10/01/2552

คู่มือการใช้งาน PHP MYADMIN

PHP MyAdmin


phpMyAdmin เป็นโปรแกรมประเภท MySQL Client ตัวหนึ่งที่ใช้ในการจัดการข้อมูล MySQL ผ่าน Web Browser ได้โดยตรง phpMyAdmin ตัวนี้จะทำงานบน Web Server เป็น PHP Application ที่ใช้ควบคุมจัดการ MySQL Server ความสามารถของ phpMyAdmin คือ
1. สร้างและลบ Database
2. สร้างและจัดการตาราง (Table) เช่น แทรก record, ลบ record, แก้ไข record หรือ Table, เพิ่มหรือแก้ไข field ในตาราง
3. โหลดเท็กซ์ไฟล์เข้าไปเก็บเป็นข้อมูลในตารางได้
4. หาผลสรุป (Query) ด้วยคำสั่ง SQL และอีกหลาย ๆ ความสามารถที่ phpMyAdmin ทำได้

การเริ่มต้นใช้งาน phpMyAdmin
การเข้าใช้งานโปรแกรม phpMyAdmin จะใช้งานผ่านโปรแกรม Web Browser เช่น Internet Explorer และพิมพ์ URL ไปยังไดเรกทอรีของ phpMyAdmin เป็น http://pontus2.csloxinfo.com เป็นต้น ซึ่งหน้าจอแรกในการใช้งาน แสดงดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 หน้าจอแรกของโปรแกรม phpMyAdmin

จากรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่าโปรแกรมได้แบ่งส่วนของการแสดงผลออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนซ้าย
(เลข 1) และ ส่วนขวา (เลข 2, 3) ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้
หมายเลข 1 ใช้สำหรับ เลือก/เปลี่ยน จัดการกับฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้วซึ่งทาง csloxinfo จะทำการสร้างฐานข้อมูลให้กับลูกค้า 1 ฐานข้อมูลเท่านั้น
หมายเลข 2 สำหรับใส่ชื่อฐานข้อมูลที่ต้องการสร้างใหม่
หมายเลข 3 สำหรับเลือกภาษาที่ต้องการให้แสดงภายในโปรแกรม phpMyAdmin
การสร้างฐานข้อมูลใหม่
ก่อนที่จะเก็บข้อมูลลงใน MySQL จะต้องเลือกเสียก่อนว่า จะสร้างฐานข้อมูลชื่ออะไร จากนั้น จึงทำการสร้างตาราง และ ฟิลด์ เพื่อบันทึกข้อมูล ในอันดับแรกจะเป็นการทดลองสร้างฐานข้อมูลขึ้นมา ใหม่ โดยจะยกตัวอย่างฐานข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ซึ่งมีชื่อฐานข้อมูลว่า “product” ดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 สร้างฐานข้อมูลใหม่ชื่อ product

จากรูปที่ 2 อธิบายขั้นตอนการสร้างฐานข้อมูลใหม่ตามลำดับ ได้ดังนี้
1. ใส่ชื่อของฐานข้อมูลที่ต้องการสร้าง ในที่นี้ให้ชื่อว่า product
2. คลิกที่ปุ่ม สร้าง เพื่อสร้างฐานข้อมูล
การสร้างตารางใหม่
ภายหลังจากที่สร้างฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว phpMyAdmin จะแจ้งให้เราทราบว่า ได้ทำการ
สร้างฐานข้อมูล product เรียบร้อยแล้ว และท่านใช้งานฐานข้อมูล product อยู่ ยังไม่มีตารางใดๆ อยู่เลย
ในที่นี้จะสร้างตารางสำหรับเก็บข้อมูลสินค้า โดยรายละเอียดในตารางจะมี 3 ฟิลด์ ดังนี้
- name ชื่อสินค้า
- cost ราคาสินค้า
- quan จำนวนสินค้า (ย่อมาจาก quantity แต่เขียนให้ง่ายและสั้นขึ้น)
ทำการสร้างตารางใหม่ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ใส่ชื่อตารางที่ต้องการสร้าง
2. ใส่จำนวนฟิลด์ของตาราง สำหรับตาราง stock จะมีจำนวน 3 ฟิลด์
3. คลิกปุ่ม ลงมือ เพื่อดำเนินการขั้นต่อไป

รูปที่ 3 การสร้างตาราง

ขั้นตอนต่อไป ภายหลังจากคลิกปุ่ม ลงมือในขั้นตอนก่อนหน้า จะเป็นการกำหนด ชื่อฟิลด์
ชนิดของข้อมูลที่เก็บ และรายละเอียดอื่นๆ ซึ่งจะอธิบายในส่วนต่างๆ ได้ดังนี้
- ฟิลด์ สำหรับใส่ชื่อฟิลด์
- ชนิด สำหรับเลือกชนิดของข้อมูลที่ต้องการเก็บในฟิลด์นั้น- ความยาว/เซต สำหรับกำหนดขนาดของข้อมูล
- แอตทริบิวต์ สำหรับเลือกลักษณะเฉพาะของข้อมูลที่จะเก็บ เช่น ตัวเลขแบบคิด
เครื่องหมาย บวกหรือลบ เป็นต้น
- ค่าว่าเปล่า (null) สำหรับเลือกว่า ฟิลด์นั้นสามารถใส่ค่าว่างได้หรือไม่
- ค่าปริยาย สำหรับกำหนดค่าเริ่มต้นของฟิลด์ (ค่า Default)
- เพิ่มเติม สำหรับกำหนดค่าเพิ่มเติม เช่น กรณีที่ฟิลด์เก็บข้อมูลตัวเลขจำนวนเต็ม (Integer)
จะสามารถเลือกให้มีการเพิ่มค่าอัตโนมัติ (auto_increment) ได้ เป็นต้น
- ไพรมารี เลือกเมื่อต้องการกำหนดให้ฟิลด์นั้นๆ เป็นไพรมารีคีย์ (Primary Key)
- ดัชนี เลือกเมื่อต้องการสร้างฟิลด์นั้นๆ เป็นดัชนี (Index)
- เอกลักษณ์ เลือกเมื่อต้องการให้ฟิลด์นั้นเป็น Unique
คำอธิบายของชนิดข้อมูลแต่ละชนิดที่สามารถเลือกได้
VARCHAR : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร ทุกครั้งที่เลือกชนิดของฟิลด์เป็นประเภทนี้ จะต้องมี การกำหนดความยาวของข้อมูลลงไปด้วย ซึ่งสามารถกำหนดค่าได้ตั้งแต่ 1 - 255 ฟิลด์ชนิดนี้ เหมาะ
สำหรับการเก็บข้อมูลสั้นๆ เช่น ชื่อ นามสกุล หรือหัวข้อต่างๆ เป็นต้น... ในส่วนฟิลด์ประเภทนี้ จะ สามารถเลือก "แอตทริบิวต์" เป็น BINARY ได้ โดยปกติแล้วการจัดเรียงข้อมูลเวลาสืบค้น (query) สำหรับ VARCHAR จะเป็นแบบ case-sensitive (ตัวอักษรใหญ่ และเล็กมีความหมายแตกต่างกัน) แต่ หากระบุ "แอตทริบิวต์" เป็น BINARY ปุ๊บ การสืบค้นจะไม่คำนึงตัวอักษรว่าจะเป็นตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก
CHAR : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร แบบที่ถูกจำกัดความกว้างเอาไว้คือ 255 ตัวอักษร ไม่ สามารถปรับเปลี่ยนได้เหมือนกับ VARCHAR หากทำการสืบค้นโดยเรียงตามลำดับ ก็จะเรียงข้อมูล
แบบ case-sensitive เว้นแต่จะกำหนดแอตทริบิวต์เป็น BINARY ที่จะทำให้การเรียงข้อมูลเป็นแบบ non case-sensitive เช่นเดียวกับ VARCHAR
TINYTEXT : ในกรณีที่ข้อความยาวๆ หรือต้องการที่จะค้นหาข้อความ โดยอาศัยฟีเจอร์ FULL TEXT SEARCH ของ MySQL เราอาจจะเลือกที่จะไม่เก็บข้อมูลลงในฟิลด์ประเภท VARCHAR ที่มีข้อจำกัด
แค่ 256 ตัวอักษร แต่เราจะเก็บลงฟิลด์ประเภท TEXT แทน โดย TINYTEXT นี้ จะสามารถเก็บข้อมูล ได้ 256 ตัวอักษร ซึ่งมองเผินๆ ก็ไม่ต่างกับเก็บลงฟิลด์ประเภท CHAR หรือ VARCHAR(255) เลย แต่
จริงๆ มันต่างกันตรงที่ มันทำFULL TEXT SEARCH ได้
TEXT : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร เช่นเดียวกับ TINYTEXT แต่สามารถเก็บได้มากขึ้น โดย สูงสุดคือ 65,535 ตัวอักษร หรือ 64KB เหมาะสำหรับเก็บข้อมูลพวกเนื้อหาต่างๆ ที่ยาวๆ MEDIUMTEXT : เก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร เช่นเดียวกับ TINYTEXT แต่เก็บข้อมูลได้ 16,777,215 ตัวอักษร
LONGTEXT : เก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร เช่นเดียวกับ TINYTEXT แต่เก็บข้อมูลได้ 4,294,967,295 ตัวอักษร
TINYINT : สำหรับเก็บข้อมูลชนิดตัวเลขที่มีขนาด 8 บิต ข้อมูลประเภทนี้เราสามารถกำหนดเพิ่มเติม ในส่วนของ "แอตทริบิวต์" ได้ว่าจะเลือกเป็น UNSIGNED หรือ UNSIGNED ZEROFILL โดยจะมี
ความแตกต่างดังนี้
 UNSIGNED : จะหมายถึงเก็บค่าตัวเลขแบบไม่มีเครื่องหมาย แบบนี้จะทำใหสามารถเก็บค่าได้ ตั้งแต่ 0 - 255
 UNSIGNED ZEROFILL : เหมือนข้างต้น แต่ว่าหากข้อมูลที่กรอกเข้ามาไม่ครบตามจำนวน หลักที่เรากำหนด ตัว MySQL จะทำการเติม 0 ให้ครบหลักเอง เช่น ถ้ากำหนดให้ใส่ได้ 3 หลัก แล้วทำการเก็บข้อมูล 25 เข้าไป เวลาที่สืบค้นดู เราจะได้ค่าออกมาเป็น 025 หากไม่เลือก "แอ ตทริบิวต์" สิ่งที่เราจะได้ก็คือ SIGNED นั่นก็คือต้องเสียบิตนึงไปเก็บเครื่องหมาย บวก/ลบ ทำ ให้สามารถเก็บข้อมูลได้อยู่ในช่วง -128 ถึง 127 เท่านั้น
SMALLINT : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขที่มีขนาด 16 บิต จึงสามารถเก็บค่าได้ตั้งแต่ -32768 ถึง 32767 (ในกรณีแบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 65535 (ในกรณี UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย)
ซึ่งสามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ TINYINT
MEDIUMINT : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขที่มีขนาด 24 บิต นั่นก็หมายความว่าสามารถเก็บ ข้อมูลตัวเลขได้ตั้งแต่ -8388608 ไปจนถึง 8388607 (ในกรณีแบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 16777215
(ในกรณีที่เป็น UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย) ซึ่งสามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ TINYINT
INT : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขที่มีขนาด 32 บิต หรือสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ -2147483648 ไปจนถึง 2147483647 ครับ (ในกรณีแบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 4294967295 (ในกรณีที่เป็น
UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย) ซึ่งสามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ TINYINT BIGINT : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขที่มีขนาด 64 บิต สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ - 9223372036854775808 ไปจนถึง 9223372036854775807 เลยทีเดียว (แบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 18446744073709551615 (ในกรณีที่เป็น UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย) ซึ่งสามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ TINYINT FLOAT[(M,D)] : ที่กล่าวถึงไปทั้งหมด ในตระกูล INT นั้นจะเป็นเลขจำนวนเต็ม หากเราบันทึกข้อมูล ที่มีเศษทศนิยม มันจะถูกปัดทันที ดังนั้นหากต้องการจะเก็บค่าที่เป็นเลขทศนิยม ต้องเลือกชนิดขอฟิลด์ เป็น FLOAT โดยจะเก็บข้อมูลแบบ 32 บิต คือมีค่าตั้งแต่ -3.402823466E+38 ไปจนถึง -1.175494351E- 38, 0 และ 1.175494351E-38 ถึง 3.402823466E+38
DOUBLE[(M,D)] : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขทศนิยม เช่นเดียวกับ FLOAT แต่มีขนาดเป็น 64 บิต สามารถเก็บได้ตั้งแต่ -1.7976931348623157E+308 ถึง -2.2250738585072014E-308, 0 และ
2.2250738585072014E-308 ถึง 1.7976931348623157E+308
DECIMAL[(M,D)] : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขทศนิยม เช่นเดียวกับ FLOAT แต่ใช้กับข้อมูลที่ ต้องการความละเอียดและถูกต้องของข้อมูลสูง ข้อสังเกต เกี่ยวกับข้อมูลประเภท FLOAT, DOUBLE และ DECIMAL ก็คือ เวลากำหนดความ ยาวของข้อมูลในฟิลด์ จะถูกกำหนดอยู่ในรูปแบบ (M,D) ซึ่งหมายความว่า ต้องมีการระบุว่า จะให้มี ตัวเลขส่วนที่เป็นจำนวนเต็มกี่หลัก และมีเลขทศนิยมกี่หลัก เช่น ถ้าเรากำหนดว่า FLOAT(5,2) จะ หมายความว่า เราจะเก็บข้อมูลเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม 5 หลัก และทศนิยม 2 หลัก ดังนั้นหากทำการใส่ ข้อมูล 12345.6789 เข้าไป สิ่งที่จะเข้าไปอยู่ในข้อมูลจริงๆ ก็คือ 12345.68 (ปัดเศษให้มีจำนวนหลัก ตามที่กำหนดไว้)
DATE : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทวันที่ โดยเก็บได้จาก 1 มกราคม ค.ศ. 1000 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 9999 โดยจะแสดงผลในรูปแบบ YYYY-MM-DD
DATETIME : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทวันที่ และเวลา โดยจะเก็บได้ตั้งแต่ 1 มกราคม ค.ศ. 1000 เวลา 00:00:00 ไปจนถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 9999 เวลา 23:59:59 โดยรูปแบบการแสดงผล เวลาที่ทำการสืบค้น
(query) ออกมา จะเป็น YYYY-MM-DD HH:MM:SS TIMESTAMP[(M)] : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทวันที่ และเวลาเช่นกัน แต่จะเก็บในรูปแบบของ YYYYMMDDHHMMSS หรือ YMMDDHHMMSS หรือ YYYYMMDD หรือ YYMMDD แล้วแต่ ว่าจะระบุค่า M เป็น 14, 12, 8 หรือ 6 ตามลำดับ สามารถเก็บได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1000 ไป จนถึงประมาณปี ค.ศ. 2037 TIME : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทเวลา มีค่าได้ตั้งแต่ -838:59:59 ไปจนถึง 838:59:59 โดยจะแสดงผล ออกมาในรูปแบบ HH:MM:SS YEAR[(2/4)] : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทปี ในรูปแบบ YYYY หรือ YY แล้วแต่ว่าจะเลือก 2 หรือ 4 (หากไม่ระบุ จะถือว่าเป็น 4 หลัก) โดยหากเลือกเป็น 4 หลัก จะเก็บค่าได้ตั้งแต่ ค.ศ. 1901 ถึง 2155 แต่ หากเป็น 2 หลัก จะเก็บตั้งแต่ ค.ศ. 1970 ถึง 2069 ข้อสังเกต ค่าที่เก็บในข้อมูลประเภท TIMESTAMP และ YEAR นั้นจะมีความสามารถพอๆ กับ การเก็บข้อมูลวันเดือนปี และเวลา ด้วยฟิลด์ชนิด VARCHAR แต่ต่างกันตรงที่ จะใช้เนื้อที่เก็บข้อมูล น้อยกว่า... ทว่า ฟิลด์ประเภท TIMESTAMP นั้นจะมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาที่สามารถเก็บได้ คือ จะต้องอยู่ในระหว่าง 1 มกราคม ค.ศ. 1000 ไปจนถึงแถวๆ ค.ศ. 2037 อย่างที่บอก แต่หากเก็บเป็น VARCHAR นั้นจะไม่ติดข้อจำกัดนี้ ฟิลด์ชนิด YEAR ก็เช่นกันครับ... ใช้เนื้อที่แค่ 1 ไบต์เท่านั้นในการ เก็บข้อมูล แต่ข้อจำกัดจะอยู่ที่ ปี ค.ศ. 1901 ถึง 2155 เท่านั้น (หรือ ค.ศ. 1970 ถึง 2069 ในกรณี 2 หลัก) แต่หากเก็บเป็น VARCHAR จะได้ตั้งแต่ 0000 ถึง 9999 เลย อันนี้เลยอยู่ที่ความจำเป็นมากกว่าครับ (แต่ ด้วยความที่ว่า ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ราคาถูกมากๆ ผมเลยไม่ติดใจอะไรที่จะใช้ VARCHAR แทน เพื่อ ความสบายใจ อิอิ เพราะสมมติว่ากินเนื้อที่ต่างกัน 3 ไบต์ ต่อ 1 ระเบียน มีข้อมูล 4 ล้านระเบียน ก็เพิ่ง ต่างกัน 12 ล้านไบต์ หรือ 12 เมกะไบต์เท่านั้นเอง ซึ่งหากเทียบกับปริมาณข้อมูลทั้งหมดของข้อมูล 4 ล้านระเบียน ผมว่ามันต้องมีอย่างน้อยเป็นกิกะไบต์ ดังนั้นความแตกต่างที่ไม่กี่เมกะไบต์จึงไม่มากมาย)
TINYBLOB : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทไบนารี ได้แก่ ไฟล์ข้อมูลต่างๆ, ไฟล์รูปภาพ, ไฟล์มัลติมีเดีย เป็นต้น คือไฟล์อะไรก็ตามที่อัพโหลดผ่านฟอร์มอัพโหลดไฟล์ในภาษา HTML โดย TINYBLOB นั้น
จะมีเนื้อที่ให้เก็บข้อมูลได้ 256 ไบต์
BLOB : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทไบนารี เช่นเดียวกับ TINYBLOB แต่สามารถเก็บข้อมูลได้ 64KB
MEDIUMBLOB : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทไบนารี เช่นเดียวกับ TINYBLOB แต่เก็บข้อมูลได้ 16MB
LONGBLOB : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทไบนารี เช่นเดียวกับ TINYBLOB แต่เก็บข้อมูลได้ 4GB ข้อสังเกต ข้อมูลประเภท BLOB นั้น แม้จะมีประโยชน์ในเรื่องของการเก็บข้อมูลประเภท BINARY ให้อยู่กับตัวฐานข้อมูล ทำให้สะดวกเวลาสืบค้นก็ตาม แต่มันก็ทำให้ฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่ เกินความจำเป็นด้วย ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการสำรองฐานข้อมูลในกรณีที่ มีข้อมูลอัพโหลดไป เก็บมากๆ โดยปกติแล้ว จะใช้วิธีการอัพโหลดไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ แล้วเก็บลิงก์ไปยังไฟล์เหล่านั้น เป็นฟิลด์ชนิด VARCHAR มากกว่า
SET : สำหรับเก็บข้อมูลที่เป็นกลุ่มของข้อมูลที่ยอมให้เลือกได้ 1 ค่าหรือหลายๆ ค่า ซึ่งสามารถกำหนด ได้ถึง 64 ค่า
ขั้นต่อไปให้กรอกรายละเอียดต่างๆ ให้ครบ เช่น สร้างฟิลด์ 3 ฟิลด์ เราต้องระบุชื่อฟิลด์ ชนิด ของข้อมูลที่จัดเก็บ หรือรายละเอียดอื่นๆ ให้ครบทั้ง 3 ฟิลด์ก่อน เมื่อเรียบร้อยแล้วคลิกที่ปุ่ม บันทึก เพื่อ สร้างตารางใหม่ตามรายละเอียดที่ได้กำหนดไว้ ดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 การกำหนดรายละเอียดของฟิลด์ต่างๆ ภายในตาราง

หลังจากคลิกที่ปุ่ม บันทึก แล้ว โปรแกรมจะแจ้งให้ทราบว่า ได้สร้างตาราง stock เรียบร้อยแล้ว และจะเข้าสู่หน้าจอหน้าจอสำหรับการจัดการตาราง ภายในหน้าจอจะมีเมนูต่างๆ หลายเมนู ซึ่งจะ อธิบายในลำดับถัดไป และ มีการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตารางนั้น ๆ เช่น ดัชนี เนื้อที่ที่ใช้งาน ค่าสถิติต่างๆ เป็นต้น ดังรูปที่ 5

รูปที่ 5 หน้าจอภายหลังสร้างตารางใหม่

การจัดการกับฟิลด์และข้อมูลของตาราง
1. การเรียกดูโครงสร้างของตาราง เราจะต้องอยู่ในหน้าจอการ จัดการตารางก่อน (รูปที่ 5) ซึ่งการเข้ามายังหน้าจอนี้ได้ มี 2 วิธี คือ คลิก จากชื่อตารางซึ่งแสดงอยู่ส่วนซ้ายของโปรแกรม แสดงดังรูปที่ 6 หรือ
ภายหลังจากสร้างตารางใหม่ก็จะเข้ามายังหน้าจอจัดการตาราง เช่นเดียวกัน

รูปที่ 6 รายชื่อตารางภายในฐานข้อมูล คลิกเพื่อจัดการตาราง

ภายในหน้าจอจัดการตาราง โปรแกรมจะแสดงโครงสร้างของตารางเป็นหน้าจอแรก หรือ เรา สามารถคลิกที่ เมนู โครงสร้าง เพื่อแสดงโครงสร้างของข้อมูลได้เช่นเดียวกัน ดังรูปที่ 7 โปรแกรมจะ แสดงโครงสร้างของตารางนั้นๆ อันประกอบไปด้วย ชื่อฟิลด์ ชนิดของข้อมูล แอตทริบิวต์ การใส่ค่าว่าง และไอคอนสำหรับจัดการ ดังนี้
สำหรับแก้ไข ชื่อฟิลด์ ชนิดของข้อมูลที่เก็บ ไพรมารีคีย์ หรือค่าเริ่มต้นอื่นๆ
สำหรับลบฟิลด์นั้นๆ ออกจากตาราง
สำหรับกำหนดให้ฟิลด์นั้นๆ เป็นไพรมารีคีย์ (Primary Key)
สำหรับกำหนดให้ฟิลด์นั้นๆ เป็นดัชนี (Index)
สำหรับกำหนดให้ฟิลด์นั้นๆ เป็นเอกลักษณ์ (Unique)

รูปที่ 7 หน้าจอการจัดการตาราง ในส่วนการแสดงโครงสร้างตาราง

2. การเปิดดูข้อมูลภายในตาราง การเปิดดูข้อมูลภายในตาราง ทำได้โดยคลิกที่เมนู เปิดดู ซึ่งจะคลิกได้ก็ต่อเมื่อมีข้อมูล ภายในตารางแล้วเท่านั้น สำหรับเมนู เปิดดู แสดงดังรูปที่ 8 และ 9

รูปที่ 8 แสดงเมนู เปิดดู

รูปที่ 9 ข้อมูลภายในตาราง ภายหลังคลิกเมนู เปิดดู

3. การเปิดดูข้อมูลภายในตารางด้วยคำสั่ง SQL ในหัวข้อที่ผ่านมา (2) เป็นการเปิดดูข้อมูลโดยดูข้อมูลทั้งหมด ในการใช้งานจริงจะมีการ เลือกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไข ซึ่งสามารถเลือกดูได้ในโปรแกรม โดยคลิกที่เมนู SQL จากนั้นจะปรากฏ text area สำหรับพิมพ์คำสั่ง SQL ลงไป เมื่อเรียบร้อยแล้วคลิกที่ปุ่ม ลงมือ เพื่อรันคำสั่ง SQL ดังแสดง ในรูปที่ 10

รูปที่ 10 การใช้คำสั่ง SQL เพื่อเปิดดูข้อมูลภายในตาราง

4. การค้นหา ภายในเมนูค้นหา มีความหมายเดียวกับการใช้คำสั่ง SQL สำหรับเปิดดูข้อมูล แต่ ในเมนูการค้นหานี้ จะเป็น user interface ให้ ผู้ใช้เลือก ทำให้ง่ายต่อผู้ใช้ที่ต้องการความ สะดวก และ ง่ายต่อการใช้งาน สำหรับ หน้าจอของเมนู การค้นหา แสดงดังรูปที่ 11


รูปที่ 11 หน้าจอการค้นหา

จากรูปที่ 11 นำมาอธิบายการใช้งานการค้นหา ได้ดังนี้
1. เลือกฟิลด์ที่ต้องการแสดงข้อมูล (เลือกอย่างน้อยหนึ่งฟิลด์)
2. กำหนดจำนวนระเบียนที่ต้องการแสดงใน 1 หน้า
3. กรอกเงื่อนไขในการค้นหา (ถ้ามี)
4. ระบุเงื่อนไขของฟิลด์ต่างๆ
5. การเพิ่มข้อมูลลงยังตาราง สามารถทำได้โดยคลิกที่เมนู แทรก โปรแกรมจะแสดงหน้าจอ
สำหรับเพิ่มข้อมูลดังรูปที่ 12 จากนั้นให้กรอกข้อมูลที่ต้องการลงไปในคอลัมน์ ค่า (Value) เมื่อกรอก
ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว หากต้องการกลับมาเพิ่มข้อมูลในแถวต่อไปเลย ให้คลิกที่ แทรกระเบียนใหม่
จากนั้นคลิกที่ ลงมือ

รูปที่ 12 การเพิ่มข้อมูลลงยังตาราง

6. การลบข้อมูลในตาราง คลิกที่เมนู เปิดดู โปรแกรมจะแสดงรายการข้อมูล จากนั้น คลิกที่รูป เพื่อลบข้อมูล ดังรูปที่ 13 (สามารถให้คำสั่ง SQL ในการลบข้อมูลได้อีกวธีหนึ่ง)

รูปที่ 13 การลบข้อมูลภายในตาราง

7. การแก้ไขข้อมูลในตาราง คลิกที่เมนู เปิดดู โปรแกรมจะแสดงรายการข้อมูล จากนั้น คลิกที่รูป เพื่อแก้ไขข้อมูล ดังรูปที่ 14 (สามารถให้คำสั่ง SQL ในการลบข้อมูลได้อีกวิธีหนึ่ง) เมื่อคลิก
ที่รูปแก้ไขแล้ว จะปรากฏหน้าจอสำหรับแก้ไขข้อมูลดังรูปที่ 15 เป็นช่องสำหรับแก้ไข โดยจะแสดงทุกๆ ฟิลด์ ภายในตาราง และหน้าจอแก้ไขนี้สามารถบันทึก หรือ แทรกข้อมูลเป็นแถวใหม่ได้ ด้วย

รูปที่ 14 การแก้ไขข้อมูลในตาราง

8. การลบตาราง ทำได้โดยคลิกที่ชื่อฐานข้อมูลทางด้านซ้ายของโปรแกรม เพื่อแสดงตาราง ทั้งหมดขึ้นมา จากนั้นเลือกคลิกที่รูป เพื่อลบตารางที่ต้องการ แสดงการลบตาราง ดังรูปที่ 16

รูปที่ 15 การแก้ไขข้อมูลในตาราง
จากรูปที่ 16 เป็นหน้าจอแสดงการลบตาราง และยืนยันการลบตาราง ถ้าต้องการลบตาราง ให้คลิกที่ OK ถ้าไม่ต้องการลบตารางให้คลิกที่ Cancel 9. การ Export ข้อมูล (ส่งออก) ทำได้โดย คลิกที่เมนู ส่งออก จากนั้นโปรแกรมจะแสดง หน้าจอสำหรับตั้งค่าการ Export ต่างๆ ดังรูปที่ 17

รูปที่ 16 การลบตารางออกจากฐานข้อมูล

รูปที่ 17 การส่งออก (Export) ข้อมูล


จากรูปที่ 17 เป็นหน้าจอสำหรับการตั้งค่าต่างๆ ของการ Export ซึ่งประกอบไปด้วย ส่วนต่าง ๆ ดังนี้
- ส่งออก ใช้สำหรับเลือกชนิดของข้อมูลที่จะส่งออก เช่น SQL, XML เป็นต้น
- โครงสร้าง เพิ่มคำสั่ง drop table ใช้ในกรณีที่ต้องการให้ลบตารางเก่าก่อนสร้างตารางใหม่ ในขณะ ที่นำไฟล์มา Import Add AUTO_INCREMENT value ใช้เพิ่มข้อมูลประเภท auto_increment ในขณะสร้าง ตาราง ในกรณีที่นำไฟล์มา Import ใส่ backquote ให้กับชื่อตารางและฟิลด์
- ข้อมูล คำสั่ง INSERT เต็มรูปแบบ แทรกหลายระเบียนในคราวเดียว Export Type เป็นการเลือกเฉพาะชนิดของคำสั่งที่ต้องการ ได้แก่ INSERT UPDATE และ REPLACE
- ส่งมาเป็นไฟล์ ให้คลิกที่ checkbox ด้านหน้าด้วย
- ใส่รูปแบบของชื่อไฟล์ เป็นการใส่ชื่อไฟล์ที่ต้องการ

เมื่อกำหนดค่าการ Export ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่ ลงมือ จะปรากฏหน้าต่าง สำหรับเลือกว่าจะบันทึกไฟล์ หรือเปิดไฟล์ ให้คลิกที่ SAVE หลังจากนั้นเลือก location ภายในเครื่องเพื่อแจ้งให้
โปรแกรมทราบว่าจะเซฟไฟล์ไว้ที่ใด เมื่อเรียบร้อยแล้วคลิก ที่ SAVE เพื่อบันทึกไฟล์ข้อมูลลงเครื่องดังรูปที่ 18

รูปที่ 18 หน้าต่างสำหรับเลือกบันทึกไฟล์

10. การนำเข้า (Import) ข้อมูล จะทำงานผ่าน เมนู SQL เมื่ออยู่ในหน้าจอ SQL แล้วให้คลิกที่ Browse เพื่อ เลือกไฟล์ Export ที่ต้องการจากนั้น คลิกที่ ลงมือ เพื่อนำข้อมูลในไฟล์ Import ลงยัง
ฐานข้อมูล ดังรูปที่ 19

รูปที่ 19 การนำเข้า (Import) ข้อมูล

11. การเพิ่มฟิลด์ใหม่ลงไปในตารางที่มีอยู่แล้ว จะดำเนินการผ่านเมนู โครงสร้าง ขั้นแรกให้ คลิกที่เมนูโครงสร้าง จะพบส่วนของการเพิ่มฟิลด์ใหม่ ซึ่งต้องระบุจำนวนฟิลด์ที่ต้องการเพิ่ม และ ระบุ ว่าจะเพิ่มฟิลด์ใหม่ ไว้หน้าหรือหลังฟิลด์ใดในตาราง การเพิ่มฟิลด์ใหม่ ดังรูปที่ 20 uคลิก SQL คลิกปุ่ม Browse.. เลือกตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์ เลือกชื่อไฟล์ คลิก Open คลิก ลงมือ

รูปที่ 20 ขั้นตอนการเพิ่มฟิลด์ใหม่

จากรูปที่ 20 เป็นหน้าจอสำหรับใส่รายละเอียดของฟิลด์ใหม่ โดยผู้ใช้ต้องกรอกชื่อฟิลด์ ชนิดของข้อมูลที่จะเก็บ ความยาว และค่าอื่นๆ เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วคลิกที่ บันทึก เพื่อเพิ่มฟิลด์ ใหม่ลงยังตาราง

รูปที่ 21 การเลือกเพื่อลบฐานข้อมูล

12. การลบฐานข้อมูล (Drop Database) ทำได้โดยคลิกเลือกที่ชื่อฐานข้อมูลจากเมนูทาง ด้านซ้ายของหน้าจอก่อน จากนั้นคลิกเลือกที่ โยนทิ้ง โปรแกรมจะแสดงข้อความยืนยันก่อนลบ ฐานข้อมูล แสดงดังรูปที่ 21

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น