การประกันตัวผู้ต้องหา
การประกันตัว... คำขอประกันผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา ต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วและจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมิ ได้ การไม่ให้ประกันต้องอาศัยเหตุตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติใช้โดยเฉพาะในกฎหมาย และต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยทราบโดยเร็ว
เมื่อมาประกันตัวให้ตรวจสอบหลักฐานดังต่อไปนี้
หลักฐานในการขอประกันตัวทุกกรณี
-
บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือใบอนุญาตขับรถของ เจ้าของหลักทรัพย์
-
บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือใบอนุญาตขับรถของ ผู้ต้องหาหรือจำเลย
-
ทะเบียนบ้าน ของ เจ้าของหลักทรัพย์
-
ทะเบียนบ้าน ของ ผู้ต้องหาหรือจำเลย
หลักฐานการประกันต้องนำไปแสดงเพิ่มเติมเฉพาะกรณี
1. กรณีของหลักทรัพย์มีคู่สมรส
- หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส (ขอรับแบบฟอร์มได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์)
- สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสำเนาใบอนุญาตขับรถของคู่สมรส
2. กรณีเจ้าของหลักทรัพย์หย่าจากคู่สมรสแล้ว
- สำเนาใบสำคัญ การหย่า
3. กรณีคู่สมรสเจ้าของหลักทรัพย์ถึงแก่กรรมแล้ว
- สำเนามรณะ บัตร หรือ - ทะเบียนบ้าน ประทับคำว่า “ตาย” หน้าชื่อคู่สมรสพร้อมสำเนาอีก 1 ชุด
4. กรณีชื่อตัวหรือสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับที่ปรากฏ ในหลักทรัพย์
- หนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ออก ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่เจ้าของหลักทรัพย์ชื่อในทะเบียนบ้าน
5. กรณีชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของข้าราชการไม่ตรงกับที่ปรากฏในหลัก ทรัพย์เนื่องจากการเปลี่ยนชื่อชื่อสกุล
- สำเนาการเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล
6. กรณีเจ้าชื่อสกุลของหลักทรัพย์ตามบัตรของข่าราชการไม่ตรงกับที่ปรากฏในหลัก ทรัพย์เนื่องจากการเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะทำการสมรสแล้ว
- สำเนาใบสำคัญ การสมรส
7.กรณีเจ้าของหลักทรัพย์ตาม บัตรมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการประกันแทน
- ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนาอีก 1 ชุด
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือใบอนุญาตขับรถของผู้มอบอำนาจพร้อมสำเนา
- หนังสือมอบ อำนาจ โดยผู้มอบต้องมาทำที่ศาล ด้วนตนเองลงชื่อต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
- หนังสือมอบ อำนาจ โดยผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบไปทำที่อำเภอลงชื่อต่อหน้าและให้นายอำเภอ หรือผู้ทำการแทนหรือพนักงานฝ่ายปกครอง ลงลายมือชื่อ รับรองและประทับตราประจำตำแหน่งเป็นสำคัญ
หากใช้หลักทรัพย์ ประกัน ต้องมีเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
1. กรณีใช้ น.ส.3ก และโฉนดที่ดิน
- หนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดิน
2. กรณีใช้สมุดเงินฝากธนาคารประเภทประจำ
- หนังสือรับรองยอดเงินฝากคงเหลือ
3. กรณีใช้เงินสด, พันธบัตรรัฐบาล, สลากออมสิน,ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็น ผู้จ่าย, ตั๋วแลกเงินธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว, เช็คธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรองและไม่ใช่เช็คลงวันที่ล่วงหน้า
- ไม่ต้องมี เอกสารประกอบ
4. หากใช้บุคคลเป็นประกันต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
- หนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่ง ระดับอัตราเงินเดือน
ตัวอย่างหนังสือรับรอง
หลักทรัพย์ในการขอประกันตัว โฉนดที่ดิน น.ส.3 ก หรือ น.ส.3 เงินสด, พันธบัตรรัฐบาล สมุดเงินฝากประจำ เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย
การใช้ตำแหน่ง บุคคลเป็นหลักประกัน
(1) เป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอนเช่น เป็นข้าราชการ ข้าราช การบำนาญ สมาชิกรัฐสภาผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานของรัฐประเภทอื่น ๆ ลูกจ้างของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารพรรคการเมือง หรือทนายความ
(2) เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย เช่น เป็นบุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส หรือบุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้อง หรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันโดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อ ไปนี้
-
ให้ยื่นคำร้องด้วยตนเอง และเสนอหนังสือรับรองจากต้นสังกัดหรือนายจ้าง หรือหลักฐานอื่นที่เชื่อถือได้ และหากผู้ขอประกันมีคู่สมรสให้แสดงหลักฐานการยินยอมของคู่สมรสด้วย
-
ให้ทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน การอนุญาต ให้พิจารณาเงินเดือนหรือรายได้ แต่ศาลอาจกำหนดให้ผู้ขอประกันวางเงินหรือหลักทรัพย์อื่นเพิ่มเติม หรืออาจให้มีผู้ขอประกันหลายคนร่วมกันทำสัญญาประกันโดยใช้วงเงินของแต่ละคน รวมกันได้
-
หากผู้ขอประกันพ้นจากตำแหน่งหน้าที่การงาน ก็ให้คงมีสิทธิประกันต่อไปโดยศาลอาจใช้ดุลพินิจสั่งให้หาหลักประกันเพิ่ม หรือดีกว่าเดิมได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น