือศักยภาพ ที่จะสร้างเครือข่ายขึ้นเอง โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์แม้แต่ตัวเดียว คนที่ถืออุปกรณ์บลูทูธติดตัวอาจเข้า และออกจากเครือข่ายเฉพาะกิจรอบตัวแบบไม่รู้ตัว

บลูทูธจะเป็นเทคโนโลยี ที่โดดเด่นขึ้นมาได้นั้น มันต้องทำงานให้ได้ดีกว่าเครื่องมือสื่อสารทุกชิ้น คนที่ใช้อุปกรณ์อย่างเครื่องเฝ้าดูเด็ก (baby monitor) หรือโทรศัพท์มือถือ จะรู้ดีว่า เครื่องมือไร้สายมักจะมีปัญหาทั้งสัญญาณแทรก สัญญาณหลุด หรือรัศมีสัญญาณ ที่มีอยู่จำกัด ด้วยลักษณะดังกล่าว บลูทูธจึงถูกออกแบบมาให้เป็นเทคโนโลยีไร้สาย ที่แก้ไขข้อผิดพลาดได้มากที่สุด ผ่านแผ่นแถบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และอุปกรณ์ดิจิตอล ซึ่งสามารถรับมือกับสภาพสัญญาณขาดหรือหลุดกลางคัน พร้อมส่งสัญญาณคืนให้ใหม่โดยไม่เสียคุณภาพไป นอก จากนี้บลูทูธจะจำกัดอยู่ในรัศมี 10 เมตร ซึ่งทำให้ไม่ต้องพบกับปัญหาจุดอับสัญญาณ หรือสัญญาณไม่ว่างของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้บลูทูธยังเข้าหาคลื่นความถี่ได้เร็วกว่าเทคโนโลยีไร้สายอื่นๆ ซึ่งจะทำให้มันสามารถปรับตัวเข้ากับคลื่นวิทยุ ที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้เร็วกว่าโทรศัพท์ไร้สายธรรมดาได้ดี

แต่กระนั้น ก็ใช่ว่า บลูทูธจะไม่มีข้อจำกัดเอา เสียเลย ข้อที่น่ากังวลที่สุดก็คือ บลูทูธอาจต้องเจอปัญหาหากพยายามผลักดันตัวเองขึ้นมาเกินกว่าบทบาทดั้งเดิม นั่นคือ การเป็นสิ่งแทนสายเคเบิล ทุกวันนี้ บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีไร้สาย ที่ใช้ภายในพื้นที่ก็คือ การเชื่อมอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เข้ากับระบบแลนของบริษัท อันเป็นสิ่งที่มาตร ฐานไร้สายขนาด 802.11b กำลังทำอยู่ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ที่มีการ์ด 802.11b เสียบอยู่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับจุดเข้าระบบ (access points) ซึ่งเป็นกล่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ตามมุมผนังห้องประชุมหรือพื้นที่โล่งอื่นๆ) ในระดับความเร็วสูงได้ และสามารถใช้เครือข่ายทุกจุดได้เหมือนกับว่าได้เชื่อมต่อผ่านเคเบิลอีเทอร์ เน็ตอย่างไรอย่างนั้น (Ethernet cable)

บลูทูธยังทำอย่างที่ว่าได้ไม่ดีนัก เป็นต้นว่า ตัวพิโคเน็ตนั้น ถูกจำกัดให้ใช้ ได้กับอุปกรณ์เพียง 8 ชนิดเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเป็นการจำกัดจำนวนผู้ใช้ ที่จุดเข้าระบบจุดหนึ่ง สามารถให้บริการได้ในหนึ่งครั้ง

รัศมีคลื่นความถี่ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่น่ากังวล ด้วยระดับความเร็ว ในการส่งข้อมูลที่ 1 เมกะบิตต่อวินาที ที่ผู้ใช้ทุกคนต้องใช้ร่วมกันนั้น แลนไร้สายของบลูทูธก็อาจจะอืดอาดจนน่ารำคาญ และหากจะเพิ่มรัศมีเป็นขนาด 802.11b (ประมาณ 100 เมตร) เครื่องส่งของบลูทูธต้องใช้พลังงานจำนวนมหาศาล ซึ่งทำให้แบตเตอรี่หมดเร็วอย่างน่าใจหาย

นอกจากนี้ ยังมีข้อวิตกอยู่ว่า เครื่องมือ ที่ใช้บลูทูธอาจไปขัดกับเครื่องมือ ที่ใช้ 802.11b เนื่องจากเทคโนโลยีทั้งสองตัวนี้ใช้กลุ่มคลื่นความถี่เดียวกัน จากการศึกษาพบว่า หากใช้ทั้งสองตัวนี้คู่กันไปก็จะเท่ากับเป็นการตัดรัศมีคลื่นความถี่ ที่มีน้อยอยู่แล้วของบลูทูธให้เหลือเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น

จากข้อที่น่ากังขาทั้งหลายข้างต้น บลูทูธจึงยังเป็นตัวเชื่อมการสื่อสาร ที่ยังใช้ไม่ได้ อีกทั้งการปฏิสัมพันธ์แบบฉลาดๆ ระหว่างอุปกรณ์บลูทูธด้วยกันเองนั้น ก็ยังต้องการระดับคำสั่งการใช้งาน ที่ซับซ้อนมีชั้นเชิงมาใช้ และอย่างที่ทราบ ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานคำสั่งการใช้งาน ที่เป็นสากลสำหรับเทคโนโลยีบลูทูธเลย

ในข้อนี้ผู้ที่ควรถูกตำหนิก็คือ บรรดาผู้ผลิต ถึงแม้ว่าแต่ละรายจะเลิกล้มความพยายาม ที่จะให้บลูทูธมีมาตรฐานเดียวกันไปแล้ว แต่ทุกรายก็ยังพยายามมองหาหนทางเอาประโยชน์ส่วนตนจากเทคโนโลยีตัวนี้ สิ่งที่ยากก็คือ การทำให้บรรดาบริษัท ยักษ์ใหญ่จากสาขาอุตสาหกรรม ที่แตกต่างกันให้เห็นพ้องต้องกัน ในรูปพรรณสัณฐานเบื้องต้นของบลูทูธ และยิ่งยากขึ้นไปอีก เมื่อต้องทำแบบเดียวกันกับมาตรฐานเฉพาะของคำสั่งการใช้งานในแต่ละส่วน

อย่างไรก็ตาม นี่ก็ไม่ได้หมาย ความว่า บลูทูธจะเป็นความล้มเหลว แต่มันหมายถึงว่า กว่า ที่บลูทูธจะไปถึงจุดที่คุยไว้ได้จริงคงต้องใช้เวลานานกว่า ที่คิด บลูทูธอาจจะมีราคาถูก ลงในอนาคต แต่มันก็เจอปริศนาแบบ ไก่กับไข่คือ ทำไมจะต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อซื้อพรินเตอร์บลูทูธ ในเมื่อ ที่บ้าน/ ที่ทำงานยังไม่มีคอมพิวเตอร์บลูทูธใช้ ดั้งเดิมนั้น จะมีการนำผลิตภัณฑ์บลูทูธออกจำหน่ายในลักษณะเป็นชุดๆ ไป เช่น หูฟังกับโทรศัพท์ แต่แนวคิดเช่นนี้ก็อาจทำให้มาตรฐานของผลิตภัณฑ์นั้น แตกต่างกันออกไปตามกรรมสิทธิ์ของแต่ละผู้ผลิต ความจริงของบลูทูธในตอนนี้ก็คือ หากเครือข่ายไร้สาย 3G ซึ่งทั้งเร็ว และ สามารถเข้าสู่ระบบได้ตลอดเวลายังเป็นจริงไม่ได้ ความน่าจะเป็นของอุปกรณ์สื่อสารมือถือแบบเชื่อมต่อกันหมดนั้น ก็จะยังไม่สดใสนัก การปฏิวัติการสื่อสารไร้สายอาจกำลังเดินทางมาถึง แต่นั่นก็ยังไม่เร็วพออย่างที่นักปฏิวัติต้องการ

วิวัฒนาการของ Bluetooth(Development of Bluetooth)

5.1 วิวัฒนาการของ Bluetooth

ข้อกำหนดกำลังส่งของบลูทูธ โดยอุปกรณ์รับ-ส่งจะถูกแบ่งออกตามลำดับชั้น (Class) จากกำลังส่งสูงสุดที่จำกัด (Maximum Permitted Power) เราจะพบว่ากำลังส่งที่มากกว่าย่อมได้ระยะการรับ-ส่งคลื่น (Range) ที่ไกลกว่า ข้อกำหนดดังกล่าวนี้สอดคล้องกับมาตรฐานสำหรับบลูทูธที่ออกแบบเพื่อใช้กับ ระบบเครือข่ายส่วนบุคคลแบบไร้สายหรือ Wireless Personal Area Networks (PANs) โดยมีมาตรฐาน IEEE 802.15.1 (WPAN/Bluetooth) รองรับอยู่

clip_image030

ตารางที่ 5.1 ข้อกำหนดด้านกำลังส่งของบลูทูธ

(ที่มาของรูป : http://mvt.co.th/viewnews.php?cid=3&nid=282&page=1)

ส่วนมากอุปกรณ์รับ-ส่งใน Class 2 เอง อาจเพิ่มระยะการรับ-ส่งคลื่นได้หากถูกต่อใช้งานกับอุปกรณ์รับ-ส่งใน Class 1 เนื่องจากกำลังที่สูงกว่าใน Class 1 สามารถทำให้แพร่กระจายคลื่นไปได้ไกลกว่า ในขณะเดียวกันทางด้านรับจะมีความไวในการรับ (Receive Sensitivity) ที่ดีกว่า Class อื่น ๆ จึงสามารถรับสัญญาณที่มีกำลังส่งน้อย ๆ ได้ ดังนั้นหากมีการใช้งานร่วมกันของอุปกรณ์ที่ต่าง Class กัน ผลก็คือเราอาจได้ระยะการรับ-ส่งคลื่นที่มากกว่าหรือน้อยกว่า คือแปรผันตามคุณสมบัติของอุปกรณ์ใน Class นั้นนั่นเอง

clip_image031
ตารางที่ 5.2 เปรียบเทียบคุณสมบัติของบลูทูธในแต่ละเวอร์ชั่น

(ที่มาของรูป : http://mvt.co.th/viewnews.php?cid=3&nid=282&page=1)

ถ้าพิจารณาคุณสมบัติบลูทูธในแต่ละเวอร์ชั่นดัง แสดงในตารางที่ 2 จะพบว่า สาระสำคัญของการพัฒนามาตรฐานก็เพื่อตอบสนองการใช้งานที่ต้องการความรวดเร็ว ในการรับ-ส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์บลูทูธ แต่ทว่ารูปแบบการใช้งานยังคงเป็นไปในรูปแบบเดิมกล่าวคือ การรับ-ส่งในระยะใกล้ ๆ เท่านั้น เนื่องจากถูกจำกัดที่ข้อกำหนดด้านกำลังส่งของบลูทูธ ลองนึกดูว่าหากเราต้องการส่งไฟล์ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ 10 กิกะไบต์ไปยังอุปกรณ์ปลายทางโดยผ่านบลูทูธ แน่นอนว่าความเร็วของบลูทูธเวอร์ชั่น 2.0 ย่อมจะช่วยย่นระยะเวลาในการรับ-ส่งข้อมูลลงได้ถึงประมาณ 3 เท่า อย่างไรก็ดีหากอุปกรณ์ด้านใดด้านหนึ่งที่ใช้อยู่เป็นบลูทูธเวอร์ชั่นต่ำกว่า ความเร็วในการรับ-ส่งจะถูกจำกัดอยู่ที่อุปกรณ์เวอร์ชั่นต่ำกว่านั่นเอง แต่บลูทูธเวอร์ชั่นสูงกว่ามีความสามารถในการทำงานร่วมกับบลูทูธเวอร์ชั่นต่ำ กว่าหรือที่เรียกว่า "Backward Compatible" ตัวอย่างเช่น เราสามารถนำชุดหูฟ้งบลูทูธเวอร์ชั่น 2.0 มาต่อใช้งานร่วมกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีบลูทูธเวอร์ชั่น 1.1 ได้

5.2 EDR (Enhanced Data Rate)

EDR เป็นการต่อยอดคุณสมบัติของบลูทูธเวอร์ชั่น 1.2 โดยการเพิ่มรูปแบบของการมอดูเลชั่น (Modulation) ใหม่เข้าไป 2 รูปแบบ ได้แก่ การมอดูเลตแบบ TT/4-DQPSK (Differential Quadrature Phase-Shift Keying) ซึ่งจะให้ค่าความเร็วสูงสุดที่ 2 Mbps และการมอดูเลตแบบ 8DPSK (Differential Phase-Shift Keying) ซึ่งจะให้ค่าความเร็วสูงสุดที่ 3 Mbps ที่เป็นออปชั่นของบลูทูธเวอร์ชั่น 2.0 อย่างไรก็ดีเพื่อให้ บลูทูธเวอร์ชั่น 2.0 สามารถใช้งานร่วมกับบลูทูธเวอร์ชั่นต่ำกว่าได้ หรือที่เราเรียกว่า "Backward Compatible" จึงจำเป็นจะต้องให้มันมีการใช้งานแบบเบสิกเรต (Basic Rate) รวมเข้าไปด้วย โดยการใช้มอดูเลตแบบ GFSK (Gaussian Frequency Shift Keying) ที่มีอยู่ในบลูทูธเวอร์ชั่น 1.0 จนถึงเวอร์ชั่น 1.2 ซึ่งจะให้ค่าความเร็วสูงสุดที่ 1 Mbps


clip_image032

รูปที่ 5.1 Packet Format ของบลูทูธแบบเบสิกเรต (Basic Rate)

(ที่มาของรูป : http://mvt.co.th/viewnews.php?cid=3&nid=282&page=1)

รูปแบบของข้อมูล (Packet Format) ในการมอดูเลตแบบ GFSK ดังรูปที่ 1 ที่ส่งออกไปจะเริ่มต้นด้วย Access Code และ Header โดย Access Code จะทำหน้าที่ในการให้จังหวะการทำงานหรือที่เรียกว่า Synchronization รวมถึงใช้ในการเรียกหา (Paging) ส่วน Header จะมีข้อมูลประเภทที่ใช้ในการควบคุม (Link Control Information) เพื่อบอกถึงชนิดของข้อมูล (Packet Type) ที่ส่งมา ซึ่ง Packet Type มีด้วยกันทั้งหมด 15 ชนิด ส่วนสุดท้ายคือส่วนของข้อมูลผู้ใช้ (Payload) ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลประเภทที่เป็นเสียง ข้อมูล หรือทั้งสองอย่างรวมกัน

เมื่อนำ EDR เพิ่มเข้ามาในบลูทูธเวอร์ชั่น 2.0 จึงมีการเปลี่ยนแปลงของ Packet Format โดยเพิ่มเติมในส่วนของสัญญาณควบคุม (Sync) ซึ่งจะใช้กับการมอดูเลตแบบ DPSK ที่เป็นหัวใจของการเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลของบลูทูธเวอร์ชั่นนี้

clip_image033

รูปที่ 5.2 Packet Format ของบลูทูธแบบที่มี EDR (Enhanced Data Rate)

(ที่มาของรูป : http://mvt.co.th/viewnews.php?cid=3&nid=282&page=1)

จากรูปที่ 2 Packet Format ของ EDR ยังคงใช้ Access Code และ Header เหมือนกับการใช้งานแบบเบสิกเรตทั่วไป โดยมีช่องสัญญาณ Guard เป็นตัวช่วยคั่นเวลาในการเตรียมพร้อม ในกรณีหากมีการใช้งานมอดูเลตแบบ DPSK ตามด้วยช่องสัญญาณ Sync ที่เป็นตัวให้จังหวะเวลาในการทำงานสำหรับมอดูเลชั่นทั้งสองแบบของ EDR ซึ่งผลก็คือเราจะได้ความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 หรือ 3 Mbps ตามลำดับ โดยที่ยังสามารถใช้งานในแบบเบสิกเรตได้

5.3 บลูทูธเวอร์ชั่น 3.0 หรือไฮ-สปีดบลูทูธ

ปัจจุบันมีการนำมาตรฐานของบลูทูธเวอร์ชั่น 2.1+EDR ออกมาใช้โดยเพิ่มเติมคุณสมบัติอื่น ๆ เข้าไปจาก บลูทูธเวอร์ชั่น 2.0 แต่ขณะเดียวกันก็ได้มีการพูดถึงบลูทูธเวอร์ชั่น 3.0 หรือไฮ-สปีดบลูทูธ ซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่คาดว่าจะออกมาหลังเวอร์ชั่น 2.1

ในเวอร์ชั่นไฮ-สปีดนี้เราอาจจะได้เห็นความ เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่ได้สูงสุดถึง 480 Mbps ผ่านทางเทคโนโลยีที่เรียกกันว่าอัลตร้าวายด์แบนด์ (Ultra Wideband: UWB)

5.4 อัลตร้าวายด์แบนด์คืออะไร?

อัลตร้าวายด์แบนด์เป็นเทคโนโลยีที่ The Bluetooth SIG เลือกมาใช้สำหรับไฮ-สปีดบลูทูธ (High-Speed Bluetooth) โดยการพัฒนาและวิจัยของกลุ่มที่เรียกว่า "WiMedia Alliance" เป็นการสื่อสารในลักษณะที่ต้องใช้ขนาดความกว้างของแถบสัญญาณมาก (High Bandwidth) อาจมากกว่า 500 เมกะเฮิรตซ์ขึ้นไป แต่จะใช้งานอยู่ในระยะใกล้ ๆ (Short range) มีระยะห่างกันไม่เกิน 10 เมตร โดยย่านความถี่ใช้งานจะต้องไม่ไปรบกวนกับความถี่อื่น ๆ ซึ่งตามข้อกำหนดของ Federal Communication Commission (FCC) ระบุให้ใช้ความถี่ที่ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต (Unlicensed) ในย่านความถี่ตั้งแต่ 3.1 จนถึง 10.6 กิกะเฮิรตซ์สำหรับการใช้งานของอัลตร้าวายด์แบนด์ โดยสามารถออกแบบใช้งานย่านความถี่ได้อย่างอิสระ กล่าวคือให้นำความถี่ที่เป็นลักษณะย่านความถี่ย่อย (Sub-band) มาผสมรวมกันเพื่อใช้งานได้ ผลก็คือจะได้ความกว้างของแถบสัญญาณมากขึ้น ซึ่งทำให้ส่งผลโดยตรงกับความเร็วที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

หากจะเปรียบเทียบเทคโนโลยีบลูทูธในปัจจุบันกับ อัลตร้าวายด์แบนด์จะพบว่า บลูทูธเวอร์ชั่นปัจจุบันมีขีดจำกัดในเรื่องความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่เพียง 1 ถึง 3 Mbps เท่านั้น โดยระยะทางที่ใช้งานได้จะใกล้เคียงกับเทคโนโลยีอัลตร้าวายด์แบนด์คือราว 10 เมตร ซึ่งหากมีการใช้งานของเทคโนโลยีอัลตร้าวายด์แบนด์ในลักษณะที่เป็น Short distance คือไม่เกิน 2 เมตร เราจะได้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูงถึง 480 Mbps เลยทีเดียว

เหตุผลที่ทำให้เทคโนโลยีทั้งสองชนิดมีความเร็ว แตกต่างกันในลักษณะที่เป็นแบบก้าวกระโดด ได้แก่ การใช้แถบความกว้างของสัญญาณ (Bandwidth) ที่มากขึ้นในอัลตร้าวายด์แบนด์ รวมไปถึงการประยุกต์ใช้งานของ OFDM ในลักษณะที่แบบมัลติแบนด์ (Multi-band) หรือที่เราเรียกว่า MB-OFDM (Multi-band OFDM) ซี่งจะทำให้สามารถส่งข้อมูลพร้อม ๆ กันผ่านทางย่านความถี่ย่อย ๆ ที่อยู่ห่างกันได้ โดยข้อดีในการใช้ MB-OFDM คือมีความยืดหยุ่นสูงในการใช้งานย่านความถี่และลดผลกระทบที่เกิดจากสัญญาณ รบกวน รวมไปถึงผลของสัญญาณสะท้อนจากหลายทิศทางหรือที่เราเรียกว่ามัลติ-พาธ (Multi-path) อีกด้วย

ทั้งนี้การจัดสรรย่านความถี่ย่อย (Multi-band) จะใช้แถบความกว้างของสัญญาณช่องละ 500 เมกะเฮิรตซ์ มีอยู่ด้วยกัน 3 ช่อง โดยจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 3.1 จนถึง 4.8 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ไม่ถูกรบกวนจากความถี่อื่น ๆ ที่ใช้งานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเซลลูล่าร์ (Cellular) หรือไวไฟ (Wi-Fi)

หากพิจารณาถึงพลังงานที่ต้องการใช้ใน MB-OFDM แล้ว สิ่งจำเป็นก็คือจะต้องออกแบบให้มีการบริโภคพลังงาน (Power Consumption) ที่ค่อนข้างต่ำ เราลองนึกดูว่าในขณะที่เราใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อเป็นโมเด็มผ่านทางบลูทูธ

หากสามารถใช้งานได้เพียงไม่กี่นาทีก็คงจะเสีย อารมณ์เป็นแน่ทีเดียว เทคโนโลยีอัลตร้าวายด์แบนด์ที่ใช้ MB-OFDM นี้สามารถประยุกต์ใช้งานกับอุปกรณ์ไร้สายชนิดต่าง ๆ โดยสามารถทำงานอย่างต่อเนื่องได้อย่างต่ำ 2 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับสภาวะการใช้งาน ซึ่งหากทำงานอยู่ในสภาวะ Idle mode หรือ Deep sleep power จะใช้งานได้นานกว่านี้มาก

clip_image034

ตารางที่ 5.3 ค่าปริมาณการใช้พลังงานในอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ MB-OFDM โดยประมาณ
(ที่มาของรูป : http://mvt.co.th/viewnews.php?cid=3&nid=282&page=1)

บทสรุปก็คือการทำงานในลักษณะที่เป็นไฮ-สปีดบลู ทูธนี้จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นขนาดข้อมูลที่มีความจุมากขึ้น การรับชมไฟล์วิดีโอที่มีคุณภาพสูง การใช้งานทางด้านมัลติมีเดีย และการใช้งาน Wireless VoIP

เราคงต้องมาดูกันต่อไปนะครับว่าเจ้าไฮ-สปีดบลู ทูธนี้จะออกมาให้ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ได้ยลโฉมกันเมื่อไร ยิ่งมีคู่แข่งตัวสำคัญอย่าง Wireless USB ซึ่งใช้เทคโนโลยีแบบเดียวกันออกมาด้วยแล้ว และยิ่งถ้าผนวกเอาคุณสมบัติที่เป็น Plug and Play ลงไปได้อีกด้วยละก็น่ากลัวทีเดียวครับ แต่อย่างไรก็ตามมาช่วยกันเชียร์เจ้าไฮ-สปีดบลูทูธกันดีกว่าครับ แว่ว ๆ มาว่าเขาน่าจะทำออกมาในลักษณะที่เป็น Dual Radio Technology คือสามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้งานในรูปแบบใด เช่น กรณีที่ไม่ต้องการความเร็วสูงอย่างการต่อกับเมาส์ คีย์บอร์ด หรืออุปกรณ์ low power อื่น ๆ ก็สามารถเลือกใช้การมอดูเลตรูปแบบเดิมได้ โดยที่เจ้าไฮ-สปีดบลูทูธนี้ก็ยังคงสามารถใช้งานได้กับบลูทูธเวอร์ชั่นเก่า ได้อีกด้วย

5.5 ผู้นำเทคโนโลยี Bluetooth

The Bluetooth SIG

Bluetooth Special Interest Group (SIG) คือกลุ่มของบริษัทที่ร่วมกันสนับสนุนเทคโนโลยี บลูทูธ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในปี 1998 โดยมีสมาชิกดังนี้
– Ericsson Mobile Communication AB.
– Intel Corp.
– IBM Corp.
– Toshiba Corp.
– Nokia Mobile Phones.

ในเดือน พฤษภาคม ปี 1998 บริษัทเหล่านี้ ได้ประกาศ การรวมตัวกัน เพื่อก่อตั้ง SIG และเชิญชวนบริษัทอื่นๆ ให้เข้าร่วม ในลักษณะของการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ โดยในเดือน กรกฎาคม ปี 1999 กลุ่มบริษัท เหล่านี้ ได้ทำการเผยแพร่ Bluetooth specification Version 1.0 ที่เว็บไซท์ http://www.bluetooth.com และในเดือน ธันวาคม ปี เดียวกันนี้ ได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้น ได้แก่3Com, Lucent, Microsoft และ Motorola ได้ร่วมเป็นสมาชิกเพื่อก่อตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นมานั่นก็คือกลุ่ม Promoter จนถึงปัจจุบันมีบริษัทกว่า 1,300 บริษัท ที่ลงนามกับเทคโนโลยีนี้เรียบร้อยแล้ว

อุปกรณ์ที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีบลูทูธ ต้องผ่านการทดสอบจาก SIG ของ Bluetooth

เสียก่อนเพื่อยืนยันว่ามันสามารถที่จะทำงานร่วมกับอุปกรณ์บลูทูธตัวอื่นๆ และอินเตอร์เน็ตได้

เรื่องเล่าน่ารู้เกี่ยวกับ Bluetooth(Knowledge from Bluetooth)

6.1 หูฟังบลูทูธ

บลูทูธเฮดเซ็ทกลายเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญ ที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ต้องมีเอาไว้ ประโยชน์ของแฮนดส์ฟรีไร้สายเหล่านี้ชัดเจนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฏหมายท้องถิ่นหรือรัฐที่บังคับให้ใช้หูฟังขณะขับขี่ยานพาหนะ ในขณะที่มีเฮดเซ็ทเหล่านี้ เป็นจำนวนมากขึ้นๆ จำนวนของโทรศัพท์ที่รองรับบลูทูธก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน การรวมเอา บลูทูธเข้าไปในโทรศัพท์นั้น ปัจจุบันมีความแพร่หลายเป็นอย่างมาก ตั้งแต่มือถือสมาร์ทโฟน ระดับไฮเอนด์ ไปจนกระทั่ง มือถือทั่วไปในระดับโลวเอนด์

กระบวนการเชื่อมต่ออุปกรณ์บลูทูธเริ่มมาจาก การจับคู่กัน ก่อน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ให้หูฟังและโทรศัพท์หากันเองและทำความรู้จักซึ่งกันและ กัน ทันทีที่การเชื่อมต่อสำเร็จและทำให้ปลอดภัยโดยการใช้รหัส (PIN) อุปกรณ์ทั้งสองชิ้นจะสามารถคุยกันและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ คุณสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 7 ชนิดในเวลาเดียวกันด้วยความเร็ว 500 กิโลบิตต่อวินาที อย่างไรก็ตาม บลูทูธยังมีข้อจำกัดอยู่เช่นกัน ระยะทางของอุปกรณ์ทั้งสองจะอยู่ไกลกันได้ไม่เกิน 30 ฟุต ซึ่งดีกับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลายชิ้น แต่ว่าก็ไม่เหมาะกับการสร้างเป็นเครือข่ายขึ้นมาสำหรับคอมพิวเตอร์อยู่ดี และแน่นอนว่าคุณต้องทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์บลูทูธที่เป็นเวอร์ชั่นเดียวกัน เท่านั้น

แม้ว่าตัวบลูทูธเองจะง่ายต่อการเข้าใจ แต่การเลือกหูฟังบลูทูธนั่นไม่ง่ายเลย จำนวนหูฟังชนิดนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว รูปแบบ คุณลักษณะเด่น ประสิทธิภาพ และความเข้ากันนั้นแตกต่างออกไป ดังนั้น การใช้เวลาสักนิดเพื่อเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับคุณจึงเป็นสิ่งสำคัญ กองบรรณาธิการของซีเน็ทก็ได้ทำการทดสอบเฮดเซ็ทมาเป็นจำนวนมากแล้ว โดยมีทั้งหมด 122 รุ่น

การดีไซน์

หูฟังบลูทูธส่วนมากสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีบูมกับไม่มีบูม บูมคือไมโครโฟนที่ยืดออกมาโค้งเข้าไปหาปาก ซึ่งหน้าตาเหมือนหูฟังของคอลเซ็นเตอร์ทั้งหลาย แม้ว่าไมโครโฟนจะมีระยะห่างจากปากที่ใกล้ขึ้น ทำให้ความคมชัดของเสียงดีกว่า แต่หูฟังแบบบูมมีแนวโน้มว่าจะมีขนาดใหญ่กว่า อย่างเช่น Jabra BT500 และ Plantronics Voyager 510 โดยรุ่นพวกนี้จะถูกออกแบบมาให้คล้องไปที่ด้านหลังหู แต่ก็มีบางพวกเช่น Sony Ericsson HBH-610 ที่ใช้งานโดยการครอบไว้บนหูแทน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าหูฟังแบบบูมจะมีขนาดใหญ่เสมอไป

ในขณะที่บูมเฮดเซ็ทมีอิทธิพลต่อบลูทูธใน ระยะเวลาสั้นๆ เฮดเซ็ทที่ไม่มีบูมก็ได้รับความนิยมมากขึ้นในปีหลังๆ มานี้ เพราะไม่เพียงแต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า แต่ยังมีดีไซน์ที่เป็นแฟชั่นมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น Jabra BT160 ที่มีหน้ากากเปลี่ยนได้ถึง 33 แบบหรือจะเป็น JX10 ที่มีกระแสตอบรับเกี่ยวกับความหรูหราและขนาดที่ย่อมลง โมโตโรล่าก็โดดเข้าร่วมเกมแห่งแฟชั่นเฮดเซ็ทเช่นกัน ซึ่งมีการออกแบบให้เข้ากับโทรศัพท์มือถือของตนเอง อาทิเช่น Motorola RAZR H3 ก็มีความเข้ากันกับมือถือรุ่นเรเซอร์ ในขณะที่ Motorola H500 ออกมาพร้อมกับสีสันแตกต่างกันไปถึง 4 สี ซึ่งเหมาะกับเพบเบิ้ลและเรเซอร์เช่นกัน

เฮดเซ็ทที่มีลักษณะสวมใส่เข้าไปในหูได้อย่างพอ ดี และมีขนาดไม่ใหญ่จึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าตัวที่มีขนาดใหญ่และหนัก ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ใช้จึงไม่ต้องการหูฟังที่มีส่วนประกอบอะไรมาวนรอบหูมากมาย ตัวอย่างของหูฟังที่ได้กล่าวไปแล้วคือ Jabra JX10 Nokia BH-800 และ Platronics Discovery 640 ซึ่งหูฟังเหล่านี้ได้รับการจัดอันดับที่ยอดเยี่ยมจากเราเนื่องจากมีสไตล์ที่ สวยงามและมีขนาดเล็ก จำเอาไว้ว่า ผู้ใช้บางคนจะไม่ชอบความรู้สึกของการใส่หูฟังแบบนี้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะตรวจดูว่าแบบไหนที่คุณใส่แล้วสบายมากที่สุด

การออกแบบหูฟังบลูทูธล่าสุดที่เป็นนวัตกรรมคือ การใส่จอแสดงผลเข้าไป Jabra BT800 และ Tekkeon EzTalker Digital มีจอแสดงผลขนาดเล็กเพื่อแสดงชื่อผู้โทรเข้า คุณจะไม่สามารถมองเห็นจอของมันเมื่อเสียบอยู่ที่หู แต่ว่าจะมีประโยชน์ตอนที่คุณถอดออกมานั่นเอง

clip_image035 clip_image036

(รูปที่ 6.1 ตัวอย่างหูฟังBluetooth รุ่น Jabra BT500 และ Sony Ericsson HBH-160)

(ที่มาของรูป : http://www.whatphone.net/article/article.php?id=70)

clip_image037

(รูปที่ 6.2 ตัวอย่างหูฟังBluetooth รุ่น Motorola H700)

Motorola H700 ซึ่งมีไมโครโฟนแบบบูมที่เป็นเอกลักษณ์สามารถพับเก็บขาได้เพื่อขนาดที่กะทัดรัดยิ่งขึ้น

(ที่มาของรูป : http://www.whatphone.net/article/article.php?id=70)

clip_image038clip_image039

(รูปที่ 6.3 ตัวอย่างหูฟังBluetooth รุ่น Jabra BT160 และ Jabra JK10)

(ที่มาของรูป : http://www.whatphone.net/article/article.php?id=70)

clip_image040

(รูปที่ 6.4 ตัวอย่างหูฟังBluetooth รุ่น Nokia BH-800)

(ที่มาของรูป : http://www.whatphone.net/article/article.php?id=70)

clip_image041 clip_image042

(รูปที่ 6.5 ตัวอย่างหูฟังBluetooth รุ่น Jabra BT800 และ Tokkeo EzTalker Digital)

(ที่มาของรูป : http://www.whatphone.net/article/article.php?id=70)

clip_image043

(รูปที่ 6.6 ตัวอย่างหูฟังBluetooth รุ่น Oakley O ROKR)

(ที่มาของรูป : http://www.whatphone.net/article/article.php?id=70)

คุณสมบัติเด่นและรูปแบบการใช้งาน

ถึง แม้ว่าบลูทูธเฮดเซ็ทจะเข้ากันได้กับมือถือที่รองรับส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่เสมอไปซะทีเดียว บลูทูธมีหลายเวอร์ชั่น ดังนั้น ทำให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทั้งสองชิ้นของคุณสามารถทำงานร่วมกันได้ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในตอนนี้จะเป็นบลูทูธเวอร์ชั่น 1.1 ซึ่งมีความสามารถพื้นฐานคือ การโทรออกด้วยเสียง การกดปิดเสียงเรียกเข้า และการโทรออกไปยังเบอร์ล่าสุด ในปี ค.ศ. 2003 บลูทูธ สเปเชียล อินเทอเรสท์ กรุ๊ป ( เอส ไอ จี) ได้เสนอเวอร์ชั่น 1.2 ออกมาและ 2.0 ตามมาติดๆ โดยเวอร์ชั่นใหม่นี้สามารถกำจัดคลื่นวิทยุรบกวน และเพิ่มความปลอดภัยจากการสอดแนมและติดตามได้ ส่วนบลูทูธ 2.0 ก็เพิ่มความเร็วในการรับเชื่อมต่อประมาณสามเท่าจากของเดิม และยังมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยที่กินพลังงานน้อยลง Sony Ericsson HBH-610 คือตัวอย่างของเฮดเซ็ทที่รองรับเวอร์ชั่น 2.0 ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นๆ หลายอย่าง เช่น การลดเสียงสะท้อน การลดเสียงรบกวน การปรับระดับเสียงโดยอัตโนมัติ และการจับคู่กับโทรศัพท์ของโซนี่ อีริคสันได้ด้วยตัวเอง

โพรไฟล์ในการใช้งานอันล่าสุดที่เอามาใช้ร่วมกับ มือถือก็คือ A2DP (Advanced Audio Distribution Profile) หรือแอ็ดวานซ์ ออดิโอ ดิสทริบิวชั่น โพรไฟล์ หรือที่เรารู้จักกันว่าเป็นโพรไฟล์สำหรับเฮดเซ็ทแบบสเตอริโอ เนื่องจากมันสามารถใช้สตรีมเสียงแบบสองช่องทางได้ เหมือนกับเพลงจากเครื่องเล่นเอ็มพีสามที่เล่นผ่านหูฟังออกมา นี่เป็นแนวคิดใหม่สำหรับมือถือที่เล่นเพลงเอ็มพีสามได้ เพราะผู้ใช้สามารถเปลี่ยนจากการฟังเพลงมาเป็นการใช้โทรศัพท์ได้โดยการกดปุ่ม เท่านั้น แต่น่าเสียดายที่โทรศัพท์หลายรุ่น ยังไม่รองรับรูปแบบการใช้งานอันนี้ ช่วงเวลาที่เขียนอยู่นี้ ก็มีแค่ LG VX8300 LG LX550 และ Nokia 8801 เท่านั้น เช่นเดียวกันกับหูฟังที่รองรับ A2DP ก็มีน้อย ตัวอย่างเช่น Jabra BT620s และ Oakley O ROKR

ท่ามกลางการเชื่อมต่อแบบไร้สาย บลูทูธถือว่ามีความปลอดภัยค่อนข้างต่ำ เอส ไอ จี ยอมรับว่ามีการแฮ็คข้อมูลอย่างลับๆ และเข้าถึงการควบคุมโทรศัพท์ได้เลยที่เรียกว่า บลูบั๊กกิ้ง (Bluebugging) ซึ่งจะทำให้เราถูกดักฟังได้ หรือจะเป็น บลูสนาร์ฟฟิ่ง (Bluesnarfing) อันจะทำให้แฮ็คเกอร์สามารถเข้าไปดูข้อมูลในโทรศัพท์ได้ แม้กระนั้นเอง เอส ไอ จีก็พยายามปิดข้อมูลอยู่เหมือนกัน ในขณะที่เราใช้บลูทูธอยู่นั้น แฮ็คเกอร์จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระยะใกล้ ไม่เกินระยะของสัญญาณบลูทูธ การที่จะต่อสู้กับภัยอันนี้ คุณก็เพียงปิดโหมดการค้นหาของบลูทูธในโทรศัพท์ซะ แฮ็คเกอร์ก็ไม่สามารถมองเห็นเครื่องของคุณได้แล้ว

การเลือกซื้อหูฟังบลูทูธ

หลังจากกฎหมายโทรห้ามขับหรือขับห้ามโทร เริ่มบังคับใช้ ช่วงนี้หูฟังบลูทูธน่าจะขายดี ผู้ใช้โทรศัพท์บางรายไม่อยากใช้สายต่อหูฟังที่แถมมากับมือถือเพราะรกรุงรัง

ระยะหลังราคาหูฟังบลูทูธถูกลงมากไม่ถึง พันบาทก็ซื้อได้แล้ว และคุณภาพดีขึ้น หูฟังบลูทูธรุ่นก่อนมักมีปัญหาสัญญาณ เชื่อมต่อหลุดบ่อย และแบตเตอรี่ใช้งานได้ระยะสั้น คุยสายได้ไม่เท่าไรแบตหมด

1.สัญญาณต้องชัดเจน หูฟังบลูทูธที่ ดีต้องมีเทคโนโลยีลดเสียงรบกวน/กันเสียงลม ถ้าได้ทดลองใช้ก่อนก็ดี แต่คงมี ร้านค้าน้อยมากที่ยอมให้ลอง เอาเป็นว่าถามกับคนที่เคยใช้มาก่อนดู สอบถาม หลายๆ รุ่น อย่าติดใจรูปลักษณ์สวยหรู

2.คุยสายได้นาน ส่วนใหญ่มีระบุไว้ข้างกล่องเกี่ยวกับชั่วโมงคุยสาย ปกติคุยสายได้นาน 6-9 ชั่วโมง

3.ระยะเวลาเปิดรอสาย (สแตนบายด์) หมายถึงระยะเวลาเปิดอุปกรณ์รอรับสายหรือคุยสายส่วนใหญ่สแตนบายด์ได้ 200-250 ชั่วโมง

4.เวอร์ชั่นบลูทูธ เวอร์ชั่นล่าสุด คือ 2.0/2.1 เป็นรุ่นที่ความส่งรับส่งข้อมูลสูงกว่า กินไฟน้อยกว่า รุ่น 1.1 หรือรุ่นเก่ากว่านั้น ให้ระวังพวกของถูกอาจเป็นเวอร์ชั่นเก่า ไม่ ควรซื้อ

5.ลองต่อกับมือถือถ้าตกลงซื้อแล้วทดลองเชื่อม ต่อกับมือถือของเราที่ร้านเลยถ้ามีปัญหาจะได้เปลี่ยนทัน ไม่ต้องเสียค่ารถเดินทางมาเปลี่ยน

6.ขนาด อันนี้แล้วแต่ชอบ บางคน ชอบใหญ่ บางคนชอบเล็ก ให้ดูระยะเวลาใช้งานแบตเตอรี่เป็นเกณฑ์ดีว่า ปกติบลู ทูธอันเล็กระยะเวลาคุยสายและสแตนบายด์จะน้อยกว่าอันใหญ่

7.ศูนย์ช่วยเหลือ หรือคอลเซ็นเตอร์ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่ไม่สันทัดเทคโนโลยี มักเจอปัญหาเชื่อมต่อหูฟัง และอื่นๆ ถ้ายี่ห้อที่ซื้อมีบริการคอลจะดีมาก

การเชื่อมต่อหูฟังบลูทูธกับมือถือไม่ ใช่เรื่องยากเย็นก่อนอื่นผู้ใช้ต้องเปิดฟังก์ชันการใช้งานบลูทูธที่มือถือ ก่อน จากนั้นกดปุ่มรับสายที่ตัวหูฟังบลูทูธค้างไว้ จับตารอดูจนมีสัญญาณไฟ กะพริบ แปลว่าหูฟังพร้อมเชื่อมต่อกับมือถือแล้ว

ต่อมาเรียกคำสั่งให้มือถือสแกนหา อุปกรณ์ปกติใช้เวลาไม่ถึงครึ่งนาทีจะพบกับหูฟังบลูทูธตามแต่ยี่ห้อที่ซื้อ ปรากฏอยู่ในรายการค้นหา เมื่อเลือกอุปกรณ์แล้ว ผู้ใช้จำเป็นต้องกดรหัสผ่าน เพื่อเชื่อมต่อกับหูฟัง รหัสผ่านที่เป็นค่าเริ่มต้นคือ0000 หลังจากป้อนตัวเลขสี่ตัวไปแล้วผู้ใช้สามารถโทรสายออกและรับสายผ่านหูฟังบลู ทูธได้เลย

โทรศัพท์มือถือบางรุ่นผู้ใช้สามารถตั้ง ค่าให้ใช้หูฟังบลูทูธเฉพาะรับสายอย่างเดียว หรือเฉพาะโทรออกอย่างเดียว หรือ ทั้งสองอย่าง ตามแต่ผู้ใช้สะดวก

ถ้าจะให้ดีอย่าโทรศัพท์ระหว่างขับรถเป็นดีที่สุด

6.2 วิธีป้องกันการแฮกผ่านบลูทูธ

ข้อดีอย่างหนึ่งสำหรับผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ แบบที่ไม่มีบลูทูธก็คือ ไม่ต้องกังวลเรื่องการแฮกโทรศัพท์ผ่านสัญญาณบลูทูธ เพราะแม้แต่หน้าจอสีก็ยังไม่มีให้เห็น แต่สำหรับคนอินเทรนด์ทันสมัยที่เลือกใช้แต่สมาร์ตโฟนนั้น คุณต้องระวังเรื่องนี้ให้ดี เพราะไม่อย่างนั้นอะไรก็ตามที่คุณเก็บไว้ในโทรศัพท์อาจจะถูกดูดข้อมูลออกไป หมด ทั้งเบอร์โทรศัพท์, รูปภาพ, คลิปวีดีโอ (ถ้ามีกล้อง) และอาจจะรวมถึงข้อมูลที่คุณเซฟจากคอมพิวเตอร์แล้วนำมาฝากไว้ในการ์ด MMC หรือในเมมโมรี
การป้องกันในเรื่องนี้ไม่ยากเลย ทุกครั้งที่คุณเปิดเครื่องขึ้นมา หากไม่มีธุระอะไรที่ต้องใช้ฟังก์ชันบลูทูธก็ให้ปิดไปได้เลย ช่วยประหยัดแบตเตอรี่อีกด้วย
ส่วนใครที่ใช้พวกพีดีเอโฟนและชอบโอนถ่าย ข้อมูลจากพีซีมาเก็บไว้ในเมมโมรีของพีดีเอโฟนละก็ ให้ระวังไว้ด้วยว่าแฮกเกอร์สามารถเจาะระบบของคุณได้ ทั้งจากสัญญาณบลูทูธที่เปิดเอาไว้ และ Wi-Fi
ข้อแนะนำที่ดีที่สุดใน เรื่องนี้คือ อย่าเก็บข้อมูลที่คุณคิดว่าสำคัญที่สุดเอาไว้ในอุปกรณ์โมบายพวกนี้ เพราะว่าไม่มีความปลอดภัยเลย ที่สำคัญก็อย่าลืมอัพเดรตเฟิร์มแวร์ของโทรศัพท์มือถือกันบ้าง โดยเฉพาะรุ่นที่มีฟังก์ชันบลูทูธ เพราะตั้งแต่มีข่าวการแฮกโทรศัพท์ผ่านบลูทูธ ทางบริษัทผู้ผลิตแทบทุกรายก็พยายามอุดรูรั่วที่เกิดขึ้น ซึ่งให้ลูกค้ามาอัพเดรตเฟิร์มแวร์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในระหว่างที่มีการ ใช้งานบลูทูธ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น