5/03/2554

สารพันปัญหาเรื่องADSL ทำไมมันไม่อัพเดทไอพี

สารพันปัญหาเรื่องADSL  ไม่ได้ยากที่จะเข้าใจและแก้ไข
ทำไมมันไม่อัพเดทไอพี เมื่อใช้กับ
DYNDNS
NO-IP

การทำ DYNDNS 2แบบ
1.ทำในเร้าเตอร์----------ใส่ยูสเซอร์เนม+พาสเวิร์ด
2.ทำในคอมพิวเตอร์->ติดตั้งโปรแกรม  ใส่ยูสเซอร์เนม+พาสเวิร์ด
ปัญหาคือเมื่อไอพีเปลี่ยน ทำให้เราเรียก
no-ip ที่เราสร้างไว้ไม่ได้
dyndns ที่เราสร้างไว้ไม่ได้
ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนไอพี
แล้วอะไรทำให้ไอพีเปลี่ยน
1.ISP เป็นผู้เปลี่ยน มันจะเปลี่ยนเป็นเรื่องธรรมดาแล้วแต่ว่า  6ชั่วโมง  12ชั่วโมง 24ชั่วโมง ก็สุดแท้แต่หลักการของบริษัทนั้นๆ
2.ไฟฟ้าที่จ่ายเข้า ROUTERมีการดับ ตก จนทำให้เร้าเตอร์มีการเริ่มต้นใหม่ในการซิ้งค์สัญญาณADSLใหม่
และในการซิ้งค์อาจได้ไอพีใหม่
ในการได้ไอพีใหม่ครั้งนี้ เร้าเตอร์ หรือ คอมพ์ ใช้ระยะเวลาในการรายงานไอพีที่ได้ใหม่ไปยัง NO-ip หรือ DYNDNS กี่นาที กี่ชั่วโมง
ยิ่งใช้เวลามากเท่าไหร่ เราก็ต้องรอนานแค่นั้นที่เราจะเรียกโดยใช้ชื่อ
no-ip
dyndns

3.ปัญหาไอพีเปลี่ยนเพราะ อุปกรณ์ร่วมระบบADSLที่เราใช้ในสถานที่นั้นๆมีปัญหา(ปัญหาใหญ่ที่เราไม่มองและมองไม่สุด)
ในหัวข้อที่3นี้ถ้าทำความเข้าใจกับมันให้ดีก็จะแก้ปัญหาได้มากถึงมากที่สุด


คราวนี้มาดูกันว่ามันคืออะไรบ้าง
3.1 ปัญหาจากสายโทรศัพท์สีดำมาถึงกล่องกันฟ้า...อันนี้ยกไว้พูดบทท้ายๆ
3.2 ปัญหาตั้งแต่กล่องกันฟ้า...ไปถึงกล่องสปลิตเตอร์ที่แยกสัญญาณไป เร้าเตอร์ และ ไปโทรศัพท์(ย้ำโทรศัพท์)
**ขยายความ (ย้ำโทรศัพท์) ผู้ใช้บางรายเอาสัญญาณนี้ไปต่อเครื่องรับแฟ๊กซ์..ถามว่าได้มั๊ย..ได้ครับ...แล้วไง

..อ๋อ..เมื่อมันทำการรับ-ส่งแฟ๊กซ์ จากประสบการณ์มักทำให้เน็ตหลุดครับ..เมื่อหลุดแล้วต่อใหม่ก็ได้ไอพีใหม่อีก
**กล่องกันฟ้า...ตัวกันฟ้าเองขึ้นขี้เกลือ มีใยแมงมุม สุสานมด คราบสนิมทำให้มีสัญญาณรบกวน
ตัวกันฟ้าผ่าในกล่องกันฟ้า ตัวมันมี 3 ขั้ว ต่อกับสายโทรศัพท์ทั้งสองเส้น อีกขั้วก็ต่อสายดิน
ติดตั้งอยู่ตรงกล่องต่อสายนอกบ้าน  ....
ไฟกระแสตรงแรงดันต่ำในสายโทรศัพท์ธรรมดา เจ้าตัวนี้จะเสมือนฉนวน ไม่นำไฟฟ้า
พอเกิดฟ้าผ่าที่สายโทรศัพท์ หรือมีแรงดันในสายจะสูงขึ้น เจ้าตัวกันฟ้าผ่า
มันจะเปลี่ยนสถานะตัวเองเป็นตัวนำ ทำให้กระแสไฟฟ้าในสายไหลลงสายดิน ....



3.3สายโทรศัพท์ภายในจากกล่องกันฟ้าไปยังสปลิตเตอร์(กล่องแยกสัญญาณ)
     3.3.1 สายเล็กเกินไป ควรใช้สาย 0.9 หรือ 0.65
     3.3.2 สายเก่าฉนวน อมความชื้น
     3.3.3 สายมีรอยต่อระหว่างกลาง
     3.3.4 เต้าเสียบที่ติดอยู่กับกำแพงในแต่ละห้อง หรือกล่องเสียบสายโทรศัพท์ คอนแทคมีอ๊อกไซค์(คราบหรือสนิม)
              ทั้งเต้ารับและหัวRJดูให้แน่ใจว่าดีพอ สะอาดพอ (ให้ดีก็ต่อตรง)
ปัญหาสปลิตเตอร์(กล่องแยกสัญญาณ)
ท่องไว้ในใจเลยนะครับ
1.ถ้าเร้าเตอร์และโทรศัพท์อยู่ไกลกันให้ใช้สปลิตเตอร์(กล่องแยกสัญญาณ) แยกของใครของมัน
2.อย่าไปไว้ใจว่ามันจะยังดีและใช้งานได้ดีเสมอ..เพราะเคยเจอมันเสียทำ ทำให้เน็ตหลุด ซิ้งค์สัญญาณไม่ติด
3.และตัวมันเองนี่แหละทำให้เกิดค่าLOSS ระหว่างสายจากกล่องกันฟ้ามายังตัวมัน
และสูญเสียที่เกิดจากมันไม่แน่นติดๆหลุดจากสปลิตเตอร์(กล่องแยกสัญญาณ) ไปยังเร้าเตอร์
**ขยายความ ระยะสายที่ออกจากกล่องสปลิตเตอร์(กล่องแยกสัญญาณ)...ยาวเกินไปและสายที่ยาวเกินไปนั้นมีปัญหาเรื่องความต้านทาน

4.ปัญหาจากADAPTORจ่ายไฟเลี้ยงเร้าเตอร์
เชื่อมั๊ยครับว่าเรามักตายกับของง่ายๆราคาถูกๆ ปลั๊กราง หรือเต้ารับที่เราเอาADAPTORไปเสียบมักไม่แน่น หรือพอเสียบเข้าไปเรารู้สึกว่าไม่แน่ใจ
นิยามคำว่า ปลั๊ก   หมายถึงผู้เสียบ(ตัวผู้)
       เต้ารับ หมายถึงผู้โดนเสียบ(ตัวเมีย)
ทั้งผู้เสียบและผู้โดนเสียบต่างไม่ดีพอไม่แน่นพอ ทำระบบต้องให้แน่ใจว่าเราจะไม่ตกม้าตายกับเรื่องแบบนี้
มาไล่ดูไล่บี้ปัญหากันตั้งแต่กล่องกันฟ้ากันดีกว่า
1.ดูสภาพขั้วต่อสาย และ สิ่งที่เรียกว่าตัวกันฟ้าที่มี3ขั้ว
2.ปลดสายภายในออก(สายที่วิ่งเข้าบ้าน)
เอาโทรศัพท์มาจับทดสอบโดยการฟัง (ตั้งใจฟังติดๆกันสัก30-60วินาที)
ต้องดัง ตู้นโด่งๆดัง ไม่มีเสียงรบกวนในสาย ได้3อย่างนี้มั่นใจว่าผ่านไป75เปอเซนต์

3.เอาโทรศัพท์มาฟังเสียงที่ปลายทางของสายก่อนเข้ากล่องสปลิตเตอร์
 (ตั้งใจฟังติดๆกันสัก30-60วินาที)
ต้องดัง ตู้นโด่งๆดัง ไม่มีเสียงรบกวนในสาย  ถ้าไม่ได้เหมือนตอนขั้นตอนข้อที่2 รื้อเปลี่ยนใหม่

4.เมื่อผ่านได้3ข้อข้างต้น ควรมีสปลิตเตอร์และเร้าเตอร์ติดกระเป๋าทดสอบไว้เสมอ..เผื่อว่าไม่ไว้ใจจะได้เอามาทดสอบ
5.เมื่อผ่าน4ขั้นตอนที่กล่าวมาให้มั่นใจได้ว่าระบบสายจากกล่องกันฟ้ามาถึงเร้าเตอร์ สะอาดและเคลียร์

เมื่อผ่านด่านจากด้านบนมาแล้ว..แต่ปัญหาทำไมยังไม่ดีขึ้น...นั่นดิ
ปัญหาก็ต้องไล่จากกล่องกันฟ้าย้อนกลับขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าจนไปถึงชุมสายย่อยหรือ ดี-สแลม
เมื่อเราทดสอบระบบสายภายในว่ามั่นใจ..ชัวววววร์
อาการที่เราทดสอบแล้วเราควรแจ้ง ISPนั้นๆคือ
1.ปลดสายภายในออกแล้วจับสัญญาณโดยใช้โทรศัพท์ธรรมดา..
...ปรากฏว่า มีเสียงรบกวน ฮัม ไม่ราบเรียบ อะไรก็ตามที่ฟังแล้วไม่น่าจะมี..แจ้งได้เลยบอกไปเลยว่าเราทดสอบแล้วจากกล่องกันฟ้า
...ทำไมละ...ก็ถ้าไม่บอกแบบนี้มักไม่ค่อยมาดูให้
และอ้างว่าคอมพ์เราติดไวรัส(บางรายบอกว่าต้องเพิ่มแรมและเปลี่ยนการ์ดจอแล้วเน็ตจะดีขึ้น55+)

2.เมื่อเราทดสอบตามข้อ1 แล้วไม่มีอะไรผิดปกติ (ผ่านจากการทดสอบสายภายในแล้วนะครับ) แต่เน็ตยังหลุดบ่อย
...โทรแจ้งไปเลยครับบอกว่าเน็ตหลุดบ่อยครับ แล้วอ้างว่าเห็น2-3วันก่อนมีคนมาปีนเสาตั้งแต่นั้นมาเน็ตก้อไม่ดีเลย(อ้อนๆหน่อย)
...ทำไมถึงบอกให้แจ้งครับ
ถ้าเรามั่นใจสายภายในของเราแล้ว สปิลตเตอร์ เร้าเตอร์ ปลั๊กไฟ 
ผมมองว่ามีเรื่องนึงที่ทำให้เน็ตหลุดบ่อยๆ
ก็คือระบบคู่สายของISPนั้นๆ
อยากรู้ไปดูตรงไหน...ไปนี่เลย 192.168.1.1
เข้าไปในเร้าเตอร์ ดูค่า มาร์จิ้น ของADSL
ทั้งขาUPLOAD และขาDOWNLOAD
อืมๆๆๆเห็นแล้ว..อ่านออก แต่ไม่เข้าใจ5555+..ผมก็เหมือนกัน

ปกติแล้วสัญญาณ ADSL จะมีค่ามาตรฐานในการวัดคุณภาพสาย
เรียกว่า ค่า SNR และค่า Line Attennuation
ค่า SNR และค่า Line Attennuation
- ค่า SNR(Signal to Noise Ratio) จะเป็นตัวบอกถึงความแรงของสัญญาณ ADSL เมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาณรบกวน

- ค่า Line Attenuation คือค่าการลดทอนของสัญญาณเมื่อเดินทางจาก DSLAM มาถึงโมเด็มในบ้านของผู้ใช้งาน
ค่ามาตรฐานที่ยอมรับได้ของค่า SNR
และ Line Attenuation เป็นดังนี้

SNR ไม่ต่ำกว่า 10 dB (เดซิเบล)

Line Attenuation ไม่สูงกว่า 55 dB
- ค่า SNR ที่ต่ำผิดปกติ อาจเนื่องมากจากคุณภาพของสายโทรศัพท์
- ค่า Line Attenuation ที่สูงผิดปกติ อาจเกิดจากสัญญาณรบกวนในสายโทรศัพท์ เช่น ความชื้น
หรืออยู่ไกล้แหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า
หรือเกิดจากระยะทาง ที่ไกลเกินไปจากชุมสายโทรศัพท์ เช่น ไกลเกินระยะ 5.5 กิโลเมตรตามมาตรฐานของ ADSL
- อุปกรณ์ ADSL จะมีหน้าต่างสำหรับตรวจสอบค่า SNR และ Line Attenution
ท่านทั้งหลายที่ใช้เราเตอร์ ADSL หรือ โมเด็มที่มี Diagnostic วัดค่า dB ของสัญญาณ ADSL
ค่า SNR Margin เป็นสัดส่วนซึ่งเปรียบเทียมสัญญาณข้อมูล และสัญญาณ รบกวน ยิ่งมีค่ามากยิ่งดี
เพราะแสดงให้เห็นว่า สัญญาณข้อมูลนั้นมากกว่าสัญญาณรบกวนนั่นเอง
ค่า Line Attenuation หรือเรียกว่า Line Loss คือค่าที่บอกอัตราการสูญเสียสัญญาณจาก DSLAM มาสู่ DSL CPE ยิ่งมีค่าน้อยยิ่งดี
ค่าน้อยแสดงให้เห็นว่ามี Loss ต่ำ หากสายโทรศัพท์ของบ้าน หรือที่ทำงานของเรา ห่างจากชุมสายมาก ค่า Line Attenuation ก็จะสูงตามไปด้วย 

image

มาไล่ดูอุปกรณ์หน้าตาคุ้น
อันนี้กล่องกันฟ้า

image

ส่วนตัวผมชอบใช้กันฟ้าแบบนี้มากกว่า ขาดเร็วกว่า ทำลายตัวเองเพื่อให้ฟิวส์ขาด


สรุปโดยย่อทั้งหมดคือ
1.เคลียร์ระบบสายภายในทั้งหมดจากกล่องกันฟ้า
ให้ดีที่สุดให้มั่นใจทุกๆรอยต่อ
มั่นใจว่าไม่มีจุดใดๆของสายมีปัญหา
2.เคลียเรื่องการต่อสปลิตเตอร์ว่าถูกต้อง/
ระยะสายที่ออกจากสปลิตเตอร์ไปหาเร้าเตอร์..1
ระยะสายที่ออกจากสปลิตเตอร์ไปหาโทรศัพท์ในกรณีมีการต่อโทรศัพท์..2.
.(มักพลาดข้อนี้คือสายไกลเกินไปและเครื่องโทรศัพท์มีปัญหา)
ถ้าเคลียเรื่องนี้จบก็มุ่งประเด็นไปหาจากสายภายนอกไปหาชุมสายได้เลย
ไล่ดูทีละประเด็นๆไปแล้วตัดออกทีละส่วนจะเห็นได้ว่าแก้ไม่ยาก
จัดการที่ส่วนของเราก่อน
เมื่อเรารู้ว่าส่วนของเราไม่มีปัญหาที่เหลือก็ไม่ยาก

กรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์
ผมแนะนำว่าให้ทำทั้ง DYNDNSและ NO-IP
..เพราะ..เท่าที่ประสบมาผมว่าNO-IP อัพเดทไอพีเร็วและไวกว่า
ไม่เหมือนDYNDNSเพราะมันมองว่าการที่ไอพีเปลี่ยนบ่อย เหมือนการโดนเจาะมีหลายคนคงโดนบล๊อคไปแล้ว
ส่วนกรณีท่านที่ทำดีวีอาร์ ก็ต้องทำการบ้านหนักหน่อยเรื่องระบบสายADSL..แต่ผมมีทางออกให้อีกทางนึง

สำหรับท่านที่ใช้เร้าเตอร์กับDVR
ปัญหานี่แก้ได้ เร้าเตอร์ส่วนมากจะซัพพอร์ตDDNS ของDYNDNS มากกว่า น้อยนักจะซัพพอร์ตNO-IP
วิธีแก้คือ
ถ้า ลูกค้านั้นมีคอมพ์ที่ใช้เน็ตตัวเดียวกับที่ใช้DVR -->>ให้ติดตั้งNO-IPที่คอมพ์เครื่องนั้นมันจะทำหน้าที่รายงานไอพีที่ เราได้ไปโดยอัตโนมัติเช่นกัน
ผมได้ทำและทดสอบแล้วผ่านฉลุยทั้งๆที่เน็ตลูกค้ารายนี้หลุดบ่อย
แต่ถ้าไม่มีคอมพ์ในวงเน็ตเดียวกันก็ตัวใครตัวมันละกันต้องฟิกซ์ไอพีสถานเดียวต้องทำใจกับอินเตอร์เน็ตแบบไทยๆ

ขอบคุณคำขยายความที่ชัดเจนของ  http://www.micronet.in.th/tricktip.html#4
 ความหมายของ SNR Margin และ Line Attenuation

   
SNR Margin (Signal to Noise Ratio Margin)
ADSL Modem ส่วนใหญ่จะสามารถตรวจสอบคุณภาพสายโทรศัพท์ได้ จากค่า SNR Margin (Signal to Noise Ratio Margin) ซึ่งจะบอกถึงอัตราส่วนระหว่างสัญญาณจริงที่ได้รับต่อสัญญาณที่เป็นสัญญาณ รบกวน มีค่าเป็น เดซิเบล ( dB) โดยหากว่าค่า SNR Margin มีค่าต่ำมาก นั้นหมายความว่าความแรงของสัญญาณรบกวนนั้น แรงพอ ๆ กับสัญญาณจริง  ทำให้การรับส่งข้อมูลที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพ และอาจจะมีผลต่อการจับสัญญาณของ Modem ซึ่งทำให้จับสัญญาณได้ช้า หรือเน็ตหลุดบ่อย, ไฟ ADSL กระพริบบ่อย ๆ เป็นต้น SNR Margin ควรจะมีค่าสูง ๆ (ไม่ควรต่ำกว่า 10 dB)
   
5db or below = แย่, bad, no sync/intermittent sync
8db - 13db = ปานกลาง - อาจจะไม่จับสัญญาณบางครั้ง ( average - and no sync issues )
14db - 22db = ดีมาก ( very good )
23db - 28db = ยอดเยี่ยม ( excellent )
29db - 35db = สุดยอด ( rare )
   
Line Attenuation
เป็นค่าที่บ่งบอกถึงอัตราส่วนระหว่างความแรงของสัญญาณที่ส่ง ต่อความแรงของสัญญาณที่ได้รับ หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นตัวเช็คระยะห่างระหว่างชุมสายถึงตัว Modem Router  ซึ่งค่ายิ่งมากก็ยิ่งไกลจากชุมสายมาก  โดยหากสัญญาณมีความแรงเท่า ๆ กันจะทำให้ค่า  Line Attenuation  มีค่าน้อย ในขณะที่ ถ้ารับสัญญาณได้อ่อนกว่าที่ส่งมามากขึ้น จะทำให้ค่า Line Attenuation มีค่ามากขึ้นตามไปด้วย Line Attenuation ควรมีค่าต่ำๆ (ไม่ควรมีค่าสูงกว่า 60 dB)
 
20 - 30 = ยอดเยี่ยม ( excellent )
30 - 40 = ดีมาก very ( good )
40 - 60 = ปานกลาง ( average )
60 - 65 = แย่ ( poor )
   
ในกรณีที่มีค่า SNR Margin ต่ำ หรือมี Line Attenuation สูง ให้พิจารณาเรื่องดังต่อไปนี้
1. เดินสายโทรศัพท์ตามทางสายไฟบ้านหรือไม่ สายไฟแรงสูงที่อยู่ใกล้ๆ จะส่งผลให้เกิดสัญญาณรบกวน ( Noise) มากขึ้น
2. สายโทรศัพท์มาตรฐานหรือไม่ สายโทรศัพท์ที่ไม่ได้มาตรฐาน (เส้นลวดอาจมีขนาดเล็ก) จะทำให้การค่าความต้านทานสูงขึ้นและ Line Attenuation จะมีมากขึ้น
3. อุปกรณ์ต่อพ่วงของโทรศัพท์ เช่น POTS Splitter Micro filter โทรศัพท์ต่อพ่วง มีผลกระทบต่อทั้ง 2 ปัจจัย ยิ่งมีอุปกรณ์ต่อพ่วงมาก ก็จะเกิดสัญญาณรบกวนและ Line Attenuation จะมีค่ามากขึ้น
4. เช็คจุดที่มีการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ ว่ามีการขันสายยึดแน่นเรียบร้อยหรือไม่
5. ตรวจเช็คกล่องดำว่ามีน้ำขัง หรือสายทองแดงมีอ๊อกไซต์เกาะอยู่หรือไม่ เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่า SNR Margin ต่ำ
6. เช็คระยะทางจากชุมสายถึงกล่องดำของลูกค้า ว่าไกลจากชุมสายมากหรือไม่ หรืออยู่ปลายชุมสายหรือไม่ เพราะยิ่งไกลจากชุมสาย จะยิ่งทำให้ได้รับสัญญาณที่ต่ำรวมทั้งมีสัญญาณรบกวนเยอะขึ้น และลูกค้าจะไม่สามารถขอความเร็วที่สูงได้ จะทำให้ SNR Margin ต่ำลงแบบสุด ๆ ไม่มีความเสถียรของสัญญาณ
ในกรณีที่เช็คเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว ยังมีค่าที่ผิดปกติอยู่ ต้องลองให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มาตรวจเช็คสภาพสายโทรศัพท์

 










 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น