ชนิดของสื่อกลางของระบบสื่อสาร (Type of media)
n แบบตัวนำโลหะ(Conductive metal) ได้แก่ Twisted pair, Coaxial cable
n แบบใยแก้ว หรือพลาสติก(Glass or plastic) ได้แก่ Fiber optic
n แบบคลื่นวิทยุ หรือเครือข่ายไร้สาย(Wireless) ได้แก่ Microwave, Satellite
สื่อกลางแบบตัวนำโลหะ
เป็นสายนำสัญญาณ (Transmission line) ที่ใช้ส่งข้อมูลมี สัญญาณไฟฟ้าเป็นพาหะ แยกเป็น 2 แบบ คือ
n สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair cable)
n สายโคแอกเชียล (Coaxial cable)
สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair cable)
ประกอบ
ด้วยสายสัญญาณจำนวนคู่ แต่ละคู่จะพันกันเป็นเกลียวตลอดจนถึงปลาย
เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงและจากภายนอก
และมีฉนวนภายนอกห่อหุ้มอีกชั้น
แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
n ชนิดหุ้มฉนวน (Shielded twisted pair: STP)
n ชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded twisted pair: UTP)
สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (STP)
สาย
ไฟแต่ละคู่จะถูกห่อหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอล์ย
เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอกสาย และมีฉนวนไฟฟ้า
เช่นพลาสติก ห่อหุ้มอีกชั้น
ระยะทางในการใช้งานจะสามารถใช้ได้ไกล
แต่ไม่นิยมเนื่องจากมีราคาแพง
โดยมากจะนำไปใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วสูง เช่น Gigabit Network
หรือติดตั้งบริเวณที่มีการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาก
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (UTP)
สาย
ไฟแต่ละคู่จะถูกห่อหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้าภายนอกเท่านั้น
ป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าแบบ STP
เป็นสายที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากมีราคาถูก มักใช้ติดตั้งภายในอาคาร
หรือภายในห้อง หรือหากต้องการติดตั้งภายนอกอาคารจะต้องเดินสายภายในท่อเหล็ก
สามารถใช้ส่งข้อมูลความเร็ว 100 Mbps
การต่อสายคู่บิดเกลียว
ที่ปลายของสายจะใช้ตัวต่อสายแบบ RJ-45 สำหรับสาย 4 คู่
มีวิธีการต่อหัว 2 แบบ ตามจุดประสงค์การใช้งาน
มาตรฐานของสายคู่บิดเกลียว
องค์กร
ANSI/EIA (American National Standards Institute/Electronic Industries
Association) ได้กำหนดหมายเลข EIA 568 เพื่อควบคุมและแบ่งแยกกลุ่มสายสัญญาณ
สายโคแอกเชียลหรือสายซีลด์(Coaxial cable)
เป็น
ตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวี มีใช้งานหลายลักษณะงาน
ไม่ว่าในระบบเครือข่ายเฉพาะที่ ในการส่งข้อมูลระยะไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์
หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดิทัศน์
ที่ ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก สายโคแอกเชียลจะมีฉนวนหุ้มป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณ รบกวนจากภายนอก สายแบบนี้มีช่วงความถี่ที่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้กว้างถึง 500 MHz
สายโคแอกเชียล (ต่อ)
สายโคแอกเชียลที่ไช้กับการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ มี 2 แบบ
u สายโคแอกเชียลแบบอ่อน (Thinwire coaxial cable)
หุ้มด้วยฉนวนแบบบางมีขนาดเล็กโค้งงอได้ง่าย สำหรับติดตั้งในอาคารหรือห้อง
u สายโคแอกเชียลแบบแข็ง (Thickwire coaxial cable)มีฉนวนภายนอกที่หนา ทำให้สายมีขนาดใหญ่ สามารถทนต่อสภาพอากาศภายนอกอาคาร
มาตรฐานของสายโคแอกเชียล
มีการกำหนดมาตรฐาน JIS C3501 (ญี่ปุ่น), MIL-C-17 (อเมริกา) สำหรับสายโคแอคเชียล ด้วยหมาย RG ตามคุณลักษณะของสาย
เส้นใยนำแสง (Optical Fiber)
อาจ เรียกว่าเส้นใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก เป็นตัวกลางของสัญญาณแสง ทำมาจากวัสดุประเภทแก้วที่มีความบริสุทธิ์มาก เส้นใยนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก ขนาดประมาณ เส้นผมของมนุษย์ อาศัยหลักการสะท้อน และหักเหของแสงในการส่งแสงลงไปในสาย ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก - แกน (CORE) - แก้วหุ้ม (CLAD)
- ปลอกหุ้มหรือฉนวนภายนอก
ชนิดของเส้นใยนำแสง
วิธีการแบ่งชนิดของเส้นใยแสงมีหลายวิธี เช่น- แบ่งตามประเภทวัสดุ
+ Silica glass optic fiber
+ Multi component glass optic fiber
+ Plastic optic fiber
- แบ่งตามโหมด (Propagation Mode) ลักษณะการเดินทางของแสง
+ Single Mode optic fiber + Multi Mode optic fiber
- แบ่งตามดัชนีการหักเหแสงของ CORE ลักษณะการสะท้อนของแสง
+ Step Index optic fiber (SI - fiber)
+ Graded Index optic fiber ( GI fiber)
โหมดของเส้นใยนำแสง
คุณสมบัติการนำแสงของเส้นใยนำแสง แบ่งตามลักษณะการให้แสงส่องทะลุหรือไม่ เป็นคุณสมบัติเฉพาะของเนื้อแก้ว แบ่งเป็น 2 แบบ
- Single Mode optic fiber
- Multi Mode optic fiber
เส้นใยนำแสงแบบซิงเกิลโหมด
เป็น การใช้ตัวนำแสงที่บีบสำแสงให้พุ่งตรงไปตามท่อใยนำแสง โดยมีการกระจายออกด้านข้างน้อยที่สุด เป็นแบบสายที่มีกำลังการสูญเสียทางแสงน้อยที่สุด เหมาะสำหรับการใช้กับระยะทางไกลๆ เช่นเส้นใยนำแสงระหว่างประเทศ
เส้นใยนำแสงแบบมัลติโหมด
เป็น เส้นใยนำแสงที่มีลักษณะการกระจายแสงออกด้านข้างได้ โดยมีค่าดัชนีการหักเหของแสงของ CORE กับ CLAD ต่างกัน เพื่อให้เกิดการสะท้อนของแสงเมื่อตกกระทบพื้นที่ระหว่าง CORE กับ CLAD
สื่อกลางแบบคลื่นวิทยุ
คือการสื่อสารข้อมูลโดยใช้คลื่นวิทยุหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพาหะ หรือไม่มีสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล มีการใช้งาน 3 ลักษณะ
+ ไมโครเวฟ (Microwave)
+ ดาวเทียม (Satellite Link)
+ สื่อสารวิทยุ (Radio Link)
การแบ่งช่วงความถี่
ย่านความถี่ของสัญญาณไฟฟ้า สามารถแบ่งเป็นช่วง ดังนี้
ไมโครเวฟ (Microwave)
เป็นการสื่อสารระหว่างสถานีภาคพื้นสองสถานี ความถี่ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่ในย่านไมโครเวฟ มีลักษณะเฉพาะคือ
+ ใช้สื่อสารระหว่างสถานี
+ ระยะระหว่างสถานีคือ 50 กม.
+ ทิศทางจานสายอากาศต้องตรงกัน
+ อาจเกิดปัญหาการบังของสิ่งปลูกสร้าง
+ อาจเกิดปัญหาจากสภาพอากาศ
ดาวเทียม (Satellite Link)
เป็นการสื่อสารระหว่างดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือโลกกับสถานีภาคพื้น หรือบ้านพักอาศัย มีลักษณะเฉพาะคือ
+ ใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง
+ ตัวดาวเทียมจะรับข้อมูลจากสถานี ภาคพื้น ขยายและสะท้อนสัญญาณ กลับมาที่สถานีภาคพื้นอีกทีหนึ่ง
+ ความถี่ของสัญญาณส่งขาขึ้น (Up Link) ประมาณ 4 GHz
+ ความถี่ของสัญญาณส่งขาลง (Down Link) ประมาณ 6 GHz
สื่อสารวิทยุ (Radio Link)
เป็นการสื่อสารระหว่างสถานีส่งวิทยุกับอุปกรณ์สื่อสารขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์ เพจเจอร์ อาศัย มีลักษณะเฉพาะคือ
+ มีสถานีแม่ข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ (Base Station) เป็นรัศมีกว้าง
+ ความถี่ส่งจากสถานีแม่ข่ายจะต่ำกว่าจากอุปกรณ์สื่อสาร
+ สื่อสารได้ทั้งแบบทางเดียวและสองทาง
ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ (Cellular Phone)
คือ ระบบการจัดการพื้นที่ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ แบ่งพื้นที่ผู้ใช้บริการเป็นช่อง (Cell) คล้ายช่องตัวอ่อนบนรวงผึ้ง แต่ละช่องมีหนึ่งสถานีแม่ข่าย แต่ละสถานีแม่ข่ายที่อยู่ติดกันจะใช้ความถี่ในการสื่อสารที่ต่างกัน เพื่อป้องกันการกวนกันของสัญญาณ
ที่มาhttp://www.rmuti.ac.th/user/prakai/datacommunication_and_network/slide_02.ppt
บลูทูธ
เทคโนโลยี บลูทูธใช้การส่งสัญญาณวิทยุเพื่อทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เมาส์ หรือโทรศัพท์มือถือ สามารถติดต่อสื่อสารกันแบบไร้สายในระยะใกล้ โดยนำไปใชได้ในหลายๆ ทาง ได้แก่
• การรับส่งแฟ้มต่างๆ ระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง หรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ชนิดอื่น
• การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์แบบไร้สายที่รองรับบลูทูธ
• การใช้แป้นพิมพ์หรือเมาส์แบบไร้สายที่รองรับบลูทูธ
• การฟังเพลงโดยใช้หูฟังแบบไร้สายที่รองรับบลูทูธ
• การทำข้อมูลในเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (PDA) ที่รองรับบลูทูธ ให้ตรงกับข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือ
อุปกรณ์ชนิดอื่น
• การสร้างการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายด้วยโทรศัพท์มือถือที่รองรับบลูทูธ หรือโมเด็มเซิร์ฟเวอร์
• การเชื่อมต่อกับเครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคลบลูทูธ (PAN)
ที่มา
http://windowshelp.microsoft.com/Windows/th-TH/help/be987a70-abc6-4918-a60c-06d69c4207131054.mspx
ระบบอินฟาเรด (Infraed)
เป็น ระบบที่ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับ remote control ช่องเครื่องรับโทรทัศน์ อย่างไรก็ดีระบบนี้จะมีข้อจำกัดที่ต้องใช้งานเป็นเส้นตรงระหว่างเครื่องรับ และเครื่องส่งทำให้มีระยะทางรับส่งที่ไม่ไกลนัก รวมทั้งไม่อาจมีสิ่งกีดขวางด้วย ในปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล ๆ อยู่บ้างสำหรับพื้นที่ที่การเดินสายกระทำได้ไม่สะดวก รวมทั้งมีการนำไปใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ ด้วย
ที่มา
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net4.htm
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น