6/23/2557

ยืดอายุการใช้งาน Laser Printer ด้วยการระวังรักษา Fuser unit

ยืดอายุการใช้งาน Laser Printer ด้วยการระวังรักษา Fuser unit
พรินเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญส่วนหนึ่งของการใช้งานคอมพิวเตอร์ และในปัจจุบัน เลเซอร์ พรินเตอร์ ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์สำนักงานที่มีความจำเป็นสำหรับทุกองค์กร รวมถึงมีไว้ใช้งานในบ้านพักอาศัย โดยในเลเซอร์ พรินเตอร์ ทุกเครื่องอุปกรณ์ที่สำคัญของเลเซอร์ พรินเตอร์ ก็คือ Fuser
Fuser (ชุดทำความร้อน) เปรียบเสมือนเตารีด ซึ่งโดยทั่วไปหลักการทำงานของเลเซอร์ พรินเตอร์ ประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้
  • ขั้นตอนที่ 1 เครื่องจะทำการรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ และนำข้อมูลที่ได้มายิงแสงเลเซอร์ผ่านกระจกหมุนแล้วสะท้อนไปยังลูกกลิ้งของ โทนเนอร์ ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าสูบผงหมึกติดขึ้นมาแล้วไปแปะบนกระดาษ เป็นภาพหรือตัวอักษรตามที่เราต้องการ
  • ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นผงหมึกที่อยู่บนกระดาษก็จะถูกนำไปรีดความร้อนโดย Fuser ทำให้ผงหมึกละลายติดแน่นบนกระดาษ หาก Fuser มีปัญหา ก็จะพบว่าเมื่อเอามือป้ายบริเวณที่พิมพ์ หมึกก็จะหลุดออกมาเป็นฝุ่นผงนั่นเอง
การตรวจสอบความเสียหายของ Fuser Film
สาเหตุพื้นฐานของอาการเสีย
  1. กระดาษติด เนื่องจากไม่มีการคลี่กระดาษที่ดีก่อนนำใส่เครื่องหรือกระดาษมีรอยยับ
  2. มีสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ติดอยู่ในเครื่อง เช่น ลวดเย็บกระดาษ, คลิปหนีบการะดาษ ซึ่งมักจะเกิดบ่อยกับการนำกระดาษเก่ามาใช้ใหม่
  3. การนำกระดาษ ออกผิดวิธี เช่น การนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์บางอย่างเข้าไปงัดแงะเวลากระดาษติด หรือดึงกระดาษที่ติดอย่างแรงด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง
ตัวอย่างอาการเสีย ของ Fuser ที่พบบ่อยได้แก่ แผ่นฟิล์มที่ Fuser ฉีกขาด, กระดาษติด, Pressure Roller ฉีกขาด, กระดาษจำนวนมากติดอยู่ภายในชุด Fuser, ลวดเย็บกระดาษติดอยู่ภายใน ดังรูปตัวอย่างต่อไปนี้
รูปที่ 1 ตัวอย่างอาการเสียของ Fuser ที่พบบ่อย
แผ่นฟิล์มที่ Fuser ฉีกขาด จะมีลักษณะต่างๆดังรูปที่ 2 ถึง 15
รูปที่ 2 เกิดจากการใช้กระดาษ reuse แต่ไม่มีการจัดเรียงที่ดี จึงทำให้กระดาษติด
รูปที่ 3 เกิดจากลวดเย็บกระดาษที่ติดอยู่ในเครื่อง ทำให้แผ่นฟิล์มเป็นรู
รูปที่ 4 เกิดจากลวดเย็บกระดาษติดอยู่ในเครื่องและกระดาษติดทำให้มีการดึงกระดาษออก จึงทำให้ฟิล์มขาด
รูปที่ 5 เกิดจากลวดเย็บกระดาษติดอยู่ในเครื่องและมีการดึงกระดาษที่ผิดวิธี ทำให้ฟิล์มฉีกขาดและเป็นรอยย่น
รูปที่ 6 เกิดจากลวดเย็บกระดาษติดอยู่ในเครื่องและมีการดึงกระดาษที่ผิดวิธี ทำให้ฟิล์มฉีกขาด
รูปที่ 7 เกิดจากลวดเย็บกระดาษหรือคลิปหนีบกระดาษติดอยู่ในเครื่อง ทำให้ roller เป็นรอย
รูปที่ 8 เกิดจากลวดเย็บกระดาษติดอยู่ในเครื่องและมีการดึงกระดาษที่ผิดวิธี ทำให้ฟิล์มฉีกขาด
รูปที่ 9 เกิดจากลวดเย็บกระดาษหรือคลิปหนีบกระดาษติดอยู่ในเครื่อง ทำให้ Pressure roller ฉีดขาด
รูปที่ 10 เกิดจากลวดเย็บกระดาษหรือคลิปหนีบกระดาษติดอยู่ในเครื่อง ทำให้ roller เป็นรูและเป็นรอย
รูปที่ 11 เกิดจากคลิปหนีบกระดาษติดอยู่ในเครื่อง ทำให้ roller เป็นรอย
รูปที่ 12 เกิดจากกระดาษติด และมีการดึงกระดาษผิดวีธี
รูปที่ 13 เกิดจากการใช้กระดาษผิดประเภท ทำให้กระดาษติด
รูปที่ 14 เกิดจากการใช้กระดาษผิดประเภท เช่นกระดาษสติ๊กเกอร์ ทำให้ยางของกระดาษสติ๊กเกอร์ติดที่ฟิล์ม
รูปที่ 15 อะไหล่แตกหัก อาจเกิดจากการกระแทกทำให้ชิ้นส่วนเกิดแตกหัก
จากอาการเสียต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว น่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ใช้งาน โดยให้ระมัดระวังในการใช้งาน Laser Printer มากขึ้น เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งาน Laser Printer ของท่าน ซึ่งข้อควรระวังมีดังต่อไปนี้ หากกระดาษติดภายในเครื่องควรจะมีวิธีการเอากระดาษที่ติดอย่างถูกวิธี (ดูได้จากคู่มือการใช้งาน), ไม่ควรนำของมีคมมางัดแงะเพื่อนำกระดาษที่ติดอยู่ที่เครื่องพิมพ์ออก, ควรระมัดระวังเรื่องลวดเย็บกระดาษ หรือคลิปหนีบกระดาษ สำหรับการใช้กระดาษ Reuse (นำกระดาษเก่ามาใช้งานใหม่) ซึ่งถ้าหากคุณระมัดระวังการใช้งานเหล่านี้แล้ว จะทำให้สามารถช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานของเครื่อง Laser Printer ของคุณได้ อนึ่งจากอาการต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว หากเกิดขึ้นถือว่าเป็นอาการเสียที่เกิดจากการใช้งานอย่างผิดวิธี และส่งผลให้การรับประกันสิ้นสุดลงอีกด้วย















6/17/2557

เมื่อไหร่จะเลิกมองว่างานสายมนุษย์ IT มันสบายซะที...!!!

เพิ่งโดนเหน็บจากเพื่อนร่วมงานรุ่นพี่ว่าทำงานสบายๆ ในห้องแอร์

เวลาขอความช่วยเหลือไปแต่ละที กว่าจะขยับตัวก็อืดอาดยืดยาด

แต่พี่รู้อะไรบ้างไหม...?

บริษัทเค้าจ้างเรามาในฐานะโปรแกรมเมอร์ กว่างานของเราจะออกมาแต่ละชิ้น

"เหนื่อยสายใจแทบขาด"

กว่าจะได้เว็บ


 หรือโปรแกรม



มาซักงานนึง...

สิ่งที่พวกเราสาย IT ทำ



บางทีก็ข้ามสายไปทำโปรแกรม


ซึ่ง code ที่เห็นข้างบนนี้ มันมีเป็นพันๆ บรรทัด

ระบบบางระบบหลักแสนบรรทัดก็มี

วันๆ นึงเราเพ่งหาแต่บรรทัดคำสั่งเหล่านี้ ตรงไหนมีปัญหา ตรงไหนควรแก้ไขให้มันทำงานได้เร็วกว่านี้

กว่าจะได้งานมาซักชิ้นนึงบางคนก็


บางคนถึงขั้น


เพื่อนร่วมงานมักจะมองว่างานของเราในแต่ละวัน







ไม่แค่นั้น บางครั้ง Job Description ของเราก็เพิ่มขึ้นมาโดยที่เราไม่เคยรู้มาก่อน
วันดีคืนดีก็ถามถึงการใช้งานโปรแกรม



การลงโปรแกรม







บางวันก็

ก็

ก็
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น

งานที่เพิ่มมาเหล่านี้...เราทำให้ด้วยใจ ว่างก็ไป

งานของเราไม่สามารถลุกขึ้นไปในทันทีทันใดได้

เดี๋ยวมันลืมว่าทำถึงตรงไหน ต้องทำ module หรือ function นี้ให้เสร็จก่อน

สิ้นปีมาคะแนนประเมินก็ได้นิดเดียว เพราะมัวแต่ไปทำงานอื่น จนไม่ค่อยได้ทำงานของตัวเอง

ทั้งๆ ที่พวกพี่ๆ ทั้งหลายที่เป็นผู้ประเมินนั่นแหละ...ขอให้เราไปช่วย ไปทำ

อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาวออฟฟิต เข้าใจเราๆ ชาวมนุษย์ IT กันบ้าง

เฮ้ออออออออออ...

ท้อแท้...ร้องไห้แป๊บ