12/19/2553

ข้อแตกต่างของ UTP CAT5e และ CAT6

UTP (Unshielded Twisted Pairs) หรือสายคู่บิดเกลียวไม่หุ้มฉนวน

STP (Shielded Twisted Pairs) หรือสายคู่บิดเกลียวหุ้มฉนวน



ดังนั้น UTP ไม่มีแบบที่มี Shield นะครับ

UTP CAT5e มี 2 แบบ ก็คือ แบบธรรมดา กับแบบที่มี shield ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระยะของสายที่ใช้เดินนับจาก SWITCH ไปยังเครื่อง USER นั้น ระยะไม่เกิน 100 เมตร ข้อมูลลึกๆ สาย UTP มี Diameter อยู่ที่ 24 AWG มี 2 ลักษณธคือสายที่เป็นแบบอ่อนและแบบแข็ง ซึ่งเรียกแตกต่างกันคือ คือ SOLID กับ STAN ซึ่งการใช้งานนั้นสายอ่อนจะใช้ทำสาย PATCH CORD และสายแข็งไว้เดินไปยังจัดต่างๆ ที่อยู่ในที่ปกปิดเช่นผนัง ฝ้า ฯลฯ



UTP CAT6 มี 2 แบบ ก็คือ แบบธรรมดา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระยะของสายที่ใช้เดินนับจาก SWITCH ไปยังเครื่อง USER นั้น ระยะไม่เกิน 100 เมตร ข้อมูลลึกๆ สาย UTP มี Diameter อยู่ที่ 23 AWG มี 2 ลักษณธคือสายที่เป็นแบบอ่อนและแบบแข็ง ซึ่งเรียกแตกต่างกันคือ คือ SOLID กับ STAN ซึ่งการใช้งานนั้นสายอ่อนจะใช้ทำสาย PATCH CORD และสายแข็งไว้เดินไปยังจัดต่างๆ ที่อยู่ในที่ปกปิดเช่นผนัง ฝ้า ฯลฯ

การจัดเก็บข้อมูลในการเข้าถึงแบบไฟล์กับการจัดเก็บข้อมูลในการเข้าถึงแบบบล็อก[/tex]



เทคโนโลยีที่มีการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมหาศาลมีความเร็วสูงและมีความน่าเชื่อ ถือ กำลังกลายเป็นของคู่กันสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ เรียกว่า Storage Area Network(SAN) เป็นระบบการเชื่อมต่อของข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ให้สามารถจัดเก็บและโอนย้ายข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพและมีความ ยืดหยุ่นสูง ในอดีตระบบ SAN โครงสร้างของระบบจะเป็นเครือข่าย Fiber Channel เป็นส่วนใหญ่ทำให้ต้นทุนในการสร้างระบบค่อนข้างสูง เมื่อไม่นานมานี้มีระบบมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลใหม่ออกมาเรียกว่า Internet Small Computer System Interface(iSCSI) เป็นระบบมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลได้จากระยะไกลและรับส่งข้อมูลข้ามเครือข่าย ด้วยความเร็วสูงบนโครงสร้างพื้นฐานของระบบ multi gigabit Ethernet จึงทำให้ระบบ iSCSI กำลังเป็นที่น่าสนใจขององค์กรต่างๆ ในการนำมาสร้างเป็นระบบ SAN ด้วยเหตุที่ว่าต้นทุนในการสร้างระบบค่อนข้างต่ำกว่าระบบที่เป็นเครือข่าย Fiber Channel

ระบบ iSCSI ถูกพัฒนาโดยกลุ่มวิศวกรของ IETF (Internet Engineering Task Force) และไมโครซอฟท์ให้บริการอยู่ในชั้น Transport Layer โดยยินยอมให้ส่งคำสั่ง (SCSI Command) ไปบนแพกเก็ต TCP/IP ในการโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่ายเพื่อจัดเก็บยังอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล โดยมีวิธีการจัดเก็บข้อมูลในการเข้าถึงแบบบล็อก Block Access I/O ระหว่าง Server กับ Storage ประกอบด้วยสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ชุดคำสั่งของ SCSI Command เพื่อในการจัดเก็บข้อมูล และ Internet Protocol(IP) เพื่อในการส่งไปบนครือข่ายต่างๆ ในส่วนของโปโตคอล Stack ที่อยู่บน Server จะเรียกว่า “initiators” และในส่วนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเรียกว่า “target” เทคโนโลยีที่มีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบบล็อกที่เป็นระบบมาตราฐานอยู่ใน ปัจจุบันเช่น iFCP( Internet Fiber Channel Protocol ), FCIP(Fiber Channel over Internet Protocol) และ iSCSI

ปัจจุบันวิธีการจัดเก็บข้อมูลจะอยู่ในลักษณะ Network Attached Storage (NAS) เป็นส่วนใหญ่ให้บริการโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่ายด้วยวิธีการเข้าถึงแบบไฟล์ File Access I/O โดยการส่งข้อมูลไปบนแพกเก็ต TCP/IP และเข้าถึงข้อมูลโดยใช้โปโตคอลในการ file-access/file-sharing ตัวอย่างโปโตคอล CIFS(Common Interface File System) เป็นโปโตคอลที่พัฒนามาจากโปโตคอล SMB(Server Message Block) มีการทำงานคล้ายๆ กับโปโตคอล NFS( Network File System) ในการแชร์ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน ปัจจุบันมีการรวมตัวของกลุ่มผู้พัฒนาซอฟท์แวร์รหัสเปิด(Open Source) เรียกว่า Samba เป็นโปโตคอลสำหรับแชร์ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกันระหว่างระบบปฏิบัติการประเภทรหัสเปิดโดยการนำกลุ่มของโปรแกรมที่ทำ งานผ่านโปโตคอล SMB และ CIFS ร่วมกัน



[tex]1.2 การจัดเก็บข้อมูลในการเข้าถึงแบบไฟล์ [/tex]เป็นการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะ Client-Server ทำงานอยู่เหนือระดับชั้น Transport-layer ในการแชร์ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน เริ่มแรกถูกพัฒนาโดย บริษัท Sun Microsystems ขึ้นในปี คศ.1985 เรียกว่า NFS ทำให้เครื่องในระบบ Unix, Linux, Windows, Mac os สามารถแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆร่วมกันได้ หลังจากนั้นบริษัทไมโครซอฟท์และอินเทลก็ได้พัฒนาโปโตคอลเพื่อให้สามารถแชร์ ทรัพยากรต่างๆร่วมกันไปบนเครือข่ายที่มีระบบปฏิบัติที่ต่างกันเรียกว่า SMB ซึ่งมีหน้าที่การทำงานคล้ายๆ กับโปโตคอล NFS แต่ SMB มีการทำงานที่ละเอียดและดีกว่าตรงที่มีระบบล็อกไฟล์และเรคอร์ดเพื่อป้องกัน การเข้ามาแก้ไขซ้ำซ้อน

CIFS เป็นโปโตคอลที่พัฒนามาจากโปโตคอล SMB แต่มีความสามารถเพิ่มขึ้นคือการล็อกไฟล์แบบ Oplock และสนับสนุนการทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง มีการตรวจสอบ-พิสูจน์ตนเองของยูสเซอร์สนับสนุนชื่อไฟล์แบบยาวๆ ทำงานได้ทั้งแบบ Connection-oriented และ Connectionless และในช่วงปี คศ.1991-1992 มิสเตอร์ แอนดรู ทริดเจล (Andrew Tridgell) ได้เขียนและออกแบบโปรแกรม Samba เป็นกลุ่มของโปรแกรมที่ทำงานโดยผ่านโปโตคอล SMB และ CIFS ช่วงแรกๆSamba ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานบนระบบปฏิบัติการยูนิกส์เพียงอย่างเดียวแต่ต่อมาภาย หลังได้มีการพัฒนาให้สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันได้



ทางไมโครซอฟท์ก็ได้ออกแบบโปโตคอล SMB ให้สามารถรันได้บนโปโตคอล IPX, NBT, NetBEUI แต่ Samba จะรันได้เฉพาะบนโปโตคอล TCP/IP เท่านั้น จึงทำให้โปรแกรม Samba มีความเร็วและประสิทธิภาพการทำงานสูง ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรม Samba สามารถรันบนระบบปฏิบัติการประเภท Window 95/98/ME/2000, NT และ Window XP ทำให้ Linux และ Window สามารถจะแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้



[tex] 1.3 การจัดเก็บข้อมูลในการเข้าถึงแบบบล็อก [/tex]เป็นการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะระบบ SAN ในรูปแบบ Client-Server โดยที่ Client เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการต่างๆ เรียกว่า “initiators” และในส่วนของ Client ก็จะเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลต่างๆ เรียกว่า “target” ทำงานอยู่ในชั้น Transport-layer โดยอาศัย IP(Internet Protocol) ในการเคลื่อนย้ายบล็อกข้อมูลข้ามเครือข่ายไปยังอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ซึ่งปัจจุบันโครงสร้างของระบบระหว่างเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจะ เป็นเครือข่าย Fiber Channel เป็นส่วนใหญ่



เทคโนโลยีที่มีเคลื่อนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่ายเพื่อจัดเก็บข้อมูลยังอุปกรณ์ จัดเก็บของระบบ SAN เรียกว่า IP Storage Protocol ถูกกำหนดเป็นมาตาฐานโดย IEFT (Internet Engineering Task Force) เป็นเทคโนโลยีที่ยินยอมให้โอนย้ายบล็อกข้อมูลข้ามเครือข่ายด้วยสองแนวคิด หลัก ๆ ในข้อกำหนดคือ IP เพื่อในการขนส่งบล็อกข้อมูลข้ามเครือข่ายไปจัดเก็บยังอุปกรณ์จัดเก็บ โดยทำการ Encapsulate บล็อกข้อมูลเป็นแพกเก็ตไปบนเครือข่ายเป็นไปตามมาตาฐานของ TCP/IP(Transmission Control Protocol/Internet Protocol) โปโตคอลที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น FCIP(Fiber Channel over Internet Protocol), iFCP( Internet Fiber Channel Protocol ) และ iSCSI (Internet Small Computer System Interface)

ปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยี iSCSI มาใช้เพิ่มมากขึ้นและกำลังจะเป็นที่สนใจขององค์กรต่าง ๆ เพื่อจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ SAN ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังนี้ (i) มีการระบุ และผู้ใช้ต้องการประโยชน์อย่างเต็มที่เก็บ ความน่าเชื่อถือ และการบริหารจัดการ และ iSCSI เป็นอีกโปโตคอลหนึ่งที่น่าสนใจในการนำมาใช้


ค่าที่ได้จากการเทสสาย UTP จากเครื่อง DSP 4300 FLUKEHead Room :เป็นค่าสัญญาณรบกวน NEXT ระหว่างคู่สายสัญญาณที่ตำที่สุดของสายทั้ง 4 คู่ ค่า Head Room มีค่ามากๆแสดงให้เห็นว่าสายสัญญาณมีประสิทธิภาพที่ดี
Wire Map:แสดง การเข้าหัว RJ 45 กับสายสัญญาณแต่ละขา หากเข้าหัวถูกต้องหรือตรงกันทั้งหัวและท้ายจะแสดงผลเป็น "PASS"ในทางตรงกันข้ามหากการเข้าหัวผิดหรือเกิดการไขว้กันของสายสัญญาณจะ แสดงเป็น "FAIL"
Impedance :เป็นค่าความต้านทานของขดลวดของสายสัญญาณแต่ละคู่ มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ohms)เนื่องจากสายสัญญาณมีการตีเกลียวของและคู่สาย ทำให้เกิดค่าความต้านทานจากการขดและพันกัน **ต้องอยู่ในช่วง 85-115 Ohms**
Length :คือความยาวของสายสัญญาณที่ใช้แต่ละจุด เริ่มตั้งแต่สาย Patch Panel ในตู้ Rack จนถึงสายที่ต่อเข้ากับ Work Station **สามรถเดินสายได้ไกลที่สุดที่ระยะ 10 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
Prop.Delay :เป็นค่าของเวลาที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากต้นทางมายังปลายทาง(Propagation Delay)ที่สายแต่ละคู่ใช้มีหน่วยเป็น nanosecond โดยไม่ควรมีค่าเกิน 555 ns
Delay Skew :เป็นค่าความแตกต่างของเวลา ที่ใช้ในการสื่อสารเทียบกับสายสัญญาณคู่ที่ใช้เวลาน้อยที่สุด หรือเป็นค่าความล่าช้าในการได้นับสัญญาณที่ส่งมาของแต่ละคู่
Resistance :เป็นค่าความต้านทานของสายสัญญาณ มีหน่วยเป็นดอห์ม (Ohms)
Attenuation :เป็นค่าลดทอนของสายสัญญาณที่เดินทางภายในสายสัญญาณไปยังปลายทาง ในการทดสอบสัญญาณจะทำการวัดค่า attenuation ที่ทุกๆความถี่ตั้งแต่ 1-100 MHz และค่าจำกัดของ attenuation ที่แต่ละความถี่จะไม่เท่ากัน ขึ้นกับความถี่ ซึ่งค่าไม่ควรเกิน limit ที่กำหนด
NEXT (Near End Crosstalk) :เป็นค่าสัญญาณรบกวนที่เกิดจากคู่สายสัญญาณแต่ละคู่กระทำกัน (สัญญาณรบกวนข้ามคู่สาย)
Return Loss :เป็นค่าลดทอนของสายสัญญาณที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ค่า Impedance ภายในสาย จึงทำให้เกิดการลดทอน และเกิดสัญญารสะท้อนกลับ โดยค่าที่วัดได้มากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
PSNEXT :Power Sum Near End Crosstalk เป็นค่ารบกวนของสาสัญญาณ ระหว่างคู่สายสัญญาณคู่อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทดสอบสายสัญญาณคู่นั้นๆเหมาะสำหรับระบบที่มีการใช้งานสาย สัญญาณพร้อมกัน 4 คู่สาย โดยมีค่าไม่ตำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
ACR :เป็น ค่าที่เกิดจากความสำพันธ์ระหว่าง Attenuation และ NEXT ซึ่งแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของสายสัญญาณ โดยดูจากผลของค่าลดทอนและการรบกวนจากสายนอกควบคู่กัน ซึ่งค่า ACR ที่มากกว่ามาตรฐานจะทำให้รับส่งข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
PSACR :เป็นค่าที่แสดงอัตราส่วน ACR ที่ได้รับการรบกวนจากคู่สายอื่นที่ทำการวัดร่วมด้วย โดยผลที่ได้จะไม่คำนึงถึงค่า PSNEXT ซึ่งควรมีค่ามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด
ELFEXT :Equa level far End Crosstalk ซึ่งเป็นผลของการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่น ที่ทำการทดสอบสายสัญญารคู่นั้นๆรวมไว้ด้วยกัน โดยทำการวัดการรบกวนชนิดนี้ ทางด้านปลายทาง ซึ่งต่างกับ NEXT ที่ทำการวัดการรบกวนทางด้านต้นทาง ซึ่งค่ารบกวนมีค่ามากกว่ามาตรฐาน
PSELFEXT :เป็นผลรวมของการทดสอบแบบ ELFEXT โดยเป็นการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่นรบกวนสายสัญญาณที่ทำการทดสอบ ซึ่งควรมีค่ามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด
***ค่าที่วัดได้นี้เป็นค่ามาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลก ที่ใช้เป็น Report ในการส่งมอบงานการติดตั้งระบบเครือข่ายสายสัญญาณ****



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น