5/10/2554

ความรู้ในการ Forward Port

user image
Port Forward มีความจำเป็นสำหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง อย่างเช่น ADSL ที่เชื่อมผ่านโมเด็ม Router จะต้องกำหนดชัดเจนถึงเส้นทางที่จะ เข้า-ออก
มาเข้าใจความหมายต่อไปนี้ก่อน จะทำให้เข้าใจเรื่อง Port Forward ยิ่งขึ้น
- ทุกอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะถูกกำหนดอย่างน้อยที่สุดหนึ่งไอพี (ip) เพื่อแสดงหมายเลขตำแหน่งที่อยู่
- แต่ละไอพีสามารถเลือกใช้พอร์ต (port) ใดๆพอร์ตหนึ่ง เพื่อ รับ-ส่ง ข้อมูล
- ไอพีหนี่ง ไม่สามารถเลือกใช้พอร์ตซ้ำ หรือพอร์ตที่ถูกไอพีอื่นเลือกใช้อยู่ก่อนแล้ว ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน
- NAT คือคำย่อจาก Network Address Translation สำหรับเครือข่ายใช้หนึ่งไอพีอ้างอิงตำแหน่ง เพื่อจัดการกับตำแหน่งที่อยู่ไอพีอื่นๆจำนวนมากมาย

สัญญาณ ADSL จะส่งมาเข้าที่ Router โดยมี External IP เปลี่ยนแปลงตามการเชื่อมต่อแต่ละครั้ง และ External IP นี้ บอกให้ทราบถึงที่อยู่ของเรา ไว้เพื่อติดต่อกับ External IP ของผู้อื่นที่ห่างไกล

ภายใน Router จะสร้าง Internal IP ออกมาสองชุด
- ชุดแรกหรือ Internal IP1 มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า Gateway เป็น Fix IP (ไอพีเปลี่ยนแปลงตามบริษัทผู้ผลิต Router)
หน้าที่ของ Gateway คือ รับ-ส่ง ข้อมูลระหว่าง Client กับ Gateway และ Gateway กับ External IP
- ชุดสองหรือ Internal IP2 มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า Client ยังแบ่งย่อยออกไปได้อีกตามจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อใช้อินเทอร์ เน็ตร่วมกัน ตัวอย่างเช่น Client PC IP1, Client PC IP2, ......ต่อๆไป โดยกำหนดไอพีตามลำดับ และตามชนิดของบริษัทผู้ผลิต Router
หน้าที่ของ Client คือ รับ-ส่ง ข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Gateway
ตามรูปข้างล่าง

,,,,,

จะเห็นได้ว่า ในระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL ที่ใช้โมเด็ม Router เชื่อมต่อสัญญาณ  ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Client) ไม่สามารถ รับ-ส่ง ข้อมูลโดยตรงระหว่าง Client กับ External IP แต่ต้องมี Gateway เป็นตัวกลาง คอยประสานงาน
ที่ ต้องมี Gateway ก็เพื่อเป็นระบบป้องกันการบุกรุก โดยจะมี Options อย่างอื่นทำงานร่วมกันภายใน Router

การทำงานที่ซับซ้อนของ Router จึงต้องมี NAT เป็นเครื่องมือเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการ รับ-ส่งข้อมูล ผ่านพอร์ตที่เรากำหนด หรือเรียกทั่วไปว่า Port Forward ซึงจริงๆแล้วเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำ จะละเลยไม่ได้

การ Port Forward ต้องทำสองที่ต่อไปนี้ คือที่ NAT กับที่ Connection
โดยกำหนดที่ NAT-Virtual Server (รายละเอียดตามลิงค์ต่อไปนี้
http://www.portforward.com/routers.htm)

ส่วนอีกที่ คือ Port Forward ที่ Connection
- เริ่มที่เปิด Command Prompt ก่อน โดยการคลิก Start>> All Programs>> Accessories>> Command Prompt
- จะเปิดกรอบหน้าต่าง Command Prompt ขึ้นมา พิมพ์ต่อด้วยข้อความ ipconfig/all
- เสร็จแล้วมองหาแถว IP Address จดหมายเลขไอพีไว้ ยกตัวอย่างหมายเลขไอพี เช่น 192.168.2.191
- และมองหาแถว subnet Mask จดหมายเลข subnet Mask ยกตัวอย่างหมายเลข subnet Mask เช่น 255.255.255.0
- และมองหาแถว Default Gateway จดหมายเลข Default Gateway ยกตัวอย่างหมายเลข Default Gateway เช่น 192.168.2.1
- จากนั้น คลิกซ้ายเมาส์ที่ Connection ไอค่อนรูปจอคู่ อยู่มุมขวาล่าง นำหมายเลขทั้งหมดที่หาได้มาพิมพ์ใส่ รายละเอียดตามรูปข้างล่างต่อไปนี้

ส่วน ค่าตัวเลขของ Preferred DNS server กับ Alternate DNS server ได้มาจาก ISP ADSL ที่ใช้




image



image



image

 

กรณีใช้ server DVR 2ตัว ต้อง เปลี่ยน portของ DVR ครับ เช่นการ์ด smk7008 ตามรูปล่าง ไอ้ 4 ช่องบนที่มันมี 9000 9001 9002  80 เนี่ย เปลี่ยนให้เป็นเลขอื่นครับ



image

เรื่องDNSของTOTนี่น่าปวดหัวพอสมควร
ผมมีข้อแนะนำ
Preferred DNSให้ใส่ค่าเกตเวย์ของเร้าเตอร์...หรือใส่ค่านี้ค่าเดียว
Alternate DNS ให้ใส่ค่าฟิกซ์ไอพีหรือไอพีแลน/หรือไม่ต้องใส่
วิธีที่2
เข้าไปในเร้าเตอร์ ดูที่status
มันจะบอกค่าไอพี ที่มันต่อเชื่อมได้ในเวลาปัจจุบัน
และ
และค่า
Preferred DNS server
Alternate DNS server
เอวังก็มีด้วยประการล่ะเช่นนี้

ดูค่า
Preferred DNS server
Alternate DNS server
ในเร้าเตอร์มาใส่แจ่มสุด...ฟันธง

Preferred DNS server  ใช้ เกตเวย์เร้าเตอร์ก็ได้ เช่น 192.168.1.1
Alternate DNS server  ไม่ต้องใส่


การใช้โมเด็มต่อเน็ตไม่ต้องฟอร์เวิดพอร์ต เพราะไม่ NAT มันเป็นการเชื่อมต่อโดยตรง แทบไม่ต้องทำอะไรเลย แค่ปรับแต่งการ เชื่อมต่อเองอัตโมนัติเมื่อเครื่องเปิด(กรณีไฟดับ) ติดตั้งโปรแกรม DDNS Clients ของ อะไรก็ได้ Thaiddns, No-ip แล้วแต่สะดวก 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น