ภาคที่1
MySQL นับว่าเป็นหัวใจของ Web Server อีกตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้เพราะว่า MySQL
นั้นเป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว วันนี้ผมจะเอาประสบการณ์เกี่ยวกับการ Config
MySQL มาให้อ่านกัน
ผมอิงตามรุ่น 4.1 โดยใช้กับ Server ที่ใช้ tis620 เป็น Default นะครับ
เริ่มต้นที่การ Compile PHP ให้สนับสนุน MySQL
ปกติแล้วสามารถ Compile PHP ให้สนับสนุน MySQL ด้วยการใช้ --with-mysql วิธีการนี้จะเป็นการใช้ MySQL
Lib Client ที่ Bundle มากับ PHP ครับ ซึ่งเป็น Version เก่า นอกจากนี้ยังมี Extension ใหม่ชื่อ MySQLi
ซึ่งถ้าจะใช้ MySQLi จะไม่สามารถใช้ MySQL Lib Client ที่ Bungle มาด้วยได้ มันจะตีกัน
ดังนั้นเริ่มต้นผมแนะนำให้คุณ Compile PHP ด้วย --with-mysql=/usr/local/mysql (หรือถ้า mysql
อยู่ที่อื่นก็ใช้ path อื่นแล้วกันครับ)
เพื่อความสะดวกในการใช้งานภาษาไทย มักจะ setup ใน my.cnf ว่า default-character-set = tis620
วิธีการนี้จะทำให้ MySQL ทำงานช้าลงไปประมาณ 20 - 30% แต่ไม่เป็นไรครับ
เพราะว่ายังไงผมก็ต้องใช้ภาษาไทยอยู่แล้ว
หลังจากใส่คำสั่งว่า default-character-set = tis620 ลงไปใน my.cnf แล้ว ผมที่ได้คือ MySQL Client
มันต๊องครับ เพราะว่า Charset ของ Server เป็น tis620 แต่ของ Client เป็น Latin ครับ ดังนั้นต้อง setup
เพิ่มอีกตัวหนึ่งคือ skip-character-set-client-handshake ใส่ส่วน my.cnf ครับ วิธีการนี้จะทำให้ Client
ทำงานที่ Charset เดียวกับ Server เลยครับ
skip-locking - อันนี้ถ้าจำไม่ผิดเขาเปลี่ยนชื่อเป็น skip-external-locking เกี่ยวกับการทำ Repicate
MySQL Server ผมไม่แน่ใจว่าถ้ามี Server เดียวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพอะไรได้หรือเปล่า
แต่ใส่ไว้ก็ไม่เสียหายครับ
skip-thread-priority - เป็นการกำหนดครับว่าไม่ต้องให้ thread แซงคิวกันได้ MySQL จะให้ QUERY
แต่ละแบบมีความสำคัญไม่เท่ากัน ผมจำไม่ได้ว่าอะไรมากกว่าอะไร แต่การเอาหัวข้อนี้ออกทำให้ระบบ queue ของ
MySQL ไม่ต้องมายุ่งยากกับการจัดคิวและทำงานเป็น FIFO แทนครับ
skip-bdb - ไม่ได้ใช้ก็ข้ามไปครับ ถ้าใช้ bdb ก็ Comment บรรทัดนี้ซะ สำหรับผมแล้วผมใช้แค่ MYISAM กับ
INNODB ครับ
skip-networking - อันนี้เป็นการบอก MySQL Server ว่าไม่ต้อง Listen ที่ INET SOCKET ครับ ให้ Listen
ที่ UNIX SOCKET อย่างเดียวพอ อันนี้ไม่ได้เพิ่มความเร็วมากนัก แต่ลดโอกาสการโดนโจมตีได้ครับ
log-slow-queries - อันนี้ใช้เฉพาะเวลาที่ต้องการดูว่า Query อันไหนทำงานช้า จะได้มาปรับแต่งได้ครับ
ภาคที่ 2
การบริหาร Thread - ตัวแปรเกี่ยวกับ Thread ที่สำคัญของ MySQL คือ thread_cache
ตัวแปรนี้จะเป็นการไม่ทำลาย thread ของ MySQL ให้ต่ำกว่าเลขนี้ครับ ปกติก็เดาไปเรื่อยๆ ครับ โดยดูจาก
Status ของ MySQL ผมแนะนำให้ดูจาก phpMyAdmin ครับ สะดวกดี จะมีค่าเกี่ยวกับ thread คือ
Threads cached 143
Threads connected 7
Threads created 532
Threads running 1
Threads cached - คือจำนวน threads ที่อยู่ในโปรแกรม MySQL ตอนนี้ จะเห็นได้ว่ามี 143 threads
Threads connected - คือจำนวน threads ที่ใช้งานจริงๆ ครับ
Threads running - คือ threads ที่กำลังหาผลการ Query อยู่ครับ
Threads created - คือจำนวน threads ที่สร้างใหม่ตั้งแต่เริ่ม Server มาครับ ถ้าค่านี้เพิ่มเร็วเกินไป
ให้เพิ่มจำนวน Thread_cache ครับ ผลที่ได้คือ MySQL จะทำงานเร็วขึ้นนิดหน่อยเพราะว่าจะไม่ต้องเสียเวลา
สร้างและทำลาย Threads บ่อยๆ ครับ
ภาคที่ 3
MYISAM กับหน่วยความจำ ตัวแปรที่เราสนใจคือ
key_buffer=32M
sort_buffer_size=1M
read_buffer_size=1M
read_rnd_buffer_size=4M
- Key Buffer คือพื้นที่สำหรับ Cache ค่า Key ของแต่ละ Table ครับ โดยที่ Key ของ MySQL มี 3 ตัวคือ
PRIMARY, INDEX และ UNIQUE ครับ ปกติถ้ามีการใช้ Table MyISAM มากๆ ค่านี้ควรจะมากๆ ครับ
ของผมมีใช้ไม่มากเลยไม่ต้องใช้ค่า Key_Buffer มาก แนะนำ 16MB สำหรับแรม 256
และเพิ่มมากขึ้นเมื่อแรมมากขึ้น
- Sort Buffer คือหน่วยความจำที่ MySQSL แต่ละ Connection จะจองเพิ่ม เพื่อทำ Table Scan ครับ
ปกติถ้าคุณจะ Sort Field ที่ไม่ใช่ Key จะต้องใช้หน่วยความจำส่วนนี้เสมอ ให้ Setup เริ่มต้นตั้งแต่ 512K
ขึ้นไป เนื่องจากเป็นหน่วยความจำที่จะมีการจองเพิ่มต่อ Connection ดังนั้นจะไม่ควรจะ Setup
ให้สูงเกินเพราะว่าจะทำให้ MySQL ทำงานจนหน่วยความจำหมด
- Read Buffer คือหน่วยความจำที่ MySQL จะใช้ในการเก็บค่าที่อ่านจากตารางแบบต่อเนื่อง (คือไม่ได้ Sort)
ไม่จำเป็นต้องมากนักก็ได้ เพราะว่าปกติเราจะมีการทำ LIMIT ในการอ่านค่ามาแสดงบนเว็บอยู่แล้ว
- Read-Random Buffer Size คือหร่วมความจำที่ MySQL จะใช้เก็บค่าจากตารางแบบไม่ต่อเนื่อง (เช่นผลการ
Sort) ควรจะใหญ่กว่า Read Buffer
ของผมไม่ค่อยได้ใช้ MyISAM ค่าต่างๆ นี้เลยไม่ได้ Set เอาไว้มากนัก ครับ เดี๋ยวไปต่อภาค 4 เรื่องของ
tmp_table ครับ
ภาคที่ 4
ในภาดนี้เราจะพูดถึง tmp_table ปกติแล้วในการ Complex Query นั้น MySQL
จะทำการสร้างตารางผลลัทธ์ขึ้นมาในหน่วยความจำเป็น เป็น TABLE แบบ HEAP
แต่ถ้าตารางมีขนาดใหญ่กว่าค่าค่าหนึ่ง MySQL จะคัดลอกตารางนั้นลง Disk เป็น MyISAM TABLE ครับ
เราจะมาดูค่าค่านั้นกันครับ
ก่อนที่จะไปไกลกว่านั้น เรามาพูดถึง Complex Query ก่อนครับ โดยมากเราจะพูดถึง Query ที่มีการใช้ GROUP
BY, UNIQUE, LIKE และที่ไม่แน่ใจคือ SUB SELECT ครับ
วิธีการดูว่ามีการ Swap ลงหน่วยความจำมากน้อยแค่ไหน สามารถดูได้จาก
Created tmp disk tables 14652
Created tmp tables 222220
โดยเมื่อมีการสร้าง tmp_table MySQL จะเพิ่มค่า Created tmp tables ครับ และถ้ามีการ Swap ลง Disk
จะเพิ่มค่า Created tmp disk tables ปกติ ถ้านำสองค่านี้มาหารกัน คูณ ร้อย ไม่ควรจะเกิน 5-10% ครับ
ขึ้นอยู่กับว่าตารางที่คุณใช้ใหญ่เล็กอย่างไร มีความซับซ้อนมากแค่ไหน
ตัวแปรที่จะควบคุมการ Swap จะมี 2 ตัวคือ
tmp_table_size=32M
max_tmp_tables=32
โดยถ้า tmp_table ใหญ่กว่า tmp_table_size จะ Swap ลง Disk ครับ หรือถ้ามีจำนวน tmp_table มากกว่า
max_tmp_tables ก็จะ Swap ลง Disk เช่นกันครับ
ค่า tmp_table_size ปกติเป็น 32M และ max_tmp_tables จะเป็น 32 ครับ คุณไม่ควร Setup ให้สูงกว่า 2
เท่าของค่าปกติ แต่แนะนำให้ลองไปตรวจสอบครับว่าโปรแกรมของคุณมีทางที่จะ Optimize Query ได้มากแค่ไหน
หรือ จะใช้วิธีการ Cache ผมลัพธ์ของหน้าเว็บเข้ามาช่วยก็ได้ครับ
ภาคที่ 5 - Key Buffer แบบเชิงลึก
Key Buffer คือหน่วยความจำที่ MySQL จองไว้หนเดียว แล้วใช้งานแชร์กันทุกๆ Process
(ดังที่ได้พูดไว้ก่อนหน้านี้ครับ)
แต่เราจะมาพูดถึงประสิทธิภาพของ Key กันครับ ค่าที่น่าสนใจคือ
Key blocks unused 27683
Key blocks used 1312
Key read requests 1318393
Key reads 1344
คู่แรกจะบอกว่า Key Buffer ของคุณใช้งานไปมากน้อยแค่ใด ปกติแล้ว Key Blocks Unused จะไม่มากครับหรือเป็น
0 เลยก็ได้ อย่างตัวอย่างแสดงว่าเรากำหนดค่า Key_Buffer มากเกินไปครับ
คู่ที่สองถ้าเอา (Key read requests - Key reads) * 100 / Key read requests เราจะเรียกว่า Key Hits
Rate ครับ อย่างตัวอย่างคือ 99.9 ครับ แสดงว่า Key Hits Rate ดีมากครับ ปกติแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 95 -
99% ครับ ถ้าน้อยกว่านี้แนะนำให้เพิ่ม Key_Buffer ครับ สำหรับ Key Hits Rate นั้นจะต้องคิดเมื่อทำงาน
MySQL ไปแล้วสักพักนะครับ อาจจะ 2-3 วัน ครับ
ภาคที่ 6 - Table Cache
สำหรับ Table Cache นั้นเป็นการเปิด Handle ของ Table ทิ้งเอาไว้ครับ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลใน Table
ได้อย่างรวดเร็วครับ แต่ถ้าคุณเพิ่มค่านี้มากๆ คุณอาจจะเกิดปัญหาว่า File Descriptor ไม่พอครับ
ถ้าผมจำไม่ผิดแนะนำให้เพิ่ม File Descriptor ได้จากการแก้ไขตัวแปร Kernel ที่ /proc/sys/fs/file-max
ครับโดยการใช้คำสั่ง
echo 392604 > /proc/sys/fs/file-max
ผมไม่แน่ใจว่าการใช้คำสั่ง ulimit จะได้ผลเหมือนกันหรือไม่
กลับมาต่อที่ table_cache ปกติแล้วถ้าในระบบที่มีตารางมากๆ table_cache
ควรจะครอบคลุมตารางพื้นฐานทั้งหมด และอีกประมาณ 50% ของตารางที่เหลือ
แต่ถ้าเป็นไปได้จะครอบคลุมทั้งหมดเลยก็ไม่ผิดแต่อย่างใด อย่างของผมเอง set ไว้ที่ 1024 เลยครับ
วิธีการจะดูว่า set ไว้น้อยเกินไปหรือเปล่า ให้ดูที่
Open tables 1024
Opened tables 1120
โดย Open tables คือจำนวน Table ที่เปิดอยู่ขณะนี้ และ Opened tables คือจำนวน Table ที่เปิดมาทั้งหมด
นับตั้งแต่เริ่ม MySQL Server มา โดยถ้าค่าของ Opened tables เพิ่มเร็วเกินไป แนะนำให้เพิ่มค่า
table_cache ครับ
วิธีการปรับค่า table cache ทำได้โดย เพิ่มบรรทัดนี้ใน my.cnf
table_cache=1024
ภาคที่ 7 Query Cache
Query Cache นั้นเป็นคุณสมบัติใหม่ที่มีใน MySQL รุ่นที่ 4.x ขึ้นมาครับ
Query Cache ทำงานง่ายๆ คือ ถ้ามี Query เหมือนเดิม MySQL จะเรียกจาก Cache แทนที่จะไป Query ใหม่ครับ
แต่ Query Cache ไม่ได้มีประโยชน์กับทุก Database Structure นะครับ Query Cache เหมาะกับ Table
ที่ไม่ค่อยได้ Update แต่มีจำนวน Records เป็นจำนวนมาก เช่น 50,000 records ขึ้นไป Query Cache จะใช้กับ
Select เท่านั้นครับ ถ้าระบบของคุณแตกต่างจากนี้การใช้ Query Cache อาจจะทำให้ได้ผลตรงกันข้ามก็ได้ครับ
วิธีการเปิดใช้งาน Query Cache ให้ใส่บรรทัดนี้ลงใน my.cnf ครับ
query_cache_type=1
query_cache_size=32M
query_cache_type จะมีได้ 3 ค่าคือ
0 - ปิด Query Cache
1 - เปิด Query Cache คุณสามารถสั่งให้ไม่ต้อง Cache ได้โดยการใช้ "SELECT SQL_NO_CACHE"
2 - แบบ On Demand คุณสามารถสั่งให้ MySQL Cache โดยการใช้ "SELECT SQL_CACHE"
ปกติแล้วถ้า Table มีการ Update แล้ว MySQL จะลบ Cache ของ Table นั้นๆ ทั้งหมดทันที และ Query Cache
นั้นเป็น Case Sensitive ครับ ดังนั้น
SELECT * FROM a WHERE b=1
กับ
select * from a where b=1
จะไม่เหมือนกันนะครับ ถ้าเราเรียกตัวแรกแล้วเรียกตัวที่ 2 ตัวที่ 2 จะไม่ได้เรียกจาก Cache
ดังนั้นถ้า
1. ในระบบของคุณมีการเขียน SQL แบบไม่ได้วางแผนเรืองตัวใหญ่ตัวเล็ก คุณจะได้รับประโยชน์จาก Query Cache
น้อยลง
2. ถ้า Table หลักๆ ของคุณมีการ Update ตลอดเวลา คุณจะได้รับประโยชน์จาก Query Cache น้อยลง
3. ถ้า Table หลักๆ ของคุณไม่ได้มีจำนวน Records มากคุณก็แทบจะไม่ได้รับประโยชน์จาก Query Cache
เลยครับ
แหล่งที่มา
http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=18693.new###innodb กับ myisam ต่างกันยังไง
ISAM (MyISAM) ซึ่งมีความรวดเร็วในการอ่านและเขียนสูง เนื่องจากมีการจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูล
ซึ่งรองรับการอ่านข้อมูลพร้อมๆ กันได้ (เหมาะสำหรับ Web Application)
แต่อาจจะมีปัญหาเมื่อใช้งานกับระบบที่ต้องมีการอ่าน/เขียน ข้อมูลในตารางเดียวกัน พร้อมๆ กัน
ที่สำคัญ ฐานข้อมูลประเภท MyISAM จะมีปัญหาเรื่อง Index เสีย และ Data Corrupt บ่อยมาก หากใช้งานใน OS
ที่เป็น Windows และมีการ Shutdown อย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งทำให้ผู้ดูแลระบบต้องมีการซ่อมแซม (repair table
bad_table) ตารางทีมีปัญหาอยู่เรื่อยๆ
InnoDB ข้อดีคือ รองรับการทำ Transaction รองรับการอ่านและเขียน พร้อมๆ กันได้ดีกว่าฐานข้อมูลประเภท
MyISAM และยังมีระบบ Auto Data Recovery หากมีการ shutdown โดยไม่เหมาะสม (ไฟดับ)
ซึ่งในการใช้งานผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้ตารางใดเป็นประเภท InnoDB หรือ MyISAM
ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม (ว่าจะเลือกความเร็ว หรือ ประสิทธิภาพ)