การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือ การยุติหรือระงับข้อพิพาท ด้วยความตกลงยินยอมของคู่ความเอง โดยมีผู้ไกล่เกลี่ยเป็น คนกลางช่วยเหลือ แนะนำ เสนอแนะหาทางออกในการยุติหรือระงับ ข้อพิพาทให้แก่คู่ความนั้น ผู้ไกล่เกลี่ยคือใคร ผู้ไกล่เกลี่ย หรือบางครั้งเรียกว่าผู้ประนีประนอม ได้แก่ ผู้พิพากษารวมทั้งบุคคล หรือคณะบุคคลที่ได้รับ การแต่งตั้งจากศาล ประโยชน์ที่ท่านได้รับจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สะดวก ไม่เป็นทางการหรือมีขั้นตอนมากเกินไป รวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ประหยัด ไม่มีค่าใช้จ่าย พึงพอใจ คู่พิพาทตัดสินใจเองในผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท รักษาสัมพันธ์ภาพอันดีของคู่ความ เพราะผลการไกล่เกลี่ยไม่มีฝ่ายใดแพ้ ฝ่ายใดชนะ คดีหรือข้อพิพาทที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ 1. คดีหรือข้อพิพาททางแพ่ง 2. คดีหรือข้อพิพาททางอาญาที่ยอมความกันได้ 3. คดีหรือข้อพิพาททางอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ 4. คดีหรือข้อพิพาทอื่นที่สามารถจะไกล่เกลี่ยได้ ผลของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล เมื่อคู่ความสามารถตกลงกันได้ ศาลพิพากษาตามยอมหรือโจทก์ถอนฟ้อง แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ให้ส่งเรื่องคืนสู่การดำเนินกระบวนการพิจารณาของศาลตามปกติ | การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นความลับ | | ข้อเท็จจริงที่ได้จากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ไม่อาจใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ เว้นแต่คู่ความจะตกลงเป็นอย่างอื่น | |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น