3/11/2553

Ipv6

Ipv6

1. บทนำ

IPv6 (Internet Protocol version 6) เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ Internet Protocol และได้รวมผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุน IP มาเป็นส่วนหนึ่งด้วย รวมถึงระบบปฏิบัติการหลัก IPv6 ได้รับการเรียกว่า "IPng" (IP Next Generation) โดยปกติ IPv6 เป็นกลุ่มของข้อกำหนดจาก Internet Engineering Task Force (IETF) โดย IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน 4 โดย host ของเครือข่ายและ node แบบ intermediate ซึ่ง IPv4 หรือ IPv6 สามารถดูแลแพ็คเกตของ IP เวอร์ชันอื่น ผู้ใช้และผู้ให้บริการสามารถปรับรุ่นเป็นIPv6 โดยอิสระการปรับปรุงที่ชัดเจนของ IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 การขยายดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายของอินเตอร์เน็ต และเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนของตำแหน่งเครือข่าย

1.1 ลักษณะทั่วไปของ IPv6

1. ขยายขนาดของ Address Space จากเดิม 32 บิท ไปเป็น 128 บิท ดัง ฟอร์แมทดังด้านล่างนี้

203.148.145.241 - IPv4

1080:0:0:0:8:800:200C:417A – IPv6

2. มีความสามารถมากขึ้นในการ Routing, Security, Quality of Services (QoS) ภายใน IP Header

3. รองรับการ Authentication

4. สนับสนุน Real Time Services

5. สนับสนุนการ Assign หมายเลข IP Address โดยอัตโนมัติ ในขณะที่ IPv4 ต้องพึ่งโปรโตคอลอื่นๆ เช่น DHCP เป็นต้น

6. ปรับปรุงความสามารถในการติดต่อในรูปแบบของ มัลติคาสท์ (Multicast)

1.2 IPv6 Header

ภายใน IPv6 Header นั้น จะสามารถแสดงรายละเอียดได้ดังนี้

รูปที่ 1-1 แสดง IPv6 Header Packet( http://www.vcharkarn.com )

5859

รูปที่1-2 แสดงการเปรียบเทียบ header ระหว่าง IPv4 และ IPv6 ( http://www.vcharkarn.com )

จากรูป IPv6 จะมีขนาด Header Packet คงที่ คือ 40 Bytes ในขณะที่ IPv4 นั้นมีขนาดตั้งแต่ 20 – 60 Bytes ซึ่ง รายละเอียดในจุดต่างๆ ของ Header ภายใน IPv6 ก็จะสามารถแสดงได้ดังนี้

1.3 Extended Headers

เป็นตำแหน่งของโปรโตคอลที่ อาจถูกใช้แค่ในการประมวลผลของเราเตอร์ ต้นทาง หรือ ปลายทางเท่านั้น ดังนั้น เราจะไม่ใส่ Field เหล่านี้ไว้ใน Header ปกติ เนื่องจาก ต้องการที่จะลดการประมวลผลภายในตัวเราเตอร์ ดังนั้นจึงมีการขยายส่วนของ Header เหล่านี้ไปอยู่ใน “Extended Headers” ซึ่งใน 1 Packet เราสามารถใช้ Extended Header ได้มากกว่า 1 Header ดังนั้น เราจึงขอ service จาก IPv6 ได้มากกว่า 1 อย่าง IPv6 specification ล่าสุดกำหนดให้มี Extended Header อยู่ 6 แบบ ทุกแบบจะขึ้นต้นด้วย Field "Next Header" เสมอ เพื่อระบุว่า Extended Header อันถัดเป็นชนิดไหน

รายละเอียดพอสังเขปของ Extended Header ( ที่สำคัญ )

1. Hop-by-Hop: เป็น option ที่ระบุให้ทุก router ที่อยู่ในเส้นทางระหว่างต้น/ปลายทางจะต้องทำตาม เช่น Jumbogram options เพื่อให้ IPv6 packet มีขนาดใหญ่กว่า 65535 Bytes ได้ ขนาดของ Jumbogram สูงสุดคือ 2^32 Bytes

2. Routing: ใช้สำหรับทำ source routing คือต้นทางสามารถระบุเส้นทางที่ packet ต้องผ่านได้ โดย list เป็น router ที่ต้องส่ง packet ผ่านไปจนถึงปลายทาง Source routing ของ IPv6 สามารถระบุแต่ละ router ใน list ได้เลยว่าเป็น strict source routing หรือ loose source routing ( หมายความว่าเราระบุ ทั้ง strict และ loose source routing ผสมกันได้) ซึ่งยืดหยุ่นมากกว่า source routing ของ IPv4 ที่จะบังคับว่า router ใน list ต้องเป็น strict หรือไม่ก็เป็น loose source routing ทั้งหมด

3. Fragment: ใช้สำหรับทำ fragmentation เหมือนของ IPv4 แต่ที่ต่างกันก็คือ IPv6 จะมี function สำหรับหา path MTU ไว้อยู่แล้วเพื่อจะได้รู้ว่าขนาด Maximum Transfer Unit ที่เหมาะสมของ path นั้นๆ มีค่าเป็นเท่าไหร่ ดังนั้นการทำ fragmentation จึงทำที่ source เท่านั้น ( IPv4 จะทำ fragmentation ทั้งที่ source และ router)

4. Authentication: ใช้สำหรับทำ authentication รายละเอียดจะอยู่ในเรื่อง IP Security (IPSEC)

5. Encapsulated Security Payload: ใช้สำหรับทำ encryption และ cryptography อื่นๆ รายละเอียดจะอยู่ใน IP Security

รายละเอียดทั้งหมดของ Extended Headers

1. IPv6 header

2. Hop-by-Hop Options header

3. Destination Options header

4. Routing header

5. Fragment header

6. Authentication header

7. Encapsulating Security Payload header

8. Destination Options header

9. upper-layer header (e.g., TCP, UDP)

2. การทำงานร่วมกันระหว่างอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นที่ 6 และรุ่นที่ 4

ในช่วงแรก การใช้งาน IPv6 อาจอยู่ในวงแคบ ดังนั้นเราต้องการเทคนิคเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายที่เป็น IPv6 เข้ากับเครือข่าย IPv4 หรือเครือข่าย IPv6 อื่น เทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบ่งออกเป็น3 ประเภทด้วยกันคือ
1. การทำ dual stack เป็นวิธีพื้นฐานที่สุด ทำงานโดยใช้ IP stack สองอันคือ IPv4 stack และ IPv6 stack ทำงานควบคู่กัน เมื่อใดที่แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็น IPv4 ข้อมูลแพ็กเก็ตก็จะถูกส่งออกผ่านทาง IPv4 stack เมื่อใดที่แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็น IPv6 ข้อมูลแพ็กเก็ตก็จะถูกส่งออกผ่านทาง IPv6 stack การทำ dual stack เป็นทางออกที่ง่ายที่สุดแต่ไม่ใช่ long term solution เนื่องจากยังจำเป็นต้องใช้IPv4address ที่โฮสต์หรือเร้าท์เตอร์ที่ใช้dualstack นั้น
2. การทำ tunneling เป็นอีกวิธีที่ใช้กันแพร่หลายเพราะเหมาะสมกับการสื่อสารระหว่างเครือข่าย IPv6 ผ่านเครือข่าย IPv4 การส่งข้อมูลทำได้โดยการ encapsulate IPv6 packet ภายใน IPv4 packet ที่ tunneling gateway ก่อนออกไปยังเครือข่าย IPv4 ที่ปลายทาง ก่อนเข้าไปสู่เครือข่าย IPv6 ก็จะต้องผ่าน tunneling gateway อีกตัวซึ่งทำหน้าที่ decapsulate IPv6 packet และส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทาง จะเห็นได้ว่าการทำ tunneling นี้จะใช้ไม่ได้สำหรับการสื่อสารโดยตรงระหว่างเครื่องในเครือข่ายIPv6 และเครื่องในเครือข่ายIPv4
3. การทำ translation การทำ translation จะช่วยในการสื่อสารระหว่างเครือข่าย IPv6 และ IPv4 เทคนิคการทำ translation มีสองแบบ แบบแรกคือการแปลที่ end host โดยเพิ่ม translator function เข้าไปใน protocol stack โดยอาจอยู่ที่ network layer,TCP layer, หรือ socket layer ก็ได้ แบบที่สองคือการแปลที่ network device โดยจะต้องใช้ gateway ทำหน้าที่เป็น IPv6-IPv4 และ IPv4-IPv6 translator อยู่ที่ทางออกที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย IPv6 และ IPv4

3076 รูปที่1-3 แสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ IPv6-over-IPv4 Tunnel

( http://www.vcharkarn.com )

3078

รูปที่1-4 แสดงการปรับเปลี่ยนระบบจาก IPv4 ไปสู่ IPv6 ( http://www.vcharkarn.com )

2.1 ตำแหน่งที่ยังคงมีอยู่ภายใน IPv6 เมื่อเทียบกับ IPv4

  • Version ยังคงต้องมีเหมือนเดิม เพื่อใช้บอกว่า packet นี้เป็น IP version ใด ซึ่งกรณีของ IPv6 ค่าของ version ก็จะเป็น 6
  • Header length ถูกตัดออกไป เพราะขนาดของมันจะเป็น 40 Bytes เสมอ การกำหนดให้เป็น fixed length header ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของการประมวลผล packet ดีขึ้น
  • Total Length แทนที่ด้วย Payload length เพื่อระบุขนาดของ payload ในหน่วย octet (byte) ดังนั้นขนาดของ payload สูงสุดจะเป็น 65535 Bytes
  • Identification, Flag, Segmentation, Protocol, Options, และ Padding ถูกย้ายไปอยู่ในส่วนของ extended header เพราะถือว่าเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นต้อง process ในทุก router
  • Hop Limit ถูกใช้แทน Time-To-Live ของ IPv4 ... ตาม IPv4 specification TTL จะเก็บเป็นเวลาจริงๆ หน่วยเป็นวินาที โดยระบุว่าแต่ละ router ต้องลด TTL ลงอย่างน้อย 1 วินาที แม้ว่าจะใช้เวลาประมวลผล packet น้อยกว่านั้นก็ตาม
  • Next Header ซึ่งใช้เป็นตัวบอกว่า extended header ตัวถัดไปเป็น header ประเภทไหน

2.2 ตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นมาของ IPv6 เมื่อเทียบกับ IPv4

  • Type of Service ของ IPv4 ถูกแทนที่ด้วย Traffic Class ซึ่งใช้ระบุว่า packet นี้อยู่ใน class ไหนและมีระดับความสำคัญเท่าไหร่ เพื่อที่ router จะได้จัด QoS DiffServ ในการส่ง packet ให้เหมาะสม
  • Flow label ใช้ระบุ end-to-end traffic flow ระหว่างต้นทางกับปลายทาง ใน application หนึ่งๆสามารถสร้าง flow ได้หลายๆ อัน อย่างเช่น video conference เราสามารถแยก flow ของภาพและเสียงออกจากกันได้ แม้ว่าจะเปิด socket ในการทำงานเพียง socket เดียว

2.3 ตำแหน่งที่ถูกตัดออกภายใน IPv6

  • Header Checksum ถูกตัดออกเพราะว่ามันซ้ำซ้อนกับ function ของ protocol บน layer ที่อยู่สูงกว่า IP อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผล packet ด้วย เพราะ checksum ต้องคำนวณใหม่ที่ router เสมอ หากตัดออกก็จะลดภาระงานที่ router ได้

2.4 ข้อดี-ข้อเสีย

ข้อดี

  • มีหมายเลข IP Address มากกว่าเดิมมาก ทำให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้
  • เครือข่ายมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเป็นการใช้งาน IP จริงทั้งหมด ต่างจากแต่ก่อนที่ไม่สามารถใช้งานได้ทุกเบอร์
  • มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี
  • เครือข่ายมีการทำงานแบบ Real Time Processing จึงทำงานได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ลดภาระในการทำงานของผู้ดูแลระบบด้านการบริหารจัดการ เนื่องจากมีการปรับแต่งระบบอัตโนมัติ
  • มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ ( Mobile IP )

ข้อเสีย

  • การใช้ IPv6 แทน IPv4 เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและถูกวิธี
  • ประเทศไทยยังมีการติดตั้งเครือข่าย IPv6 ไม่มากนัก จะเกิดขึ้นกับคนบางกลุ่มหรือกับผู้ให้บริการรายใหญ่ๆเท่านั้น
  • ในประเทศไทยประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงไม่ตื่นตัวหรือสนใจที่จะใช้ IPv6 ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต

2.5การเปรียบเทียบ IPv6 กับIPv4
Ipv6
- มีขนาด128bit
- มี packet header ที่เรียบง่ายกว่า มีขนาดคงที่ 40 byte, อนุญาติให้มี option ได้ แยกให้เป็นอิสระจากheader และ
ไม่จำเป็นต้องใช้fieldIHL เพื่อบอกขนาดของheader
- ยกเลิก field checksum ช่วยให้ ip มีสมรรถนะดียิ่งขึ้น เนื่องจากลดขั้นตอนการคำนวณค่า checksum ในแต่ละpackage
- ไม่อนุญาติให้มีการ fragment package ที่ router ระหว่างทาง IPv6 ยอมเฉพาะต้นทางเท่านั้น
- ปรับรูปแบบ field บอกขนาด packet ได้, IPv6 ใช้งาน field Payload Lenth ที่บอกเฉพาะขนาดของข้อมูลเท่านั้นทั้งนี้
เนื่องจากheader มีขนาดคงที่อยู่40byte
- ยกเลิก field TOS: ซึ่งใช้กลับมาประกอบการใช้บริการว่า ควรส่ง package ไปในเส้นทางใดที่เร็วกว่าซึ่งในทางปฏิบัติไม่ค่อย
ได้ใช้field นี้
- เพิ่มfield2fields คือ
1.TrafficClass ทีสนับสนุนการทำงานแบบrealtimeservice
2.FlowControl ใช้กำหนดวิธีการดำเนินการเฉพาะให้กับลักาณะงานที่ต้องการ
IPv4
- มีขนาด32bit
- มีfieldoption ทำให้มีขนาดไม่แน่นอน
- มีfieldchecksum
- มีบริการFragmentPacket ทำให้เกิดช่องทางในการโจมตีเครือข่ายได้
- ใน IPv4 ใช้งาน field Total Lenth บอกขนาดรวมของ header และ ข้อมูลใน packet

3. IPv6 Addresses

IPv6 Address ถูกจัดสรรอย่างเป็นระบบมากขึ้นเพื่อลดปัญหาเรื่องของ Routing อย่างที่เคยเกิดกับ IPv4 นอกจากนี้ก็ยังแบ่ง Address ออกเป็นหลายประเภท เพื่อใช้ในลักษณะงานที่ต่างๆ กัน โดยหลักๆ แล้ว IPv6 address ถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ คือ Unicast, Multicast, และ Anycast

1. Unicast address ใช้ในการ routing ตามปกติเหมือนใน IPv4 เป็น routing แบบ end-to-end จากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง

2. Multicast address ใช้ในการ routing แบบ multicasting (ถูกใช้ในกลุ่มของ Application ที่เป็น Multicast ด้วยกัน เช่น ใน Routing Protocol พวก RIPv2, OSPF) ใน Multicasting เครื่องแต่ละเครื่องจะถูกกำหนดให้อยู่ใน Group (1 Machine อาจจะอยู่ได้มากกว่า 1 Group) แต่ละ Group จะมี Multicast Address เป็นตัวกำหนด เครื่องที่มี Multicast Address เดียวกันก็จะหมายความว่าอยู่ใน Group เดียวกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่เราส่งข้อมูลไปยัง Multicast Address เครื่องทุกเครื่องใน Group นั้นก็จะได้รับข้อมูลของเรา การทำ Multicasting ทำให้ลดความซ้ำซ้อนในการส่งข้อมูลไปหาเครื่องหลายๆ เครื่อง

3. Anycast Address จะคล้ายกับ Multicasting คือมีแบ่งเป็นกลุ่มที่เรียกว่า SET แต่ละ SET จะกำหนดโดยใช้ Anycast Address ที่ต่างก็คือเมื่อเราส่งข้อมูลไปยัง Anycast Address เครื่องใดเครื่องนึงใน SET นั้นจะเป็นได้รับข้อมูลของเรา ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นเครื่องที่อยู่ใกล้เราที่สุด

3.1 IPv6 Address Format

ใน IPv6 นั้นจะใช้เลขฐาน 16 (Hexadecimal) ในการกำหนดหมายเลข IP Address ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ 0-9 และ A-F โดยแบ่งเป็นส่วนๆ ละ 16-bit ( เท่ากับเลขฐาน 16 จำนวน 4 หลัก) address หนึ่งจึงมีทั้งหมด 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มคั่นด้วยเครื่องหมาย Colon เช่น

FEDC:BA 98:7654:3210: FEDC:BA 98:7654:3210

IPv6 อนุญาตให้เขียน Address ย่อได้ตาม Format ดังต่อไปนี้

1. เลข 0 ที่นำหน้าตัวเลขในแต่ละกลุ่มถือว่าไม่มีนัยสำคัญก็สามารถตัดออกได้ เช่น

1080:0000:0000:0000:0008:0800:200 C: 417 A

จะสามารถเขียนได้เป็น

1080:0:0:0:8:800:200 C: 417 A

2. Address ที่มี 0 ติดกันเยอะๆ จะเขียนย่อเป็น "::" ได้ เช่น

FF 01:0:0:0:0:0:0:101

จะสามารถเขียนได้เป็น

FF 01::101

3.2 IPv6 Address Types

IPv6 นั้นจะมี รูปแบบของ IP Address อยู่ทั้งหมด 6 ประเภทหลักๆ ได้ดังต่อไปนี้

- Global Unicast Address

- Site-Local Unicast Address

- Link-Local Unicast Address

- IPv4 mapped IPv6 Address

- IPv4 compatible IPv6 Address

- Unspecified Address

Global Unicast Address

- จะคล้ายคลึงกันกับการแบ่ง IP ออกเป็น Class A-C ของ IPv4 ซึ่งจะถูกใช้เป็น Public IP และ มีจำนวนมากที่สุด ก็คือ 1/8 ของ หมายเลข IPv6 ทั้งหมด เราสามารถดูรูปแบบของ Global Unicast Address ได้ดังนี้

รูปที่1-5 แสดง Global Unicast Address Format ( http://www.vcharkarn.com )

Site-Local Unicast Address

- จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับ Private IP Address ของ IPv4 โดยที่ Router จะไม่ทำการ Forward IP Address นี้ไปยัง Internet โดยจะมี Prefix เป็น FEC0::/10

รูปที่1-6แสดง Site-Local Unicast Address Format ( http://www.vcharkarn.com )

Link-Local Unicast Address

- จะถูกใช้ในกรณี Stateless Auto-configuration Process และการค้นหา+รักษาสถานการณ์เชื่อมต่อของเพื่อนบ้าน (Neighbor Discovery Protocol) ต่างๆ โดยที่มี Prefix เป็น FE80::/10

รูปที่ 1-7แสดง Link-Local Unicast Address Format ( http://www.vcharkarn.com )

IPv4 Mapped IPv6 Address

- เป็นการ Encapsulated IP Address ของ IPv4 เข้าไปใน IPv6 ในตำแหน่ง bit ที่ 81-96 โดยที่รูปแบบของ Format คือ ::FFFF:A.B.C.D

IPv4-Compatible IPv6 Address

- เป็นการ Tunnel IPv6 Address ไปอยู่ใน IP Address ของ IPv4 โดยที่นำ IPv4 Address ไปใส่ในตำแหน่ง 4 Octets สุดท้าย ดัง Format ดังต่อไปนี้ ซึ่ง จะถูกใช้มากใน Dual Stack (เราเตอร์ที่ รันทั้ง IPv4 และ IPv6) ภายใน Network

0 :0:0:0:0:0:A.B.C.D หรือ ::A.B.C.D

Unspecified Address

- ถูกใช้เมื่อ Host นั้นๆ ไม่ได้มี IP Address อยู่ (เหมือนในกรณีของ IPv4 ) หรือ อาจเกิดจากเมื่อได้รับ IP ที่ซ้ำกัน หรือเกิดการผิดพลาดเกิดขึ้น ซึ่ง Format ของ Unspecified Address นี้คือ 0::0/128 หรือ ::/128

4 .บทสรุปของ IPv6

การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ IPv4 ที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบันมีแนวโน้มว่ากำลังจะถูกใช้หมดไปในเวลาอัน ใกล้นี้ ดังนั้น IPv6 จึงเป็นทางออกทางเดียว โดยได้มีการพัฒนาปรับปรุงตัว Protocol เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพคุณสมบัติต่างๆ ที่เหนือกว่า IPv4 อีกด้วย

ด้วยความไม่พอเพียงของ IPv4 ที่กำลังจะหมดไป และคุณสมบัติที่เหนือกว่าอย่างมากของ IPv6 ไม่ช้าก็เร็วทุกภาคทุกหน่วยงานจำเป็นต้องนำ IPv6 มาใช้อย่างเลี่ยงไม่ได้ และต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบโครงข่ายให้รองรับกับการใช้งาน IPv6 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของผู้บริโภคในการใข้งานอิน เทอร์เน็ตและการใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ ดังนั้นผู้ให้บริการเหล่านี้ควรมีการศึกษาวางแผนเตรียมพร้อมล่วงหน้า เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในการนำ IPv 6 มาใช้ในอนาคต โดยผู้ให้บริการควรสำรวจอุปกรณ์เครือข่ายที่สามารถรองรับกับ IPv6 และวางแผนเตรียมพร้อมในการปรับปรุงโครงข่ายของตน ในส่วนของผู้พัฒนา product และแอปพลิเคชันก็สามารถที่จะสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ โดยศึกษาความต้องการของตลาด เพื่อคินค้นออกแบบพัฒนา product หรือแอปพลิเคชันที่รองรับกับ IPv 6 ซึ่งเหล่านี้ควรมีการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า เพราะเมื่อถึงเวลาที่ IPv 4 หมดลงจริงๆ ผู้ที่พร้อมมากกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบ นอกจากนี้ความเร็วในการเข้ามาและการเตรียมความพร้อมที่ดีจะเป็นการเพิ่ม โอกาสทางการแข่งขันทางธุรกิจอีกด้วย

ได้รู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ๆในด้านต่างๆเพื่อนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการศึกษาในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

โดยเนื้อหาภายในเล่มนี้ได้จากการรวบรวมเนื้อหามาจากหนังสือคู่มือและแหล่ง ข้อมูลในอินเตอร์เน็ต และได้นำมาเรียบเรียงขึ้นเป็นรายงานฉบับนี้ หากมีเนื้อหาส่วนใด ขาดตกบกพร่องหรือผิดพลาดประการใด ทางคณะผู้จัดทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น