3/11/2553

Firewire

Firewire

1. ประวัติความเป็นมา

1.1 ประวัติความเป็นมาของเทคโนโลยี Firewire
บริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ดำเนินการพัฒนา FireWire มาตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1990 โดยมีจุดหมายเพื่อทดแทนการเชื่อมต่อแบบ SCSI การพัฒนาเสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1995 และได้กลายเป็นมาตรฐานของ IEEE ในชื่อ IEEE 1394 บริษัทโซนี่ได้นำไปปรับปรุงให้เป็นการเชื่อมต่อของตนเองในชื่อ i.Link โดยได้ตัดพินที่ทำหน้าที่จ่ายพลังงานออกไป 2 พิน เหลือเพียงพินที่ใช้ส่งข้อมูล 4 พินเท่านั้น FireWire นิยมใช้ในอุปกรณ์บันทึกข้อมูลและกล้องวิดีโอดิจิทัล เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ต้องการอัตราการส่งข้อมูลสูง FireWire ยังได้รับความนิยมในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเร็วสูงกว่า USB 1.0 ในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม การที่แอปเปิลและเจ้าของสิทธิบัตรใน FireWire เรียกร้องค่าใช้งานจากผู้ใช้ (0.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อเครื่อง) ทำให้ FireWire ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ USB ได้ในตลาดล่างไฟร์ไวร์ หรือ FireWire (อาจรู้จักในชื่อ i.Link และ IEEE 1394) เป็นข้อกำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่อบัสการสื่อสารแบบอนุกรมของคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคล การที่ FireWire มีอัตราการส่งข้อมูลสูง ทำให้เข้ามาทดแทนการเชื่อมต่อแบบ SCSI ในอุปกรณ์หลายชนิดอุปกรณ์ที่นิยมใช้ FireWire มากที่สุดคือ กล้องวิดีโอดิจิทัล ซึ่งมีช่องเสียบ FireWire มาตั้งแต่ ค.ศ. 1995 เครื่องคอมพิวเตอร์บางยี่ห้อ เช่น แอปเปิล คอมพิวเตอร์ หรือ โซนี่ ได้รวม FireWire เป็นอุปกรณ์มาตรฐานเช่นกัน แต่ในปัจจุบัน FireWire กำลังถูกแทนที่ด้วยมาตรฐาน USB 2.0

รูปที่ 1-1 แสดงตัวอย่างของ Firewire แบบ 6 พิน
(http://th.wikipedia.org)

1.2 เทคโนโลยี FireWire
FireWire รุ่นแรกเรียกว่า FireWire 400 สามารถส่งข้อมูลได้ 100, 200, 400 Mbit/s (ในความเป็นจริงจะส่งได้ 98.304, 196.608, 393.216 Mbit/s ตามลำดับ) สามารถต่อพ่วงอุปกรณ์ได้สูงสุด 63 ชิ้น (โดยใช้ฮับเข้าช่วย) สามารถเชื่อมต่อแบบ peer-to-peer เช่น เชื่อมระหว่างเครื่องพิมพ์และสแกนเนอร์ โดยไม่ต้องผ่านคอมพิวเตอร์ FireWire ยังสามารถจ่ายพลังงานได้ 45 วัตต์ต่อพอร์ทอีกด้วย
1.3 คุณสมบัติของ firewire
ในปัจจุบัน IEEE 1394 (Fire Wire) หรือ i-link กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นมาตรฐานที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทบันเทิง สื่อสารข้อมูล และคอมพิวเตอร์ เข้าด้วยกันโดยมีแนวทางหลักๆดังนี้
•ความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลที่100,200,400และ800Mbps
•Analog / Digital Converter จะทำเฉพาะที่อุปกรณ์เครื่องใช้ต้นทางเท่านั้น หลักจากนั้นจะเป็น Digitalทั้งหมด
•สายสัญญาณขนาดเล็กที่เชื่อมต่อสามารถขยายความยาวออกไปได้ด้วยสายเชื่อมต่อพิเศษที่มีคุณภาพสูงกว่าและราคาแพง
• ไม่ต้องใช้จุดเปิด หรือ Terminator ไม่ต้องกำหนด device ID และไม่ต้องกำหนดหมายเลขใดๆ ที่ตัวอุปกรณ์
•Hot-pluggableคือเราสามารถต่อเชื่อมหรือถอดอุปกรณ์ออกในขณะที่กำลังใช้งานอยู่ได้ (การเสียบ/ถอดโดยไม่ต้องปิดเครื่อง)
•ออกแบบมาให้ใช้สำหรับสินค้าประเภทคอนซูเมอร์จึงมีราคาถูก
•เป็นระบบที่ทำให้อุปกรณ์ความเร็วต่างกันสามารถใช้งานร่วมกันได้100 , 200 , 400 และ 800 Mbps
•รูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นทั้ง daisy chain การต่อแยกแบบ Tree และการต่อตรงแบบ Peer – to – Peer
•มีขบวนการในการควบคุมเวลา สำหรับการส่งผ่านข้อมูลที่มีคุณภาพ โดยมีจุดพักข้อมูลที่น้อยที่สุด
•เป็นระบบเปิดไม่ผูกขาดสำหรับสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
•ขบวนการบริหาร“Bus”มีระบบป้องกันที่ดีมากรวมทั้งการจัดสรรแหล่งพลังงานของ ทุกตัวอุปกรณ์ที่อยู่บน “Bus” เดียวกัน อุปกรณ์ต้องสามารถสัมผัสการต่อเชื่อมได้อย่างรวดเร็ว

1.4 คุณสมบัติเด่นๆของ Fire wire

- Versatility (แปลว่าใช้ประโยชน์ได้หลากหลายขึ้น - มีความคล่องตัว ยืดหยุ่นต่อการนำไปใช้งาน) เพราะใน 1 วงการต่อเชื่อมของ Fire wire สามารถต่อเชื่อมอุปกรณ์ได้ 63 ตัว โดยที่อุปกรณ์ดังกล่าวจะเป็นอุปกรณ์ใดๆก็ได้ที่มีอินเทอร์เฟซและมาตรฐาน Firewire
- High Speed ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูง การออกแบบ IEEE 1394 ในยุคแรกนั้น ประกันความเร็วไว้ที่ 100 เมกะบิต/วินาที ในขณะที่มาตรฐานนั้นประกันว่าจะได้ความเร็วสูงถึง 400 เมกะบิต/วินาที และสำหรับอุปกรณ์ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำๆ FireWire ยังยอมให้มีการส่งแบบ Isochronousคือส่งข้อมูลแบบมัลติแชนนอลได้สองช่องทาง
-เมื่อเป็น High Speed Serial BUS จึงถูกวางตำแหน่งให้เหมาะสมสำหรับ Application ประเภท "มัลติมีเดีย" ที่ต้องการการส่งข้อมูลแบบ "Data Streaming" เช่น กล้องวิดีโอ ระบบการตัดต่อวิดีโอพรินเตอร์สแกนเนอร์อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
-สนับสนุน "Plug and Play" เพื่อความสะดวกในการติดตั้ง นอกจากนี้ยังมีกระบวนการในการตรวจสอบว่าอุปกรณ์นั้นพร้อมใช้งานด้วย
-ต่อได้กับDVCamcorder,Scanner,Harddisk
- ติดตั้งง่าย ไม่ต้องมี Jumper ให้ยุ่งยาก
2. สิ่งที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงจาก FireWire
FireWire 800 หรือ IEEE 1394b นั้นได้รับการรับรองมาตรฐานตั้งแต่ปี2002ซึ่งสิ่งที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุง จากFireWireรุ่นเดิมมีดังนี้
2.1ความเร็วการส่งผ่านข้อมูลที่สูงขึ้น
FireWire 800 มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 800Mbps ซึ่งนับว่าเร็วเป็น 2 เท่าของรุ่นเดิมเลยทีเดียว และจากการที่ใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสแบบเดียวกับที่ใช้ใน Gigabit Ethernet ทำให้ในทางทฤษฎีแล้ว IEEE 1394 สามารถมีความเร็วได้สูงถึง 3,200Mbps ซึ่งด้วยความเร็วขนาดนี้จะทำให้สามารถนำไปใช้ในงานตัดต่อวิดีโอขั้นสูงอย่าง High-definition (HD) Video ได้สบายๆ

รูปที่1-2 แสดงตัวอย่างของ Firewire 800 (http://www.arip.co.th/)

รูปที่1-1 แสดงกราฟการเปรียบเทียบความเร็วของ USB และ Firewire (http://www.arip.co.th/)

2.2รองรับความยาวสายได้มากขึ้น
นอกจากพัฒนาการในเรื่องความเร็วแล้ว FireWire 800 ยังใช้งานร่วมกับสายเชื่อมต่อได้หลายชนิด โดยในกรณีที่ใช้สายไฟเบอร์ออปติกจะทำให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่อยู่ ห่างได้ถึง 100 เมตร โดยไม่จำเป็นต้องใช้ฮับ (ความยาวจะขึ้นกับชนิดของสาย) ส่วนกรณีของ FireWire รุ่นเก่านั้น ถ้าใช้ฮับ FireWire 800 มาช่วยก็จะสามารถเพิ่มความยาวของสายได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน

รูปที่ 1-1 ตารางแสดงความยาวของสายแบบต่างๆ(http://www.arip.co.th/

เห็นได้ว่าความยาวของสายจะขึ้นอยู่กับชนิด ของสาย โดยสาย Fiber Optic จะสามารถ เชื่อมอุปกรณ์ได้ไกลถึง 100 เมตร

2.3 ความเข้ากันได้กับ FireWire รุ่นเดิม (IEEE 1394)


รูปที่1-3แสดงลักษณะของหัว Connector ที่สามารถทำให้ FireWire 800 และ FireWire รุ่นเดิมทำงานด้วยกันได้ (http://www.vcharkarn.com )

FireWire 800 นั้นมีการทำงานอยู่ 2 โหมด คือโหมด beta ที่มีการเข้ารหัสความเร็วสูง เป็นโหมดที่จะเปิดขึ้น เมื่อทั้งอุปกรณ์และเครื่องพีซีสนับสนุนการใช้งาน FireWire 800 ส่วนอีกโหมดก็คือ โหมด Legacy ที่จะมีความเข้ากันได้กับมาตรฐาน FireWire รุ่นเก่า (ทั้ง IEEE 1394-1995 และ IEEE 1394a) สรุปก็คือ ไม่ว่าอุปกรณ์หรือพีซีจะใช้มาตรฐาน IEEE รุ่นใดก็จะสามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างแน่นอนแต่เนื่องจากหัว connector ของ FireWire (IEEE 1394) จะ เป็นแบบ 6 พิน และ 4 พิน ในขณะที่ FireWire 800 จะเป็น 9 พิน ทำให้จะต้องมีสาย adapter ด้วย

รูปที่1-4 แสดงลักษณะของหัว Connector ของ FireWire และ FireWire 800 (http://www.arip.co.th/)

2.4 การส่งข้อมูลแบบ Real-time
FireWire มีความแตกต่างจากเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ ตรงที่สามารถส่งผ่านข้อมูลในลักษณะของ Real-time ซึ่งมีความจำเป็นมากในงานตัดต่อวิดีโอหรือเพลง ซึ่งลักษณะของการส่งผ่านข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ Isochronous และ Asynchronous โดยแบบแรกจะเหมาะกับงานที่ต้องการความถูกต้องของลำดับข้อมูล (เช่นการตัดต่อวิดีโอ) ในขณะที่แบบที่สองนั้นจะเหมาะกับงานที่ต้องการความครบถ้วนของข้อมูลโดยไม่ สนใจเรื่องลำดับของข้อมูลมากนักซึ่งนับว่ายากเพราะในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการ เชื่อมต่อน้อยมากที่จะรองรับการส่งผ่านข้อมูลทั้งIsochronous และAsynchro-nous
2.5 on-Bus power
เช่นเดียวกับ FireWire รุ่นก่อน ที่อุปกรณ์ FireWire 800 นั้นไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้แหล่งจ่ายไฟจากภายนอกมาช่วยเลย ซึ่งในอีกแง่หนึ่งก็คือ เราจะสามารถชาร์จไฟอุปกรณ์ในขณะที่ทำการเชื่อมต่อได้เลย แต่ในกรณีนี้จะใช้ไม่ได้กับหัว Connector และสายแบบ 4 พิน เพราะว่าหัวต่อและสายประเภทนี้จะไม่มีการจ่ายไฟออกมาจากพอร์ตแต่อย่างใด
2.6 พัฒนาการที่เหนือกว่า USB 2.0
การเชื่อมต่อแบบ USB 2.0 จะได้รับความนิยมมากในอุปกรณ์ภายนอกหลายชนิด แต่ยังคงด้อยกว่าในหลายๆ ด้าน ทั้งในเรื่องของความเร็ว, ความยาวของสายที่รองรับและกำลังไฟที่จ่ายผ่านพอร์ต ทำให้เมื่อเทียบกันแล้ว FireWire จะรองรับงานที่ต้องใช้การส่งผ่านข้อมูลหนักๆ อย่างงานวิดีโอ,มัลติมีเดีย,งานกราฟิกหรืองานในสตูดิโอได้ดีกว่า นอกจากนั้น (เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ FireWire มีความเร็วในการใช้งานจริงสูงกว่า USB 2.0 ในขณะที่มีอัตราการส่งผ่านข้อมูลพอๆ กัน)

3 .การทดสอบความเร็วในการใช้งานจริงของ FireWire 800
ในส่วนความเร็วของการเชื่อมต่อ FireWire 800 ในบทความนี้การทดสอบจะมีอยู่ 2 ส่วน (อ้างอิงจาก www.tomshardware .com)คือการทดสอบความเร็วในการเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ชนิดติดตั้งภายนอกและ การทดสอบความเร็วการถ่ายข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ก โดยอุปกรณ์ FireWire 800 ที่ใช้ในครั้งนี้จะมี 2 ตัว คือ Century Global 1394b V1 และ WiebeTech Fire800
3.1 Century Global 1394b V1


รูปที่1-8 ภาพแสดง Century Global 1394b V1(http://www.arip.co.th/)

สำหรับ Century Global 1394b V1 ที่ตัวการ์ดจะเห็นได้ว่าที่เสียบกับสล็อตจะใช้ไม่ได้กับสล็อต PCI อย่างแน่นอน ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะว่าในทางปฏิบัติแล้วบัส PCI ที่เราใช้กันอยู่จะไม่สามารถรองรับความเร็วขนาด 800Mbps หรือคิดเป็นประมาณ 100 เมกะไบต์/วินาที ได้อย่างแน่นอน (ในทางทฤษฎีแล้วความเร็วของบัส PCI อยู่ที่ 133 เมกะไบต์/วินาที แต่เนื่องจากอุปกรณ์ทุกอย่างในบัสจะต้องแชร์ช่องทางส่งข้อมูลทำให้ความเร็ว ที่เหลือจริงๆ ต่ำกว่านั้นมาก) ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาคอขวดทาง Century Global จึงหันไปใช้สล็อต PCI 64 บิต แทนแต่ว่าสล็อตนี้ก็จะพบได้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น สำหรับตัวการ์ดจะใช้ชิปของ TSB82AA2 จาก Texas Instruments และมีพอร์ตมาให้ 3 พอร์ต

รูปที่1-9 ภาพแสดงการ์ด ที่ต้องใช้งานร่วมกับสล็อต PCI 64 (http://www.arip.co.th/ )


รูปที่1-10 ภาพแสดง พอร์ต 3 พอร์ต บนตัวการ์ด(http://www.arip.co.th/ )
3.2 WiebeTech Fire800
อีกอุปกรณ์ก็คือ WiebeTech Fire800 นั้นจะเป็น External case สำหรับไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งสามารถรองรับโหมด UltraATA และยังมีพอร์ตให้เลือกหลากหลายตั้งแต่ USB 2.0, FireWire (IEEE 1394) และ FireWire 800 (IEEE1394b)

รูปที่1-11 ภาพแสดงตัวเคสของ WiebeTech Fire800 (http://www.arip.co.th/ )


รูปที่1-12 ภาพแสดงพอร์ตเชื่อมต่อทางด้านหลัง(http://www.arip.co.th/ )

3.3 ระบบที่ใช้ในการทดสอบ


รูปที่1-2 ตารางแสดงระบบที่1 ใช้ในการทดสอบกับฮาร์ดดิสFireWire800(http://www.arip.co.th )


รูปที่1-3ภาพตารางแสดงระบบที่2 ใช้ในการทดสอบเน็ตเวิร์กคู่กับระบบแรก(http://www.arip.co.th )
3.4 ผลการทดสอบความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์

รูปที่1-2 กราฟแสดงผลการทดสอบความเร็วของอัตราการส่งผ่านข้อมูลของการอ่านฮาร์ดดิสก์ (http://www.arip.co.th )

รูปที่1-3 แผนภูมิแสดงผลการทดสอบความเร็วของอัตราการส่งผ่านข้อมูลของการเขียนฮาร์ดดิสก์ (http://www.arip.co.th )

4 . รูปแบบการส่งข้อมูลของ 1394
1394 ใช้การแบ่งส่วนสลับเวลา(time division multiplexing) มาแบ่งเวลาเป็นช่วงๆช่วงละ 125 micro –sec แล้วจะแบ่ง bandwidth ออกเป็นสองส่วนสำหรับการส่งแบบ asynchronous และ isochronous โดยเฉลี่ยกันในอัตรา 20-80% การติดต่อแบบ asynchronous จะถูกจัดกลุ่มรวมกันและรับประกันส่วนแบ่งอย่างต่ำ 20% และสูงที่สุดเท่ากับความเร็วของบัสคือ 400 MBps (1394b อยู่ที่ 3.2Gbps
4.1 Communication model
1394 ได้กำหนดรูปแบบการสื่อสาร (communication model) เป็นของตนเองตามรูปด้านล่าง แบบจำลองแสดงให้เห็นว่าชนิดข้อมูลของการเชื่อมต่อทั้งแบบ asynchronous และ isochronous ต่างต้องการการแทรกแซงจากระดับการจัดการบัสแต่มีกลไกสำหรับการส่งและหน้าที่ แตกต่างกัน

รูปที่1-13 แบบจำลองการสื่อสาร IEEE 1394 (http://www.manusmedia.com/postdetail.php?contentsid=251)



รูปที่1-4 ตารางแสดงหน้าที่ของ Layer(http://www.manusmedia.com/postdetail.php?contentsid=251 )
จากแบบจำลองจะเห็นว่าการส่งแบบ isochronous จะมีการทำงานที่ง่ายกว่าแบบ asynchronous และระบบ addressing ของ isochronous ก็ง่ายกว่าในการทำงานครั้งแรก อุปกรณ์ต้องส่งคำร้องขอการควบคุมในระดับ physical ก่อน
ถ้าเป็นการขอแบบ asynchronous ที่อยู่ของทั้งทางผู้รับและผู้ส่งจะถูกส่งไปกับ packet ด้วยพร้อมกับข้อมูลที่ตามมา เมื่อผู้รับได้รับแล้วก็จะแจ้งต่อผู้ส่งว่าได้รับแล้วแต่ถ้าหากผิดพลาด การแก้ไขความผิดพลาดก็จะเกิดขึ้น
เมื่อการส่งแบบ isochronous ถูกเรียกใช้ผู้ส่งจะต้องขอหมายเลขกับช่อง bandwidth ที่ต้องการดังนั้นผู้ส่งจะส่งช่อง ID ตามติดด้วยข้อมูลผู้รับก็จะตรวจสอบและรับเฉพาะ ข้อมูลที่ตรงกับชื่อของตัวเอง

รูปที่1-14 ภาพแสดงการส่งข้อมูล(http://www.manusmedia.com/postdetail.php?contentsid=251)
การส่งข้อมูลแบบ isochronous ถูกจัดไว้อยู่หน้าของข้อมูลแบบ asynchronous ดังแสดงในรูปด้นบน
เมื่อข้อมูลแบบisochronousกำลังถูกส่งภายในช่องที่มันได้รับอนุญาตมันก็จะสามารถใช้งานจนกระทั่งเสร็จสิ้น
ข้อมูลasynchronousที่ต้องการส่งในขณะเดียวกันก็จะใช้สลอทที่ว่างอยู่แทน เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ถูกส่งไปได้อย่างต่อเนื่องตามต้องการ

5.การนำFireWireไปใช้งาน

OS ที่สนับสนุนการต่อเชื่อม FireWire ในตระกูลพีซีคือ วินโดวส์ XP ผู้ที่ต้องการจะใช้ FireWire บน PC ก็ต้องตรวจสอบด้วยว่ามีOSที่สนับสนุน IT และผู้ผลิตไมโครคอนโทรลเลอร์หลายราย พัฒนาคอนโทรลเลอร์ ซึ่งจะเป็นชิปที่ใส่เพิ่มลงไปบนเมนบอร์ด แต่หากคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ มี OS วินโดวส์ XP ที่สนับสนุนการต่อเชื่อม Fire wire แต่ยังไม่มีพอร์ตต่อเชื่อม ก็สามารถหาซื้อการ์ด Fire wire Controller ซึ่งเป็นการ์ดที่มี อินเทอร์เฟซแบบPCIมาติดตั้งเพิ่มเติมได้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เข้ากับมาตรฐานIEEE1394ที่จะสามารถหาได้ในอนาคต
•กล้องวิดีโอ,camcorder,VCR,กล้องดิจิตอล
•พรินเตอร์สแกนเนอร์โมเด็ม
• ฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์เก็บ / สำรองข้อมูล

รูปที่1-4 ตารางแสดงการเปรียบเทียบความเร็วของการรับส่งข้อมูลของ port แบบต่างๆ (http://www.vcharkarn.com )

5.1สรุปการขยายขีดความสามารถของ IEEE 1394 (Fire Wire) ในอนาคต
-ข้อจำกัดของFireWire
Fire Wire ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะ และโพรโตคอล IPv4 ที่ใช้กับ IEEE 1394 นั้นไม่ได้รับการปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพด้านความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล มากนัก และสุดท้ายก็คือ ข้อจำกัดของตัวระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอง ซึ่งหากนำไปใช้กับระบบปฏิบัติอื่นๆ อย่าง Linux หรือ Unix ก็จะได้ความเร็วมากกว่านี้ แต่ข้อจำกัดที่สุดของ Fire Wire Network ก็คือ ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอยู่ในระดับต่ำมาก ทำให้เน็ตเวิร์กที่สร้างจาก Fire Wire จะเหมาะกับการใช้งานในบ้านเท่านั้นเพราะไม่ต้องสนใจเรื่องการรักษาความ ปลอดภัยกันมากมายนักทำให้ภาพรวมของการใช้งาน Fire Wire 800 เป็นระบบเน็ตเวิร์ก จะมีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ได้เท่านั้น

ขีดความสามารถของIEEE1394(FireWire)ในอนาคต
•การเชื่อมต่อกับระบบgigabit
•การเชื่อมต่อกับ100Mbit/s
• การขยายความยาวของสาย โดยใช้สายนำสัญญาณที่สามารถรองรับการทำงานได้ดีกว่าเดิม และการใช้FiberOptic
•การกำหนดA/Vcommandและprotocol
•ระบบเชื่อมต่อระหว่างกลุ่มของ1394ด้วยกันเอง
•การทำgatewayไปสู่ระบบสื่อสารข้อมูลอื่นๆเช่นATM,Ethernetเป็นต้น

ทิศทางของIEEE1394(FireWire)
ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลคอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ เสียง โทรศัพท์ โทรสาร และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกทั้งหลายกำลังจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่าย ขึ้น ซึ่งความสามารถในการเชื่อมต่อเข้าหากันโดยไม่ต้องปิดเครื่อง ทำให้ผู้ใช้ลดความกังวลในความยุ่งยากต่าง ๆ เช่น กลัวเครื่องเสียหรือกลัวไฟฟ้าซอต เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะหายไปและอุปกรณ์ที่ซับซ้อนเหล่านี้ก็จะอยู่ใกล้ชิดกับผู้คน มากขึ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น