4/27/2553

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การไกล่เกลี่ยข้อ พิพาท การไกล่เกลี่ย คือ กระบวนการระงับข้อพิพาทที่มีบุคคลที่สามเข้ามา ช่วยเหลือให้คู่ความ เจรจาต่อรองกั

การไกล่เกลี่ยข้อ พิพาท

การไกล่เกลี่ย คือ กระบวนการระงับข้อพิพาทที่มีบุคคลที่สามเข้ามา ช่วยเหลือให้คู่ความ เจรจาต่อรองกันได้สำเร็จ

ประเภทคดีที่จะทำการไกล่เกลี่ยได้

1. คดีแพ่ง (คดีแพ่งทุกคดี)

  • คดีแพ่ง คือ คดีที่เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง มีทั้งคดีที่มีข้อพิพาท และไม่มีข้อพิพาท

  • คดีแพ่งที่มีข้อพิพาทส่วนใหญ่จะเป็นคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทอง

  • คดีแพ่งที่ไม่มีข้อพิพาท เช่น ขอตั้งผู้จัดการมรดก ขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ เป็นต้น

ตัวอย่างคดีแพ่งที่มีข้อพิพาท เช่น คดีบังคับตามสัญญา ยืม ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้จำนอง จำนำ หนี้ ฟ้องหย่า เรียกค่าเลี้ยงดู คดีละเมิด เป็นต้น

2. คดีอาญา (คดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้ยอมความกันได้)

คดีอาญา คือ การกระทำความผิดที่กฎหมายกำหนดบทลงโทษไว้ โทษในทางอาญามี 5 สถาน คือประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน

คดีอาญาอาจแยกเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งยอมความกันได้และคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดินซึ่งยอมความกันไม่ได้

คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวที่สามารถยอมความกันได้ ได้แก่ความผิดดังต่อไปนี้

  • ความผิดต่อเสรีภาพ ( ม.309 วรรคแรก, .310 วรรคแรก, .311 วรรคแรก )

  • เปิดเผยความลับ ( ม.322 – 324)

  • หมิ่น ประมาท ( ม.326-329)

  • ฉ้อ โกง ( ยกเว้น ม.343)

  • โกง เจ้าหนี้ ( ม.349-350)

  • ยักยอก ( ม.352-355)

  • ทำให้เสียทรัพย์ ( ม.358-359)

  • บุก รุก ( ม.362-364) ยกเว้น ม.365

  • ข่มขืนกระทำชำเรา ( ม.276 วรรคแรก)

  • กระทำ อนาจาร ( ม.278-281)

  • พาหญิงอื่นไปเพื่อการอนาจาร ( ม.284)

  • เอาชื่อหรือยี่ห้อในทางการค้าของผู้อื่นมาใช้

  • ความผิดที่คู่กรณีผูกพันกันด้วยความเป็นญาติ คือ ผู้บุพการีกระทำต่อผู้สืบ สันดาน , ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการี , พี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกระทำต่อกัน

ทั้ง 3 กรณี ต้องเป็นความผิดดังต่อไปนี้ คือ ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และทำให้เสียทรัพย์

214 ความผิดตามกฎหมายอื่น คือ

  • .ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ม.3

  • ความ ผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ( ม.24-26)

ข้อเปรียบเทียบระหว่างการพิจารณาพิพากษา

คดีในศาลกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

การพิจารณาพิพากษาคดีในศาล

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

  • ค้นข้อเท็จจริงที่ได้ กระทำในอดีต

  • ชี้ประเด็นไปที่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้ว

  • ค้นหาเพื่อกำหนดความรับผิดหรือความผิด

  • ได้ผลลัพธ์ คือ เป็นผู้ชนะกับผู้แพ้

  • ข้อเท็จจริงถูกกำหนดโดย กฎหมาย

  • คู่กรณีถูกควบคุมโดยทนาย ความ

  • ศึกษาข้อเท็จจริงไปใน อนาคต

  • ชี้ไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี

  • ค้นหาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีขึ้นใหม่

  • ได้ผลลัพธ์ คือ เป็นการแก้ปัญหาให้คู่กรณีปรองดองกัน

  • ผลลัพธ์เกิดขึ้นได้ตามที่คู่กรณีต้องการ

  • คู่กรณีเป็นคนแสดงเจตนา เอง

เหตุจูงใจในการใช้ วิธีการไกล่เกลี่ย

สะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม

  • คู่ความหันหน้าเข้าหากันอย่างเป็นมิตร

  • คู่ความสามารถปะกอบธุรกิจร่วมกันได้อีก

  • คู่ความได้รับความพึงพอใจทั้ง 2 ฝ่าย

  • ประหยัดค่าใช้จ่าย

  • คู่ความไม่ต้องถูกบังคับคดี

  • ช่วยลดปริมาณคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล

  • ลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์และฎีกา

  • ช่วยรัฐประหยัดงบประมาณ

  • ช่วยก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม

  • คู่ความถือได้ว่าเป็นผู้ชนะด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย



บทความจาก ศาลจังหวัดสงขลา

http://www.coj.go.th/sklc/info.php?info=sub_menu&cid=40

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น